Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีดูว่าเข้าข่ายอทินนาหรือไม่ : นายแพทย์เกิด ธนชาติ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ต.ค.2007, 10:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อารัมภบท

สำหรับผู้ใฝ่ในธรรม ทุกเพศทุกวัย ที่ปรารถนาจะซึ้งในธรรม
และบรรลุในธรรมตามที่ตนปรารถนาไว้

คงเป็นการดี หากเราได้หมั่นสำรวจตรวจตราตนเองอยู่เสมอว่า
ด้วยกายกรรม วจีกรรม หรือ มโนกรรม ของเราที่พึงคิด พูด ทำ
ทั้งด้วยเจตนา หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนั้น...

ยังคงตั้งมั่นหมดจดอยู่ในศีล หรือด่างพร้อยมากน้อยหรือไม่ เพียงใด

เพราะ...แม้ศีลพื้นฐานเพียง ๑ ใน ๕ เฉกเช่นข้อ ๒ ยังมิอาจรักษาไว้ได้
ไฉนเลยกำลังอานิสงส์ของศีลจะมั่นคงแน่นหนา
พอจะเป็นบาทฐานให้เกิดสมาธิ และปัญญา
ที่แกร่งกล้าสว่างไสวพอจนสามารถบรรลุธรรมได้


บทความต่อไปนี้ คัดลอกมาจาก
"วิธีดูว่าเข้าข่ายอทินนาหรือไม่"

ทั้งนี้ ได้ระบุที่มาของข้อมูลไว้เพื่อให้ credit
และแสดงความขอบคุณในความเอื้อเฟื้อข้อมูล
ดังที่ปรากฏข้างล่างนี้


สาธุ ดอกไม้ สาธุ ดอกไม้ สาธุ

วิธีดูว่าเข้าข่ายอทินนาหรือไม่

โจรกรรมมี ๑๔ อย่าง

๑. ลัก - ถือเอาทรัพย์เมื่อเจ้าของไม่เห็น ที่เรียกว่า ขโมย และตัดช่องย่องเบา
๒. ฉก - ชิงเอาทรัพย์ต่อหน้าเจ้าของ - ตีชิง วิ่งราว
๓. กรรโชก - ขู่ให้เขากลัวแล้วให้ทรัพย์ - จี้
๔. ปล้น - รวมหัวกันหลายคน มีศาสตราอาวุธเข้าแย่งทรัพย์
๕. ตู่ - อ้างหลักฐานพยานเท็จ หักล้างกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น ที่ดิน เป็นต้น
ซึ่งไม่อยู่ในปกครองของตน
๖. ฉ้อ - โกงเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่ตนปกครอง เช่น โกงของฝาก โกงที่ดินที่ตนอยู่อาศัย เป็นต้น
๗. หลอก - ปั้นเรื่องให้เขาเชื่อแล้วให้ทรัพย์
๘. ลวง - ใช้เล่ห์เอาทรัพย์ด้วยเครื่องมือลวง เช่น โกงตาชั่ง เป็นต้น
๙. ปลอม ทำหรือใช้ของปลอม เช่น ธนบัตรปลอม ยาปลอม เป็นต้น
๑๐. ตระบัด - ยืมของคนอื่นมาใช้แล้ว ยึดเอาเสีย กู้หนี้แล้วไม่ใช้ดอกและต้น
๑๑. เบียดบัง - กินเศษกินเลย เช่น เลี้ยงสัตว์ กินค่าอาหารสัตว์ เป็นต้น
๑๒. สับเปลี่ยน - แอบสลับเอาของผู้อื่น ซึ่งมีค่าสูงกว่า
๑๓. ลักลอบ - หลบหนีภาษีของหลวง หรือลอบนำสิ่งที่ต้องห้าม
เช่น เหล้าเถื่อน เข้ามาในประเทศ
๑๔. ยักยอก ยักเอาทรัพย์ของคนที่ถูกริบไว้ ยักยอกภาษียักยอกทรัพย์ที่ถูกฟ้องล้มละลายไว้

ทำโจรกรรม ๑๔ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยตนเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นทำ หรือร่วมกับคนอื่น ศีลขาด


อนุโลม โจรกรรม คือ ทำงานคล้ายโจรกรรม

๑. สมโจร - สนับสนุนโจร เช่น ให้ที่พักและอาหาร
และรับซื้อของโจร
๒. ปอกลอก - คบเขาเพื่อปอกลอกเอาทรัพย์
๓. รับสินบน - รับสินจ้างแล้วทำผิดหน้าที่ เพราะเกรงใจเขา

ทั้ง ๓ อย่างนี้ ศีลไม่ขาด แต่ "ด่างพร้อย"

เฉพาะการรับสินบนนี้ ถ้าผู้รับมีเจตนาร่วมกับผู้ให้ในการทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น
ก็เป็นการร่วมโจรกรรมโดยตรง ศีลขาด


ฉายาโจรกรรม

คือ การกระทำที่ไม่ทำอนุโลมโจรกรรม
แต่ทำพัสดุของผู้อื่นให้สูญเสีย และเป็นสินใช้ตกอยู่แก่ตน

๑. ผลาญ - ทำลายทรัพย์ของผู้อื่นให้เสียหาย (ไม่เอามาเป็นของตน) เช่น เผาบ้านเรือน

๒. หยิบฉวย ถือวิสาสะเกินขอบเขต เช่น ลูกหลานเอาของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย
โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือถือเอาของญาติมิตรมากกว่าที่เขาอนุญาตให้
เอาโดยไม่ต้องซื้อขอ ทั้ง ๒ อย่างนี้ ศีลไม่ขาด แต่ทำให้ด่างพร้อย

องค์ประกอบ อทินนาทาน

๑. ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒. รู้ว่าของนั้นเจ้าของหวงแหน
๓. ตั้งใจลักสิ่งของนั้น
๔. พยายามลักสิ่งของนั้น
๕. ได้สิ่งของนั้นมา ด้วยความพยายามนั้น

พร้อมองค์ประกอบทั้ง ๕ ศีลขาด
ถ้าไม่ครบองค์ เป็นเพียงด่างพร้อย ไม่บริสุทธิ์
ทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำ ศีลขาด


พิจารณาว่ามีโทษมากหรือน้อย

๑. วัตถุ - ของมีค่ามาก มีโทษมาก มีค่าน้อย มีโทษน้อย
๒. เจตนา - ความตั้งใจที่เจือด้วยกิเลสมาก มีโทษมาก ที่เจือด้วยกิเลสน้อย มีโทษน้อย
๓. ประโยค - ความพยายามที่จะได้สิ่งของนั้นมา ถ้า พยายามมาก มีโทษมาก
พยายามน้อย มีโทษน้อย

การถือเอาของผู้อื่น โดยวิสาสะ

คือ ของญาติหรือมิตร หรือคนคุ้นเคยกัน เคยช่วยเหลือกัน เคยอนุญาตไว้ก่อน
แม้จะถือเอาโดยไม่บอก ก็ไม่เป็นอทินนาทาน แต่ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

๑. เจ้าของเป็นผู้สนิทกับตน
๒. เจ้าของเคยอนุญาตไว้ก่อน
๓. เมื่อถือเอาแล้ว ไม่มีคนสนเท่ห์
๔. ของนั้นเป็นของที่เจ้าของไม่หวงแหนสำหรับหรือเรา หรือพอให้ได้
๕. เมื่อเจ้าของรู้แล้ว ก็พอใจ ไม่ว่าอะไร

สาธุ สาธุ สาธุ

ที่มา : คลังปริยัติของนายแพทย์เกิด ธนชาติ และหนังสือศาสนาพุทธเล่มอื่นๆ ใน
http://www.geocities.com/skychicus/pariyat_atinna.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ย.2007, 6:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณกุหลาบสีชา

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ ปรบมือ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง