ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 12:55 pm |
  |
“ทางทรายใกล้ทะเลสาบ” บทบันทึกแห่งจิตวิญญาณ
ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)
มนุษย์เราเกิดมาเพื่อสิ่งใด ?...
ในแต่ละวันที่ผ่านพ้นไป มีสักชั่วขณะหนึ่งไหม
ที่เราจะตั้งคำถามนั้นขึ้นมา
แล้วมุ่งหาคำตอบถึงความหมายแท้จริงแห่งการก่อกำเนิดของชีวิต
อาจเพื่อพบ จาก พราก รัก ทุกข์ สุข
สมหวัง ผิดหวัง เสียใจ ดีใจ...
เกิด แก่ เจ็บ ตาย วนเวียนเป็นวัฎจักร ไม่รู้จบสิ้น
อย่างนั้นใช่หรือไม่...
ใครคนหนึ่ง ให้ความหมายของชีวิตไว้ในทำนองเดียวกัน
หากกระชับและหนักแน่นยิ่งกว่า...
เขากล่าวไว้ว่า
“เกิดมาเพื่อรู้แจ้งในความหมายยิ่งต่อที่สุดแห่งทุกข์”
อาจเป็นเพียงถ้อยความสั้นๆ
ทว่าคำไม่กี่พยางค์นี้กลับเปี่ยมด้วยพลังของ “การแสวงหา” และ “ค้นพบ”
ถึงความจริงอันลุ่มลึกของแก่นแท้แห่งสัจธรรมชีวิต
มิใช่ลมปากที่เอ่ยขึ้นเพียงลอยๆ
หากคือ “กุญแจ” สำคัญที่ผู้ซึ่งผ่านการเดินทางอันยาวนาน
ได้เสาะหาจนพบ แล้วนำมาบอกเล่าแก่ผู้เปิดใจสดับรับฟัง...
แล้วใคร ? คือผู้ค้นพบ “กุญแจ” สำคัญดอกนั้น
อันนำไปสู่การไขประตู “ความจริงของชีวิต”
...เขาคือ “เขมานันทะ” นักเดินทาง
นักวิปัสสนิกผู้มุ่งมั่นในเส้นทางของการเจริญภาวนามาอย่างยาวนาน
เนื่องในโอกาสที่ “เขมานันทะ”
ได้รับยกย่องจากกระทรวงวัฒนธรรม
ประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๕๐
“มุมวรรณกรรม” จึงขอหยิบ “ทางทรายใกล้ทะเลสาบ” มานำเสนอ
(ว่าด้วยอัตชีวประวัติช่วงแสวงหามายาชีวิตของเขมานันทะ/เขมานันทะ : เล่าเรื่อง/
นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว : สัมภาษณ์/จารุปภา วะสี : เรียบเรียง/สำนักพิมพ์ชื่นใจ)
อย่างไรก็ดี ก่อนบอกเล่าถึงเนื้อหาของหนังสือดังกล่าว
ขอยกคำประกาศจากกระทรวงวัฒนธรรม
ที่อธิบายถึงเหตุผลอันเหมาะควรในการมอบตำแหน่ง
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มาไว้ ณ ที่นี้
[ภาพประกอบจากหนังสือเล่มหนึ่งของท่านเขมานันทะ]
นายโกวิท เอนกชัย หรือนามปากกา “เขมานันทะ”
“รุ่งอรุณ ณ สนธยา” “ฉับโผง” ฯลฯ
ปัจจุบันอายุ 70 ปี เกิดที่จังหวัดสงขลา
ท่านได้อุปสมบทและฝึกปฏิบัติธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ
ที่สวนโมกขพลาราม
ต่อมาได้ฝึกปฏิบัติธรรมกับสำนัก หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
ขณะอยู่ในสมณเพศได้สร้างสรรค์
และสืบสานงานพุทธศิลป์จำนวนมากในโรงมหรสพทางวิญญาณ
ณ สวนโมกขพลาราม
ทั้งในรูปแบบบทกวีและจิตรกรรมโบราณของไทย
นับเป็นต้นแบบอันทรงค่าและมีบทบาทในการให้การศึกษา
แก่ผู้ไปเยือนทั้งในด้านพุทธปัญญาและพุทธศิลป์
นอกจากนี้ท่านยังมีผลงานทั้งร้อยแก้ว
และร้อยกรองในหลายรูปแบบ กว่า 60 เรื่อง
ซึ่งล้วนมีเนื้อหาลึกซึ้ง
ใช้ถ้อยคำและท่วงทำนองการเขียนอย่างมีวรรณศิลป์
นับเป็นการผสมผสานพุทธปัญญากับศิลปวัฒนธรรมไทย
ได้อย่างกลมกลืนและงดงาม
มีมุมมองแหลมคมในการวิเคราะห์ วิจารณ์
และสามารถอธิบายปรากฏการณ์
และความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยทั้งสังคมไทย
และสังคมโลกได้อย่างชัดเจน
จึงสามารถสืบสานธรรมะให้แก่คนรุ่นใหม่
และผู้สนใจใฝ่ธรรมได้อย่างกว้างขวาง
จนเกิดการจัดตั้งพุทธสถานและอาศรมขึ้นหลายแห่ง
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับเนื้อหาของ “ทางทรายใกล้ทะเลสาบ” นั้น
ถือเป็นอัตชีวประวัติที่มีความละเอียดอย่างยิ่ง
ด้วยเริ่มขึ้นนับแต่ชีวิตในวัยเด็กของเขมานันทะ
ที่ไล่เรียงไปถึงเรื่องราวและแง่มุมที่น่าสนใจต่างๆ ของบรรพบุรุษ
บุคคลในครอบครัว เพื่อนฝูง ค่านิยม ความเชื่อ
รวมถึงบรรยากาศท่ามกลางธรรมชาติ
จากวัยเด็กเข้าสู่วัยเรียน วัยรุ่น วัยแห่งการแสวงหา
พบเจอประสบการณ์อีกด้านหนึ่งของสถาบันการศึกษาเลื่องชื่อ
ที่ในโลกแห่งความเป็นจริงต่างจากภาพฝัน พบความลวง
พบมายาที่ฉาบไว้ด้วยภาพลักษณ์อันงดงาม
ความสงสัย กังขา เบื่อหน่ายความวุ่นวายทางโลก
นำไปสู่การศึกษา ทดลอง ค้นคว้า ค้นหา “เส้นทางแห่งจิตวิญญาณ”
ที่มีพรสวรรค์และความสามารถทางศิลปะของตนเอง
คอยช่วยจรรโลงและร่วมผลักดันด้วยอีกแรงหนึ่ง
[ภาพประกอบจากหนังสือเล่มหนึ่งของท่านเขมานันทะ]
ความพลาดพลั้ง อารมณ์คุกรุ่นพลุ่งพล่าน ฟุ้งซ่าน
จำนนแก่กิเลส ทะเยอทะยาน มุทะลุ เย่อหยิ่ง...เหล่านี้
เป็นหลากหลายความรู้สึกในใจที่ทอดยาวคู่ขนานไปกับ “ความสงบ”
“ความรู้แจ้ง” ที่เขมานันทะมุ่งหวัง
ทว่าอารมณ์ที่ไม่หยุดนิ่ง หมุนวนดังเกลียวคลื่นนั้นก็ได้รับการชี้แนะ
ขัดเกลาด้วยวิธีอันแยบคายจาก
“ท่านอาจารย์” แห่งสวนโมกขพลาราม...
ท่านพุทธทาสภิกขุ
ทั้งในกาลต่อมาได้ประสบพบเจอกับ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
มิตรสหายและครูทางจิตวิญญาณ ท่านเหล่านี้จึงนับว่าล้วนมีส่วนก่อร่าง
และเปิดมุมมองความคิดของเขมานันทะให้เติบโต
การนั่งวิปัสสนา ณ ผาอันสูงชันเป็นเวลาเนิ่นนาน,
การออกธุดงธ์ค้นหาความจริงแท้ในธรรมชาติ ชีวิต และวงการสงฆ์,
เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ “พุทธศาสนา”
ถูกตั้งคำถามจากคนหนุ่มสาวหัวก้าวหน้า ,
ร่วมรับรู้ในเหตุการณ์นักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตย
โค่นล้มอำนาจเผด็จการเมื่อวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๑๖, ๖ ต.ค. ๒๕๑๙
และประสบการณ์ท่ามกลางกระแสธารชีวิตอันเชี่ยวกราก
อีกเกินจะนับ ล้วนมีส่วนหล่อหลอม มอบบทเรียน
อันมีค่ายิ่งต่อจิตวิญญาณภายใน
หาก “เขมานันทะ” เริ่มต้นการเดินทางอย่างมุ่งมั่น
บนหมุดหมายอันอหังการที่ว่า
“ผมอยากรู้สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านรู้”
อัตชีวประวัติเล่มนี้ จะนำผู้อ่านไปพบเรื่องราว
ระหว่างทางอันทรงคุณค่าที่นำไปสู่คำตอบของการเสาะแสวงหา
ในท้ายที่สุด ว่า มนุษย์เรา...
“เกิดมาเพื่อรู้แจ้งในความหมายยิ่งต่อที่สุดแห่งทุกข์”
กล่าวให้ชัดกว่านั้น...“เป็นไปได้ อย่าเกิดอีกเลย”
วันนี้ อาจดูคล้ายเขมานันทะ ละทิ้งความอหังการ
ทว่า นั่นมิใช่การปราชัย มิใช่ยอมจำนน
หากคือการ “ตื่นรู้” เพื่อหันหน้าเผชิญความจริงอย่างลุ่มลึก..มีสติ...
ไม่พรั่นพรึงหรือหวาดกลัวต่อความ “ไม่เที่ยง”...ของชีวิต
ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
รวมคำสอน “ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44291 |
|
|
|
    |
 |
p.somchai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ย. 2007
ตอบ: 48
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 1:16 pm |
  |
อนุโมทนาสาธุ ได้ความรู้ดีมาก ขอบคุณครับ |
|
_________________ หนทางหมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก |
|
  |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
24 ม.ค. 2008, 2:12 pm |
  |
สาธุ สาธุ สาธุจ้ะ
ธรรมะสวัสดีค่ะ
 |
|
|
|
   |
 |
I am
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
25 ม.ค. 2008, 8:23 am |
  |
โมทนาจ้า สาธุ... |
|
_________________ ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก |
|
     |
 |
|