Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
จากชีวิตวิกฤตไปด้วยการพิจารณา (พระอาจารย์อินทร์ถวาย)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
วีรยุทธ
บัวทอง
เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1790
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร
ตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 3:06 pm
จากชีวิตวิกฤตไปด้วยการพิจารณา
โดย พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก
วัดป่านาคำน้อย
ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
เทศน์อบรมพระและฆาราวาส ๒๐ เมษายน ๒๕๔๘ (เช้า)
หลวงพ่อเองว่าจะไปกิจนิมนต์ ที่อำเภอศรีเชียงใหม่ เป็นโยมอุปถัมภ์อุปัฏฐากมาแต่ดั้งเดิมนมนาน ไปไม่ได้วันนี้รู้สึกว่าปวดหลังผิดปกติ ปวดหลังมา ๒-๓ วันแล้ว วันนี้รู้สึกว่ากำเริบขึ้น ก็เลยงดไป ให้พระไปแทน ๒ องค์
ถ้าจำไม่ผิด เคยเป็นมาครั้งก่อนๆ ๕-๖ ปีที่แล้ว มันเคยปวดมาครั้งหนึ่ง จากนั้นมันก็หายไป ที่จริงคงจะไม่ใช่กระดูก ตามที่หมอตี๋สังเกตอย่างนั้นเถอะ สังเกตตัวเองว่า คงไม่ใช่กระดูก มันลักษณะเป็นเส้น เส้นมันตึงๆ แข็งๆ มันแพลงๆ ในขณะที่มันจะเจ็บทีแรก ก็รู้สึกเลย ลักษณะนี้มันจะปวดหลัง ก็พยายามระวังๆ จะไม่ก้ม ไม่เอี้ยวอะไรแรง พยายามอยู่มันก็เจ็บ ไม่ถึงกับมาก แต่ก็พอสมควร
นี่เป็นยมทูตมาเตือนเหมือนกัน ยมทูตหรือเทวทูต ยมทูตมาเตือนว่า
อย่าลืมตัวนะ อันนี้เจ็บบะ แก่นะ เจ็บนะ
แต่พอความตายมาถึงคราวนั้น
ตายละนะ
นั่น คือ ทูตมาบอกกล่าว
ทูตมาเตือน
ทุกทางของเราทุกคน มันก็ต้องผ่านจุดนี้ไป แก่ เจ็บ
ตาย
อันนี้เป็นธรรมดา
หากว่า ไม่ได้พิจารณาล่วงหน้าไว้ก่อน พอมาเจอะเข้าจังๆ มันก็สะอึกเหมือนกันนะ เหมือนทหารไม่ได้ฝึกอย่างนั้นละ ทหารไม่ได้ฝึกเอาไว้ ไม่ได้ฝึกวิธีการรบประเภทนั้นไว้ เจอเข้าก็สะอึกเหมือนกัน ไม่รู้จะเอาอย่างไร ถ้าหากว่าเราเตรียมพร้อม เราคิด เราซ้อมรบไว้อยู่เสมอถึงข้าศึกสงครามจะเข้ามา เราก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวาดหวั่นต่อสิ่งเหล่านั้ เพราะเราได้คิดไว้ก่อนแล้วว่า จะต้องเป็นอย่างนี้
นี่ละการพิจารณาธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านให้ศิษย์ของพระองค์ ระลึกถึงความตายไว้อยู่เสมอ
มรณัง เม ภวิสสติ
ระลึกถึงความตาย
ของตัวเองไว้อยู่เสมอ
ข้าฯ จะต้องตายอีกวันหนึ่งข้างหน้า ไม่ต้องสงสัย
อันนี้แปลว่า ฝึกรบ ฝึกซ้อมรบ ฝึกทำใจเอาไว้ แต่ถ้าหากไม่ได้คิดเสียเลยว่า ตัวเองจะตาย พอมรณภัยหรือความตายคืบคลานเข้ามา จิตใจจะรับไม่ได้ ทุรนทุราย
ทำไมมาเจอกับข้าฯ ยังไม่อยากจะตาย ทำ ข้าฯ จะต้องมาเจอกับสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านั้นทำไมมาเจอกับข้าฯ
คล้ายกับว่ายอมรับไม่ได้ แต่การยอมรับไม่ได้ที่จุดนี้จะให้ใครเป็นคนวินิจฉัยหรือเป็นคนตัดสิน ใครก็ทำให้ไม่ได้ทั้งหมด นี่ละ เรียกว่า
อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนและเป็นที่พึ่งของตน
จุดหนึ่งเหมือนกัน
อัตตา หิ อัตตโน นาโถ นั้นมันมีหลายจุด หลายลักษณะ การทำมาหาเลี้ยงชีพก็ อัตตา หิ อัตตโน นาโถ การพึ่งตัวเองหลายๆ อย่างก็ อัตตา หิ อัตตโน นาโถ จุดนี้ เมื่อมรณภัยเข้ามาถึง ไม่มีใครช่วยได้ จะเป็นระดับไหนก็ไม่มีใครช่วยได้ ต้องพึ่งตนเองเพราะฉะนั้นท่านจึงให้พิจารณา ให้ทบทวนไว้อยู่เสมอว่า มรณัง เม ภวิสสติ ข้าฯ จะต้องตายแน่นอน ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ถ้าเราฝึกซ้อมตัวของเราไว้อยู่เสมอ เมื่อมรณภัยเข้ามาถึง เราก็องอาจ กล้าหาญ ไม่สะทกสะท้าน เพราะเราได้คิดไว้ก่อนแล้ว น่ะละพระพุทธเจ้าท่านจึงให้ภาวนาถึง มรณัง เม ภวิสสติ คือ ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ
เหมือนกับคนมีสติอยู่ ถ้าไฟไหม้บ้านเราควรทำอย่างไร เราคิดไว้อยู่เสมอว่า เมื่อไฟไหม้บ้าน เราก็คิดทบทวนว่า เมื่อไฟไหม้บ้าน อันดับแรก สิ่งที่มีค่าที่สุด คืออะไร เราจะต้องไปเอาสิ่งนั้นออกมาให้ได้ สิ่งนั้นควรจะอยู่อย่างไร เราจะออกอย่างไร ถ้าไฟไหม้ข้างหลังเราจะออกข้างหน้า เมื่อไหม้ข้างหน้าจะออกข้างหลัง เมื่อมันไหม้ข้างบนหรือข้างๆ เราจะทำอย่างไร คล้ายกับว่า ทบทวนไว้อยู่เสมอ อันนั้นก็เหมือนกัน ถ้าเราพิจารณาถึง มรณัง เม ภวิสสติ ในเมื่อความตายมาถึงเรา เราจะทำใจอย่างไร เราจะยึดอะไร เราจะพิจารณาธรรมอะไรในขณะนั้น แต่ถ้าหากเราไม่ได้คิดไว้ก่อน พอมรณภัยเข้ามาถึง จิตใจรวนเรไปหมด ไม่รู้จะจับอะไร โวยวายไปหมด อันนั้น แปลว่า ใช้ไม่ได้ ขาดสติ
เมื่อตาย ตายแบบขาดสติ ตายแบบไม่มีสติ ตายแบบกลัวตาย แปลว่า ใช้ไม่ได้ตายแบบนั้น ถ้าตายอย่างลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ตายด้วยมีสติ เวลามรณภัยเข้ามาถึง เอ้า ! มาถึงข้าฯ แล้ว จิตเข้าสู่จิต กำหนดจิตตัวเอง ไม่ต้องรับรู้ทางกาย ดูใจของตัวเองเท่านั้น โอกาสนี้เป็นเรื่องของข้าฯ ข้าฯ คงจะไม่พ้นจากคราวนี้ไปแล้ว เมื่อสติอยู่กับจิตแล้ว มรณภัยเข้ามาปลิดชีพของเรา ใจของเราก็อำลาจากร่างด้วยความองอาจกล้าหาญ ไปแบบมีสติ บุญกุศลสิ่งไหนที่เราได้สั่งสมไว้ บุญกุศลนั้นก็จะเข้ามาครองใจของเรา ให้ไปสู่ภพภูมิที่พึงปราถนา
หากเราทำกรรมอันใดเอาไว้ กรรมอันนั้นมันก็ต้องเข้ามาตีรวนเราเหมือนกัน ในเมื่อใจของเราจะออกจากร่างแต่ถ้าหากว่าเรามีสติ เราฝึกไว้แล้วพร้อมกับบุญกุศลของเรามีก่อนเก่า จุดนั้นละเราจะไปด้วยความไม่สะทกสะท้านไม่หวาดหวั่นไปด้วยการมีสติในการไป ไม่ได้ไปแบบกลัวไม่ได้ไปแบบขาดสติ ไม่ได้ไปแบบไม่ตั้งใจจะไป ถ้าเราเตรียมพร้อมไว้อย่างนั้น ไปด้วยสติ ไปด้วยปัญญาไปด้วยความพร้อม ยอมรับว่า ชีวิตนี้ใครจะผลัดวันประกันพรุ่งได้ พรุ่งนี้ วันนี้ มะรืนนี้ ปีนี้ ปีหน้า ไม่ได้ เมื่อถึงคราวของเราแล้ว เราก็ต้องหลับตายอมรับ ยอมรับแบบผู้กล้าหาญ คือ ไม่ทุรนทุราย หันสติเข้ามาสู่ที่ใจ กำหนดใจ มีสติอยู่ที่ใจตลอด
เมื่อตายไปแล้ว ไม่เสียท่าเสียที ไปดีไปแบบมีสติจากนั้นบุญกุศลที่เราได้สั่งสมเอาไว้ ก็พาใจของเราไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น ถ้าเราเข้าสมาธิได้ในขณะนั้น ในขณะที่นั่งหรือกำลังนอนอยู่ กำหนดดูตัวเอง สติอยู่กับตัวเอง จนเกิดสมาธิเป็นญาณทัสสนะขึ้นมาในขณะนนั้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นดูใจของตัวเอง เมื่อสติอยู่กับตัวเอง เป็นสมาธิในขณะนั้นไปสู่พรหม
โดยมากพระอริยเจ้าทั้งหลาย เมื่อเห็นมรณภัยเข้ามาถึง ท่านกำหนดจิตใจของท่านปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยประการทั้งปวง เป็นพระอรหันต์ในขณะที่ใจจะขาด ก็มีมากต่อมาก ที่เรียกตามศัพท์บาลีว่า ชีวิตสมสีสี คือ เมื่อจวนจะหมดลมหายใจเข้าออกแล้ว ก็ตัดกิเลสได้ในขณะนั้นอันนี้ก็มีมาก เพราะว่าจุดนั้นมันไม่ได้มีที่พึ่งอย่างอื่นแล้ว มันพึ่งตัวเอง
ฉะนั้น พวกเราต้องฝึกเอาไว้ อย่าประมาท ชีวิตของคนเรามันไม่มีอะไรแน่นอนทั้งหมด อีกสักวันหนึ่งก็จะต้องตายจากัน ถึงจะรัก จะเกลียด โกรธขนาดไหนก็เถอะ อีกสักวันหนึ่งก็ไปคนละทิศคนละทาง ไปตามบุญกรรมของแต่ละคน เกิดภพหน้าชาติหน้าก็ลืมหลง แกิดขึ้นมาเสาะแสวงหาอีก หลงกันอีก เป็นวัฏฏะวน ไม่มีที่สิ้นสุดวกวนไป วกวนมาอยู่อย่างนี้ เหมือนกับมดแดงไต่ขอบกรด้งวนไปวนมา วนมาวนไป
พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ตัดวัฎฏะวน ให้หนีออกจากวัฎฏะวน ไม่มาเวียนว่ายตายเกิด จะตัดที่ไหน ตัดที่ใจ ตัดที่กิเลส ที่จะทำให้วกวนเวียน ตัดกิเลสออกจากใจ เมื่อตัดกิเลสออกจากใจ ใจบริสุทธิ์แล้วนั่นละ จบ นี้คือ หลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสอนลูกศิษย์ สอนพวกเราทั้งหลาย ไม่ให้ประมาทในชีวิต ให้ระลึกถึงความตายไว้อยู่เสมอ ความตายเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่รู้ว่าจะจากไปขณะไหน เดินอยู่ก็ตาย นั่งอยู่ก็ตาย นอนอยู่ก็ตาย ทานอาหารอยู่ก็ตาย นั่งรถอยู่ก็ตาย ขึ้นเครื่องบินอยู่ก็ตาย อยู่ในน้ำ อยู่บนบก ตายหมดว่าอย่างนั้นเถอะ ความตายไม่ได้เลือกสถานที่
ท่านจึงให้กำหนดลมหายใจเข้าก็ตาย หายใจออกก็ตาย ถ้าหายใจเข้าแล้วไม่ออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่เข้าก็ตาย ถ้าพิจารณาถึงความตายไว้อยู่อย่างนี้เสมอ เรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาท
รับพรนะ ทีนี้อนุโมทนาให้พร
จากหนังสือ พระธรรมเทศนา
ชุด ต.ต.ต. พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก
หน้า ๔๓ - ๕๑
(ต.ต.ต. เตรียมตัวตาย)
_________________
ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 4:15 pm
สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณวีรยุทธ
ธรรมะสวัสดีค่ะ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 5:19 pm
ฉะนั้น พวกเราต้องฝึกเอาไว้ อย่าประมาท ชีวิตของคนเรามันไม่มีอะไรแน่นอนทั้งหมด อีกสักวันหนึ่งก็จะต้องตายจากัน ถึงจะรัก จะเกลียด โกรธขนาดไหนก็เถอะ อีกสักวันหนึ่งก็ไปคนละทิศคนละทาง ไปตามบุญกรรมของแต่ละคน เกิดภพหน้าชาติหน้าก็ลืมหลง เกิดขึ้นมาเสาะแสวงหาอีก หลงกันอีก เป็นวัฏฏะวน ไม่มีที่สิ้นสุดวกวนไป วกวนมาอยู่อย่างนี้ เหมือนกับมดแดงไต่ขอบกระด้งวนไปวนมา วนมาวนไป
พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ตัดวัฎฏะวน ให้หนีออกจากวัฎฏะวน ไม่มาเวียนว่ายตายเกิด จะตัดที่ไหน ? ตัดที่ใจ ตัดที่กิเลส ที่จะทำให้วกวนเวียน ตัดกิเลสออกจากใจ เมื่อตัดกิเลสออกจากใจ ใจบริสุทธิ์แล้วนั่นละ จบ
สาธุ สาธุ สาธุค่าคุณวีรยุทธ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th