Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีฝึกคนของพระพุทธเจ้า (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2007, 2:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วิธีฝึกคนของพระพุทธเจ้า
พระราชพิพัฒนาทร (ถาวร จิตฺตถาวโร)
วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร



ครั้งหนึ่ง นายเกสี ผู้ฝึกม้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั่งถวายอภิวาทเรียบร้อย ถูกพระองค์ตรัสถามว่า

“ท่านเป็นสารถีฝึกม้า มีชื่อเสียง ท่านฝึกม้าด้วยวิธีอย่างไร”

นายเกสีได้กราบทูลว่า

“ข้าพระพุทธเจ้าฝึกม้าด้วยวิธีละมุนละม่อมบ้าง ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง
ด้วยวิธีทั้ง ๒ ประกอบกันบ้าง”


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า

“ถ้าม้าของท่านไม่รับการฝึกด้วยวิธีละมุนละม่อม
ไม่รับการฝึกด้วยวิธีรุนแรง
ไม่รับการฝึกด้วยวิธีทั้ง ๒ ประกอบกัน
ท่านจะทำอย่างไรกับม้านั้น”


“ถ้าม้าของข้าพระพุทธเจ้าไม่รับการฝึกด้วยวิธีละมุนละม่อม
ทั้งวิธีรุนแรง และวิธีทั้ง ๒ ประกอบกัน
ข้าพระพุทธเจ้าก็ฆ่ามันเสีย ที่ทำอย่างนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเพื่อมิให้สำนักอาจารย์ต้องเสียชื่อเสียง”


ครั้นกราบทูลเช่นนั้นแล้ว ก็กราบทูลถามว่า

“สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสารถีฝึกคนชั้นเยี่ยมยอด
ทรงฝึกคนด้วยวิธีใดเล่า พระพุทธเจ้าข้า”


พระองค์ทรงแสดงคล้อยตามวิธีฝึกม้าของนายกาสี ความว่า

เราก็ฝึกคนด้วยวิธีละมุนละม่อมบ้าง
ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง ด้วยวิธีฝึกทั้ง ๒ ประกอบกันบ้าง

วิธีละมุนละม่อม

คือ แสดงสุจริต ความประพฤติดี และผลของสุจริต ความประพฤติดีนั้นว่า
กายสุจริตอย่างนี้ ผลของกายสุจริตอย่างนี้ วจีสุจริตอย่างนี้
ผลของวจีสุจริตอย่างนี้ มโนสุจริตอย่างนี้ ผลของมโนสุจริตอย่างนี้
เทวดาเป็นอย่างนี้ มนุษย์เป็นอย่างนี้

วิธีรุนแรงเป็นอย่างไร

คือ แสดงทุจริตและผลของทุจริตว่า การทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตอย่างนี้
ผลของกายสุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตอย่างนี้
นรกคติที่มีความเดือดร้อนเป็นอย่างนี้
กำเนิดสัตว์เดรัจฉานเป็นอย่างนี้ เปตวิสัยเป็นอย่างนี้ ฯลฯ”

นายเกสีได้กราบทูลถามว่า

“ถ้าผู้นั้นไม่รับการฝึกด้วยวิธีทั้ง ๓ นั้น

พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับเขา พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

“ถ้าคนนั้นไม่รับการฝึกด้วยวิธีทั้ง ๓ นั้น เราก็ฆ่าเขาเสียเหมือนกัน”

นายเกสีกราบทูลย้อนถามว่า

“ปาณาติบาต ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่หรือ
ไฉนจึงรับสั่งว่า เราก็ฆ่าเสีย กระนั้นเล่า”


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอธิบายว่า

“จริงซีเกสี ตถาคตไม่ควรฆ่าสัตว์
แต่ว่าคนผู้ใดไม่รับการฝึกด้วยวิธีละมุนละม่อม
ไม่รับการฝึกด้วยวิธีรุนแรง ไม่รับการฝึกด้วยวิธีทั้ง ๒ ประกอบกัน
ตถาคตก็ไม่นับคนผู้นั้นว่าเป็นคนควรกล่าวสั่งสอนอีกต่อไป

ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
ก็ไม่นับคนผู้นั้นว่าเป็นคนที่จะพึงว่ากล่าวสั่งสอนด้วย
ข้อที่ตถาคตไม่นับคนผู้นั้นว่าเป็นคนที่จะพึงว่ากล่าวสั่งสอนได้ต่อไป
ทั้งเพื่อนพรหมจารี ผู้รู้ทั้งหลายก็ไม่นับคนผู้นั้นว่า
เป็นคนที่จะพึงว่ากล่าวสั่งสอนด้วยนั้น
ชื่อว่าเป็นการฆ่าคนผู้นั้นเสียอย่างดีทีเดียว ในวินัยของพระอริยเจ้า”


นายเกสีได้กราบทูลสดุดีพระผู้มีพระภาคเจ้า
และขอแสดงตนเป็นพุทธมามกะตลอดชีวิต

(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เกสีวรรค)

สาธุ สาธุ สาธุ

ข้อคิดจากเรื่องนี้

๑. คนทุกคนมีบุญญาบารมี นิสัย สันดานต่างกัน
เป็นคนว่าง่าย สอนง่ายก็มี ว่ายาก สอนยากก็มี
ไม่สามารถจะฝึกสอนได้เลยก็มี
เพราะฉะนั้น จะลงโทษผู้เป็นครูสอนที่เพียรสอนอย่างดีแล้วไม่ได้

๒. เหมือนอาคันตุกะแขกผู้มาเยือนเจ้าของบ้าน
เจ้าของบ้านนำอาหารหวานคาวต่างๆ มาต้อนรับแล้ว
ถ้าอาคันตุกะแขกผู้มาเยือนไม่ยอมรับประทานอาหารนั้น
อาหารนั้นก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อเขาเป็นธรรมดา


๓. ธรรมะของพระพุทธเจ้าเหมือนอาหารหลายชนิด
พร้อมที่จะให้ผู้ฉลาดบริโภคให้เกิดประโยชน์แก่ตน
ส่วนคนโง่ไม่ยอมรับประทานให้เกิดประโยชน์สุข
ก็จะอดโซหิวกระหายเป็นทุกข์ จะโทษอาหารที่วางไว้บริการไม่ได้เลย

๔. บุคคล ๔ ประเภท

บุคคลประเภทที่ ๑ คือ อุคฆติตัญญู
บุคคลประเภทที่ ๒ คือ วิปจิตัญญู
บุคคลประเภทที่ ๓ คือ เนยยะ


๓ ประเภทนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนได้ จึงทรงสอน

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๔ คือ ปทปรมะ
พระพุทธเจ้าไม่ทรงเสียเวลาสอนคน
ซึ่งเรียกว่าเป็นคนที่พระอริยเจ้าฆ่าเสียแล้วนี้


คนฉลาดอย่าเป็นคนประเภทนี้


สาธุ ผีเสื้อ สาธุ ผีเสื้อ สาธุ

ที่มา : http://www.thavorn.net/mainactivity2/mainactivity2.htm สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2007, 4:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ..คุณกุหลาบสีชา

ขอบคุณมากนะคะ...สำหรับความดีที่หมั่นสะสมและทำอยู่เสมอ

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง