Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
สัญชาตญาณแห่งการุณธรรมฯ : ท่านเขมานันทะ (อ.โกวิท เอนกชัย)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2007, 11:28 pm
สัญชาตญาณแห่งการุณธรรม
บนรากฐานแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันของชีวิต
ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)
เรามักจะตีความสัญชาตญาณตามความหมายของซีกโลกตะวันตก
สัญชาตญาณมักจะถูกตีความเป็น
Basic Instinct
แล้วค่อนข้างเป็นเรื่องกาม เรื่องกลัว
ส่วนซีกโลกตะวันออกนั้นเราไม่คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกกำหนดด้วยกาม
ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างน้อยที่สุด พระอนาคามีไม่มีกามารมณ์
สัญชาตญาณนั้นน่าจะรวมถึงความเมตตากรุณาด้วย
เรามาสร้างนิยายเล่นๆ เรื่องหนึ่ง
เพื่อจะชี้แจงเรื่องสัญชาตญาณว่ามันครอบคลุมถึงความเมตตาด้วยหรือเปล่า
เช้าวันหนึ่ง นักโทษฉกาจกรรจ์ฆาตกรมือชุ่มเลือดนั่งเล่นอยู่ที่ริมท่าน้ำ
เขาเป็นฆาตกรตัวจริง ฆ่าคนมามาก
ในเช้าวันนั้นอากาศค่อนข้างแจ่มใส จิตใจเขาก็ปลอดโปร่งดี
สมมติว่ามีเด็กทารกคนหนึ่งตกลงน้ำลงข้างๆ ตัวเขา
เรามาทายกันว่าเขาจะช่วยหรือไม่ช่วย
ผมแน่ใจเลยว่าเขาจะต้องช่วย เพราะกลไกอัตโนมัติของชีวิตนั้น
มันจะพยุงชีวิตด้วยกัน มันจะสละความอืดอาด เกียจคร้าน
หรือความเป็นฆาตกรออกเพื่อช่วยชีวิตก่อน
ดังนั้นความหมายของสัญชาตญาณนั้นต้องรวมถึงความกรุณาปราณีด้วย
เราเจริญภาวนาปฏิบัติธรรมนี้
เรากำลังเขย่าธาตุรู้อันก่อเกิดปัญญาและกรุณา
ธาตุรู้นั้นเป็นธาตุที่สำคัญที่สุดในบรรดาดินน้ำลมไฟ
วิญญาณธาตุเป็นสาระสำคัญอันหนึ่ง
พูดถึงเมตตากรุณา
ท่านอาจจะคิดว่ามันแยกจากปัญญา ที่จริงเรื่องเดียวกัน
ปัญญาที่รู้เห็นสรรพสิ่งทั้งหลาย ชีวิตทั้งหลายเป็นหนึ่งเดียว
ชีวิตปรากฏในรูปของต้นไม้ สัตว์ หนอน พืช แมลง เหยี่ยว อีกา
รวมทั้งคนด้วย นี่คือมหาอาณาจักรของชีวิต เป็นอันเดียวกัน เสมือนหนึ่งน้ำ
น้ำทั่วโลกนี้เป็นน้ำหนึ่ง จึงมีโวหารว่า
น้ำหนึ่งใจเดียว
เรามีขาสองเท่าของจำนวนคน เพราะเรามีคนละสองขา
เป็นร้อยขาได้ละมัง
แต่ว่ามีใจเดียวเท่านั้น
เว้นไว้แต่เราต่างคนต่างคิด มันก็แตกต่างกัน
เมื่อความคิดเข้ามากั้นกางคนจะแยกจากัน
พอเพิกความคิดออก ใจเขาจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว
เราไม่พูดว่าน้ำอแลสะกา เรามาพูดว่าน้ำสุราษฎร์ธานี
เราคงไม่พูดอย่างนั้น แต่เราอาจจะพูดถึงแม่น้ำตาปีโดยโวหารสมมติ
แต่เราไม่ได้พูดถึงน้ำ น้ำทุกแห่งในโลกนี้
ที่ยอดหิมาลัยก็ดี ที่แปซิฟิคก็ดี เป็นน้ำเดียวเท่านั้น
แตกต่างภาชนะ ต่างรสต่างชาติ
แต่ขึ้นชื่อว่าน้ำบริสุทธ์ย่อมจืดสนิท
โดยปรมัตถ์แล้วชีวิตนั้นถึงกันอยู่
แต่ความคิด ความยึดติดในอัตตาตัวตนเข้ามากั้นกาง
จึงทำให้แบ่งเขาแบ่งเรา เป็นมึง เป็นกู
เป็นสู เป็นเรา เป็นไทย เป็นเทศ
ที่จริงน้ำตามุสลิมก็เหมือนน้ำตาชาวพุทธ
ความเจริญทางอารยธรรมที่ผมเริ่มแต่ต้นชั่วโมงบรรยายนี้
มีปัญหาสลับซับซ้อนมากมาย
เราจะตัดสินอย่างไรว่า คนที่นุ่งเตี่ยวถือหอก
เจริญก้าวหน้าหรือถอยหลังกว่าเรา
แต่มีตัวอย่างที่บุคคลสำคัญคนหนึ่งของโลก
ได้ประสบด้วยตัวของตัวเองและเขียนเล่าไว้
ผู้นั้นเป็นวีรบุรุษคนแรกที่บินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิค
จากทวีปอเมริกาเหนือมาสู่ฝรั่งเศส
Charles A. Lindbergh
ลินด์เบิร์กได้หันมาปฏิบัติภาวนาในที่สุด
เพราะความระทมทุกข์อันเกี่ยวเนื่องด้วยโลกชายคนเล็ก
ซึ่งเชื่อกันว่าเจ้าพ่ออัล คาโปน สั่งให้สมุนจับตัวและหายสาบสูญไป
ลินด์เบิร์กสูญเสียลูกชายก็เสียใจ
จนต้องหันมาพึ่งพระธรรมละกิจภาวนา
ผมได้พักในกุฏิที่เขาสร้างบนยอดเขาที่เจนีวา
ตอนนั้นภรรยาของเขายังมีชีวิตอยู่ ชื่อ คุณแอนน์ เป็นนักเขียน
ลินด์เบิร์กหันมาเป็นชาวพุทธอย่างเต็มตัว มักน้อย สันโดษ ไม่ใช้ไฟฟ้า
ในห้องเขาใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าดแบบพระในชนบทของไทยใช้
เรื่องที่จะเล่านั้นคือ
เมื่อลินด์เบิร์กได้กลายเป็นวีรบุรุษของโลกแล้ว
เขาก็บินไปในทั่วทุกวัฒนธรรมในแทบทุกทวีป
ครั้งหนึ่งใช้เครื่องบินปีกสองชั้นบินไปที่ปีกออสเตรเลีย
พอร่อนเครื่องลงบนเครื่องแห่งหนึ่ง
เขาตกใจมากที่เหลียวไปดูรอบๆ
เห็นคนพื้นเมืองนุ่งเตี่ยวถือหอกรายล้อมเข้ามา
เห็นแต่ไกลเขาก็กลัวแล้ว คิดว่าจะถูกทำร้าย
แต่พอคนเหล่านั้นเข้ามาใกล้ในระยะสายตาจึงยิ้มออก
เพราะในมือของคนเหล่านั้นมีมะละกอ มีกล้วย
ทำให้ลินด์เบิร์กเริ่มตั้งต้นคิดทบทวนใหม่ว่า
อารยธรรมมันคืออะไรกันแน่
หมายถึงรูปแบบอันหรูหรา แต่โหดเหี้ยมหรือเปล่า
หรือว่าข้างนอกนุ่งเตี่ยว หนวดเครารุ่มร่าม
แต่จิตใจประเสริฐ ชอบให้ชอบช่วยเหลือกันแน่
ลินด์เบิร์กได้เขียนบทความเปรียบเทียบระหว่างชนเผ่า
ซึ่งถือกันว่าเป็นอยู่อย่างต่ำ คลุกฝุ่นติดดิน ค่อนข้างมอมแมม
กับสุภาพบุรุษและสตรีในราชสำนักอังกฤษ
ซึ่งเต็มไปด้วยการโกหกกลมทั้งนั้น
เรื่องอิจฉาริษยา เรื่องล้างผลาญทรัพยากร
เรื่องเห่อเหิม เรื่องทำลายกันและกัน
ลินด์เบิร์กโต้ตอบอย่างรุนแรงว่า
นักวิชาการเข้าใจผิดตีความคลาดเคลื่อนแล้วว่า
Primitive
นี้ไม่ใช่เรื่องป่าเถื่อน แปลว่า
ดั้งเดิม
เท่านั้น
นี่เป็นสิ่งที่น่าคิดมาก
แม้ในทุกวันนี้เมื่อเราไปในชนบทบางแห่งในประเทศเรา
ทางอิสานหรือทางเหนือ เราจะพบน้ำใจของความกรุณาปรานี
การช่วยเหลือ การเลี้ยงดูอย่างไม่คิดถึงผลตอบแทนใดใดทั้งสิ้น
สังคมเมืองมันสะท้อนอีกมุมหนึ่ง เห็นแก่ตัวกันมากๆ
นี่เป็นภาวะหนึ่งที่เรายกขึ้นพิจารณาเพื่อให้สอดรับกับการภาวนาของเรา
เพราะว่าการภาวนาของเรานั้น
เราต้องกลับไปสู่จิตเดิมของเรา บ้านเดิมของเรา
โลกควรเป็นโลกดั้งเดิมที่รักษาสภาพแวดล้อมที่เขียวชอุ่มไว้ได้
ภาษิตจีนบทหนึ่งบอกว่า
เมื่อมหาบุรุษมาเกิด ป่าไม้เขียวชอุ่ม ธารน้ำใสสะอาด
(ที่มา :
สัญชาตญาณแห่งการุณธรรมบนรากฐาน
แห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันของชีวิต
ใน ดวงตาแห่งชีวิต โดย เขมานันทะ,
ฉบับพิมพ์ครั้งแรก, พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๗๓-๗๕)
หมายเหตุ
:
ดวงตาแห่งชีวิต
เป็นผลงานอันรวบรวม
จากธรรมบรรยายของท่านอาจารย์เขมานันทะ ระหว่างวันที่
๑๔-๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ณ
อาศรมศานติ-ไมตรี
จ.สุราษฎร์ธานี
รวมคำสอน ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44291
I am
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
ตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2007, 8:31 am
โมทนาครับ...
_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th