Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กุมภสูตร-มหาปรินิพพานสูตร-ปาสาทิกสูตร (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 6:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

กุมภสูตร-มหาปรินิพพานสูตร-ปาสาทิกสูตร
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


กุมภสูตร
“เปรียบพฤติกรรมดุจหม้อน้ำ”


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หม้อน้ำ 4 ชนิด คือ หม้อน้ำเปล่าปิดชนิด 1 หม้อน้ำเต็มเปิดชนิด 1 หม้อน้ำเปล่าเปิดชนิด 1 หม้อน้ำเต็มปิดชนิด 1

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนมีอากัปกิริยาดูน่าเลื่อมใส มารยาทเรียบร้อย แต่ไม่รู้อริยสัจ บุคคลนี้เปรียบเหมือนหม้อน้ำเปล่าที่ปิดฝาไว้

บุคคลบางคนอากัปกิริยาดูไม่น่าเลื่อมใส ไม่ค่อยเรียบร้อย แต่รู้อริยสัจ บุคคลนี้เปรียบเหมือนหม้อน้ำเต็มเปิด

บุคคลบางคนอากัปกิริยาดูไม่น่าเลื่อมใส มารยาทไม่เรียบ ร้อย และไม่รู้อริยสัจด้วย บุคคลนี้เปรียบเหมือนหม้อน้ำเปล่าเปิด

บุคคลบางคนอากัปกิริยาดูน่าเลื่อมใส มารยาทเรียบร้อย และรู้อริยสัจด้วย บุคคลนี้เปรียบเหมือนหม้อน้ำเต็มปิด”

ข้อความนี้จาก กุมภสูตร เปรียบคนเหมือนหม้อน้ำ ในเมืองอินเดียไปไหนๆ ก็จะเห็นหม้อน้ำ การยกเอาสิ่งที่พบเห็นอยู่ประจำมาสอนเปรียบเทียบ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายและเข้าใจได้เร็ว การสอนด้วยอุปมาอุปไมยเป็นวิธีการหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงใช้มากที่สุด

คนที่ไม่มีอะไรแล้วเปิดเผยให้คนเห็นว่าไม่มีอะไร ก็น่ารักไปอีกอย่างหนึ่ง ถึงจะเปรียบเหมือนหม้อน้ำเปล่าเปิดฝาก็ตาม แต่คนที่น่าเกลียดคือคนที่ไม่มีอะไรดีในตัว แถมยังปิดบังซ่อนเร้นนี้สิ เขาเปรียบเหมือนหม้อเปล่าปิดฝาไว้ ในหม้อเปล่านั้นซ่อนอสรพิษอยู่ด้วยหรือเปล่านี่ยากที่จะรู้

นี่เป็นการ “ตีความ” นัยหนึ่งเท่านั้นนะครับ อาจตีความอย่างอื่นอีกก็ได้ ฝากไว้ให้คิด


มหาปรินิพพานสูตร
“แว่นส่องธรรม”


“ดูก่อนอานนท์ เราจะแสดงธรรมบรรยายชื่อ “ธัมมาทาส” สำหรับให้อริยสาวกพยากรณ์ตนเอง (เช่น) ว่า เราไม่ต้องเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นเปรต ไม่ต้องเกิดในอบาย ทุคติวินิบาต แล้วไม่ตกต่ำไปกว่านี้ เที่ยงแท้แน่นอนที่จะตรัสรู้ในภายหน้า

ธรรมบรรยายชื่อว่า “ธัมมาทาส” นั้นก็คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วย วิชชา (ความรู้) และจรณะ (ความประพฤติ) เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกคนควรฝึกได้ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่น และเป็นผู้จำแนกแจกจ่ายธรรม

มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติพึงเห็นด้วยตนเอง ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ท้าพิสูจน์ได้ ควรน้อมนำมาปฏิบัติด้วยตนเอง ผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน

มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติที่ดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ปฏิบัติชอบยิ่ง คืออริยบุคคล 4 คู่ 8 ประเภท เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรยกมือไหว้ เป็นนาบุญอันประเสริฐของชาวโลก”

ข้อความนี้จาก มหาปรินิพพานสูตร ตรัสธรรมบรรยายชื่อ “ธัมมาทาส" แก่พระอานนท์ เท่ากับทรงมอบ “แว่นธรรม” ไว้สำหรับส่องดูตัวเอง ดูไปถึงอนาคตเลยทีเดียว

ข้อคิดในพระสูตรนี้ก็คือ ถ้าบุคคลมีศรัทธาอันแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน ในพระรัตนตรัยจริงๆ แล้ว ก็จะไม่มีทางตกต่ำ

กล่าวโดยเคร่งครัดที่สุด ผู้บรรลุธรรมระดับพระโสดาบันเท่านั้น จึงจะเรียกว่ามีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย ปุถุชนอย่างเราๆ ท่านๆ มีแต่ศรัทธา “หัวเต่า” คือ เดี๋ยวยืดเดี๋ยวหด พุทธก็จะเอาไสยก็จะเอา จึงยังไม่ปลอดภัย แต่เมื่อ “เลื่อนขั้นตัวเอง” ถึงระดับพระโสดาบันนั่นแหละจึงจะไม่มีทางตกต่ำ ไม่ต้องเกิดเป็นสัตว์เป็นเปรตอีกต่อไป

ไม่ว่าจะเกิดทางนามธรรม (คือสภาพจิตใจ) หรือเกิดทางรูปธรรม (คือเกิดจากท้องแม่จริงๆ)


ปาสาทิกสูตร
“เกณฑ์วัดว่าศาสนาเจริญ”


“ดูก่อนจุนทะ พรหมจรรย์ (พระศาสนา) จะชื่อว่าแพร่หลายกว้างขวางเป็นปึกแผ่นก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบเหล่านี้ คือ

1. พระศาสดาเป็นเถระรัตตัญญู ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ

2. ภิกษุสาวกเป็นเถระ มีความรู้เชี่ยวชาญ ได้รับการฝึกฝนอบรมอย่างดี แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันปลอดจากกิเลส สามารถแสดงธรรมให้เห็นผลจริง กำราบวาทะของฝ่ายตรงข้ามได้โดยถูกต้องตามหลักธรรม สาวกปูนกลางและชั้นนวกะก็มีความสามารถเช่นเดียวกัน

3. ภิกษุณีชั้นเถรี ชั้นปูนกลาง และชั้นนวกะ มีความสามารถเช่นภิกษุ

4. อุบาสกทั้งประเภทพรหมจารี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข ก็มีความสามารถเช่นเดียวกัน

5. อุบาสิกาทั้งประเภทพรหมจาริณี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข มีความสามารถเช่นเดียวกัน

เพียงแต่ขาดอุบาสิกาประเภทครองเรือนอย่างเดียว พระศาสนาก็ยังไม่ชื่อว่าเจริญบริบูรณ์เป็นปึกแผ่นดี”

ข้อความข้างต้นจาก ปาสาทิกสูตร ให้ข้อคิดว่า ศาสนาจะชื่อว่าตั้งมั่นเป็นปึกแผ่นก็ต่อเมื่อพุทธบริษัททุกเหล่ามีคุณสมบัติทัดเทียมกัน นั่นก็คือ รู้พุทธธรรม, ปฏิบัติตามที่รู้จนละกิเลสได้มากน้อยตามความสามารถ, มีความสามารถในการเผยแผ่ธรรม และช่วยกันปกป้องพระศาสนา

เห็นหรือยังครับว่า พุทธบริษัททุกฝ่ายต้องช่วยกันผดุงพระ พุทธศาสนา เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็ควรช่วยกันชำระสะสาง ไม่ควรเกี่ยงกัน

และไม่ควร “ผูกขาด” เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนาอยู่ฝ่ายเดียว แล้วก็ไม่ลงมือแก้ไขกัน


หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน หน้า 31
คอลัมน์ ธรรมะนอกธรรมาสน์ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6528
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 5:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ควร “ผูกขาด” เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนาอยู่ฝ่ายเดียว แล้วก็ไม่ลงมือแก้ไขกัน

ชอบประโยคนี้จัง ขอบคุณค่ะ ท่าน TU สู้ สู้
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง