ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
28 มิ.ย.2007, 10:36 am |
  |
ทุกคนในโลกต้องการสิ่งเดียวกันคือ ความสุข
แต่น้อยคนที่สนใจศึกษาเรื่องความสุขอย่างละเอียด
ส่วนมากเรามักจะเชื่อกิเลสตัวเอง หรือค่านิยมของสังคม
ว่าสุขที่ต้องการนั้นเป็นอย่างไร
ทุกวันนี้คนเราชอบสับสนระหว่างความสุขและความตื่นเต้น
สิ่งใดกระตุ้นความรู้สึกได้มากก็ถือว่าสิ่งนั้นนำความสุขมาให้
แต่ความสุขนั้นยังร้อนอยู่ ความสุขทางเนื้อหนังนั้นยิ่งเข้มข้น
ก็ยิ่งชวนให้เราติด ติดแล้วอาจจะเป็นเหตุให้เบียดเบียนคนอื่น
หรือทำอะไรผิดกฎหมายเพื่อจะให้ได้มา
อย่างน้อยก็ทำให้เราไม่เป็นตัวของตัวเอง
ความสุขที่ขึ้นอยู่กับสิ่งนอกตัวเรา
ไม่สามารถระงับความพร่องอยู่ในใจของมนุษย์ได้
อย่างมากก็ได้แค่กลบเกลื่อนชั่วคราว
ความสุขที่ได้จากรูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสทางกายนั้น
นับว่าคับแคบและไม่ไปไหน คือ กี่ปีกี่ปีก็เหมือนเดิม
กี่ภพกี่ชาติก็แค่นั้นแหละ
อายุเรามากขึ้น สุขภาพร่างกายอ่อนโรยลง มีโรคประจำตัวเพิ่มมากขึ้น
โอกาสจะได้ความสุขจากสิ่งนอกตัวก็น้อยลง
สุดท้ายน่ากลัวจะเหมือนนกกระเรียนแก่
ซบเซาอยู่ที่เปลือกตมไร้ปลา ดังที่กล่าวไว้ในธรรมบท
พระพุทธองค์ ให้เราเห็นว่าการช่วยคนอื่น
การดำเนินชีวิตภายในกรอบของศีล
การขัดเกลานิสัย การฝึกสมาธิ และการพัฒนา ปัญญา
เป็นทางไปสู่ความสุขที่แน่กว่า และมีจุดเด่น
ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ ตรัสว่ามีธรรม ๖ ข้อ
ซึ่งทำให้เราอยู่ในปัจจุบันอย่างมีความสุขมาก
และยังเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เพื่อการสิ้นไปแห่งกิเลสในอนาคตข้างหน้า
อย่างนี้ฝรั่งเรียกว่า win-win situation
คือ ได้ความสุขในปัจจุบันด้วย
แถมยังได้เจริญในอริยมรรคไปด้วยพร้อมกัน
ธรรม ๖ ข้อคือ
• เป็นผู้ยินดีในธรรม
• เป็นผู้ยินดีในการภาวนา
• เป็นผู้ยินดีในการละ
• เป็นผู้ยินดีในความวิเวก
• เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท
• เป็นผู้ยินดีในความไม่ปรุงแต่ง
 |
|
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 28 มิ.ย.2007, 10:45 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
   |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
28 มิ.ย.2007, 10:41 am |
  |
สิ่งแรกที่เราควรสังเกตก็คือ ความสุขทั้ง ๖ ข้อเกิดจากความยินดี
หลายคนเข้าใจว่าชีวิตนักปฏิบัติธรรมไม่น่าจะมีอะไรสนุก
ที่มองอย่างนี้เพราะยังจับหลักไม่ได้ว่า
ตัวความสุขอยู่ที่ “ความยินดี” มากกว่า “สิ่งที่ยินดี”
นักปฏิบัติไม่ต้องสละความยินดีเสมอไป
เพียงแต่ว่าต้องย้ายความยินดีของตนออกจากสิ่งที่ทำให้จิตตกต่ำ
ไปไว้ในสิ่งที่น้อมนำจิตออกจากทุกข์
สรุปว่าไม่ขาดทุนเลย มีแต่ได้กำไร
ความยินดีในธรรม คือ ยินดีในการฟังธรรม
การอ่านธรรมการท่องธรรม การพิจารณาธรรม
การปฏิบัติธรรมในทุกระดับยิ่งศึกษาและปฏิบัติธรรมยิ่งมีความสุข
เพราะการเห็นความจริง ความลึกซึ้งมากขึ้นๆ โดยลำดับ
เรายินดีในธรรมแล้ว ความยินดีในสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม
ต้องค่อยๆ หายไปเอง เพราะมันขัดกัน
เมื่อเรายินดีในธรรมแล้ว เราเห็นคนอื่นดี เราไม่อิจฉา
กลับแช่มชื่นว่า ธรรมที่ปรากฏในคนนั้นงามจริงๆ
ธรรมเกิดที่ไหนก็งามที่นั่น
เราเห็นความงามของธรรมที่ไหนเราก็สุขที่นั่น
ตาเราเย็น ใจเราสงบ
ผู้ยินดีในการภาวนา ก็มีความสุข
เพราะเห็นสิ่งดีงามในตนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แม้ในเวลาที่การภาวนายังไม่ได้ผลมากนัก
นักปฏิบัติมีความสุขด้วยพลังศรัทธาว่า กำลังตามรอยพระอรหันต์
ถ้าทำไปเรื่อยๆ ไม่ท้อแท้เราต้องสงบแน่
เชื่อมั่นว่าการภาวนามีผลจริง และเป็นทางเดียวที่นำสัตว์โลก
ไปสู่การตรัสรู้ธรรม อย่างนี้เราสามารถมีความสุขกับทุกก้าวที่เราเดิน
ความยินดีในการละ ก็เหมือนกัน
ถ้าเรายังเสียดายกิเลสเราจะปล่อยวางไม่ได้
เมื่อเราพิจารณาเห็นกิเลสว่า เป็นสิ่งกีดกันไม่ให้เราเจริญในธรรม
เราจะยินดีในการละกิเลสตลอดเวลา
โอกาสจะฝืนและชนะกิเลส โอกาสที่จะมีความสุขในการชำระจิตใจ
ก็เกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน
ละกิเลสได้แม้ชั่วคราวก็ตาม หากเรายินดีได้ก็มีความสุข
 |
|
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 28 มิ.ย.2007, 11:00 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
   |
 |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
28 มิ.ย.2007, 10:44 am |
  |
สำหรับผู้ครองเรือน ความยินดีในวิเวก
อาจจะเป็นแหล่งความสุขที่หายากหน่อย
แต่อย่างน้อยที่สุดเราควรฝึกให้อยู่คนเดียว
เป็นนักปฏิบัติขาดเพื่อนแล้วเหงาหงอย ยังไม่ถือว่าเก่ง
ถ้ายินดีในการอยู่คนเดียวจะเป็นคนสุขง่ายขึ้นทันที
ฉะนั้น ถ้ามีโอกาสไปปฏิบัติธรรมในวัดหรือศูนย์ปฏิบัติธรรม
ที่เราไม่รู้จักใคร ก็เป็นประสบการณ์ที่ดี
หลวงพ่อชาเคยบอกว่า นั่งรับแขกอยู่ทั้งวัน
ท่านยังมีความรู้สึกว่าอยู่คนเดียว นี่คือ วิเวกขั้นสูง
ตรงกันข้ามกับคนที่อยู่คนเดียว แต่คิดถึงคนอื่นตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม วิเวกชนิดที่สำคัญ คือ จิตวิเวก
ซึ่งเป็นผลของการฝึกสมาธิภาวนาถึงขั้นที่จิตข่มนิวรณ์ได้
พระองค์ตรัสพรรณนาคุณของสมาธิแน่วแน่นี้ว่า
จิตสงัดหรือวิเวกจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ความวิเวกประเภทนี้มาพร้อมกับปีติและสุข
ผู้ยินดีในวิเวกในความหมายว่า สงัดจากอารมณ์
จึงมีความสุขอันประณีตหล่อเลี้ยงจิตอยู่อย่างน่าพอใจ
ความยินดีในการไม่พยาบาท
คือ ยินดีในเมตตานั้นเอง ผู้มีเมตตามีความสุข
เพราะความเร่าร้อนของอารมณ์ฝ่ายโทสะไม่มีช่องเข้ามากลุ้มรุมจิตใจได้
ผู้ไม่โกรธ ไม่โมโห ไม่หงุดหงิดรำคาญไม่จับผิดคนอื่น
จะไม่มีความสุขได้อย่างไร
จิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยเมตตาไม่มีศัตรู เพราะไม่มองใครเป็นศัตรู
คนอื่นจะมองเราอย่างไรก็เรื่องของเขา
หากเราไม่มีคำว่าศัตรูอยู่ในใจ เราย่อมมีศัตรูไม่ได้
ไม่พยาบาทแล้วความกลัวและความระแวงในใจ ย่อมลดน้อยลงมาก
เพราะคนเรามักจะเอากิเลสตัวเองไปใส่คนอื่นอยู่บ่อยๆ
คนขี้โกรธมักจะเสียใจอยู่เรื่อยว่า คนรอบข้างกำลังโกรธเขา
ผู้มีเมตตาหวังดีต่อทุกคนรวมถึงตัวเอง
ไปไหนคนดีก็เอ็นดู ความเมตตาช่วยชำระจิตใจของมนุษย์
และยังสร้างบรรยากาศในครอบครัวและชุมชนให้อบอุ่น
ผู้ยินดีในความไม่ปรุงแต่ง
คือ ผู้ยินดีในการดับทุกข์ หรือไม่มีทุกข์
ย่อมไม่ยินดีในกิเลสที่ทำให้การปฏิบัติเนิ่นช้า
ไม่คิดสะสมอีกแล้ว ไม่หาความสุขกับความคิดอีกแล้ว
ยินดีในจิตใจที่ปลอดโปร่งด้วยสติ
ด้วยความรู้ตัว อยู่ในปัจจุบัน
ไม่ให้มีความรู้สึกว่าเรา ว่าของเรา เกิดขึ้นครอบงำใจ
มีความสุขกับการเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในปัจจุบัน
ไม่ต้องการอะไร ไม่ห่วงใยอะไร
ทำให้สิ่งต่างๆ เย็นลงไปเรื่อยๆ อย่างนี้มีความสุขมาก
และนำไปสู่ความสิ้นไปแห่งกิเลสในที่สุด
คัดลอกจาก...
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara95.htm
 |
|
|
|
   |
 |
I am
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
29 มิ.ย.2007, 9:19 am |
  |
ขอบคุณ คุณลูกโป่ง ที่นำธรรมดีๆ มาสู่กันเสมอจ้า...สาธุ
 |
|
_________________ ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก |
|
     |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
30 มิ.ย.2007, 2:47 am |
  |
อนุโมทนาสาธุด้วยค่ะคุณลูกโป่ง  |
|
|
|
    |
 |
|