ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
webmaster
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 11:19 am |
  |
ค ว า ม เ ป็ น ใ ห ญ่
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส ความเป็นใหญ่
ไว้ในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า มี ๓ ประการ คือ
๑. อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่
๒. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่
๓. ธรรมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่
• ประการที่ ๑ : อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่
หมายความว่า การกระทำด้วยปรารภตนเป็นประมาณถือเอาประโยชน์ตนเป็นสำคัญ
แม้จะทำการอะไรที่แสดงว่ายอมเสียสละประโยชน์ตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็ตาม
จุดมุ่งหมายสำคัญก็คือมุ่งเฉพาะประโยชน์ของตนเป็นประมาณ
บุคคลผู้มีตนเป็นใหญ่ ย่อมไม่เอื้อเฟื้อต่อประโยชน์ของชุมชน
แม้จะทำอะไรก็ตาม ก็มุ่งทำเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว
แม้จะบำเพ็ญคุณงามความดี
ก็ไม่ได้กระทำโดยมุ่งหมายให้เป็นประโยชน์แก่คนทั่วไป
มุ่งเอาเฉพาะแต่ประโยชน์ของตน ยึดประโยชน์ของตนเป็นประมาณเท่านั้น
• ประการที่ ๒ : โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่
หมายความว่า การกระทำโดยปรารภถึงความต้องการของโลกเป็นประมาณ
ทำอะไรก็นึกถึงหมู่ชนเป็นใหญ่ เช่น ทำทานเพื่อป้องกันคำติเตียนของคนอื่น
หรือทำให้ใหญ่โตเพื่อให้คนอื่นสรรเสริญ
ไม่นึกถึงว่าตนเองมีกำลังพอที่จะบริจาคได้หรือไม่
เป็นไปเพื่อความเดือดร้อนแก่ตนเอง
ผู้ที่มุ่งโลกเป็นใหญ่ นับได้ว่าตกอยู่ในอำนาจของโลกธรรม
คือปรารถนา ที่จะได้ แต่ไม่ได้นึกถึงความเสื่อมเสียที่จะตามมา
ปรารถนาจะได้รับความสรรเสริญยกย่อง
ไม่ปรารถนาความเสื่อมยศ อันจะทำให้คนอื่นคลายความนิยมนับถือในตน
• ประการที่ ๓ : ธรรมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่
หมายความว่า การกระทำด้วยปรารภความถูกต้องสมควรเป็นประมาณ
ทำอะไรด้วยมุ่งความถูกต้อง ชอบธรรมเป็นเบื้องหน้า
พิจารณาโดยรอบคอบแล้วยึดถือธรรมคือความถูกต้อง
ความชอบธรรมเป็นประมาณ ไม่ได้นึกถึงว่า
ตนจะได้ประโยชน์ด้วยการทำอย่างนั้นๆ
และไม่ได้นึกว่าเขาจะติเตียนหรือสรรเสริญ
แต่นึกว่า การทำบุญ บำเพ็ญทาน รักษาศีล และการอบรมภาวนา
เป็นความถูกต้อง ความชอบ เป็นหลักปฏิบัติในทางธรรม
และเป็นไปเพื่อกำจัดความโลภ ความโกรธ และความหลง
ผู้ที่หวังความสุข ความเจริญ ควรพยายามละความมีตนเป็นใหญ่
เพราะถ้าถือตนเป็นใหญ่ ย่อมตกอยู่ในอำนาจของกิเลส
ควรพยายามละความมีโลกเป็นใหญ่
เพราะถ้าถือโลกเป็นใหญ่ โลกธรรมย่อมจะเข้ามาครอบงำจิตใจได้
แต่ควรจะยึดถือเอาเฉพาะความถูกต้อง ชอบธรรมเท่านั้นเป็นใหญ่
เพราะถ้ายึดถือธรรมเป็นใหญ่เสียแล้ว
จิตใจย่อมได้รับแต่ความสุข ไม่ขึ้นไม่ลงคงอยู่สม่ำเสมอแล
ดังนั้น จึงควรทำกิจการงานให้เป็นไปด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันและกัน
ทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความขยันไม่เกียจคร้าน
พยายามปรับปรุงการงานให้เจริญก้าวหน้า
โดยยึดหลักความถูกต้อง ชอบธรรมเป็นหลักปฏิบัติ
เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ชื่อว่าเป็น ธรรมาธิปไตย
ย่อมจักอำนวยทั้งความสุขความเจริญแก่ตนและคนทั่วไปได้เป็นอย่างดี
(ที่มา : คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด ใน หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน
ประจำวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๖๓๙๓)
http://www.matichon.co.th/khaosod/ |
|
_________________ ธรรมจักรดอทเน็ต |
|
   |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
31 พ.ค.2008, 3:46 pm |
  |
ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่นะคับ
จะพยามจำเอาไว เพื่อใช้สอบสวนทวนความคิดคับ |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
02 มิ.ย.2008, 9:11 am |
  |
แล้วผู้คน อยากได้ความเป็นใหญ่ เพราะอะไร ได้เป็นใหญ่ แล้วพอใกล้ตาย ความเป็นใหญ่ช่วยอะไรได้บ้าง
แล้วผู้คน อยากได้ความร่ำรวย ในทรัพย์ศฤงคาร ได้แล้วก็เป็นสุข แล้วพอใกล้ตาย หรือแก่ตัวลง ทรัพย์ศฤงคาร ช่วยอะไรได้บ้าง ถ้ามีศีลธรรมในศาสนา เขาเหล่านั้น อยากเป็นใหญ่ อยากได้ ซึ่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ เพื่ออะไร
ลาภ ยศ สรรเสริญ คือ ไตรลักษณ์ คือ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตนตัว ฉะนี้ |
|
|
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 12:49 am |
  |
โมทนาสาธุ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|