Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แนวปฏิบัติของท่านพระอาจารย์เสาร์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2008, 8:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี


แ น ว ป ฏิ บั ติ ข อ ง ท่ า น พ ร ะ อ า จ า ร ย์ เ ส า ร์

พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)*
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


• ถาม

ขอท่านได้อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
ดังที่ท่านพระอาจารย์เสาร์สอนมา

• ตอบ

โดยหลักการที่ท่านอาจารย์เสาร์ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหามานั้น
ยึดหลักการบริกรรมพุทโธ และอานาปนสติ เป็นหลักปฏิบัติ


การบริกรรมภาวนาให้จิตอยู่ ณ จุดเดียว คือ พุทโธ
ซึ่งพุทโธแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกริยาของจิต
เมื่อจิตมาจดจ้องอยุ่ที่คำว่า พุทโธ ให้พิจารณาตามองค์ฌาน ๕

คือการนึกถึงพุทโธ เรียกว่า วิตก
จิตอยู่กับพุทโธ ไม่พรากจากไป เรียกว่า วิจาร
หลังจากนี้ ปิติ และ ความสุข ก็เกิดขึ้น

เมื่อปิติและความสุขเกิดขึ้นแล้ว
จิตของผู้ภาวนาย่อดำเนินไปสู่ความสงบ
เข้าสู่ อุปจารสมาธิและอัปนาสมาธิ
ลักษณะที่จิตเข้าสู่อัปนาสมาธิ
ภาวะจิตเป็นภาวะสงบนิ่งสว่าง ไม่มีกิริยาแสดงความรู้
ในขั้นนี้ เรียกว่า จิตอยู่ใน สมถะ

ถ้าจะเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปนาจิต
ถ้าจะเรียกโดยสมาธิก็เรียก อัปนาสมาธิ
ถ้าจะเรียกโดย ฌานก็เรียกว่าอัปนาฌาน
บางท่านไปเทียบกับกับ ฌาณขั้นที่ ๔


จิตในขั้นนี้เรียกว่า
จิตอยู่ในอัปนาจิต อัปนาสมาธิ อัปนาฌาณ
จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น
นอกจากมีสภาวะรู้อย่างเดียวเท่านั้น


เมื่อนักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่ได้ระดับจิต
เมื่อจิตติดอยู่ในความสงบนิ่งเช่นนี้
เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอาจารย์เสาร์ผู้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานในสายนี้
จึงได้เดินอุบายสอนให้ลูกศิษย์พิจารณา กายาคตสติ
เรียกว่า กายานุปัสสนาปฏิปทา

โดยการพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
โดยน้อมนึกไปในลักษณะความเป็นของปกูลน่าเกลียด เป็นของโสโครก
จนกระทั่งจิตมีความสงบลง รู้ยิ่งเห็นจริงตามที่ได้พิจารณา

เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณาผมขน เล็บ ฟัน หนัง เห็นสิ่งปฏิกูล
ในที่สุดได้เห็นจริงในสิ่งนั้นว่าเป็นของปฏิกูล
โดยปราศจากเจตนาสัญญาแล้ว
ก็เกิดนิมิตเห็นสิ่งเหล่านั้นว่า
เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกจริงๆ
โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดทั้งสิ้น
จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้พิจาณาเห็น อสุภกรรมฐาน

และเมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาอสุภกรรมฐานจนชำนิชำนาญ
จนร้ยิ่งเห็นจริงในอสุภกรรมฐานนั้นแล้ว
ในขั้นต่อไปท่านอาจารย์เสาร์ได้แนะนำให้พิจารณาร่างกาย
ให้เห็นเป็น ธาตุ ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
จนกระทั่งเห็นเป็นแต่เพียง ดิน น้ำ ลม ไฟ


Image
พระราชวรสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)


เมื่อจิตรู้ว่าเป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
จิตก็จะเกิดความรู้ขึ้นว่า
ตามที่พูดกันว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ไม่มี
มีแต่ความประชุมพร้อมของ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็ย่อมรู้จักอำนาจของความคิดขึ้นมาได้ว่า
ในตัวของเราไม่มีอะไรเป็น อัตตา ทั้งสิ้น
มีแต่ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น

ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติ
จะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้
เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
รู้แต่เพียงว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้แค่ขั้น สมถกรรมฐาน

และในขณะเดียวกันนั้น ภูมิจิต ของผู้ปฏิบัติ
ปฏิวัติความรู้ไปสู่ พระไตรลักษณ์
คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตาไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง

ถ้าหากมี อนิจจสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง
ทุกขสัญญา ความสำคัญม่นหมายว่าเป็นทุกข์
อนัตตสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่ตัวตนที่แท้จริง
ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ ภูมิแห่งวิปัสสนา


เมื่อผู้ปฏิบัติมาฝกฝนอบรมจิตของตนเอง
ให้มีความรู้ด้วยอุบายต่างๆ
และมีความรู้แจ้งเห็นจริงในอสุภกรรมฐาน
โดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นแต่เพียงธาตุ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

จนมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะที่ว่า
กายเรานี้เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
มีความเห็นว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็เป็นแต่เพียงธาตุ
ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่สัตว์ บุคคล เรา เขา

ด้วยอุบายดังกล่าวแล้ว ผู้ปฏิบัติยึดหลักอันนั้น
ภาวนาบ่อยๆ กระทำให้มาก พิจารณาให้มากๆ
พิจารณาย้อนกลับไปกลับมา
จิตจะค่อยๆ ก้าวขึ้นสู่ภุมิรู้ ภูมิธรรม เป็นลำดับๆ ไป

หลักการปฏิบัติของท่านพระอาจารย์เสาร์ก็มีเพียงดังนี้

สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : ธรรมวิสัชนา โดย พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย),
พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์, พ.ศ. ๒๕๓๒, หน้า ๑-๔)


หมายเหตุ : บทความนี้เขียนไว้เมื่อครั้งพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
ยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระภาวนาพิศาลเถร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2008, 2:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุจ้า

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ ทักทาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 7:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2008, 12:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะสวัสดีค่ะ ท่านกุหลาบสีชา อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง