Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ไหว้หลักเมือง เสริมหลักชัยให้กับชีวิต อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 23 ส.ค. 2007, 5:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
มีความเชื่อมาช้านานแล้วว่าหากอยากเจริญใน
หน้าที่การงานต้องไปสักการบูชาศาลหลักเมือง



ไหว้หลักเมือง เสริมหลักชัยให้กับชีวิต

มีคำบอกเล่าจากปู่ย่าตายายมาช้านานแล้วว่า ถ้าอยากที่จะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็ต้องไปสักการบูชาศาลหลักเมือง

และในโอกาสปีใหม่หลังผ่านเหตุการณ์ร้ายสึนามิไปแล้ว จึงถือโอกาสเดินทางไปไหว้พระศาลหลักเมือง เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย ส่วนการจะเจริญในหน้าที่การงานหรือไม่นั้น หากพูดกันตามทฤษฎีแล้วมันอยู่ที่ความสามารถและผลงานของคนๆ นั้น ดังคำกล่าวที่ว่า “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” ส่วนถ้าพูดกันตามหลักการทำงานแบบไทยๆ ก็คงเป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า “ค่าของคน อยู่ที่คนของใคร” เอาเถอะเรื่องนี้อย่าไปสนเลย หันกลับมาที่เรื่องของ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร กันดีกว่า

Image
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร


สำหรับศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ นั้น สืบเนื่องมาจากประเพณีโบราณในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธีการยกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น เป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกรสำหรับยึดถือทางจิตใจว่าบ้านเมืองที่สร้างขึ้นนั้น มีรากฐานฝังไว้อย่างแน่นอนแล้ว ให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขรุ่งเรืองสถาพรตลอดไป

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่าพระราชพิธีพระนครสถาน ให้เอาไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง เอาไม้แก่นประดับนอก กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดินแล้ว 10 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดสวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง

การมาไหว้พระศาลหลักเมืองก็จะมาไหว้กันได้ทุกวัน แต่ถ้าเป็นคนเฒ่าคนแก่โบราณเขาก็จะถือกันว่าวันไหนเป็นวันโลกาวินาศก็จะไม่ออกมาไหว้กัน สิ่งของหลักๆ ที่ใช้ไหว้พระศาลหลักเมืองก็คือ ธูป เทียน แผ่นทอง พวงมาลัย 2 พวง (ไว้บูชาทั้งด้านนอกที่จุดธูปเทียนและด้านในพระหลักเมือง) ดอกบัว และผ้าสี

Image
สักการบูชาผูกผ้าแพรหลักเมืองจำลองที่ด้านนอก


ก็ไม่รีรอที่จะควักเงินจากกระเป๋ากางเกงมา 30 บาท (แต่ไม่ได้นำมารักษาทุกโรคนะ) เพื่อที่จะบูชาเครื่องสักการะ การจุดธูปเทียนบูชานั้นเขาจะจัดสถานที่ไว้บูชาด้านนอก รวมไปถึงผู้คนที่ชอบการเสี่ยงทายทำนายชีวิต เขาก็มีเซียมซีไว้ให้เสี่ยงทายถามหาเลขเด็ด เฮ้ย !!! ถามหาเรื่องราวชีวิตทุกข์สุขทั่วๆ ไป

เมื่อผูกผ้าสีไปก็นึกสงสัยว่าทำไมถึงต้องผูก จึงหันซ้ายหันขวาหาเจ้าหน้าที่สอบถาม แล้วได้คำตอบกลับมาว่า การที่ผูกผ้าสีกับพระศาลหลักเมืองเพราะมีความเชื่อในสมัยโบราณว่า ตามต้นไม้มักจะมีรุกขเทวดาอาศัยอยู่ ชาวบ้านที่เคารพก็มักจะเอาผ้าสีมาผูก พระหลักเมืองก็ทำมาจากไม้ เราจึงยึดถือธรรมเนียมประเพณีมาแต่โบราณ

เมื่อจุดธูปเทียนด้านนอกเสร็จ ก็จะเข้าไปในวิหารเพื่อกราบไหว้หลักเมือง บรรยากาศภายในเงียบสงบ มีผู้คนมาเคารพทั้งคนเฒ่าคนแก่ด้วยตลอดจนนักศึกษาและผู้ที่ทำอาชีพการงานแล้ว พระหลักเมืองจะมีแท่นและคำบูชาด้วยกันทั้งหมด 4 ด้าน รวมไปถึงตู้บริจาคเงิน ด้านข้างมีตู้จัดแสดงสิ่งของที่ขุดพบบริเวณศาลหลักเมืองในการปฏิสังขรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2527

Image
สักการะเทพารักษ์ผู้พิทักษ์ให้ความร่มเย็นแก่บ้านเมือง 5 องค์


นอกจากพระหลักเมืองแล้ว บริเวณศาลหลักเมืองยังมี เทพารักษ์ผู้พิทักษ์ให้ความร่มเย็นแก่บ้านเมือง อีก 5 องค์ด้วยกัน คือ

พระเสื้อเมือง มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน

พระทรงเมือง มีหน้าที่รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี

พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก

เจ้าพ่อเจตคุปต์ เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไปและอ่านประวัติผู้ตายเสนอพระยม

เจ้าพ่อหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน เกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูมาประชิดพระนคร

Image
ตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งนะโม 3 จบ
จากนั้นก็รวบรวมแรงกายยกพระเสี่ยงทาย



หลังจากที่กราบไหว้เทพารักษ์ทั้ง 5 แล้ว ก็เห็นผู้คนรุมล้อมกันมากมาย ทุกคนล้วนถือขวดน้ำมันในมือ พอเดินเข้าไปดูใกล้ๆ จึงถึงบางอ้อ ร้อง ! อ๋อทันทีว่าตรงนี้เป็นพระประจำวันเกิด จึงไม่รอช้าเทน้ำมันรอบๆ พระประจำวันเกิดของตัวเองที่เป็นปางอุ้มบาตร

การมาไหว้พระศาลหลักเมือง อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การยกองค์พระเสี่ยงทาย ในการยกพระนั้นมีขั้นตอนอยู่ว่า ผู้ยกองค์พระจะต้องตั้งจิตอธิษฐานให้เป็นสมาธิ ตั้งนะโม 3 จบ จากนั้นให้ระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลหลักเมือง ขอพรให้การยกพระเสี่ยงทายครั้งนี้จงสัมฤทธิ์ผลดังที่ตั้งใจไว้ สอบถามในสิ่งที่ต้องการแล้วอธิษฐานให้องค์พระหนักหรือเบาก็ได้ ที่สำคัญไม่ควรยกเกินกำลัง

เมื่ออ่านข้อปฏิบัติในการยกเสร็จ พวกเราก็รีบตั้งจิตอธิษฐานยกพระเสี่ยงทาย แต่ยกขึ้นหรือไม่นั้นขอเก็บมันเอาไว้เป็นความลับในใจ (แบบฮิวโก้) ก็แล้วกัน ตรงข้ามกับศาลายกพระเสี่ยงทายเป็น โรงลิเก แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าที่ศาลหลักเมืองเขาจัดงานวัด เพราะที่เขาจัดแสดงนั้นเป็นการรำแก้บนไว้ให้ผู้ที่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ขอได้กลับมาแก้บนกัน

ครั้นเห็นผู้คนมากมายมากราบไหว้อธิษฐานขอพรจากพระหลักเมืองกันอย่างเนืองแน่นแล้ว ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ผู้ที่มาไหว้แต่ละคนเขาขอพรอะไรกันบ้าง จึงเข้าไปสอบถามด้วยความอยากรู้ เริ่มต้นกันที่ศาลานั่งพักกับ พวงผกา ลิ้มสุวัฒน์ ที่มากันเป็นคณะ บอกว่ามีหมอนั่งสมาธิดูวันและเวลาที่สมควรไหว้ เขาแนะนำมาให้ไหว้ โดยนำผลไม้ 5 อย่าง หรือส้ม 5 ลูก มาบูชาพระหลักเมือง

Image
ลิเกแก้บน คนที่ไปไหว้หลักเมืองหากอยากเพลิดเพลินก็แวะไปชมได้


“ในการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ละสถานที่ก็จะมีความหมายในตัวอยู่แล้ว อย่างที่พระหลักเมืองก็จะขอพรให้เป็นหลักชัยของชีวิต มีหน้าที่การงานที่มั่นคง ซึ่งก่อนหน้านี้มาจากวัดพระแก้ว ไหว้พระแก้วมรกตพระคู่บ้านคู่เมืองความหมายก็คือ จะได้มีแก้วแหวนใช้ พอไหว้ที่นี่เสร็จก็จะไปที่พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 3 บริเวณลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ความหมายนั่นก็คือจะได้มีเงินมีทองใช้ ในเรื่องของการยกพระเสี่ยงทายส่วนตัวแล้วเคยลองครั้งหนึ่ง แต่หลังจากนั้นก็ไม่เคยยกอีกเลย เพราะเหมือนกับว่ามันเป็นการลองของ” พวงผกา กล่าว

เมื่อเดินออกจากศาลาพักผ่อนเสร็จ ก็เจอนักศึกษาสาวกำลังผูกผ้าสีที่เสาหลักเมืองด้านนอก จึงตรงดิ่งเข้าไปถามว่านักศึกษาที่มาไหว้ เขาจะขอพรเรื่องหลักชัยในการเรียน หรือหลักชัยในการรักกันแน่ นักศึกษาสาว อารยา แซ่ตั๊น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่ามาไหว้พระศาลหลักเมืองบ่อยเป็นประจำอยู่แล้วประมาณเดือนละครั้ง ส่วนใหญ่จะมากับคุณแม่เสมอ เพราะมาไหว้แล้วรู้สึกสบายใจ เวลาขออะไรก็มักจะเป็นไปตามที่ขอเอาไว้ เคยขอเรื่องการสอบเข้า ก็ได้ตามที่ขอ โดยส่วนตัวแล้วจะไม่บนบานศาลกล่าวจะเป็นการขอพรมากกว่า เพราะกลัวการบนว่าบนไปแล้วจะจำไม่ได้

ส่วนบางคนก็มาไหว้หลักเมืองกันแบบเป็นคู่ แต่ไม่รู้ว่าเป็นคู่รักหรือคู่เพื่อนพี่น้องกันแน่ อย่างเช่นคู่ของ อัญชลี พลอยชูช่วย และ ธนภัทร หลิมสุนทร

เริ่มต้นด้วย อัญชลี เผยความในใจในการไหว้หลักเมืองว่า มาไหว้ในช่วงปีใหม่นี้เพื่อที่จะได้เป็นหลักเป็นฐานในการทำงาน ในการไหว้ก็จะไหว้ผลไม้ 5 อย่าง ส่วนใหญ่ที่ขอก็จะเป็นเรื่องการงาน แต่ถ้าตัวเราไม่ตั้งใจทำงานด้วยก็คงจะไม่ประสบความสำเร็จ

Image
ในแต่ละวันศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ จะคราคล่ำไปด้วย
ผู้คนที่เดินทางมาสักการบูชารวมไปถึงบนบานศาลกล่าว



จากนั้นหนุ่มใหญ่ธนภัทร กล่าวทิ้งท้ายอีก “ในการมาสักการะก็จะมาตามเทศกาลต่างๆ โดยจะมีแม่เป็นผู้แนะนำมา การขอพรก็จะขอตามความหมายของแต่ละสถานที่ต่างกันไป อย่างที่นี่ก็จะขอให้มีหลักชัยในชีวิต มีหน้าที่การงานที่มั่นคง เจอแต่สิ่งดีๆ ในปีใหม่”

เมื่อรู้ความหมายของศาลหลักเมืองแล้ว ใครที่คิดว่าตนเองยังหาหลักให้กับชีวิตไม่ได้ ยังเป็นเพียงไม้หลักปักขี้เลนอยู่ละก็ ขอแนะนำให้มาไหว้หลักเมืองกับเขาซะหน่อย เผื่อที่จะได้มีหลักที่มั่นคงเหมือนกับคนอื่นบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับตนเองเป็นหลัก ไม่ใช่รอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่หัวมุมสนามหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร การเดินทางโดยรถประจำทางต้องขึ้นสาย 1, 3, 9, 15, 25, 30, 32, 33, 39, 43, 44, 47, 53, 64, 80, 82, 91, 201, 203 รถปรับอากาศสาย ปอ. 501, 503, 508, 512 เปิดให้คนสักการะทุกวัน 05.30-19.30 นาฬิกา

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 มกราคม 2548 18:17 น.
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง