Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ พระพุทธรูปที่มีหัวใจ-ตับ-ไต
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
วัดและศาสนสถาน
ผู้ตั้ง
ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
ตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2007, 5:57 pm
พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ
พระพุทธรูปที่มีหัวใจ-ตับ-ไต
หนึ่งในวัดเก่าแก่สำคัญ และเป็นหนึ่งในพระอารามหลวงของจังหวัดลำปาง ก็คือ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง
วัดพระเจดีย์ชาวหลัง หรือวัดเจดีย์ซาว เป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่ามีอายุกว่าพันปี เนื่องจากได้ขุดพบพระเครื่องสมัยหริภุญไชยที่ฐานองค์พระเจดีย์ ตามตำนานกล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๕๐๐ ปี มีพระอรหันต์สองรูปจากชมพูทวีปได้จาริกเพื่อเผยแผ่พระศาสนามาจนถึงบริเวณนี้ และเห็นว่าเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม จึงได้หยุดพำนักเพื่อเผยแผ่ธรรม
ในครั้งนั้น
พระยามิลินทร์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง
ผู้ทรงสนพระทัยใฝ่ธรรม ได้มาสนทนาธรรมกับพระอรหันต์ทั้งสอง จนเกิดความเลื่อมใส ประสงค์จะสร้างถาวรวัตถุเพื่อเป็นอนุสรณ์ พระอรหันต์ทั้งสองรูปจึงได้มอบเกศาธาตุให้แก่พระยามิลินทร์ รูปละ ๑๐ เส้น รวมเป็น ๒๐ เส้น พระยามิลินทร์จึงนำเกศาธาตุบรรจุในผอบทองคำ และประดิษฐานไว้ภายใต้เจดีย์ ๒๐ องค์ที่ทรงสร้างขึ้น จึงเป็นที่มาของคำว่าพระเจดีย์ซาวหลัง (ซาว ภาษาเหนือแปลว่า ๒๐ และ หลัง แปลว่า องค์)
พระเจดีย์ ๒๐ องค์เป็นศิลปะแบบพม่าผสมล้านนา องค์ใหญ่สุดอยู่ตรงกลางฐานกว้าง ๖.๒๐ สูง ๑๑ เมตร สำหรับเจดีย์อีก ๑๙ องค์นั้นมีขนาดเท่าๆ กัน คือฐานกว้าง ๔ เมตร สูง ๖ เมตร ด้านหน้าหมู่พระเจดีย์ มีวิหารหลังเล็ก ประดิษฐาน
พระพุทธรูปทันใจ
หรือ พระเจ้าทันใจ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิ ศิลปะเชียงแสน
ปัจจุบัน วัดพระเจดีย์ซาวหลังเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธงชัย ห่างจากตัวเมือง ๔ กม. ตามถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม เป็นวัดที่ชาวลำปางเคารพสักการะเป็นอย่างมาก เพราะเป็นที่ประดิษฐานของ
พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ
พระเจ้าแสนแซ่ เป็นคำเรียกพระพุทธรูปโบราณที่ชาวล้านนาหล่อขึ้นหลายส่วน และนำมาประกอบเข้าเป็นองค์พระ โดยใช้วิธีการยึดด้วยสลักหรือหมุดตามข้อต่อต่างๆ
ภาษาล้านนาเรียกสลักหรือหมุดว่า แซ่ว หรือ แซ่ ส่วน
แสน หมายถึง มากยิ่ง
ดังนั้น พระพุทธรูปที่ใช้หมุดหรือแซ่ยึดไว้เป็นจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า
พระเจ้าแสนแซ่
เช่นเดียวกับที่คนภาคกลางเรียกพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ว่า
หลวงพ่อโต
นั่นเอง
วัดหลายแห่งในภาคเหนือมีพระเจ้าแสนแซ่ประดิษฐานไว้ รวมทั้งวัดเจดีย์ซาวหลัง อ.เมือง จ.ลำปาง แต่พระเจ้าแสนแซ่ที่วัดพระเจดีย์ซาวหลังนี้ เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะพิเศษต่างจากพระเจ้าแสนแซ่โดยทั่วไป
ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อปี ๒๕๒๖ ได้มีชาวบ้านขุดพบพระพุทธรูปทองคำและนำมาถวายให้เป็นสมบัติของวัดพระเจดีย์ซาวหลัง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เข้าลักษณะพระสีหลักษณะตามตำรับช่างโบราณเชียงแสน ศิลปะสมัยลานนา-กรุงศรีอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้วครึ่ง สูง ๑๕ นิ้ว ทำด้วยทองคำ ๙๕.๕% น้ำหนักรวม ๑๐๐ บาทกับ ๒ สลึง
สร้างด้วยกรรมวิธีเคาะตีขึ้นรูปทั้งองค์ ถอดออกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ได้ ๓๒ ชิ้น สังฆาฏิถอดได้เป็นแผ่นยาว ที่สังฆาฏิด้านหน้าด้านหลังประดับด้วยอัญมณีที่มีค่า ที่พระนลาฎประดับด้วยนิหล่า(พลอยชนิดหนึ่งมีสีฟ้าเข้ม อมเทา) ๑ เม็ด รอบพระเมาลีอีก ๔ เม็ด และที่ยอดพระเมาลี ๑ เม็ด เมื่อนำชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านี้มาประกอบสวมต่อกันด้วยสลักใส่ไว้เป็นแห่งๆ จึงเข้าตำรับ แสนแซ่ ที่สำคัญก็คือ ในช่องพระเศียรมีผอบซึ่งบรรจุพระบรมธาตุไว้ด้วย และสามารถถอดพระเศียรได้เป็นชั้นๆ
ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ ภายในองค์พระมีหัวใจ ตับ ไต ไส้ ซึ่งทำด้วยทองคำบริสุทธิ์เช่นกัน และยังมีใบลานทองคำ ๒ แผ่น จารึกคาถาอักษรพื้นเมืองพันรอบขั้วหัวใจ และที่ไตมีจารึกอักขระ ๓๒ ตัว
พระเจ้าแสนแซ่เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติ และในวันที่ ๑๕ เมษายนของทุกปี จะมีงานประเพณีประจำปี พิธีสรงน้ำพระเจ้าแสนแซ่ทองคำ และในวันนั้นจะมีพิธีถอดสลักเปิดพระเศียร เพื่อนำพระบรมธาตุจากพระผอบมาสรงน้ำด้วย
จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 76 มี.ค. 50 โดย เก้า มกรา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 มีนาคม 2550 11:04 น.
_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
วัดและศาสนสถาน
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th