ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
I am
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
08 เม.ย.2008, 10:39 am |
  |
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงเข้ากราบนมัสการสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธัมโม) วัดโสมนัสวิหาร
การโทษกรรมที่มักจะโทษกันมาก
มีทั้งคุณและมีทั้งโทษ
ควรทำความเข้าใจให้ดี จะได้ไม่ทำการโทษกรรมให้เป็นโทษ แต่ถ้าการโทษกรรมให้เป็นคุณ พูดเช่นนี้อาจจะมีบางคนฟังแล้ว ไม่เข้าใจชัดนักว่าหมายความว่าอย่างไร จะอธิบายตามที่เข้าใจว่าถูก ไม่ผิด
คือมีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตคนนั้นบ้างคนนี้บ้าง ต่างๆ กัน แม้อะไรที่เกิดขึ้นจะให้ความทุกข์แก่ชีวิต เมื่อรู้แล้วเห็นแล้ว ไม่ปรารถนาให้เกิดเช่นนั้น ไม่ปรารถนาให้เป็นไปเช่นนั้น แต่ก็ไม่อาจทำให้เป็นไปสมปรารถนาได้ ความทุกข์ หรือความเคราะห์ร้ายคงเกิดอยู่ ไม่หมดไป
ตามความรู้สึกนึกคิดของผู้เผชิญเคราะห์กรรมนั้น
ก็ย่อมยกให้เป็นเรื่องของกรรม
ที่มุ่งให้หมายถึงกรรมไม่ดีว่า กำลังเข้าครอบครองชีวิตของเขา
จึงเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนวุ่นวายต่างๆ นานาไม่รู้จบไม่รู้สิ้น
ตรงนี้ที่สำคัญ ที่จะเกิดโทษหรือเกิดคุณก็ตรงนี้
ตรงที่คิดโทษกรรมว่าเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนร้อยแปดประการ
คิดให้ดี คิดให้เป็นปัญญา
คิดให้เป็นคุณ ก็คือต้องคิดให้เด็ดขาดลงไปว่า
กรรมที่กำลังเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรา
ที่กำลังทำให้เดือดร้อนต่างๆ นานา
จะต้องไม่สามารถทำให้เราต้องตกอยู่ใต้อำนาจของกรรมโดยเด็ดขาด
กรรมจะทำให้เราเดือดร้อนไม่ได้
เราจะไม่ยอมให้กรรมบัญชาให้เราคิด
หรือให้เราพูด หรือให้เราทำ ไปตามอำนาจความกดดันบัญชาใช้ของกรรม
อันจะนำให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ชีวิตต่อไป
ที่สำคัญคือแม้กรรมจะเป็นเหตุให้ต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนหนักหนาก็ตาม เราจะไม่ยอมแพ้ จะไม่ยอมเดือดร้อน จะรับกรรมที่เข้ามาสู่ชีวิตอย่างไม่ยอมเป็นทุกข์ เพราะความทุกข์ไม่ได้อยู่ที่อะไรอื่น ความทุกข์อยู่ที่ใจ ความทุกข์อยู่ที่ความคิด ถ้าเราไม่ยอมแพ้กรรม ไม่ยอมคิดให้เป็นทุกข์ เราก็จะไม่ทุกข์แน่นอน เพราะความทุกข์อยู่ที่ความคิด พระพุทธศาสนารับรองไว้เช่นนี้ จะไม่เป็นอื่น.
การโทษกรรมให้ถูกก็เป็นคุณ
คือรู้ว่ากำลังเผชิญปัญหาเดือดร้อนรุนแรงร้อยแปด
ก็รู้ทันกรรม คือรู้ว่ากรรมกำลังเข้ามาก่อความเดือดร้อนให้ชีวิตแล้ว
จะไม่แพ้กรรมโดยเด็ดขาด คือจะไม่ยอมให้กรรมสั่งให้คิด
จนเป็นทุกข์เดือดร้อนไปตามบัญชาของกรรม
ไม่ยอมคิดให้เป็นทุกข์เสียอย่าง
ต่อให้กรรมจะเข้ามาทำฤทธิ์ทำเดชกับเราเพียงไร ก็ไม่มีที่กรรมจะทำสำเร็จ กรรมจะทำให้เป็นทุกข์ไม่ได้ สำคัญที่เราต้องเก่งให้จริงในการสู้กับกรรม หัวเด็ดตีนขาดไม่ยอมแพ้กรรมคือจะไม่คิดให้เป็นทุกข์ ไม่คิดให้ทุกข์ใจก็จะไม่ทุกข์ ทุกข์ก็จะไม่เกิดแก่เราได้
จะเหนื่อยยากลำบากตรากตรำต้องทำงานหนักเพียงไร เพราะความยากจนนักหนาก็ตาม เมื่อรู้ทันว่ากรรมกำลังเข้ามาครอบครองชีวิตเราแล้ว เราจะต้องชนะกรรม จะต้องไม่ยอมให้กรรมชนะเรา
นั่นก็คือเหนื่อยยากลำบากกายก็ให้เหนื่อยให้ยากให้ลำบากไป ต้องไม่มีความทุกข์ใจในความเหนื่อยยากนั้น กรรมหรือจะชนะเราได้ ไม่มีทาง สำคัญที่สุดอยู่ที่ต้องระวังความคิดให้ดี อย่าคิดให้เป็นทุกข์อย่างยอมแพ้กรรม ต้องไม่คิดให้เป็นทุกข์กรรมจะชนะไม่ได้แน่นอน.
: แสงส่องใจ อาสาฬหบูชา กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
 |
|
_________________ ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก |
|
     |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
08 เม.ย.2008, 11:41 am |
  |
สาธุ สาธุ สาธุจ้า...คุณ I am
ธรรมะสวัสดีค่ะ
 |
|
|
|
   |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
09 เม.ย.2008, 2:30 pm |
  |
อนุโมทนาสาธุค่ะคุณ I am
จริงค่ะ...มองอีกมุมนึง...
แท้จริงผู้ที่โทษกรรม
นั่นคือรู้หรือไม่ว่ากำลังโทษตนเอง
เพราะเราสร้างเหตุปัจจัยอย่างใดไว้ในอดีต
ก็ย่อมได้รับผลจากเหตุนั้น
แต่พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เชื่อ
และยอมรับกับผลของวิบากแต่เพียงอย่างเดียว
ฉะนั้นแม้โทษกรรมเก่า
แต่ก็ไม่ควรยอมแพ้มัน
การโทษกรรมเก่าจะเป็นคุณ
หากเราเข้าใจในเหตุปัจจัย
และเร่งสร้างกรรมใหม่ที่ดี
โดยคิดดี พูดดีทำดี
และทำจิตให้ผ่องใส
แม้ต้องผจญกับกรรมเก่า
แต่เราก็จะอยู่กับทุกข์...โดยไม่ทุกข์
และสักวันกรรมเก่านั้นย่อมบรรเทาเบาบางและ...หมดไป  |
|
|
|
    |
 |
อนาลัย
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 14 มี.ค. 2008
ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 11:20 pm |
  |
ขอบคุณ ที่นำธรรมมะดีๆ มาเผยแพร่ต่อนะคะ  |
|
_________________ ( ^ - ^ ) |
|
  |
 |
|