Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีเอาชนะความโกรธ (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 5:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วิธีเอาชนะความโกรธ
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก



บรรดากิเลสทั้ง 3 คือ ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ ท่านว่ามีโทษหนักเบาไม่เท่ากัน ราคะนั้นดูเหมือนว่ามีโทษเบา แต่ละได้ยาก โทสะมีโทษหนักแต่ละได้ง่าย ส่วนโมหะมีโทษหนักและละได้ยาก เฉพาะโทสะ (ความโกรธ ความขุ่นเคือง) นั้น เวลามันเกิดขึ้นจะเอะอะตึงตัง มึงมาพาโวย เรียกว่าเห็นช้างเท่าหมู ไม่กลัวใคร แต่ก็มักสงบง่าย เพราะฉะนั้น ท่านจึงว่าความโกรธมีโทษมากแต่ก็ละได้เร็ว

ท่านบอกวิธีเอาชนะความโกรธ 9 วิธี สำหรับผู้มักขี้ยัวะ ลองฝึกปฏิบัติดูนะครับ ถ้าได้ผลอย่างไรช่วยบอกผมด้วย จะได้ทำตาม เพราะผมก็ใช่ย่อยเหมือนกัน ลูกศิษย์บางคนว่า อะไรๆ ก็ดี แต่ดุชะมัดยาดว่าอย่างนั้น

1. ให้นึกถึงผลเสียของคนมักโกรธ

พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธคนอื่นนับว่าเป็นคนเลวอยู่แล้ว แต่ใครโกรธตอบเขากลับเป็นคนเลวกว่า พระองค์ทรงสรรเสริญเมตตา ความรักและความปรารถนาดีต่อกัน ถ้าเรามัวเป็นคนมักโกรธ ไม่รู้จักเมตตารักใคร่คนอื่นบ้างเลย จะนับว่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร

เวลาเขาโกรธเรามา เราไม่โกรธตอบ นับว่าเป็นผู้เอาชนะใจคนได้ เอาชนะสงครามที่ชนะได้แสนยาก และยิ่งรู้ว่าเขาโกรธและขุ่นเคืองเรา เราไม่แสดงอาการโกรธและขุ่นเคืองออกมา นับว่าได้ทำประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งแก่ตนเองและแก่คนที่โกรธเรา (การทะเลาะเบาะแว้งหรือลงไม้ลงมือประหัตประหารกันก็จะไม่เกิดเพราะเราตัดไฟแต่ต้นลม)

2. ให้พิจารณาโทษของความโกรธ

คนเราเวลาไม่โกรธก็ดูดี ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่พอโกรธขึ้นมาก็กลายเป็นคนละคน หน้าตาจะบูดเบี้ยวแดงก่ำ บางคนมือไม้สั่นยังกับเจ้าเข้า เต้นแร้งเต้นกา ปากก็กล่าวคำหยาบ ไม่รู้ไปสรรหาคำด่ามาจากไหน ไม่มีความสง่าสวยงามเหลือแม้แต่นิดเดียว เรียกว่าเป็นนางฟ้าอยู่หยกๆ ก็กลายเป็นนังยักษ์ขมูขีทันที

หรือถ้าจะให้ชัด เวลาที่เราโกรธ ลองส่องกระจกดูก็แล้วกัน ใบหน้าที่สวยงามยิ้มแย้มแจ่มใสมีเสน่ห์น่ารักนั้นไม่รู้มันหายไปไหน กลายเป็นหน้ายักษ์หน้ามาร น่าเกลียดน่าชัง เมื่อพิจารณาเห็นความน่าเกลียดน่ากลัวของตนเองอย่างนี้แล้ว ความโกรธที่มีมาก็อาจหายไปได้

3. นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ

เวลาเราโกรธใครส่วนมากก็ขุดเอาเรื่องที่ไม่ดีมาด่าว่า ทีนี้ลองพยายามคิดถึงความดีของเขาดูสิ ว่าเขามีดีอะไรบ้าง เพราะตามธรรมดานั้น คนเราย่อมมีดีและไม่ดีเหมือนๆ กัน ต่างแต่ว่าใครจะดีมากดีน้อยเท่านั้น ไม่มีใครดอกที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์หรือชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์

เพราะฉะนั้น ถ้าใครมาทำให้เราโกรธไม่พอใจ นั่นเป็นจุดที่ไม่ดีของเขา เราก็ไม่ควรมองแต่จุดนั้น ลองหันไปดูจุดดีของเขาบ้าง เมื่อมองหาจุดดีก็อาจประหลาดใจว่า แท้ที่จริงแล้วเขามีความดีมากมาย “เขามีความไม่ดีบ้างก็ช่างเขา.....” อะไรประมาณนั้น นึกได้อย่างนี้แล้วความโกรธที่มีอยู่ก็อาจหายไปได้

4. ความโกรธทำให้ศัตรูสมใจ

นอกจากทำให้ตัวเองทุกข์แล้วยังสาสมใจศัตรูด้วย เวลาถูกความโกรธครอบงำ จิตใจเรามักร้อนรุ่มยังกับหอบกองไฟลุกโชนไว้ในอก หาความสุขไม่ได้ ที่สำคัญคือเรากำลังทำตนให้เป็นที่สะใจแก่ศัตรูผู้มุ่งร้ายแก่เรา โดยที่เขามิได้ลงทุนเลย เราทำให้เขาแท้ๆ

คนที่ไม่ชอบเรา เขามักคิดภาวนาในใจ (พูดให้ชัดคือสาปแช่ง) ว่า “เจ้าประคุณ ขอให้ไอ้/อี.....มันพินาศฉิบหายในเร็ววันเถิด” ถ้าเราเป็นคนมักโกรธ ก็เท่ากับเรากระทำการต่างๆ เข้าทางศัตรู โดยที่เขาไม่ต้องเสียแรงเสียเวลามาทำให้เราเลย

ให้สอนตนเสมอว่า “คนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทำสิ่งไม่ถูกใจให้เจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยให้เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นเล่า”

“เวลาเจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว เจ้าก็ไม่สามารถทำทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่เขา มิหนำซ้ำเจ้าได้ทำร้ายตัวเองเข้าแล้ว ด้วยความทุกข์เพราะความโกรธนั้น”

5. พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน

ให้คิดว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน ต่างได้รับผลแห่งกรรมที่ตนทำ เราโกรธเขา แสดงว่าเราได้ทำอกุศลคือกรรมชั่ว ซึ่งกรรมชั่วที่เราทำลงไปมันก็จะมีผลร้าย ก่อความเสียหายขึ้น เราก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้น ดุจเอามือทั้งสองกอบถ่านที่ลุกโซน มือทั้งสองของเราก็ไหม้เอง หรือดุจเอามือกอบอุจจาระไปโปะคนอื่น ตัวเองนั้นแหละย่อมเปรอะอุจจาระก่อน

เมื่อพิจารณาเห็นว่าทุกคนต่างก็มีกรรมเป็นของตนเช่นนี้ ก็จะเห็นในฝ่ายเขาเช่นเดียวกันว่า ถ้าเขาโกรธก็ได้ทำกรรมไม่ดีและจะได้รับผลแห่งกรรมไม่ดีเช่นเดียวกัน เมื่อต่างคนต่างมีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลแห่งกรรมของตนอยู่แล้ว เรื่องอะไรมามัววุ่นวายโกรธกันอยู่ทำไม ตั้งหน้าตั้งตาทำแต่กรรมดีมิดีกว่าหรือ

6. พิจารณาพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า

พระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าพิจารณาจากช่วงไหน ก็จะเห็นชัดเหมือนกันว่า พระองค์ทรงมีเมตตา ไม่โกรธใคร ขณะทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ทรงเอาความดีชนะความชั่วตลอดมา แม้จะถูกกลั่นแกล้งโดยผู้ไม่ปรารถนาดีก็ไม่ถือโทษ ดังเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นภูริทัต จะถูกศัตรูทรมานอย่างไรก็ไม่โกรธ ไม่ทำร้ายตอบ ทั้งๆ ที่อยู่ในฐานะจะทำได้

เมื่อพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ถูกเทวทัตจองล้างจองผลาญต่างๆ นานา ขนาดกลิ้งก้อนหินหมายประหารชีวิตพระองค์ แต่ก้อนหินปะทะง่อนผา สะเก็ดหินกระเด็นไปต้องพระบาท ได้รับทุกขเวทนาอย่างกล้า อีกครั้งหนึ่งสั่งให้ปล่อยช้างตกมันเพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ถึงแก่ชีวิต ขณะเสด็จออกโปรดสัตว์ในเมือง พระองค์ก็ไม่ทรงถือสา กลับมีเมตตาต่อเทวทัตผู้มุ่งร้ายพระองค์สารพัด บางครั้งถูกอันธพาลที่ได้รับจ้างจากผู้มุ่งร้ายพระองค์ตามด่าตลอดเจ็ดวัน พระองค์ก็ทรงสงบนิ่ง แผ่เมตตาจิตให้พวกเขา ไม่ทรงโกรธตอบ จนพระอานนท์ทูลให้เสด็จไปที่อื่นที่ไม่มีคนด่าพระองค์ตรัสสอนพระอานนท์ว่า ถ้าจะแก้ปัญหาโดยการหนี ก็คงหนีไปไม่มีที่สุด เพราะคนส่วนมากทุศีล ที่ถูกคือให้อดทนต่อคำล่วงเกินด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา

เมื่อพิจารณาถึงพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้าอย่างนี้แล้ว ได้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเผชิญเรื่องที่เลวร้ายกว่าเรา พระองค์ยังทนได้ เมื่อเราปฏิญาณว่าเป็นสาวกของพระองค์ ไฉนไม่ดำเนินตามรอยยุคลบาทเล่า เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้ว ความโกรธอาจหายไปได้

7. พิจารณาความเกี่ยวพันกันในสังสารวัฏ

นี่ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะดับความโกรธได้ คือ ให้คิดว่าโลกนี้ไม่มีใครที่ไม่เคยเป็นญาติพี่น้องกันมาก่อน หากใครมาทำให้ท่านเกิดความโกรธก็ให้พิจารณาว่า คนคนนี้อาจเคยเป็นบิดามารดาเรามาก่อนในชาติใดชาติหนึ่งที่ล่วงมาแล้วก็ได้ หรืออาจเป็นแฟนเป็นกิ๊กที่เรารักสุดชีวิตมาก่อนก็เป็นได้ แล้วเรื่องอะไรเราจะมาโกรธพ่อเรา แม่เรา หรือคนรักของเรา ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วความโกรธที่มีก็อาจสงบได้

8. พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา

ความโกรธเป็นปฏิปักษ์ของเมตตา ขณะใดความโกรธเกิดขึ้น ลองหันมาพิจารณาถึงคุณประโยชน์ของเมตตาดูสิว่า เมตตาความรักความปรารถนาดีต่อกันนั้นเป็นสิ่งที่ดีงามอย่างไร เมื่อพิจารณาถึงความดีงามของเมตตา ก็อาจระงับความโกรธได้

ความดีงามหรืออานิสงส์ของเมตตา พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า มี 11 ประการ คือ

1. คนที่มีเมตตานอนหลับก็เป็นสุข

2. ตื่นขึ้นมาก็เป็นสุข คือหน้าตาสดใสเบิกบาน

3. ไม่ฝันร้าย

4. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ใครเห็นใครก็รัก มีเสน่ห์

5. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย อย่าว่าแต่มนุษย์ด้วยกัน ภูตผีเทวดาก็รัก คนมีเมตตาผีไม่หลอกหลอน แทนที่จะหลอกหลอนกลับให้อารักขา อยู่อย่างปลอดภัยเสียอีก

6. เทวดาอารักขา

7. ปลอดภัยจากอัคคีภัย ยาพิษ และศาสตราวุธ

8. จิตเป็นสมาธิได้เร็ว

9. สีหน้าผ่องใสเบิกบาน

10. ถึงคราวตายก็ตายอย่างมีสติ

11. ถ้ายังไม่บรรลุคุณธรรมสูงกว่า ตายไปก็เข้าถึงพรหมโลกแน่นอน

ถ้าอยากมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ก็พึงพยายามเป็นคนไม่โกรธ หัดเป็นคนมีเมตตาเป็นธรรมประจำใจให้ได้

9. ให้แยกธาตุ

วิธีแยกธาตุนี้เป็นวิธีที่ได้ผลชะงัดนัก เพราะตราบใดเรายังมองเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นตัวเป็นคนเป็นนายนั่นนางนี่อยู่ ความโกรธก็เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเราแยกธาตุเสีย ทั้งธาตุเขาและธาตุเรานั้นแหละ ความโกรธก็อาจหายไป เพราะไม่รู้ว่าจะไปโกรธส่วนไหน เพราะแต่ละส่วนก็ไม่ใช่ตัวตน หากเป็นเพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟแค่นั้นเอง ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แค่นั้นเอง เช่น เพราะคิดว่านายแมวมันด่ากูจึงโกรธ แต่ถ้าคิดแยกธาตุเสียว่า ส่วนไหนเป็นนายแมว รูปหรือ เวทนาหรือ สัญญาหรือ วิญญาณหรือ ดินหรือ น้ำหรือ ไฟหรือ ลมหรือ ก็เปล่าทั้งเพ มันเป็นเพียงแค่ธาตุสี่ ขันธ์ 5 เท่านั้นเอง นายแมวนายหมูอะไรหามีไม่ เมื่อไม่มีนายแมวนายหมู คำด่ามันจะมีได้อย่างไร เมื่อไม่มีคำด่าแล้วจะโกรธทำไม

ในทำนองเดียวกัน ที่เรียกว่า “กู” ก็เพียงประชุมแห่งธาตุสี่ ขันธ์ 5 เท่านั้นเอง เมื่อแยกส่วนจนหมดแล้ว ก็ไม่มี “กู” ที่ไหนแล้วเราจะโกรธอยู่ทำไม

พูดถึงตอนนี้ นึกถึงหลวงพ่อคูณสมัยท่านยังไม่ดังเปรี้ยงปร้างอย่างสมัยนี้ หลวงพ่อท่านเดินทางไปกับศิษย์สองสามรูป ผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ญาติโยมก็ยกมือไหว้ นั่งยองๆ แล้วถามว่า “หลวงพ่อไปไหนมาคร้าบ" หลวงพ่อคูณก็เดินเฉย ไปได้อีกหน่อยโยมคนหนึ่งก็ถามอีกว่า “หลวงพ่อไปไหนมาคะ” หลวงพ่อก็เฉยเช่นเดียวกัน

จนลูกศิษย์ถามว่า “หลวงพ่อ โยมถาม ทำไมไม่ตอบ”

หลวงพ่อพูดว่า “กูไม่มา แม่มันจะถามใครหว่า” (ถ้ากูไม่มาเสียแล้ว จะถามใครเล่า)

เออจริงสินะ ถ้าไม่มีกู แล้วคำถามมันจะมีได้อย่างไร ก็ให้คิดเสียว่า กูไม่มาก็แล้วกัน คำถามจะได้ไม่มี เวลาโกรธใครสักคนก็ให้พิจารณาแยกธาตุดังว่ามาข้างต้นนั้น ความโกรธอาจหายไปได้ ถ้าลองทั้ง 9 วิธีแล้วยังไม่หาย ก็ตัวใครตัวมันละครับ


Image
เสฐียรพงษ์ วรรณปก


หนังสือข่าวสด รายวัน หน้า 29
คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์ โดย ไต้ ตามทาง
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
nattakarn
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 01 ก.ค. 2007
ตอบ: 57

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 1:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณนะคะ สาธุ
 

_________________
ความดีเป็นสิ่งไม่ตาย เมื่อเราตายไปสิ่งที่ไม่ตายไปกับเราด้วยก็คือ "ความดี" ค่ะ หนูจะทำความดี
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 16 ม.ค. 2008, 2:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความบางตอนจาก เรื่อง : วิธีเอาชนะความโกรธ (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)
"บรรดากิเลสทั้ง 3 คือ ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ
ท่านว่ามีโทษหนักเบาไม่เท่ากัน
ราคะนั้นดูเหมือนว่ามีโทษเบา แต่ละได้ยาก โทสะมีโทษหนักแต่ละได้ง่าย
ส่วนโมหะมีโทษหนักและละได้ยาก"

ถ้าข้าพเจ้าจะกล่าวว่า คำว่า ราคะ กับโลภะนั้น มันคนละความหมายกัน นี้ไม่ใช่การเขียนเพื่อคัดค้าน แต่เพื่อทำความเข้าใจให้ท่านทั้งหลายได้รู้เท่าทัน ได้รู้แจ้งเห็นจริงว่า

กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น ไม่มีโทษในทางกฏหมาย ไม่มีโทษในทางสังคม แต่จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ ฟุ้งซ่าน ก่อให้เกิดพฤติกรรมในด้านต่างๆ ตามมา ถ้าบุคคลมีสมาธิดี รู้จักควบคุมความคิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ย่อมต้องถูกขจัดไป ได้ในระดับหนึ่ง

ความโลภ หมายถึง ความอยากได้
ความโกรธ หรือ โทสะ หมายถึง ความคิดประทุษร้าย
ความหลง หรือโมหะ หมายถึง ความหลง
ทั้ง 3 อย่าง เกิดจาก ความคิด เกิดจากบทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล หรือการครองเรือน เกิดจากการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเห็น การได้สัมผัส

ราคะ หมายถึง ความยินดีในกาม หรือความกำหนัด (กำหนัด คือ ความใคร่ในกามคุณ)
ความโลภ ความโกรธ ความหลง หากต้องเอาชนะ คือต้องการขจัด ต้องมีปัจจัยประกอบ คือ
สมาธิ คือ ความรู้สึกตัวและระลึกได้
ญาณ คือ ความรู้ ต้องรู้ในหลักธรรม ต้องรู้ในธรรมชาติของมนุษย์ ฯลฯ ต้องรู้ในสถานะแห่งสิ่งใดใดที่เรากำลังดำเนินกิจกรรมอยู่

การแปลงความรู้อันประกอบด้วยสมาธิให้เป็นการปฏิบัติ หมายความว่า ถ้าเรามีความรู้และมีความรู้สึกตัวและระลึกได้แล้ว ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในเวลาอันรวดเร็ว ถ้ายังไม่ชำนาญ อาจใช้เวลาหลายนาที ถ้าชำนาญ อาจใช้เวลา ไม่ถึง 5 นาที ถ้าชำนาญมายิ่งขึ้น อาจใช้เวลา ไม่ถึง 1 นาที ถ้าชำนาญเป็นอย่างยิ่งเกิดขึ้นปุ๊บไม่ตั้งอยู่จะดับไปปั๊บ

นี้คือหลักการหรือหลักธรรมที่ถูกต้อง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2008, 3:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณ ท่าน webmaster อนุโมทนาบุญด้วย จ้า
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง