Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ชีวิตโปร่งเบา (ปรีดา เรืองวิชาธร)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2007, 6:27 pm
ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบซื้อและเก็บสะสมของโปรดไว้ในบ้าน
ซึ่งมีอยู่เพียง ๓ อย่างที่ผมชอบซื้อชอบสะสม
ก็คือ หนังสือ แผ่นซีดีเพลงกับหนัง และเครื่องดนตรี
สะสมของเพียง ๓ อย่างดูไม่น่าจะยุ่งยากหนักหนาอะไรกับชีวิตเลย
ผมลองคำนวณเวลาที่ใช้ไปกับการค้นหาติดตามหนังสือกับซีดีใหม่ๆ
และแวะชมเครื่องดนตรีซึ่งบางครั้งบางคราวอยู่ไกลแค่ไหนก็ไป
เวลาที่ใช้ไปกับการจัดเก็บหนังสือกับแผ่นซีดีที่มีอยู่มากมายก่ายกอง
ให้เป็นระบบ เพื่อค้นหาง่ายรวมถึงใช้เวลาไปกับการดูแลรักษา
ผมรู้สึกว่าเสียเวลาไปมากกับสิ่งเหล่านี้
วัดเฉลี่ยเป็นชั่วโมงต่อวันคงลำบาก
แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ผมใช้เวลาไปกับการแสวงหา จัดเก็บ และดูแลรักษา
มากกว่าการหยิบจับใช้มัน เพื่อความบันเทิงและความรู้
และที่น่าตกใจก็คือ ต่อให้ผมมีอายุยืนถึงร้อยปี
และใช้เวลาอ่าน ดู ฟัง ของโปรดเฉลี่ยวันละ ๓ ชั่วโมงทุกวัน
ผมจะตายเสียก่อนที่จะใช้ประโยชน์จากมันหมด
ในระยะหลังเมื่อได้ทำอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ
ได้พิจารณาใคร่ครวญถึงเวลาที่เหลืออยู่น้อยนิดของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ทำให้ผมรู้สึกว่า การใช้เวลาไปกับการซื้อหาและสะสมของโปรด
มันทั้งเสียเวลาและเป็นภาระหนักของชีวิต
เดิมผมคิดเสมอว่า การสะสมสิ่งเหล่านี้เป็นคุณมากกว่าเป็นโทษ
เพราะมันช่วยทำให้ผมเพลิดเพลินบันเทิงใจจากเพลงกับหนัง
ได้เติมเต็มความรู้จากหนังสือดีๆ
แต่ที่ลึกไปกว่านี้ก็คือ ความสุขเพลิดเพลินจากการได้ไปอัพเดท
และช้อปปิ้งของโปรดที่ออกมาใหม่ต่างหาก
ที่เป็นเหตุผลซ่อนแฝงในการซื้อและสะสม
เหตุผลสารพัดที่ชอบอ้างในใจว่า
หนังสือชั้นเยี่ยมเล่มนี้ต้องซื้อเก็บไว้อ่านในวันใดวันหนึ่ง
เพลงกับหนังที่รอมานานแสนนาน ต้องรีบฉวยเพื่อรอวันเสพอรรถรส
แต่แท้ที่จริงความสุขจากเหตุผลดังกล่าวนี้
กลับมีอิทธิพลน้อยกว่าความปิติสุขจากการเที่ยวแสวงหา
การซื้อ และได้เป็นเจ้าของมัน
วันหนึ่งขณะที่ผมกำลังง่วนอยู่กับการจัดเก็บของโปรด
ด้วยความเหนื่อยอ่อน ลองนั่งมองภายในตัวเองอย่างนิ่งๆ
ได้เห็นภาพตัวเองกำลังเสพติดกับการซื้อและสะสม
เหน็ดเหนื่อยหนักอึ้งกับสิ่งเหล่านี้อย่างไม่รู้สึกตัว
ทำให้เริ่มรู้สึกว่า มันเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ
ประการแรกก็คือ เสียเวลาไปมากกับการแสวงหาและการดูแลจัดเก็บ
แทนที่จะใช้เวลาไปกับสิ่งที่ควรทำในชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นการสนทนากับแม่ที่อยู่ด้วยกัน
แต่กลับปฏิบัติต่อแกอย่างเหินห่าง
ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ที่กำลังเจ็บป่วย
ใช้เวลามากขึ้นกับการทำสมาธิภาวนา
เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตด้านในให้สุขเย็นและปล่อยวางได้มากขึ้น
หรือแม้แต่หยิบหนังสือมาอ่านด้วยใจที่โปร่งเบา เป็นต้น
ประการที่สองก็คือ การซื้อและสะสมของโปรดที่มากมายขนาดนี้
ทำให้จิตใจของผมง่ายที่จะหมกมุ่น
เที่ยวนึกคิดปรุงแต่งอยู่แต่กับสิ่งเหล่านี้
จิตใจที่ข้องแวะขึ้นลงอยู่กับสิ่งเหล่านี้ย่อมหนักอึ้ง และไม่ว่างมากพอ
ที่จะมองเห็นรายละเอียดรอบด้านของชีวิตที่น่าใส่ใจรับรู้
ยากที่จะมองเห็นความเจ็บปวดของผู้คนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก
ยากที่จะมองเห็นสภาพสังคมที่กำลังเสื่อมทรุด
รอวันเวลาที่เราจะยื่นมือโอบอุ้มเยียวยาตามกำลังที่มี
ประการสุดท้าย หากของสิ่งใดเป็นของชอบสุดโปรดแล้ว
ก็ย่อมกังวลใจได้ง่าย ถ้ามันจะต้องชำรุดสูญหาย
จะให้ใครยืมหรือให้ใครไปเลยก็คิดแล้วคิดอีกทำให้จิตใจคับแคบได้ง่าย
จริงๆ แล้วผมกับท่านผู้อ่านคงไม่ได้มีเพียงเรื่องซื้อ
และสะสมของโปรดไว้มากมาย
จนกลายเป็นเรื่องหนักอึ้งของชีวิตเท่านั้น
เรายังทำชีวิตให้หนักอึ้งด้วยการทุ่มเทแสวงหา
และสะสมทรัพย์สินเงินทองที่มากเกินไป
แสวงหาอย่างไร้ทิศทางไม่รู้ว่าเมื่อไรจะพอ
จะ ได้เอาชีวิตและเวลาไปทำอย่างอื่นเพื่อคนอื่นบ้าง
จริงอยู่การมีทรัพย์สินเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ในระดับที่พอดี
ย่อมช่วยให้เรามีความสุขจากการมีการใช้
แต่หากแสวงหาและสะสมมากเกินไป
ย่อมทำให้ชีวิตมีความสุขน้อยลง กลายเป็นความหนักอึ้งเข้ามาแทนที่
บางท่านชีวิตหนักอึ้งขึ้นไปอีกจากการทำงาน
ด้วยความยึดติดในความสำเร็จ
ทำงานท่ามกลางกระแสแห่งการแข่งขันไต่เต้าเอาดี
ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้ หรือต้องชนะเสมอแพ้ไม่ได้
ทั้งที่จริงๆ แล้วความก้าวหน้าสำเร็จของงาน
ไม่จำเป็นต้องมาจากวัฒนธรรมการแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย
แต่สามารถสร้างสรรค์ได้จากแรงจูงใจภายในบุคคลก็ได้ (ฉันทะ)
และมาจากการช่วยเหลือเกื้อกูลผลักดันส่งเสริมซึ่งกันและกัน
ให้ใช้ศักยภาพภายในของบุคคลออกมาเต็มที่
เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพของงาน
ดังนั้นการเปลี่ยนแรงจูงใจจากการแข่งขันเป็นที่หนึ่ง
มาเป็นส่งเสริมช่วยเหลือกัน
ย่อมทำให้ชีวิตการทำงานโปร่งเบาสบาย
นอกจากเรื่องทรัพย์สินเงินทองและกิจการงานแล้ว
หลายคนยังทำชีวิตให้หนักอึ้งจากการกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูลูกหลาน
ด้วยความคาดหวังและห่วงกังวลมากเกินไป
จนชีวิตมีแต่เรื่องลูกหลานเข้ามารบกวนจิตใจให้วุ่นวายกังวลอยู่เสมอ
จะดีขึ้นไหมหากเราจะดูแลเขาด้วยความรักที่เปิดกว้าง
เชื่อมั่นวางใจในความสามารถภายในของเขาว่า
เขาจะดูแลตัวเองได้สามารถที่จะคิดแก้ปัญหาเองได้
ดังนั้นหากคิดอย่างนี้แล้วเราจะเปลี่ยนท่าที
จากการดูแลแบบกำกับบททุกฉากทุกตอนของชีวิตเขา
มาเป็นดูแลแบบโค้ชที่ใส่ใจรับผิดชอบ
แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสเต็มที่
เพื่อฝึกฝนให้เขาคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง
ซึ่งจะทำให้เขาสามารถคิดแก้ปัญหา
และกล้าที่จะเผชิญความจริงของชีวิตเองได้ในที่สุด
เรื่องสุดท้ายในที่นี้ที่มักจะทำให้ชีวิตหนักอึ้งและเหน็ดเหนื่อย
ก็คือ การทำความดีอย่างยึดติดความดี
รวมถึงติดยึดภาพลักษณ์ของความเป็นคนดี
จริงๆ แล้วการทำดีที่เป็นกุศล ควรจะทำแล้วจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน
แต่หากทำด้วยความรู้สึกที่มีตัวกูที่สูงกว่าดีกว่า
สำคัญมั่นหมายกับผลของความดีที่จะเกิดขึ้น
หรือยิ่งทำยิ่งตอกย้ำตัวกูที่เหนือกว่าสะอาดกว่าคนอื่น
ย่อมทำให้ความดีกลายเป็นความหนักอึ้งเข้ามาแทนที่
ด้วยเหตุนี้ชีวิตจะแปรเปลี่ยนจากความหนักอึ้งมาเป็นชีวิตโปร่งเบา
นอกจากจะมีวัตถุสิ่งของที่พอดีแล้ว
เรายังจำเป็นต้องวางท่าทีใหม่กับสิ่งที่เราเกี่ยวข้องทั้งเรื่องงาน
ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความดี เป็นต้น
และหากชีวิตจะโปร่งเบาได้อย่างแท้จริงแล้ว
สิ่งสำคัญที่สุดย่อมอยู่ที่การมีการเป็น
ด้วยความรู้สึกมีตัวกูของกูให้น้อยที่สุด
ดังคำเตือนของท่านอาจารย์พุทธทาส
คัดลอกจาก...
ชีวิตโปร่งเบา [ Posttoday 29-07-50 ]
คอลัมน์ มองย้อนศร
[ เป็นคอลัมน์รายสัปดาห์ ลงตีพิมพ์ใน โพสต์ทูเดย์
ฉบับวันเสาร์ เขียนโดย..ทีมงานพุทธิกา ]
http://budnet.info/webb0ard/view.php?category=texta&wb_id=133
I am
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
ตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2007, 8:32 am
อ่านแล้วก็ได้คติ
เตรียมตัวเราไว้แต่เน้นๆ เถอะครับ..
สาธุ...
_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th