Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบความหมายค่ะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ภคภรณ์ หัสดม
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 03 พ.ค. 2007
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2007, 3:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า "ตายจริงก่อนตายลวง หรือตายก่อนตาย" หมายความว่าอะไรคะ จะต้องปฏิบัติอย่างไร ผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2007, 5:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อืมม์ สงสัยคงต้องรบกวน คุณ ตรงประเด็น ช่วยชี้แจงแถลงไขแล้วครับ

สาธุ ผู้น้อยด้อยความรู้ เรียนท่านผู้มากภูมิชี้ทางส่องสว่างด้วย ครับ
 
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2007, 2:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตายเสียก่อนตาย ตรงข้ามกับ ตายเมื่อตาย

ตายเมื่อตาย คือตายตามปกติที่คนทุกคนต้องตาย ตายเพราะไตรลักษณ์ อาจจะเพราะสังขารล่วงโรย หรือเพราะโรคร้ายเบียดเบียน หรือแล้วแต่กรรมจะบันดาลให้ตาย

ตายเสียก่อนตาย คือตายจาก อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง เป็นความตายที่ไม่มีตัวกูของกูที่เป็นเหตุให้ต้องตายเมื่อตายเพราะความทุกข์และความโศกเศร้า เมื่อเป็นอิสระจากตัวตนแห่งความยึดติดแน่นแฟ้น จิตจึงไม่ต้องทำตามกิเลสอีกต่อไป เพราะเป็นอิสระแล้ว เมื่อจิตเป็นอิสระ ร่างกายก็ไม่มีใครสั่งให้ทำนู้นทำนี้ ก่อกรรมนั้นก่อกรรมนี้โดยไม่มีสติกำกับ จนเป็นเหตุให้ไม่ต้องมาเวียนเกิดเวียนตายอีก

ฉะนั้นตายเสียก่อนตาย คือตายก่อนที่จะไปตาย เพื่อมาตายอีกไม่มีวันจบ แต่ถ้าตายก่อนตายก็จะไม่ต้องมาเกิดอีก เพราะจิตหามีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดไม่ เมื่อไม่ยึดแล้วจะมาเกิดอีกทำไม

ความไม่ยึดมั่นถือมั่นนี้ คือความเข้าใจในธรรมชาติตามที่เป็นจริง ไม่ไปเอาธรรมชาติมาเป็นของเรา ทุกวันนี้เรามักจะนำความเป็นธรรมชาติมาใส่ตัว คือเที่ยวเอานู้นเอานี้มาเป็นเจ้าของมาไว้ครอบครอง แล้วพอธรรมชาติมันต้องเป็นไปตามกฏของมัน ที่ไม่มีสิ่งใดอยู่กับเราไปตลอด เราควบคุมมันไม่ได้ตลอด ที่จะหวังให้เป็นอย่างนั้นตลอด พอเสียมันไปหรือผิดหวังก็เกิดความรู้สึกเป็นตัวตนขึ้นมา เมื่อมีตัวตนก็เกิดมีความรู้สึกเป็นอารมณ์ต่างๆ หรือเรียกง่ายว่า ไม่เข้าใจธรรมชชาติปล่อยกายปล่อยใจให้กิเลสมันย้อมเอาจนต้องวนเวียนอยู่ในกระแสทุกข์โศกอยู่ทุกวันนี้

แต่หากเรารู้ว่าสรรพสิ่งล้วนอยู่ภายใต้กฏ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ ไม่มีตัวตน กฎทั้งสามนี้ เป็นธัมมัฏฐิตา คือความเป็นธรรมดาของมัน เป็น ธัมมนิยามตา คือความเป็นธรรมที่เป็นกฏตายตัวประจำวัฏสงสาร เป็นอิทัปปัจจยตา คือสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
เป็นสุญญตา คือความว่างเปล่า เป็นตถาตา คือความเป็นเช่นนั้นเองของสรรพสิ่ง และเป็นอตัมมยตา คือความไม่สมควรแก่การยึดมั่นถือมั่น นี่คือธรรมะเก้าตาที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านให้ปฏิบัติตาม

แล้วจะทำไงละ? ถึงจะเข้าใจกฏพวกนี้ได้ โดยที่ไม่ต้องท่องจำ ก็ตอบว่า ต้องปฎิบัติครับ ปฏิบัติอย่างเดียวเท่านั้น ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อปล่อย ปฏิบัติบ่อยๆ แล้วจะเข้าใจ ด้วยจิตเราเอง มิใช่ ตัวหนังสือหรือคำบอกเหล่าจากใคร แล้วจิตเราจะคุ้นเคย จิตเราจะสงบนิ่ง เมื่อจิตเราสงบนิ่งจริงแล้วละก็นั้นแหละครับ ตายก่อนตาย แล้วธรรมะเก้าตาก็จะเกิดโดยที่ไม่ต้องไปคิดไปนึกมันเลย จะไม่มีบัญญัติใดๆ มีแต่เพียงจิตรู้อย่างเดียวเท่านั้นนั้นแหละ ตายซะ ตายเสียก่อนตาย

มันเป็นเรื่องอยากที่จะทำหากขาดความเพียร แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้ เพราะถ้าเรารู้ อย่างน้อย หากมีคนมาบอกเรา ว่า ไปตายซะ ก็ให้เรามองลักษณะของความตายในแง่บวก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเอง

May the Dhamma be with you. ขอธรรมจงสถิตอยู่กับท่าน
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2007, 6:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตายก่อนตาย มาจากกลอนของท่านพุทธทาสภิกขุ ครับ ซึ่งหมายถึง

หมดสิ้นแล้ว ซึ่งอัตตา เรียกว่า ตายก่อนตาย

ถึงแล้วซึ่ง อนัตตา เรียกว่า ตายก่อนตาย

ปัญหาธรรมข้อยาก ควรปรึกษากับพระผู้คงแก่เรียนและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิต ถึงจะดีที่สุดครับ

จากนั้นจึงค่อยหาความรู้จากบุคคลอื่น เสริม เปรียบเทียบ เพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของข้อธรรม นั้น

รักความรู้ เรียกว่า รักปัญญา

ผู้รักปัญญา ไม่แบ่งแยกว่าใครเป็นอะไร เขารักปัญญา เขาจึงเสาะแสวงหาความรู้ ถกเถียงโต้แย้งประเด็นความรู้ ให้ถึงความเข้าใจ จากบุคคลผู้มีความรู้ เพื่อไขปัญหาคาไขของตนอยู่เสมอ

สาธุ ของหวาน ของอร่อย บนโลกนี้มีมากมาย คนหลากหลายจึงมีรสนิยมชมชอบไม่เหมือนกัน ความหลากหลายทางความคิด และ ความหลากหลายทางการกระทำก็เช่นเดียวกับของหวานนี้
ต่างคน ต่าง นานาจิตตัง ครับ
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2007, 7:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่าหากว่า สนใจ เรื่อง ตายก่อนตาย จริง ขอแนะให้ไปหาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมจาก เวปไซท์ นี้ครับ

http://www.wimutti.net/

สาธุ
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2007, 8:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.palungjit.com/

website นี้ด้วยครับ เพิ่งนึกออก นำมาโพสช้าไปหน่อย ลองอ่านคำเทศน์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำดูนะครับ

สาธุ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2007, 2:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ความกลัวตาย เป็นสิ่งที่สถิตอยู่ในจิตใจของปุถุชนทุกๆ คน แต่ส่วนมากเราจะเก็บกดความรู้สึกนี้ไว้ ไม่ค่อยจะรู้ตัว คนกลัวตาย หมู่หนึ่งต้องคว้าเอาสิ่งใดสิ่งเป็นผู้คุ้มครอง ผู้ปกป้อง ผู้ที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย อาจจะเป็นพระผู้เป็นเจ้าก็ได้ อาจจะเป็นพ่อก็ได้ อาจจะเป็นสามีภรรยาก็ได้ อาจจะเป็นผู้นำประเทศก็ได้ อาจจะเป็นสถาบันใดก็ได้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง คนใดคนหนึ่ง คอนเซ็ปท์ใดคอนเซ็ปท์หนึ่ง ซึ่งเรารู้สึกว่าสิ่งนั้น ดูแลเรา สิ่งนั้นจะปกป้องเรา ทำให้เรารู้สึกว่า วันนี้ เรายังไม่ตาย

มนุษย์กลัวตายอีกหมู่หนึ่ง ชอบทำอะไรเองทุกสิ่งทุกอย่างไม่พึ่งเคยเลย ช่วยตัวเองได้เป็นคนที่ไม่ต้องอาศัยคนอื่น เป็นคนเก่ง เรียนก็เก่ง ทำงานก็เก่ง หาเงินก็เก่ง ทำอะไรก็เก่ง ก็เอาความเก่งนั่นแหละเป็นที่พึ่ง เพราะอะไร เพราะรู้สึกว่าตัวเองนี่ตายไม่ได้ เก่งเกินไป แน่เกินไป

ความกลัวตาย ปรากฏในบุคลิก นิสัย แนวทางชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอ่อนแอก็พึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อจะมีความรู้สึกว่าปลอดภัย บางคนก็เอาความเก่งกาจของตัวเองความสามารถของตัวเอง เพื่อนำไปสู่ความรู้สึกว่าปลอดภัย แต่พระพุทธเจ้าเตือนว่าอย่างไรๆ ไม่ปลอดภัยอยู่ดี ชีวิตนี้เราไว้ใจไม่ได้

เพราะฉะนั้นในเมื่อชีวิตของเราพร้อมที่จะแตกดับไปเมื่อไรก็ได้ เรามีเวลาที่จะไปทะเลาะเบาะแว้งกับสามีไหม เรามีเวลาที่จะไปทะเลาะเบาะแว้งกับภรรยาไหม เรื่องเล็กเรื่องน้อยโกรธกันทั้งวันทั้งคืน บางทีโกรธกันเป็นเดือนก็มี แล้วเรามีเวลาพอไหม ที่จะจมอยู่กับอารมณ์เศร้าหมองเรื่องแค่นี้เอง ถ้าเราเข้าถึงธรรมแล้วไม่มีเวลา ไม่มีเวลา ที่จะไปโกรธแม้แต่ชั่วโมงเดียว เพราะชีวิตเรามันสั้นเกินไป

ถ้าผู้ที่เราเคารพรักพลัดพรากเราไปแล้ว ลองดูความแตกต่างระหว่างความรู้สึก ที่ถือว่า ใช้เวลาด้วยกันอย่างเห็นคุณค่าของเวลา อยู่ด้วยการให้อภัยซึ่งกันและกัน ด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน ความเคารพซึ่งกันและกันตลอดเวลา มีความรู้สึกพร้อมที่จะรับความจริงอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราพลัดพรากจากคนที่เรารักในลักษณะอย่างนี้ ทำใจได้ง่าย แต่ถ้าหากว่าผู้ที่เราเคารพรักพลัดพรากเราไป พอไปแล้ว อดนึกถึงสิ่งไม่ดีที่เคยพูดไม่ได้ เราก็ไม่มีเวลาจะแก้ไขเสียแล้ว และสิ่งที่เคยคิดจะพูด สิ่งที่ดีที่เคยคิดจะทำไม่ได้ทำ ก็ทำไม่ได้แล้ว"


ตายก่อนตายทำไม
โดย ชยสาโร ภิกขุ


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9514
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ผู้มาแล้วก็ไป
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2007, 4:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยไม่เข้าใจชีวิต ว่าเกิดมาทำไม จะไปไหน เกิดมาแล้วทำไมถึงไม่เท่าเทียมกัน เขามี-เราไม่มีเ ขาดี-เราเลว เกลียดโลก เป็นทุกข์มาก หนังสือธรรมะของท่านต่างๆ หามาอ่าน หลวงพ่อชา ท่านพุทธทาส หลวงปู่เทส ฯลฯ แต่ละเล่มอ่านหลายรอบหลายจบจำได้ คำสอนของพุทธเจ้า หลักอนิจจังต่างๆ ท่องได้หมด แต่เป็นเพียงจำได้จิตยังไม่เข้าถึง ถึงที่สุดขอทางบ้านออกไปอยู่ยังวัดอันสงบนุ่งขาวห่มขาวโดยไม่กำหนดเวลา เอาหนังสือธรรมะไปอ่าน เมื่อจิตสงบไม่วุ่นด้วยเรื่องทางโลก อ่านอย่างมีสมาธิจิตดี

พอถึงคำที่ว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งปวง" จิตเราสว่างขึ้นมาทันที คำถามที่มีมาไม่สงสัยอีกเลย ได้หลักยึดทางจิตที่มั่นคงแล้ว ถึงได้กล่าวว่ารู้ธรรมเพราะจำได้จากอ่านมา ฟังมา กับการเข้าใจในธรรม (เอาแค่เข้าใจ ยังไม่ต้องถึงขั้นรู้แจ้ง) ต่างกัน ผลที่ได้รับย่อมมีความเย็นต่างกัน ขอให้ท่านมุ่งสู่แก่นธรรมที่แท้จริง ด้วยจริตของเราไม่เหมือนกัน ท่านต้องแสวงหาเอา โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก แล้วท่านจะมีชีวิตอยู่ในโลกอย่างงดงาม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน
 
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2007, 7:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่าตายก่อนตายนั้นเป็นสำนวน พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสสอนว่าตายก่อนตาย แต่ทรงตรัสสอนให้มีมรณัสสติ คือให้พิจารณาว่าเราจักต้องตายไม่สามารถจะหนีพ้นไปจากความตาย
การพิจารณาความตาย อยู่ในอภิณหังปัจจะเวก เพื่อไม่ให้มัวเมาหลงในความเป็นหนุ่มเป็นสาว เพื่อขจัดความมัวเมา ชื่อว่าไม่หลงตาย หมายถึตายแล้วมีสติไม่ไปสู่ทุคติ
 
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2007, 10:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การตายก่อนตาย
คือตายจากความอยาก
เพราะรู้เท่าทันว่า
สิ่งที่ตัณหาอยากได้
คือความเพลินในอารมณ์
(เวทนา)
ซึ่งไม่ใช่ตัวตน
ไม่มีใครเป็นผู้ได้
ตายจากอุปาทานในตัวตน


สาธุ สาธุ สาธุ

ที่มา : พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส (อำนาจ กลั่นประชา).
คำตอบของชีวิต ปฏิจจสมุปบาท ,หน้า ๑๗๕.
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
พีรวิชญ์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 19 เม.ย. 2007
ตอบ: 24

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2007, 11:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตายก่อนตาย ก็หมดยึดมั่นคืออุปาทานทั้ง 4
ตายจริงก็ตายโดยร่างกายแตกหักดับเป็นอนัตตา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง