Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แก่นบุญคือจิต (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.พ.2008, 8:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

แก่นบุญคือจิต เราเข้าถึงจิต ปฏิบัติให้ถึงจิต
อันนั้นแหละเป็นแก่นบุญ แก่นบาปก็อยู่ในนั้นด้วย
ทั้งบุญและบาปอยู่ด้วยกันนั่นแหละ

เพราะอะไรจึงว่าแก่นบุญแก่นบาปอยู่ที่จิต เพราะจิตเป็นใหญ่กว่าโลกทั้งหมด จิตน่ะคุ้มครองตัวของเรา โลกจะมีขึ้นมาได้ก็เพราะจิต แต่ละจิตๆ นั้นเกิดขึ้นมาเป็นรูปร่างขึ้นมา ถ้าจิตไม่มีเสียแล้วโลก คนของเราไม่มี สัตว์ก็ไม่มี แต่มันยากที่จิตมีนะซี คนเราจึงค่อยมี สัตว์จึงค่อยมี

ที่วุ่นวายอยู่ในโลกนี้ก็เพราะ จิตไม่ได้สงบ อบรมจิตไม่ถึง มันจึงยุ่ง ถ้าต่างคนต่างฝึกฝนอบรมจิตของตน ควบคุมจิตของตนได้แล้วมันจะมีเรื่องอะไรพระอริยเจ้าแต่ก่อนท่านอยู่ด้วยกันตั้ง ๔๐๐-๕๐๐ องค์ก็ไม่มีทะเลาะเบาะแว้งซึ่งกันและกัน คนเราสมัยนี้อยู่ด้วยกัน ๒ คนขึ้นไปก็มีเรื่อง มากคนก็มากเรื่อง เพราะไม่มีใครควบคุมจิตของตนได้นะซี

วิธีการควบคุมจิตมีหลายอย่าง ที่เรียกว่า อบรมกรรมฐาน คือ อบรมจิตนั่นเอง พุทธศาสนาทั้งหมดที่อบรมล้วนแต่กรรมฐานทั้งนั้น ต่างแต่ว่าคณาจารย์ใดชำนิชำชาญทางไหนก็อบรมทางนั้น

ผลที่สุดก็คือควบคุมจิตของตนให้อยู่ในบังคับนั้นเองบางคนก็ ยุบหนอพองหนอ บางคนก็สัมมาอรหัง บางคนก็อานาปานสติ ตามอุบายของตนที่ถนัด แต่เมื่อควบคุมถึงจิตแล้วคำบริกรรมนั้นหายหมด ยังเหลือแต่จิตอันเดียวที่เรียกว่า สมาธิหรือเอกจิต สมาธิ แปลว่าจิตเป็นหนึ่ง ถ้าหากจับตัวนี้ได้แล้วไม่ต้องไปวุ่นกับเรื่องคำบริกรรมอีก

คุมจิตให้เป็นหนึ่งลงไปเถอะหมดเรื่องกัน เดี๋ยวนี้จับจิตไม่อยู่เราจึงต้องใช้คำบริกรรม เช่นพุทโธๆ ให้มันอยู่กับคำบริกรรมนั้น คำบริกรรมเป็นเครื่องล่อให้จิตมาอยู่ที่นั่น ให้จิตมันแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เมื่อจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วคำบริกรรมนั้นก็จะลืมไปเอง ถึงไม่ลืมมันก็ให้ทิ้งได้

บางคนเข้าใจว่าลืมคำบริกรรมๆ หายไปแล้วตั้งต้นบริกรรมอีก อันนั้นใช้ไม่ได้ คำบริกรรมต้องการให้จิตรวมเข้าเป็นหนึ่งนั้นเอง เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งแล้วจะไปพัวพันอะไรกับคำบริกรรมนั้นอีก ถ้าไปบริกรรมอีก จิตมันก็ถอนละซี

: พุทธศาสนาสอนที่ใจ
: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum91.html


สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.พ.2008, 11:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ที่วุ่นวายอยู่ในโลกนี้ก็เพราะ จิตไม่ได้สงบ อบรมจิตไม่ถึง มันจึงยุ่ง
ถ้าต่างคนต่างฝึกฝนอบรมจิตของตน ควบคุมจิตของตนได้แล้ว
มันจะมีอะไร"


อนุโมทนาสาธุ ด้วยนะคะคุณ I am สาธุ ยิ้มเห็นฟัน สู้ สู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง