Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 รถติด แต่จิตไม่ตก (พระไพศาล วิสาโล) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2007, 2:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

คนกรุงเทพฯ เวลานี้มิได้ปรารถนาอะไรมากไปกว่า
ขอให้ได้นั่งเมื่อขึ้นรถเมล์ หรือขอให้ไปหนมาไหนได้โดยรถไม่ติด
เพียงเท่านี้ชีวิตก็มีความสุข และ
สามารถเล่าเรื่องนี้ให้ใครต่อใครฟังได้เป็นวันๆ
(นับว่าผิดกับคนนิวยอร์คอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
กล่าวกันว่าที่นั้นมักจะคุยแข่งกันว่า
ใครเคยถูกปล้นทรัพย์หรือ ถูกทำร้ายหนักกว่ากัน)
มองในแง่นี้ คนกรุงเทพฯ ก็นับว่าสมถะอย่างยิ่ง
ที่มิได้เรียกร้องอะไรจากชีวิตมากไปกว่านี้
ทั้งๆ ที่คนเมืองอื่นปรารถนาสิ่งต่างๆ มากมาย
โดยถือว่า การได้นั่งรถเมล์หรือการสัญจรบนถนนที่ปลอดรถรา
เป็นเรื่องพื้นๆ เสียเหลือเกิน
แต่สำหรับคนกรุงเทพฯ แม้มักน้อยถึงเพียงนี้แล้ว
ก็ยังไม่ค่อยได้สมปรารถนาเท่าใดนัก
รถติด คือ ความจริงของชีวิตที่คนกรุงเทพฯ
ปฏิเสธไม่ได้เสียแล้ว
มันกลายเป็นสัจธรรมในระดับที่รองลงมา
จากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
เราถูกสอนมา ให้รู้จักทำใจเผชิญกับสิ่งนั้นๆ ด้วยความสงบ
ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องทำอะไรเลย
หากเจ็บป่วยเราก็ต้องรู้จักรักษา

ความจริงท่านสอนให้รู้จักป้องกันก่อนที่โรคภัยไข้เจ็บจะเกิดด้วยซ้ำ
โดยต้องรู้ก่อนว่า เหตุปัจจัยของโรคนั้นมาจากอะไร
จะได้ป้องกันหรือแก้ไขได้ ความตายก็เช่นกัน
คนเราไม่ใช่ว่าจู่ๆ ก็จะตาย หากแต่ต้องมีสาเหตุ
พระท่านสอนให้เราพยายามรักษาชีวิต
เพื่อทำกิจที่เป็นประโยชน์ให้ได้นานที่สุด
แต่เมื่อถึงคราวที่เลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องทำใจพร้อมรับความตาย
โดยไม่คิดหน่วงเหนี่ยวชีวิตหรืออาลัยทรัพย์สินเงินทอง
ตลอดจนญาติมิตรที่จะต้องจากกันชั่วกัลปาวสาน

ความจริงการนั่งรถในกรุงเทพฯ เป็นคนละเรื่องกับความตาย
(เว้นเสียแต่ว่า มีความประมาทเป็นเจ้าเรือน
พูดภาษาสมัยใหม่คือ สวมวิญญาณนักซิ่ง)
แต่ในแง่หนึ่งก็สัมพันธ์กันอย่างยิ่ง
นอกจากเหตุการณ์ทั้งสองจะกลายเป็นสัจธรรม
ที่คนกรุงเทพฯ หลีกเลี่ยงไม่ได้ดังกล่าวแล้ว
ความเกี่ยวเนื่องอีกอย่างก็ คือ
ทั้งสองเหตุการณ์ต้องอาศัยศิลปะอย่างเดียวกันในการเอาชนะ
หากทำใจไม่ได้กับปัญหารถติด
ก็ยากที่จะทำใจได้เมื่อเผชิญความตาย
ส่วนใครที่เชื่อว่า ตนเตรียมใจไว้แล้วกับความตาย
ก็ควรทดสอบด้วยการนั่งรถผ่านสี่แยกอสมท.
ช่วงเย็นวันศุกร์ขณะที่ฝนตกหนัก และกำลังมีนัดตอน ๑ ทุ่ม

เมื่อเราเจอสภาพจราจรแน่นขนัด
ทำไมเราจึงต้องหงุดหงิดและทุกข์ร้อนเสียเหลือเกิน ?
คำตอบก็คือ เพราะมันทำให้เราผิดนัด
เสียงานเสียการและจะต้องไปเจอกับเจ้านายหน้ายักษ์
ที่คอยแต่จะหักเงินเดือนเรา ฯลฯ
คำตอบมีมากมาย แต่คำถามข้อต่อมาก็คือ
หงุดหงิดแล้วช่วยอะไรได้หรือไม่
ถ้าเราหงุดหงิดมากแล้ว
จะทำให้รถแล่นไปได้เร็วขึ้นกว่าเวลาไม่หงุดหงิดกระนั้นหรือ
ในสภาพเช่นนี้อย่างเดียวที่เราสมควรทำ
คือ หาหนทางไปให้เร็วขึ้น เช่น เปลี่ยนเส้นทาง
หรือทิ้งรถ แล้วควบมอเตอร์ไซด์ หรือไม่ก็ลงเดินเลย
แต่ถ้าเงื่อนไขไม่เปิดโอกาสให้ทำได้
สิ่งที่ควรทำก็คือ ทำใจให้สงบ และเป็นสุข
เพราะหงุดหงิด มากเท่าไรก็ยิ่ง เป็นทุกข์แก่ตัวเอง
ไม่ใช่แค่ทุกข์ใจเท่านั้น หากยังทุกข์กายด้วย โรคกระเพราะ
โรคหัวใจ โรคความดัน เป็นกันมาก ก็เพราะความเครียด
ความหงุดหงิดอย่างไร้ประโยชน์ แบบนี้แล

แต่การอยู่เฉยๆ บนรถโดยไม่ให้เครียดหรือหงุดหงิด
เป็นเรื่องทำได้ยาก เพราะใจนั้นคอยแต่จะติดกังวลต่างๆ นานา
เปิดช่องให้โทสะเข้ามาครอบงำ
ดังนั้น การหาทางดึงจิตให้ไปจดจ่อกับเรื่องอื่น
จึงเป็นวิธีที่จะช่วยคลายเครียดได้มาก
บางคนอาจเลือกฟังเพลงหรือฟังข่าวทางวิทยุ
หรือเปิดเทปธรรมะกล่อมใจ
แต่สำหรับบางคนการฟังเทปบรรยายธรรม
อาจทำให้จิตฟุ้งซ่านยิ่งขึ้นอีก
เพราะใจไม่มีนิสัยไปทางนั้น
จิตจิงอยากแส่ส่ายไปคิดเรื่องอื่นมากกว่า
ซึ่งในที่สุดก็หวนมาคิดถึงเรื่องรถติด
หรือกังวลกับสิ่งที่จะตามมากับปัญหารถติด
แต่สำหรับผู้ที่ฝึกมาดีแล้ว
เพียงแค่ตามลมหายใจเข้าออกอย่างต่อเนื่อง
ก็สามารถทำ จิตให้สงบได้
แม้ผู้คนรายรอบจะรุ่มร้อนรำคาญใจที่รถไม่เคลื่อนเลยก็ตาม

ทางเลือกมีมากมาย ข้อสำคัญคือ
ควรหาอะไรทำ เพื่อดึงจิตให้เป็นสมาธิกับสิ่งอื่น
จะได้ไม่จดจ่อกับสภาพรถติด
พร้อมกันนั้นควรฝึกจิตให้รู้จักปล่อยวางกับปัญหานี้
โดยเตือนใจไว้เสมอว่า
หงุดหงิดเพียงใดก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
ในยามนี้ สิ่งที่ควรทำอีกอย่างคือ แผ่เมตตาแก่ตนเองให้มาก
พยายามตั้งจิตปรารถนาดีต่อตนเอง
ถ้ารักตนอย่างแท้จริงแล้ว จงอย่าได้นำความทุกข์ ความหงุดหงิด
มาทำร้ายจิตใจและร่างกายของตนเลย

การฝึกจิตให้ปล่อยวางกับปัญหา
ในยามที่ทำอะไรไม่ได้มากกว่านั้นหรือดีกว่านั้น
ถึงที่สุดแล้วก็คือ การฝึกตนให้พร้อม
ที่จะเผชิญกับปัญหาชีวิตนานาประการที่ร้ายแรง
และยิ่งใหญ่กว่าปัญหารถติด
เป็นการเผชิญด้วยจิตใจที่สงบ
มีสติและพร้อมที่จะใช้ปัญญาเข้าไปแก้ไข
และหากถึงคราวที่ต้อง ตกอยู่ในสถานการณ์ที่แก้ไขอะไรไม่ได้
ก็สามารถยิ้มรับได้อย่างเป็นสุข
แม้ภัยที่ย่างเข้ามานั้นจะเป็นความตายก็ตาม



คัดลอกจาก...
รถติด แต่จิตไม่ตก
จากหนังสือสุขใจในนาคร ศิลปะการอยู่เมืองอย่างมีความสุข
โดย พระไพศาล วิสาโล


http://www.budpage.com/

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 1:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แหะๆ บางทีก็ต้องวางเฉยเพราะชินแล้ว (กับรถติด)

สาธุ
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 2:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีคนเคยพูดว่า
คนมีรถ...ใช้รถในกรุงเทพ
เป็นพวกเทพที่ต้องมาใช้กรรมใน "กรงเทพ" สงสัย

เพราะถึงมีรถ ก็หาโลดแล่นไปได้ดังใจ....ไม่ ยิ้มเห็นฟัน ปรบมือ

แต่ถ้าฟังธรรม หรือสวดมนต์ไประหว่างนั้น
รถติดก็มีคุณนะคะ
จิตไม่ตกแน่....รับรองค่า ยิ้ม


อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ คุณลูกโป่ง สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
 www.Stats.in.th