ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
chat
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2005, 7:57 pm |
  |
ต้องขอบอกเลยว่าสมัยยังไม่มีปัญหาชีวิต ไม่เคยคิดที่จะอ่าน และศึกษา ธรรมะเลย
คิดว่ามันเป็น ของเก่าและหน้าเบื่อมาก
แต่เมื่อปีที่แล้วได้เจอเรื่องร้ายแรงและทำให้ทุกข์ที่สุดในชีวิต
สภาพจิตใจตอนนั้น ย่ำแย่สุด ๆ
แต่การใช้กรรมฐานสามารถ ปรับจิตใจที่หดหู่ ทุกข์ระทม เศร้าหมอง ให้กลับมา สงบ และปล่อยวางกับความอาลัยในสุขที่หวังจะได้
ตอนนี้ ผม พอใจกับมีชีวิตกับปัจจุบัน
มีความสุขได้กับทุกขณะของการเดิน นั่ง การดำเนินกิจวัตรประจำวัน
กรรมฐานสอนให้ผม ตามรู้ สภาพที่ไม่หยุดนิ่งของทุกสิ่งรอบตัวเรา
ฝึกเฝ้าตามดู สถาพ การเกิด ดับ ของความคิดและอารมณ์ต่างๆ มากมาย ที่พุดขึ้นมา
ทั่งที่ตั่งใจบ้าง เผลอไปบ้าง
บางขณะใจเราก็สุข ก็ให้รู้ตัวว่า ใจสุข มันเป็นแบบนี้นะ
ถ้าเกิดทุกข์หดหู่ใจ ก็ให้ตามดู จนรู้ว่าไอ้ตัวทุกข์มันเป็นแบบนี้นะ
ตามรู้ อารมณ์ ความคิด ที่เปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน อยู่ตลอดเวลา
ทุกขณะจิตของลมมีหายใจอยู่
ผมเป็นเพียงผู้เริ่มฝึกหัด ก็ยังไม่ทราบว่าทำไมการ ตามเฝ้าตามดูใจแบบนี้
ถึงทำให้จิตผม สงบ ไม่หม่นหมอง เหมือนได้เกิดใหม่ อีกครั้งครับ
|
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
29 ม.ค. 2005, 6:59 am |
  |
อนุโมทนาด้วยครับ ก็เฝ้าดูความพอใจการเกิดใหม่อยู่เรื่อยๆต่อไปครับ ความพอใจนั้นมีอะไรทำให้เกิด มีอะไรทำให้ตั้งอยู่ มีอะไรทำให้ดับไปครับ |
|
|
|
|
 |
gaotawan
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
29 ม.ค. 2005, 12:21 pm |
  |
เมื่อคุณนั่งดูจิตของคุณ ก็คือคุณกำลังมีสติ คุณก็จะรู้ว่าจิตของคุณนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่จิตนี้มันเร็ว มันเยอะ คุณต้องตามให้ทัน เมื่อตามอันไหนทัน คุณก็ต้องแยกให้ออก ว่า สิ่งที่มันผุดขึ้นมานี้มันเป็นสัญญา เวทนาหรือสังขาร
สังขารจะเป็นสิ่งที่คุณมองเห็นได้ง่าย ๆ ก่อน เพราะมันหยาบ มันเป็นการปรุง คุณก็หัดดับสังขารนี้ก่อน
เมื่อตามมันทันอันไหน คุณก็ต้องดับมัน เพราะตามมันทันเฉย ๆ แล้วคุณไม่ดับมัน จิตก็ไม่คลายจากอาสวะ วิธีที่จะดับมันนั้นคุณต้องใช้กุศลเจตนาเข้าไปดับ
ประตูทางเข้ามีอยู่ 3 ทาง คือ อนิจจัง ทุกขังและอนัตตา คุณก็เลือกพิจารณาอันใดอันหนึ่ง หรือผสมกันก็ได้ ตามถนัด
เช่น เมื่อมีสังขารใดเกิดขึ้น หมายถึง จิตมันมีปรุงแต่งขึ้นมา ก็อาจจะพิจารณาว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เมื่อมีเกิดก็ย่อมมีทุกข์" อันนี้คือใช้ทุกขังเป็นกุศลเจตนาเข้าไปดับ หรืออาจจะเป็นว่า "ทุกสรรพสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็ย่อมดับไป" อันนี้คือใช้อนิจจังเข้าไปดับ หรือ "มันเป็นธรรมชาติ ไม่มีใครควบคุมมันได้ แม้แต่ตัวเราเอง ต้องปล่อยมันไป อย่าไปดึงมันไว้" อันนี้ก็คือใช้อนัตตาเข้าไปดับ
คนแต่ละคนจะมีความยากง่ายหรือความถนัดในการเข้าประตูไม่เหมือนกัน คุณถนัดพิจารณาแบบไหนก็ใช้แบบนั้น
เมื่อคุณชำนาญ คุณก็อาจจะเริ่มมองเห็นเวทนา ก็ดับมันเสียตั้งแต่เวทนาเลย ก่อนที่มันจะพัฒนาเลยเถิดไปเป็นสังขาร
ถ้าชำนาญกว่านั้น อีกหน่อยคุณก็ดับมันตั้งแต่สัญญาเลย หมดเรื่อง
แต่สังขารนี้ บางทีมันใหญ่มันเล็กไม่เท่ากัน บางอันมันก็ใหญ่ ซับซ้อน ดับไม่ได้ง่าย ๆ ยังดับไม่ได้ คุณก็ปล่อยมันก่อน ดูมันไปเรื่อย ๆ พอสักพักก็พยายามดับมันใหม่ ถ้ายังดับไม่ได้อีก ก็ปล่อยอีก แล้วก็ดูมัน แล้วก็ดับมันใหม่ เอาจนกว่ามันจะเมื่อยล่ะ เดี๋ยวมันก็จะค่อย ๆ อ่อนแรงไปเอง
แต่บางทีดับไปแล้วมันก็ผุดมาใหม่ได้นะ ไม่ต้องตกใจ เป็นธรรมชาติของมัน แสดงว่ายังดับสังขารนี้ไม่หมด ยังมีเชื้ออยู่ ก็ดับมันใหม่ เป็นธรรมดา อะไรที่มันซับซ้อน มีรากชอนไชอยู่เยอะ มันเหนียว พันกันแน่น ก็แกะยากหน่อย บางทีดึงออกมาแล้วก็ยังมีเศษเหลืออยู่ ก็ดึงมันออกไปเรื่อย ๆ
แต่บางอันดับไปแล้วก็ไม่ผุดมาอีก แสดงว่าไม่ใช่อันใหญ่นัก ก็โชคดี หมดไปหนึ่งอัน
สังขารที่คุณดับไปได้แต่ละอัน อาสวะก็หายไปทีละเส้น เส้นเล็กบ้าง เส้นใหญ่บ้าง ชาติภพก็หดสั้นลง เพราะตัวดึงให้เกิดมันหายไป สังขารบางอันซับซ้อน อันใหญ่ ก็เป็นอาสวะเส้นใหญ่ ดึงให้เกิดได้หลายภพชาติ ดับมันได้ก็เป็นกุศล
ดับมันไปได้เรื่อย ๆ จิตของคุณก็จะค่อยคลาย ๆ จากอาสวะ อวิชชาก็จะค่อย ๆ ถูกทำลายไป
แต่มันเร็วนะ แล้วถ้าดูให้ดีคุณจะรู้ว่ามันเยอะมาก บางทียังงง ๆ เลยว่า โอ้ สัญญา เวทนาหรือสังขารตัวนี้นี่มันซ่อนอยู่ลึกมากเลยสินะ เราไม่เคยรู้ตัวเลยนะนี่ มันผุดมาให้เราเห็นได้ยังไง
แต่ไม่ต้องไปหาคำตอบนะ ว่ามันผุดมาได้ยังไง มันเป็นธรรมชาติของมัน เจอมันแล้วก็ดับมันโดยใช้กุศลเจตนาเท่านั้นเอง ไปหาคำตอบมาก ๆ เดี๋ยวก็เผลอปรุง กลายเป็นสังขารอีก
แล้วมันก็ไม่จำเป็นต้องผุดมาทีละอันนะ ถ้าคุณดูได้ละเอียดขึ้น คุณจะพบว่า จริง ๆ แล้วมันสามารถผุดขึ้นมาได้แบบหลาย ๆ อันพร้อม ๆ กัน แต่ที่ผ่านมาคุณไม่รู้เท่านั้นเอง เพราะมันหยาบละเอียดในแต่ละอันไม่เท่ากัน เราจะจับอันที่มันหยาบได้ก่อน เพราะมันมองเห็นง่าย เมื่อชำนาญมันก็จะเริ่มจับอย่างละเอียดได้ ก็ไม่ต้องตกใจ ค่อย ๆ ดับมันไป
สังขารที่เป็นกามราคะ เป็นสังโยชน์ที่ตัดยากหน่อย ถ้าเจอก็พยายามดับมัน ดับยังไม่ได้ก็ค่อย ๆ ทำไป ผุดขึ้นมาใหม่ก็ดับมันใหม่ ผุดอีกก็ดับอีก แต่มันมีหยาบมีละเอียดนะ มองให้ดี ๆ พระโสดาบัน พระสกิทาคา พระอนาคามียังดับกามราคะไม่ได้หมดเลย ดับได้หมดมีแต่พระอรหันต์ เพราะฉะนั้นก็อย่าเพิ่งไปท้อ มันเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ วันนึงก็ดับได้เอง
ฝึกทำมันไปเรื่อย ๆ ไม่จำเป็นต้องไปนั่งหลับตา แต่ถ้าว่างก็ไปนั่งหลับตาสงบ ๆ แล้วดูก็ได้ จะง่ายขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว เมื่อคุณอยู่ในโลก ก็จับมันซะตอนที่อยู่ในโลกนี่ล่ะ อย่าหนีมัน ตามมันให้ทัน เอามันทุกอริยาบท ถึงจะเรียกว่ากำลังผจญกับของจริง
ถ้าทำจนชำนาญแล้ว วันนึงก็อาจจะเกิดระบบอัตโนมัติ คือ เป็นญาณ มันจะดับสัญญา เวทนา สังขารเมื่อมันจับได้ด้วยตัวมันเอง โดยที่ไม่ต้องรอเรียกชื่อ ไม่ต้องรอแยกแยะ ไม่ต้องวนไปหากุศลเจนตนามาดับ คุณจะละเอียดจนจับได้ในการเกิดดับของรูปนามนี้แบบละเอียดยิบ ยุบยิบ ๆ ไปหมด ทุกหนทุกแห่ง แม้แต่แมลงที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ใบไม้ก็ยังจับได้ในการเกิดดับพร้อม ๆ กับการเกิดดับในเสื้อผ้าที่คุณใส่ พร้อม ๆ กับการเกิดดับในธรรมารมณ์ของคุณ พร้อม ๆ กับการเกิดดับที่หน้าประตูอายตนะภายนอกทั้งหมดของคุณ เรียกว่าเหมือนร่วงลงไปเลยตั้งแต่หน้าประตู แล้วทีนี้ก็เหมือนกัน พอมันเยอะ ๆ เต็มไปหมด หลาย ๆ มิติ หลาย ๆ ทางพร้อม ๆ กัน ก็จะมีประตูให้เข้าอยู่ 3 ทางเหมือนเดิมให้หนีออกไป คือ อนิจจัง ทุกขังและอนัตตา แล้วมันก็จะไปของมันต่อ มันจะเกิดอารมณ์เลือกเข้าประตูของมันเอง แล้วก็ไปต่อ
แต่คงไม่พูดต่อแล้วนะ เพราะมันอันตราย เดี๋ยวไปนึกตาม บางคนนึกเก่ง ๆ กลายเป็นพระโสดาบัน พระอรหันต์แบบจิตเภทก็มี อันตราย เดี๋ยวนรกรออยู่เพราะมิจฉาทิฐิ เอาแค่นี้ก่อน เพียงแต่อธิบายให้นิดนึง จะได้เป็นกำลังใจว่าทำถูกแล้ว จะได้ไปทำต่อ
ทำไปอย่างนี้มันก็จะเริ่มปรับอินทรีย์ คือทั้งวิริยะ สติ ศีล สมาธิ ปัญญา อันนี้ที่คุณทำอยู่นี้เป็นปัญญานะ อีก 4 ตัวที่เหลือมันก็จะค่อย ๆ บีบให้คุณปรับใหม่ให้มันไปด้วยกันได้ สมาธิถ้าฝึกสมถกรรมฐานอยู่ก็เบา ๆ หน่อยนะ เอาแค่สงบ ไม่ต้องไปอยู่ในฌาณ เพราะไม่งั้นมันแข็งไปก็ไปกดหมด มันก็ไม่ค่อยมีอะไรผุด มันก็ซ่อนอยู่ ถูกกดไว้ มันไม่โผล่ออกมาก็ดับไม่ได้ เหมือนกับกินยาแก้ปวดน่ะ เชื้อมันยังมีอยู่แต่ความปวดมันถูกกดไว้ เราก็ไม่รู้ เมื่อใดฤทธิ์ยาแก้ปวดมันคลาย เราก็จะรู้เองว่าจริง ๆ แล้วมันยังไม่หาย ต้องหาเชื้อให้เจอแล้วทำลายมัน ถึงจะค่อย ๆ หายขาด
ศีลก็เหมือนกัน เพราะมีอยู่แค่ 5 ข้อ มันก็ปรับยากหน่อย แต่เดี๋ยวก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง เมื่อปรับได้ เมื่อเข้าใจ ก็จะอยู่เป็นฆาราวาสได้ลงตัวขึ้น ไม่เป็นฆาราวาสที่เป็นพระ ถ้าถือศีลมากกว่านี้คือ 227 ก็ไม่เป็นพระที่เป็นฆาราวาส ไม่เป็นลักษณะแปลก ๆ เป็นโลกวัชชะทั้งสองด้าน สำหรับผู้ปฎิบัติ ก็จะกลายเป็นว่า เมื่อทำถึงขั้นนี้แล้ว ศีลอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่ใจ
เมื่อเริ่มปรับอินทรีย์ได้ มันก็จะสบาย ๆ ขึ้น จิตก็จะเบิกบาน นอนหลับก็เหมือนไม่ได้นอน แต่ไม่ง่วง เพราะมันจับอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาหลับ
แล้วก็ไม่ต้องไปท้อใจนะ บางที เออ วันนี้จับไม่ค่อยได้ดีนะ เมื่อวานนี้ยังทำได้ดีกว่าเลย ก็ไม่ต้องไปคิดมาก อันนี้ถ้าเกิดขึ้นก็เป็นสังขารอีกแล้วนะ เห็นมั๊ย บางทีมันซ้บซ้อน พันกันไปมา หลอกเราไปมา หาให้เจอ ทำต่อไป ต้องปรับวิริยะคือพยายามมากหน่อย มันขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างนี้ล่ะ มันไม่มีอะไรเที่ยงท่านก็บอกอยู่แล้ว ฌาณในสมถกรรมฐานก็ไม่เที่ยง ญาณในวิปัสนาก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน ที่เที่ยงแท้มีอย่างเดียว ก็คือ พ้นจากอาสวะหมดแล้ว ปลอดอวิชชา คือ นิพพาน
มีอะไรเมล์มาคุยกันได้
|
|
|
|
|
 |
มาดู
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
29 ม.ค. 2005, 2:12 pm |
  |
ขอเป็นกำลังใจด้วยคนค่ะ
ขออนุโมทนา คุณ gaotawan และ ผู้จัดทำ เว็บ ค่ะ  |
|
|
|
|
 |
gaotawan
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
29 ม.ค. 2005, 3:18 pm |
  |
ขออภัย เขียนผิดครับ อินทรีย์ทั้ง 5 คือสติ สัทธา วิริยะ สมาธิ ปัญญา ส่วนในเรื่องศีลนั้นอธิบายอย่างนั้นไว้ดีแล้ว
สัทธาก็เหมือนกันครับ ต้องปรับให้พอดี มากไปก็มองไม่เห็น ดับไม่ได้ เพราะหลง ไปคลุมไปบังหมด ทั้งคติและอคติ น้อยไปก็ไม่อยากทำ
ขอให้โชคดีเจริญขึ้น ๆ ไปนะครับ |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 ม.ค. 2005, 9:56 am |
  |
นัตถิ สันติ ปรัง สุขขัง
สุขอื่น ยิ่งกว่า ความสงบใจนั้น ไม่มี |
|
|
|
|
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
30 ม.ค. 2005, 8:14 pm |
  |
กรรมฐานสอนให้ผม ตามรู้ สภาพที่ไม่หยุดนิ่งของทุกสิ่งรอบตัวเรา
ฝึกเฝ้าตามดู สถาพ การเกิด ดับ ของความคิดและอารมณ์ต่างๆ มากมาย ที่พุดขึ้นมา ทั่งที่ตั่งใจบ้าง เผลอไปบ้าง
ตามดู คำนี้ผมว่าน่าจะใช้เป็นว่า หยุดดู น่าจะดีกว่า เพราะว่าการตามดูนั้น เหมือนกับว่าเราต้องวิ่งตามดู ตามรู้ ความคิดนึก และอารมณ์ต่างๆ ของที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ยังกับการเหมือนแมววิ่งไล่จับหนูฉะนั้น แต่ถ้าหยุดดู หยุดรู้ เหมือนกับว่าเราไม่ต้องใช้กำลังอะไรเลย เพียงว่ามีสติรู้ความคิดนึกปรุงแต่ง อารมณ์ต่างๆ อย่างเท่าทัน แล้วปล่อยว่าง ไม่เข้าไปคลุกคลีผสมโรง กับความคิดนึกปรุงแต่ง และอารมณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น
บางขณะใจเราก็สุข ก็ให้รู้ตัวว่า ใจสุข มันเป็นแบบนี้นะ
ถ้าเกิดทุกข์หดหู่ใจ ก็ให้ตามดู จนรู้ว่าไอ้ตัวทุกข์มันเป็นแบบนี้นะ
การมีสติรับรู้อารมณ์สุข ทุกข์ นั้น ถ้าเราไม่เอา ไม่รับ อารมณ์ที่เกิอขึ้นมาเป็นของเรา เราเป็นเจ้าของอารมณ์นั้น เราก็ไม่มีความสุขความทุกข์กับอารมณ์นั้นด้วย เป็นอาการของความว่าง ว่างคือว่างจากอารมณ์ความสุข ความทุกข์ ซึ่งเกิดจากความปรุงแต่งทั้งหมด ทุกข์เพราะเราเข้าไปยึดติดกับอารมณ์ทั้งสอง เมื่อเข้าไปยึดติดกับอารมณ์ทั้งสองฝั่งจึงเกิดการดึงและการผลัก ดึงอารมณ์ที่สุข สิ่งที่ชอบ ผลักอารมณ์ที่ทุกข์ สิ่งที่ไม่ชอบ แต่ถ้าเราสามารถหยุดอยู่ตรงกลางได้ เราก็ไม่มีความทุกข์เพราะต้องไปดึงมาเป็นของเรา และไปผลักให้พ้นจากตัวเรา
|
|
|
|
    |
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
30 ม.ค. 2005, 8:43 pm |
  |
ตามรู้ อารมณ์ ความคิด ที่เปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน อยู่ตลอดเวลา ทุกขณะจิตของลมมีหายใจอยู่
การดู การรู้ ความคิดปรุงแต่ง และอารมณ์ จากการที่กล่าวแล้วในความข้างของต้นนั้น คือเราต้องหยุดดู หยุดรู้ จะไม่วิ่งไล่ตามเหมือนแมวจับหนู เพราะถ้าทำอย่างนั้นจะทำให้เราเหนื่อยเปล่า และทำให้จิตมีงานทำตลอดเวลา เปรียบเทียบหนู คือความคิด แมวคือเรา เมื่อเราวิ่งไล่ ความคิดก็วิ่งหนี กลายเป็นว่าเราต้องวิ่งตามดูความคิดตลอดเวลา แต่ถ้าเราหยุดดู ไม่วิ่งตามแล้วละ จะหยุดดู จะนอนดู จะนั่งดู ที่นี่แหละเมื่อความคิดเห็นว่าเราไม่วิ่งไล่ตามดูแล้ว ความคิดก็ไม่วิ่งด้วย ไม่วิ่งคือความคิดไม่ปรุงแต่งสิ่งใหม่ขึ้น เพราะเห็นว่าเราไม่วิ่งไล่ตามดูแล้ว แต่เมื่อไรที่เราวิ่งไล่ตามดูเมื่อนั้นความคิดก็สร้างสรรปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆ มาให้ดูตลอด จนบางครั้งเราก็คิดว่าเราได้ตามดูความคิดตลอดเวลา แต่ถ้าสั่งเกตสักนิดจะเห็นว่าเราไม่ได้เป็นอิสระจากความคิดปรุงแต่งนั้นเลย เพียงแต่เราตามดูตามรู้ความคิดเพียงอย่างเดียว การเป็นอิสระจากความคิดนั้นคือเราดูเรารู้แล้วต้องปล่อยวาง วางเฉย ความคิดปรุงแต่งเหล่านั้น เมื่อเห็นแล้ววางเฉย ไม่ตามดูจนจบเรื่องราว เพราะการทำแบบนั้นจะทำให้เราเหนื่อยเปล่า เพราะธรรมชาติของความคิดนั้นมีหน้าที่คือคิดปรุงแต่ง เมื่อเราตั้งใจจะดูเค้า เค้าก็จะมีเรื่องราวต่างๆ มาให้ดูไม่รู้ที่สิ้นสุด
การดู การรู้ ความคิด ความนึก และอารมณ์นั้นเราไม่ควรตั้งใจที่จะดู เพราะความตั้งใจนั้นเป็นอุปสรรคอย่างแรงในการปฏิบัติ เพราะความตั้งใจของเรานั้นยังประกอบด้วยความอยากความต้องการอยู่ เมื่อเรานำความตั้งใจที่ประกอบด้วยความอยากความต้องการ ยังมีตัวตน ยังมีเรา มีเค้า มีความคิด มีกิเลสแล้ว ไปใช้ในการปฏิบัติแล้ว ยากที่เราจะประสบกับความสุขที่จริง
การปฏิบัติเราต้องสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเราให้ละเอียดว่ายังมีอะไรบ้างที่เป็นตัวอุปสรรคทั้งเล็กใหญ่ เพื่อให้เราการปฏิบัติของเราเป็นไปได้อย่างถูกต้องเทียงตรง
 |
|
|
|
    |
 |
เก้าตะวัน
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 30 ม.ค. 2005
ตอบ: 2
|
ตอบเมื่อ:
31 ม.ค. 2005, 12:19 am |
  |
ขออธิบายเพิ่มเติม
ตัวรู้ คือ จิต เมื่อมองพิจารณาไปในรูปนาม แล้วดับมันเสียด้วยกุศลเจตนา เจอที่ไหน เจอเมื่อไหร่ก็ดับมัน ด้วยกุศลเจตนาก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
นามที่ผุดขึ้นมาในธรรมรมณ์นั้น จะเร็วมาก ถ้ามองเห็นละเอียดจะพบว่ามันเร็ว มีจำนวนมากมายมหาศาลเหมือนอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ แต่บางทีเพราะเราไม่ละเอียด หรือมันถูกกดไว้ด้วยกำลังของฌาณที่เราปฏิบัติในสมถกรรมฐาน มันจึงมองไม่เห็น หรือเห็นว่ามันน้อย ก็เลยเข้าใจว่ามันว่าง แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ว่างหรอก มันเป็นธรรมชาติ จะมองเห็น มองได้ทันหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง
เมื่อกำลังของสมถกรรมฐานที่กดไว้มันคลายลง มันก็จะค่อย ๆ ผุดออกมาให้เราเห็นเอง เมื่อเรารู้ เราเห็น เราทัน ด้วยสติ คือ รู้ตัวทั่วพร้อม เราก็ต้องดับมัน ถ้าไม่ดับ รู้ว่ามี แต่ทำเป็นไม่รู้ เอาแต่หนี ก็ไม่ได้ละ ก็ไม่พ้น แต่เข้าใจไปว่ามันว่างแล้ว
ถ้าจะกดกิเลส ก็เพิ่มสมาธิ ถ้าจะละกิเลส ก็ต้องเพิ่มปัญญา ปรับสัทธาให้พอดี ปรับวิริยะให้พอดี ปรับสติให้ทัน นี่คือการปรับอินทรีย์ หากสมาธิแข็งไป ก็กดกิเลสหมด ไม่มีอะไรมาโผล่ให้เห็น ก็ไม่มีอะไรให้ละ
สัทธามากก็บัง สมาธิมากก็กด วิริยะน้อยก็ไม่ทำ สติน้อยก็หลง ต้องปรับให้พอดีกับปัญญา จึงจะละได้ถูกทาง
เมื่อปรับอินทรีย์ทั้ง 5 ได้ เมื่อสั่งสมมาพอสมควร ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่าปัญญาญาณ คือ จะเป็นการรู้เห็นการเกิดดับนี้ด้วยญาณ เพราะเมื่อญาณจับได้มันก็จะดับไปให้ อย่างรวดเร็ว ทันกับวาระจิตที่มันยุบยิบ รวดเร็ว เยอะแยะไปหมดอย่างนี้ ไม่ต้องรอเรียกชื่อ ไม่ต้องน้อมเอากุศลเจตนาเข้าไปดับอีก มันจะเริ่มตามได้ทันกับรูปนามที่เกิดดับอย่างเป็นธรรมชาติ ให้เราดับไปได้ด้วยญาณ
ปัญญาญาณนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุทยัพพยาญาณ หรือ อุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
เมื่อจิตเกิดอุทยัพพยาญาณ ก็จะเห็นการเกิดดับของรูปนามได้จนเยอะแยะไปหมด มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทุกที่ ทุกเวลา แม้กระทั่งเวลาเราหลับ จนเมื่อมันเห็นมากเข้าเรื่อย ๆ เห็นพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่เห็นทีละอันเหมือนกับรู้โดยตัวรู้ด้วยปัญญาที่ไม่ใช่ญาณ ก็อาจจะเกิดเวทนาอันน่ากลัวบางอย่างขึ้น คือ รู้สึกกลัวในความไม่เที่ยง เพราะเห็นการเกิดดับในทุกที่ เยอะจนบรรยายไม่ถูก นับไม่ได้ เร็วมาก กลัวจนรู้สึกว่าไม่เคยกลัวอะไรขนาดนี้ แล้วก็อาจจะเริ่มมีความคิดที่อยากจะหนีไปเสียจากความกลัวนี้ บางที ก็อาจจะเกิดเวทนาอีกตัวขึ้นมา คือกลัวที่จะปล่อย เพราะพอจะปล่อย พอจะไปจริง ๆ ก็กลัว กลัวที่จะปล่อยจากสิ่งที่เรายึดมั่นถือมั่นมาโดยตลอดก็คืออวิชชา เวทนา 2 ตัวนี้ก็อาจจะดึงกันไปดังกันมา เวทนาดังกล่าวนี้อาจจะเกิดหรือไม่ก็ได้ เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล แต่ละคนจะมีรูปแบบวิธีไม่เหมือนกัน ทางเข้าก็มีอยู่ 3 ประตู ในทีนี้คือเข้าทางประตูอนิจจัง คือ เมื่อมองเห็นการเกิดดับที่มากมายด้วยอุทยัพพยาญาณ ก็ไปต่อด้วยอนิจจัง
เวทนาอันน่ากลัวนี้ หากเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นครั้งแรก ครั้งต่อ ๆ ไปก็ไม่เกิดอีก เพราะรู้ทางแล้ว
ถ้าสั่งสมมาพอ สังขารอย่างละเอียดบางอย่างก็อาจจะเกิดขึ้น เรียกอย่างหยาบ ๆ ให้เข้าใจได้ว่า อยากหนี หรือสังขารุเบกขาญาณ แล้วก็จะเริ่มไปที่โคตรภูรญาณ คือกำลังข้าม ผ่านภังคญาณ คือผ่านกำแพง เข้าสู่นิพพาธิญาณ คือเป็นตัวชี้พานำ เข้าสู่นิโรธ
ช่วงจากภังคญาณ (ภังคญาณ ก็จะคล้าย ๆ พัง คือพังจนทะลุออกไปเลย) ไปจนถึงนิโรธนี้จะสั้นมาก เกิดขึ้นทันทีทันใด เหมือนกับต้นกล้วยถูกตัดขาดด้วยมีดคม ๆ ทันที เหมือนกับคนที่อยู่ในที่มืดแล้วอยู่ดี ๆ ก็ไปโผล่ในที่สว่างทันทีทันใด และในช่วงสั้น ๆ นี้ก่อนที่จะโผล่ จิตจะเหมือนดับวูบลงชั่วขณะหนึ่ง ไม่มีอะไรเลย แม้กระทั่งตัวเรา คล้าย ๆ อสัญญีภพ แต่ไม่ใช่ ในช่วงนี้จะมีญาณอีกหลายอันเกิดขึ้น แต่อธิบายยาก มันละเอียด ขอไม่อธิบาย ก่อนที่จะโผล่ออกมาแบบไม่รู้ตัวอีกที แล้วก็ไม่มีอะไร ไม่มีแม้แต่ตัวรู้ ไม่มีอะไรเลย
ดังนั้น ที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนมาว่า เมื่อเห็นแล้ว ดับได้แล้ว ก็ให้ไปทำลายตัวรู้นี้เสีย ก็คืออย่างนี้ อย่างที่อธิบายไปว่ามันจะดับไปเมื่อไหร่ข้างต้น เหมือนกับต้มน้ำให้เดือด เมื่อน้ำเดือดแล้ว เราก็เอาแต่น้ำ เราไม่ได้เอากาน้ำ ท้ายที่สุดก็ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวรู้ แต่ไม่ใช่ไปทำลายตัวรู้ตั้งแต่เริ่มต้น ถ้าอย่างนั้นแล้วจะเอากาน้ำที่ไหนต้มน้ำได้ ทำลายอย่างนั้นก็ไม่ได้หรอก ได้แต่หนี ไม่รับรู้ว่ามี แต่ผู้ปฏิบัติบางทีอาจจะไม่เข้าใจ ก็ไม่เลยไม่รู้จะทำยังไง เห็นแล้วดับแล้วก็เลยวนอยู่อย่างนั้น เพราะไปเข้าใจว่าเมื่อมีตัวรู้ ก็มีอัตตา ก็มีกิเลส จึงไม่น่าจะถูก
เมื่อสักพัก ตามเวลาที่อธิษฐานไว้ อาจจะชั่วขณะ 1 ชั่วโมง 1 วัน 3 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน จิตก็จะเริ่มคลายจากนิโรธ ตัวรู้ก็จะเริ่มเกิด แต่กว่าจะรับรู้ว่ามีตัวรู้นี้ก็ไม่ใช่ง่าย ๆ กว่าจะกลับมาถึงรูป ถึงนามอีกก็ค่อย ๆ ถอยออกมา ไม่เหมือนกับการออกจากฌาณในสมถกรรมฐานที่ยังออกได้เร็วกว่า จับมือซ้ายขึ้นมาดู พอสัญญาจำได้ว่านี้เป็นมือซ้าย ก็วางลง ไปยกมือขวามาดู มือซ้ายที่ยกขึ้นมาดูเมื่อกี้ก็ลืมไปแล้ว เพราะอุทยัพพยาญาณ ยังคงมีกำลังแรงอยู่ มันจึงดับไปหมด
ช่วงที่ถอยออกมานี้เอง เราก็จะเริ่มรู้ว่า มีสังโยชน์ใดบ้างที่ละได้ขาดแล้ว สังโยชน์ใดบ้างที่ยังเหลืออยู่ ด้วยความรู้ด้านปริยัติ เหมือนน้ำลดตอผุด
สังโยชน์ 3 ข้อแรกจาก 10 ข้อจะหมดไปก่อน อกุศลกรรมบท 5 ข้อแรกจะหมดไปจากทั้งหมด 10 ข้อ นับตั้งแต่เข้าสู่นิโรธครั้งแรก
สังโยชน์ใดยังเหลืออยู่ ก็กลับไปเริ่มที่อุทยัพพยาญาณใหม่ แล้วก็มีวิริยะ ทำต่อไปเรื่อย ๆ เข้าไปในนิโรธแต่ละครั้ง สังโยชน์ก็จะค่อย ๆ ถูกปอกถูกลอกออกไป ค่อย ๆ บางลงไปเรื่อย ๆ หมดไปอีกทีละข้อ
สังโยชน์ในข้อกามราคะ ละได้ขาดเป็นลำดับสุดท้าย ละได้บ้างเฉพาะอย่างหยาบที่นำไปสู่อบาย ละได้หมดเมื่อสิ้นแล้วโดยสิ้นเชิง นางวิสาขาถึงได้มีร้องไห้ เศร้าโศก เสียใจ มีครอบครัวได้ เพราะอย่างนี้
แต่เมื่อได้รู้ได้เห็นแล้ว จึงมีจุดเทียบเคียง รู้ในสภาวะสัมบูรณ์ที่พ้นจากอาสวะ จึงอยู่ในกระแส ไม่มีทางไปสู่อบาย อย่างที่พระพุทธองค์ตรัสไว้
จนท้ายที่สุด เมื่อถึงเวลา เมื่อพร้อม มันก็หมด ขาดจากอาสวะ ไม่ต้องเกิดอีก พ้นจากทุกข์
หากอยากรู้ให้ปฏิบัติ เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ต้องไปถามใครอีก ไม่ต้องไปนั่งคิดอีก แต่ให้ปฏิบัติ ปรับอินทรีย์ให้เหมาะ หรือไปหาครูอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ให้ท่านคอยดู ให้ท่านสอบทาน
หากไม่แน่ใจในแนวทาง กลัวจะปฏิบัติผิด ให้อ่านใน พระสุตตันตปิฏก เล่ม 23 ขุททุกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระพุทธเจ้าตรัสไว้หมดแล้ว แต่ถ้าไม่อธิบายไว้อย่างนี้ก็อาจจะไม่เข้าใจ ท้ายที่สุดก็ได้แต่ท่อง รู้แต่ตัวหนังสือ
แต่ไม่แนะนำให้อ่านมาก ครูบาอาจารย์ก็ไม่แนะนำให้อ่านมาก ให้ปฏิบัติ ส่วนใหญ่ท่านที่ปฏิบัติกันได้แล้วจะไปหาอ่านกันทีหลังหลังจากสอบทานกับครูบาอาจารย์แล้ว เพราะจะได้อธิบายกับผู้อื่นที่มีสภาคะเดียวกันถูก จะได้รู้ว่าเรียกว่าอะไรกัน หรือเป็นการสอบทาน เหมือนอย่างพระสารีบุตรก็สอบทานอย่างนี้เหมือนกันในช่วงแรก ๆ ทั้ง ๆ ที่สิ้นจากอาสวะหมดแล้ว ทุกท่านก็ต้องสอบทาน ยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธกับพระปัจเจกพุทธเท่านั้นที่ไม่ต้องสอบทาน เพราะตรัสรู้ได้ด้วยองค์เอง
เพราะไม่อย่างนั้นก็เหมือนดังพระอานนท์ กว่าท่านจะละได้หมดก็ตอนที่ศีรษะเอนลงจนจะถึงหมอนอยู่แล้วเมื่อตอนดับขันธ์ ถึงจะพ้นจากอาสวะโดยสิ้นเชิง
|
|
|
|
    |
 |
ผู้น้อยฯ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
31 ม.ค. 2005, 1:06 am |
  |
ขออนุญาตเรียนถามคุณเก้าตะวันครับ
ที่ว่าสมาธิมากเกินไปนั้นจะปรับอย่างไรครับ? ไม่ต้องนั่งสมาธิหรือครับ? ที่ว่าสมาธิบังปัญญานั้นเป็นอย่างไรครับ? เมื่อผัสสะแล้วไม่เกิดหรือเปล่าครับ หรือว่ามีแต่ความสงบปีติสุขอยู่ตลอดเวลาครับ? และการปรับอินทรีย์ให้เสมอกันทำได้อย่างไรครับ? แล้วที่ว่าการเข้า 3 ประตูนั้นขอให้อธิบายเพิ่มหน่อยครับว่าเป็นอย่างไรหรือว่าเมื่อเห็นการเกิดดับของรูปนามแล้วคิดต่อไปว่าไม่เที่ยงเป็นอนิจจังอย่างนี้หรือเปล่าครับ? หรือว่าเห็นการเกิดดับแล้วแค่รู้เฉย ๆ ครับ? หวังว่าคงไดรับความเมตตาครับ ถ้าไม่เป็นการรบกวนจนเกินไปขออนุญาตเมล์ไปหาได้หรือเปล่าครับ? ขอบคุณครับ
 |
|
|
|
|
 |
chat
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
31 ม.ค. 2005, 8:36 am |
  |
ขอบคุณ ท่านทุกคน ครับ
ที่ให้ความกระจ่าง แก่ผู้ฝึกหัด
ตอนนี้ผม มีภาระมากมายครับ.....แต่ก็ไม่ท้อ....
จะใช้ การทำงาน การ ดำเนินกิจวัตรประจำวันเป็นการ
ฝึกฝน ตัวเอง ด้วย
ช่วย แผ่ เมตตา ให้ผม มีความคิดดี สืบต่อไปด้วย ครับ
เพิ่งจะ รู้ด้วย ว่าคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็น ยาทิยพ์ รักษาใจผมได้
ตั่งใจจะเดินทางนี้ต่อไป.....จนหมดลมหายใจ |
|
|
|
|
 |
เก้าตะวัน
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 30 ม.ค. 2005
ตอบ: 2
|
ตอบเมื่อ:
31 ม.ค. 2005, 2:33 pm |
  |
เรียน คุณผู้น้อยฯ
ขออธิบายดังนี้
ที่ว่าสมาธิมากเกินไปนั้นจะปรับอย่างไรครับ?
ไม่ต้องนั่งสมาธิหรือครับ?
ที่ว่าสมาธิบังปัญญานั้นเป็นอย่างไรครับ?
อินทรีย์ทั้ง 5 ประกอบไปด้วย วิริยะ สติ สัทธา สมาธิ ปัญญา
สมาธิในที่นี้หมายถึง สมาธิอันเกิดจากสมถกรรมฐาน ซึ่งกรรมฐานนี้ก็มีหลายแบบหลายวิธี มีอยู่ 40 อย่าง อย่างที่ทราบกัน ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะเจริญอานาปานสติ เนื่องด้วยมีความละเอียด เป็นกลาง เข้ากับจริตของผู้ปฏิบัติได้ทั้งหมด ครูบาอาจารย์ก็มักจะแนะนำให้ปฏิบัติ
นอกจากนี้ ก็ยังมีกรรมฐานอื่น ๆ อีก เช่น กสิณทั้งหลาย อสุภกรรมฐาน หรือแม้กระทั่ง ถ้าเราสวดมนต์ ทำจิตน้อมไปยังพระรัตนตรัย ก็เป็นพุทธานุสติ ธัมมนุสติ สังฆานุสติ เป็นกรรมฐานเหมือนกัน แต่คนทั่ว ๆ ไปอาจจะไม่รู้ตัว เพราะไม่เคยมีใครบอก รู้แต่ว่าถ้าจะเป็นสมาธิต้องกำหนดลมหายใจเท่านั้น
กรรมฐานแต่ละกองแต่ละอย่าง จะมีความละเอียดหยาบไม่เท่ากัน มีกำลังไม่เท่ากัน เช่นอานาปานสติให้ผลได้ถึงอรูปฌาณ กสิณได้ถึงอรูปฌาณ พุทธานุสติให้ผลได้ถึงทุติยฌาณในรูปฌาณ เป็นต้น
เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสมถกรรมฐานนี้คืออะไร มีไว้ทำอะไร
ในอดีตก่อนพุทธกาล สมถกรรมฐานนี้ก็เป็นที่ทราบที่ปฏิบัติได้โดยทั่วกันอยู่แล้วในหมู่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ซึ่งผู้ปฏิบัติก็จะได้อานิสงฆ์ในขั้นแรกคือ จิตสงบ ไปจนถึงได้เสวยสุขในฌาณ อันถือเป็นสุขอย่างยิ่ง เมื่อตายไปในขณะที่จิตอยู่ในรูปฌาณ ก็ไปจุติได้จนถึงพรหม หากตายไปในขณะที่จิตอยู่ในอรูปฌาณ ก็ไปจุติได้จนถึงอรูปพรหม
ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่าจิตนั้นสงบมาก มีกำลังมาก กดทับกิเลสเสียจนไม่งอกเงยออกมา บางทีในเบญจขันธ์ที่เราเข้าใจกันอยู่นี้ ก็กดจนแทบจะเหลือแค่สัญญาในอรูปฌาณ แทบไม่เหลือสังโยชน์ให้ดึงไปเกิดในภพภูมิอื่น กามราคะก็บางเสียแทบจะไม่มี ดังนั้น จึงไปเกิดในที่ดี
ดังนั้น สมถกรรมฐานนี้ จึงไม่ใช่สิ่งไม่ดี เป็นสิ่งที่ดี เพราะไปกดกิเลสไว้ไม่ให้พอกพูนงอกเงยออกมา จึงเป็นการทำความดี ละเว้นความชั่ว เช่นเดียวกัน ผลบุญที่ได้จากสมถกรรมฐานนี้ เป็นปฏิบัติบูชาเช่นเดียวกัน ให้ผลได้มากกว่าทานใด ๆ แม้กระทั่งถวายภัตตาหารแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถ้าเราไม่อยากให้หญ้ามันงอกเงยออกมา เราก็เอาก้อนหินไปทับไว้ หญ้าก็ไม่งอกออกมาให้เห็นอีก
สมถกรรมฐานก็เช่นเดียวกัน
แต่เนื่องจากสมถกรรมฐานก็ย่อมมีเสื่อมไปตามกำลัง เมื่อกำลังหมด ก็เสื่อม ผู้ปฏิบัติที่สำเร็จฌาณในสมถกรรมฐาน ได้ไปเสวยสุขในพรหมโลก เมื่อสิ้นกำลัง หรือที่เรียกกันว่าสิ้นบุญ ก็ต้องมีมรณะ ไปจุติใหม่ ตามกรรมของตน เช่นเดียวกัน เมื่อกำลังของสมถกรรมฐานเสื่อมลง กิเลสที่กดไว้ก็จะงอกเงยออกมา ดังเดิม
ผู้ปฏิบัติบางท่าน มีวิริยะ พยายามฝึกสมถกรรมฐาน เพียรพยายามนับสิบปี ทั้งอานาปนสติ ทั้งอสุภกรรมฐาน ทั้งกสิณทั้งหลาย บางครั้งบางที จิตอยู่ในฌาณต่อเนื่องถึง 3 วัน 7 วันก็มี เมื่อออกจากกรรมฐาน ก็ไม่หิว ไม่ง่วง พบว่า จิตสงบ มีความสุขใจ ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในกรรมฐานแล้ว แต่กำลังของมันก็จะยังคงมีอยู่ มโนมยิธิ อิทธิวิธีทั้งหลายก็เกิดขึ้นตามบุญที่สั่งสมมาด้วยกำลังของสมถกรรมฐาน ให้เพลิดเพลินเจริญใจ มีเจโตรปริยญาณ มีบุพเพนิวาสานุสติญาณ มีทิพย์โสต ทิพย์จักษุ ฯลฯ กิเลสตัณหาต่าง ๆ ก็บางจนแทบไม่รู้ว่ามี เห็นว่าง ๆ ไม่มีอะไร บางท่านก็ไปไกลหน่อย นึกว่าว่าว่างแล้ว พ้นแล้ว
พอเวลาผ่านไป หากปฏิบัติต่อเนื่องก็ยังคงอยู่ หากเว้นจากการปฏิบัติสักช่วงเวลาหนึ่ง ก็จะเริ่มเสื่อม กิเลสความวุ่นวายทั้งหลายที่เข้าใจว่าแทบจะไม่มีแล้วนั้นก็เริ่มผุดขึ้นมา มโนมยิธิทั้งหลายก็เริ่มเสื่อม จึงได้เริ่มรู้เห็น เริ่มเข้าใจว่า จริง ๆ แล้วกิเลสทั้งหลายมันถูกกดไว้ แต่มันยังมีอยู่
พระพุทธองค์เมื่อตรัสรู้แล้วจึงได้แสดงธรรมว่าด้วยการละ ไม่ใช่การกด ท่านที่สวดมนต์อยู่เป็นประจำก็ลองไปหาความหมายของธัมมจักกัปปวัตตนสุตตะปาฐะ สวดอยู่บ่อย ๆ ก็ลองนึกดูบ้างว่าท่านตรัสว่าอย่างไรบ้างเมื่อท่านตรัสรู้แล้ว คือค้นพบอะไรแล้ว ค้นพบอะไรใหม่
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่
โย ตัสสาเยวะตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
นี้คือความดับสนิท เพราะจางไปโดยไม่มีเหลือ ของตัณหา นั่นเอง
จาโค
เป็นความสลัดทิ้ง
ปะฏินิสสัคโค
เป็นความสละคืน
มุตติ
เป็นความปล่อย
อะนาละโย
เป็นความทำให้ไม่มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น
พิจารณาดูให้ดี ๆ "เป็นความสละทิ้ง เป็นความสละคืน เป็นความปล่อย ให้ไม่มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น" สิ่งนี้คืออริยสัจจ 4 ที่ทรงตรัสรู้ เป็นแก่นของพระธรรม
สิ่งที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้คือ ต้องละ ต้องทำให้ไม่มีที่อยู่ของตัณหา จึงจะพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
ท่านไม่ได้บอกให้กดไว้เรื่อย ๆ อย่างนั้นก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรใหม่ ก็ไม่ใช่การตรัสรู้
แล้วท่านก็ไม่ได้บอกว่าให้สลัดทิ้ง สละคืน ปล่อย ด้วยการไม่มองตัณหา แต่ให้หาที่อยู่ของมันให้เจอ แล้วก็ทำลายที่อยู่นั้นเสีย ต้องพิจารณาให้ครบ
ถ้าเราไม่อยากให้หญ้ามันงอกออกมาอีก นอกจากเอาก้อนหินไปทับไว้ ก็มีอีกวิธีหนึ่ง คือ หาว่าหญ้ามันงอกมาจากตรงไหน แล้วก็เอาดินตรงนั้นไปทิ้งเสีย ก็ไม่มีหญ้างอกออกมาอีก เพราะไม่มีดินแล้ว
อริยสัจ 4 ก็เช่นเดียวกัน
ดังนั้น หากเราเจริญสมถกรรมฐานจนจิตอยู่ในฌาณ เราก็ย่อมจะมองไม่เห็นว่ากิเลสตัณหามันอยู่ตรงไหน เพราะมันไม่ค่อยจะโผล่มาให้เห็น มันถูกกดไว้
ดังนั้น หากจะละกิเลส ต้องหันหน้าสู้กับมัน หามันให้เจอ รู้เท่าทันมัน แล้วหาทางทำลายที่อยู่ของมันเสีย
สมาธิจึงควรทำแต่เพียงให้สงบ ไม่ควรแข็งจนเกินไป เพราะถ้าอย่างนั้นก็จะไม่ได้ทำอะไร ที่เรียกว่าสมาธิมากเกินไปจนบังปัญญานั้น ก็เพราะมันไม่เหลืออะไรโผล่ออกมาให้พิจารณา มันถูกกดไว้ ซ่อนอยู่ เรามองไม่เห็น พิจารณาไม่ได้ จึงไม่เกิดปัญญา
แต่ไม่ใช่ไม่นั่งสมาธิเสียเลย เพราะจิตที่ไม่มีกำลัง สติก็ตั้งมั่นอยู่ไม่ค่อยได้ เพราะฐานไม่แน่น มันต้องไปด้วยกัน แต่ต้องพอดี
แล้วจึงไปพิจารณาอริยสัจ 4
พอกล่าวถึงอริยสัจ 4 ก็จะบอกกันได้ว่า มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความหมายก็ทราบกันดี โดยเฉพาะมรรค คือ ทางสายกลาง
เวลาพูดถึงทางสายกลาง เรามักจะเข้าใจกันแต่เพียง ความเห็นชอบ, ดำริชอบ, พูดจาชอบ, ทำการงานชอบ, เลี้ยงชีวิตชอบ, พากเพียรชอบ, ระลึกชอบ, ตั้งใจมั่นชอบ
แล้วส่วนใหญ่ก็จะบอกว่า รู้กันดีอยู่แล้ว ปัจจุบันก็ทำอยู่แล้ว มีครบทั้ง 8 อย่างนั้นที่เรียกว่ามรรค 8 เดี๋ยวก็ไปถึงนิพพานเองเพราะพระพุทธเจ้าบอกไว้ แต่เมื่อไหร่ไม่รู้ ไปยังไงก็ยังไม่รู้ รู้แต่ว่าทำอย่างนี้ มี 8 อย่างนี้แล้วเดี๋ยววันหนึ่งก็ไปได้เอง ตอนนี้ก็ทำความดี ละเว้นความชั่วไปก่อน นั่งสมาธิให้จิตสงบไปก่อน เพราะสงบดี ตักบาตรทำบุญ เข้าวัดเข้าวา ฟังเทศน์ฟังธรรมแล้วยกมืออนุโมทนา กรวดน้ำ แล้วก็นั่งถามกันว่า นิพพานอยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร ฯลฯ
แต่เรามักจะไม่ได้พิจารณาในพุทธดำรัส วรรคต่อมา ที่เราสวดมนต์กันอยู่บ่อย ๆ ในคาถาเดิมที่อธิบายไปข้างต้น คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสุตตาปาฐะ นั่นเอง ว่าไว้ดังนี้
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือข้อปฏิบัติ เป็นทางสายกลาง
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
จักขุกะระณี
เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ
ญาณะกะระณี
เป็นเครื่องทำให้เกิดญาณ
อุปะสะมายะ
เพื่อความสงบ
อะภิญญายะ
เพื่อความรู้ยิ่ง
สัมโพธายะ
เพื่อความรู้พร้อม
นิพพานายะ สังวัตตะติ
เป็นไปเพื่อนิพพาน
จะเห็นได้ว่ามีอะไรบ้างที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เรื่องมรรค ก็มี "ทำให้เกิดจักษุ", "ทำให้เกิดญาณ", "เพื่อความสงบ", "เพื่อความรู้ยิ่ง","เพื่อความรู้พร้อม","เป็นไปเพื่อนิพพาน"
จักษุ คืออะไร ก็คือการมองเห็น มองเห็นอะไร ก็มองเห็นในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ญาณ คืออะไร ก็คือการเห็นในไตรลักษณ์ ในลักษณะที่เป็น "ญาณ" คือรู้ได้ถ้วนทั่ว ได้ถี่ถ้วน ได้ทัน ได้ละเลียด
เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน
ความหมายก็ชัดเจนอยู่แล้ว เมื่อมีจักษุ เมื่อมีญาณ ก็มีความสงบ มีความรู้ยิ่ง มีความรู้พร้อม จึงได้นิพพาน
คือเมื่อมองเห็น แล้วจึงมองเห็นได้ละเอียดขึ้น เห็นในธรรม คือ ธรรมชาติ คือทุกสรรพสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นไปตามวิถีของมัน เราควบคุมมันไม่ได้ ก็จะมีความสงบ แล้วก็จะเกิดความรู้ยิ่งขึ้น ด้วยสิ่งที่มองเห็นทั้งหยาบและละเอียด และเมื่อพร้อม จิตจึงคลาย จึงถึงนิพพาน พ้นจากตัณหา
นี้คือ มรรค
ดังนั้น มรรค ในอริยสัจ 4 ก็คือ วิปัสนากรรมฐาน อย่างที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ โดยเริ่มจากมองให้เห็นในรูปนามก่อน เพื่อให้เห็นในสังขาร ในกิเลส แล้วจึงมองให้เห็นในไตรลักษณ์ พิจารณาไตรลักษณ์ จนเกิดญาณ ซึ่งก็คือที่เรียกกันว่า วิปัสนาญาณ แล้วจึงเกิดความรู้ยิ่ง รู้พร้อม เกิดปัญญา เกิดวิชชา พ้นจากอวิชชา ดับตัณหา ตัดสังโยชน์ได้ ถึงนิพพาน
ต่างกันสมถกรรมฐานอย่างชัดเจน ถ้าพิจารณาให้ดี เพราะสมถกรรมฐานไม่ทำให้ถึงนิพพาน แต่วิปัสนากรรมฐาน ทำให้ถึงนิพพาน แต่ทั้งสองอย่างนี้ก็ต้องไปด้วยกัน แต่ต้องพอดี เพราะสมถกรรมฐานเป็นฐานของสติในวิปัสนากรรมฐาน ถ้าขาดสติ ก็มองไม่เห็น ไม่มีจักษุ ไม่มีญาณ พิจารณาไม่ได้ ก็ไม่พ้น ก็ไม่ถึง
เมื่อผัสสะแล้วไม่เกิดหรือเปล่าครับ หรือว่ามีแต่ความสงบปีติสุขอยู่ตลอดเวลาครับ?
ดังที่ทราบกันดีว่าตัวเราล้วนประกอบขึ้นด้วยขันธ์ทั้ง 5 มีอายตนะทั้ง 6 รับผัสสะเข้ามาที่จิต เมื่อมีผัสสะจึงย่อมเกิดนามขันธ์อยู่เป็นธรรมดา ตามธรรมชาติของมัน แต่เมื่อเกิดแล้วก็ดับไปด้วยจักษุและญาณ ดับได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความหยาบละเอียดในการพิจารณาด้วยจักษุและญาณ หากละเอียดมากจนรู้เท่าทันอย่างละเอียด และดับได้อย่างละเอียด กามราคะซึ่งเป็นสังโยชน์ที่แน่นหนาก็บางเบาหรือสิ้นไป ปิติและสุขจึงไม่มี เพราะเมื่อมองเห็นก็พิจารณาแล้วก็ดับไปเช่นเดียวกัน
การปรับอินทรีย์ให้เสมอกันทำได้อย่างไรครับ?
อย่างที่อธิบายไปแล้วว่าอินทรีย์ทั้ง 5 ประกอบไปด้วย วิริยะ สติ สัทธา สมาธิและปัญญา
ปรับอินทรีย์ในที่นี้หมายถึง ปรับเพื่อให้ได้มรรคผล นิพพานเมื่อปฏิบัติ เหมือนกับเวลายิงธนู ก็ต้องปรับองศาให้ดี ถึงจะยิงได้ถูกเป้าหมาย
วิริยะ คือ ความเพียร เป็นความต่อเนื่อง ไม่ย่อท้อต่อความเหน็ดเหนื่อย หากขี้เกียจ ไม่ค่อยจะทำ ก็ไม่ได้ผล ทำมากเกินไป ก็ตะบี้ตะบันทำอยู่นั่น บางทีไม่ได้เงยหน้ามามอง เอาแต่ก้มหน้าก้มตาทำ ก็ไปผิดที่ผิดทางได้เหมือนกัน
สติ ก็คือการรู้ตัวทั่วพร้อม คือรู้ให้พอดี รู้ให้ทัน ถ้ามีน้อยเกินไป ก็รู้ไม่ทัน ก็หลง รู้มากเกินไปจนเกินกำหนดจุด เกินกว่าสิ่งที่มันมีอยู่ ก็เป็นอุปาทาน
สัทธา ก็คือ ความพึงพอใจที่จะทำ คือฉันทะ ทำให้อยากจะทำ ถ้ามีน้อยก็ไม่ค่อยอยากจะทำ ไม่รู้จะทำไปทำไม มีมากเกินไป ก็วนติดอยู่กับที่ ไม่ไปไหน ได้ไปแต่กระพี้ ไม่ได้แก่น บางท่านทำบุญก็ซึ้ง ฟังเทศน์ก็ซึ้ง อ่านหนังสือธรรมะก็ซึ้ง สนทนาธรรมก็ซึ้ง แล้วก็ซึ้งอยู่นั่นล่ะ น้ำหูน้ำตาไหลเพราะปิติ ก็ไม่ไปไหนอีก อยู่แถว ๆ นั้น เพราะไม่ได้ปฏิบัติ
พระพุทธองค์จึงได้ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
ดังนั้น ถ้าอยากเห็นพระพุทธองค์ อยากไปอยู่กับพระพุทธองค์ ต้องทำให้เห็นธรรม คือปฏิบัติ
สัทธานี้ ขอให้พิจารณาให้ดี เรามักจะมีอามิสบูชากันมากกว่าปฏิบัติบูชา บางท่านประสบปัญหาชีวิต รู้สึกว่าตัวเองมีความทุกข์ ก็วิ่งเข้าหาพุทธศาสนาด้วยสัทธา แล้วก็ยึดสัทธานั้นไว้ ยึดไว้จนแน่น จนลืมปฏิบัติ ลืมพิจารณา เพราะพึงพอใจในปิติที่ได้รับเพียงอย่างเดียว บางท่าน ยึดไว้แน่น พอมีใครมาพยายามโยกคลอน ก็กลายเป็นโมหะ เป็นโทสะไป เกิดอคติ เกิดทิฐิ กลายเป็นมิจฉาทิฐิก็มี
สมาธิ ก็คือ กำลัง ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว คือต้องพอดี มากไปก็มองไม่เห็น น้อยไปก็ไม่นิ่ง ดูอะไรที่มันเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ไม่ได้ ไม่ทัน
ปัญญา ก็คือ ความรู้ คือหนทาง ไม่รู้เลยก็ไปไม่ถูก รู้มากเกินไปก็ทำให้เกิดความลังเล สงสัย อันนี้ก็ถูก อันนี้ก็ใช่ แล้วอันไหนกัน เพราะมันไม่พอดี
เรามักจะชอบอ่านหนังสือธรรมะ ชอบฟังเทศน์ฟังธรรม ชอบทำบุญ เพราะทำแล้วเกิดปิติ อิ่มอกอิ่มใจ รู้สึกว่าได้บุญ มีความสุขใจ จึงทำอยู่เรื่อย ๆ แต่ไม่ได้พิจารณาไตรลักษณ์ ไม่ได้ปฏิบัติให้ดับทุกข์ ให้พ้นจากสังโยชน์ ทำเพียงแค่จึงได้แต่เพียงเสวยผลบุญ ตายไปก็ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม หรือหากเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นเศรษฐี เป็นพระราชา แต่ยังไม่พ้นทุกข์ เพราะยังต้องเกิด
บางท่าน ชอบอ่านหนังสือธรรมะ ชอบฟังเทศน์ฟังธรรม ชอบทำบุญ นั่งสมาธิปฏิบัติสมถกรรมฐาน เพื่อให้ใจสงบ ทำเพียงแค่นี้จึงได้เพียงเสวยผลบุญ ตายไปก็ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม แต่ยังไม่พ้นทุกข์ เพราะยังต้องเกิด เช่นเดียวกัน
บางท่าน ชอบอ่านหนังสือธรรมะ ชอบฟังเทศน์ฟังธรรม ชอบทำบุญ นั่งสมาธิสมถกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน ทำอย่างนี้ จะได้มรรคผลนิพพาน ละสังโยชน์ได้ขาด ไม่ต้องเกิดอีก ไม่ชาติใดชาติหนึ่ง ก็วันใดวันหนึ่ง
แล้วที่ว่าการเข้า 3 ประตูนั้นขอให้อธิบายเพิ่มหน่อยครับว่าเป็นอย่างไร หรือว่าเมื่อเห็นการเกิดดับของรูปนามแล้วคิดต่อไปว่ามันไม่เที่ยงเป็นอนิจจังอย่างนี้หรือเปล่าครับ หรือว่าเห็นการเกิดดับแล้วแค่รู้เฉย ๆ ครับ
ประตูที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ ก็คือ ประตูเข้าสู่นิพพาน มีอยู่ 3 ประตู ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือไตรลักษณ์
ถ้าท่านใดเคยไปฝึกวิปัสสนา ที่ครูอาจารย์ท่านให้เดินจงกรม แล้วก็บอกตัวเองว่า รูป นาม ฯลฯ ไปทุกย่างก้าวที่วางฝ่าเท้าลงไป
หรือทุกครั้งที่ลมหายใจเข้าออก ก็ให้กำหนดไปว่า ยุบหนอ พองหนอ
ทำไมท่านถึงให้ทำอย่างนั้น
เพราะท่านต้องการให้ผู้ปฏิบัติ มีสติกำหนดรู้เท่าทันในทุกอริยาบท ว่าอันไหนเป็นรูป อันไหนเป็นนาม เพื่ออะไร ก็เพื่อให้มองเห็น ว่ามันแยกออกได้อย่างนี้นะ เป็นขั้นต้นก่อน
เมื่อฝึกซ้ำไปเรื่อย ๆ จนเริ่มที่จะแยกออกได้แล้ว บางท่านก็หยุดอยู่แค่นั้น ก็เลยเข้าใจไปว่า วิปัสนากรรมฐานนี้ก็แค่ไปถือศีล ใส่ชุดขาว ทำใจให้สงบ แล้วก็กำหนดรูปนามลงไป ในทุกอริยาบท เท่านั้น ตอนนี้ฝึกครบ 7 วันแล้ว ปีหน้าถ้าว่าง ก็จะมาใหม่
บางทีเดินจงกรมกันอยู่เป็นสิบเป็นร้อย สวยงาม พอฝนตกลงมากระทันหัน ก็วิ่งหลบฝนกันอลหม่าน ทั้ง ๆ ที่กำลังกำหนดรูปนามอยู่นั่นแหละ
บางท่านก็ดูยุบหนอ พองหนอ กำหนดจิตไว้ที่ท้อง พอดูไปเรื่อย ๆ จิตก็สงบ นิ่ง ไปเรื่อยก็เข้าปฐมฌาณ ไปจนถึงจตุตถฌาณ ไปจนถึงอรูปฌาณ กลายเป็นสมถกรรมฐานไป
โดยไม่ได้พิจารณาไตรลักษณ์ ไม่ได้มองเป็นไตรลักษณ์
ทีนี้ ถ้ามอง ถ้าพิจารณาจะเป็นอย่างไร
เช่น กำลังเดินจงกรม กำหนดรูปนามลงไป ตอนนี้รูปกำลังเดินอยู่ กำลังยกเท้า กำลังวางส้นเท้า กำลังวางกลางเท้า กำลังวางปลายเท้า
ทำไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดอารมณ์ขึ้นมา อารมณ์นี้คืออารมณ์วิปัสนา คือ เริ่มรู้สึกว่ารูปนี้มันแยกออกไป มันเป็นแค่รูป คำว่าตัวเราที่ปรกติรวมรูปนี้อยู่ด้วย มันเริ่มจะไม่ค่อยรวมแล้ว มองเป็นรูปเฉย ๆ
พอเริ่มแยกออก มันก็จะเริ่มพิจารณาไตรลักษณ์ คือ เริ่มวิ่งเข้าหาประตู
เช่น ถ้าเป็นประตูอนิจจัง
รูปมันก็เป็นอย่างนี้แหละ เรานี้ก็บำรุงแต่รูปมานาน หาเสื้อผ้าให้มันใส่ หาอาหารให้มันกิน ขัดสีฉวีวรรณ บางทีมันก็เคยเจ็บ มันก็เคยป่วย เดี๋ยวมันก็ต้องตาย มันไม่เที่ยงเลย ไม่เห็นมันอยู่กับที่เลย เวลาผ่านไปรูปเราก็เปลี่ยนไป เป็นอนิจจัง จิตก็จะเริ่มคลายจากรูป ด้วยกุศลเจตนานี้
เช่น ถ้าเป็นประตูทุกขัง
รูปนี้มันก็เป็นอย่างนี้แหละ เราวางฝ่าเท้าลงไป เราก็รู้สึกเจ็บ คราวก่อนที่รูปเราไม่สบาย มันก็เป็นทุกข์ ตอนนี้รูปเราปวดท้องอยู่ เราก็ทุกข์ เดี๋ยววันหนึ่งรูปเราตาย เราก็ทุกข์ พ่อแม่ญาติพี่น้องบุตรภรรยาก็ทุกข์ จิตก็จะเริ่มคลายจากรูป ด้วยกุศลเจตนานี้
เช่น ถ้าเป็นประตูอนัตตา
รูปนี้มันก็เป็นอย่างนี้แหละ เราพยายามเสริมเติมแต่งมัน ทำให้มันดูดี ทำให้มันหล่อ มันสวย มันก็ไม่เห็นเป็นอย่างที่เราต้องการได้เลย บังคับมันไม่ได้ มันจะเป็นไปอย่างไรเราไม่เคยห้ามได้เลย เป็นอนัตตา จิตก็จะเริ่มคลายจากรูป ด้วยกุศลเจตนานี้
เมื่อจิตเริ่มคลายจากรูป เกิดผัสสะเข้ามาทางอายตนะทั้ง 6 จิตก็จะพิจารณานามขันธ์ ไปตามลักษณะไตรลักษณ์ ตามประตูที่เข้าไป
สมมติว่ามีสังขารนี้เกิดขึ้น ผุดขึ้นมาในอายตนะธรรมารมณ์ คือ
"เราเงินเดือนไม่ขึ้นมานานแล้วนะ เราอยากได้เงินมากกว่านี้"
เช่น ถ้าเป็นประตูอนิจจัง
จิตก็จะพิจารณาเพื่อดับว่า เงินเดือนขึ้นแล้วเป็นอย่างไร ได้เงินมากกว่านี้แล้วเป็นอย่างไร พอมันได้ขึ้นเราก็ดีใจ ไม่ได้ขึ้นเราก็เสียใจ แต่วันนึงพอเราใกล้จะตาย เงินก็เอาไปไม่ได้ มันไม่เที่ยงหรอก ความรู้สึกนี้ สังขารนี้ เดี๋ยวมันก็แปรเปลี่ยน เป็นอนิจจัง จิตจึงเริ่มคลาย สังขารนี้จึงเริ่มดับไป ด้วยกุศลเจตนานี้
เช่น ถ้าเป็นประตูทุกขัง
จิตก็จะพิจารณาเพื่อดับว่า เพราะเราไปห่วงอยู่ว่ามันจะขึ้นหรือไม่ขึ้น ขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร ไม่ขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร เราจึงทุกข์ ถ้าเราไม่ผูกไม่ยึดไว้ มันก็ไม่ทุกข์ จึงเป็นทุกขัง จิตจึงเริ่มคลาย สังขารนี้จึงเริ่มดับไป ด้วยกุศลเจตนานี้
เช่น ถ้าเป็นประตูอนัตตา
จิตก็จะพิจารณาเพื่อดับว่า เงินเดือนจะขึ้นหรือจะลง เงินจะมีมากน้อย เราควบคุมได้เหรอ มันเป็นไปตามบุญกุศล เป็นไปตามวิบากกรรมของเราเอง เราควบคุมไม่ได้ มันผ่านไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติของมัน เราดิ้นรนร้อนรุ่มไปก็กำหนดมันไม่ได้ จึงเป็นอนัตตา จิตจึงเริ่มคลาย สังขารนี้จึงเริ่มดับไป ด้วยกุศลเจตนานี้
ดังนั้น เมื่อรู้เห็นการเกิดดับของรูปนามแล้ว จึงต้องดับมัน ไม่ใข่แค่รู้เฉย ๆ ที่ครูบาอาจารย์ท่านให้กำหนดรู้ไปก่อนช่วงแรกนั้น ทั้งรูปทั้งนาม ก็เพื่อให้เราเกิดอารมณ์วิปัสนา หาทางเข้าไปตามประตูนิพพานทั้ง 3 แต่ไม่ใช่ให้กำหนดรู้แล้วหยุดอยู่แค่นั้น แต่ท่านมักจะไม่ค่อยบอก เพราะกลัวว่าเราจะไปกำหนดอารมณ์ขึ้นเองแบบนึกเอา ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ อย่างที่เรียกง่าย ๆ ว่า "ปลง"
เมื่อจิตอยู่ในอารมณ์วิปัสสนา ในทางใดทางหนึ่ง หรืออาจจะผสมกันก็ได้ สลับไปสลับมา ขึ้นอยู่กับคนแต่ละคน มีสติ มีวิริยะ มีสัทธา มีสมาธิ มีปัญญา ปรับอินทรีย์ได้ ทำไปเรื่อย ๆ จนเริ่มดูได้ละเอียดขึ้น ก็จะเกิดเป็นจักษุ ละเอียดมากขึ้นไปอีก ก็เกิดเป็นญาณ แล้วก็สงบ รู้ยิ่ง พร้อม จนขาดหมดถึงนิพพาน
รูปแบบวิธีนั้นไม่ใช่สาระ สิ่งที่สำคัญคือจิตที่อยากจะละ ไม่จำเป็นต้องเดินจงกรมเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องยุบหนอพองหนอเท่านั้น
บางท่าน แค่มองใบไม้ร่วงหล่น หรือเห็นฟันที่ไม่สะอาดของสตรี ก็ละได้สิ้น ดังที่ทราบกัน
สนทนาธรรมเป็นสิ่งที่ดี หากต้องการพูดคุยผ่านอีเมล์ก็ยินดี |
|
|
|
    |
 |
มาดู
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.พ.2005, 10:32 pm |
  |
|
|
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2008, 4:28 am |
  |
ควรปักหมุด |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
11 ส.ค. 2008, 11:23 pm |
  |
ตามมาดู ปักหมุด แปลว่าอะไร ท่าน  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|