Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จะขจัดความกลัวได้อย่างไรบ้าง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
คนขี้กลัว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2004, 5:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นคนขี้กลัวมาก กลัวโน่น กลัวนี่ โดยเฉพาะมืด ๆ นี่กลัวผีมาก จะขจัดความกลัวได้อย่างไร มีวิธีไหนบ้าง ช่วยแนะนำกันด้วยครับ







ไม่เฉพาะ ขจัดความกลัวผีเท่านั้นนะครับ เอา การขจัดความกลัวทุกรูปแบบเลย ทำไง ช่วยบอกที
 
maibok
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2004, 7:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ว่าคุณเห็นอะไรก็ตาม (สภาวะแห่ง "คุณเห็น" นั้น) จริง

แต่สิ่งที่คุณเห็นนั้น อาจจะไม่จริงเสมอไปนะ



ข้อแนะนำ(ตามความเข้าใจของผม) เมื่อเห็นในสิ่งใดก็ตาม จิตตอบรับต่อสิ่งที่เห็นนั้น ให้รีบรู้เข้าไปถึงจิตตอบรับอันนั้นว่า มันคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง ควบคุมได้ดั่งที่ต้องการหรือไม่

เช่น ความกลัวเมื่อเห็นผี หากมี "สติ" ย้อนเข้าไปดูที่จิตความกลัวนั้น ดูด้วยจิตตั้งมั่น ไม่เข้าไปร่วมในขบวนการความกลัว สภาวะที่จิตสร้าง "กลัว" ก็จะไม่มีตัวปัจจัยสำคัญ มันไม่มี "เรา" ที่กลัว มันก็เปลี่ยนแปลง ไม่คงสภาพดั่งนั้น ควบคุมให้เป็นดั่งที่เคยเป็นไม่ได้ มันก็ดับไป นี่คือสภาพความจริงที่เป็นไป ... รู้...สติ...รู้...สติ...รู้...สติ

 
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2004, 10:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัวเอง ก็เป็นคนขี้กลัวมากคนนึงค่ะ เมื่อก่อนก็กลัวผี กลัวตุ๊กแก กลัวความมืดเหมือนกัน จนถึงกับเคยถามครูบาอาจารย์ว่า ถ้าปฏิบัติแล้ว ขอไม่เจริญอสุภะจะได้ไม๊ (ก็มันกลัวนี่นา) แต่ท่านก็ตอบว่าไม่ได้ ฟังแล้วใจหายวาบเลย เอ๋..เราต้องเจอแน่เลยเนี่ย แต่ท่านก็เมตตาบอกว่า ถึงเวลาจริงๆ แล้ว เราก็จะไม่กลัวไปเองแหละ



อีกอย่างนึงก็คือ คนที่เห็นก็เห็น คนที่ไม่เคยเห็น ก็ไม่เห็น มันแล้วแต่บุคคล เอาเข้าจริงก็ยังหวั่นๆ ว่าขอไม่เจอดีกว่าน่า ตัวเองก็เลยไม่พยายามหลอกตัวเองด้วยการดูในสิ่งที่ตัวเองไม่พร้อมจะดู และมีอะไรเกิดขึ้น ก็ตั้งสติฯ ให้ดีว่าเราเห็นจริงหรือว่าหลอกตัวเอง ด้วยการปรุงแต่ง



ครั้งหนึ่งเมื่อไปภาวนที่เขาสวนหลวง ที่ไม่มีไฟฟ้า อยู่คนเดียวบนเขา ให้นึกถึงผีเหมือนกัน ที่เขาสวนหลวงนี้มีลิงอยู่มาก ก็เลยให้นึกว่า ถ้ามีผีจริงๆ แล้ว ข้างนอกที่มืดน่ากลัวนี่ ลิงมันยังไม่กลัวผีเลย แต่เราทำไมกลัว อายลิงจริงเชียวคิดได้อย่างนี้ เลยหายกลัวไปได้ ออกไปเดินจงกรมในที่มืดๆ ได้ โดยไม่ต้องตามไฟ ก็ไม่เห็นว่ามีอะไร แต่แรกๆ ก็มีเหมือนกันที่ เห็นอะไรแว่บๆ แล้วปรุงไปต่างๆ นาๆ



เดินจงกรมในที่แสงน้อย ไม่ได้สังเกตว่าก่อนหน้านี้อะไรอยู่บริเวณกุฏิที่เราไปอยู่ พอออกไปเดิน ตาก็เหลือบไปเห็นเป็นอะไรก็ไม่รู้สูงใหญ่ ขาวโพลง อยู่ในความมืด เดินไป ก็แว่บๆ ตาไปมองเรื่อยๆ จนรู้สึกว่านี่เราไม่มีสติฯ นี่นา ก็เริ่มสำรวมใหม่ ตั้งสติฯ ให้ดี มองสำรวมเฉพาะพื้นข้างหน้า เมื่อจิตใจพร้อมมันก็ไม่สนใจ ไม่มีอะไร ไม่กลัวอะไร เพราะไม่ได้ปล่อยให้มันฟุ้งซ่านไป เช้ามาเดินออกมาดูจึงเห็นว่า ที่ขาวโพลงสูงอยู่ในป่านั้น มันก็คือแท้งค์น้ำนี่เอง



ส่วนเรื่องตุ๊กแกที่เคยกลัวมานานแสน มีวันหนึ่งไปกราบครูบาอาจารย์ และไปเข้าห้องน้ำ ซึ่งมีคิวรออยู่ยาวพอสมควร พอถึงตาเราเข้าไป เจ้ากรรมเจอเจ้าตุ๊กแกตัวใหญ่ (ห้องน้ำใหญ่และมีสองตอน คือเป็นห้องน้ำและบริเวณด้วย) ต่างคนต่างตกใจ หาทางวิ่ง เขาก็วิ่งไปทาง เราก็วิ่งไปทาง เราก็เกิดสติฯ เห็นเขาก็วิ่งหนีเราด้วยความกลัว ก็เลยเกิดอนาจใจขึ้นมาว่า ต่างคนต่างก็กลัวแท้ๆ เขาก็กลัว เราก็คงน่ากลัวสำหรับเขาน่าดูทีเดียวเหมือนกัน ขณะที่เราไปเห็นว่าเขาน่ากลัว อนาจจริงมนุษย์เรา กลับคิดว่าตัวเองสวยงามไปเห็นเขาน่าเกลียด ซึ่งเขาก็คงเห็นเราน่าเกลียดน่ากลัวนั่นแหละ เขาถึงวิ่งหนีเหมือนกัน

ตั้งแต่วันนั้นมาอาการกลัวตุ๊กแก ก็ค่อยๆ หายไป จนเดี๋ยวนี้ นับว่าเฉยๆ แล้ว



เล่ามายืดยาว สรุปลงตรงที่ว่าใจเรานี่เองที่หลอกตัวเองมาแสนนาน ให้กลัวสิ่งต่างๆ ไปมากมาย ถ้าเราเรียนรู้จิตใจเรามากพอ เราก็จะไม่ถูกตัวเองหลอก เพราะจริงๆ ไม่มีใครหลอกเราได้ นอกจากตัวเราเองนั่นแหละ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2004, 9:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน







………มนุษย์มักกลัวต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไปแล้ว และสิ่งที่ยังมาไม่ถึง……ว่าสิ่งที่ได้กระทำลงไปแล้วนั้น จะเป็นที่พึงพอใจและทำให้ผู้อื่นรักใคร่หรือเปล่า ความกลัวจึงเป็นอุปสรรคต่อมนุษย์ที่จะรุดเดินไปข้างหน้า เขาจึงก้าวไปด้วยความรู้สึกที่กลัวๆ กล้าๆ เหลียวซ้ายแลขวา หวาดผวาอยู่ตลอด





ฉะนั้น พึงละต่อ “ความกลัว” เสีย แล้วมุ่งเดินไปบนถนนของ “ความดี” โดยไม่ต้องพะวงถึงก้าวที่ผ่านมา หรือก้าวข้างหน้า……ว่าจะได้พบกับทุกข์หรือสุข และ “พึงยอมรับ” กับทุกสิ่ง ที่ต้องเกิดขึ้นด้วยใจเป็นธรรม







ที่มา : บันทึกธรรม โดย พระอาจารย์บุญช่วย ฐิตสาโร



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2004, 4:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



เวลาเรารู้สึกกลัวต่อสิ่งใดๆ ก้อแล้วแต่ (หมายถึงตอนนั้นขาดความมั่นใจในตัวเอง) .... เราจะแก้ปัญหานี้ด้วยการเตือนตน ดังนี้





อย่าส่งจิตออกนอกตัวให้มากเกินไป นะค่ะ



อย่าปรุงแต่งความคิดให้มากเกินไป นะค่ะ



อย่ายึดมั่นถือมั่นให้มากเกินไป นะค่ะ



หางาน (ที่เป็นกุศล) ให้จิตทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ นะค่ะ





........ กับเจ้าของกระทู้ นะค่ะ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
Anatta
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 มิ.ย. 2004
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2004, 10:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ซ๊า...ธุ..กับความคิดเห็นที่ 1 ค่ะ



ฝึก...จนสติเร็วเท่าทันความกลัว เห็นความเป็นจริงของสังขารความปรุงแต่ง

ก็จบกัน "เห็นพฤติกรรมของจิต"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.พ.2006, 8:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขุดกระทู้เก่ามีสาระมาให้อ่านกัน ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
เบ๊เอง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2006, 1:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลง แล้วจึง รัก รัก จึงทำให้กลัว สูญเสีย ( รักเป็นทุกข์ )

ยึดมั่นสิ่งนี้ จึง กลัว สูญเสีย สิ่งนี้

ทำไมจึงกลัว เพราะว่า รักสิ่งนี้ ยึดมั่นในสิ่งนี้

ความกลัว ความเกลียด มีเหตุผลซ่อนอยู่เสมอ ลอง คิดทบทวนย้อนกลับไปเรื่อยๆ ว่า สิ่งใดเป็นเหตุให้เกิดความกลัว

ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น ความรักตัวเอง ( สังขารเป็นเหตุ )

แต่ความรักก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ถ้ายึดมั่นในรักดี รักสิ่งที่ดีงาม เกิดสิ่งสร้างสรรค์ เสริมสร้างให้โลกน่าอยู่

ในที่นี้ขอแนะนำให้สลัดความรักตัวเองทิ้งไป โดยรักแต่ลืมว่ารัก หรือ อย่าไปยึดมั่นให้มาก
 
ผ่านมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.พ.2006, 12:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กลัวความคิดตนเอง
หลงความคิดตนเอง
เข้าใจว่า ผู้คิดนั้นเป็นตนเอง
หรือจะเรียกว่า มีอัตตาในความคิดนั้นๆ จึงได้เป็นอย่างนั้นๆ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง