Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถือศีลกินเจ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2007, 9:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



3.jpg


ถือศีลกินเจ

"กินเจ" เป็นคำที่คุ้นหูกันมาก
สำหรับบรรดาสาธุชนผู้ใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
แต่สำหรับคนทั่วไปส่วนใหญ่ยังคงคิดกันไปว่า
การกินเจเป็นเรื่องของคนที่เชื่อบาปเชื่อบุญมากกว่า

จะเห็นว่าแท้จริงแล้วการกินเจเป็นเรื่องของเหตุและผลที่ถูกต้องดีงาม
มีคำกล่าวว่า "คนเราจะยืนได้ ขาทั้งสองต้องแข็งแรงเสียก่อน"

ความหมายก็คือ ก่อนที่เราจะลงมือปฏิบัติการงานใดๆ ก็ตาม
จำเป็นต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงเสียก่อน
สิ่งสำคัญสองประการที่จะช่วยเหลือค้ำจุนให้เรามีรากฐานที่มั่นคง ได้แก่

ประการที่ ๑

คือ "ความรู้" เราต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่จะปฏิบัติให้ดีเสียก่อน
โดยอาศัยการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน มามากพอสมควร

ประการที่ ๒

คือ "สติปัญญา" เราต้องรู้จักใช้สติปัญญาเข้าไปพิจารณา
ความรู้เหล่านั้นอย่างรอบคอบ จนบังเกิดความเข้าใจกระจ่างชัดถึงเหตุและผล
โดยถูกต้องถ่องแท้ หากจะลงมือปฏิบัติการใดๆ โดยขาดทั้งความรู้และสติปัญญาพิจารณา
ก็ยากที่จะสำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อไม่ศึกษาก็ไม่รู้ รู้แล้วไม่พิจารณาก็ไม่เข้าใจ

แต่ผู้ที่ศึกษาจนเข้าใจดีแล้ว ยังไม่ลงมือปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์
โอสถทิพย์แม้จะวิเศษล้ำเลิศสักปานใด
หากคนไม่ยอมกิน ผลดีนั้นก็ไม่มีทางจะเกิดขึ้นแก่เขาได้เลย
การกินเจเป็นเรื่องรู้ได้เฉพาะตน
ผู้ที่ได้ปฏิบัติแล้วเท่านั้นจึงจะประจักษ์แจ้งถึงคุณวิเศษ
อันล้ำเลิศได้ด้วยตนเอง

บทความเรื่อง "การกินเจ" นี้
จึงมุ่งหวังให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา
ในอีกแง่มุมหนึ่งของการกินเจ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน
และเรียนรู้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อไปภายหน้า

ฉะนั้นขอให้ผู้ที่มีรากบุญกุศล อันสร้างสมมาแล้วในอดีต
และตั้งใจจะปฏิบัติบำเพ็ญต่อไปในชาตินี้ควรศึกษา
"การกินเจ" ให้เข้าใจกระจ่างแจ้ง

เมื่อใดที่ศรัทธามั่นคงดีแล้ว จิตย่อมบังเกิดมีพลังแกร่งกล้า
สามารถฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลาย บนเส้นทางของการบำเพ็ญธรรม
และแล้วเมื่อนั้นเราก็จะสามารถบรรลุสู่เป้าหมายอันสูงสุดไปได้โดยไม่ยากเลย

ความหมายของคำว่า "เจ"

คำว่า "เจ" ในภาษาจีนมีความหมายทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานว่า "อุโบสถ"
คำว่า "กินเจ" ตามความหมายที่แท้จริงคือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน

ดังเช่นที่ชาวพุทธในประเทศไทยถือ "อุโบสถศีล"
หรือ "รักษาศีล ๘"
จะไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีล ของชาวพุทธฝ่ายมหายานไม่กินเนื้อสัตว์
จึงนิยมเรียก "การไม่กินเนื้อสัตว์" ไปรวมกันคำว่า "กินเจ" ซึ่งเป็นการถือศีลไปด้วย

ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง ๓ มื้อ
แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า "กินเจ"

ฉะนั้นความหมายก็คือ "คนกินเจ" มิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์
แต่คนที่กินเจ ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์สะอาด
งดงามทั้งกาย วาจา ใจ เป็นการถือศีลบำเพ็ญธรรมไปด้วยพร้อมกัน

เช่นนี้แล้วจึงจะเรียกว่า "กินเจที่แท้จริง"

ดังนั้น คำคล้องจองที่เราได้ยินอยู่เสมอ คือ "ถือศีลกินเจ"
จึงนับว่ามีความหมายสมบูรณ์ครบถ้วนอยู่ในตัวเองแล้ว

ความหมายของ "ธงเจ"

อักษรแดง บนพื้นเหลือง เขียนว่า "ไจ" หรือ "เจ"
มีความหมายว่า "ของไม่มีคาว"

ชาวจีนถือว่าสีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต
ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล


ธงเจนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว
ยังเป็นการเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตน "ถือศีล-กินเจ"
ได้ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา ๙ วัน ๙ คืน

ดังนั้นผู้ตั้งใจถือศีลบำเพ็ญตนให้บริสุทธิ์
ตัวอักษรนี้ย่อมเป็นเครื่องหมายเตือนสติให้ระลึกไว้เสมอว่า

"การกินเจงดเว้นเนื้อสัตว์ของคาวคือ การปฏิบัติธรรม
รักษาศีลของความเป็นมนุษย์

เป็นการเจริญมหาเมตตากรุณาธรรมโดยแท้
อันจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
และก่อให้เกิดสันติสุขแก่ทุกชีวิตบนโลก"


ตำนานเทศกาลกินเจ

เทศกาลเจ เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้ว
ตามตำนานเล่าว่า เกิดมาในสมัยที่ชาวจีนถูกรุกรานโดยชนชาติแมนจู
ซึ่งเข้าปกครองประเทศจีน และบังคับให้ชนชาติจีนยอมรับวัฒนธรรมของตน

อาทิ การไว้ทรงผมเยี่ยงแมนจู
คือ โกนศีรษะโล้นทางด้านหน้าและไว้ผมยาวทางด้านหลัง
ซึ่งหลายคนคงจะชินตาในภาพยนตร์จีนที่นำมาฉายทางทีวี

ในสมัยนั้น มีคนจีนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันต่อต้านชาวแมนจู
โดยใช้หลักทางธรรมเข้ามาร่วมด้วย

ชาวจีนกลุ่มนี้ นุ่งขาว ห่มขาวและไม่รับประทานเนื้อสัตว์
ซึ่งมีความเชื่อว่า การประพฤติปฏิบัติตามแนวทางนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็ง
ให้กับกลุ่มของตนจนสามารถต้านทานชาวแมนจูได้

คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า "หงี่หั่วท้วง" ซึ่งแม้จะได้ต่อสู้อย่างอาจหาญ
แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถต้านทานการรุกรานของชาวแมนจูได้

เมื่อถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๙ ชาวจีนที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของชาวแมนจู
จึงพากันถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึงเหล่านักสู้ "หงี่หั่วท้วง" ที่ได้ต่อสู้พลีชีพในครั้งนั้น

ความเชื่อถืออีกกระแสหนึ่งของตำนานการกินเจ

นั้น เชื่อกันว่า

เป็นการสักการะพระพุทธเจ้าในอดีต ๗ พระองค์
และพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ พระองค์ รวมเป็น ๙ พระองค์


หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙ ในพิธีกรรมนี้
สาธุชนจึงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต หันมาบำเพ็ญศีล
โดยการตั้งปณิธานในการกินเจ งดเว้นอาหารคาว เพื่อเป็นการสมาทานศีล ๒ ประการ คือ

๑. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตของตน
๒. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเลือดของตน
๓. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเนื้อของตน


ความเชื่อเรื่องการกินเจในเมืองไทย

เป็นไปในแนวทางของการละเว้นการเอาชีวิตของสัตว์
เพื่อเป็นสักการะบูชาแก่ พระพุทธเจ้า และมหาโพธิสัตว์กวนอิม

อาจเนื่องจากการแพร่หลายของการละเว้นการกินเนื้อวัว
ในกลุ่มคนที่นับถือ "เจ้าแม่กวนอิม"

การกินเจ จึงเป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมเพื่อสักการะ

บรรยากาศเทศกาลกินเจของเมืองไทยในปัจจุบัน

คนทั่วไปไม่เว้นแม้กระทั่งหนุ่มสาวยุคใหม่ต่างก็หันมากินเจกันมากขึ้นทั้งนี้
อาจจะมาจากกระแสเรื่องห่วงใยสุขภาพมากกว่าความเชื่อโบราณ
เพราะการงดเนื้อสัตว์ทุกชนิดและหันมาบริโภคแต่ผัก
ผลไม้นั้นจะช่วยชำระล้างของเสียออกจากร่างกาย
หรือคนยุคนี้เรียกว่า "การล้างพิษ" ซึ่งจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น

การปฏิบัติตัวในช่วงเทศกาลกินเจ

เมื่อตั้งมั่นที่จะปฏิบัติศีลและกินเจ ในช่วงเทศกาลกินเจ ๙ วัน ๙ คืนนี้แล้ว
ก็ควรจะศึกษาข้อห้ามต่างๆ ที่บัญญัติไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัว
โดยทั่วไปแล้วจะมีข้อปฏิบัติดังนี้

•งดเว้นเนื้อสัตว์ หรือทำอันตรายต่อสัตว์
•งด นม เนย หรือน้ำมันที่มาจากสัตว์
•งดอาหารรสจัด หมายถึง อาหารรสเผ็ดมาก เค็มมาก หวานมาก เปรี้ยวมาก
•งดผักกลิ่นฉุน ๕ ชนิด คือ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ
รวมทั้งเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน
•รักษาศีล ๕
•รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ให้คงที่
•ทำบุญ ทำทาน บางคนที่เคร่งอาจนุ่งขาว ห่มขาว


สำหรับคนที่กินเจอย่างเคร่งครัด
นอกจากจะ "ถือศีล-กินเจ" แล้ว
ยังต้องเลือกผู้ปรุงอาหารเจที่กินเจด้วย

เพื่อให้ "อาหารเจ" นั้นบริสุทธิ์จริงๆ
บางคนจะมีการคัดแยกภาชนะที่บรรจุอาหารหรือใช้ปรุงอาหาร
แยกจากที่ใช้ใส่อาหารที่มีเนื้อสัตว์อย่างเด็ดขาด

และในบางแห่งอาจพบว่ามีการจุดตะเกียงเก้าดวง
ไว้เป็นเวลา ๙ วันตลอดระยะเวลาการกินเจ
เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ญาติพี่น้อง


สาธุ ผีเสื้อ สาธุ ผีเสื้อ สาธุ


เทียน รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “การกินเจ-มังสวิรัติ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=39721
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2007, 7:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2007, 9:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะ...คุณกุหลาบสีชา

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ ปรบมือ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2007, 8:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถือศีล กินเจก่อนเที่ยง ถ้าทำได้ ทุกวัน กิเลส การผิดศีลข้อที่ 1 (ขั้นละเอียด) คงไม่มี
สาธุ
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง