Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ...ปริญญาวิชาชีพกับปริญญาชีวิต...(ท่าน ว.วชิรเมธี) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 22 ม.ค. 2008, 4:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

อยากให้ทุกคนได้อ่านบทความดีๆ เสี้ยวหนึ่งจากท่าน ว.วชิรเมธี

ที่เมืองไทยปีที่แล้วมีข่าวเกรียวกราวมาก
คือ มีดาราคนหนึ่งซึ่งมีชื่อดังมาก
เป็นคนดำเนินรายการคนค้นคน
ดร.อภิวัฒน์ วัฒนางกูร นะ
มาเรียนที่อเมริกา
เป็นคนเพอร์เฟคชั่นนิสทำงานทุกอย่างต้องดูดีที่สุด
แม้กระทั้งล้างจานล้างเสร็จแล้ว
แกต้องเอามาดมดูว่า สะอาดจริงมั้ย

กลับไปเมืองไทยก็ไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
มีแฟนก็จีบดาวมหาวิทยาลัยเลย ต้องให้ดีที่สุด
เวลาแกไปเสนองานอะไรต่างๆ เขียนไว้สามแผน
แผนที่หนึ่งลูกค้าไม่ซื้อแกเสนอแผนที่สอง

แผนที่สองลูกค้าไม่ซื้อ แกเสนอแผนที่สาม
ใครไปดีลงานกับแกติดทุกราย
แกมีบ้าน มีรถ มีลูกมีภรรยา มีธุรกิจ
มีชื่อเสียงทุกอย่างแกมีทุกอย่าง

วันหนึ่งแกพักผ่อน
หลังจากที่ทำงานแบบไม่ได้พักเลยลูกเมียไปขอพบ

บอกไปเจอพ่อที่ออฟฟิต
วันหนึ่งแกไปพักที่ปากช่อง
ตื่นขึ้นมากลางวันล้มฟุ๊บลงไปภรรยาพาเข้าโรงบาล
ตรวจพบมะเร็ง
พอพบปุ๊บเป็นระยะสุดท้ายเลยจริงๆ เค้าก็เตือนตลอด

แต่พอไม่มีเวลาไปตรวจ มันก็แก้ไม่ได้
แกไปนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล
แล้วก็สารภาพให้รายการคนค้นคน
บันทึกชีวิตแกก่อนจะเสียชีวิต

แกก็ไปนอนให้พ่อแม่เช็ดเนื้อเช็ดตัว
แกก็บอกว่าสังเวชตัวเองมาก
แทนที่ลูกจะได้ดูแลพ่อแม่
กลับมาเป็นว่าพ่อแม่ต้องมาดูแลลูก
ก่อนจะเสียชีวิตแกให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
บอกว่า พ่อผมเคยบอกว่า
เกิดเป็นคนต้องได้ปริญญาสองใบ
ปริญญาใบที่หนึ่ง “ปริญญาวิชาชีพ”
เราจะต้องทำมาหากินเป็นกินอิ่ม นอนอุ่นพูดง่ายๆ

ล้วงไปในกระเป๋าแล้วมีเงินใช้
อยากจะนอนมีบ้านเป็นของตัวเอง
แค่นี้คือ ปริญญาวิชาชีพ
แต่ “ปริญญาวิชาชีวิต”
ซึ่งเป็นปริญญาใบที่สองที่พ่อแกบอกไว้
แกบอกว่า ผมสอบตกโดยสิ้นเชิง
ผมเป็นดอกเตอร์จากอเมริกาได้ปริญญาวิชาชีพ
แต่ปริญญาวิชาชีวิตสอบตกเพราะอะไร

เพราะทำงานจนป่วยตาย
ก่อนที่จะเสียชีวิตแกได้สารภาพว่า
ผมได้เตรียมทุกอย่างบ้าน รถ
มอบมันให้กับลูกและภรรยา
แต่ในวันที่ผมมีทุกสิ่งทุกอย่าง
ผมกลับลืมมอบหนึ่งอย่างให้กับลูกและภรรยา
สิ่งนั้นคือ สิ่งที่ผมลืมและทำให้ผมล้มเจ็บใหญ่ครั้งนี้
สิ่งที่ว่านี้คือ ผมลืมมอบตัวเองเป็นของขวัญให้กับลูกและเมีย
เพราะทำงานหนักจนกระทั่งป่วยตาย
นี่คือปริญญาวิชาชีวิต
ธรรมะเราจะต้องมี ถ้าเราไม่มีธรรมะ
เราจะกลายเป็นหุ่นยนต์เท่านั้นเอง
ที่ทำงานแทบล้มประดาตาย แล้วสุขภาพไม่ดี
ดังนั้นเมื่อเราทุกคนทำงาน
แล้วอย่าลืมชั่วโมงสุขภาพของตัวเองในแต่ละวันนะ
แต่ละวันควรจะมี ให้ดูแลตัวเอง ดูจิต ดูใจตัวเอง
ว่าเราเอ๊ะมันทุกข์มันทุกข์มากเกินไปรึเปล่า
แบกเรื่องโน้นเรื่องนี้เกินไปหรือเปล่า
พยายามลดลงในแต่ละวันๆ เพื่อที่ว่าอะไร

เพื่อที่ว่าเราจะได้ปริญญาสองใบในชีวิตหนึ่ง
ปริญญาวิชาชีพเราทำมาหากินจนประสบความสำเร็จร่ำรวย
มั่งคั่งมีเงินมีทองใช้มีบ้านอยู่
แต่ต้องไม่ลืมปริญญาใบที่สองคือวิชาธรรมะ


สำหรับจะดูแลชีวิตให้ดำเนินอยู่ในทางสายกลาง
ไม่ทุกข์เกินไปไม่เดือนร้อนเกินไป ทำอะไรให้พอดี
พอดีอยู่ดีมีสุข อยากเที่ยวให้ได้เที่ยวอยากพักให้ได้พัก
อยากทำบุญให้ได้ทำบุญ
ลูกหลานมาหาก็ให้ได้มีเวลากับลูกกับหลานบ้าง
อย่าวิ่งไปจนซ้ายสุดขวาสุด
และมารู้สึกตัวอีกทำจนล้มเจ็บใหญ่ไม่ดีเพราะอะไร
เพราะว่าสิ่งสูงค่าทีสุดในชีวิตของเรา
เคยมีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่าอะไรคือสิ่งสูงค่าที่สุด
บางคนก็ตอบ เงิน
บางคนก็ตอบเพชร บางคนก็ตอบทอง
บางคนก็ตอบอำนาจ
บางคนก็ตอบราชบัลลังก์
พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่สิ่งสูงค่าที่สุดในชีวิตของพวกเธอ
คือ สุขภาพและชีวิต
สุขภาพก็คือ การที่เราไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
คนที่สุขภาพดีดื่มน้ำธรรมดาก็อร่อยนะ


คัดลอกจาก..Forward Mail

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 22 ม.ค. 2008, 4:33 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 22 ม.ค. 2008, 4:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...บทสัมภาษณ์ก่อนเสียชีวิต...
คัดลอกจาก หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก


สาธุ สาธุ สาธุ

ดร.อภิวัฒน์ วัฒนางกูร ไม่ยอมแพ้แม้เป็น “มะเร็ง”

เมื่อโรคร้ายที่ไม่มีทางรักษาหาย
ต้องมาอยู่ในร่างกายและทำลายระบบการทำงานของอวัยวะ
นอกจากเครื่องมือที่จะรักษาและเยียวยาให้อาการเจ็บป่วยหายไปแล้ว
สิ่งสำคัญที่สุดของการมีชีวิตอยู่คือ “กำลังใจ”

“เต้ย” ดร.อภิวัฒน์ วัฒนางกูร
หรือชื่อใหม่ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยว่า ดร.วรฑา วัฒนะชยังกูร
พิธีกรชื่อดังเป็นอีกคนที่ผจญกับโรคร้ายอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่นานนับปี
แม้ปัจจุบันนี้จะผ่าตัดลำไส้ใหญ่ไปกว่าครึ่งแล้ว
แต่มะเร็งยังลุกลามไปที่ตับโดยไม่มีใครรู้ว่ามันจะจากไปเมื่อใด

ดร.วรฑา เล่าย้อนถึงอาการก่อนหน้าเป็นมะเร็งว่า
“รู้สึกว่าเวลาเข้าห้องน้ำทำไมถ่ายอุจจาระไม่หมดสักที
บางที 1 นาทีก็กลับมาอีกแล้ว คือจะปวดตลอดเวลา แต่ไม่ได้ปวดท้องนะ
แค่ปวดอยากถ่ายแล้วพบว่ามันจะมีเลือดออกมาด้วย
เวลาที่ถ่ายเป็นเลือดจะรู้สึกตกใจ เราถึงได้ไปหาหมอ
วันที่ไป หมอก็ให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเลย
วันรุ่งขึ้นก็ตรวจส่องกล้อง เมื่อส่องกล้องออกมาเจอแล้ว
ตัดออกมาก็ไม่พบแต่ผลเลือดชี้ชัดว่าเป็น
ก็ไปหาหมอที่จะผ่าตัดเรา เข้าโรงพยาบาลวันที่ 9-10 สิงหาคม
แต่วันที่ผ่าคือ 11 สิงหาคมปีที่แล้ว (2547)
ตั้งแต่วันแรกที่เลือดออกจนถึงวันที่ผ่าตัดเอาออกไป 21 วัน”

การผ่าตัดเป็นทางออกที่ต้องเร่งทำ
เนื่องจากมะเร็งเป็นเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วมาก
ซึ่งหากดูลักษณะการแพร่กระจายแล้วถือเป็นระยะที่ 3
เพราะเมื่อตัดลำไส้ออกไปมะเร็งได้ลุกลามไปอยู่ที่ตับแล้ว
นั่นแสดงว่า มันไม่ได้เริ่มต้นแต่มันมีอยู่แล้ว เพียงแต่ตรวจไม่เห็นเท่านั้น
ดังนั้นการรักษาต่อหลังการผ่าตัดลำไส้ คือ การใช้เคมีบำบัด
ซึ่งทำให้เหนื่อยอ่อนจนทำงานไม่ได้
นอกจากนี้ชีวิตประจำวันของเขายังเปลี่ยนแปลงไปด้วย

“จากเมื่อก่อนที่หาเวลากินไม่ได้ กลายเป็นวันหนึ่งที่ว่าง
วันๆ หนึ่งจะดูทีวีดูหนัง ง่วนก็นอน อ่านหนังสืออะไรไป
ได้ทำในสิ่งที่ไม่ได้ทำ ไม่ตื่นเช้าอีกต่อไป ไม่ทำงานถึงเย็น
ไม่เผชิญกับการจราจร ไม่เผชิญกับมลภาวะ
นอนตั้งแต่หัววันจากที่ไม่เคยนอน 7-8 ชั่วโมง
พยายามออกกำลังกายจากที่ไม่เคยทำเลย
ชีวิตเปลี่ยนไปเลยแต่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น” ดร.วรฑา กล่าว

ที่ผ่านมาแม้จะต้องทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวด
แต่ผู้ชายคนนี้ไม่เคยคิดว่าตนเองโชคร้าย และยังยืนยันที่จะกำจัดมะเร็งให้ได้

“ไม่เคยคิดว่าเราโชคร้าย และไม่เคยคิดว่าทำไมมันต้องมาเกิดกับเรา
รู้แต่ว่ามันเกิดแล้ว เราเองก็ยังทำใจไม่ได้
กับความคิดอย่างหนึ่งซึ่งมีคนเคยบอกว่า ให้คิดซะว่าเขาเป็นเพื่อนเรา
ให้เขาอยู่กับเราไป อย่าได้มาออกฤทธิ์อะไรนะ
ซึ่งเราทำไม่ได้ คิดว่ามึงไม่ใช่เพื่อนกู มึงต้องตาย
เพราะฉะนั้นกระบวนการรักษา
มันมากับใจว่าเราต้องรักษามันให้ได้ ที่สุดมันต้องไปจากตัวเรา”

ทุกวันนี้ ดร.วรฑา รับการรักษาด้วยวิธีฉีดยาเข้าไปในร่างกาย
เพื่อไปทำลายเส้นเลือดที่ต่อกับเซลล์มะเร็ง
โดยจะทำทุกสัปดาห์และให้แพทย์ดูผลใน 2 เดือน
นอกจากนี้ยังมี “ยาใจ” ที่ช่วยให้เขาดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
โดย ดร.วรฑา เผยว่า “เวลาที่ไปโรงพยาบาล เวลาที่เราเหนื่อยอ่อน
พ่อกับแม่ก็จะคอยประคองแล้วเดินไปด้วยกัน
เรามีความรู้สึกว่าอายุ 48 แล้วนะพ่อแม่ยังดูแลเราอยู่เลย
แล้วพอไปถึงโรงพยาบาล เจอคนรู้จักก็จะถามว่าพ่อแม่เป็นอะไร
ไม่เคยมีใครนึกว่า พ่อแม่จะเป็นคนพาลูกมาโรงพยาบาล
ไม่เคยมีสิ่งไหนเลยที่จะทำให้เราท้อถอย หมดกำลังใจ
จะบอกกับตัวเองอยู่เรื่อยๆ ว่า “ต้องหาย”
เราไม่มีทางเลือกอื่น เรากลับรู้สึกว่า
เราให้ความสำคัญและคุณค่ากับการมีชีวิตอยู่มากขึ้นด้วยซ้ำไป
อยากมีชีวิตอยู่เพื่อดูลูกเติบโตขึ้นมา
อันนี้คือความรู้สึกที่ทำให้ “วรฑา” จึงต้องเกิดขึ้น
ไม่ได้คิดว่าการเปลี่ยนชื่อเป็นการแก้เคล็ด
แต่มันเปลี่ยนจากความรู้สึกที่เราเป็นคนเรียกหาเอง
“อภิวัฒน์” เขาเหนื่อยยากมามากแล้ว ให้เขาพักผ่อนเถอะ
แล้วให้ “วรฑา” เขามีชีวิตใหม่”

การทุ่มเทเวลาให้กับงานจนลืมให้ความสำคัญกับตัวเอง
ไม่ใช่การใช้ชีวิตที่ถูกต้อง เพราะเวลาที่เราเจ็บป่วย
ก็จะมีแต่คนที่เรารักเท่านั้นคอยดูแล
หากเหตุผลของการทำงานหนักคือเพื่อเลี้ยงดูลูกเมีย
ในที่สุดแล้วผลที่เกิดขึ้น ก็จะมีแต่ลูกเมียเท่านั้นที่ได้รับความทุกข์นี้

“การจัดสรรชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญ
โปรดรู้ไว้ว่าการนอนชดเชยไม่มีจริงในชีวิตนี้
การสูญเสียการนอนไปแล้วชดเชยด้วยการนอนสองเท่าไม่ได้
นาฬิกาชีวิตมันผ่านไปแล้ว
ชีวิตในเวลานั้นๆ มันต้องพัฒนาม้าม มันต้องพัฒนาลำไส้
เราต้องเข้าใจกลไกของชีวิต เข้าใจกลไกของร่างกาย
เข้าใจวิธีการที่จะดูแลตัวเองให้อยู่ไปนานๆ
ทำงานที่ทุ่มเทได้แต่อยากจะทำไปอย่างนี้ได้นานๆ ไหม
ถ้าอยากทำควรจะใส่ใจตัวเองให้มากกว่านี้”


แม้ประสบการณ์ของการมีชีวิตอยู่กับมะเร็งจะไม่มากนัก
แต่ ดร.วรฑา ฝากแง่คิดดีๆ
ให้กับคนที่กำลังเผชิญกับโรคนี้ว่า กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
“ทุกคนจะได้รับการบอกอย่างนี้ว่ากำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ประเด็นคือ ทำอย่างไรที่จะทำให้ได้ต่างหาก
เพราะฉะนั้นเรามองชีวิตในสายตาที่แตกต่างออกไป
มองชีวิตที่มีความจำกัดมากขึ้น
ด้วยความรู้สึกที่เปลี่ยนไปตรงที่ว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ทำไม่ได้แล้วล่ะ
ทำไมเดี๋ยวนี้อดนอนก็ไม่ไหวแล้วล่ะ
เราควรจะมองด้วยสายตาใหม่ที่ว่า แต่ก่อนเราก็ไม่ควรจะอดนอนนะ
เราแค่ใช้ชีวิตล่วงหน้าไปสัก 15 ปีมั้ง
เพราะฉะนั้นจัดชีวิตเสียใหม่
หาอะไรที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวในชีวิตของเรา
หาสิ่งซึ่งเราอยากจะมี ความหวังที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อให้ได้เห็น
ได้สัมผัส ได้รู้สึกต่อไป นั่นแหละคือกำลังใจที่ดี”


ในเมื่อความตายจะเป็นคำตอบสุดท้ายของชีวิต
ดังนั้นจะแปลกอะไรที่ผู้ชายคนนี้จะไม่กลัวตาย
เพราะคนเราจะตายวันตายพรุ่งก็ยังไม่รู้เลย...
ติดตามเรื่องราวชีวิตอย่างละเอียดของ ดร.วรฑา
ผู้ไม่ยอมแพ้แม้เป็นมะเร็งในรายการเจาะใจ วันที่ 29 กันยายนนี้ เวลา 22.15 น.


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
p.somchai
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ย. 2007
ตอบ: 48
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 2:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
หนทางหมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2008, 4:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การไม่โรคเป็นลาภอันประเสริฐ

อนุโมนาสาธุด้วยนะคะคุณลูกโป่ง สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง