Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักธรรมในการดำเนินชีวิตให้งดงาม : พระธรรมเมธาภรณ์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2007, 6:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

หลักธรรมในการดำเนินชีวิตให้งดงาม
โดย พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)



กลุ่มธรรมกลุ่มนี้คงเป็นกุศลธรรมส่วนเหตุ คือ ภาเวตัพพธรรม ที่บุคคลต้องลงมือประพฤติปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลตามที่ทรงแสดงไว้ จึงจะเกิดขึ้นได้ และแต่ละหมวดในภาคปฏิบัติจะบูรณาการกันเอง จนอำนวยผลได้ตามกระบวนการของกุศลธรรม เช่นที่กล่าวมาแล้ว ในที่นี้จะยกมาเป็นตัวอย่างบางหมวด เช่น

ปัญญาวุฒิธรรม คือ ธรรมที่จะนำชีวิตคนให้ดำเนินไปสู่ความเจริญ ๔ ประการ คือ

๑. สัปปุริสสังเสวะ

คบหาสมาคมกับคนดี ด้วยการร่วมหลักคิด ร่วมหลักกิจกรรม ร่วมผลประโยชน์กับท่าน

๒. สัทธัมมสวนะ

ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ หมายรวมถึงการเกี่ยวข้องกับท่านด้วยการพบปะสนทนา
การเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการแนะนำ เสนอ สั่งสอนจากท่าน ให้ทำด้วยความเคารพ พยายาม
หาประโยชน์จากกุศลเจตนาของท่านให้มากไว้

๓. โยนิโสมนสิการ

พยายามทำใจโดยอุบายวิธีที่แยบคาย คิดได้ คิดดี คิดเป็น คิดชอบ ประกอบด้วยเหตุผลในการ
คิดหาประโยชน์จากทุกอย่างที่ตนสัมผัส

๔. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ

ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรม มองเห็นผลประโยชน์ต่อเนื่องกันชัดเจนอย่างโครงสร้างพระพุทธดำรัสที่ตรัสส่งพระอรหันตสาวกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในคราวแรก มีวัตถุประสงค์คือ การทำงานเพื่อคนเป็นอันมาก น้ำใจต่อคนทำต้องมุ่งอนุเคราะห์ต่อเขา กระบวนการในการแสดงธรรมคือ แสดงอะไร แสดงแก่ใคร แสดงที่ไหน แสดงอย่างไร มีอะไรเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่สอดรับกับคนฟังกลุ่มนั้น คนนั้นแสดงอะไรจบแล้วเขาควรจะได้รับประโยชน์อะไร เป็นต้น และนั่นคือการทำความดีถูกที่ การทำความดีถูกคน การทำความดีถูกดี การทำความดีพอดี การทำความดีถึงดี ช่วยให้เขาทำดีแล้วจึงได้ดี

ธรรมกลุ่มนี้พระบาลีเรียกว่า “วุฒิ” แปลว่า ธรรมที่จะนำคนไปสู่ความเจริญบ้าง “ปัญญาวุฒิ” คือ ความเจริญงอกงามแห่งปัญญาบ้าง ทั้งหมดล้วนเป็นการบ่งบอกความเป็นอริยมรรคของหลักธรรมทั้ง ๔ ประการนี้


มีต่อ >>>>> จักร ๔
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 11 มิ.ย.2007, 7:32 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2007, 7:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จักร ๔

จักร ๔ คือ ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ประสบความเจริญ ดุจรถนำคนไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ

การนำ “จักร” หรือ ล้อ มาเป็นสื่อในการสอนธรรมเป็นเรื่องของยุคสมัย เพราะแม้ปฐมเทศนาเองก็ทรงใช้คำว่า “ธรรมจักร” คือ ล้อแห่งธรรม

เพราะว่าสมัยนั้นสิ่งที่สามารถนำคนไปสู่ความสำเร็จได้เร็วมาก ทั้งแสดงถึงพลานุภาพที่ไม่อาจทัดเทียมได้คือ “จักรรัตนะ” จักรแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ มีลักษณะเป็นล้อที่สามารถส่งไปให้ทำลายฝ่ายตรงกันข้ามไปในที่ที่พระเจ้าจักรพรรดิต้องการเสด็จได้ในเวลาที่รวดเร็ว ธรรมในที่นี้ทรงใช้คำว่าจักร ก็มีลักษณะเดียวกันก็คือ หากใครสามารถคุณสมบัติที่กำหนดความเป็นจักรได้ครบ คุณธรรมเหล่านั้นก็จะนำเข้าไปสู่จุดหมายปลายทางตามที่ตนต้องการได้

แต่ก็ต้องเข้าใจนี่ก็คือปริยายเทศนา ที่เมื่อลงมือประพฤติปฏิบัติแล้วจะอำนวยผลให้ เช่นเดียวกับวุฒิธรรม เป็นต้นนั่นเอง เพราะหลักธรรมเหล่านี้ก็คือ มรรคสัจ ดังกล่าวคือ

๑. ปฏิรูปปเทสวาสะ

การได้อยู่ในสถานที่หรือถิ่นที่มีความเหมาะสม ที่จะช่วยให้ตนสามารถใช้เป็นที่พัฒนาตนตามสมควรแก่ฐานะนั้นๆ อาจจะเรียกได้ว่าทำเลดีงาม เช่นการศึกษาปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน ประเทศไทยได้ชื่อว่า ปฏิรูปเทสะ เป็นต้น

๒. สัปปุริสูปัสสยะ

การคบหาสมาคมกับท่านที่เป็นนักปราชญ์บัณฑิต ที่ได้นามว่า สัตบุรุษ

๓. อัตตสัมมาปณิธิ

การตั้งตนไว้ในทางที่ชอบ มีเจตจำนงที่จะนำตนไปสู่ผลที่ดีงาม ตามที่ได้ศึกษาหาความเข้าใจจากสัตบุรุษ

๔. ปุพเพกตปุญญตา

ความเป็นคนที่มีความดี บุญกุศลที่ตนทำไว้ในกาลก่อน มีพื้นฐานดีมีความพร้อมที่จะได้รับประโยชน์จากสถานที่ คนที่ตนคบหา จิตสำนึกของตนเอง

พึงสังเกตว่ามีการมองเหตุในรูปของการสืบสาวไปถึงกิเลสหรือกรรมเสมอ อดีตกรรมเป็นเรื่องที่พระพุทธญาณที่ทรงรู้จากพระญาณของพระองค์ ในแง่กรรมท่านจะพูดในรูปของกรรมดีกรรมชั่ว ที่มาจากบารมีและอาสวะ บารมีคือการสะสมสิ่งดีๆ เอาไว้ภายในจิต สร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ให้คนมีความโน้มเอียงไปในทางใฝ่ดี ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ

คนที่พบเห็นพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าด้วยกัน ทำไมจึงได้รับผลจากการเห็น การฟังธรรมต่างกัน แม้จะฟังเรื่องเดียวกัน นี่แสดงว่าความแตกต่างกลับไปที่บุญบาปในอดีตที่มีความยิ่งหย่อนแตกต่างกัน

จากจุดนี้สามารถหาข้อสรุปได้ว่า

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนจะบวกหรือลบก็ตาม
มีสามเหตุแฝงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือ
แรงของอาสวะและบารมี
หรืออกุศลกรรม และกุศลกรรมในอดีตร่วมด้วยเสมอ


ความเป็นจักรขององค์ธรรมทั้ง ๔ ประการคือ การที่คนสามารถใช้ประเทศอันสมควรกับบุญที่ทำไว้ในกาลก่อน เป็นแรงผลักดันให้พบสัตบุรุษ มีความศรัทธาที่จะเข้าไปหาท่าน ฟังธรรม กำหนดข้อความที่ตนฟัง พิจารณาข้อความแล้วน้อมเอาธรรมเหล่านั้นมาปฏิบัติพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ หลักการที่สำคัญคือ การตั้งตนไว้ชอบของแต่ละคนอีก ๓ ประการ กลายเป็นปัจจัยเสริม ซึ่งก็คงเป็นตามกฎแห่งกรรม นั่นคือการทำความดีก็ได้รับผลดีนั่นเอง


มีต่อ >>>>> อิทธิบาท ๔
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2007, 7:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อิทธิบาท ๔

อิทธิบาท แปลว่า ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนประสงค์ ที่ไม่นอกเหนือวิสัย

องค์ธรรมข้อนี้มาจาก “อิทธิ” แปลว่า ความสำเร็จ “บาท” แปลว่า ทางหรือเหตุ

องค์ธรรมจึงเป็นอริยมรรคเช่นเดิม องค์ธรรม ๔ ข้อนี้มีความสำคัญมาก เมื่อนำไปปฏิบัติจะมีอาการหนุนหนุนเนื่องกันตลอดไป ทำนองเดียวกับวุฒิธรรมและกุศลธรรมส่วนเหตุกลุ่มอื่นๆ คือ

๑. ฉันทะ

ความพอใจรักใคร่ยินดีในสิ่งนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน การปฏิบัติธรรม เป็นต้น ก็ตาม

๒. วิริยะ

เพียรพยายามหมั่นประกอบ ประพฤติ กระทำไปตามสมควรแก่กรณีของภารกิจนั้นๆ เป็นการใช้ความเพียรอย่างกล้าหาญ มุ่งมั่นสู่ผลที่ตนต้องการอย่างมั่นคง

๓. จิตตะ

เอาใจใส่ สนใจทุกขั้นตอนของการงานที่ต้องจัด ต้องทำเหล่านั้น บางคราวอาจจะทำในรูปของจิตจดจ่อต่อภารกิจเหล่านั้นอย่างเอาจริงเอาจัง เด็ดเดี่ยว

๔. วิมังสา

มีการตรวจสอบ ตรวจตรา หาเหตุผลในสิ่งนั้นนั้นๆ ตรวจสอบแม้ก่อนจะปลูกฝังความพอใจขณะใช้ความเพียร การแสดงอาการมุ่งมั่น รวมถึงการพิจารณาตนเอง

ในความหมายที่เต็มที่นั้น ท่านใช้คำบาลีว่า “ฉนฺทสมาธิปธานสงฺขาร”

อันเป็นการพยายามเพิ่มพูนความดีเหล่านั้นด้วยความเพียรพยายามที่หนักแน่นมั่นคง จนกว่าจะบรรลุผลตามที่ตนต้องการ องค์ธรรมทุกข้อใช้ข้อความข้างท้ายเช่นเดียวกัน

สาธุ สาธุ สาธุ

ที่มา : พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) รวบรวมเรียบเรียง.
โลกและชีวิตในวิถีแห่งธรรม, หน้า ๑๖๒-๑๖๖.


ดอกไม้ รวมคำสอน “พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=47886
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง