|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ค.2007, 1:07 pm |
  |
โพธิญาณพฤกษา
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้
ต้นไผ่ใหญ่ (ต้นมหาเวฬุ)
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ สุชาตพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 15 พระนามว่า พระสุชาตพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 9 เดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้ไผ่ใหญ่
ต้นไผ่ใหญ่โพธิพฤกษ์นั้น ลำต้นแข็ง ไม่เป็นโพรง มีใบแน่นหนา ลำต้นตรงใหญ่ น่าดูน่าชม ต้นหนึ่งเจริญงอกงามแล้วแตกกิ่งสาขาออกไป ไม้ไผ่นั้นไม่มีหนาม แม้ช่องใหญ่ก็ไม่มี มีกิ่งชิดไม่ห่าง เงาทึบ น่ารื่นรมย์ใจ
ต้นไผ่ นั้นในภาษาบาลีเรียก เวฬุ ซึ่งคำว่า เวฬุวัน ที่เรารู้จักกันดีก็แปลว่า ป่าไผ่ นั่นเอง พันธุ์ไม้ไผ่ในโลกมีจำนวน ถึง 1,250 ชนิด ไม้ไผ่เป็นพวกพืชยืนต้น จัดอยู่ในวงศ์ Gramineae แต่เมื่อพิจารณาจากพระไตรปิฎกดังกล่าว ต้นไผ่ใหญ่ ซึ่งในภาษาบาลีเรียกว่า ต้นมหาเวฬุ น่าจะอยู่ในสกุล Dendrocalamus เพราะไผ่สกุลนี้มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่มีหนาม ลำตั้งตรง กาบมีขนาดใหญ่ และมักหลุดร่วงเร็ว ใบยอดกาบเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียว ซึ่งที่พบในบ้านเรามี 10 ชนิด คือ ไผ่ตง, ไผ่บงใหญ่, ไผ่เป๊าะ, ไผ่หก, ไผ่ซางคำหรือไผ่เขาควาย, ไผ่เซิมหรือไผ่ซาลวาย, ไผ่ลำมะลอก, ไผ่ซางนวล, ไผ่ซางหม่น และไผ่ซาง
เมื่อศึกษาข้อมูลของแต่ละชนิดแล้ว พบว่าไผ่ตงและไผ่เป๊าะ มีข้อที่น่าสังเกต กล่าวคือ
ไผ่ตง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrocalamus asper Back. มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เป็นไผ่ที่มีขนาดใหญ่ สูงราว 25 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-12 ซม. ไม่มีหนาม ปล้องยาวประมาณ 20-30 ซม. บริเวณโคนลำต้นมีลายขาวสลับเทา และมีขนาดเล็กๆ อยู่ทั่วไปของลำ หน่อมีน้ำหนักประมาณ 3-10 กก.
ไผ่เป๊าะ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrocalamus giganteus Munro มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศพม่า ต่างประเทศเรียกกันว่า Giant Bambo หรือไผ่ยักษ์ เพราะสูงราว 30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-35 ซม. ปล้องยาวประมาณ 30 ซม. ข้อเรียบ เนื้อแข็ง เปราะ หน่อมีขนาดโตพอๆ กับลำ โดยมีสีขาวปนเหลือง
ไผ่ทั้งสองชนิดนี้มักพบขึ้นอยู่ในป่าดิบ โดยขึ้นรวมกับไม้ยืนต้นขนาดใหญ่หลายชนิด เมื่อขึ้นในที่หุบหรือที่ร่องน้ำ ไม้ไผ่เหล่านี้จะสามารถผลิตหน่อและลำขนาดใหญ่และสมบูรณ์เต็มที่
อย่างไรก็ตาม ในที่นี้มิอาจชี้ชัดลงไปได้ว่าไผ่ชนิดใดเป็นต้นไผ่ใหญ่ อันเป็นโพธิญาณพฤกษาแห่งองค์พระสุชาตพุทธเจ้า เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลเพื่อพินิจพิจารณากันต่อไป
สำหรับลักษณะโดยรวมของต้นไผ่โดยทั่วไปนั้น เป็นไม้พุ่ม ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ ดอกไผ่มีลักษณะเป็นช่อ ซึ่งไม้ไผ่แต่ละชนิดมีการพัฒนาลักษณะของช่อดอกแตกต่างกันออกไป การออกดอกของไม้ไผ่ เรียกกันว่า ไผ่ตายขุย เป็นการพัฒนาขั้นสุดท้ายของไม้ไผ่ที่นำไปสู่การผลิตเมล็ด (fruiting) ก่อนที่ไม้ไผ่ต้นนั้นจะตาย เมล็ดของไม้ไผ่ซึ่งที่จริง คือ ผล (fruit) แต่ด้วยลักษณะของเมล็ดที่คล้ายกับเมล็ดข้าวหรือผลของข้าว จึงนิยมเรียกว่า เมล็ด ความสามารถในการผลิตเมล็ดของไม้ไผ่แต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับประเภท และลักษณะของการออกดอกของไม้ไผ่
ต้นไผ่เป็นพืชที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งบริโภค ทั้งเป็นวัตถุดิบเพื่อการอุตสาหกรรม เช่น ทำเยื่อกระดาษ ทำเครื่องจักสาน ทั้งใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น
......................................................
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2547 14:29 น. |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
   |
 |
suvitjak
บัวบาน

เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen
|
ตอบเมื่อ:
27 มิ.ย.2008, 12:45 pm |
  |
ขอบคุณครับ  |
|
_________________ ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ย. 2008, 11:02 pm |
  |
สู้ สู้
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |