Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ใครรู้เรื่องพระศรีอริยะเมตตรัยบ้าง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
จ๊ะเอ๋
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2004, 8:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม เป็นปางหนึ่งของพระศรีอริยะเมตตรัยใช่หรือไม่ ใครรู้ช่วยตอบทีคะ ได้ยินคนเขาพูดมาว่า (ฟังไว้เหมือนกัน) ตอนนี้เจ้าแม่กวนอิม ได้เสด็จเป็นพระศรีอริยะเมตตรัยแล้ว ในตอนที่พระเขี้ยวแก้วจากเมืองจีนมาประดิษฐ์สถานให้คนสักการะที่จังหวัดนครปฐมเมื่อปีที่แล้ว เป็นการส่งพระองค์..จากพระโพธิสัตว์ เป็นพระศรีอริยะเมตตรัยแล้ว จริงหรือไม่คะ
 
Anatat
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2004, 7:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่จริงหรอก... เป็นคนละองค์กัน ไม่ใช่องค์เดียวกัน ไม่น่าจะสงสัยเรื่องแบบนี้

เวลาฟังอะไร ใช้ปัญญาพิจรณาให้แยบคายด้วยว่าเป็นไปได้หรือไม่ จะได้ไม่ต้องสงสัยอะไรบ่อยๆ อันนี้ไม่ได้ว่า แต่เรื่องแบบนี้พิจราณาเอาก็น่าจะทราบ

แต่ถ้าได้ฟังมาว่าเจ้าแม่กวนอิมท่านลาพุทธภูมิแล้ว อันนี้สิน่าสงสัยกว่า

แต่ใครหละจะตอบคุณได้ หละจริงมั๊ย ก็ต้องไปหาท่านผู้ที่มีความรู้พิเศษนั้น
 
DEV
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 155

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2004, 8:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
new
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2004, 10:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2004, 3:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระโพธิสัตต์กวนอิม คนจีนเรียกว่า กวนอิมผ่อสัก

กวนอิม คือ พระนาม
ผ่อสัก คือ พระโพธิสัตต์

พระนามนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า "พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตต์"

พระนาม "อวโลกิเตศวร" นี้เป็นคำสมาส

อวโลกิต แปลว่า มองดูโลก ตรงกับคำจีนว่า กวนซี

อิศวร แปลว่า พระเจ้าหรือเจ้า ภาษาจีน คือ อิม

โพธิสัตต์ ภาษาจีนออกเสียงว่า ผ่อสัก

พระนาม "อวโลกิเตศวรโพธิสัตต์" จึงเรียกเป็นภาษาจีนว่า "กวนซีอิมผ่อสัก" หรือเรียกสั้นๆ ว่า กวนอิมผ่อสัก หรือพระโพธิสัตต์กวนอิม

ที่คุณจ๊ะเอ๋ถามมา เป็นการเข้าใจผิด แท้จริงแล้ว พระโพธิสัตต์กวนอิม เป็นเพียงนิมิตที่เกิดขึ้นกลางดวงจิตของผู้ปฏิบัติ ในช่วงฐานฟ้าและฐานดินมาบรรจบกัน (ถ้าเราฝึกปราณสุริยะ อากาศ ปฐพี ก็จะเข้าใจค่ะ)

นิมิตที่เกิดขึ้นในดวงจิต ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลายไป ไม่มีอะไรสามารถดำรงคงอยู่ แปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา

รูปปางต่างๆของพระโพธิสัตต์กวนอิม เป็นเพียงสื่อความหมายในการปฏิบัติทั้งสิ้น ซึ่งเป็นไปตามจินตนาการของปราชญ์โบราณ ที่ได้นำรูปนิมิตมาสื่อให้เป็นรูปธรรมเพื่อเป็นอุบายในการฝึกปฏิบัติ ซึ่งทุกคนสามารถดำรงซึ่งความเป็นโพธิสัตต์ด้วยตัวเองทั้งสิ้น

ขอธรรมะคุ้มครองคุรุผู้ประเสริฐ คุรุผู้เมตตาธรรมทุกท่าน
ขอธรรมะคุ้มครองสรรพสัตว์ทุกชีวิตในโลกมายามนุษย์นี้ด้วยเถิดหนา สวัสดี

มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
Nutty
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2004, 12:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่านข้อมูลเพิ่มได้ที่
http://www.212cafe.com/freewebboard/list.php?user=nutty
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2004, 8:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศึกษาข้อมูลได้ที่
http://www.guanim.com/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เมล็ดข้าวผู้รู้น้อย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ค.2004, 11:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามที่ผมเข้าใจมาบ้างนะครับ คือว่า พระโพธิสัตต์ คือพระผู้โปรดสัตว์ทั้งปวงในโลง ผู้ซึ่ง ไม่บำเพ็ญบุญ ถึงจะตรัสสรู้ แต่มิทรง นิพาน ยังทรง รับรู้เรืองราวของสัตว์โลกทั้งปวง สวนพระศรีอะริยะ ทรงเป็นพระพุทธเจ้า ทรงดับขันปรินิพาน ไม่ทรงรับรู้ความทุกข์โศกของสัตว์ทั้งปวง อย่างที่เห็นพระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติ เป็นพระโพธิสัตต์หลายๆ ภาค ไงครับ

ขอให้โลกสงบสุข
 
new
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ค.2004, 7:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่านแล้วเสียครับ คุณเมล็ดข้าวผู้รู้น้อย

" ตามที่ผมเข้าใจมาบ้างนะครับ คือว่า พระโพธิสัตต์ คือพระผู้โปรดสัตว์ทั้งปวงในโลง "

ขอแก้ เป็น " พระโพธิสัตต์ คือพระผู้โปรดสัตว์ทั้งปวงในโลก " ดีกว่านะครับ ซึ้ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2004, 11:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระศรีอาริยเมตไตรย
โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ


พระศรีอาริยเมตไตรยทรงเป็นพระโพธิสัตว์เจ้า ที่จะมาตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล ซึ่งจะสืบพุทธวงศ์ต่อจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระพุทธสมณโคดม พระพุทธเจ้าในกาลปัจจุบัน

รูปลักษณะที่จะหล่อ

ท่านบอก..... หล่อเป็นรูปยืนครับ และเครื่องประดับทั้งหมดไม่ต้องการให้มีสี ต้องการเป็นแก้วใสอย่างเดียว ส่วนที่เป็นเนื้อ ให้เป็นเนื้อ…เนื้อของท่านก็เป็นเนื้อสีขาว จึงถามว่า "ถ้าจะเอาแก้วปิด ก็จะเหมือนเครื่องประดับ ที่เสื้อที่กางเกงจะทำอย่างไร ?" ท่านบอก "ปิดทองก็ได้ ปิด แผ่นเงินก็ได้"

ถ้าปิดแผ่นเงินจะคล้ายคลึงเนื้อของท่าน ส่วนที่เป็นเครื่องแต่งกาย ให้ใช้กระจกเงาใส ท่านแสดงให้ดูท่า ยืนมือขวาถือ "จักร" แต่ห้อยเฉยๆ มือซ้ายถือ "พระขรรค์" ก็ถามว่า "มีจักรมีพระขรรค์ทำไม ?" ท่านบอก "ผมห้อยเฉยๆ ไม่ใช่ท่าของนักรบ"

"จักร" ก็หมายถึง "ธรรมจักร" ก็หมายความว่า หากคนใดที่มีกิเลสหนามาก มีทิฏฐิมานะหนามากต้อง ใช้จักปราบปรามคือ "ธรรมจักร" คนใดที่มีกิเลสน้อยก็ให้ใช้ "พระขรรค์" เคาะหรือให้ถู หรือขูดก็หาย อย่างเทศน์พระสูตรก็ดี หรือชาดกก็ดีเลยถามว่า "จะให้หล่อเป็นพระหรือเป็นเทวดา ?"

ท่านบอกว่า "เวลานี้ผมเป็นเทวดา..... ให้หล่อเป็นรูปเทวดา อย่าเพิ่งหล่อรูปเป็นพระ" (เป็นอันยืนยันได้ว่า ขณะที่ท่านยังเป็นเทวดา ยังมิได้จุติลงมาอย่างที่บางคนเข้าใจ ขอให้ระวังอุปาทาน) ก็ถามท่านว่า "ถ้าคนต้องการไปเกิดในสมัยของท่าน จะต้องทำบุญอะไรไว้ ? ท่านบอกว่า "คนของผม..... ผมฝากท่านไว้ แล้วนะให้แนะนำด้วย มีหลายแสนคน..… คนที่จะเกิดในสมัยของผม"

คำสอนของพระศรีอาริยเมตไตรย

ถามว่า “แนะนำแล้วทุกอย่าง แต่ว่าไม่รู้ข้อเจาะจง ให้เจาะจงไปว่าทำบุญอย่างไร..…. จึงจะทันศาสนาพระศรีอาริย์ ?”

(นี่...… สำหรับคนมี “บารมีอ่อน” นะ ตั้งใจไปนิพพานชาติพระศรีอาริย์ หรือวางแผนไว้ 2 อย่างก็ได้ว่า ตั้งใจไปนิพพานชาตินี้ ถ้าพลาดชาตินี้ ขอให้ได้นิพพานสมัยพระศรีอาริย์ก็ได้)

ท่านบอกว่า “ให้ทุกคนที่ต้องการเกิดทันสมัยผม ให้รักษาศีล 5 เป็นปกติ รักษา กรรมบถ 10 เป็นปกติทุกวัน ไม่คลาดเคลื่อนอย่างนี่เป็น อุคฆฏิตัญญู ไปเกิดในสมัยผมฟังเทศน์แค่หัวข้อเล็กๆ สั้นๆ ก็บรรลุมรรคผลทันที

ถ้าบางท่านปฏิบัติอ่อนกว่านั้น รักษาได้ กรรมบถ 10 เหมือนกัน ศีล 5 ก็ครบ แต่ว่าบางทีก็มีอาการเผลอเล็กน้อย อย่างนี้เป็นวิปจิตัญญู หมายความว่า ไปเกิดสัมยผมเทศน์หัวข้อฟังไม่เข้าใจต้องอธิบายเล็กน้อยจึงบรรลุอรหันต์

บางท่านที่มีบารมีอ่อนกว่านั้น วันธรรมดาๆ อาจจะบกพร่องบ้างเป็นธรรมดา แต่สำหรับวันพระต้องรักษาให้ครบถ้วนทั้งศีล 5 และกรรมบถ 10 หมายความว่า ตามธรรมดา คนเรามีอาชีพต่างกัน บางคนปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ก็ต้องฉีดยาฆ่าเพลี้ยฆ่าสัตว์ที่มารบกวน พืชพันธุ์ธัญญาหารบ้าง บางคนมีอาชีพไปในทางการประมง ต้องทำการประมงฆ่าปลาสัตว์บ้าง ถ้าอย่างนี้ถือวันธรรมดาบกพร่องได้ และวันพระต้องครบถ้วนบริบูรณ์ อย่างนี้ถ้าเกิดในสมัยผม เขาเรียกว่า เนยยะ เทศน์ครั้งเดียวสองครั้งยังไม่มีผล ต้องฟังเทศน์หลายๆ หนจึงสามารถเป็นพระอริยะได้

เอาละ….. บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ท่านทั้งหลายมานั่งอยู่กันที่ตรงนี้และฟังเทศน์แล้ว เรื่องของพระศรีอาริยเมตไตรย ถ้าจะว่ากันไปก็คงไม่แตกต่างกับเรื่องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าทุกท่านรักษา ศีล 5 ครบถ้วน กรรมบถ 10 ครบถ้วน ที่มีบารมีเข้มข้นสามารถจะไปนิพพานได้ในชาตินี้ ถ้าบังเอิญชาตินี้พลาดไปนิพพาน ไปเกิดเป็นเทวดาก็ดี นางฟ้าก็ดี หรือพรหมก็ตาม อีกไม่นานนักพระศรีอาริย์ก็ตรัส เราก็ฟังเทศน์จากพระศรีอาริย์ภายในไม่ช้าก็บรรลุอรหันต์สามารถไปนิพพานได้

หมายเหตุ : หลวงพ่อบอกว่าอีกประมาณ ล้านปีเศษๆ พระศรีอาริย์ จึงจะมาตรัสทางอาณาเขตประเทศพม่า และจากหนังสือประวัติ การสร้างสมเด็จองค์ปฐมตอนหนึ่งกล่าวว่า “คนของท่านเหลือไปถึงสมัยผม….. ไม่ถึง 10 คน หรอก….. ! ส่วนที่ยังไปไม่ได้นั้น เพราะยังชอบเมาอยู่”

(จาก หนังสือประวัติการสร้างพระศรีอาริยเมตไตรย)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 12:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

การนับถือพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้องคือนับถืออย่างไร
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

จาก หนังสือปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม


๔. การนับถือพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้องคือนับถืออย่างไร

ต่อไป มีอีกเรื่องซึ่งเกี่ยวกับความวิเศษด้วยเหมือนกัน บางทีก็สับสนกับความเป็นพระอริยะ-พระอรหันต์ คือเรื่องพระโพธิสัตว์

ในพระพุทธศาสนามีเรื่องพระโพธิสัตว์ เราก็นับถือพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์คือใคร ไม่ต้องตอบก็ได้ โยมก็รู้อยู่แล้ว พระโพธิสัตว์คือท่านผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าของเรานี้ ก่อนจะตรัสรู้ก็เคยเป็นพระโพธิสัตว์ตอนที่ยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ออกบรรพชาแล้วเข้าไปแสวงหาธรรมอยู่ในป่าก็เป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ จนกระทั่งตรัสรู้ในวันเพ็ญวิสาขบูชา คือวันเพ็ญเดือนหก เสร็จแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้า ก่อนเป็นพระพุทธเจ้าจึงเป็นพระโพธิสัตว์มาตลอด

เราจึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ในปัจจุบันชาติ คือก่อนจะตรัสรู้ ตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเราก็มีเรื่องเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ในอดีตก่อนชาตินี้อีกมากมายที่เราเรียกว่าชาดก ๕๔๗ เรื่อง แสดงถึงการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี่เอง เรียกว่า ๕๐๐ ถ้วนหรือ ๕๕๐ ชาติ แต่นับกันที่ตัวเลขจริงได้ ๕๔๗ เรื่อง

ทีนี้เมื่อเรามีพระโพธิสัตว์ เรานับถือพระโพธิสัตว์ เรานับถืออย่างไรจึงจะถูกต้อง

เวลานี้ก็มีพระโพธิสัตว์เกิดขึ้น อย่างที่กำลังนิยมมากคือ เจ้าแม่กวนอิม แล้วโยมรู้ไหม พระโพธิสัตว์ที่เรียกว่ากวนอิมนี้คือใคร ? มีความเป็นมาอย่างไร ? บางทีก็เรียกตามๆ กันไปว่า พระโพธิสัตว์ แต่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่าท่านมาจากไหน ไปอย่างไร มาอย่างไร เป็นพระโพธิสัตว์อย่างไร

อย่างน้อยโยมต้องรู้หลักก่อนว่า ความเป็นพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ที่ว่าต้องบำเพ็ญบารมี บำเพ็ญคุณธรรมอย่างยวดยิ่งอย่างที่คนธรรมดาทั่วไปจะบำเพ็ญกันไม่ไหว ตั้งใจจะบำเพ็ญความดีข้อไหน เช่นบำเพ็ญทาน ก็บำเพ็ญได้อย่างสูงสุดจนกระทั่งสละชีวิตของตนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้ เรียกว่าให้ชีวิต จะบำเพ็ญความเพียรพยายาม ก็เพียรพยายามอย่างยวดยิ่งไม่มีระย่อท้อถอย แม้ต้องสิ้นชีวิตก็ยอม นี่คือการบำเพ็ญบารมี หมายถึงคุณธรรมที่บำเพ็ญอย่างยวดยิ่ง

พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีครบแล้วก็คือได้พัฒนาพระองค์อย่างเต็มที่แล้ว ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วเรานับถือพระโพธิสัตว์นั้นนับถืออย่างไร ? นับถือเพื่ออะไร ?

ก็ขอตอบสั้นๆ คือ นับถือเพื่อเอาเป็นแบบอย่าง เอาพระโพธิสัตว์เป็นตัวอย่าง เป็นตัวอย่างอย่างไร ?

พระโพธิสัตว์นั้นกว่าจะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านต้องทำความดีมากมาย เพียรพยายามทำมายาวนานอย่างยากลำบากมากประสบอุปสรรคมาก แต่ก็ทำมาตลอดโดยไม่ระย่อท้อถอยจนประสบความสำเร็จ ท่านจึงเป็นตัวอย่างในการทำความดีของเรา

พระโพธิสัตว์นั้นท่านมีปณิธานด้วย คือตั้งใจจะทำความดีอันไหนก็ทำจริงๆ ทำเต็มที่แล้วก็มั่นคงด้วย เราก็ต้องพยายามทำอย่างนั้น โดยมีพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่าง จนกระทั่งเราสามารถเสียสละตัวเองได้เพื่อทำความดีนั้น ตลอดจนกระทั่งว่าพระโพธิสัตว์นี่เสียสละตัวเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เราก็ต้องสามารถเสียสละผลประโยชน์ของตัวเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือสังคม นี่คือคติพระโพธิสัตว์

อันนี้ก็โยงมาหาพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นหลัก พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ก็เป็นมาด้วยความเพียรพยายามและทำความดีมามากมาย เพราะอย่างนี้จึงทำให้เราเกิดความซาบซึ้งในพระคุณของพระพุทธเจ้า นี่ประการหนึ่ง

ประการที่สองก็คือเป็นการเตือนตัวเราให้สำนึกในหน้าที่ที่จะพัฒนาตัว ที่จะทำความดีเพื่อจะบรรลุคุณธรรมเบื้องสูง

การที่จะบรรลุสิ่งที่ดีงามประเสริฐสูงสุดเป็นพระอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะได้มาด้วยการหวังหรืออ้อนวอนเฉยๆ แต่จะต้องเพียรพยายามทำ

ฉะนั้น คนเราทุกคนจะต้องพัฒนาตัวเอง ต้องตั้งใจทำความดี คติพระโพธิสัตว์เตือนใจเราว่าเราจะต้องตั้งใจทำความดี บำเพ็ญคุณธรรมต่างๆ พร้อมกันนั้นก็เป็นกำลังใจแก่เรา ในเมื่อเราได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์ว่า ท่านทำความดีมากมาย อย่างเข้มแข็งและเสียสละ เราได้เห็นตัวอย่างแล้ว เราก็มีกำลังใจที่จะทำความดีนั้นให้ตลอด บางทีเราทำความดีไป เราเป็นปุถุชน บางทีเราก็อ่อนแอ เมื่อไปพบกับอุปสรรคบางอย่างหรือไม่ได้รับผลที่ปรารถนา เราก็เกิดความท้อแท้ เกิดความผิดหวัง

คนจำนวนมากจะเป็นอย่างนี้ ทำความดีไประยะหนึ่งก็ไม่เข้มแข็งจริง ไม่มั่นคงจริง ไปประสบอุปสรรคหรือไม่ได้รับผลตอบแทนที่ต้องการก็เกิดความท้อถอย แล้วก็มองไปในด้านตรงข้ามว่า อ้าว คนนั้นคนนี้เขาทำไม่ดี เขาทำชั่วด้วยซ้ำ ทำไมได้ดี อย่างที่พูดกันว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” อะไรต่าง ๆ ก็จะตัดพ้อร้องทุกข์ขึ้นมา แล้วก็พาลพาโลพาเลเลยเลิกทำความดี อันนี้จะเป็นผลเสีย

เมื่อได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์ก็จะเกิดกำลังใจว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ท่านทำความดี ท่านลำบากกว่าเราเยอะแยะอย่างที่ว่าเมื่อกี้ บางทีต้องเสียสละชีวิตก็มี บางทีพระองค์ทำความดีมากมาย เขาไม่เห็นความดี เขาเอาพระองค์ไปฆ่า พระองค์ก็ไม่ท้อถอย แล้วก็ทำความดีต่อไป

เรามานึกดูตัวเราทำความดีแค่นี้แล้วจะมาท้อถอยอะไร พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ลำบากกว่าเรา ทำมากกว่าเรา ประสบอุปสรรคมากกว่าเรามากมาย ไปท้อถอยทำไม พอเห็นคติพระโพธิสัตว์อย่างนี้ เราก็มั่นคงในความดี สู้ต่อไป นี่แหละเป็นแบบอย่าง นี่คือการนับถือพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้อง

ท่านสอนมา ท่านเล่าเรื่องพระโพธิสัตว์มา ก็เพื่อเป็นแบบอย่างแก่เราในการทำความดี เป็นเครื่องเตือนใจเราไว้ทำให้เรามีกำลังใจ แล้วเราก็เดินหน้าเรื่อยไปไม่ท้อถอย

ตอนหลังมันเกิดปัญหา คือพระพุทธศาสนาในอินเดียระยะหลัง แข่งกับศาสนาฮินดู

ศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์เดิมนั้น โยมก็รู้อยู่แล้ว เขานับถือเทพเจ้าต่างๆ มากมาย การนับถือเทพเจ้านั้นเพื่ออะไร ? ก็เพื่อจะได้ไปอ้อนวอนขอผลนั่นเอง ไปอ้อนวอน เซ่นสรวงบวงสรวง ตลอดจนบูชายัญ คิดหาทางเอาอกเอาใจเทพเจ้า จะให้ท่านบันดาลสิ่งที่ต้องการให้ คนอินเดียติดเรื่องเช่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน ต้องอ้อนวอนเทพเจ้า เทพเจ้าก็มีฤทธิ์สามารถเก่งกาจเหลือเกิน

พระพุทธศาสนาอยู่ในอินเดียนานๆ มา บางทีก็ชักไม่มั่นคงในหลักเหมือนกัน ชักอยากจะสนองความต้องการของประชาชนที่อยากจะมีผู้มาช่วยดลบันดาลอะไรที่ต้องการให้

เมื่อศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเขามีเทพเจ้าไว้ให้อ้อนวอน เอ๊ะ ศาสนาพุทธเราไม่มี ทำอย่างไรดี ก็มานึกว่าพระโพธิสัตว์ท่านเป็นผู้เสียสละตนเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เราจะต้องให้คนมานับถือพระโพธิสัตว์ แล้วอ้อนวอนขอผลจากพระโพธิสัตว์ ให้พระโพธิสัตว์ท่านมาช่วย ก็จะมีคู่แข่งที่จะมาแทนเทพเจ้าของฮินดูได้ ตกลง พุทธศาสนายุคหลังก็มีพระโพธิสัตว์อีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่พระโพธิสัตว์แบบเดิม

คงจะมาคิดกันว่า เอ๊ะ พระโพธิสัตว์นี่ท่านมาช่วยมนุษย์ทั้งหลาย ท่านมีมหากรุณา แต่ทีนี้จะมาช่วยอย่างไร พระโพธิสัตว์ของพระพุทธเจ้าที่เล่ากันมาในชาดกท่านก็สิ้นชีวิตไปหมดแล้วก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม ไม่งั้นพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อพระโพธิสัตว์ของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี้สิ้นไปหมดแล้ว พระพุทธเจ้าเองก็ปรินิพพานไปแล้ว ทำอย่างไรดี ก็มีหลักว่าพระพุทธเจ้าองค์ใดก็ตาม จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตก็ต้องเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน

เราทำอย่างไรจะให้พระโพธิสัตว์ยังอยู่แล้วก็มาช่วยคนได้ ก็ต้องเอาพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต จึงเป็นเรื่องที่หวังพึ่งพระโพธิสัตว์เก่าๆ ไม่ได้แล้ว ต้องเอาพระโพธิสัตว์ใหม่ๆ จึงได้เกิดมีพระโพธิสัตว์หลายองค์ ในอินเดียก็เกิดมีพระอวโลกิเตศวร พระมัญชุศรี พระวัชรปาณี พระสมันตภัทร และพระอะไรต่างๆ หลายองค์ พระโพธิสัตว์เกิดในอินเดียยุคหลังนี้จึงมาก

ในสมัยพุทธกาลนั้น พระโพธิสัตว์ที่มีชื่อเหล่านี้ไม่มี มามีในสมัยยุคปลายในประเทศอินเดีย พระโพธิสัตว์ท่านเหล่านี้ท่านยังอยู่เพราะจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต จึงสามารถมาช่วยคนได้ ตกลงเราจึงหวังอ้อนวอนจากท่านเหล่านี้ได้ ใครมีความเดือดร้อนเป็นทุกข์ อยากพ้นทุกข์ อยากจะได้ผลประโยชน์อะไรก็ไปอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์เหล่านี้เอาใช่ไหม ?

ตกลงว่ามีพระโพธิสัตว์มาคอยช่วย เทียบกันได้กับศาสนาฮินดูที่เขามีเทพเจ้าไว้ช่วย พอแข่งกันได้ ไปคิดแข่งในแง่นี้

มาตอนนี้คติพระโพธิสัตว์มันกลับกัน คือ เดิมนั้นพระโพธิสัตว์ท่านเสียสละเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ทำความดี เราต้องเอาแบบอย่างพระองค์ เราต้องเสียสละบำเพ็ญความดีช่วยเหลือผู้อื่นอย่างนั้น

ตอนนี้เราคิดว่า เรามีผู้ที่จะช่วยอยู่แล้ว เราไม่ต้องทำอะไร เราจึงพากันไปอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากท่าน แทนที่จะคิดทำดีอย่างพระโพธิสัตว์ในอดีต

นี่คือคติพระโพธิสัตว์ที่เพี้ยนผิดไป

โยมจะต้องรู้ทัน ความหมายเดิมนั้นท่านให้นับถือพระโพธิสัตว์ให้เราทำดีอย่างท่าน เสียสละอย่างท่าน แต่มาปัจจุบันกลายเป็นนับถือพระโพธิสัตว์จะได้ไปขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์

อันนี้จะผิดหรือจะถูก ตัดสินได้เองเลยใช่ไหม

พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานที่มีชื่อเสียงมากก็คือ พระอวโลกิเตศวร เพราะเป็นผู้มีมหากรุณา ช่วยเหลือปลดเปลื้องความทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์นี้ เมื่อพระพุทธศาสนามหายานเข้าสู่ประเทศจีนเป็นต้น พระอวโลกิเตศวรก็เข้าไปด้วย ต่อมาในประเทศจีน พระอวโลกิเตศวรได้เปลี่ยนนามเป็น พระกวนอิม ก็คือองค์เดียวกัน พระอวโลกิเตศวรนั้นเดิมเป็นผู้ชาย แต่พอไปเมืองจีนไม่ช้าก็เปลี่ยนเป็นผู้หญิง ทำไมเปลี่ยนเป็นผู้หญิง ก็เป็นเรื่องของตำนาน มีหลายตำนาน

ตำนานหนึ่งเล่าว่าพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีนประชวรเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แพทย์หลวงแพทย์ชาวบ้านอะไรก็ไม่มีใครรักษาหาย จึงร้อนถึงพระโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรกวนอิม ต้องมารักษา

แต่จะเข้าไปรักษาได้อย่างไร ท่านเป็นผู้ชาย พระราชวังฝ่ายในเขามีกฎมณเฑียรบาลห้ามผู้ชายเข้าไป ก็ต้องแปลงร่างเป็นผู้หญิงแล้วเข้าไปรักษาพระราชธิดาจนกระทั่งหายจากโรคนั้นเสร็จแล้วไม่ได้กลับร่างเป็นผู้ชาย จึงเป็นผู้หญิงมาจนบัดนี้ นี่คือเจ้าแม่กวนอิม

ตอนนี้เจ้าแม่กวนอิมเข้ามาประเทศไทยแล้ว เราจะต้องนับถือเจ้าแม่กวนอิมให้ถูก ถ้าเรานับถือพระโพธิสัตว์อย่างถูกต้อง จะต้องนับถือในแง่ที่ท่านเป็นผู้มีคุณธรรมดีสูงส่ง เป็นผู้มีมหากรุณา เสียสละ บำเพ็ญคุณธรรม ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้อื่น ทำความดีไม่ย่อท้อ เราก็เช่นกัน เราก็จะต้องบำเพ็ญคุณธรรมช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ใช่ไปหวังอ้อนวอนขอผลประโยชน์จากท่านเพราะอันนั้นจะทำให้ผิดหลักพระศาสนา คือผิดหลักกรรม ไม่หวังผลจากการกระทำ กลายเป็นหวังผลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไป

อันนี้เป็นเรื่องที่ตั้งเป็นข้อสังเกตให้โยมได้พิจารณาในสภาพปัจจุบัน เพราะเราจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้มาก

ถ้าเราตั้งตัวไม่ถูก ไม่อยู่ในหลัก เราก็พลาด ตกหรือหลุดหล่นไปจากพระศาสนา

ดังนั้น ยังไงๆ ต้องยึดหลักกรรมไว้ให้ได้ คือหวังผลจากการกระทำ ไม่หวังผลจากความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์ การดลบันดาลของผู้วิเศษ เอาละอันนี้ก็ขอผ่านไป

คำถามอีกข้อหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์กับพระอรหันต์ เรารู้ว่าความหมายต่างกัน พระโพธิสัตว์นั้นยังบำเพ็ญบารมีอยู่ จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไป แต่ตอนนี้ยังไม่หมดกิเลส ส่วนพระอรหันต์นั้นเป็นผู้หมดกิเลสแล้ว ละโลภะ โทสะ โมหะ ได้หมด

พระพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง คำว่าพระอรหันต์นี้กว้าง อย่าไปนึกว่าพระพุทธเจ้าต่างจากพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เราเรียกว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือเติมพระอรหันต์เข้าไปข้างหน้า หมายความว่าพระอรหันต์นั้นมีหลายประเภท

พระอรหันต์ที่ได้ตรัสรู้เอง ค้นพบสัจธรรมด้วยพระองค์เองแล้วสามารถที่จะประกาศธรรมสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย เรียกว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธ นี่เป็นพระอรหันต์ประเภทที่หนึ่ง

ประเภทที่สอง คือประเภทรู้สัจธรรมด้วยตนเอง แต่ไม่ถนัดในการที่จะไปสั่งสอนประกาศธรรมให้ผู้อื่นได้รู้ตาม คือขาดความสามารถในเชิงการสั่งสอน เรียกว่า ปัจเจกพุทธ

ประเภทที่สาม ก็คือ พระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วรู้ตาม ไม่ได้ค้นพบสัจธรรมเองต้องมาเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า นี่เป็นพระอรหันต์ประเภทที่ ๓ เรียกว่า อนุพุทธ

พระสาวกทั้งหลายก็เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น คือเป็นพระอรหันตสาวก ที่เรียกว่าพระอนุพุทธ เช่นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอัสสชิ พระอุรุเวลกัสสปะ ที่เคยเป็นชฎิลมาก่อน พระมหากัสสปเถระ ที่เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ พระอัญญาโกณฑัญญะ ที่อยู่ในปัญจวัคคีย์และอีกมากมายล้วนเป็นพระอรหันต์

พระอรหันต์ เป็นผู้ที่หมดกิเลสแล้ว จึงต่างกันกับพระโพธิสัตว์ แต่ทั้งพระโพธิสัตว์ และพระอรหันต์ ท่านล้วนแต่ทำความดีทั้งสิ้น ไม่ทำความชั่ว

พระโพธิสัตว์ ก็ตั้งใจทำความดีช่วยเหลือผู้อื่น พระพุทธเจ้าก็ช่วยเหลือสัตว์มนุษย์ทั้งหลาย จาริกไปประกาศพระศาสนาสั่งสอนเพื่อจะให้สรรพสัตว์ได้พ้นจากความทุกข์ประสบความสุขที่แท้จริง พระองค์ทำงานไม่ได้หยุดไม่หย่อน ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เพื่อช่วยมนุษย์ทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน พอมีพระอรหันต์ไม่กี่องค์ พระพุทธเจ้าก็ส่งไปประกาศพระศาสนาโดยตรัสว่า จงจาริกไปประกาศธรรมะ แสดงธรรมเพื่อประโยชน์สุขแก่พหุชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก

นี่เรื่องของพระอรหันต์ ท่านทำกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษย์ เพราะฉะนั้นท่านก็ทำความดี พระโพธิสัตว์ก็ทำความดี ต่างก็ทำความดี ถามว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างการทำความดีของพระโพธิสัตว์กับพระอรหันต์ อันนี้เป็นอีกหลักหนึ่ง ถ้าโยมตอบได้ ก็แสดงว่าเข้าใจหลักพระศาสนาลึกซึ้งยิ่งขึ้น คิดในใจดูก่อนแล้วอาตมาจะตอบให้ฟัง

ทีนี้จะตอบแล้ว มีความแตกต่างกันอยู่ที่เป็นข้อสำคัญ ๒ ประการ

การทำความดีของพระโพธิสัตว์นั้นมีความไม่สมบูรณ์ หรือจะเรียกว่าเป็นจุดอ่อนก็ได้ ๒ ประการ

ประการที่หนึ่ง พระโพธิสัตว์ที่ทำความดีนั้น ท่านทำด้วยปณิธาน หมายความว่ามีความตั้งใจไว้ จะบำเพ็ญบารมีก็เอาปณิธานหรือความตั้งใจมั่นนั้นมาเป็นเครื่องนำตัวเอง ทำให้เกิดพลังในการที่จะทำความดี ทำความดีแน่วแน่ ทำความดีไม่ท้อถอยแล้วท่านก็ทำความดีเต็มที่

เพราะฉะนั้นเราจะว่าทำความดีหย่อนก็ไม่เชิงเพราะท่านทำจริงๆ ไม่ย่อหย่อน แต่การที่ไม่ย่อหย่อนนั้นมีความไม่สมบูรณ์ในตัว คือท่านต้องอยู่ด้วยปณิธาน ที่ท่านทำไปนั้นทำไปด้วยปณิธาน ท่านตั้งปณิธานไว้ว่า ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้า ท่านจะทำความดีอันนี้ท่านก็ทำไปใหญ่เลย มีความมั่นคงเด็ดเดี่ยวในการกระทำนั้น แต่เรียกว่าทำด้วยปณิธาน

ตอนนี้มาดูพระอรหันต์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านทำความดีด้วยอะไร อะไรเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทำความดี โยมตอบได้ไหม ? ไม่ใช่ด้วยปณิธาน ลักษณะที่สำคัญของพระอรหันต์ท่านเรียกว่าเป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมายความว่าตัวเองได้เข้าถึงจุดหมายแล้ว เข้าถึงประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาตนแล้ว เข้าถึงนิพพานแล้ว

พระอรหันต์เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้วไม่มีอะไรจะต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป จึงเป็นชีวิตที่เป็นอยู่และทำอะไร เพื่ออะไร ? ก็ทำเพื่อผู้อื่นอย่างเดียว ที่ทำอย่างนั้นทำด้วยอะไร ? เพราะเป็นธรรมชาติของท่านอย่างนั้น เป็นธรรมดาของท่าน เพราะท่านไม่มีอะไรที่ต้องทำเพื่อตัวเองแล้ว

ถ้าว่าให้ลึกซึ้งลงไป พระโพธิสัตว์ยังต้องทำเพื่อตัวเองนะ เพราะท่านยังต้องทำให้ตัวเองได้ตรัสรู้ จะต้องทำด้วยปณิธาน คือ การตั้งความปรารถนาเพื่อตัวเองจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพื่อตัวเองจะได้บรรลุพระนิพพาน แต่พระอรหันต์นั้นท่านบรรลุนิพพานแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่มีอะไรจะทำเพื่อตัวเองอีก จึงเป็นธรรมดาของท่านที่จะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นไปตามเหตุผลโดยไม่ต้องอาศัยปณิธาน

อันนี้เป็นความแตกต่างระหว่างพระโพธิสัตว์กับพระอรหันต์ในการทำความดีประการที่หนึ่ง

ต่อไปประการที่สอง ความไม่สมบูรณ์ในการทำความดีของพระโพธิสัตว์

เพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์ยังไม่ตรัสรู้ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ยังไม่รู้แจ้งสัจธรรม การทำความดีของท่านนั้นจึงทำโดยยังไม่มีปัญญาสูงสุดที่รู้ธรรมแจ่มแจ้ง ความดีนั้นเป็นเรื่องของธรรม แต่ผู้ที่จะประพฤติธรรมได้สมบูรณ์จะต้องรู้สัจธรรมรู้ความจริงของธรรมชาติทั้งหมด

ทีนี้ความดีที่เรานำมาประพฤติปฏิบัตินั้นตั้งอยู่บนฐานของสัจธรรมคือตัวความจริงในธรรมชาติในกฎของธรรมชาติ

พระโพธิสัตว์ยังไม่รู้ยังไม่เข้าถึงความจริงอันนั้นแล้ว ท่านทำความดีได้อย่างไร ? ท่านก็ทำตามที่รู้ที่เข้าใจยึดถือกันอยู่ในโลกในสังคมมนุษย์ยุคนั้นๆ ที่ยึดถือว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีเป็นความดี อันนั้นท่านทำเต็มที่ ท่านทำให้ถึงที่สุดอย่างที่ไม่มีคนอื่นทำได้ ความดีในความหมายที่มนุษย์จะทำได้ทั่วไป พระโพธิสัตว์ต้องยอดเยี่ยมทำได้สูงสุด

จุดที่ไม่สมบูรณ์อยู่ที่ว่า ท่านทำได้แค่นั้นแหละ แค่เท่าที่มนุษย์รู้ว่าอะไรคือความดี ท่านไม่ได้ทำด้วยปัญญาที่รู้แจ้งสัจธรรมไม่เหมือนพระอรหันต์ที่ท่านทำด้วยรู้แจ้ง มีปัญญาหยั่งรู้ถึงสัจธรรมด้วยความจริงเห็นความสัมพันธ์ในกฎธรรมชาติด้วยปัญญาถ่องแท้

เรื่องที่ว่ามานี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหลักในพระพุทธศาสนาซึ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เราควรจะมีความรู้เข้าใจ ถ้าเรามีความรู้เข้าใจเป็นหลักอยู่อย่างนี้แล้ว เราจะไม่หวั่นไหว เราจะวางตัวได้ถูกต้อง และเราก็จะเดินไปในทางสู่ความก้าวหน้าในหลักพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป

มิฉะนั้นแล้ว เราจะถูกดึงเฉออกไปจากหลักพุทธศาสนา จากหลักการที่ถูกต้อง นอกจากหล่นจากพุทธศาสนาแล้วก็อาจจะแกว่งไกวไถลลงไปสู่ความเสื่อมได้

ขอให้เรามีศรัทธาที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างน้อยให้มีคุณสมบัติของอุบาสก อุบาสิกาที่ดี ตั้งแต่ข้อ ๑ เริ่มต้นด้วยศรัทธาที่ถูกหลักพระศาสนา เชื่ออย่างมีหลักการ มีเหตุผล ไม่งมงาย มั่นในคุณพระรัตนตรัย เป็นต้น ไปจนกระทั่งข้อที่ ๓ ที่ยกมาพูดเป็นพิเศษว่าสัมพันธ์กับยุคนี้ คือ ไม่ตื่นข่าวมงคล หวังผลจากกรรม ไม่หวังผลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทวฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ดังที่กล่าวมาแล้ว

ขอให้โยมมีความเจริญงอกงามในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ


***** (จบ) *****
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 12:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะทำความดีอย่างพระโพธิสัตว์หรือจะคอยขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


คัดบางส่วนมาจาก
หนังสือสถานการณ์พระพุทธศาสนา กระแสไสยศาสตร์


จะทำความดีอย่างพระโพธิสัตว์หรือจะคอยขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์

หลักการที่ ๓ คือ หลักคติพระโพธิสัตว์ ต้องตรวจสอบให้ชัดว่า คติพระโพธิสัตว์แต่ก่อนนี้ในพระพุทธศาสนาที่แท้นับถืออย่างไร และปัจจุบันนับถืออย่างไร เรายังนับถือถูกต้องหรือไม่

คติพระโพธิสัตว์เกิดขึ้นโดยถือว่า พระพุทธเจ้านั้น จะสำเร็จโพธิญาณตรัสรู้ได้ ก็เพราะทรงบำเพ็ญเพียร ทำความดีอย่างยิ่งใหญ่ที่เรียกว่าบารมี ซึ่งยากที่ใครจะทำอย่างพระองค์ได้

บารมี คือ คุณธรรมความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ยิ่งยวดหมายความว่าเหนือสามัญวิสัยของคนธรรมดา หมายความว่า จะบำเพ็ญคุณความดีข้อไหนก็ทำอย่างเต็มที่ พระพุทธเจ้าทรงเพียรพยายามบำเพ็ญบารมีมาด้วยความยากลำบาก

เราจึงมีเรื่องของพระโพธิสัตว์ว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้นั้นทรงเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน โดยทรงบำเพ็ญเพียรทำความดีด้วยความเสียสละอย่างยิ่ง ถ้าตกลงว่าจะทำความดีข้อไหนแล้วก็จะทำด้วยความเข้มแข็งเต็มที่ ไม่มีการย่อท้อ ไม่มีการถดถอยเลย แม้จะต้องสละชีวิตก็ตามที และการทำความดีอย่างเสียสละเต็มที่นี้ รวมทั้งการเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นจนถึงที่สุดแม้จะต้องสละชีวิตของตนก็ยอมได้

พระโพธิสัตว์เป็นคติสำหรับสนับสนุนการระลึกถึงพุทธคุณ การระลึกถึงพระพุทธคุณนั้นเป็นเครื่องเตือนใจเราให้ระลึกถึงความเป็นมนุษย์ และศักยภาพของมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเราว่า เราก็เป็นมนุษย์อย่างพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ แต่พระองค์มีความเพียรพยายามพัฒนาพระองค์เองจนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

เราก็จะต้องพัฒนาตนเอง ต้องฝึกฝนตนเองอย่างนั้นด้วย นี้เป็นการเตือนให้เราทั้งมีความมั่นใจในความเป็นมนุษย์ที่พัฒนาได้ ทั้งสำนึกในหน้าที่ของตนที่จะต้องพัฒนาตัวเองยิ่งขึ้นไป และทั้งทำให้เกิดกำลังใจในการที่จะฝึกฝนพัฒนาตนเองด้วย พร้อมกันนั้นก็จะได้นำเอาวิธีปฏิบัติพัฒนาของพระองค์ที่ได้ทรงสอนไว้มาใช้ประโยชน์

ถ้าเราทำความดีไปแล้วเกิดความรู้สึกท้อแท้ว่า เราทำความดีถึงอย่างนี้ก็ยังไม่ได้รับผลที่ต้องการ เราก็หันไปดูพระจริยาวัตรของพระโพธิสัตว์ว่า พระองค์ทำความเพียรลำบากยากเย็นกว่าเรา ประสบอุปสรรคมากกว่าเรา พระองค์ไม่เคยท้อถอย พระองค์ถูกกลั่นแกล้งมากมาย พระองค์ก็ยังทำต่อไปในความดี

เมื่อเรานึกถึงคติพระโพธิสัตว์ ระลึกถึงจริยาวัตรของพระองค์ เราก็เกิดกำลังฮึดสู้ต่อไป ทำความเพียรต่อไป ไม่ถอย เพราะฉะนั้นคติโพธิสัตว์จึงหนุนการระลึกถึงพระพุทธคุณซึ่งทำให้เรามั่นใจในศักยภาพของความเป็นมนุษย์ที่ต้องพัฒนา

ระลึกถึงหน้าที่ของเราที่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตน และเกิดกำลังใจในการฝึกฝนพัฒนาตนอย่างนั้น

อย่างไรก็ตาม ต่อมาปรากฏว่าคติพระโพธิสัตว์ได้กลายไป คนในยุคหลังต่อมาคงจะเห็นว่า เออ! พระโพธิสัตว์นี้ท่านเสียสละมาก ท่านตั้งใจทำความดีช่วยเหลือผู้อื่นด้วยมหากรุณา ท่านมาคอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ในเมื่อขณะนี้มีพระโพธิสัตว์คอยช่วยเหลืออยู่แล้ว เราก็ไปอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ก็แล้วกัน

ถึงตอนนี้คติพระโพธิสัตว์ก็เปลี่ยนไป แทนที่จะนึกถึงพระโพธิสัตว์เพื่อเป็นตัวอย่างในการทำความดีให้เกิดกำลังใจ และต้องทำความดีด้วยความเสียสละจริงจังอย่างท่าน ก็กลายเป็นลัทธิหวังพึ่งว่าคราวนี้มีพระโพธิสัตว์ไว้คอยช่วยแล้ว เราไปขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ดีกว่า

จากคติที่เพี้ยนไปอย่างนี้ก็มีพระโพธิสัตว์อย่างเจ้าแม่กวนอิมขึ้นมา แล้วคนก็ไปขอความช่วยเหลือกัน แทนที่จะบำเพ็ญความดีอย่างพระโพธิสัตว์ กลับกลายเป็นขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์ กลายเป็นคติคล้ายกับการนับถือเทพเจ้า แล้วไปขอความช่วยเหลือจากเทพเจ้า โดยอ้อนวอนให้ท่านดลบันดาลสิ่งที่ตนต้องการให้

พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา สั่งสอนประชาชนให้พ้นออกมาจากการบวงสรวงอ้อนวอนเทพเจ้าอย่างที่ว่าดึงจากเทพสู่ธรรม ไปๆ มาๆ

ชาวพุทธกลับไปนับถือศาสนาแห่งการอ้อนวอนตามเดิม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
สาวกRO
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2005, 1:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ไม่เกิดเป็นหญิงหรือคนสองเพศนะครับ ข้อมูลเหล่านี้จริง ๆ อยากให้หาในพระไตรปิฎกจะดีกว่า อ่านข้อความไม่มีที่มานะครับ จะทำให้สับสน เพราะตรงที่แนะไปน่าเชื่อที่สุดแล้ว แต่อ่านไปก็ใช้วิจราณญาณให้ดี ๆ ด้วยนะครับ พยายามเน้นที่เหตุผล และข้อความที่ลงไว้ตามที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็ปบอร์ด หนังสือ ควรจะมีข้อมูลอ้างอิงด้วยนะครับ
 
สาวกRO
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2005, 2:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระโพธิสัตว์ มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท

1.นิตยโพธิสัตว์ จำพวกแรกเรียกได้ว่าเป็นโพธิสัตว์แล้วแน่นอน เพราะว่าได้รับพุธพยากรณ์จากสำนักของพระพุทเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งมาแล้ว

2.อนิตยโพธิสัตว์ พวกนี้ยังไม่ได้รับการพยากรณ์ คุณก็เป็นได้ เป็นกันเยอะ ๆ ยิ่งดี สนับสนุนครับ

และก็พระโพธิสัตว์มีสามประเภท (ผมบอกคร่าว ๆ นะ สมัยก่อนผมชอบอ่านพระไตรปิฎกถือว่าเล่าสู่กันฟังนะครับอันนี้เป็นหลังได้รับพุทธพยากรณ์นะ)

1.ปัญญาธิกะ บำเพ็ญบารมีนานกว่า 4 อสงไขยกัป(ผมหมายถึงใช้เวลามากกว่า 4 อสงไขยนะค่อย ๆ อ่านครับ มีตัวเลขย่อยอยู่อีกมั้งจำไม่ได้อ่ะ ) นี้ยังไม่รวมการสร้างบารมีมาจนกว่าจะได้รับพุทธทำนายอีกนะว่านานเท่าไหร่ แต่บอกได้ว่าโครต ๆ นาน ผู้ที่บำเพ็ญบารมีประเภทนี้หายาก เช่นพระพุทธโคดมของเรานี้แหละครับ

2.ศรัทธาธิกะ บำเพ็ญบารมีนานกว่า 8 อสงไขยกัป

3.วิริยะธิกะ บำเพ็ญบารมีนานกว่า 16 อสงไขยกัป ( นานสุด ๆ นานจริง ๆ นี้ยังไม่รวมก่อนที่จะได้รับพุทธทำนายอีกนะ สุดยอดนานมากจริง ๆ )

** หมายเหตุ ...จะมีก่อนนั้นอีกเริ่มต้นจะอธิฐานแต่ยังไม่ได้เอ่ยปากกับใคร(ทำความเข้าใจด้วยล่ะกันท่านผู้อ่าน) ขั้นต่อมาจะเอ่ยปากด้วยสั่งสมบารมีไปด้วย ซึ่งบอกได้เลยลายละเอียดเยอะแยะมาก ซึ่งหาอ่านได้ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ 32 ชื่อ ขุททกนิกาย อปทาน ภาคที่ 1 (เป็นสุตตันตปิฎก)

---------------------------------------------------------------------------------------------------

เหตุให้คนทั้งหลายได้เป็นพุทธเจ้าคือว่า ต้องเป็นผู้ได้ทำอธิการ (คุณความดี) กับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แต่ยังไม่บรรลุในศาสนาของพระพุทธเจ้า (นั้นๆ). ด้วยปัญญาที่ตรัสรู้ออกหน้า ผู้มีปัญญาย่อมบรรลุความเป็นสัพพัญญูได้โดยลำดับ ด้วยอัธยาศัย ด้วยธรรมะเป็นกำลังอันใหญ่ ด้วยปัญญา ด้วยเดช. มีข้อความนึงอันนี้ก็ระลึกกันให้ดี ๆ ล่ะ พระองค์ตรัสเล่าว่า พระองค์เองได้ทรงปราถนาคาวมเป็นพระพุทธเจ้าใจพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เสมบูรณ์ด้วยบารมี 30 ทัศ นับจำนวนไม่ได้ (โห . . . นี้ขนาดระดับปัญญาธิกะเลยนะนี้ยังใช้เวลาขนาดนี้) ได้ปรารถนาการตรัสรู้ต่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลาย ได้นมัสการ 10 นิ้ว ซึ่งพระผู้เป็นนายกของโลกทั้งหลายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ได้อภิวาทด้วยเศียรเกล้านอกจากนั้นยังแสดงถึงการมีพระหฤทัยนึกน้อมถวายทาน มีความเลื่อมใสบูชาพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า

รวม ๆ ข้อความจะหนักไปทางแสดงการบำเพ็ญบารมีทางใจมากกว่าอย่างอื่น

----------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก เล่มที่ 32 ชื่อ ขุททกนิกาย อปทาน ภาคที่ 1 (เป็นสุตตันตปิฎก)
 
ฌ็
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 ต.ค.2005, 4:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ณฌษโษฌฯฏฆณฯโฏฯฮฯศฏษฺฮฯโฏณฌ
 
charoem
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2008
ตอบ: 31

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 11:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไปค้นเจอในหนังสือ พระศรีอารย์ โดย ส. พลายน้อย
(ได้รับคัดเลือกให้ใช้ในห้องสมุดโรงเรียน สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒)

คัดลอกจากคำนำ

การที่คนโบราณมุ่งหวังที่จะไปเกิดในศาสนาพระศรีอารย์นั้น ก็เพราะเข้าใจว่าเป็นศาสนาที่มีแต่ความสะดวกสบาย ชีวิตมีแต่ความสดชื่นรื่นรมย์ ไม่ต้องขวนขวายดิ้นรนให้เหนื่อยยาก

แต่บางคนอาจไม่ทราบเรื่องตลอดว่า การที่จะไปพบศาสนาพระศรีอารย์ได้นั้น จะต้องเตรียมตัวหรือปฏิบัติตนอย่างไร บางคนอาจคิดว่าตั้งความปรารถนาไว้ก็จะได้ไปเกิด

ซึ่งแท้จริงแล้วไม่เพียงแต่ตั้งความปรารถนาอย่างเดียว หากจะต้องเป็นผุ้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในขณะที่อยู่ในพระพุทธศาสนานี้เสียก่อน ถ้าไม่ปฏิบัติเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็จะไม่มีโอกาสได้พบศาสนาพระศรีอารย์อย่างแน่นอน

ฉะนั้นเรื่องของศาสนาพระศรีอารย์จึงไม่ใช่เรื่องที่จะคิดฝันจะไปพบได้ง่าย ๆ เพราะเป็นศาสนาที่รับเฉพาะคนดีเท่านั้น หรือกล่าวให้ชัดเจนขึ้นไปอีกก็คือ รับเฉพาะพุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดเท่านั้น...

...เรื่อง "พระศรีอารย์" นี้อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านที่ต้องการรู้เรื่องพระศรีอารย์ในด้านตำนานและความเชื่อ แต่ในด้านสาระก็จะเห็นว่าพระพุทธศาสนายังเป็นศาสนาที่สำคัญและจำเป็นอยู่

ถ้ามัวแต่หวังตั้งปณิธานว่าจะไปเกิดในศาสนาพระศรีอารย์ โดยไม่ประพฤติไม่ปฏิบัติความดีตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะไม่มีโอกาสได้ไปเกิดในศาสนาพระศรีอารย์อย่างแน่นอน เพราะพระศรีอารย์ได้กำหนดไว้อย่างนั้น

อนึ่งเรื่องพระศรีอารย์ มิใช่จะมีกล่าวถึงในประเทศไทยเท่านั้น ในจีน เกาหลี ญี่ปุ่นก็มี แต่เรื่องราวที่กล่าวถึงจะมีพิสดารอย่างไร หาเอกสารได้น้อยมาก ถ้ามีคงเป็นเรื่องแปลก ๆ อาจไม่เหมือนกับที่กล่าวถึงในเมืองไทยที่เขียนไว้ในเล่มนี้

เพราะเพียงชื่อและรูปก็ต่างกันมากมาย ในภาษาจีนเรียกพระศรีอารย์ว่า มิไล (Mi - Li) หรือ มิโลโฟ ในภาษาญี่ปุ่นเรียก มิโรกุ ในภาษาเกาหลีเรียกว่า ไมรัก [Miruk] หรือ ไมรอก (Mirok)

ซึ่งเพี้ยนมาจากภาษาสันสกฤต ไมเตฺรย (maitreya) รูปพระศรีอารย์ก็ทำต่างกัน ทางไทยเป็นรูปคล้ายพระพุทธแต่ไม่มีพระเกศมาลา ทางจีนเป็นรูปพระอ้วนหน้าตาอวบอมยิ้มอย่างใจดี นิยมเรียกกันว่า พระยิ้ม

ส่วนของเกาหลี ก็ทำเป็นรูปนั่งบนตั่งห้อยเท้าซ้าย เท้าขวาพาดบนเข่าซ้าย มือขวางอข้อศอกวางบนเข่าขวา นิ้วชี้กับนิ้วกลางเหยียดแตะแก้ม และยังมีลักษณะอาการอย่างอื่นอีก ซึ่งได้พยายามหามาพิมพ์ไว้ในหนังสือเล่มนี้...

คัดลอกจากหน้า ๑ อายุของพระพุทธศาสนา

...พระศรีอารย์มีชื่อเรียกต่างกัน เพราะมีหลายคัมภีร์ ทางฝ่ายมหายานเรียกว่า พระเมตไตรย ทางฝ่ายหินยานหรือทางไทยเรียกว่า พระศรีอริยเมตไตรยก็มี เรียกว่า พระศรีอาริยไมตรีก็มี พระเมตไตย์

ภาษาสันสกฤต ไมเตฺรย หรือ พระเมตเตยยก็มี แต่ส่วนมาก รู้จักกันในนามพระศรีอารย์ เป็นอนาคตพุทธเจ้าที่มีผู้กล่าวถึงและปรารถนาที่จะไปเกิดในยุคที่พระศรีอารย์มาตรัสรู้กันมาก

การที่พุทธศาสนิกชนพากันเลื่อมใสพระศรีอารย์น่าจะเนื่องมาจากเหตุ ๒ ประการ

ประการแรก ศาสนาพระศรีอารย์มีแต่ความสุขสนุกสบาย มนุษย์ทั้งหลายชอบความสะดวกสบาย ไม่ต้องทำงานให้เหนื่อยยาก จึงชอบศาสนาดังกล่าวนี้

ประการที่สอง เชื่อกันว่าในปัจจุบันเป็นยุคกึ่งพุทธกาล เพราะเข้าใจกันว่า พระพุทธศาสนาจะมีอายุอยู่เพียง ๕๐๐๐ ปีเท่านั้น ผู้ที่หวังจะเกิดใหม่ จึงปรารถนาที่จะเกิดในศาสนาพระศรีอารย์

ดังจะเห็นได้จากคำอธิษฐานต่าง ๆ ของคนโบราณ เช่นในศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ เมื่อมหาศักราช ๑๓๓๔ (พ.ศ. ๑๙๕๕) กล่าวถึงการสร้างวัดและพระวิหาร ผู้สร้างได้ตั้งความปราถนาไว้ว่า

"ตูข้าท่านทั้งหลายขวนขวาย ทำในศาสนานี้ จะปรารถนาทันศาสนาพระศรีอาริยไมตรีโพธิสัตว์ทุกชาติ"

ความจริงถ้าจะเชื่อว่าพระพุทธศาสนาจะมีอายุเพียง ๕๐๐๐ ปี ก็ยังมีเวลาอีกตั้งสองพันปี ก็น่าจะอธิษฐานหรือตั้งความปรารถนาให้เกิดในพระพุทธศาสนาอีกก็ยังทัน

ถ้าเชื่อว่าตายแล้วเกิด เอาไว้ใกล้ ๆ ห้าพันปีจึงค่อยปราถนาศาสนาพระศรีอารย์ ก็ยังไม่สายเกินไป...

...ความจริงพระพุทธเจ้าทรงทราบดี ถึงเหตุที่พระพุทธศาสนาจะเสื่อมและจะไม่เสื่อม ดังปรากฏในพระไตรปิกฏกปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ดังต่อไปนี้

"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าไผ่ใกล้เมืองมิถิลา ลำดับนั้น ท่านพระกิมพละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

'ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน ในเมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว'

'ดูก่อน กิมพิละ ! เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษาไม่เคารพยำเกรงกันและกัน

นี้แล กิมพิละ! เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมไม่ตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว'

สรุปว่า ความเสื่อมเกิดจากพุทธบริษัทเอง เมื่อพุทธมามกะไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ พระพุทธศาสนาก็ย่อมหมดอายุไปเป็นธรรมดา...
...
คัดลอกจากบทที่ ๑๐ เมื่อพระศรีอารย์ตรัสรู้
หน้า ๖๙ - ๗๓

เมื่อพระศรีอารย์จะมาตรัสรู้นั้น จะจุติจากดุสิตสวรรค์มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พระพุทธบิดาทรงพระนามว่า พระสุพรหมพราหมณ์ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าสังขจักรพรรตราธิราช ครองเกตุมวดี บุรีนคร พระพุทธมารดามีพระนามว่า พราหมณวดี

ไม้พระมหาโพธิที่พระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้นั้นคือ ไม้กากระทิง...

...ตามหนังสือไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา...พระศรีอริยเมตไตรยเมื่อเสด็จมาตรัสรู้นั้น มีพระวรกายสูงได้ ๘๔ ศอก คือตั้งแต่พื้นพระบาทขึ้นไปถึงพระชาณุ (เข่า) ๒๒ ศอก แต่เข่าขึ้นไปถึงพระนาภี ๒๒ ศอก

แต่พระนาภีขึ้นไปถึงพระรากขวัญ ๒๒ ศอก แต่พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ขึ้นไปถึงปลายพระอุณหิส คือพระโมลีได้ ๒๒ ศอก

ระหว่างพระพาหา (แขน) ทั้งสองนั้นกว้างได้ ๒๕ ศอก พระกรรณทั้งสองนั้นยาวมีประมาณได้ข้างละ ๗ ศอก พระเนตรทั้งสองมีกำหนดยาวข้างละ ๕ ศอก พระขนงทั้งคู่ก่งค้อมประดุจคันธนู มีประมาณยาวข้างละ ๕ ศอก ระหว่างพระขนงนั้นห่างกัน ๕ ศอก

พระนาสิกยาว ๗ ศอก พระโอษฐ์นั้นมีกำหนดยาวได้ ๕ ศอก พระชิวหายาว ๑๐ ศอก พระอุณหิศมีประมาณโดยกลมได้ ๒๕ ศอก ดวงพระพักตร์มีประมาณโดยกลมได้ ๒๕ ศอก

พระหัตถ์ซ้ายขาวกำหนดแต่พระอังสะลงไปถึงข้อพระหัตถ์ยาวข้างละ ๔๐ ศอก ฝ่าพระหัตถ์กว้างข้างละ ๕ ศอก พระศอโดยรอบ ๑๕ ศอก


พระศรีอริยเมตไตรยนั้นมีพระเนตรกว้างบริสุทธิ์ไม่กะพริบ และพระเนตรนั้นมีกำลังแลเห็นเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่อยู่ในความมืดได้ และอาจมองได้ไกลถึง ๑๒ โยชน์ เมื่อพระพุทธองค์จะทอดพระเนตร ด้วยพุทธานุภาพนั้น อาจมองได้ไกลหาที่สุดมิได้

ฉัพพัณณรังษีที่แผ่เป็นวงล้อมพระองค์นั้นเป็นรัศมีที่แผ่ไปไกลแสนไกลหาที่สุดมิได้ ขณะที่เสด็จพระพุทธดำเนินนั้นเล่า ก็จะมีดอกบัวขาวใหญ่ผุดขึ้นรองรับพระบาท

ดอกบัวแต่ละดอกนั้นมีกลีบใหญ่ยาวได้กลีบละ ๓๐ ศอก กลีบน้อยที่รองกลีบใหญ่ยาวได้ ๒๕ ศอก เมื่อกลีบแลเกสรร่วงไปสิ้นแล้ว ก็จะเป็นฝักใหญ่ประมาณ ๑๖ ศอก

ศาสนาพระศรีอริยเมตไตรยนั้น จะสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ต้องตามประทีปโคมไฟ เพราะพระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ไพศาลไปทั่ว ถ้าไม่สังเกตจากธรรมชาติแล้ว จะไม่รู้เลยว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืน

ธรรมชาติที่จะสังเกตเห็นได้คือ ถ้าเป็นเพลาค่ำจะสังเกตได้จากเสียงนกกา ถ้าเป็นเวลารุ่งสว่างจะสังเกตได้จากดอกบัวบาน
...

...พระศรีอริยเมตไตรยจะเข้าสู่พระปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐,๐๐๐ ปี

อนึ่ง ได้กำหนด ลักษณะของผู้ที่จะไม่ได้พบศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย ไว้ดังนี้คือ

๑. บุคคลที่ฆ่ามารดา บิดา พระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า ยุยงให้แตกจากกัน พวกนี้ตกนรกอเวจี ห่างไกลจากพระศรีอริยเมตไตรย

๒. บังเกิดในที่ไกล ไม่ทราบว่าพระศรีอริยเมตไตรยมาตรัส

๓. พวกคนพาลนอกพระพุทธศาสนา

๔. คนพาลที่ลักขโมยของสงฆ์

๕. บุคคลที่ไม่ละอาย ลับลอบกินของที่เขานำมาถวายพระสงฆ์

ส่วนคนที่จะได้พบศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย นั้น มีนิสัย ปัจจัย ดังต่อไปนี้

๑. บำเพ็ญทานถือศีล

๒. เคยบวชเป็นภิกษุ สามเณร ในพระพุทธศาสนา

๓. คนที่เคยปลูกต้นไม้ไว้ในวัด ให้ภิกษุสามเณรแลโยมวัด ทั้งหลายได้อาศัยดอกและผล

๔. คนที่สร้างสะพานใหญ่น้อยให้พระสงฆ์ และคนเดินทางได้รับความสะดวก

๕. คนที่ทำถนนหนทางให้พระสงฆ์ และคนเดินทางได้รับความสะดวก

๖. คนที่สร้างศาลาให้คนอื่นได้พักอาศัย

๗. คนที่ขุดบ่อน้ำไว้เป็นทาน

๘. คนที่เคยทำบุญตักบาตรพระสงฆ์

๙. คนที่มีความกตัญญูเลี้ยงดูบิดามารดา

๑๐. คนที่มีความอ่อนน้อมเคราพยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ในตระกูล

สรุปว่า ใครทำดีตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะได้พบพระศรีอริยเมตไตรยอย่างแน่นอน...

หน้า ๗๔ - ๗๕

...พุทธศาสนิกฝ่ายใต้ในลังกา พม่า และประเทศไทย นับถือพระเมตไตรยเป็นเพียงพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ในอินเดียเหมือนจะนับถือพระมานุสสพุทธพระองค์นี้มาก

ได้ความจากรายงานการสืบพระศาสนาของนักพรตฟาเหียนของจีน แจ้งว่า ได้เห็นรูปพระเมตไตรยแบบคันธาระมีอยู่มาก ตามแหล่งที่ได้ท่องเที่ยวไป พระมานุสสพุทธองค์นี้ จีนเรียกว่า มิโลโฟ ญี่ปุ่น เรียกว่า มิโรกุ

อนึ่งในหนังสือ A Summer Ride Through Western Tibet ของ Jane E.Duncan กล่าวว่าที่ทิเบตมีรูปพระศรีอารย์สลักหินขนาดใหญ่ ตามความเชื่อของชาวทิเบตว่า พระศรีอารย์เป็นคนขาว จะนั่งแบบชาวยุโรป ไม่นั่งขัดสมาธิแบบชาวตะวันออก...

...คือ นั่งห้อยพระบาทข้างซ้าย พระบาทข้างขวาพาดที่พระชาณุ (เข่า) ของด้านซ้าย

ส่วนพระศรีอารย์แบบจีน เป็นรูปนั่งชันเข่าข้างขวาก็มี นั่งมือทั้งสองวางที่หัวเข่าก็มี ที่เป็นรูปยืนมือขวายกขึ้นเหมือนจะถือลูกประคำ ส่วนมือซ้ายรวบปากถุงหิ้วอยู่

สัญญลักษณ์ที่สำคัญอยู่ที่ถุง ซึ่งจะมีเหมือนกันหมด ในเรื่องพระศรีอริยเมตไตรย (มีเหล็กฮุด) ของวัดจีนประชาสโมสร "เล่งฮกยี่" ได้กล่าวถึงลักษณะของพระศรีอารย์แบบจีนไว้ตอนหนึ่งว่า

"พระนามอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวจีนเรียกว่า โป่วต่อฮั่วเสียง (พระมหาเถระเจ้าผู้ทรงย่าม) เกิดในมณฑลจิกกัง อำเภอฮ่งห่วย ของจีนสมัยราชวงค์เนี้ย

มีลักษณะพิเศษรูปร่างอ้วนท้วนแก้มเป็นพวง ปากกว้างยิ้มเสมอ อุระและอุทรตอนบนเปิดให้เห็น หัตถ์ขวาทรงลูกประคำ หัตถ์ซ้ายทรงย่ามและรวบปากย่ามไว้

มีอินทรีย์ผ่องใสสมบูรณ์ทุกประการ จึงได้นามว่า โป่วต่อฮั่วเสียง เที่ยวแสดงธรรมโปรดชาวนิกรให้ละอกุศลกรรม ตั้งอยู่ในกุศลธรรม ช่วยเหลือสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากตลอดพระชนมายุก่อนดับขันธ์ ได้จารึกปริศนาธรรมไว้ว่า พระองค์คือพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์

สาธุชนคงเคยเห็นรูปพระทำด้วยกระเบื้องเคลือบหรือบางที ก็เป็นลายคราม รูปพระอ้วนท้องพลุ้ยนั่งหัวเราะ มีรูปตั้งแต่ขนาดใหญ่จนเล็ก รูปพระท้องพลุ้ยนี้คือ มีเหล็กฮุด

ผู้เข้าใจผิดเรียกพระสังกัจจายน์ เพราะรูปไปตรงลักษณะกันเข้า ผิดกันคือพระสังกัจจายณ์หัตถ์ทั้งสองทรงพระอุทร มีลักษณะสำรวม ส่วนมีเหล็กฮุดมีลักษณะหัวเราะ หัตถ์ขวาทรงประคำ หัตถ์ซ้ายทรงย่าม

จีนก็เข้าใจว่าพระสังกัจจายน์เป็นมีเหล็กฮุด ฝ่ายไทยก็เข้าใจว่ามีเหล็กฮุดเป็นสังกัจจายน์ เป็นการเข้าใจผิดทั้งสองฝ่าย"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2008, 8:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รู้หนอ รู้หนอ เจริญในธรรมทุกท่านค่ะ สู้ สู้ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
wvichakorn
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 มิ.ย. 2008
ตอบ: 17
ที่อยู่ (จังหวัด): สระบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 5:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาในทุก ๆ ความเห็นค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailYahoo MessengerMSN Messenger
JARUWAN_G
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 ส.ค. 2008
ตอบ: 72
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2008, 11:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณ คุณ CHAROEM มากค่ะ ที่นำความรู้มาให้อ่าน

อนุโมทนาค่ะ
 

_________________
ทุกอย่างแก้ไขได้ วันนี้ต้องทำให้ดีกว่าเมื่อวาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง