|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ย. 2008, 7:08 pm |
  |
พระพุทธรูปพี่-น้อง
ศรัทธาแห่งพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงในดินแดนสุวรรณภูมิมานานนับพันปี ก่อให้เกิดศิลปวัตถุและโบราณสถานอันทรงคุณค่าเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนามากมาย สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอารามเก่าแก่ รวมไปถึงพระพุทธรูปงดงามหลายยุคหลายสมัย ที่หลายๆ องค์ได้กลายเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทยเรา
นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปสำคัญๆ อีกหลายองค์ที่มีความพิเศษออกไป ดังเช่น พระพุทธรูปพี่-น้อง ที่หลายๆ คนรู้จักกันดี แล้วทำไมพระพุทธรูปจึงต้องมีพี่น้อง? แล้วพระพุทธรูปองค์ใดบ้างที่มีพี่น้อง?
จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ประธานชมรมสยามทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ กล่าวถึงพระพุทธรูปพี่น้องให้ฟังว่า ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพระพุทธรูปพี่น้องนั้น ก็มักจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน หรือสร้างขึ้นในคราวเดียวกัน คนก็มักจะเรียกว่าเป็นพระพี่น้องกันหรืออีกลักษณะหนึ่งก็น่าจะเกิดจากการผูกเรื่องขึ้นเป็นตำนานเป็นที่มา เช่นเรื่องราวของพระพุทธรูปที่ลอยน้ำมา โดยตำนานที่เล่ากันมานั้นก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ และอภินิหารของพระพุทธรูปเหล่านั้น อีกทั้งยังเป็นการแสดงความนับถือในพระพุทธรูปองค์นั้นๆ ด้วย |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ย. 2008, 7:11 pm |
  |
หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา
พระพุทธรูปพี่น้องแห่งลุ่มน้ำภาคกลาง
พระพุทธรูป 5 พี่น้องแห่งลุ่มน้ำภาคกลาง ล้วนแล้วแต่เป็นพระพุทธรูปที่มีผู้คนเคารพศรัทธามากมาย ได้แก่ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม) อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา วัดเขาตะเครา อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี, หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ และ หลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ตำนานพระพุทธรูป 5 พี่น้องแห่งลุ่มน้ำภาคกลาง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19593
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ
หลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดไร่ขิง จ.นครปฐม |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ย. 2008, 7:20 pm |
  |
พระใส ณ พระอุโบสถ วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย
พระพุทธรูปพี่น้องจากดินแดนล้านช้าง
พระพุทธรูป 3 พี่น้องจากดินแดนล้านช้าง ได้แก่ พระเสริม วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ, พระสุก (จมหายไปในแม่น้ำโขง ณ เวินพระสุกหรือเวินสุก) และ พระใส วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระราชธิดา 3 พี่น้องของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคณหุต พระนามว่า เสริม, สุก และใส โปรดให้ช่างลาวหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น และถวายนามของพระองค์เองให้เป็นชื่อของพระพุทธรูปด้วย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ตำนานพระพุทธรูป 3 พี่น้องจากดินแดนล้านช้าง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19300
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พระเสริม ณ พระวิหาร วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ย. 2008, 7:52 pm |
  |
พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
พระพุทธรูปพี่น้องแห่งเมืองสองแคว
พระพุทธรูป 4 พี่น้องแห่งเมืองสองแคว ได้แก่ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก, พระพุทธชินสีห์, พระศรีศาสดา (พระศาสดา) วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ และ พระเหลือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
หลายๆ คนยกย่องให้ พระพุทธชินราช แห่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่ง และยังมีพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคราวเดียวและประดิษฐานอยู่ด้วยกันอีก 3 องค์ จึงน่าจะเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธรูปรูปพี่น้องแห่งเมืองสองแคว
เมื่อหลายร้อยปีก่อน พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน ทรงเกิดพระราชศรัทธาต้องการจะสร้างพระพุทธรูปขึ้น จึงให้ช่างเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ร่วมกับช่างชาวเชียงแสน และช่างชาวหริภุญชัย ปั้นหุ่นพระพุทธรูปสามองค์ มีทรวดทรงลักษณะคล้ายกัน แต่ขนาดต่างกัน และตั้งพระนามว่า พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดา
เมื่อได้ฤกษ์เททอง ก็มีการทำพิธีบวงสรวงตามประเพณี แล้วประกอบพิธีเททองหล่อ เมื่อแกะพิมพ์ออกมาปรากฏว่า องค์พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา (พระศาสดา) สำเร็จเป็นองค์สมบูรณ์เนื้อทองแล่นเสมอกัน แต่พระพุทธชินราชนั้นทองไม่แล่นบริบูรณ์ ช่างจึงได้ปั้นหุ่นเททองหล่อใหม่อีกถึงสามครั้งก็ไม่สำเร็จ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราชจึงทรงตั้งสัตย์อธิษฐานขอให้การเททองหล่อในครั้งนี้สำเร็จ ในการหล่อครั้งนี้มีชีปะขาวคนหนึ่งมาช่วยปั้นหุ่นทั้งกลางวันกลางคืนอย่างแข็งขัน และเมื่อได้ฤกษ์เททองก็ปรากฏว่าเททองได้เต็มองค์บริบูรณ์ แต่ชีปะขาวที่มาช่วยนั้นหายไปแล้ว พระพุทธรูปทั้งสามองค์ที่สร้างขึ้นพร้อมๆ กันนี้ได้ประดิษฐานไว้ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร สืบต่อมา
(องค์หน้า) พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
นอกจากพระพุทธรูปสามองค์นี้แล้ว ก็ยังมีพระพุทธรูปเล็กๆ อีกองค์หนึ่ง มีชื่อว่า พระเหลือ ซึ่งอาจนับเนื่องได้ว่าเป็นพระพุทธรูปพี่น้องกับอีกสามองค์ข้างต้น เนื่องจากเมื่อหล่อพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา (พระศาสดา) เรียบร้อยแล้ว ก็ยังเหลือทองสัมฤทธิ์อยู่ จึงได้รวบรวมมาหลอมหล่อในองค์พระพุทธชินราช และเมื่อหล่อองค์พระพุทธชินราชเสร็จก็ยังคงเหลือทองอยู่อีก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราชจึงให้ช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูปเล็กๆ แล้วเอาทองที่เหลือนั้นเทหล่อพระองค์นี้ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า พระเหลือ และทองที่เหลือก็ยังสามารถหล่อเป็นรูปพระสาวกของพระเหลือซึ่งเป็นพระยืนได้อีกสององค์ โดยยืนอยู่ด้านข้างของพระเหลือ
ส่วนอิฐที่ใช้ก่อเตาสำหรับหลอมทองที่หล่อพระพุทธรูปนั้น ได้นำมารวมกันแล้วก่อเป็นฐานชุกชีสูง 3 ศอกตรงตำแหน่งที่หล่อพระพุทธชินราช พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นลงบนชุกชีนั้น แสดงว่าเป็นมหาโพธิ์สถานของพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาทั้งสามองค์ จึงเรียกว่า โพธิ์สามเส้า แล้วได้สร้างวิหารเล็กๆ ขึ้นมาระหว่างต้นโพธิ์นั้น ซึ่งอยู่ด้านหน้าพระวิหารพระพุทธชินราชเยื้องไปทางใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระเหลือและพระสาวก จึงเรียกชื่อว่า วิหารพระเหลือ หรือ วิหารหลวงพ่อเหลือ กันต่อมา
ครั้นต่อมา พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา (พระศาสดา) ได้ย้ายมาประดิษฐานอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วังหน้าในรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดบวรนิเวศวิหาร ได้เสด็จไปเยือนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ก็ทรงเห็นว่าพระวิหารมีความชำรุดทรุดโทรม จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานไว้ในพระนคร โดยได้อัญเชิญมาไว้ภายในมุขหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างพระเจดีย์ขึ้นด้านหลังพระอุโบสถ จึงต้องรื้อมุขด้านหลังออก ดังนั้นจึงอัญเชิญ พระพุทธชินสีห์ มาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถคู่กับ พระสุวรรณเขต (พระโต) พระประธานองค์เดิมในพระอุโบสถ ทำให้พระอุโบสถในวัดบวรนิเวศวิหารมีพระพุทธรูปสององค์มาจนถึงปัจจุบันนี้
พระศรีศาสดา (พระศาสดา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
ด้านพระศรีศาสดา (พระศาสดา) ก็ถูกอัญเชิญมาที่พระนครเช่นกัน โดยเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดนนทบุรี) ในสมัยนั้น ได้อัญเชิญพระศรีศาสดาลงแพล่องไปที่วัดบางอ้อยช้าง ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) ได้อัญเชิญพระศรีศาสดาไปประดิษฐานที่วัดประดู่ฉิมพลี แต่รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่า พระศรีศาสดาเป็นพระสำคัญเคยอยู่ในพระอารามหลวง ไม่ควรอยู่ในวัดราษฎร์ อีกทั้งเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกันกับพระพุทธชินสีห์ พระองค์จึงทรงให้อัญเชิญพระศรีศาสดามาไว้ที่พระวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร ที่สร้างขึ้นใหม่
ชาวพิษณุโลกเศร้าเสียใจยิ่งนักที่พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองถึงสององค์ได้ถูกนำไปไว้ที่อื่น เหลืออยู่เพียงพระพุทธชินราชเพียงองค์เดียว แต่พระพุทธชินราชเองก็เกือบจะถูกย้ายมาไว้ที่พระนครเช่นกัน โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตรจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทรงมอบหมายให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ไปเสาะหาพระพุทธรูปที่งดงามมาไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถ
พระเจ้าน้องยาเธอฯ กลับมากราบบังคมทูลรัชกาลที่ 5 ว่า พระพุทธชินราชประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง แต่รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธชินราชนั้นเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเมืองพิษณุโลกมานาน หากจะอัญเชิญมาก็จะเป็นการทำร้ายจิตใจเกินไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธชินราชจำลองเป็นพระประธานในประอุโบสถแทน ส่วนพระพุทธชินราชองค์จริงก็ยังคงประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองสองแควอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เช่นเดิมจนกระทั่งปัจจุบัน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ตำนานพระพุทธรูป 4 พี่น้องแห่งเมืองสองแคว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19305
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19299
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19715
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
พระเหลือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 13 กรกฎาคม 2551 14:00 น. |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ย. 2008, 9:20 pm |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |