Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ค่ายศาสนา : นวองคุลี อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 พ.ย.2007, 8:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ค่ า ย ศ า ส น า
โดย นวองคุลี วัดสุวรรณประสิทธิ์

ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
ทั่วโลกมีค่ายศาสนาหลายค่าย
ค่ายศาสนาทุกค่ายมีลักษณะเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ

ต้องการศาสนิกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ จึงทำให้เกิดงานเผยแพร่

งานเผยแพร่แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑. งานเผยแพร่ที่ทำด้วยศรัทธาความเชื่อและอุดมการณ์
๒. งานเผยแพร่ที่กระทำเพราะกระหายในศาสนิก


ในบรรดาการเผยแพร่ทั้ง ๒ อย่างนี้

อย่างที่หนึ่ง

ควรได้รับการยกย่องบูชา ควรให้การสนับสนุนอนุเคราะห์ตามกำลัง

อย่างที่สอง

ควรตำหนิและระงับการช่วยเหลือ

เพราะนั้นมิใช่งานรับใช้ศาสนา
แต่เป็นการรับใช้ความอยาก ความทะเยอทะยานของตนเอง
เขาไม่มีวิญญาณของความเป็นครู เขาเป็นแค่นักล่าอาณานิคมทางความเชื่อ


นับแต่โบราณมาแล้ว
ที่บรรดาศาสนาต่างๆ พยายามขยายอาณาเขตการเผยแพร่ไปให้กว้างที่สุด
แม้แต่ลัทธิพ่อมด หมอผี เจ้าพิธีกรรม หัวหน้าเผ่า ทรงเจ้าเข้าผี
ก็ต้องการเพิ่มบริวารทางความเชื่อในจำนวนที่ไม่จำกัด

ค่ายศาสนาน้อยใหญ่เหล่านี้
นับเป็นสิ่งที่แสดงถึงสีสันทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริง
เป็นตัวขับเน้นให้เห็นถึง
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์

ถ้ายกเว้นแง่มุมเรื่องศาสนาและระบบความเชื่อท้องถิ่นแล้ว
เราอาจจะไม่เห็นความแตกต่างกันมากนัก
ของบรรดาค่ายวัฒนธรรมที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก

เพราะเหตุที่ว่าในแง่มุมอื่นๆ เป็นต้นว่า
การเมือง การปกครอง การศึกษา การค้า ระบบเศรษฐกิจ ฯลฯ
ปัจจุบันทั่วโลกก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยส่วนมาก

ค่ายเล็กในค่ายใหญ่ในแง่มุมของศาสนา
แม้ในศาสนาเดียวกันก็ยังมีกลุ่มชนต่างความเชื่อหลายกลุ่ม
แตกเป็นก๊ก เป็นนิกายต่างๆ มากมาย

ยังไม่มีคำอธิบายที่ถูกต้องชัดเจนดีพอ
เกี่ยวกับกลุ่มความเชื่อหลายกลุ่มในศาสนาเดียวกันว่า
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร


เหตุใดคนจึงมีความเชื่อไม่เหมือนกันทั้งที่นับถือศาสนาเดียวกัน

ที่น่าจับตามองก็คือ
บทบาทและความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เหล่านี้
กำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด

การเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่ม
เป็นเหตุให้ต้องเผชิญหน้ากันเองในบางสถานการณ์หรือไม่
และการบล็อกทางวัฒนธรรมของกลุ่มย่อยเหล่านี้จะแตกต่าง
หรือเหมือนกลุ่มใหญ่ในระดับประเทศมากน้อยเพียงใด


ปัจจุบันศาสนาพุทธในบ้านเรา
โดยนิตินัยได้ขึ้นทะเบียนไว้ว่ามี ๒ นิกาย
คือ ธรรมยุติกนิกาย ๑ และมหานิกาย ๑

แต่เมื่อว่าโดยพฤตินัยแล้วมีกลุ่มชนต่างความเชื่อมากกว่า ๑๐ กลุ่มขึ้นไป
ในตลาดความเชื่อบ้านเราพยายามจัดตั้งองค์กร
และแข่งขันกันเผยแพร่กันอยู่ในเวลานี้

(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 พ.ย.2007, 1:33 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2007, 12:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระพุทธเจ้าเป็นนักล่าอาณานิคมหรือไม่

ข้อนี้ต้องแยกพิจารณาเป็น ประเด็น เพื่อสะดวกแก่การทำความเข้าใจ

๑. ประเด็นของเนื้อหาของศาสตร์ที่นำมาสอน
๒. ประเด็นเรื่องการก่อตั้งองค์กรทางศาสนา


ประเด็นแรก : ในแง่ของศาสตร์ของเนื้อหาที่นำมาสอน

ยังไม่พบว่า มีคำสอนใดที่รับสั่งให้ศาสนิกสวามิภักดิ์ จงรักภักดี
ต่อพระองค์ หลุดออกมาจากพระโอษฐ์

คำสอนทุกเม็ดคำ
มุ่งให้คนเป็นอิสระหลุดพ้นจากการยึดติดในสิ่งทั้งหลาย
ที่สุดแม้พระธรรมที่พระองค์ตรัสสอนแล้วก็มิให้ศาสนิกยึดติด


โดยทรงอุปมาว่า

“เราแสดงธรรมดุจเรือแพที่อาศัยข้ามฟาก
ครั้นเมื่อถึงฝั่งแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแบกแพนั้นไป”


แม้เมื่อศาสนิกหลงมายึดติดในพระองค์
ก็ทรงปลดเปลื้องให้หลุดพ้นจากการยึดติดในตัวบุคคลด้วยพุทธวิธี
มีการแสดงธรรม เป็นต้น

เช่น กรณีของ พระวักกลิ เฝ้าหลงใหลติดตามพระพุทธองค์ทุกฝีก้าว
ทรงมีเมตตาปลดเปลื้องอุปาทานของวักกลิด้วยยุทธวิธีมือชั้นครู
บรมครูผู้ชำนาญในการฝึกคน คือ กล่าว กราบ อัปเปหิ ว่า

“วักกลิ เธอจะมาเฝ้าดูกายอันเน่าเปื่อยนี้ ด้วยประโยชน์อะไร
เราตถาคตคือ ธรรมกาย”


(คำว่า ธรรมกาย ในที่นี้เป็นสำนวน (IDIOM)
หมายถึงว่า ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น เป็นที่คุณร่างกาย
คำๆนี้มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ไม่กี่แห่ง
และปรากฏอยู่ในรูปของสำนวน
มิใช่ปรากฏอยู่ในรูปของกระบวนวิธี หรือระบบปฏิบัติใดใด)


ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี ที่ทรงตรัสสอนมุ่งความหลุดพ้น
และปฏิปทาเพื่อความหลุดพ้นนั้น
ไม่ทรงปรารถนาการแห่แหน ยกย่องเทิดทูนจากศาสนิก

แม้สาวกของพระองค์ก็ปฏิบัติอนุโลมตามกัน
มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อว่า “เอกวิหาริยะ” กล่าวว่า

“เรานั้น เมื่อไม่เห็นใครอยู่ข้างหน้า
ไม่เห็นใครตามมาข้างหลัง
อยู่แต่ผู้เดียวในที่อันสงัด
เราย่อมได้รับความสำราญใจ
ได้รับความเบิกบานใจ
ผิฉะนั้นเราแต่ผู้เดียวพึงไปสู่ป่า”


นอกจากนั้นยังทรงตำหนิชื่อเสียงลาภสักการะ
และบริวารแวดล้อมว่าเป็นของต่ำ
ทำอันตรายต่อพระนิพพาน คือ ความหลุดพ้น


ตรัสเปรียบลาภสักการะและชื่อเสียงว่า

อุปมาหมือนมูตรคูถโคลนตม
ที่ทำให้พรหมจรรย์เศร้าหมอง
แตะต้องเข้าเมื่อใดก็สกปรกเลอะเทอะ

ทรงอุปมาเหมือนพรานเบ็ด
อันภิกษุใดเข้าไปหลงยึดติดแล้ว
ก็จะเหมือนปลาติดเบ็ด
ย่อมถึงความพินาศในที่สุด


ตรัสตำหนิผู้กระหายในชื่อเสียง ลาภยศว่า

เป็นผู้ปรารถนาลามก
ตรัสว่าภิกษุประเภทนี้ย่อมเข้าไปสู่สกุล
เป็นผู้กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะนั่งในสกุลย่อมกล่าวธรรมในสกุล
ปรารถนาอยู่ว่าไฉนหนอสกุลทั้งหลายจักเลื่อมใส
แล้วแสดงอาการแห่งความเลื่อมใสให้ปรากฏ


Image

ทรงสรุปว่า พระภิกษุเช่นนี้ ย่อมเป็น ผู้อยู่ร้อนนอนทุกข์

บทบาทของพระองค์ในสมัยที่ยังทรงพระชนม์อยู่
มีท่าทีแสดงออกอย่างชัดเจนว่า
ทรงต่อต้านในการหลงใหลในลาภสักการะและชื่อเสียง
และทรงขวนขวายให้พระภิกษุพ้นจากการยึดติด ยินดี พอใจในสิ่งเหล่านี้

ภิกษุบริษัทผู้เห็นแจ้งในธรรมแล้ว จะมีทัศนคติคล้ายๆ กับพระองค์
พระปุกุสสาติ ได้กล่าวคำไว้ประโยคหนึ่งว่า

“ภิกษุหัวโล้น นุ่งห่มสังฆาฏิ
เป็นที่ศรัทธาในมหาชนเป็นอันมาก
ย่อมได้ปัจจัย ๔ และลาภสักการะ
เพราะเหตุแห่งศรัทธานั้น เป็นผู้ประมาทหลงลืมสติ
บริโภคปัจจัย ๔ มัวเมาในลาภสักการะ ย่อมถึงความพินาศ”


แม้แต่ลูกศิษย์ของพระองค์ก็มีความคิดเห็นเป็นแนวเดียวกัน
ทรงเป็นผู้มีปกติเห็นโทษของลาภสักการะชื่อเสียง
และสอนให้ผู้อื่นเห็นตามเช่นนี้

ซึ่งไม่เหมือนนักล่าอาณานิคมที่เห็นสิ่งเหล่านี้เป็นของหวานอันโอชะ
และใช้ความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ไปแสวงหา

พระองค์ไม่เคยมีปฏิปทาเพื่อการนี้ แม้แต่น้อยนิด
นับตั้งแต่ตรัสรู้ไปจนถึงปรินิพพาน
ทรงมีปฏิปทาอันพ้นไปจากลาภสักการะ ชื่อเสียง บริวารแวดล้อม
และสอนผู้อื่นให้พ้นตาม
สมแล้วที่ทรงประกาศในท่ามกลางสงฆ์อย่างแกล้วกล้าว่า

“พรหมจรรย์นี้ เรามิได้ประพฤติเพื่อลาภสักการะ
ความสรรเสริญ เป็นอานิสงส์
แต่ประพฤติเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง
เพื่อความหลุดพ้น เพื่อเจโตวิมุตติ อันไม่กำเริบเป็นอานิสงส์”


ดังนั้นพระองค์จึงไม่ใช่นักล่าอาณานิคม
แต่ที่ตั้งขวนขวายในงานเผยแพร่
ก็เพราะต้องการแพร่ข้อมูลของศาสตร์แห่งความดับทุกข์
ไปสู่มหาชนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้


(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 พ.ย.2007, 1:00 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2007, 12:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประเด็นที่ ๒ : เรื่องการก่อตั้งองค์กร

ซึ่งก็ได้แก่องค์กรคณะสงฆ์ที่สืบทอดมาจนทุกวันนี้

เนื่องจากในหมู่มนุษยชาติ
ยังมีบุคคลที่ไม่ปรารถนาจะมีครอบครัว
ไม่ประสงค์จะมีชีวิตคู่ และแสวงหาอยู่ซึ่งอมฤตธรรม
เหมือนกับพระพุทธองค์อยู่มิใช่น้อย

ประกอบกับในยุคสมัยนั้น
ยังไม่มีการบันทึกเรื่องราวคำสอนลงเป็นตัวอักษร
ไม่สามารถแพร่ข้อมูลข่าวสารลงเป็นตัวอักษรได้

ดังนั้นจึงทรงรวบรวมเหล่าบุคคลผู้ปรารถนาจะออกบวช
ก่อตั้งเป็นองค์กรคณะสงฆ์ขึ้นแล้วส่งออกไปประกาศศาสนาในทิศทั้งหลาย
ด้วยการเทศนาการสอนปากเปล่า
เรียกการสอนแบบนี้ว่า “มุขปาฐะ”

โดยพากันเดินไปตามคามนิคมชนบทน้อยใหญ่
ดังพระดำรัสในยุคแรกๆ ของการก่อตั้งศาสนาว่า

“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป
เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป

เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง
ในโลกนี้สัตว์ที่มีธุลีในดวงตาน้อยมีอยู่
ถ้าไม่ได้ฟังธรรมแล้วจักเสื่อม”


นอกจากจะให้ชีวิตใหม่แก่กุลบุตรเหล่านั้น
โดยการแสดงธรรมจนพวกเขาบรรลุความเป็นอริยะแล้ว
ก็ยังส่งกุลบุตรเหล่านั้นไปประกาศพรหมจรรย์อีกด้วย

นับเป็นแผนงานที่ดีที่สุดในสถานการณ์ตอนนั้น
เพราะเป็นยุคที่ไม่สามารถแพร่ข่าวสารข้อมูล
ด้วยเทคโนโลยีใดใดได้ดีกว่าการเดินไปบอก

เมื่อเป็นเช่นนี้ การก่อตั้งองค์กรของพระองค์
ก็มิใช่เพื่อสนองความอยากเป็นใหญ่
มิได้ปรารถนาจะล่าอาณานิคม
หรือแสวงหาบริวาร ลาภยศ ชื่อเสียงแต่ประการใด

จุดประสงค์ของของการก่อตั้งก็เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปรารถนาจะบวชทั้งหลาย
ได้ใช้ชีวิตตามอุดมการณ์ และเพื่อให้ภิกษุทั้งหลายที่บวชแล้ว
เป็นพาหะคำสอนของพระองค์
ไปเผยแพร่ในทิศทั้งหลายต่อไป
ซึ่งยังมีผลต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้


สาธุ สาธุ สาธุ

หมายเหตุ : พุทธวจนะที่กล่าวมาข้างต้น
อ้างอิงมาจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย


สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : ศาสตร์อิสระ โดย นวองคุลี วัดสุวรรณประสิทธิ์, หน้า ๙-๑๖)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2007, 8:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สู้ สู้
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง