Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 “ชาติ”...ที่มีศาสนาประจำชาติ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2007, 11:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

“ชาติ”...ที่มีศาสนาประจำชาติ

ชาวพุทธออกมาเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับล่าสุด มีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่า "อะไรคือความแตกต่างระหว่างคำว่า ศาสนาแห่งชาติ (National Religion) กับคำว่า ศาสนาประจำชาติ (State Religion)"

คำว่า ศาสนาแห่งชาติ หมายถึง ศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นๆ นับถือ ซึ่งรวมทั้งประมุข หรือพระประมุขของประเทศนั้นก็นับถือด้วย

ส่วนคำว่า ศาสนาประจำชาติ หมายถึง ศาสนาที่ทางราชการในประเทศนั้นๆ รับรองให้ความสำคัญสูงสุด ด้วยการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม การบัญญัติให้ศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นศาสนาประจำชาตินั้น พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) บอกว่า ในโลกปัจจุบันมีประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีศาสนาประจำชาติถึง ๔๙ ประเทศ กล่าวคือ ประเทศที่ประกาศว่า มีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ มีประมาณกว่า ๑๕ ประเทศ ตัวอย่างเช่น สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก กรีนแลนด์ และกรีซ เป็นต้น

ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญของประเทศเดนมาร์ก บัญญัติว่า "ศาสนาคริสต์ลูเธอแรนเป็นศาสนาประจำชาติเดนมาร์กที่จะต้องได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐ"

ขณะที่รัฐธรรมนูญของประเทศกรีซ บัญญัติว่า "ศาสนาสำคัญในประเทศกรีซ คือ ศาสนาคริสต์ออร์ธอดอกซ์ตะวันออก...พระคัมภีร์ไบเบิลอันศักดิ์สิทธิ์ต้องได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยไม่มีการดัดแปลง"

ประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ มีจำนวน ๓๐ ประเทศ เช่น รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย สหพันธ์สาธารณรัฐอิสลามคอโมโรส ซาอุดีอาระเบีย โซมาเลีย ตูนิเซีย โมร็อกโก แอลจีเรีย ลิเบีย อียิปต์ จอร์แดน คูเวต บาห์เรน

มัลดีฟส์ บังกลาเทศ บรูไน มาเลเซีย อิรัก โอมาน กาตาร์ อิสราเอล สาธารณรัฐประชาธิปไตยชาห์ราวีอาหรับ สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักรเยเมน โมนาโก แอนดอร์รา นอร์เวย์ มอลตา เอธิโอเปีย ยูเครน ฮังการี

โดยในรัฐธรรมนูญของประเทศมาเลเซีย บัญญัติว่า "อิสลามเป็นศาสนาแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย แต่ก็อาจปฏิบัติศาสนาอื่นได้ด้วยสันติและสามัคคีในทุกส่วนของสหพันธรัฐ"

รัฐธรรมนูญของประเทศอัฟกานิสถาน บัญญัติว่า "ศาสนาอิสลามที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นศาสนาแห่งอัฟกานิสถาน ในสาธารณรัฐอัฟกานิสถานจะไม่มีกฎหมายใดขัดแย้งกับหลักการของศาสนาอิสลามที่ศักดิ์สิทธิ์"

ส่วนประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มีเพียง ๔ ประเทศเท่านั้น คือ ศรีลังกา พม่า กัมพูชา และภูฏาน

รัฐธรรมนูญของประเทศศรีลังกา บัญญัติว่า "สาธารณรัฐศรีลังกายกพระพุทธศาสนาไว้ในสถานะสำคัญสูงสุด และถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และในขณะเดียวกันก็ประกันสิทธิของทุกศาสนาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ และ ๑๔"

รัฐธรรมนูญของประเทศภูฏาน บัญญัติว่า "พระพุทธศาสนาเป็นมรดกทางจิตใจของภูฏาน ซึ่งส่งเสริมหลักการและค่านิยมแห่งสันติ อหิงสา กรุณาและขันติ"

พระธรรมโกศาจารย์ ยังบอกด้วยว่า ชาวพุทธเรียกร้องให้เพิ่มอีก ๑ มาตรา ที่บัญญัติเกี่ยวกับสถาบันพระพุทธศาสนาไว้ในร่างรัฐธรรมนูญว่า "ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ"

หรือจะเพิ่มข้อความเข้าในมาตรา ๒ ว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมี พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" ดังนี้ก็ได้


ถ้ามีการบัญญัติเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญเช่นว่านี้ พระพุทธศาสนาซึ่งเคยเป็นศาสนาประจำชาติไทยในสมัยสมบูรณาสิทธิราชย์ ก็เชื่อว่า ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการให้เป็นศาสนาประจำชาติไทยต่อไป และจะได้ไม่ต้องมีใครมาโต้แย้งว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่

เมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรพระพุทธศาสนาในโรงเรียนแล้ว นักวิชาการชาวพุทธเขียนลงในหนังสือแบบเรียนว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นักวิชาการต่างศาสนาได้ส่งหนังสือทักท้วงไปที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ถอดข้อความที่ว่านั้นออกจากแบบเรียน เขาให้เหตุผลว่า เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

เรื่องได้ยุติลงในที่สุด เมื่อนักวิชาการชาวพุทธท่านนั้นอ้างพระราชนิพนธ์ หรือพระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงประกาศไว้ว่า "ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย" (พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕)

"การที่ชาวพุทธเรียกร้องให้มีการบัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อให้มีการรับรองสถานะของพระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติ โดยนิตินัยอย่างชนิดที่ไม่อาจมีใครโต้แย้งได้ ที่สำคัญคือประเทศไทยที่มีพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย มีสำนักงานใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกตั้งอยู่เป็นการถาวร มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๒ และมีพุทธมณฑลที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๘ ยังไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" พระธรรมโกศาจารย์ กล่าว


หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก เรื่องโดย ไตรเทพ สุทธิคุณ
ฉบับวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 04:08 น.

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์
เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ
ในพระราชทินนามที่ พระพรหมบัณฑิต
ท่ามกลางความปีติยินดียิ่งของคณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไป
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ผ่านมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ค.2007, 8:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน ดิฉันอยู่ จ.นครสวรรค์ วันนี้มีเรื่องด่วนที่ทุกท่าน ควรได้รับทราบมาบอกกันนะคะ เรื่องเกี่ยวกับการบัญญัติพระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติ

มีเหตุการณ์ที่เหล่าผู้สนับสนุนในเรื่องนี้ที่ นครสวรรค์ ได้ไปพบเจอมาในการไปช่วยโหวตและพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการสัญจรของ สสร. ขอนำมาเล่าให้ฟังนะคะ

ที่นครสวรรค์ได้มีการจัด สสร.สัญจรมานะคะ ตั้งแต่ในเมืองฯ จนถึงอำเภอต่างๆ ทั่วนครสวรรค์ แต่กลับมีผู้รับรู้ข่าวสารว่าจะมีการสัญจรมาเพียงไม่กี่คน..คือไม่มีการประช าสัมพันธ์กันล่วงหน้าให้ได้ทราบทุกคน..

ครั้งแรกที่จัดที่อำเภอเมืองฯ กลับมีคนไปฟังเพียงแค่ ร้อยกว่าคนเท่านั้น ทั้งๆที่ในเมืองมีคนเป็นหมื่นเป็นแสนคน กลับได้รับข่าวสารเพียงหยิบมือเดียว และเมื่อมีผู้ต้องการเข้าไปฟังการพูดของสสร. ในครั้งนี้ก็ต้องมีมากมายหลายขั้นตอนคือต้องลงทะเบียนจึงจะเข้าไปแล้วแสดงคว ามคิดเห็นได้ ซึ่งบางท่านที่นี่ไปถึงทีหลังก็กลับถูกกีดกันไม่ให้เข้าไป ก่อนการพูดในหัวข้อนี้ทาง สสร. มีการนำวีดีทัศน์ที่สนับสนุนการไม่นำศาสนาพุทธเข้าในรัฐธรรมนูญซึ่งพูดโดย ท่านเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ให้ฟังก่อน โดยไม่เปิดโอกาสให้ฝั่งที่สนันสนุนการนำพระพุทธศาสนาเข้าในรัฐธรรมนูญได้อภิ ปรายเลย จึงทำให้ฝ่านที่ไม่สนับสนุนชนะที่ 55 เสียงต่อ 45 เสียง ซึ่งภายหลังมีการสรุปเป็นเอกสารในการพูดครั้งนี้ว่า ชนะที่คะแนน 60 ต่อ 40 ซึ่งบิดเบือนไปจากความเป็นจริง..

ครั้งต่อมาที่กลุ่มสนับสนุนให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ได้ไปเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นการสรุปในหัวข้อต่างๆ ใน 4 จังหวัดภาคเหนือที่ได้ไปสัญจรมา เหตุการณ์ก็เหมือนๆ เดิมคือ ผู้ที่ไปเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้มีน้อย และผู้ที่ไปที่หลังกลับได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ว่าภายในไม่มีการโหวตเสียง มีแค่การพูดอภิปรายเท่านั้น ทั้งที่จริงมีการโหวต และยังกีดกันไม่ให้เข้าฟัง โดยพูดวกไปวนมา... ภายในผู้ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้

ผู้ที่ไม่สนับสนุนได้รับโอกาสที่จะพูดได้นาน แต่เมื่อผู้ที่สนับสนุนจะพูด ทาง สสร. กลับพูดบอกว่า "พรุ่งนี้คุณจะพูดจบไหมเนี่ย " ทั้งๆ ที่พูดได้ไปเพียงนิดเดียว และมักให้พูดได้แค่คนละนิดๆหน่อยๆ และพูดได้ไม่เต็มที่เท่าผู้ที่ไม่สนับสนุน

ท่านหนึ่งซึ่งได้ไปเข้าร่วมฟังในครั้งนี้บอกว่า ผู้ไม่สนับสนุนซึ่งขึ้นพูดอภิปราย มีลักษณะที่ไม่น่าใช่ชาวพุทธคือ หน้าออกไปทางแขกและที่สำคัญในขณะพูดอภิปรายยังพูดถึงศีล 5 ของชาวพุทธเราถูกๆผิดๆ

เมื่อถึงการโหวต ผู้ไม่สนับสนุนยกมือกันหลอมแหลม แต่ผู้ที่สนับสนุนยกมือกันเยอะกว่า แต่ทาง สสร. กับพูดเบี่ยงว่า ไม่ต้องนับหรอกยังไงไม่เห็นด้วยก็ชนะ ทั้งๆที่ยังไม่ได้นับ ก็บอกว่า
ไม่เห็นด้วย 60 เห็นด้วย 40 ซึ่งมีพิรุธอย่างเห็นได้ชัด

ที่นครสวรรค์ มีพื้นที่หนึ่งที่โหวตชนะคือ ที่ลาดยาว เพราะอำเภอนั้นได้ทราบข่าวและเตรียมตัวเร็ว.. และมีการเชิญสื่อมวลชนไปด้วย จึงทำให้ทาง สสร. ไม่กล้า ผู้สนับสนุนชนะด้วยคะแนนเสียง 90

จะเห็นได้ว่าการสัญจรครั้งนี้มีความไม่เป็นธรรมอยู่มาก ไม่ทราบว่าที่จังหวัดอื่นๆ ประสบปัญหาเช่นนี้หรือไม่คะ เพราะเท่าที่ทราบมาจากคนรู้จัก เมื่อวานที่เชียงใหม่ก็โดนแบบนี้เช่นเดียวกัน

ตอนนี้คิดว่าเราชาวพุทธไม่ควรนั่งดูดายต่อไปนะคะ เพื่อพระพุทธศาสนาของเรา ก็ช่วยเผยแพร่ข่าวสารนี้ให้ทราบโดยทั่วกันนะคะ จะได้ช่วยกันหาทางแก้ไข ขอบคุณมากค่ะ...

อย่ามองว่าเรื่องนี้เป็นอะไรที่ไม่ควรสนับสนุนนะคะ บางอย่างที่เราคิดว่าก็รู้ๆ กันอยู่ไม่เห็นต้องทำให้เป็นกิจลักษณะเลย ...อย่ามองข้ามเรื่องเพียงเล็กน้อยนี้นะคะ อย่าให้พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นส่งที่จะสร้างสันติสุขให้แก่โลกต้องเสื่อมในยุค ของเราเลยนะคะ มาช่วยกันสร้างโลกให้น่าอยู่ด้วยกันนะคะ

ที่มา
http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y5422766.html
 
ผ่านมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ค.2007, 8:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นีคือเรืองราวที่เกิดจริง

ประจาน-ประชาพิจารณ์ ฯ : ความไร้เดียงสาของนักวิชาการ หรือวิชามารของนักวิชาเกิน

กระบวนการสร้างรัฐธรรมนูญในบ้านเมืองเรากำลังดำเนินมาถึงขั้นตอนการรับฟังความเห็นภาคประชาชน หรือ การทำประชาพิจารณ์ ซึ่งกำลังมีการดำเนินการกันทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้

การทำประชาพิจารณ์ก็เหมือนกับการทำการวิจัยทางวิชาการอื่นๆ โดยทั่วไป กล่าวคือการรับฟังความเห็นของประชาชนย่อมไม่สามารถรับฟังได้ทุกคนที่เป็นคนไทย ดังนั้นการรับฟังความเห็นจึงทำได้เพียงบางคนเท่านั้นโดยการสุ่มตัวอย่าง อันนี้เป็นหลักการทางสถิติที่ยอมรับโดยทั่วไป

การสุ่มตัวอย่างหากกระทำโดยไม่มีหลักเกณฑ์ ตัวอย่างนั้นย่อมไม่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรได้ ผลที่ตามมาคือ งานวิจัยนั้นหมดความน่าเชื่อถือ เสียเวลา เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ในทางตรงกันข้าม หากนักวิจัยต้องการผลการวิจัยให้เป็นไปในทางใดทางหนึ่งที่ตนเองต้องการ ก็สามารถทำได้ โดยวางแผนกำหนดได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสุ่มตัวอย่างเลยทีเดียว ภาษานักวิจัยเรียกว่า “อคติ” (Bias) นอกจากนี้ในขั้นตอนต่อๆ มาของกระบวนการวิจัยก็จะมี “อคติ” เกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน โดยผู้วิจัยที่ต้องการผลวิจัยที่ถูกต้องจริงๆ จะพยายามควบคุมทุกขั้นตอนไม่ให้เกิด “อคติ” ขึ้นมาได้

และเช่นเดียวกัน หากผู้วิจัยผู้ทรยศต่อจิตสำนึกของนักวิจัยคนใด ต้องการผลวิจัยให้เป็นไปในทางใดทางหนึ่งที่ตัวเองต้องการ ก็จะปล่อยให้มี “อคติ” เกิดขึ้นและคอยควบคุม “อัคติ” นั้นให้เป็นไปในทิศทางที่ตนต้องการ ซึ่งมีแต่ผู้ที่ฉลาดน้อยกว่าเท่านั้นที่จะสรรเสริญและยอมรับผลงานวิจัยชนิดนี้

ต่อไปจะวิเคราะห์กระบวนการประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ บนพื้นฐานของการวิจัยบ้าง

1. จังหวัดใดบ้างที่ควรได้สิทธิในการทำประชาพิจารณ์ ตอบว่าเนื่องจากเป็นการทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศดังนั้นประชาชนทุกจังหวัดควรได้มีส่วนร่วม

2. คำถามต่อไปคือแต่ละจังหวัดควรมีประชาชนจำนวนเท่ากันหรือไม่ที่จะได้สิทธิเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ตอบว่า ไม่เท่ากันเพราะจำนวนประชากรในแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน จังหวัดใหญ่ มีประชากรมาก จำนวนผู้ได้สิทธิเข้าร่วมควรมากกว่าจังหวัดเล็กที่มีประชากรน้อยกว่า

แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริง พบว่าจังหวัดใหญ่ๆ ประชากรมากในเขตภาคเหนือกลับได้โควต้าน้อยกว่าจังหวัดเล็ก ๆ เช่น เชียงใหม่ได้โควต้าประชาชน 1,105 คน ลำปางได้ 900 คน พิษณุโลกได้ 1,050 คน ในขณะที่ แพร่ได้ 1,510 คน ตากได้ 1,800 คน พิจิตรได้ 2,600 คน อุทัยธานีได้ 2,400 คน และที่เห็นเด่นชัดยิ่งกว่านั้น ในจังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นจังหวัดที่ประธานกรรมาธิการทำประชาพิจารณ์ คือ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นเจ้าของพื้นที่ ปรากฏว่ามีการลงพื้นที่ทำประชาพิจารณ์ทุกหย่อมหญ้า ลงทุกตำบล ในขณะที่ในจังหวัดอื่นๆ ทำประชาพิจารณ์เพียงอำเภอละหนึ่งแห่งหนึ่งวันเท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดของจังหวัดอ่างทอง ดังนี้

อำเภอเมือง จำนวน 11 แห่ง ระหว่างวันที่ 2-18 พ.ค. 2550
อำเภอป่าโมก จำนวน 7 แห่ง ระหว่างวันที่ 2-18 พ.ค. 2550
อำเภอสามโก้ จำนวน 3 แห่ง ระหว่างวันที่ 11-15 พ.ค. 2550
อำเภอโพธิ์ทอง จำนวน 14 แห่ง ระหว่างวันที่ 2-18 พ.ค. 2550
อำเภอแสวงหา จำนวน 8 แห่ง ระหว่างวันที่ 8-18 พ.ค. 2550
อำเภอไชโย จำนวน 5 แห่ง ระหว่างวันที่ 2-9 พ.ค. 2550
อำเภอวิเศษชัยชาญ จำนวน 16 แห่ง ระหว่างวันที่ 2-18 พ.ค. 2550

รวมทั้งสิ้น 64 แห่ง ถ้าตีให้แห่งละ 100 คนจะได้ 6,400 คน!!!! ในขณะที่จังหวัดนนทบุรี ได้โควต้าเพียง 1,550 คนเท่านั้น (ข้อมูลจากกำหนดการรับฟังความคิดเห็นประชาชน เวปไชต์รัฐสภา) การสุ่มตัวอย่างแบบนี้ทางวิชาการเรียก “อคติ”

เปรียบเหมือนการไปซื้อสินค้า ผู้ซื้อคาดว่าตะกร้าสินค้าใดมีสินค้าที่ตนเองต้องการมาก ก็จะเลือกหยิบจากตะกร้านั้นมาก ตะกร้าใดที่คิดว่ามีสินค้าที่ตนเองต้องการน้อย ก็จะไม่เลือกหยิบเลย หรือเลือกขึ้นมาน้อย อย่างนี้ในทางวิชาการจะไม่เชื่อถือผลการวิจัยนั้นเลย เพราะมี “อัคติ” ตั้งแต่ต้น

3. ในแต่ละจังหวัดที่กำหนดจำนวนผู้เข้าประชาพิจารณ์ไว้แล้ว ขั้นต่อไปคือการประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนทุกกลุ่มอาชีพได้ทราบ เพื่อให้ได้กลุ่มอาชีพที่หลากหลายเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น
มาดูข้อเท็จจริงบ้าง ว่าเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่ ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์คำร้องเรียนของประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ที่เขียนถึงบรรณาธิการหนังสือพิมพ์แนวหน้า ลงหน้า 2 หนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 14 พ.ค. 2550 ที่ผ่านมา โดยสรุปดังนี้

การทำประชาพิจารณ์ที่จังหวัดนครสวรรค์ในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง แต่เลือกแจ้งเฉพาะผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้มาประชุมที่อำเภอ (เหมือนกับมารับนโยบาย) นั่นคือเลือกเพียงบางกลุ่มเท่านั้นให้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ เมื่อประชนรู้ข่าวจะมาเข้าร่วมก็ได้รับการกีดกัน และหาว่า ประชาชน “โง่” บ้าง “ปัญญาอ่อน” บ้างเป็นต้น

ข้อนี้ก็แสดงให้เห็นถึง “อัคติ” ของการสุ่มตัวอย่างที่ชัดเจน

4. ปกติในการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีความเป็นกลาง โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็น ผู้วิจัยหรือผู้เก็บข้อมูลจะต้องหลีกเลี่ยงการแสดงความเห็นของตนเองออกไปในทางใดทางหนึ่งล่วงหน้า เพราะจะเป็นการชี้นำ และข้อมูลที่ได้ไม่น่าเชื่อถือ

ส่วนในการทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าผู้ที่มีหน้าที่ทำประชาพิจารณ์ มีความเห็นล่วงหน้าไปแล้วว่าหน้าตาของร่างรัฐธรรมนูญควรเป็นเช่นไร ยกตัวอย่างประเด็นที่ร้อนแรงและเห็นเด่นชัดคือประเด็นการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ คณะผู้ยกร่างเรื่อยมาจนถึงคณะผู้ทำประชาพิจารณ์มีความเห็นว่าไม่ควรบัญญัติ ดังจะเห็นจากการแสดงความเห็นในโอกาสต่างๆ ในกาล และสถานที่ที่แตกต่างกัน พูดง่ายๆ ว่าทำทุกครั้งที่มีโอกาส ทั้งๆ ที่กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการรับฟังเสียงภาคประชาชน

ไม่เพียงแค่นั้น ในวันทำประชาพิจารณ์ ก็พบว่าในหลายพื้นที่มีการนำวีซีดี ที่อ้างว่าเป็นการแนะนำที่มาที่ไปของการทำประชาพิจารณ์มาเปิดให้ชมก่อนการออกเสียง ฟังดูก็ดูเหมือนดี แต่ความเน่ามันอยู่ที่ตอนท้ายเมื่อมีการพูดประเด็นพุทธศาสนา ปรากฏว่าวิทยากรในรายการ ซึ่งประกอบด้วย คุณเจิมศักดิ์ คุณธงทอง คุณจรัล และผู้ดำเนินรายการอีกหนึ่งท่าน มีการชงคำถามคำตอบกันอย่างแนบเนียน โดยมุ่งที่จะแสดงความเห็นว่าการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้นไม่ดีอย่างไร

วีซีดีนี้ได้แจกไปทั่วประเทศที่มีการทำประชาพิจารณ์ โดยผู้ดำเนินการประชาพิจารณ์ในพื้นที่ไม่ทราบว่าในเนื้อหาจะเป็นการชี้นำ หรืออาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรืออาจจะทราบแต่เจตนาที่ให้ความร่วมมือในการชี้นำด้วย เปิดให้ชมซ้ำแล้วซ้ำเล่าในหลายพื้นที่

ในทางวิจัย พฤติกรรมนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะท่านๆ เหล่านี้ในเวลานี้ถือเป็นผู้วิจัยหรือเจ้าของงานวิจัย แม้ในใจจะมีความเห็นอย่างไรก็ไม่สมควรแสดงออกมา (ยกเว้นว่าไม่ได้เป็นกรรมาธิการทำประชาพิจารณ์แล้วเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์แสดงความเห็นอย่างเต็มที่)

สรุปแล้วในทางวิชาการด้านการวิจัย การทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ดูเหมือนจะมีข้อบกพร่องในทางวิชาการมากที่สุด ผลที่ได้ไม่ว่าจะออกมาในทิศทางใดย่อมเป็นผลที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่น่าเชื่อว่ากระบวนการการทำประชาพิจารณ์ที่ใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนหลายร้อยล้าน โดยนักวิชาการระดับดอกเตอร์ จะทำได้เพียงเท่านี้ ถ้าเป็นนักการเมืองทำก็ว่าไปอย่าง จะไม่แปลกใจเลย เพราะ ชาวบ้านเขาชอบพูดกันเสมอๆ ว่า “การเมืองเป็นเรื่องสกปรก” แต่นี้เป็นระดับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับประเทศดำเนินการ

หรือว่า “การเมืองเป็นเรื่องสกปรก” ที่ชาวบ้านเขาว่าจะเป็นเรื่องจริง เพราะใครเผลอเข้าไปพัวพัน ก็แปดเปื้อนมัวหมอง กลายพันธ์ไปทุกคน

สุดท้ายจะขอจบด้วยคำถามที่ว่า ประชาพิจารณ์ ฯ ครั้งนี้ เป็นความไร้เดียงสาของนักวิชาการ หรือ เป็นเจตนามารของนักวิชาเกิน กันแน่

“นักวิชากวน”
http://larndham.net/index.php?showtopic=24724&st=398
 
ยูนิโตพุทธาเลียโน่เด็กมสธ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ค.2007, 4:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มันไม่สำคัญอะไรเลย เหตุเพราะกลัวว่า ศาสนาพุทธ จะล่มสลาย หรือไร ศาสนาจะอยู่หรือไปอยู่ที่ การปฏิบัติตัวปฏิบัติตน ของพระภิสุ สมเณร ต่างหาก ประเทศไทยกับศาสนาพุทธเป็นสิ่งคู้กันอยู่แล้ว ดูจากธงไตรรงค์ธงประชาติ ก็จะรู้อยู่แล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจ สีของธงชาติ สีแดงคือ ชาติ สีขาวคือ ศาสนาพุทธ สีน้ำเงินคือ พระมหากษัตริย์
ยกตัวอย่าง คนจะแต่งงานกันได้จะต้องเป็นผู้หญิงกับผู้ชายเท่านั้น อยากถามว่ากฏหมายกำหนดหรือไม่ คำตอบคือ ไม่มีครับ แต่เป็นที่รู้ๆ กัน....../////
ต้องบัญญัติพุทธเป็นสาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นที่รู้ๆกันมาแต่โบราณว่า ประเทสไทยต้องมีศาสนาประจำชาติคือพุทธรวมอยุ่ในกฏหมายสูงสุดเสมอมายาวนานที่สุด และการแต่งงานไม่เอามาอยุ่ในรัฐธรรมนูญกฏหมายสุงสุดเพราะการแต่งงานจะใช้กฏหมายต่ำกว่ารัฐธรรมนูญมาบอกบัญญัติก็ย่อมทำได้ตามแต่คนต้องการ แต่คนไม่นิยมเขียนการแต่งงานเป็นกฏหมายที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญเท่านั้นเอง มาแต่โบราณ และคนโบราณจะยึดถือมากว่าศาสนาประจำชาติต้องอยุ่สุงกว่าการแต่งงานเสมอ เอามาเทียบกันไม่ได้ ดังนั้น เป็นที่รุ้กันแต่โบราณว่า ศาสนาประจำชาติไม่มีทางที่จะเขียนในกฏหมายต่ำกว่ารัฐธรรมนูญได้ ศาสนาประจำชาติจึงต้องอยุ่ในกฏหมายสุงสุดของชาติเท่านั้นจะต่ำกว่ากฏหมายสุงสุดไม่ได้ การแต่งงานอ้างไม่ขึ้น เพราะ การแต่งงานจะเขียนได้แต่ในกฏหมายต่ำกว่ารัฐธรรมนูญเท่านั้นหรือไม่เขียนในกฏหมายเลยก็ได้ แล้วแต่คนจะเคร่งหรือไม่ แต่ศาสนาประจำชาติไทยคือพุทธต้องเคร่งครัดเสมอมาที่ให้อยุ่ในกฏหมายสุงสุดของไทย ดังนั้นอย่า เอาเรื่องรุ้รุ้กันคนละแบบคนละระดับ มาปนมั่วกัน แบบง่ายง่าย ชาติไทยมีประวัติชัดเจนมายาวนานไม่มั่วปนกัน จาก...ยูนิโตพุทธาเลียโน่เด็กสุโขทัยธรรมาธิราช ///////
 
กรุปโป ยูนิโตพุทธาเลียโน่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ค.2007, 4:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรุปโป ยูนิโต พุทธาเลียโน่ เห็นด้วยเพื่อประจำชาติ
 
kanawat_ny
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2007
ตอบ: 47

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2007, 11:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คิดดี ทำดี พูดดี (การปฏิบัติ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา)
ทำดี ละเว้นชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ (หัวใจของศาสนาขององค์สมณโคดม)

เพียงแค่นี้ ท่านก็ได้ว่ามี "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว"

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ ขอไม่แสดงความคิดเห็น
 

_________________
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์
(อิสระ ชีวา)
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
..............
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2007, 12:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศาสนาประจำชาติไทยที่เข้มแข็งต้องมีอยู่ในรัฐธรรมนูญไทย ด้วยสืบต่อจากอดีตไปอนาคต พยายามอย่าใช้คำว่าประจำชาติแบบลอยลอยมามั่วกับแบบประจำชาติไทย เพราะแต่ละประเทศชาติลอยลอยในทั่วโลกมีประวัติต่างกัน
 
the offices of citiworld
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2007, 10:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอยืนยันว่าหลักของรัฐธรรมนูญทั่วโลกไม่ได้มีข้อห้ามให้มีศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ คำนิยามที่ยกมาก็มาจากแบบประเทศที่ไม่ประกาศสาสนาประจำชาติ.แท้จริงในรัฐธรรมนูญจะมีสาสนาประจำชาติหรือไม่ ก็ได้ ขึ้นอยุ่กับว่าประชาชนต้องการอย่างไรให้รัฐธรรมนูญมีข้อเฉพาะแสดงถึงประจำชาติหรือไม่
ขอยืนยันว่า ราชจารีตประเพณีไทยและจารีตประเพณีของประชาชนไทย ต่างยืนยันว่า ไทยมีพุทธเป็นศาสนาประจำชาติและจารีตประเพณีไทยไม่ได้ห้ามให้บรรจุพุทธเป็นศาสนาประจำไทยในกฏหมายสุงสุดของไทยด้วยตลอดมายังเปิดทางให้ตลอดมา แสดงว่าตามหลักกฏหมายของไทยแต่โบราณไม่ได้มีข้อบัญญัติห้ามบรรจุพุทธเป็นสาสนาประจำชาติไว้ในกฏหมายสุงสุดเลยตลอดมายังเปิดทางให้ตลอดมา ดังนั้นเราบอกได้ว่า การบรรจุพุทธเป้นศาสนาประจำชาติไทยในกฎหมายสุงสุดของ ไทยไม่ผิดตามจารีตของไทยและไม่ผิดหลักการของทั่วโลกที่ไม่ผิดเพราะศาสนาประจำชาติไทยได้รับการคุ้มครองจากพระราชาที่อยู่เหนือกฏหมายสูงสุดของไทยแทน ในระบบราชาธิปไตย แต่ในระบบประชาธิปไตยปัจจุบัน รัฐธรรมนูญอยุ่เหนือราชา รัฐธรรมนูญกฏหมายสูงสุดจึงต้องรักษาพุทธเป้นสาสนาประจำชาติไทยแทนพระราชาต่อไป *****ผมขอสรุปให้ชัดเจนว่า ในสมัยราชาธิปไตย ศาสนาประจำชาติไทยถูกรักษาคุ้มครองทั้งจากพระราชาผุ้อยุ่เหนือกฎหมายสุงสุดและจากประชาชน นี่2ด้านเลยแม้ไม่ได้บัญญัติข้อความชัดเจนในกฎหมายสุงสุดก็ตาม แต่ยังเปิดทางที่3ด้วยคือไม่มีข้อบัญญัติชัดเจนห้ามให้บรรจุพุทธประจำชาติในกฎหมายสูงสุด นี่เป็นแบบจำลองการคุ้มครองพุทธประจำชาติในสมัยโบราณตลอดมา/ในสมัยประชาธิปไตยยุคปัจจุบัน ชาวไทย ควรทำตามแบบโบราณคือ พุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยต้องได้รับการคุ้มครองรักษาจากทั้ง2ด้านเช่นกันไม่น้อยกว่านี้คือ พระราชายุคนี้และรัฐบาลยุคนี้ต่างอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศแทนพระราชา เราจึงต้องถึงเวลาให้กฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายสุงสุดของไทยมีการบัญญัติพุทธเป็นสาสนาประจำชาติ เพื่อทำหน้าที่รักษาคุ้มครองพุทธศาสนา คุ่กับประชาชนรักษาคุ้มครองพุทธสาสนาด้วยนี่เป็น2ด้านหลักไหม่เพื่อรักษาพุทธศาสนาประจำไทยในสมัยระบบประชาธิปไตยต่อไปไม่ผิดตามจารีตไทยโบราณที่เปิดทางให้ตลอดมาและไม่ผิดหลักการของรัฐธรรมนูญทั่วโลกด้วยครับ........ผมpeach-yanun ขอออกความเห็นเท่านี้ครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
 www.Stats.in.th