Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เจ้าคุณโรเบิร์ต ศิษย์ฝรั่งรูปแรกของหลวงพ่อชา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2007, 8:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เจ้าคุณโรเบิร์ต ศิษย์ฝรั่งรูปแรกของหลวงพ่อชา

พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ) เจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ศิษย์ฝรั่งรูปแรกของหลวงพ่อชา สุภทฺโท ดีกรีปริญญาโทรูปนี้ เป็นอดีตนาวิกโยธินหนุ่มชาวอเมริกัน นามว่า “โรเบิร์ต สุเมโธ” ที่หันมาสนใจใฝ่รู้เรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่ครอบครัวนับถือศาสนาคริสต์ และเข้าโบสถ์มาตั้งแต่เด็ก แต่ทว่าศรัทธาก็ยังไม่เกิด กระทั่งได้สมัครเข้าเป็นทหารเรือ และได้ไปประจำการที่ญี่ปุ่น มีโอกาสได้ศึกษาพระพุทธศาสนานิกายเซนจากการอ่านตำรับตำราต่างๆ แต่ก็ยังมิได้ลงมือปฏิบัติ กระทั่งออกจากกองทัพเรือ และกลับไปเรียนต่อจนจบปริญญาโท

ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสมาเมืองไทย และได้รู้ว่าที่กรุงเทพฯ มีอาจารย์สอนกรรมฐานหลายรูป ในปี 2509 ก็ได้มาเป็นอาสาสมัครครูสอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้มีโอกาสไปศึกษาปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม ที่วัดมหาธาตุฯ อยู่ราว 6 เดือนก็เกิดความรู้สึกว่าอยากบวช ดังนั้น ในปีนั้นเองจึงได้ไปบวชที่จังหวัดหนองคาย พระอุปัชฌาย์ในสมัยนั้นคือ พระราชปรีชาญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย ปีแรกได้บรรพชาเป็นสามเณรก่อน และฝึกหัดปฏิบัติกรรมฐาน ต่อมาจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และพระอุปัชฌาย์ได้ส่งท่านสุเมโธไปจำพรรษากับพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) ที่วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

ที่วัดหนองป่าพง ท่านสุเมโธได้มีโอกาสศึกษาและเรียนรู้วิถีการปฏิบัติธรรมจากหลวงพ่อชามากมาย ขณะเดียวกันก็มีชาวต่างประเทศเข้ามาบวชและศึกษาปฏิบัติธรรมในวัดหนองป่าพงมากขึ้น ดังนั้น ในปี 2518 หลวงพ่อชาจึงได้จัดตั้ง “วัดป่านานาชาติ” ขึ้นที่บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดหนองป่าพง ราว 8 กิโลเมตร โดยให้ท่านสุเมโธเป็นผู้ดูแล

Image
ป้ายชื่อวัดป่านานาชาติ


หลังจากนั้นอีก 1 ปี ท่านสุเมโธก็ได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดที่อเมริกา ขากลับได้แวะพักที่พุทธวิหารธรรมประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปฏิปทาและวัตรปฏิบัติของท่านก่อให้เกิดความเลื่อมใสแก่คณะผู้ศรัทธาที่นั่น จึงได้นิมนต์ท่านให้พำนักอยู่ เพื่อเป็นผู้นำในการปฏิบัติ แต่ท่านสุเมโธบอกว่าจะต้องนำไปกราบเรียนครูบาอาจารย์ คือหลวงพ่อชาก่อน

ต่อมาในปี 2520 ท่านสุเมโธและหลวงพ่อชาก็รับนิมนต์ไปเผยแผ่ธรรมที่อังกฤษ หลังจากนั้นหลวงพ่อชาก็ให้ท่านสุเมโธอยู่เผยแผ่ธรรมที่อังกฤษต่อไป ตลอด 30 ปีแห่งการเผยแผ่ธรรม และการจัดตั้งวัดอมราวดีในประเทศอังกฤษ รวมทั้งการบริหารจัดการดูแล แม้เป็นงานที่หนักเหนื่อย และมีอุปสรรคมากมายเพียงใด แต่ด้วยความมานะอดทนและมุ่งมั่นในการทำงานให้พระศาสนาของพระสุเมโธ ทำให้งานทุกอย่างสำเร็จลงด้วยดี

ในปี 2547 พระสุเมโธก็เป็น 1 ใน พระสงฆ์ 73 รูปที่ได้รับพระราชทานแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์สำหรับพระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนาและประเทศชาติเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 12 ส.ค. 2547 พระสุเมโธได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ ‘พระราชสุเมธาจารย’์

เมื่อเดือนพฤษภาคม 50 ที่ผ่านมา พระราชสุเมธาจารย์ ได้เดินทางมาร่วมงานประชุมชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่ 4 เนื่องในวันวิสาขบูชา ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

รายการธรรมาภิวัฒน์ ซึ่งออกอากาศทาง ASTV News 1 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น. โดยมีอัญชลีพร กุสุมภ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้นิมนต์ท่านมาร่วมพูดคุยในรายการ ซึ่ง ‘ธรรมลีลา’ ขอนำมาเรียบเรียงและถ่ายทอดบางส่วนในห้องสนทนา ดังนี้

Image
หลวงพ่อชากับพระสุเมโธที่วัดหนองป่าพง


• ตอนนั้นพระอาจารย์ก็ยังพูดภาษาไทยไม่ได้ หลวงพ่อชาก็พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ทำไมสามารถที่จะสื่อกันจนกระทั่งศรัทธายอมเป็นลูกศิษย์ แล้วก็ทำอะไรต่อมิอะไรให้กับหลวงพ่อชาได้เยอะแยะ

ได้ไปกราบนมัสการพระอาจารย์หลายรูปแล้ว ก่อนที่บวชเป็นพระนะ แต่ไม่ใช่ที่จะเอาเป็นอาจารย์ของเราเองนะ ศรัทธายังไม่เกิด ได้พบหลวงพ่อชาก็เลยไม่ต้องไปหาองค์ไหน อันนี้อธิบายไม่ได้เหมือนกัน

• แค่พบก็รู้สึกศรัทธาเลยหรือ

ศรัทธา และท่านก็มีวิธีที่จะทำให้เราได้ดูอารมณ์ของเราได้ ครั้งแรกเป็นปัญหาในเรื่องภาษาด้วย เราเป็นฝรั่งด้วย ไม่รู้ประเพณี ไม่รู้วินัย ไม่รู้อะไรเลย ต้องสอนแบบคนโง่ๆ อีกอย่างหนึ่งไม่รู้จักอาหารอีสานอะไรสักอย่าง มันต่างกันทำให้มีอารมณ์แบบเนกกาทีฟ โมโหง่าย บางทีก็สับสนวุ่นวายทั้งกายและใจ ก็รับรู้นะว่ามีอารมณ์อย่างนั้น ท่านจะแนะนำให้เราดูอารมณ์นั้น เห็นเป็นอารมณ์แบบอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้ที่จะปล่อยได้ ที่จะเป็นผู้รู้อารมณ์ ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ ท่านก็พูดอย่างนี้

• หลังจากนั้นก็ไปเผยแพร่ธรรมในอังกฤษ หลวงพ่อชาไปด้วยใช่ไหมคะ

หลวงพ่อชาก็ไปด้วยครั้งแรก รับนิมนต์จากชาวอังกฤษ มูลนิธิพุทธศาสนากลุ่มกรุงลอนดอนก็นิมนต์ และหลวงพ่อชาก็ยังสงสัยว่าจะอยู่ได้ไหม มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์

ท่านก็ไปด้วย และก็เห็นใจคนชาวอังกฤษนะ ที่มูลนิธิที่นั่นด้วย ท่านก็อยู่ไม่นาน ได้เดือนหนึ่ง แล้วท่านก็กลับมาที่เมืองไทยจำพรรษา ปล่อยให้เราทำงานทำหน้าที่ต่อ

• หลักปฏิบัติที่สำคัญในวัดอมราวดี คือการฝึกวิปัสสนาใช่ไหม

ส่วนมากฝรั่งเขาสนใจวิปัสสนามาก วิปัสสนาเป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าแนะนำให้พ้นทุกข์ได้ ในประเทศอังกฤษทุกวันนี้ก็มีความอุดมสมบูรณ์ในวัตถุภายนอก แต่ยังเป็นทุกข์อยู่ในจิตใจของประชาชน ไม่มีความสุขเท่าไหร่

• มีสตางค์อย่างเดียว แล้วเขาก็จะเดินเข้ามาแล้ว ถามว่าทำยังไงให้เขามีความสุขจริงๆ ใช่ไหมคะ

ก็เป็นบางคน ก็มีความหยั่งรู้ว่าจะปฏิบัติเองได้ แล้วที่จะไปหาจิตแพทย์ ยาระงับประสาท หรือกินแล้วทำอะไรต่อไป จะสะสมทรัพย์สมบัติมากขึ้น เราก็ยังเป็นทุกข์อยู่ ปัญญาชนที่นั่นมีความสงสัยในด้านปฏิบัติธรรม พุทธศาสตร์ก็คงเป็นประโยชน์มาก ทุกวันนี้ชื่อเสียงของพุทธศาสตร์นั้นก็มีในประเทศอังกฤษนะ ในยุโรปด้วย

• เวลาคนที่เข้ามาปฏิบัติธรรม จริงๆ แล้วสนใจเพียงแค่วิปัสสนา ทำสมาธิ หรือสนใจเนื้อหาสาระของตัวพระพุทธศาสนาจริงๆ

แล้วแต่บุคคล ส่วนมากก็สนใจแต่การปฏิบัติ บางทีก็ไม่อยากจะทำให้เป็นชาวพุทธ อยากจะทำปฏิบัติวิปัสสนาแบบพระพุทธเจ้า

• ทำไมเขาไม่เปลี่ยนศาสนา ไม่ศรัทธาหรือว่าเห็นพุทธศาสนาของเราเป็นเพียงแค่วิธีการที่จะบำบัดแทนจิตแพทย์เท่านั้น

ส่วนมากทางยุโรปก็ถือพุทธศาสนาเป็นที่ยึดมั่นถือมั่น แบบถือว่าเราเป็นชาวพุทธแล้วเราจะรังเกียจชาวคริสต์ ชาวยิว ชาวอิสลามอะไร ศาสนาก็เป็นอย่างนั้นที่จะสร้างความยุ่งยาก แตกแยกในสังคมได้ ก็มีความเห็นอย่างนี้มาก เพราะส่วนมากไม่รู้จักพุทธศาสตร์เป็นอย่างไร ครั้งแรกที่เราอยู่อังกฤษ ปีแรกมีคนหนึ่งมาบอกว่า ทำไมท่านมาเพื่อที่จะเอาชาวคริสต์เปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ เรามีพระเจ้าอยู่แล้ว ว่าด่าเราด้วย พูดแบบนี้ เราบอกว่าเราไม่มีเจตนาอย่างนั้นเลย

• อธิบายอยู่นานไหมคะ

2-3 วันได้ แล้วเขาก็รับดีด้วย เขาไม่เคยคิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ เพราะว่า 30 ปี เราไม่เคยโฆษณา ไม่เคยที่จะสร้างความไม่ดีอะไรให้กับสังคม

• ทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมากไหม ตั้งแต่ 30 ปี ที่หลวงพ่อไป

เปลี่ยนแปลงไปมาก เห็นคนที่ได้ปฏิบัติก็ได้ผลได้ความหยั่งรู้ด้วย ก็มีความสามารถจะสอนคนอื่นได้ เราไปอยู่ครั้งแรกคนที่เป็นอาจารย์ที่จะสอนคนอื่นเรื่องการปฏิบัติมีไม่มากเท่าไร มีแค่ 2-3 คน เดี๋ยวนี้ก็มีมากขึ้น เป็นผู้หญิงบ้าง เป็นผู้ชายบ้าง เป็นฆราวาส เป็นพระ และเป็นแม่ชีด้วย ก็มีความสามารถมีความรู้จากการปฏิบัติ ก็สมควรที่จะอธิบายให้คนอื่นปฏิบัติตามได้

• การแพร่หลายอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนาในฝั่งตะวันตกก็เพราะว่าเขาเห็นประโยชน์ว่าเอาไปบำบัดจิตได้ใช่ไหม

เห็นประโยชน์ สนใจมากในเรื่องสร้างจิตวิทยาศาสตร์ ด้วยจิตวิทยา 2 อย่างนี้ วิธีปฏิบัติของชาวพุทธ การวิปัสสนามากขึ้น เพราะไม่ค่อยมีในศาสนาคริสต์หรือในวัฒนธรรมชาวตะวันตกหรือในวิทยาศาสตร์ด้วย

เรื่องแนะนำให้มีสติสัมปชัญญะ สติปัญญามีอยู่แต่ไม่ได้เป็นคำสอนที่สำคัญในวัฒนธรรมของตะวันตก และนี่ก็เป็นเหตุที่ทำให้เราต้องมาเมืองไทยแสวงหาคำสอน สมัยที่เราอยู่ แสวงหาจากซานฟรานซิสโก แสวงหาเท่าไรก็ไม่เจอ ก็เลยต้องมาที่นี่

• ท่านทะไลลามะเองก็ทำให้ทางฝั่งตะวันตกสนใจพระพุทธศาสนามากใช่ไหมคะ

เป็นตัวอย่างที่ดีนะ ชาวต่างประเทศนับถือเคารพท่านมาก คนที่ไม่สนใจพุทธศาสตร์ก็ยังนับถือทะไลลามะได้ ทะไลลามะไปที่ไหนก็มีคนร่วมไปด้วยเป็นหลายพัน ผู้มีความสงบ แล้วก็ส่วนมากฝรั่งก็ไม่มีความสงบอย่างนั้น แล้วบางทีท่านก็ไม่ได้พูดมาก เป็นบางครั้งบางทีก็อบรมในเรื่องการปฏิบัติเป็นตัวอย่าง ท่านมาอังกฤษก็อยากเข้าใกล้ชิดท่าน เหมือนที่เราอยากใกล้ชิดหลวงพ่อชา ไม่ต้องพูดอะไรมาก อยู่ใกล้อาจารย์ที่ดีก็มีความสงบอยู่แล้ว

• นอกจากทางด้านการปฏิบัติแล้ว ทางทฤษฎี ทางด้านวิชาการของพุทธได้มีการสอนกันบ้างไหม

ก็มี ส่วนมากจะสอนแบบที่เหมือนกับหลวงพ่อชาสอน อริยสัจ 4 เป็นคำสอนที่ลึกซึ้งมาก และปฏิจจสมุปบาท เอาคำส่วนใหญ่นี้เป็นหลักปฏิบัติ และก็อบรมสอนในเรื่องของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอาศัยด้วย ความจริงเราก็อธิบายตามความสามารถของเรา ความรู้ของเราด้วย หลวงพ่อชาวัดป่าส่วนมากก็มีวิธีปฏิบัติแบบภาวนาพุทโธ ชื่อพระพุทธเจ้า เป็นคำภาวนาทำให้มีสติอยู่ในปัจจุบันได้ แล้วก็ที่อาศัยผู้รู้ ผู้มีสติ ในปัจจุบันก็เป็นความระลึก ความพิจารณาที่จะเป็นประโยชน์ให้มีศรัทธามากขึ้น แล้วก็พระพุทธ พระสงฆ์ เป็นสรณะเป็นที่พึ่ง ชอบสอนอย่างนี้มาก ให้ชาวฝรั่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างจริงๆ

• จริงๆ แล้วชาวพุทธจริงๆ ต้องศึกษาใช่ไหม

ศึกษานี่สำคัญปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ มีทั้งปริยัติธรรม ก็เป็นที่เราได้จากตำรา หรืออาจารย์ ค้นเองได้ และเอาคำสอนอย่างนี้เพื่อจะรู้อารมณ์ที่จะเกิดขึ้น รู้จิตใจของเราเองได้ เรื่องอริยสัจ 4 นี้ มีความทุกข์อยู่เป็นอริยสัจที่ 1 เวลาที่เรายังไม่ปฏิบัติแล้วยังมีความทุกข์อยู่น่ะ แล้วนิสัยของเราไม่อยากให้มีความทุกข์ แสวงหาความสุขนะ พอได้ปฏิบัติแล้ว เริ่มการปฏิบัติ ก่อนที่บวชเป็นพระ มากรุงเทพฯ มาปฏิบัติที่วัดมหาธาตุฯ เป็นครั้งแรก แล้วก็อาจารย์ที่นั่นบอกว่าให้ดูความทุกข์ที่เกิดขึ้น ไม่ให้แสวงหาความสุข

ครั้งแรกเราปฏิบัติเพื่อที่จะมีความสุขความสงบได้ และอาจารย์ท่านเจ้าคุณที่วัดมหาธาตุฯ ในสมัยนั้น ก็ได้สอนให้มีสติ ดูความทุกข์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อที่จะให้เห็นความสุขได้ นี่เป็นอุบายของพระพุทธเจ้าที่จะแนะนำให้เรา ส่วนมากมนุษย์ที่อยากมีความสุข ความทุกข์ก็ไม่มี พระพุทธเจ้ายกความทุกข์มาเป็นพระอริยสัจ นั่นก็แปลกมาก แปลกมากที่จะเอาความทุกข์ที่เราไม่ต้องการยกเป็นอริยสัจ

• อยากให้พระอาจารย์มองกลับมาที่เมืองไทย ว่าตอนนี้บรรยากาศในเรื่องของการนับถือศาสนาพุทธการปฏิบัติครั้งก่อน กับครั้ง 30 ปีที่แล้วมาจนถึงขนาดนี้ เปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน

ก็มีความเห็นว่า เดี๋ยวนี้คนในกรุงเทพฯ เองก็มีคนหลายๆ คนมากขึ้นที่จะสนใจการปฏิบัติธรรม เมื่อ 30 ปีมาแล้ว หลวงพ่อชาบอกว่าคนไทยชอบทำบุญแต่ไม่อยากปฏิบัติธรรมและท่านก็พูดอย่างนี้บ่อย ทุกวันนี้ถ้าเรามากรุงเทพฯ ก็มีคนสนใจกรรมฐานมาก ถ้ามากรุงเทพฯ ก็มีคนมานิมนต์ไปอบรมสอนวิปัสสนากรรมฐาน แล้วก็มีอาจารย์หลายรูปหลายองค์ ฆราวาสด้วยในกรุงเทพฯ เองที่มีความสามารถจะสอนวิธีปฏิบัติ

ปัจจุบันที่กรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงไปมาก จนเป็นเมืองใหญ่มาก มีบรรยากาศเครียดมาก ทำให้ชาวกรุงเทพฯ มีความทุกข์มากขึ้น และความทุกข์เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เราสนใจการปฏิบัติธรรม เพื่อแก้ทุกข์ บางคนที่เป็นปัญญาชนเห็นประโยชน์ที่จะปฏิบัติรักษาจิตเอง และก็แก้ปัญหาทางจิตใจได้

• แล้วสิ่งที่เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดีของชาวพุทธ ท่านมองเห็นอย่างไรบ้าง

ก็เห็นหลายอย่างเดี๋ยวนี้ ความสันโดษก็ดี คนไทยก็มีน้อยลง อยากได้วัตถุมากขึ้น สมัยก่อนอยู่จังหวัดอุบลฯ ชาวบ้านบ้านนอกก็มีสันโดษ รู้จักพอดีพอสมควรมีวัฒนธรรม เดี๋ยวนี้ก็มีเปลี่ยนแปลงไปมาก อยากได้

• แล้วมีผลต่อการศรัทธาหรือว่าทำนุบำรุงศาสนาไหมคะ เมื่อชาวบ้านเปลี่ยนไป

อันนี้ก็ไม่รู้นะ เดี๋ยวนี้ศาสนาคนไทยก็สอนในเรื่องศาสนาจะเสื่อม ได้ยินคนไทยบ่นให้ทราบ ศาสนาพุทธเสื่อมมาก แต่หลวงพ่อชาบอกศาสนาพุทธเสื่อมไม่ได้ คนไทยซิเสื่อมได้ พระก็เสื่อมได้ แต่ศาสนาพุทธยังบริสุทธิ์อยู่นะ เพราะความจริงที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าในอินเดียเมื่อ 2550 ปีมาแล้ว ก็ยังใช้คำสอนอย่างนั้นในประเทศอังกฤษได้ในอเมริกาได้ ยังไม่มีเปลี่ยนแปลง ในบางทีวัฒนธรรมสมัยปัจจุบันนี้ คนจะเสื่อมได้ บางคนก็เห็นว่าทุกวันนี้คนไทยมักได้ผลจากการปฏิบัติมากกว่าสมัยที่เราเคยอยู่เมื่อ 30 ปีมาแล้ว

• จริงๆ แล้วพระพุทธศาสนาในประเทศไทยคนสนใจเรื่องของการวิปัสสนา เรื่องการปฏิบัติมากขึ้น แล้วก็ไม่ต้องวิตกว่าจะเสื่อมใช่ไหมคะ

เสื่อมแต่คนปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติ เป็นอย่างนั้น ที่มานี้เหมือนที่เราไปพบหลวงพ่อชา ท่านก็รู้นะ พุทธศาสตร์ในเมืองไทยมันผสมกันกับศาสนาพราหมณ์ศาสนาผี หลวงพ่อชาก็มีความตั้งใจจะอบรมให้ชาวไทยรู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้แค่นี้ อย่างนี้ประเพณีนี้เป็นพราหมณ์ ไม่ได้เป็นเรื่องพระพุทธศาสนา ท่านเจ้าคุณพุทธทาสก็เหมือนกัน สมัยที่ท่านยังอยู่ที่สวนโมกข์ มีพระอย่างนี้สำคัญมากที่จะทำให้ศาสนาพุทธในเมืองไทยมีความเจริญ ทางที่เป็นประโยชน์มาก แล้วก็ทำให้ศาสนาพุทธบริสุทธิ์อย่างนี้ได้ ที่จะแนะนำให้รู้พุทธศาสตร์เป็นแค่นี้ เรื่องประเพณี เรื่องอะไรนี่ก็ไม่รังเกียจ ไม่ได้ดูหมิ่น ไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องพุทธศาสนาที่คนไทยจะรู้ ถ้าอยากจะรู้ อยากจะชำระ อยากจะพ้นจากความทุกข์ก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บางคนก็ไม่อยากพ้นทุกข์เท่าไร่ อยากจะอยู่สวรรค์

• หลวงพ่อยังมีภาระสำคัญที่อยากจะทำอีกเยอะไหม ในการเผยแพร่ศาสนา

ปีนี้ก็อยู่นานแล้ว ตั้งวัด และมีผู้คนสนใจมาก และมีพระด้วย ที่เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย และก็พระเถระมากขึ้น จะเป็นชาวต่างประเทศรับผิดชอบทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส ชีวิตของเราตายแล้วคงจะมีความสามารถสืบต่อไปได้ สบายใจจริงๆ นะ แล้วเราไม่ผิดหวัง เป็นประโยชน์มากน่ะที่อยู่มา 30 ปี

Image
ภายในโบสถ์วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ


ทุกวันนี้ เจ้าคุณโรเบิร์ต ศิษย์ฝรั่งรูปแรกของหลวงพ่อชา ในวัย 73 ปี พรรษา 41 ยังคงเดินหน้าเผยแผ่ธรรมทางตะวันตก ด้วยวัตรปฏิบัติและปฏิปทาอันงดงาม ยังความศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้พบเห็น สมเป็นสาวกแห่งพระศาสดาสัมมาสัมพุทธะ และศิษย์หลวงพ่อชาโดยแท้


หนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 80 ก.ค. 50 โดยกองบรรณาธิการ
ผู้จัดการออนไลน์ 2 กรกฎาคม 2550 16:06 น.
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2009, 3:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

กระทู้ในบอร์ดใหม่

ประวัติและปฏิปทาพระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19591

รวมคำสอน “พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44534

ประมวลภาพ “พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=27376
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง