Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระองค์ที่ ๑๐ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2007, 12:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
พุทธศักราช ๒๔๕๓-๒๔๖๔


วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร



พระประวัติในเบื้องต้น

หลังจาก สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์ สิ้นพระชนม์
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ไม่ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช อีกจนตลอดรัชกาล
ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่เป็นเวลา ๑๑ ปี ถึงรัชกาลที่ ๖
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระวชิรญาณวโรรส เป็น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
กล่าวอย่างสามัญทั่วไปก็คือ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง

Image
พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา


สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นพระราชโอรส องค์ที่ ๔๗
ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
และ เจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ
ปีวอก จุลศักราช ๑๒๒๑ ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๐๓
ณ ตำหนักหลัง พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานมุขหลัง ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวันประสูตินั้นฝนตกใหญ่ พระบรมชนกนาถจึงทรงถือเป็นมงคลนิมิต
พระราชทานนามว่า “พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ”
หลังจากประสูติได้เพียงปีเดียว เจ้าจอมมารดาของพระองค์ก็ถึงแก่กรรม
พระองค์จึงทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของกรมหลวงวรเสรฐสุดา อาทิอักษรวรรคศรี
(พระองค์เจ้าบุตรี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓)
ซึ่งเป็นพระญาติ ทรงเรียกว่าเสด็จป้า มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์
ต่อมา ทรงย้ายมาอยู่กับท้าวทรงกันดาร (ศรี) ผู้เป็นยาย

เมื่อพระชนมายุ ๘ พรรษา ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี
ทรงศึกษาอยู่จนสามารถแปลธรรมบทได้ก่อนที่จะทรงผนวชเป็นสามเณร
และทรงเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษกับครูฝรั่งเมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา
นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาโหราศาสตร์กับครู
ที่เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์มาแต่พระชนม์ยังน้อย

Image
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา


ทรงบรรพชาและอุปสมบท

เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณรตามพระราชประเพณี
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับเจ้านายอื่นอีก ๒ พระองค์
โดยมี สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
และ หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา (มีพระนามเดิมว่า ศิขเรศ)
เป็นผู้ประทานสรณะและศีล เมื่อทรงผนวชแล้วมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ ๒ เดือนเศษ จึงทรงลาผนวช

ครั้นพระชนมายุ ๒๐ พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๒
โดยมี สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
และ พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี)
วัดมกุฎกษัตริยาราม
เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ทรงได้รับพระนามฉายาว่า “มนุสฺสนาโค”
ทรงผนวชแล้วเสด็จมาอยู่จำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

Image
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา


ถึงหน้าเข้าพรรษาของปีพุทธศักราช ๒๔๒๒ นั้นเอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน
มาทรงถวายพุ่มพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามพระราชประเพณี
และในคราวนั้นได้เสด็จฯ ไปถวายพุ่มพรรษาแด่
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ
ซึ่งเพิ่งทรงผนวชใหม่ถึงกุฏิที่ประทับ พร้อมทั้งทรงกราบด้วยพระอาการเคารพ
อันเป็นพระอาการที่ไม่เคยทรงปฏิบัติต่อพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่นที่ทรงผนวช
เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น
ทรงตัดสินพระทัยไม่ทรงลาผนวชแต่วันนั้น
ดังที่พระองค์ได้ทรงบันทึกไว้ในพระประวัติตรัสเล่าว่า

Image
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา


“เสด็จกุฎีเราทรงประเคนพุ่ม เราเห็นท่านทรงกราบด้วยเคารพอย่างเป็นพระแปลก
จากพระอาการที่ทรงแสดงแก่พระองค์อื่นเพียงทรงประคอง อัญชลี
เรานึกสลดใจว่า โดยฐานเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ท่านก็เป็นเจ้าของเรา
โดยฐานเนื่องในพระราชวงศ์เดียวกัน ท่านก็เป็นพระเชฏฐะของเรา
โดยฐานเป็นผู้แนะราชการพระราชทาน ท่านก็เป็นครูของเรา
เห็นท่านทรงกราบแม้จะนึกว่าท่านทรงแสดงความเคารพแก่ธงชัยพระอรหันต์ต่างหาก
ก็ยังวางใจไม่ลง ไม่ปรารถนาจะให้เสียความวางพระราชหฤทัยของท่าน
ไม่ปรารถนาจะให้ท่านทอดพระเนตรเรา
ผู้ที่ท่านทรงกราบแล้ว ถือเพศเป็นคฤหัสถ์อีก
ตรงคำที่เขาพูดกันว่า กลัวจัญไรกิน เราตกลงใจว่าจะไม่สึกในเวลานั้น”


Image
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
พระอุปัชฌาย์ในคราวทรงบรรพชาและอุปสมบท



(มีต่อ ๑)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 21 ส.ค. 2007, 1:47 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2007, 12:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี) พระอุปัชฌาย์
เมื่อทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุตอีกครั้งหนึ่ง



ทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ)

หลังจากทรงจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษาแล้ว
ได้เสด็จไปจำพรรษาที่ ๒ ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม
ในสำนักของพระจันทโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี) ผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ในระหว่างที่ประทับ ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม นั้นเอง
ได้ทรงทำทัฬหีกรรม (อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุตอีกครั้งหนึ่ง
ตามธรรมเนียมนิยมของพระสงฆ์ธรรมยุตในครั้งนั้น
โดยมี พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช ฐานจาโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส
แต่ครั้งยังเป็นพระเปรียญอยู่วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ณ โบสถ์แพ หน้าวัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๒

Image
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงฉายร่วมกับ
พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี) เมื่อครั้งยังมิได้ทรงกรม



ทรงกรมและเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง

เมื่อทรงผนวชได้ ๓ พรรษา ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมหน้าพระที่นั่ง
ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตมโหฬาร ห้องเขียว
ท่ามกลางประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่ ๑๐ รูป
มี สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธาน
ทรงแปลได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค และทรงหยุดอยู่เพียงนั้น

หลังจากทรงแปลพระปริยัติธรรม ได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยคแล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็น
กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะรองในธรรมยุติกนิกาย
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ พระองค์ทรงเป็นเจ้าคณะรองในคณะธรรมยุตเป็นพระองค์แรก
และทรงเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง
ที่ทรงมีพรรษายุกาลน้อยที่สุด คือ ๓ พรรษาเท่านั้น

Image
พัดยศสมณศักดิ์กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
มีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะธรรมยุต



ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร

ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๔
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ขณะเมื่อทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่น ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร
สืบต่อจาก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๓ ของวัดบวรนิเวศวิหาร

ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ทรงพระกรุณาโปรดเลื่อนพระสมณศักดิ์เป็น
สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
นับเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตพระองค์ที่ ๒
ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตเมื่อทรงมีพรรษายุกาล ๑๕ พรรษา

เมื่อทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว
ก็ได้ทรงเริ่มพัฒนากิจการพระศาสนา
โดยทรงเริ่มทำขึ้นภายในวัดบวรนิเวศวิหารก่อน
เป็นการทดลองเพื่อดูผลได้ผลเสีย และทรงปรับปรุงแก้ไขจนทรงเห็นว่า
มีผลดีเป็นคุณประโยชน์แก่พระศาสนาเป็นส่วนรวม
จึงทรงขยายออกในวงกว้าง กล่าวเฉพาะที่สำคัญคือ

Image
เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
พระชนมายุได้ราว ๒๐-๒๑ พรรษา



การศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาไทย

ทรงริเริ่มให้ภิกษุสามเณรที่บวชใหม่เล่าเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทย
เพื่อให้รู้จักพระพุทธศาสนาทั้งส่วนที่เป็นธรรมและวินัยในขั้นพื้นฐาน
ในชั่วระยะเวลาอันสั้น โดยพระองค์ได้ทรงสอนด้วยพระองค์เอง
มีการสอบความรู้ของภิกษุสามเณรที่เรียนด้วยวิธีสอบแบบใหม่คือวิธีเขียน
ต่อมาได้มีภิกษุสามเณร ไม่เฉพาะแต่พระใหม่เท่านั้น
ที่นิยมเล่าเรียนพระธรรมวินัยแบบใหม่ที่พระองค์ทรงจัดขึ้นนี้
และนิยมแพร่หลายออกไปถึงวัดอื่นๆ ด้วย

เมื่อทรงเห็นว่าเป็นการเล่าเรียนที่มีประโยชน์ต่อภิกษุสามเณรทั่วไป
จึงได้ทรงกำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ในเวลาต่อมา
ที่เรียกว่า “นักธรรม” ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ของคณะสงฆ์สืบมาจนปัจจุบัน เป็นการศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาไทย
คู่กับการศึกษาพระปริยัติธรรมในภาษาบาลีที่มีมาแต่โบราณ

Image
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๒๓ พรรษา


(มีต่อ ๒)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 21 ส.ค. 2007, 1:28 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2007, 12:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
ทรงฉายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม พระชนมายุได้ ๒๗ พรรษา



ทรงจัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย

สำหรับเป็นสถานศึกษาของภิกษุสามเณรและกุลบุตร
เป็นการทรงริเริ่มจัดการศึกษาของภิกษุสามเณรแบบใหม่
คือ เล่าเรียนพระปริยัติธรรมประกอบกับวิชาการอื่นๆ
ที่เอื้อต่อการสั่งสอนพระพุทธศาสนา
และสอบด้วยวิธีเขียนซึ่งทรงริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก
ภิกษุสามเณรที่สอบไล่ได้ตามหลักสูตรนี้ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ตั้งเป็นเปรียญเช่นเดียวกับผู้สอบไล่ได้ในสนามหลวงตามแบบเดิมเหมือนกัน
เรียกว่า “เปรียญมหามกุฎ”
แต่น่าเสียดายที่หลักสูตรพระปริยัติธรรมแบบมหามกุฎดังกล่าวนี้
ได้ดำเนินการอยู่เพียง ๘ ปีก็เลิกไป เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ไม่ทรงมีเวลาจะดูแลจัดการเนื่องจากทรงมีพระภารกิจอื่นในคณะสงฆ์มาก

หลักสูตรของเดิม

การศึกษาด้านพระปริยัติ แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย
ฝ่ายไทย ๙ ชั้น
ฝ่ายรามัญ ๔ ชั้น

ฝ่ายไทย
ชั้นที่ ๑ เรียน อรรถกถาธรรมบท
ชั้นที่ ๒ เรียน อรรถกถาธรรมบถ
ชั้นที่ ๓ เรียน อรรกถาธรรมบท (ตั้งแต่ชั้นนี้ไป นับเป็นเปรียญ)
ชั้นที่ ๔ เรียน มังคลัตถทีปนี บั้นต้น
ชั้นที่ ๕ เรียน สารัตถะสังคะหะ
ชั้นที่ ๖ เรียน มังคลถทีปนี บั้นปลาย
ชั้นที่ ๗ เรียน เรียน ปฐมสมันตปาสาทิกา
ชั้นที่ ๘ เรียน วิสุทธิมรรค
ชั้นที่ ๙ เรียน สารัตถะทีปนี ฎีกาพระวินัย

ฝ่ายรามัญ
ชั้นที่ ๑ เรียน บาลีพระวินัยมหาวิภังค์ (ปาจิตตีย์)
ชั้นที่ ๒ เรียน บาลีพระวินัยมหาวัคค์ และจุลวัคค์
ชั้นที่ ๓ เรียน บาลี มุคคกวินัยวินิจฉัย
ชั้นที่ ๔ เรียน ปมสมันตปาสาทิกา

การสอบ ๓ ปี สอบครั้งหนึ่ง หากทางราชการมีเหตุขัดข้อง
ก็เลื่อนไปเป็น ๖ ปี สอบครั้งหนึ่ง

หลักสูตรมหามกุฏราชวิทยาลัย

ชั้นนักเรียนที่ ๓ เรียน บาลีไวยากรณ์
ชั้นนักเรียนที่ ๒ เรียน อรรถกถาธรรมบท บั้นต้น ท้องนิทาน
ชั้นนักเรียนที่ ๑ เรียน แก้คาถาอรรถกถาธรรมบท บั้นปลาย
ชั้นเปรียญที่ ๓ เรียน แก้คาถาอรรถกถาธรรมบท บั้นต้น
(เปรียญตรี)
ชั้นเปรียญที่ ๒ เรียน บาลีพระวินัยมหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ และพระสูตรบางสูตร
(เปรียญโท)
ชั้นเปรียญที่ ๑ เรียน บาลีพระวินัยมหาวัคค์ และจุลวัคค์ และอภิธรรม
(เปรียญเอก)

การสอบ สอบทุกปี แลผลของการสอบครั้งแรกใน ปี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)
นั้นก็ปรากฏว่าได้ผลดี คือมีนักเรียนสอบได้เกินกว่าครึ่ง
ดังที่ปรากฏตามกรายงานการสอบครั้งแรกดังนี้

ชั้นนักเรียนที่ ๓ สอบ ๒๙ สอบได้ ๑๕ ตก ๑๔
ชั้นนักเรียนที่ ๒ สอบ ๑๐ สอบได้ ๖ ตก ๔
ชั้นนักเรียนที่ ๑ สอบ ๔ ได้ ๑ ตก ๓


Image
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ราว ๓๕ พรรษา


ในส่วนการศึกษาของกุลบุตรนั้น พระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนภาษาไทย
ของมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้นตามวัดธรรมยุต เพื่อให้เป็นที่เล่าเรียนของกุลบุตร
โดยใช้หลักสูตรที่ พระองค์ทรงจัดขึ้นใหม่เรียกว่า “หลักสูตรมหามกุฎ”
เช่น โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โรงเรียนวัดมกุฎ เป็นต้น
การจัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวนี้ขึ้นก็ด้วยทรงมีพระดำริว่าเพื่อเป็นการช่วยรัฐบาล
พระองค์ทรงพยายามพัฒนาโรงเรียนภาษาไทยของมหามกุฎให้เป็นโรงเรียน
“เชลยศักดิ์” คือโรงเรียนราษฎร์ แบบอยู่ประจำ เพื่อเป็นต้นแบบให้รัฐบาล
หรือเอกชนอื่นๆ ทำตาม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะขาดเงินทุนที่จะดำเนินการ
ให้เป็นไปตามพระดำริ ในที่สุดก็ต้องทรงมอบโรงเรียนภาษาไทยของมหามกุฎฯ
ให้กระทรวงธรรมการ คือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน
เป็นผู้ดำเนินการต่อไป ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Image
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ราว ๓๘ พรรษา พ.ศ. ๒๔๔๐


ทรงจัดตั้งโรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

เนื่องจากทรงจัดการศึกษาในมหามกุฎราชวิทยาลัยดังกล่าวมาแล้ว
จำเป็นต้องใช้หนังสือและตำราเรียนเป็นจำนวนมาก
จึงได้ทรงจัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเพื่อจัดพิมพ์หนังสือและตำรับตำราต่างๆ
ให้เพียงพอแก่การใช้ศึกษาของภิกษุสามเณรและกุลบุตร
เรียกว่า “โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย”
โดยทรงใช้ แท่นพิมพ์ที่ใช้พิมพ์พระไตรปิฎก
เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ และโรงพิมพ์ก็ตั้งที่โรงพิมพ์หลังเดิม
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น
เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร
(คือตรงที่สร้างพระตำหนักเพ็ชรในบัดนี้)
แต่โรงพิมพ์ที่พระองค์ทรงจัดตั้งขึ้นดังกล่าวนี้ดำเนินกิจการอยู่เพียง ๘ ปี
ก็ต้องเลิกไปเพราะค่าโสหุ้ยสูงจนไม่อาจดำเนินการต่อไปได้
ต้องทรงกลับไปใช้วิธีจ้างโรงพิมพ์อื่นซึ่งเสียค่าโสหุ้ยน้อยกว่า

Image
Image

ทรงออกนิตยสารธรรมจักษุ

หลังจากทรงจัดตั้งสถานศึกษาคือมหามกุฎราชวิทยาลัยได้ ๑ ปี
ก็ทรงออกนิตยสารธรรมจักษุ เป็นนิตยสารรายเดือน
สำหรับตีพิมพ์เรื่องราวทางพระพุทธศาสนา
ทั้งที่เป็นคำสั่งสอนและข่าวสารต่างๆ ออกเผยแพร่แก่ประชาชน
รวมทั้งข่าวเกี่ยวกับกิจการมหามกุฎราชวิทยาลัยด้วย
ที่สำคัญคือเพื่อเป็นสนามให้ภิกษุสามเณรที่เป็นนักเรียนของมหามกุฎราชวิทยาลัย
ได้ฝึกแปล แต่ง เขียน เรื่องราวทางพระพุทธศาสนาแล้วตีพิมพ์เผยแพร่แก่ประชาชน
ธรรมจักษุจึงเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาฉบับแรกของไทย
และมีอายุเก่าแก่ที่สุดนับจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันก็กว่า ๑๐๐ ปีแล้ว

Image


(มีต่อ ๓)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 21 ส.ค. 2007, 2:42 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2007, 1:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส พระชนมายุได้ราว ๔๐ พรรษา



ทรงอำนวยการจัดการศึกษาหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร

พ.ศ. ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ทรงมีพระราชดำริจะขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไปยังประชาชนทั่วพระราชอาณาจักร
เพราะทรงเห็นว่าการศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมือง
จึงทรงอาราธนาสมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมหมื่น
ให้ทรงอำนวยการจัดการศึกษาในหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร

ทั้งนี้เพราะทรงเห็นว่าวัดเป็นแหล่งให้การศึกษาแก่คนไทยมาแต่โบราณกาล
การใช้วัดเป็นฐานในการขยายการศึกษาเป็นทางเดียวที่จะขยายได้เร็วและทั่วถึง
เพราะวัดมีอยู่ทั่วทุกหนแห่งในพระราชอาณาจักร
ทั้งไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินในการสร้างโรงเรียนด้วย
เพราะอาศัยศาลาวัดที่มีอยู่แล้วนั่นเองเป็นโรงเรียน

Image
ทรงฉายร่วมกับพระเถรานุเถระ เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ราว ๔๐ พรรษา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=50205


สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงเลือกพระเถระผู้มีความสามารถ
ทั้งฝ่ายธรรมยุตและมหานิกายรวม ๑๓ รูป เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลต่างๆ
แล้วส่งออกไปดำเนินการจัดการศึกษาในหัวเมืองต่างๆ ในมณฑลนั้นๆ
ทั่วพระราชอาณาจักร โดยมีฝ่ายบ้านเมือง คือ กระทรวงมหาดไทย
เป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการ

พระองค์ทรงรับหน้าที่อำนวยการในการจัดการศึกษาหัวเมืองอยู่ ๕ ปี
ก็ทรงสามารถขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คือ การศึกษาขั้นประถมศึกษา ออกไปได้ทั่วประเทศ
เมื่อทรงวางรากฐานการศึกษาในหัวเมืองเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว
และมีความมั่งคงพอสมควรแล้ว
ก็ทรงมอบให้เป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงธรรมการดำเนินการต่อไป

จึงกล่าวได้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาระดับประถมศึกษาในประเทศไทย
โดยมีวัดเป็นโรงเรียน มีพระเป็นครูสอน มีมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นต้นแบบ
ในด้านหลักสูตรและการฝึกหัดครูสำหรับออกไปสอนในโรงเรียนนั้นๆ

Image
ทรงฉายร่วมกับพระเถรานุเถระ หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ราว ๔๐ พรรษา



ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์

ในการจัดการศึกษาในหัวเมืองดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงพบความไม่เรียบร้อยในการปกครองคณะสงฆ์
และทรงมีพระดำริว่า การที่จะจัดการศึกษาให้ได้ผลดีนั้น
จะต้องจัดการปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อยไปพร้อมกันด้วย

ฉะนั้นพระองค์จึงได้ทรงพระดำริจัดรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นใหม่
เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
และเอื้อต่อการที่จะพัฒนาตัวเองและบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
พระดำริดังนี้เองที่เป็นเหตุให้เกิด
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) ขึ้น
ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับแรกของไทย

ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ นั้น
จัดคณะสงฆ์เป็น ๔ คณะคือ

คณะเหนือ คณะใต้ คณะธรรมยุตติกา และคณะกลาง
มีสมเด็จพระราชาคณะเป็นเจ้าคณะ และมีพระราชาคณะเจ้าคณะรองคณะละรูป
พระเถระทั้ง ๘ รูปนี้ยกขึ้นเป็น มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดในทางคณะสงฆ์
และเป็นที่ทรงปรึกษาในการพระศาสนาและการคณะสงฆ์ของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน

มีเจ้าคณะปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับคือ
เจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง (อำเภอ) เจ้าอาวาส
นับเป็นครั้งแรกที่คณะสงฆ์ไทย
มีการจัดปกครองอย่างเป็นระบบ มีแบบแผนที่ชัดเจน

โดยมีกฎหมายทางบ้านเมืองเข้ามารองรับ
การดำเนินกิจการพระศาสนาและการคณะสงฆ์
เมื่อมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ขึ้นแล้ว
ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งอำนวยการศึกษามณฑลต่างๆ เป็นเจ้าคณะมณฑล
มีหน้าที่ทำนุบำรุงพระศาสนาและบำรุงการศึกษาตามวัดในมณฑลนั้นๆ
ให้เจริญรุ่งเรืองตามพระราชประสงค์

Image
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ราว ๕๐ พรรษาเศษ


ในเวลาตั้งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์นี้ ว่างสมเด็จพระสังฆราช
เพราะนับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ และสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ แล้ว มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใด
ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราชอีก จนตลอดรัชกาลที่ ๕
มีแต่เจ้าคณะใหญ่ ๔ รูป ซึ่งมิได้ขึ้นแก่กัน

เมื่อมีภารกิจอันจะพึงทำร่วมกันเจ้าคณะใหญ่รูปใดมีสมณศักดิ์สูง
เสนาบดีกระทรวงธรรมการก็รับพระบรมราชโองการสั่งไปทางเจ้าคณะรูปนั้น
ขณะนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ซึ่งทรงพระอิสริยยศเป็น กรมหมื่น
ทรงสมณศักดิ์สูงกว่าเจ้าคณะทั้งปวง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นการก (คือประธาน) ในที่ประชุมมหาเถรสมาคม
ซึ่งเท่ากับทรงปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชมาจนตลอดรัชกาลที่ ๕

ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ นี้แสดงให้เห็นว่า
องค์พระมหากษัตริย์ทรงปกครองคณะสงฆ์ด้วยพระองค์เอง
โดยมีเสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้รับพระบรมราชโองการสั่ง
คือ บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์พระมหากษัตริย์นั่นเอง

มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดทางคณะสงฆ์เป็นเพียง “ที่ทรงปรึกษา”
คือทำหน้าที่ถวายคำแนะนำในเรื่องการพระศาสนาและคณะสงฆ์
แด่องค์พระมหากษัตริย์ โดยผ่านไปทางเสนาบดีกระทรวงธรรมการเท่านั้น
จึงกล่าวได้ว่า ตั้งแต่โบราณมาจนถึงเวลาที่ตั้ง
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) นี้ขึ้น
คฤหัสถ์ทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์มาโดยตลอด


Image
พัดยศสำหรับพระสมณศักดิ์ที่
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส



มหาสมณุตมาภิเษก

พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็น กรมหลวง
ถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ
สืบพระบรมราชสันตติวงศ์เป็นรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พอเสด็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
และเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชินี พระพันปีหลวง แล้ว

ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๑ ขึ้น ๔ ค่ำนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
สถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส
เป็น สมเด็จกรมพระยา และทรงสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระมหาสมณะ (คือสมเด็จพระสังฆราช)
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ดังมีสำเนาประกาศสถาปนาดังนี้


(มีต่อ ๔)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 21 ส.ค. 2007, 2:48 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2007, 2:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
Image
พระรูปสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ประดิษฐาน ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
พระรูปนี้เป็นภาพถ่ายต้นแบบที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในหนังสือต่างๆ



ประกาศมหาสมณุตมาภิเศก

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค ๒๔๕๓ พรรษา
กาลปัตยุบันจันทรโคจร โสณสัมพัตสร มฤคศิรมาส สุกกปักษ์ จตุรถีดิถี ศศิวาร
สุริยคติกาล รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙ ธันวาคมมาส ปัญจมสุรทิน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ ฯลฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระราชดำริห์ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส
เป็นพระบรมวงศ์พระองค์หนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงยกย่องว่าเป็นผู้ต้องพระราชอัธยาไศรยมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
ได้ทรงปฏิบัติราชกิจใกล้ชิดพระองค์ จนกระทั่งพระชนมายุถึงกำหนดอันควร
ที่จะทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนา ตั้งแต่เมื่อก่อนจะทรงพระผนวชนั้น
ก็ได้ทรงมีพระกระมลสันดานเลื่อมใสในพระรัตนไตรยมั่นคง
และได้เริ่มทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ก่อน


Image
รัชกาลที่ ๕ ทรงสนทนากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘



ครั้นเมื่อทรงพระผนวชแล้ว
ก็ได้ทรงพระอุสาหศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยพระปรีชาญาณ
ทรงรอบรู้ในอรรถธรรมทั้งปวงมากขึ้นเป็นลำดับ
จนหาผู้ที่จะรู้เท่าเทียมได้โดยยากนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสถาปนาพระอิศริยยศให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรม และให้ทรงสมณศักดิ์อันสูง

ก็เพราะทรงทราบชัดอยู่ว่า พระราชภาดาของพระองค์
จะสามารถเป็นผู้ดำรงพระบวรพุทธศาสนา ให้ประดิษฐานถาวรวัฒนา
ในสยามราชอาณาจักรสืบไป ก็นับว่าเป็นไปได้จริงตามความทรงมุ่งหมาย
ธรรมดาพระศาสนาจะมั่นคงยั่งยืนอยู่ได้
ก็เพราะอาศัยความรอบรู้แห่งพุทธศาสนิกบริสัษย์ ในพระธรรมอันถ่องแท้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส
ได้ทรงเป็นประธานในการที่พระภิกษุสามเณรสอบไล่พระปริยัติธรรม
ทรงกำกับให้การสอบไล่อันนั้นเป็นไปโดยทางที่ถูกต้องทุกประการ
นับว่าได้ทรงช่วยสมเด็จพระราชาธิบดี
ในการที่ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาให้มั่นคงอยู่ มิได้เสื่อมคลายไปเลย
ทั้งได้ทรงพระอุสาหปกครองคณะสงฆ์ให้มั่นคงในกิจปฏิบัติ
สมควรแก่ผู้ที่ดำรงสมณเพศพิเศษยิ่งกว่าสามัญชน
นับว่าได้ทรงทำคุณประโยชน์อันใหญ่ยิ่งให้บังเกิดมีแก่กรุงสยาม


Image
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร
เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔



อนึ่งได้ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในสรรพอรรถธรรมทั้งปวงแล้ว
ก็ได้ทรงเปิดเผยแผ่พระธรรมนั้นๆ ให้ปรากฏแก่มหาชนทั่วไป
โดยโวหารอันไพเราะจับใจซึมทราบ ทำให้ผู้ฟังแล้วและเห็นเข้าใจข้อความแจ่มแจ้ง
สิ้นความเคลือบแคลงได้ ทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระรัตนไตรยทวีขึ้นเป็นอันมาก
ความอันใดที่เข้าใจยากก็ได้ทรงขยายให้และเห็นง่ายดายกระจ่าง

ประหนึ่งทรงนำทางให้เดินไปสู่ที่ชอบ
ทรงชำนิชำนาญทั้งในทางแสดงพระสัทธรรมเทศนา และในทางนิพนธ์รจนาหนังสือ
อันเป็นเครื่องชูใจให้ผู้ฟังผู้อ่านได้รับผลอันดี
ปีติปราโมทย์เป็นที่นิยมนับถือของมหาชนทั่วไป
ไม่เฉพาะแต่ในสยามราชอาณาเขตร ถึงแม้ชนในไพรัชประเทศ
ก็สรรเสริญยกย่องพระองค์ว่าเป็นมหาบัณฑิตย์อันประเสริฐ
ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทั่วไป
ได้นิยมยอมยกพระองค์เป็นมหาศาสนนายก

แต่ถึงแม้ผู้ที่มีใจนับถือลัทธิศาสนาอื่นๆ
ก็มีความนับถือพระองค์เป็นปราชญ์อันหาที่เปรียบได้โดยยาก
ผู้มีชื่อเสียงสำคัญอันเป็นชาวต่างประเทศ
แม้มาเยี่ยมกรุงสยามก็คงตั้งใจพยายามไปน้อมคำนับด้วยความนิยมนับถือ
ด้วยได้ยินพระเกียรติคุณบรรฦๅไปจนถึงประเทศนั้นๆ
จึงชวนกันมาเฝ้าเพื่อสำแดงความเคารพมหาบัณฑิตย์ฉนั้น


Image
ทรงฉายเมื่อครั้งสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
ทรงผนวชเป็นสามเณร และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖



อีกประการหนึ่ง พระองค์ได้ทรงเป็นครูปัธยาจารย์
แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และชนทุกชั้น
ได้ทรงมีพระหฤทัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในหมู่ศิษย์ทั้งหลายทั่วกัน
ไม่เลือกหน้าว่าเป็นบุคคลชั้นใด
ในขณะที่ยังเป็นภิกษุสามเณรอยู่ในสำนักของพระองค์
ก็ทรงอนุสาสน์ให้รอบรู้เข้าใจในอรรถธรรมตามสมควรแก่สติปัญญาของตนๆ

ครั้นเมื่อละเพศพรหมจรรย์แล้ว
ก็ยังทรงเป็นพระธุระติดตามประทานโอวาท
ตามแต่จะทรงหาโอกาสได้
คอยทรงตักเตือนสติและเหนี่ยวใจไว้ให้ฝักใฝ่ในทางธรรม
อันควรแก่คิหิปฏิบัติ เป็นพระคุณอันแน่ชัดประจักษ์อยู่ในใจแห่งศิษย์ทั้งหลายทั่วกัน

ในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวชิรญาณวโรรสได้ทรงคุ้นเคย
และเป็นที่ถูกพระอัธยาไศรยกันมาแต่ยังทรงพระเยาว์
ได้ทรงสั่งสอนชักจูงพระราชหฤทัยให้น้อมไปในทางศรัทธา
ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นลำดับมา

ครั้นเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ก่อนที่จะเสด็จออกไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศยุโรป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอก็ได้เป็นผู้ทรงรับคำปฏิญญาแสดงพระองค์เป็นอุบาสก


Image
ทรงฉายเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร
และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงผนวชเป็นสามเณร
ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗



จนถึงเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๓ ได้ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์
เมื่อทรงรับอุปสมบทได้ทรงอนุสาสน์สั่งสอนให้ทรงทราบอรรถธรรม
และความปฏิบัติอันดีอันงาม ทั้งต่อมาก็ยังได้ทรงตามอนุสาสน์ตักเตือน
ทรงแนะนำทางที่จะทรงพระราชดำริในทางธรรม
อันจะควรใช้ประกอบในทางโลก นับว่าทรงมีพระคุณอันใหญ่ยิ่ง
หาผู้ใดจะเสมอเหมือนได้โดยยากนักในสมัยนี้

ตามข้อความที่กล่าวมาแล้วนี้ จึงแลเห็นปรากฏอยู่ว่า

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นบุรุษรัตนอันล้ำเลิศประเสริฐสุดยิ่งกว่าบรรดาพระเถรานุเถรทั้งปวง
ทั้งในคามวาสีอรัญวาสีปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ
สมควรที่จะให้ดำรงพระเกียรติยศอันใหญ่ยิ่ง

เช่น อย่างพระบรมวงศ์ที่ได้เคยทรงเป็นใหญ่ในคณะสงฆ์มาแต่ก่อน
โดยรับมหาสมณุตมาภิเศกและเลื่อนพระอิศริยยศต่างกรม
ให้สมแก่ความยินดีเลื่อมใส จะได้เป็นที่เคารพสักการบูชา
เป็นที่นิยมนับถือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์
ข้าราชการ ตลอดจนถึงมหาชนนิกรที่เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาทั่วหน้า

จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ตั้งการมหาสมณุตมาภิเศก และเลื่อนพระอิศริยยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวชิรญาณวโรรส ขึ้นเป็นสมเด็จกรมพระยา
มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า


Image
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา



สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ศรีสุคตขัตติยพรหมจารี สรรเพชญรังศีกัลยาณวากย มนุษยนาคอเนญชาริยวงศ์
บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนารถประนับดา มหามกุฎกษัตรราชวรางกูร
จุฬาลงกรณ์ปรมินทร์สูรครุฐานิยภาดา วชิราวุธมหาราชหิโตปัธยาจารย์
ศุภศีลสารมหาวิมล มงคลธรรมเจดีย์ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฎกาทิโกศล
เบญจปดลเสวตรฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเศกาภิษิต
วิชิตมารสราพกธรรมเสนาบดี อมรโกษินทรโมลีมหาสงฆปรินายก
พุทธศาสนดิลก โลกุตมมหาบัณฑิตย์ สิทธรรถนานานิรุกติประติภาน
มโหฬารเมตตาภิธยาศรัย พุทธาทิรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอัครมหาอนาคาริยรัตน์
สยามาธิปัตยพุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศสกลพุทธจักรกฤตโยปการ
มหาปาโมกขประธานสถาวีรวโรดม บรมนารถบพิตร


เสด็จสถิตย์ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง มุสิกนาม
ให้ทรงศักดินา ๓๕๐๐๐ เป็นพิเศษในตำแหน่งพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่
ดำรงพระยศฝ่ายสมณศักดิ เป็นเจ้าคณะใหญ่แห่งพระสงฆ์ทั้งกรุงเทพมหานคร
และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาเขต
พระราชทานนิตยภัตรบูชาเดือนละ ๘๐ บาท
ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธศาสนาเป็นภาระสั่งสอน
ช่วยระงับอธิกรณ์พระภิกษุสงฆ์สามเณรทั่วไป
โดยสมควรแก่อิสริยยศสมณศักดิ จงทรงเจริญพระชนมายุพรรณศุขะพล
ปฏิภาณคุณสารสมบัติ สรรพศิริสวัสดิพิพัฒมงคล
วิบูลยศุภผลจิระถิติกาลในพระพุทธศาสนาเทอญฯ


Image
พระตำหนักจันทร์ ที่ประทับในวัดบวรนิเวศวิหาร


(มีต่อ ๕)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 23 ส.ค. 2007, 1:35 am, ทั้งหมด 4 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2007, 2:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)



ทรงปรับสถานภาพของคณะสงฆ์

ในปีรุ่งขึ้น หลังจากทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษก คือ พ.ศ. ๒๔๕๔
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ครั้งสำคัญ
คือ ทรงชี้แจงแก่เสนาบดี กระทรวงธรรมการ
ถึงผลเสียที่เกิดจากการที่คฤหัสถ์ปกครองคณะสงฆ์
ดังที่เป็นมาในอดีตและเป็นอยู่ในขณะนั้น

และทรงแนะนำว่าควรจะถวายอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์
แก่พระองค์ให้เป็นเด็ดขาด ฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช
เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เรียบร้อย
เพราะพระด้วยกันย่อมเข้าใจเรื่องของพระด้วยกัน ดีกว่าคฤหัสถ์ซึ่งมิใช่พระ

ดังความตอนหนึ่งในลายพระหัตถ์ว่า

“แต่ก่อน คณะแยกกันครอง หรือบางสมัยมีสังฆราช ก็เจริญอายุพรรษา
มีอยู่ก็เป็นแต่เพียงกิตติมศักดิ์ กระทรวงธรรมการจำต้องทำหน้าที่สังฆราชฯ
ผลเป็นอย่างไรบ้างฯ ไม่อาจว่าพระให้เรียบร้อยได้ เพราะมิได้เป็นพระด้วยกัน
ไม่มีความรู้ในฝ่ายพระทั่วถึง ไม่รู้อัธยาศัยของพระแจ้งชัดฯ

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่สามารถเพื่อจะระงับความเสียหายอันเกิดขึ้นแล้ว
และเพื่อจะบำรุงให้ดีขึ้น ได้แต่ทำๆ ไปเช่นนั้น อย่างเดียวกับไล่หนังสือพวกรามัญ
ผลที่มีก็คือความเสื่อมทรามของพระอันค่อยเป็นไปโดยลำดับฯ
ในเวลานี้ ได้ฉันเป็นสังฆราชขึ้น หน้าที่กระทรวงธรรมการจะปลดเปลื้องการพระสงฆ์
ที่ตนไม่ถนัด ถวายฉันเสียให้เป็นเด็ดขาด จะเบาแรงเข้าและการจะดีขึ้นฯ”


หลังจากที่ได้ทรงมีลายพระหัตถ์ชี้แจงดังกล่าวแล้ว
อีก ๖ เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

“ได้ทรงมอบการทั้งปวงซึ่งเป็นกิจธุระพระศาสนาถวายแด่
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้เป็นมหาสังฆปริณายก
เพื่อทรงเป็นพระธุระปกครอง”


ตั้งแต่เดือนกันยายน ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๕๕) เป็นต้นมา
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทย
ที่ทรงปกครองคณะสงฆ์โดยตรงด้วยพระองค์เอง
เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในสังฆมณฑลของไทย


กล่าวคือ เป็นการทำให้คณะสงฆ์หลุดพ้นจากการปกครองโดยคฤหัสถ์
มาสู่การปกครองโดยพระด้วยกันเองเป็นครั้งแรก
เป็นเหตุให้สมเด็จพระสังฆราชมีพระอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์โดยตรง
แต่บัดนั้นเป็นต้นมาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
นับเป็นการปรับสถานภาพของคณะสงฆ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์ไทย

Image
ทรงฉายที่วัดสมุหประดิษฐ์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
ในคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลกรุงเก่า
วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๕๗ พระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา



เสด็จตรวจการคณะสงฆ์

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก
ที่เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในหัวเมืองต่างๆ
เกือบทั่วพระราชอาณาจักรเท่าที่สามารถจะเสด็จไปได้
นับแต่ปีที่ ๒ แห่งการทรงดำรงตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์ตามหัวเมืองต่างๆ
เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด กระทั่งถึงปีท้ายๆ แห่งพระชนม์ชีพ
ซึ่งทรงพระประชวรไม่สามารถเสด็จตรากตรำไปตามหัวเมืองต่างๆ ที่ห่างไกลได้
จึงได้ทรงหยุดการเสด็จตรวจการคณะสงฆ์

Image
ทรงฉายที่วัดสมุหประดิษฐ์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ร่วมกับพระสงฆ์ในถิ่นนั้น
ในคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลกรุงเก่า
วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๕๗ พระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา



ทรงปรับปรุงการพระศาสนาและการคณะสงฆ์ในด้านต่างๆ

เนื่องจากพระองค์เสด็จไปตรวจการคณะสงฆ์ตามหัวเมืองต่างๆ
ด้วยพระองค์เองอย่างถี่ถ้วนเกือบทั่วพระราชอาณาจักร
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงทราบถึงความเป็นไปของคณะสงฆ์
ตลอดถึงสภาพของประชาชน
และความเป็นไปของบ้านเมืองในภูมิภาคต่างๆ เป็นอย่างดี
ทำให้พระองค์ทรงทราบถึงปัญหาและกำหนดวิธีการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงปรับปรุงแก้ไขการพระศาสนา
และการคณะสงฆ์ในทุกๆ ด้านเพื่อให้พระพุทธศาสนา
และคณะสงฆ์มีความเจริญมั่นคงและสามารถทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง
ได้อย่างเหมาะสมแก่กาละเทศะ กล่าวคือ

Image
ทรงฉายที่วัดสมุหประดิษฐ์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
ในคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์มณฑลกรุงเก่า
วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๕๗ พระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา



ในด้านการพระศาสนา

พระองค์ได้ทรงพยายามพัฒนาภิกษุสามเณร
ให้มีความรู้ความสามารถในพระธรรมวินัย
เพื่อจักได้แนะนำสั่งสอนประชาชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแก่สมัย

โดยทรงพยายามจัดให้ภิกษุสามเณรได้รับการศึกษาพระธรรมวินัย
ตามสมควรแก่สถานภาพของตน ทรงแนะนำสั่งประชาชนให้รู้จักศึกษาพระพุทธศาสนา
และรู้จักนำธรรมไปปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพของตน
ทรงพยายามผลิตตำรา และหนังสือทางพระพุทธศาสนา
ที่คนทั่วไปสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย ออกเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ
ทรงแนะนำภิกษุสามเณร ให้รู้จักเทศนาสั่งสอนประชาชน
ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ และเหมาะแก่ประชาชน

Image
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
ทรงฉายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ พระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา



ในด้านการคณะสงฆ์

พระองค์ได้ทรงออกพระมหาสมณาณัติ ประทานพระมหาสมณวินิจฉัย
และทรงวางระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติ
ของภิกษุสามเณรในด้านต่างๆ ให้ถูกต้องเรียบร้อยยิ่งขึ้น
เช่น ระเบียบเกี่ยวกับพระอุปัชฌาย์ การบรรพชาอุปสมบท
การปกครองภิกษุสามเณรและศิษย์วัด การวินิจฉัยอธิกรณ์
ระเบียบเกี่ยวกับสมณศักดิ์พัดยศ นิตยภัต ดวงตราประจำตำแหน่ง เป็นต้น

โดยทรงชี้ให้เห็นว่า ภิกษุสามเณรนั้นนอกจากจะต้องประพฤติปฏิบัติ
ตามพระธรรมวินัยแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองและจารีตประเพณีด้วย
การคณะสงฆ์จึงจะดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

ในด้านการศึกษา

ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ภิกษุสามเณร
ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเรียบร้อย
ตลอดถึงสามารถทำประโยชน์แก่สังคมและชาติบ้านเมืองได้อย่างแท้จริง
ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงพยายามปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ทันสมัย

กล่าวคือ การศึกษาพระปริยัติธรรม อันได้แก่การศึกษาภาษาบาลี
เพื่อให้สามารถอ่านพระคัมภีร์ได้ อันเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ที่มีมาแต่โบราณนั้น
พระองค์ก็ทรงปรับปรุงให้เหมาะสมและอำนวยประโยชน์แก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
ได้ทรงจัดการศึกษาพระปริยัติแบบใหม่ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า “นักธรรม”
ซึ่งเป็นการเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทย
เพื่อให้ภิกษุสามเณรทั่วไปสามารถเรียนรู้พระธรรมวินัยได้ง่ายขึ้น
และไม่ต้องใช้เวลาในการเรียนนาน

นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงพยายามที่จะจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
โดยการจัดตั้งโรงเรียนของมหามกุฎราชวิทยาลัย
เพื่อศึกษาวิชาการสมัยใหม่ในลักษณะที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “มหาวิทยาลัย” ขึ้น
โดยทรงพระดำริว่าจะใช้พื้นที่ตลาดยอด
(คือบริเวณด้านตะวันตกของวัดบวรนิเวศวิหารบัดนี้)
ทั้งเกาะ เป็นที่ตั้งโรงเรียนของมหามกุฎราชวิทยาลัยดังกล่าวแล้ว
แต่ยังมิทันได้ดำเนินการให้เป็นไปตามพระดำริ
เพราะไม่มีงบประมาณในการดำเนินการ

แต่อีก ๓๕ ปีต่อมา พระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ดังกล่าวแล้ว
ก็ได้รับการสานต่อจนเกิดเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา
หรือที่เรียกกันว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของไทยขึ้น
นั่นคือ สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘

Image
พระตำหนักซ้าย ที่ประทับทรงงานในวัดบวรนิเวศวิหาร

Image
พระตำหนักล่าง พระตำหนักที่ประทับแห่งแรกในวัดบวรนิเวศวิหาร


(มีต่อ ๖)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2007, 3:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา



สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า”

แต่โบราณมา ตำแหน่งพระประมุขแห่งสังฆมณฑลที่เรียกว่า
สมเด็จพระสังฆราชนั้น ไม่เคยมีเจ้านายพระองค์ใดที่ทรงผนวชอยู่
ได้รับสถาปนาในตำแหน่งนี้ กระทั่งถึงรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส
วัดพระเชตุพน ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระองค์แรก

มาในรัชกาลที่ ๕ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายมหาสมณณุตมาภิเษก
แด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์
วัดบวรนิเวศวิหาร ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช
แต่เจ้านายที่ได้รับถวายมหาสมณุตมาภิเษกทั้ง ๒ พระองค์ในครั้งนั้น
ไม่ได้เรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช
แต่เรียกพระนามไปตามพระอิศริยยศในฝ่ายพระบรมราชวงศ์
คือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์


มาในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายมหาสมณณุตมาภิเษก
แด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส
ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓
ก็ยังคงเรียกพระนามไปตามธรรมเนียมเดิม มิได้เรียกว่าสมเด็จพระสังฆราชเช่นกัน

Image
ทรงฉายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ


ครั้นพุทธศักราช ๒๔๖๔ อันเป็นปีที่ สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา
และทรงดำรงในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมาครบ ๑๐ ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริว่า

“พระมหาสังฆปริณายกประธานาธิบดีแห่งสังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร
ซึ่งมีสมณศักดิ์ว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณนั้น ได้มีนามอย่างสังเขปว่า
สมเด็จพระสังฆราชเป็นประเพณีสืบมา
แต่ส่วนพระบรมบรมราชวงศ์ผู้ได้รับมหาสมณุตมาภิเษกดำรงสมณศักดิ์เช่นนี้
หาได้เรียกว่า สมเด็จพระสังฆราชไม่
ย่อมเรียกพระนามไปตามพระอิศริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์
ไม่ปรากฏพระเกียรติยศยิ่งขึ้น


จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (มีสร้อยพระนามคงตามเดิม)
เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศสืบไปชั่วกาลนาน”


เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์ปัจจุบันขึ้นแล้ว
ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ซึ่งทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษกในรัชกาลที่ ๔
และสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ซึ่งทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษกในรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนคำนำพระนามเป็น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า เช่นเดียวกันในคราวนี้ด้วย

พระนาม “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า”
จึงเกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖ โดยทรงสถาปนา
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระองค์แรก


Image
พระรูปสุดท้ายของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ


ผลงานพระนิพนธ์

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงรอบรู้ภาษาต่างๆ หลายภาษา คือ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต
ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นอันมาก
เช่น หนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี โท เอก ทั้งหมดหลักสูตรบาลีไวยากรณ์ทั้งชุด
รวมพระราชนิพนธ์ ทั้งที่เป็นภาษาไทย ภาษาบาลี มีจำนวนกว่า ๒๐๐ เรื่อง

นอกจากนี้ยังทรงชำระคัมภีร์บาลีไว้อีกกว่า ๒๐ คัมภีร์
บทพระนิพนธ์เรื่องต่างๆ ของพระองค์
ไม่ว่าเป็นเรื่องคดีธรรม หรือคดีโลก ล้วนเป็นเรื่องที่ทันสมัย
โดยเฉพาะบทพระนิพนธ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของพระองค์นั้น
กล่าวได้ว่าเป็นการเริ่มศักราชใหม่ของการอธิบาย
หรือตีความพระพุทธศาสนาแนววิเคราะห์
เท่ากับพระองค์ทรงเป็นผู้วางแนวในการศึกษาพระพุทธศาสนาในสมัยใหม่
แก่วงการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเริ่มยุคใหม่อีกยุคหนึ่งของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

Image
ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร


ทรงเป็นนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ของไทย

ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ อาจกล่าวได้ว่า
เป็นยุคที่พระสงฆ์มีบทบาททางการศึกษาของชาติมากที่สุด
และผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นเป็นผู้นำทางการศึกษาอยู่ในขณะนั้น
ก็คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เริ่มแต่ทรงจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย
สำหรับเป็นสถานศึกษาวิทยาการทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม
สำหรับภิกษุสามเณรและกุลบุตร ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

และจากความสำเร็จในการจัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยนั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตัดสินพระราชฤทัย
มอบหมายให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงรับภาระอำนวยการจัดการศึกษาในหัวเมืองทั่วราชอาณาจักรเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๑
ซึ่งเป็นการมอบหมายภาระในการวางรากฐานการศึกษาขั้นประถมศึกษาของชาติ
ให้พระองค์ทรงดำเนินการ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ได้ทรงจัดการศึกษาขั้นประถมศึกษา
อันเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติได้เป็นผลสำเร็จภายในเวลา ๕ ปี
แม้ว่าจะเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง
แต่ก็กล่าวได้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดการศึกษาขั้นประถมศึกษาของไทย

Image
พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ประดิษฐาน ณ ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร



นอกจากจะทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว
ยังทรงพระดำริที่จะพัฒนาการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
โดยทรงพระดำริที่จะพัฒนาโรงเรียนภาษาไทยของมหามกุฏราชวิทยาลัย
ที่วัดบวรนิเวศวิหารให้เป็นโรงเรียนราษฎร์แบบอยู่ประจำ เพื่อเป็นตัวอย่าง
เป็นการช่วยรัฐบาล แต่พระดำรินี้ไม่สามารถดำเนินไปได้ตลอด
เพราะขาดงบประมาณดำเนินการเพราะขาดงบประมาณดำเนินการ

ในด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ที่เรียกว่า การศึกษาปริยัติธรรมนั้น
ก็ทรงมีแนวพระดำริว่าภิกษุสามเณร
ควรจะมีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมเพราะ

“รู้ทางโลกก็เป็นสำคัญอุดหนุนรู้ทางธรรมให้มั่นให้กว้าง
พระศาสดาของเราก็ได้ความรู้ทางโลกเป็นกำลังช่วย
จึงประกาศพระพุทธศาสนาด้วยดี”


การที่ทรงจัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้นในครั้งนั้น
ก็เพื่อจัดการศึกษาแก่ภิกษุสามเณรในแนวนี้ ซึ้งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ การจัดการศึกษาแบบใหม่ของมหามกุฎราชวิทยาลัยนั้น

“ก็เพื่อจะลองหาทางแก้ไขการเรียนพระปริยัติธรรมให้ดีขึ้น
คือ ให้ผู้เรียนรู้ได้เร็วไม่เปลืองเวลา ไม่พักลำบาก รู้ได้ดี”


Image
Image
พระแท่นที่บรรทมสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร



กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงหาวิธีการที่จะทำให้ภิกษุสามเณรใช้เวลาเรียนแต่น้อย
แต่ได้ความรู้ดีตามต้องการ
แม้ว่าการจัดการศึกษาแบบ มหามกุฎราชวิทยาลัย จำต้องเลิกไปในเวลาต่อมา
แต่แนวพระดำริของพระองค์ดังกล่าว
ก็ได้เป็นรากฐานให้แก่การจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์
ที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์ในเวลาต่อมา

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงมีวิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษาที่แหลมคมและกว้างไกล
ทรงมีแนวพระราชดำริที่ล้ำยุคและล้ำหน้ากว่าใครๆ ในยุคเดียวกัน
จึงกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของไทย


พระกรณียกิจพิเศษ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์ของพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์
คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร
และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
นอกจากนี้ ก็ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ อีกหลายพระองค์

Image
พระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง
ในการถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ



พระอวสานกาล

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงประชวรวัณโรค มีพระอาการเรื้อรังมาเป็นเวลานาน
กระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ อันเป็นปีที่ทรงเจริญมายุครบ ๖๐ พรรษา
อาการประชวรกำเริบมากขึ้น
จึงเสด็จโดยทางเรือไปรักษาพระองค์ทางชายทะเลจนถึงจังหวัดสงขลา
พระอาการยิ่งทรุดหนักลง ประจักษ์แก่พระหฤทัยว่ากาลที่สุดใกล้จะถึง
จึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔

ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔
เวลา ๔ นาฬิกา ๓๕ นาทีก่อนเที่ยง (๑๐.๓๕ นาฬิกา) ก็สิ้นพระชนม์
สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา ๓ เดือน กับ ๒๑ วัน
ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๓๐ ปี
ทรงดำรงตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๑๐ ปี กับ ๗ เดือน ๒๘ วัน
ครั้นเมื่อถึงเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ถวายพระเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง

Image
พระโกศพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ประดิษฐานในท้องพระโรงพระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร



(มีต่อ ๗)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ค.2008, 6:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
อาคารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (หลังเก่า)


ประวัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปฏิบัติภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต
งานวิจัย งานบริการวิชาการแก่ชุมชน
และงานทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
โดยเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งวิทยาลัยขึ้น
ในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหารพระราชทานนามว่า “มหามกุฏราชวิทยาลัย”

โดยมีพระราชประสงค์เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร
ทรงอุทิศพระราชทรัพย์บำรุงประจำปีและก่อสร้างสถานศึกษาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้น

ครั้นเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัย
พระองค์ทรงรับมหามกุฏราชวิทยาลัยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงประจำปี
อาศัยพระราชประสงค์ดังกล่าวแล้วนั้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
จึงทรงตั้งวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น ๓ ประการ คือ

๑. เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณร
๒. เพื่อเป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและของต่างประเทศ
๓. เพื่อเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา

เมื่อกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยได้เปิดดำเนินการแล้ว
ปรากฏว่าพระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้รับผลเป็นที่น่าพอใจตลอดมา
เพื่อจะให้พระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้ผลดียิ่งขึ้น

ดังนั้น ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ในฐานะที่ทรงเป็นนายกกรรมการ มหามกุฏราชวิทยาลัยพร้อมด้วยพระเถระนุเถระ
จึงได้ทรงประกาศตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงในรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้น
โดยอาศัยนามว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้

๑. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม
๒. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศ
๓. เพื่อให้เป็นสถานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ
๔. เพื่อให้ภิกษุสามเณรมีความรู้และความสามารถในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน
๕. เพื่อให้ภิกษุสามเณรมีความรู้ และความสามารถในการค้นคว้า
โต้ตอบ หรืออภิปรายธรรมได้อย่างกว้างขวางแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
๖. เพื่อให้ภิกษุสามเณรได้เป็นกำลังสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา
และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะแก่กาลสมัย
๗. เพื่อความเจริญก้าวหน้า และคงอยู่ตลอดกาลนานของพระพุทธศาสนา

ทั้งนี้ ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า
“กรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย”
สถาบันการศึกษาแห่งนี้ ได้เริ่มเปิดให้การอบรมศึกษาแก่ภิกษุสามเณร
ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน

เหตุผลที่ทำให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ทรงพระดำริจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ นั้น
ปรากฏในรายงานประจำปีของมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่า

พระเถรานุเถระทั้งหลาย มีความประสงค์ในการจัดตั้งวิทยาลัย
เป็นที่ฝึกสอนพระปริยัติธรรมแลอักขร
สมัยของภิกษุสามเณรแลศิษย์วัดนั้น
ด้วยเห็นว่าธรรมเนียมในประเทศนี้
วัดทั้งหลายเป็นโรงเรียนที่ศึกษาวิชาความรู้ของราษฎรพลเมือง
ตั้งต้นแต่เรียนอักขระฝึกกิริยามารยาท
ตลอดจนถึงเรียนพระปริยัติธรรม

บรรดาราษฎรมีบุตรหลานก็นำเข้ามาฝากเป็นศิษย์วัด
ให้เรียนวิชาความรู้ จนถึงเติบใหญ่อุปสมบทเป็นภิกษุ
บางพวกก็ได้อยู่ไปจนเป็นคณาจารย์ปกครองกันต่อๆ ไป
บางพวกอยู่สมควรแก่ศรัทธาแล้ว
ก็ลาสิกขาสึกไปประกอบการหาเลี้ยงชีพของตนในทางฆราวาส
มีธรรมเนียมเป็นพื้นเมืองมาดังนี้

วิธีการปกครองของวัดนั้น ไม่ได้จัดเป็นชั้นตามสถานที่ว่า
สถานที่นั้นสอนชั้นสูง สถานที่นั้นสอนชั้นต่ำ
ดูท่วงทีเหมือนในวัดหนึ่งจะมีทั้งชั้นสูงชั้นต่ำ

คือราษฎรนำบุตรหลานเข้ามาฝากภิกษุสามเณร
ให้เรียนอักขระแลฝึกกริยามารยาทเป็นต้น
การฝึกสอนชั้นนี้จัดว่าเป็นชั้นต่ำ การฝึกสอนภิกษุสามเณรให้เล่าเรียนมคธภาษาก็ดี
ให้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมก็ดี การศึกษาชั้นนี้จัดว่าเป็นชั้นสูง
แต่การหาดำเนินไปโดยเรียบร้อยดังวิธีที่จัดไม่
เพราะข้อขัดขวางดังต่อไปนี้

ราษฎรผู้จะนำบุตรหลานมาฝากต่อภิกษุสามเณร
ในวัดนั้นๆ ก็ฝากในสำนักที่ตนรู้จักคุ้นเคย
ภิกษุสามเณรผู้เป็นอาจารย์นั้น บางรูปก็มีความรู้มาก บางรูปก็มีความรู้น้อย
ทั้งไม่มีหลักสูตรแห่งการเล่าเรียนว่าถึงไหนจัดเป็นใช้ได้
ความรู้ของศิษย์จึงไม่เสมอกัน
ตั้งแต่กรมศึกษาธิการจัดหลักสูตรสำหรับสอนความรู้ขึ้นแล้ว

การเล่าเรียนจึงมีกำหนด
แต่เพราะความรู้ของภิกษุสามเณรผู้เป็นอาจารย์ไม่เสมอกัน
ทั้งความนิยมของเด็กผู้เล่าเรียนก็ดี ของผู้ใหญ่ของเด็กก็ดี
เป็นแต่เพียงอ่านได้เขียนได้เท่านั้นก็พอประสงค์
ความรู้ของนักเรียนที่ออกจากวัดจึงยังจัดว่าถึงกำหนดแท้ไม่ได้

ส่วนการเล่าเรียนมคธภาษานั้นแต่เดิมไม่บังคับ แล้วแต่ใครสมัครจะเรียน
ในทุกวันนี้ความนิยมในการเล่าเรียนมคธภาษาน้อยลง
ด้วยผู้ที่มาบวชเป็นภิกษุสามเณรจะหาผู้ที่มีศรัทธาแท้เป็นอันยาก
ทั้งพื้นเดิมก็เป็นคนขัดสน
ต้องการแต่ความรู้ที่จะให้ผลเป็นเครื่องเลี้ยงชีพได้โดยประจักษ์ตา
ไม่ต้องการความรู้ที่เป็นอาภรณ์ของบุรุษ หรือความรู้ที่เป็นเครื่องเจริญผล
โดยเพิ่มสติปัญญาสามารถ แลวิธีฝึกสอนเด็กก็เป็นการเนิ่นช้า

หากจะมีผู้อุตสาหะเรียนบ้าง จะหาอาจารย์ผู้บอกให้รู้จริงเห็นจริงก็ได้ยาก
ทั้งผู้เรียนจะชำนาญในภาษาของตนมาก่อนก็ได้โดยยาก
หลักสูตรก็มากชั้น แลการสอบความรู้ก็ห่าง

ต่อล่วงหลายปีจึงสอบครั้งหนึ่ง ด้วยอาศัยเหตุเหล่านี้
จึงมีอาจารย์สอนให้รู้จริงเห็นจริงได้น้อยตัว
เรียนไม่ทันรู้ละทิ้งไปเสียก็มี บางทีเรียนรู้พอจะสอบความรู้ได้
อยู่ไม่ถึงกาลสอบก็มี เข้าสอบจนเป็นบาเรียนแล้วก็มี
แต่จะหาผู้สอบได้จนจบหลักสูตรได้น้อยถึงนับตัวถ้วน
เพราะหลักสูตรที่ตั้งไว้มากเกิน เมื่อความเล่าเรียนเสื่อมทรามไป

ผู้เป็นบาเรียนเพียง ๔ ประโยค ๕ ประโยค
ก็กว้างขวางมีผู้นับหน้าถือตาแสวงหาลาภผลเลี้ยงตัว พอตั้งตัวได้แล้ว
ก็ไม่คิดที่จะเป็นนักเรียนต่อไป บางรูปก็รับตำแหน่งพระราชาคณะปกครองหมู่คณะเสีย
ในระหว่างยังไม่ทันได้แปลจบหลักสูตร
อาศัยเหตุนี้ การเรียนมคธภาษาจึงไม่เจริญทันเวลาที่เป็นอยู่บัดนี้

ส่วนการเรียนพระปริยัติธรรมนั้นเป็น ๒ ชั้น คือชั้นต่ำ ๑ ชั้นสูง ๑
การให้โอวาทสั่งสอน แลให้ศึกษาในตำรับภาษาไทยจัดเป็นชั้นต่ำ
สำหรับภิกษุสามเณรบวชใหม่ ตลอดไปจนถึงผู้ไม่ได้เรียนมคธภาษา

การอ่านการทรงภาษาบาลีไตรปิฎกจัดเป็นชั้นสูง สำหรับผู้รู้ภาษามคธ
การฝึกสอนชั้นต่ำไม่เจริญได้
เพราะผู้ที่เข้ามาบวชไม่ชำนาญในภาษาของตนทั่วทุกคน
ฟังคำสอนก็จำไม่ได้ อ่านหนังสือก็ไม่ค่อยเข้าใจ แลการฝึกสอนชั้นสูงไม่เจริญได้

โดยเหตุที่หลักสูตรสำหรับมคธภาษาเป็นอย่างหนึ่ง
พระปริยัติธรรมที่จำเป็นจะต้องรู้เป็นอย่างหนึ่ง
ผู้เล่าเรียนๆ มคธภาษาสอบความรู้ได้แล้ว
ยังต้องวกมาดูบาลีไตรปิฎกอีกเป็นสองซ้ำอยู่
จะหาผู้สมัครเรียนแต่ภาษามคธก็ได้โดยยากแล้ว
จะหาผู้รู้ภาษามคธแล้วศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป
ก็ต้องได้โดยยากเป็นธรรมดา

ถ้าจะคิดบำรุงวิทยาความรู้ให้สมควรกับประเพณี
ที่เป็นมาแต่เดิมแลให้เจริญทันเวลา
จำเป็นที่จะต้องคิดจัดการแก้ไขตามสมควรแก่เวลา

ในการศึกษาของศิษย์วัด จะต้องจัดให้เด็กมีที่เรียนได้ตลอดหลักสูตรของ
กรมศึกษาธิการทั่วทุกคน แลจะต้องฝึกฝนให้ประพฤติกิริยามารยาทให้เรียบร้อย

การเรียนมคธภาษาจะต้องจัดหลักสูตรให้น้อยชั้นลง
แต่ย่นความรู้ให้จุลงในชั้นนั้นๆ ให้เป็นคลองเดียวกัน
กับการเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูงด้วย
ต้องบังคับบรรดาภิกษุสามเณรที่มีอายุควรแก่การเล่าเรียน
ให้เล่าเรียนถ้วนทั่วทุกรูป คิดแก้ไขวิธีสอนให้เรียนง่ายขึ้นให้รู้ได้จริง
ให้จบหลักสูตรได้ก่อนที่นักเรียนจะเป็นคนกว้างขวางจนตั้งตัวได้
จะต้องจัดการสอบความรู้ทุกปี
เปลี่ยนแปลงวิธีสอบให้เป็นไปโดยสะดวก
มีใช้เขียนแทนแปลด้วยปากเป็นต้น

การฝึกสอนพระปริยัติธรรมทั้งสองชั้น
เมื่อการฝึกสอนภาษาไทยแลมคธภาษาเจริญแล้ว ก็คงเจริญตามกัน
เมื่อสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นไว้เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ในคณะธรรมยุติกนิกาย
พระเถรานุเถระทั้งหลายได้ช่องอันดี จึงได้จัดการเปลี่ยนแปลง
วิธีเล่าเรียนในคณะตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๒ จนถึงบัดนี้


Image

Image

Image
“กรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ชุดแรก พ.ศ. ๒๔๓๖”
ทรงฉายร่วมกับพระเถระ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖)


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้ >>> แถวหน้า จากซ้าย :
• พระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย)
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร

เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระราชกวี

• หม่อมเจ้าพระศรีสุคตคัตยานุวัตร
(หม่อมเจ้าพร้อม ลดาวัลย์ ธมฺมรโต)
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร


• สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)

เมื่อครั้งยังทรงเป็นที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
ทรงเป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ชุดแรก

• สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

เมื่อครั้งยังทรงเป็นที่ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต
[เสมอพระราชาคณะชั้นเทพ]

• พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก)
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้ >>> แถวที่ ๒ จากซ้าย :
• พระราชเมธี (ท้วม กณฺณวโร)
วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร

เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูปลัดอุทิจยานุสาสน์

• พระธรรมราชานุวัตร (ต่าย วารโณ)
[เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษ]*
วัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระธรรมราชานุวัตร
[พระราชาคณะผู้ใหญ่]**

• พระสมุทรมุนี (เนตร สงฺกนฺโต)
วัดเครือวัลย์ วรวิหาร


• พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร

เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูวิจิตรธรรมภาณี

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้ >>> แถวที่ ๓ จากซ้าย :
• พระราชมุนี (ชม สุสมาจาโร)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)

เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระครูปลัดจุลานุนายก

• พระธรรมราชานุวัตร (แสง พุทฺธทตฺโต)
วัดนิเวศธรรมประวัติ ราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

เมื่อครั้งยังเป็นที่ พระอมราภิรักขิต

• สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)

เมื่อครั้งยังทรงเป็นที่ พระสุคุณคณาภรณ์
[พระราชาคณะชั้นสามัญ]


------------------

หมายเหตุ :
* พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะอรัญวาสี (เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษ) ในราชทินนามเดิมที่ พระธรรมราชานุวัตร (ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม ๑๕, ตอน ๓๔, ๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๗, หน้า ๓๕๒) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/034/351.PDF

** พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระธรรมราชานุวัตร (ราชกิจจานุเบกษา, สำเนาสัญญาบัตรพระสงฆ์, เล่ม ๓, ตอน ๔๓, ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๐๔, หน้า ๓๖๐) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/043/360_1.PDF

ดอกไม้ ดอกไม้ >>> เพิ่มเติม : พระสมุทรมุนี (เนตร สงฺกนฺโต) ธุดงค์ไปพุทธคยา

...ฉัน (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ไปพุทธคยาครั้งนั้น (เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ ภายหลังสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จไปมฤคทายวัน ณ สารนาถ ได้ ๑๙ ปี) นึกคาดไปว่าจะได้เกียรติเป็นไทยคนแรกที่ได้ไปสืบพระศาสนาถึงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระโพธิญาณ เหมือนเช่นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จไปสืบศาสนาถึงมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศตั้งพระพุทธศาสนา แต่เมื่อไปถึงวัดพุทธคยาพอเข้าประตูวิหาร เห็นผ้ากราบพระปักตรางานหลวงในเมืองไทยผูกห้อยอยู่ผืนหนึ่งก็สิ้นกระหยิ่มใจ ด้วยมีพระภิกษุไทยองค์ใดองค์หนึ่งได้ไปถึงเสียก่อนแล้ว พิจารณาดูหนังสือไทยที่เขียนไว้กับผ้ากราบ บอกชื่อว่า “พระสังกันตเนตรได้มาบูชา” ฉันก็รู้จักตัว คือพระสมุห์เนตร วัดเครือวัลย์ฯ ภายหลังมาได้เป็นพระราชาคณะที่ พระสมุทรมุนี ซึ่งเป็นพระชอบเที่ยวธุดงค์มาแต่ยังหนุ่มจนขึ้นชื่อลือนาม แต่ฉันไม่ได้คาดว่าจะสามารถไปได้ถึงพุทธคยาในอินเดียในสมัยนั้น ก็ประหลาดใจ...

ดอกไม้ ข้อสังเกต : “พระสังกันตเนตร” มาจาก นามฉายา (สงฺกนฺโต, สังกันโต) + นามเดิม (เนตร)

สาธุ ที่มา : หนังสือ นิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
นิทานที่ ๗ เรื่องสืบพระศาสนาในอินเดีย

https://vajirayana.org/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%97-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2


(มีต่อ ๘)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ค.2008, 6:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร



ในการจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
ได้ทรงวางวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการ คือ

๑. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ธรรมยุกติกนิกาย
๒. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาวิทยา ซึ่งเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศแห่งกุลบุตร
๓. เพื่อเป็นสถานที่จัดการสั่งสอนพระพุทธศาสนา


และพระองค์ได้ทรงอธิบายขยายความของวัตถุประสงค์ทั้ง ๓ ประการไว้ดังนี้

๑. การเล่าเรียนของภิกษุสามเณรนั้นประเพณีเดิมเคยเรียนมูลปกรณ์ก่อน
แล้วจึงเรียนอรรถกถาธรรมบท มังคลัตถทีปนี สารัตถสังคหเป็นต้น
ถึงกำหนด ๓ ปี มีการสอบปริยัติธรรม ครั้งหนึ่ง บางคราวถ้าขัดข้องก็เลื่อนออกไป
ถึง ๖ ปีครั้งหนึ่ง หนังสือสำหรับสอบนั้นมี ๒ อย่าง
สำหรับฝ่ายไทยอย่าง ๑ สำหรับฝ่ายรามัญอย่าง ๑

สำหรับฝ่ายไทยนั้นจัดเป็น ๙ ชั้น
อรรถกถาธรรมบทแบ่งเป็น ๓ ชั้น

คือ ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ มังคลัตถทีปนีบั้นต้นชั้นที่ ๔
สารัตถสังคหชั้นที่ ๕ สารัตถทีปนีฏีกาพระวินัยชั้นที่ ๙
ภิกษุสามเณรผู้จะสอบความรู้ จับประโยคแล้ว
รับหนังสือตามประโยคมาดูเสร็จแล้ว
เข้าไปแปลในที่ประชุมพระราชาคณะด้วยปาก ตามเวลาที่กำหนดให้
ถ้าแปลได้ตลอดประโยคในเวลาที่กำหนดไว้นั้น
จัดเป็นได้ ถ้าครบกำหนดเวลาแล้วยังแปลไม่ตลอดประโยค จัดเป็นตก

ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ชั้นที่ ๓ ขึ้นไป จึงนับว่าเป็น “เปรียญ”
แม้สอบชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ได้แล้ว ถ้าตกชั้นที่ ๓ ก็นับว่าตก
ถึงคราวหน้าจะเข้าแปลใหม่ต้องแปลตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ขึ้นไปอีก
ฝ่ายรามัญนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น บาลีมหาวิภังค์ คืออาทิกัณฑ์
หรือปาจิตตีย์อย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะเลือก

เป็นชั้นที่ ๑ บาลีมหาวิภังค์หรือจุลลวัคค์
อย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะเลือก
เป็นชั้นที่ ๒ บาลีมุตตกวินัยวินิจฉัย
เป็นชั้นที่ ๓ ปฐมสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย
เป็นชั้นที่ ๔ แปลเป็นภาษารามัญ แต่ต้องบอกสัมพันธ์ด้วย


ถ้าแปลได้ตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไป จึงนับว่าเป็น “เปรียญ”
เปรียญเหล่านี้ถ้ายังไม่ได้แปลถึงชั้นที่สุด
หรือยังไม่ได้รับตำแหน่งยศเป็นพระราชาคณะ
แม้ถึงจะมีพรรษายุกาลมากก็ยังนับว่ามีหน้าที่จะต้องแปลชั้นสูงขึ้นไปอีก
ต่อเมื่อใดแปลถึงชั้นที่สุดแล้วก็ดี ได้รับตำแหน่งยศเป็นพระราชาคณะ
ในระหว่างนั้นก็ดี จึงนับว่าสิ้นเขตที่จะแปลหนังสืออีก

ภิกษุสามเณรผู้เริ่มเรียน กว่าจะเรียนจบมูลปกรณ์ก็ช้านาน
มักเป็นที่ระอาเบื่อหน่ายแล้วละทิ้งเสีย แม้ถึงเรียนตลอดบ้างก็ไม่เข้าใจตลอดไปได้
เพราะธรรมดาคนเรียนใหม่ ไม่อาจเข้าใจฉบับเรียนที่พิสดารให้ตลอดไปได้
จะกำหนดจำได้แต่เพียงพอแก่สติปัญญา
เหมือนเด็กน้อยที่ผู้ใหญ่ป้อนอาหารคำโตกว่าปากขึ้นไป
รับบริโภคได้พอประมาณปากของตน

ฉะนั้น ท่านผู้ชำนาญในวิธีสอนบางท่านจึงได้คิดแต่งวิธีสอนผู้เริ่มเรียนใหม่
เรียกชื่อว่าบทมาลา ย่อบ้าง พิสดารบ้าง ตามความประสงค์ของท่าน
สำหรับสอนแทนมูลปกรณ์ เพื่อจะให้เวลาเรียนเร็วขึ้น

ส่วนการเรียนนั้น สถานที่หนึ่งก็มีครูคนหนึ่งสอนนักเรียนทุกชั้นไม่ได้ปันเป็นแผนก
จึงหาครูที่มีความรู้พอจะสอนได้ตลอดเป็นอันยาก
ทั้งเป็นที่ลำบากของครูผู้สอนจะสอนนั้นด้วย
ส่วนกำหนดเวลาสอบความรู้ ๓ ปีครั้งหนึ่ง หรือ ๖ ปีครั้งหนึ่งนั้น
เป็นการนาน ผู้ที่เรียนมีความรู้พอจะสอบได้
แต่ยังไม่ถึงสมัยที่จะสอบ หรือผู้ที่สอบตกแล้ว
มักสิ้นหวังที่จะรอคอยคราวสอบครั้งหน้า
แลนักเรียนคนหนึ่งสอบคราวหนึ่งก็ได้ไม่กี่ชั้นนัก
จึงไม่ใคร่จะมีเปรียญประโยคสูง จะหาครูที่สอนหนังสือชั้นสูงๆ
ได้ก็ยากเข้าทุกที ถึงจะมีผู้สอบชั้นสูงได้บ้าง
ก็คงต้องรับตำแหน่งยศพระราชาคณะเสียในระหว่างยังไม่ทันสอบชั้นสูง
ด้วยเหตุจำเป็น มีจะต้องเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้น

เมื่อเป็นฉะนี้ ก็ไม่ค่อยมีนักเรียนที่สอบได้ถึงชั้นที่สุดตามแบบที่ตั้งไว้
ส่วนการแปลด้วยปากนั้น สอบวันหนึ่งไม่ได้กี่รูป
กว่าจะจบการสอบคราวหนึ่งถึง ๓ เดือน
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะกำหนดการสอบให้เร็วเข้ามาก็ไม่ได้อยู่เอง
แลเปรียญที่สอบความรู้ได้ถึงชั้นนั้นๆ แล้ว
ก็มีความรู้พออ่านหนังสือเข้าใจได้เท่านั้น
ผู้สอบยังทราบไม่ได้ว่าเป็นผู้ทรงธรรมวินัย
สมควรจะปกครองหมู่คณะแล้วหรือไม่
อาศัยเหตุผลที่กล่าวมานี้ การเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษุสามเณร
จึงนับว่าเจริญดีแล้วยังไม่ได้

เพื่อจะคิดแก้ไขให้การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษะสามเณร
เจริญดีขึ้นทันเวลาที่เป็นอยู่บัดนี้
วิทยาลัยจึงได้จัดวิธีสอนแลสอบความรู้ดังนี้ ในเบื้องต้น
ให้เรียนบาลีไวยากรณ์ ซึ่งเป็นหนังสือชนิดเดียวกับบทมาลา แล้วจึงขึ้นคัมภีร์ต่อไป
แบบที่สำหรับสอบความรู้นั้น บาลีไวยากรณ์เป็นชั้นนักเรียนที่ ๓
อรรถกถาธรรมบท ความนิทาน เป็นชั้นนักเรียนที่ ๒
แก้กถาธรรมบทบั้นปลาย เป็นนักเรียนชั้นที่ ๑

แก้กถาธรรมบทบั้นต้น เป็นชั้นเปรียญที่ ๓
(ต่อไปถ้ามีกำลังจะพิมพ์มังคลัตถทีปนีได้ จะใช้เป็นแบบสำหรับสอบชั้นเปรียญที่ ๓)
พระบาลีพระวินัยมหาวัคค์และจุลลวังคค์ กับบาลีพระอภิธรรมบางเล่ม
เป็นชั้นเปรียญที่ ๑ กำหนดสอบไล่ทุกปี วิธีสอบไล่นั้นใช้เขียน
แต่ยอมให้ผิดได้ไม่เกินกำหนด ถ้าได้ชั้นไหนแล้วก็เป็นอันได้
วิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตให้สอบไล่ได้โดยวิธีที่จัดนี้ เป็นส่วนพิเศษ

๒. การที่ประชุมชนจะเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนมีอยู่ ๓ ทาง
คือ ด้วยได้ฟังธรรมเทศนา ด้วยได้สนทนาธรรม ด้วยได้อ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอน

การเทศนานั้นมีที่วัดตามกำหนดวันพระบ้าง มีที่โรงธรรมในที่นั้นๆ บ้าง
มีด้วยกิจนิมนต์ในมังคลามังคลสมัยบ้าง เทศที่จัดตามกำหนดวันพระนั้น
จะได้ฟังก็แค่คนที่เข้าวัดเท่านั้น
ส่วนเทศนาในโรงธรรมนั้นตั้งขึ้นที่ไหนก็มีแต่คนในจังหวัดนั้น
และมักจะเทศนาแต่เรื่องนิทานนิยายอะไรต่างๆ
ไม่เป็นทางที่จะให้เข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น
การเทศนาด้วยกิจนิมนต์ในมังคลามังคลสมัยนั้นก็มักมีแบบไว้สำหรับพิธีนั้นๆ
ใครเคยฟังเรื่องใดก็ฟังเรื่องนั้นซ้ำๆ อยู่นั่น ไม่ค่อยจะได้ฟังเรื่องที่แปลกจากนั้น
ส่วนการสนทนาธรรมนั้น เป็นทางที่จะเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ชัดเจน
เพราะผู้ฟังถามข้อที่ตัวไม่เข้าใจหรือสงสัยอยู่ได้
แต่จะหาผู้ที่เข้าใจในการสนทนานี้ยากยิ่งนัก
ส่วนการอ่านหนังสือที่เป็นคำสั่งสอนนั้น
เป็นที่เข้าใจในพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าฟังเทศนา
เพราะอ่านเองมีเวลาที่จะกำหนดตรึกตรองได้ตามชอบใจ
และถ้าจำได้แล้วลืมเสียกลับดูอีกก็ได้
แต่หนังสือที่สำหรับจะอ่านเช่นนั้นยังไม่มีแพร่หลายพอที่ประชุมชนจะแสวงหาไว้อ่านได้
หนังสือที่มีอยู่แล้วก็ยังไม่ได้แสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาให้สิ้นเชิง
เป็นแต่แสดงบางข้อความตามประสงค์ของผู้แต่งหนังสือนั้นๆ
ความยินดีในธรรมของคนก็ต่างกัน

บางคนยินดีในธรรมที่ลึกซึ้ง บางคนยินดีในธรรมที่ไม่ลึกซึ้ง
ถ้าถูกอัธยาศัยก็พอใจอ่าน ถ้าไม่ถูกอัธยาศัยก็ไม่พอใจอ่าน
หนังสือสำหรับสั่งสอนประชุมชน
ควรจะมีหลายอย่างตามอัธยาศัยของคนต่างๆ กัน


ในการที่จะแนะนำให้ประชุมชนเข้าใจในพระพุทธศาสนาชัดเจนดีนั้น
เป็นกิจที่วิทยาลัยควรจุด ๒ อย่าง คือ
มีธรรมเทศนาที่วัดตามกำหนดวันพระอย่างหนึ่ง
จัดพิมพ์หนังสือแสดงคำสั่งสอนอย่างหนึ่ง

ส่วนการมีเทศนาตามกำหนดวันพระนั้น ได้เคยมีเป็นประเพณีของวัดมาแล้ว
ส่วนการพิมพ์หนังสือแสดงคำสอนนั้นวิทยาลัยจะจัดขึ้นตามกำลังที่จะจัดได้

๓. การฝึกสอนเด็กชาวเมืองนั้น วิทยาลัยจะจัดให้มีโรงเรียนสำหรับสอนหนังสือไทย
แลเลขแลฝึกกิริยาเด็กให้เรียบร้อย สอนให้รู้จักดีชั่วตามสมควร

ใน ๓ ข้อที่กล่าวแล้วนี้ การเล่าเรียนของภิกษุสามเณร วิทยาลัยได้จัดแล้ว
ส่วนอีก ๒ ข้อนั้นอาจจัดได้เมื่อใด ก็จะจัดเมื่อนั้นตามลำดับ

จากพระอธิบายข้างต้นนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงชี้ให้เห็นว่า
การศึกษาของพระสงฆ์เท่าที่ผ่านมาไม่เจริญก้าวหน้า
เพราะสาเหตุหลายประการ กล่าวคือ

(๑) ตำราเรียนบางส่วนไม่เหมาะสม ทำให้ผู้เรียนต้องใช้เวลาเรียนนานเกินจำเป็น
จนผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเรียนไปไม่ค่อยตลอด
(๒) เนื่องจากตำราเรียนยากเกินความจำเป็น
แม้ผู้ที่เรียนผ่านไปได้ก็มักจะไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน
(๓) การเรียนไม่มีการจัดเป็นชั้นอย่างเป็นระบบ ครูคนเดียวสอนหมดทุกอย่าง
เป็นเหตุให้หาครูที่สอนได้อย่างสมบูรณ์ตามหลักสูตรยาก
(๔) การสอบไม่มีกำหนดที่แน่นอนและทิ้งระยะนานเกินไป
คือ ๓ ปีครั้งบ้าง ๖ ปีครั้งบ้าง
(๕) วิธีการสอบยังล้าหลัง คือสอบด้วยวิธีแปลด้วยปาก
ซึ่งการสอบแต่ละครั้งต้องใช้เวลามาก แต่สอบนักเรียนได้จำนวนน้อยคน

เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ดังกล่าวนี้นั่นเอง
ที่ทำให้ผู้ที่ผ่านการสอบได้แล้วก็มั่นใจไม่ได้ว่าเป็นผู้รู้พระธรรมวินัยดี
เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจในสิ่งที่ตนเรียน
และเรื่องที่เรียนในชั้นนั้นๆ บางทีก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นจะต้องรู้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้
หากกล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นปัญหาเกี่ยวกับวิธีสอนและวิธีสอบนั่นเอง

วิธีที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงพระดำริขึ้น
เพื่อแก้ไขการศึกษาของภิกษุสามเณรให้เจริญทันกาลสมัย
ดังที่ได้จัดขึ้นในมหามกุฏราชวิทยาลัย
ก็คือในด้านการสอนนั้นจัดหลักสูตรให้มีน้อยชั้น
สามารถเรียนให้จบได้ในเวลาอันสั้น เรียนได้ง่ายขึ้น
แต่ได้ความรู้พอเพียงแก่ความต้องการ
ส่วนการสอบนั้น ให้มีการสอบทุกปีและสอบด้วยวิธีเขียน
กล่าวโดยสรุปก็คือจัดหลักสูตรให้เหมาะสม ใช้เวลาเรียนสั้น
เรียนง่ายได้ความรู้มาก และวัดผลได้แม่นยำ


(มีต่อ ๙)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ค.2008, 6:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย


ข้อมูลพื้นฐานปัจจุบันของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ชื่อมหาวิทยาลัย

ภาษาไทย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อักษรย่อ คือ มมร.
ภาษาอังกฤษ : Mahamakut Buddhist University อักษรย่อ คือ MBU

ศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุเส
ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทพและมนุษย์

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีส้ม หมายถึง สีประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี อันเป็นวันพระราชสมภพ

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นโพธิ์ ต้นไม้ที่ประทับตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คติพจน์ประจำตัวนักศึกษา

ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

พระมหามงกุฏ :
หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
พระผู้ทรงเป็นที่มาแห่งนาม “มหามกุฏราชวิทยาลัย”

พระเกี้ยวประดิษฐานแบบหมอนรอง :
หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
ซึ่งทรงเป็นผู้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย
และพระราชทานทรัพย์บำรุงปีละ ๖๐ ชั่ง

หนังสือ :
หมายถึง คัมภีร์และตำราทางพระพุทธศาสนา
โดยที่มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์และตำรา
ทางพระพุทธศาสนา สำหรับส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ปากกาปากไก่ ดินสอ และม้วนกระดาษ :
หมายถึง อุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดถึงอุปกรณ์ในการผลิตคัมภีร์
และตำราทางพระพุทธศาสนา เพราะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ทำหน้าที่เป็นทั้งสถานศึกษาและแหล่งผลิตตำราทางพระพุทธศาสนา

ช่อดอกไม้แย้มกลีบ ในทางการศึกษา :
หมายถึง ความเบ่งบานแห่งสติปัญญาและวิทยาความรู้
แต่ในทางพระศาสนาหมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณ
ที่ฟุ้งขจรไปดุจกลิ่นแห่งดอกไม้โดยมีความหมายรวม
คือความเจริญรุ่งเรืองและเกียรติยศ อิสริยยศ บริวารยศ

พานรองรับหนังสือหรือคัมภีร์ :
หมายถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นสถาบันเพื่อความมั่นคง
และแพร่หลายของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

วงรัศมี :
หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
ที่บังเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมหามกุฏราชวิทยาลัย
ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ไทย

มหามกุฏราชวิทยาลัย :
หมายถึง สถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี, โท, เอก
ปัจจุบัน คือ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”

วัตถุประสงค์หลัก (Objectives)

(๑) ผลิตบัณฑิตพระภิกษุ สามเณร ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
ตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ

(๒) ผลิตบัณฑิตคฤหัสถ์ทุกคน ให้เป็นคนดี คือ คิดดี พูดดี และทำดี
ตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา

(๓) บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์
เป็นประจักษ์ชัดเจน ต่อสังคมไทยและสังคมโลก

(๔) ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งทางสังคมศาสตร์
และมีคุณภาพทั้งด้านความรู้และความประพฤติ

(๕) ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา
การเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท

(๖) ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งสมานฉันท์
ความเอื้ออาทรต่อกันและความสามัคคี โดยใช้หลักสาราณียธรรมและพรหมวิหารธรรม

(๗) สร้างระบบการบริหารองค์การให้เป็นองค์การที่มีลักษณะของความเป็น
มหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนาและมีมาตรฐานระดับสากล

พันธกิจ (Mission Statements)

(๑) ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนาให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย
และกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น

(๒) ให้บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น
โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม
การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข
การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา

(๓) วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา
เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ๆ
ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย

(๔) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น
รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม

ปณิธาน (Aspiration)

มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
ตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม
ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ


สาธุ สาธุ สาธุ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

หมายเหตุ : โปรดติดตามอ่าน

ประวัติ...วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
วัดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายแห่งแรกในประเทศไทย

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19342

ประมวลพระรูป “สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=50205

ครบ ๑๕๐ ปี สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=29908

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สาธุ สาธุ สาธุ รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจาก ::
(๑) หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ)
วัดบวรนิเวศวิหาร, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
(๒) หนังสือ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราชกรุงรัตนโกสินทร์,
โกวิท ตั้งตรงจิตร เรียบเรียง, สวีริยาศาสน์ จัดพิมพ์, ๒๕๔๙.
(๓) ประวัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
และประวัติมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

จากเว็บไซต์ http://www.mbu.ac.th/
(๔) หนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร, หนังสือศิลปกรรมวัดบวรนิเวศวิหาร
จากเว็บไซต์ http://www.watbowon.com/


เทียน ••• ประวัติตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไทย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=19521

เทียน ระยะเวลาการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (พระองค์ใหม่)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=49539

เทียน ประวัติ “คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=47044
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 14 ม.ค. 2013, 9:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดอกไม้ กระทู้ในบอร์ดใหม่ ดอกไม้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=21082
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง