ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ค.2008, 12:29 pm |
  |
ฟ้าสางทางความลับสุดยอด (๑๑)
ความแตกฉานทางปรมัตถ์ปรัชญานั้น เป็นเรื่องต่างหากจากความเป็นพระอรหันต์; อย่าเอาไปปะปนกัน อาจจะลืมตัว แล้วสำคัญตนว่าเป็นอรหันต์ก็ได้ ฯ (๒๐๑)
ปัญหาที่ว่า พระเจ้ามีจริงหรือไม่? เป็นบุคคลหรือมิใช่บุคคล? ประทานคัมภีร์มาให้จริงหรือไม่? เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่ว่า คำสอนที่บอกให้นั้น ถ้าปฏิบัติตามแล้วดับทุกข์ได้จริงหรือไม่เท่านั้น ฯ (๒๐๒)
เศรษฐกิจดี - การเมืองดี - การปกครองดี - กสิกรรมอุตสาหกรรมดี - อะไรๆ ก็ดี แต่คนผู้เกี่ยวข้องไม่มีศีลธรรม แล้วผลจะเป็นอย่างไร จะยิ่งวิกฤตการณ์กว่าที่อะไรๆ ไม่ดี ได้หรือไม่ ฯ (๒๐๓)
อำนาจการซื้อ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดทางเศรษฐกิจและทางการต่างประเทศ มีต้นตอแท้จริงมาจากการผลิต ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของกสิกรและกรรมกร ทำไมจึงมองกันแต่นักเศรษฐกิจและนักการเมือง ว่าเป็นเหมือนพระเจ้า ฯ (๒๐๔)
บัดนี้ เป็นที่ปรากฏแล้วว่า ครู คือ ผู้ที่เกลียดคำว่า "ศีลธรรม" มากที่สุด รู้สึกว่ามันเป็นข้าศึกต่อเหล้า- บุหรี่ - ผู้หญิง ; จึงไม่มีอารมณ์ ที่จะศึกษา - สั่งสอน - อบรมศีลธรรมกันเป็นส่วนมาก ฯ (๒๐๕)
แม้แต่เด็กกำพร้า - หูหนวก - ตาบอด ก็ปฏิเสธที่จะศึกษา ปฏิบัติศีลธรรม ราวกะว่าเป็นสิ่งไร้สาระ ไม่น่าชื่นใจอะไร; ช่างสมกับความหนวก - บอด ดังนี้แล้ว เด็กที่มีตาดี - หูดี จะมิยิ่งไปกว่านั้นหรือ? ช่วยกันตั้งข้อสังเกตกันบ้างเถิด ฯ (๒๐๖)
เราประเทศด้อยพัฒนา กำลังพยายามทำตามอย่างประเทศเต็มพัฒนา, ทั้งที่ประเทศเหล่านั้นยังมีสภาพไร้ศีลธรรม เต็มไปด้วยอาชญากรอาชญากรรม ยิ่งกว่าเราไปเสียอีก : นี่มันอย่างไรกัน ฯ (๒๐๗)
ยังมีครูที่บอกนักเรียนว่า เหล้ามีโทษเพียงเล็กน้อย ยังเป็นที่ยอมรับของสังคม ยังเป็นทางมาแห่งรายได้มหาศาลของประเทศ; แล้วก็ชวนนักเรียนดื่มเหล้า, (เรื่องจริงที่ไม่น่าเชื่อ แต่มีจริง) ซึ่งเรื่องชนิดนี้ไม่เคยมีในกาลก่อน ฯ (๒๐๘)
การบวชนาค - ฝังนิมิตสีมา - ทอดกฐิน ผ้าป่า - ฯลฯ ที่ทำลายเศรษฐกิจและศีลธรรมของประเทศชาตินั้น ไม่ใช่ของพระพุทธศาสนา และไม่เคยมีในพุทธกาลและยุคต่อมา นอกจากยุคนี้ ฯ (๒๐๙)
อย่ามัวเป็นห่วง ว่าเขาจะตอบแทนไม่คุ้มกับความดี ที่เราทำแก่เขา; เพราะความดีของเรา ถ้าดีจริงย่อมยิ่งใหญ่ เกินกว่าที่ใครจะตอบแทนให้คุ้มกันได้หลายเท่านัก ฯ (๒๑๐)
แม้เราจะมองเห็นว่า โลกปัจจุบันของเรา มีความเลวร้าย - มดเท็จ - หลอกลวง - บาป เหลือกำลังที่เราคนเดียวจะแก้ไขได้แล้ว เราก็ยังไม่วางมือ; แต่จะชักชวนให้ร่วมมือกัน หาธรรมะที่สามารถแก้ไขได้ให้ยิ่งไปกว่าที่แล้วมา ฯ (๒๑๑)
ชีวิตของเรา มีค่ามากสำหรับเราเพียงไร แต่ก็ยังไม่เกินกว่าที่เราจะเสียสละมันไป เพื่อความรอดสำหรับเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกของเรา ฯ (๒๑๒)
คำว่า "เพื่อนเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย" มี ๒ ความหมาย คือ เพื่อนมีกิเลสแล้วจมอยู่ในกองกิเลสหรือกองทุกข์ด้วยกัน นี้อย่างหนึ่ง, เพื่อนต่อสู้กิเลส และพ้นจากกิเลส พ้นจากเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย ด้วยกัน นี้อีกอย่างหนึ่ง; ระวังให้ดี ๆ จนเป็นเพื่อนเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย ด้วยกันอย่างถูกต้อง ฯ (๒๑๓)
การนำเอาบทสวด เช่น บทสรณาคมน์ เป็นต้น มาสวดทำนองเพลงแขก แทรกระหว่างบรรยายทางวิทยุเป็นต้นนั้น มีผลทางลบมิใช่น้อย ฯ (๒๑๔)
การรู้เรื่อง(เรียน), การรู้จัก(เห็น), การได้- ถึง (มี) ซึ่งพระรัตนตรัยนั้น มิใช่สิ่งเดียวกัน จึงเป็นสิ่งที่จะต้องได้ต้องมีตามลำดับ สามลำดับ; อย่าเอาไปปะปนกัน อย่างไม่รู้ความหมาย ดังที่กำลังกระทำกันอยู่ ฯ (๒๑๕)
ถ้าท่านเข้าใจเรื่องสังสารวัฏ หรือการเกิดใหม่ทางวิญญาณในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ของแต่ละวันๆ ท่านก็อาจะเห็น - เรียนรู้ - เข้าใจ - สัมผัส กับสันทิฏฐิกนิพพาน ได้จริง และอย่างสบหลักวิทยาศาสตร์ ฯ (๒๑๖)
มีหลายศาสนาที่พูดถึงการเกิดใหม่ แต่ก็ไม่มีสักรายเดียวที่ตรงหรือเข้ากันได้กับ "เกิดรอบหลังๆ" ในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งภายในวันเดียวก็เกิดได้จนนับไม่ไหวว่ากี่รอบ ฯ (๒๑๗)
คำว่า "การเกิดใหม่ในสังสารวัฏ" ที่พุทธบริษัทเข้าใจกันอยู่นั้น ยังไม่ตรงตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท : ไม่เป็นสันทิฏฐิโก ไม่เป็นเรื่องที่ช่วยดับตัวตนเสียได้ แล้วบรรลุนิพพานได้; มีแต่จะกลายเป็นศาสนาอื่น หรือนอกหลักพุทธศาสนา ฯ (๒๑๘)
ไปทะเลาะทุ่มเถียงกับเสือเสียยังดีกว่า ไปทะเลาะกับคนโง่; เพราะคนโง่ไม่มีเหตุผล หรือถ้ามีก็มีแต่เหตุผลของคนโง่ ฯ (๒๑๙)
คำว่า "ชาติ" หมายถึงประเทศชาติ ก็อย่างหนึ่ง, หมายถึงการเกิดจากท้องมารดา นั้นก็อย่างหนึ่ง, แต่ ชาติ ชนิดที่เกิดทุกทีแล้วเป็นทุกข์ทุกทีนั้น คือชาติที่เกิดจากอวิชชาสัมผัส คือเกิดเป็นอุปาทาน รู้สึกอยู่ว่า ตัวกู-ของกู ฯ (๒๒๐) |
|
_________________ ธรรมะคือธรรมชาติ |
|
   |
 |
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ค.2008, 12:31 pm |
  |
ฟ้าสางทางความลับสุดยอด (๑๒)
ภิกษุที่เห็นภัยในวัฏฎสงสาร หรือแม้ในโลกนี้ อย่างแท้จริง ก็มีคำพูดที่ควรรับฟัง เช่นเดียวกับของพระอรหันตชินะ, บางทีจะเหมาะแก่คนสมัยนี้ยิ่งกว่าเสียอีก ฯ (๒๒๑)
ยุคนี้ก็ยังมีอาจารย์บางคน ถือว่าสมองมีศูนย์กลางอยู่ที่หัวใจ ศูนย์ที่สั่งสมอง แล้วสมองสั่งกายอีกที; นี้เป็นเพราะติดฝิ่นคัมภีร์บางคัมภีร์ที่กล่าวว่า จิตอยู่ที่หัวใจมาก่อน ฯ (๒๒๒)
พระอาจารย์ที่ได้รับความเคารพนับถือเป็นผู้วิเศษที่บูชาของคนจำนวนล้านๆ นั้น อาจเป็นเพียงจุดศูนย์รวมแห่งความหลงใหล ของคนจำนวนเท่านั้นก็ได้; หาใช่เป็นพระสาวกผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานไม่ ฯ (๒๒๓)
บางทีความขี้เกียจของเรา มีกำลังมากกว่าความอยากดีมีประโยชน์; ดังนั้น ต้องฝึกการบังคับจิตใจให้ได้มากพอกับความมีสติปัญญาของเรา ฯ (๒๒๔)
ส่วนมาก เขาจะว่าดี ก็ต่อเมื่อเขาได้รับประโยชน์จากการกระทำของเรา; ถ้าเขาไม่ได้ประโยชน์เช่นนั้น แต่ไปได้กับผู้อื่น เราก็เป็นคนดีที่เขาไม่ต้องการ ฯ (๒๒๕)
นิสัยสันดานที่ไม่เหมือนกัน : ไก่ตัวหนึ่ง เมื่อเป็นโจก ก็มีแต่ระรานไก่ทุกตัว; ต่อมา ไก่ตัวหนึ่งปราบไก่ตัวนั้นลงได้, แต่แล้วก็ไม่เกเรระรานไก่ตัวไหนเลย: เราต้องการคนชนิดนี้ เป็นผู้นำ ฯ (๒๒๖)
ชีวิตนั้น ประกอบไปด้วย ปัจจัยมากอย่าง คล้องเกี่ยวกันเหมือนห่วงโซ่ทั้งหลาย; ปัจจัยเพียงอย่างเดียวเสียไปจริงๆ ชีวิตก็ดับ ทั้งที่ปัจจัยอีกมากอย่างยังมิได้เสียเลย, น่าเสียดายจริงๆ ฯ (๒๒๗)
ระบบกาย ขึ้นอยู่กับระบบจิต, ระบบจิตจึงอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่ระบบกาย; แม้ในทางเคมี ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ เกิดขึ้น เป็นความรัก - โกรธ - เกลียด - กลัว - วิตกกังวล - อาลัยอาวรณ์ - อิจฉาริษยา - หึง -หวง; ดังนั้น ควรฝึกฝน หรือพัฒนาระบบจิต ฯ (๒๒๘)
การพิจารณาเพื่อชนะกาม โดยพิจารณาเป็นของปฏิกูล ดังที่สอนๆ กันอยู่ มีทางสำเร็จน้อยกว่าการพิจารณา โดยความเป็นของธรรมดา ของสัตว์ที่ยังมีความเป็น "สัตว์" แล้วเกิดความละอาย ฯ (๒๒๙)
ทุกขอริยสัจ ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ สามอย่างนี้ มิใช่สิ่งเดียวกัน; แต่มักเข้าใจผิด เพราะชอบเรียกกันสั้นๆ ว่า "ทุกข์" เฉยๆ ระวังกันเสียบ้าง! ฯ (๒๓๐)
แม้ผู้พูดความจริงได้ตายไปแล้ว แต่ความจริงยังคงอยู่ มิได้ตาย; นั่นเป็นเพราะความจริงนั้น เป็นของธรรมชาติที่ไม่ตาย เพียวแต่อาศัยปากคน แสดงตนออกมาเท่านั้น ฯ (๒๓๑)
ความดีชนิดที่เปลี่ยนได้ดับได้ นั้นเป็นสังขตธรรมฝ่ายกุศล แต่มีชนิดหนึ่งเป็นอย่างตรงกันข้าม ไม่เป็นเช่นนั้น (เป็นอริยธรรม); ระวังอย่าเอามาปนกัน เมื่อเราพูดกันถึงความดี ฯ (๒๓๒)
เราควรสมัครจะเป็นลูกไก่ อยู่ใต้กะลาครอบของพุทธศาสนาที่แท้จริง; แทนที่จะออกมาสู่โลกอันกว้างขวางปานมหาสมุทรของปรัชญาชนิด Philosophy อันเพ้อเจ้อไม่มีจุดจบและปนกันยุ่ง ของวิทยาการประเภทนั้น ฯ (๒๓๓)
ศาสนาในโลก ชนิดที่จัดว่ามีพระเจ้า (Theist) และชนิดที่ไม่มีพระเจ้า (Atheist) ล้วนแต่สอนให้แก้ปัญหาขัดข้องในโลก ด้วยความรักหรือเมตตา; แต่ลัทธิชนกรรมาชีพ มุ่งหมายจะแก้ด้วยอาวุธในหลายรูปแบบ, จึงไม่สามารถชนะน้ำใจนายทุน ฯ (๒๓๔)
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ทุกชนิด ไม่อาจใช้เป็นเครื่องมือเอาชนะกันได้ นอกจากจะมีแต่ความพินาศด้วยกันทั้งสองฝ่าย; ดังนั้น ถ้าจะให้วิทยาศาสตร์พูดบ้าง ก็คงจะพูดว่า ให้แก้กันด้วยความรัก อีกนั่นเอง จะได้ไม่ต้องใช้วิทยาศาสตร์ เชือดคอตนเอง ฯ (๒๓๕)
การสงวนในการแสวงหาช่องทาง เพื่อต่อสู้กันตามแบบของตนๆ นั้น ไม่มีทางที่จะชนะกันได้ด้วยอาวุธ ด้วยอำนาจเศรษฐกิจ หรือแม้ด้วยอำนาจวิถีทางการเมือง ที่ไม่มีความรักของทางศาสนาเป็นรากฐาน; มีแต่จะสร้างรากฐานให้ปัญหามีรากฐานหยั่งลึกยิ่งขึ้นไปทุกทีเท่านั้น ฯ (๒๓๖)
นับว่ายังเป็นโชคดีอยู่บ้างที่ยังมีคนบางพวกเฉลียวใจได้ทัน: ไม่คิดที่จะใช้อาวุธอย่างความคิดของเด็กๆ นั้นอีกต่อไป ฯ (๒๓๗)
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งในตอนนี้ว่า ธรรมชาติมิได้สร้างชีวิตมาอย่างตายตัว ว่าเป็นบุญ หรือ บาป ดีหรือร้าย กุศลหรืออกุศล โดยส่วนเดียว หากแต่ให้มันเป็นไปได้ตามกฏอิทัปปัจจยตา, แล้วแต่ใครจะสร้างมันอย่างไร; ดังนั้น ขอให้เราทั้งหลายสนใจเรื่องอิทัปปัจจยตา และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ถึงที่สุดเถิด ฯ (๒๓๘) |
|
_________________ ธรรมะคือธรรมชาติ |
|
   |
 |
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ค.2008, 12:35 pm |
  |
๙ และ ๑๐ ผมไม่ขอเอามาลงนะครับ คัดลอกจากพุทธทาสดอทคอม
|
|
_________________ ธรรมะคือธรรมชาติ |
|
   |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
29 พ.ค.2008, 10:10 pm |
  |
ขอขอบคุณ และอนุโมทนาสาธุกับทุกกระทู้ของท่านพุทธทาส
ที่คุณชาญวิทย์นำมาแบ่งปันกันด้วยนะคะ  |
|
|
|
    |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2008, 12:54 pm |
  |
คำสอนของท่าน มากมายจริง ๆ เข้าไปอ่านที่ พุทธทาส.คอม เหมือนกันค่ะ ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ค่ะ |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|