ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
p.somchai
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ย. 2007
ตอบ: 48
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี
|
ตอบเมื่อ:
09 ม.ค. 2008, 7:15 am |
  |
กฏไตรลักษณ์ คืออะไร
อนิจจตา
ทุกขตา
อนัตตตา
1 / อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง คือ ภาวะที่สังขารทั้งปวงไม่อยู่คงที่ เป็นเรื่องแปรปวน มีการแปรเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา
สามารถกำหนดรู้ได้ด้วยลักษณะดังนี้
1.มีการเกิดขึ้นแล้วดับไป
2.มีการแปรเปลี่ยนสภาพในระหว่างเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา
3.เป็นสิ่งคราวตั้งอยู่ได้ชั่วขณะ
4.เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเที่ยงแท้
อนิจจลักษณะ ได้ในสังขาร 2 ประเภท คือ
1.อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่มีใจครอง)
2.อนุปาทินนกสังขาร (สังขารไม่มีใจครอง)
2 / ทุกขตา ความเป็นทุกข์ คือ ภาวะที่สังบารทั้งปวงทนได้ยาก ไม่สามารถดำรงตนอยู่อย่างเดิมได้
กำหนดรู้ได้ด้วยลักษณะดังนี้
1.สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร ที่มีอยู่ด้วยกันทุกคนไม่มียกเว้น ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย
2.ปกิณณกทุกข์ ทุกข์ที่จรมาครั้งคราว ได้แก่ ความเศร้าโศก ความพร่ำเพ้อรำพัน ความไม่สบายกาย
ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบ ความพลัดพลากจากสิ่งที่ชอบ ความผิดหวังไม่ได้ดังต้องการ
3.นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ ทุกข์ประจำ ได้แก่ ความหนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
4.พยาธิทุกข์ ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ หรือทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายไม่ทำหน้าที่ปกติ
5.สันตาปทุกข์ ทุกข์ร้อน ได้แก่ ความร้อนรุ่ม กระวนกระวาย เพราะถูกไฟกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ เผาลนใจจนให้เร่าร้อน
6.วิปากทุกข์ ทุกข์เพราะผลกรรม ได้แก่ ความเดือดร้อนใจที่เป็นทุกข์ในปัจจุบันทันตา เช่น ได้รับโทษตามอาญาบ้านเมือง
ประสบกับความยากลำบากในการดำเนินชีวิต หรือทุกข์ขั้นที่เลยตาเห็น เช่น ตายแล้วไปเกิดในทุคติ
7.สหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกัน หรือทุกข์กำกับ ได้แก่ ทุกข์ที่เป็นผลจากความพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ เช่น ได้รับ ยศ สุข
สรรเสริญ แม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นที่ชื่นชอบ แต่ก็ไม่วายที่จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นด้วย เพราะกลัวว่าจะหมดสูญหายไป
8.อาหารปริเยฎฐิทุกข์ ทุกข์ในการหากิน ได้แก่ ทุกข์เนื่องด้วยการทำมาหากินเลี้ยงชีวิต
9.วิวาทมูลทุกข์ ทุกข์มีวิวาทเป็นมูล ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากการทะเลาะกัน การต่อสู้คดีความกัน เป็นเหตุให้หวาดหวั่นใจกลัวแพ้
10.ทุกขขันธ์ ทุกข์รวบยอด ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากการยึดมั่นถือในขันธ์ 5 กลัวไม่สวย ไม่หล่อ ไม่งาม เลยเกิดทุกข์
3 / อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน คือ ภาวะที่สังขาร และวิสังขาร เป็นของมิใช่ตัวตน กำหนดรู้ได้ด้วยลักษณะ ดังนี้
1.ไม่อยู่อำนาจ ได้แก่ ไม่อยู่ในบัญชาของใคร ไม่เป็นไปตามที่ปรารถนา ใครบังคับไม่ได้
2.แย้งต่ออัตตา ได้แก่ เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเป็นตัวตน
3.หาเจ้าของมิได้ ได้แก่ ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้
4.เป็นสภาพว่างเปล่า ได้แก่ หาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะเมื่อพิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี
5.เป็นสภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ได้แก่ เป็นเพียงสภาวธรรมอย่างหนึ่ง ที่เมื่อเกิดขึ้นก็เพราะเหตุ ดับก็เพราะความดับสิ้นแห่งเหตุ
*****การพิจารณาสังขารให้เป็นอนัตตา ถ้าขาดการพิจารณาโดยแยบคายแล้วอาจกลายเป็นนัตถิกทิฏฐิ คือ มีความเห็นปฎิเสธไป
ทุกอย่างได้ เช่น เห็นว่าผลของบาปบุญคุณโทษไม่มี คุณของบิดามารดาไม่มี เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องพิจารณาสังขารโดยใช้หลักของ
สัจจะเข้ามาเป็นหลักประกอบการพิจารณา ได้แก่
1.สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ ความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อน เป็นต้น ย่อมเป็นความจริง
ตามสมมติอันพึงจะคัดค้านมิได้
2.ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นการ
พิจารณาถึงสภาพที่แท้จริงของสังขาร ( พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ 2538 150/301 )
3.อนัตตลักษณะ มิใช่มีเฉพาะแต่ในสังขารอย่างเดียว แม้แต่วิสังขาร ได้แก่ สภาวะที่ไม่ใช่สังขาร เป็นสภาวะที่ปราศจากการปรุงแต่ง
คือ พระนิพพาน ก็จัดอยู่ในอนัตตลักษณะนี้ด้วย คาถาที่ 3 นี้ ท่านจึงใช้คำว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา"
อนึ่ง การที่บุคคลจะพิจารณาเห็นสังขาร จนเห็นเป็นไตรลักษณ์นั้นเป็นของยาก เพราะมีสิ่งปกปิดไว้ไม่ให้เห็นคือ สันตติ
ความสืบต่อแห่งนามรูป ปกปิดอนิจจตา, อิริยาบถ ความผลัดเปลี่ยนกิริยาทางกาย ปกปิดทุกขตา, ฆนสัญญา ความสำคัญว่าเป็นกลุ่ม
เป็นก้อน ปกปิดอนัตตา
แต่หากใช้ปัญญาพิจารณาอย่างที่ถ้วนโดยวิธี คือ วิปัสสนาภาวนา พิจารณาสังขารจนเห็นความเกิดและความดับ จนถอน
สันตติลงได้ เห็นความถูกบีบคั้น ทนอยู่ไม่ได้ ด้วยเพิกถอนอิริยาบถออกเสีย พิจารณาจนเห็นเป็นธาตุที่กระจายออกจากความเป็นกลุ่ม
ก้อน จนถอนฆนสัญญาเสียได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยกฏไตรลักษณ์เช่นนี้ จิตของผู้นั้นย่อมปล่อยวางได้ เพราะเกิความเบื่อหน่ายในทุกข์
ที่เกิดจากสังขาร ความหน่ายอย่างนี้ถึงจะเรียกว่า นิพพิทา ย่อมเป็นแนวทางหรืปฏิปทาข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุถึง วิสุทธิ ความบริสุทธิ์
จากกิเลสต่อไป |
|
_________________ หนทางหมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก |
|
  |
 |
I am
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
09 ม.ค. 2008, 1:01 pm |
  |
 |
|
_________________ ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก |
|
     |
 |
ธำรงค์ศักดิ์
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 03 ม.ค. 2008
ตอบ: 39
ที่อยู่ (จังหวัด): สระบุรี
|
ตอบเมื่อ:
09 ม.ค. 2008, 1:44 pm |
  |
สาธุครับ...ดีจริงๆครับ |
|
_________________ จงทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ |
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
09 ม.ค. 2008, 9:14 pm |
  |
ไตรลักษณ์ กฏที่เที่ยงตรงเสมอ
อนุโมทนาสาธุด้วยค่ะ  |
|
|
|
    |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
16 ม.ค. 2008, 12:53 pm |
  |
|
   |
 |
|