ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
อริยสัจจ์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 พ.ค. 2007
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
06 พ.ค.2007, 9:27 pm |
  |
...สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัฒหิ สัพพัดถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเสฯ บทสวด์ทั้งข้างต้นนี้มีความหมายทั้งหมดอย่างไรครับ? |
|
|
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2007, 1:23 am |
  |
เป็นบทสวดเพื่อบูชาพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธกลางวันรึเปล่าคะ? |
|
|
|
    |
 |
อริยสัจจ์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 พ.ค. 2007
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2007, 9:46 pm |
  |
เข้าใจว่าคงเป็นบทสวดพระประจำวันพุธกลางคืน นะครับคุณกุหลาบสีชา แต่มิทราบความหมายของบทสวดครับ คุณกุหลาบสีชาพอจะทราบไหมครับ? |
|
|
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2007, 1:09 am |
  |
ทราบแต่เพียงว่า บางตำรากล่าวไว้ว่าให้ใช้บทสวดบูชาพระประจำวันเกิดของวันพุธ (กลางวัน) และวันพุธ (กลางคืน) บทเดียวกัน ซึ่งเป็นบทสวดที่คุณอริยสัจจ์ Quote มาค่ะ
แต่บางตำราก็กล่าวไว้ว่า ให้ผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน (ราหู) ใช้พระคาถานี้ สวดบูชาพระประจำวันเกิดของตนค่ะ
กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ.
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะ คาถาภิคีโตมะหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ.
กินนุ สันตะระมาโน วะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ.
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะ คาถาภิคีโตมะหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ.
ส่วนความหมายของบทสวดนั้น หากมีโอกาสจะถามผู้ทรงคุณวุฒิทางบาลีให้นะคะ เพราะตัวเองมิสามารถค่ะ ไม่ได้เชี่ยวชาญขนาดนั้น เกรงว่าจะผิดพลาดไปค่ะ
เอ....แต่อะไรคือเหตุผลที่แต่ละวันต้องมีบทสวดเฉพาะของตนล่ะคะ?
จะสวดบทเดียวกันไม่ได้เหรอ?
น่าคิดนะคะ
ใครทราบช่วยตอบเป็นวิทยาทานด้วยนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ  |
|
|
|
    |
 |
อริยสัจจ์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 02 พ.ค. 2007
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2007, 9:11 pm |
  |
ผมขอขอบคุณ คุณกุหลาบสีชามากนะครับที่จะหาโอกาสถามผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาบาลีให้ผมนะครับ ผมจะรอครับ ...ผมก็สงสัยเหมือนกับคุณกุหลาบสีชานะครับว่าแล้วเพราะเหตุอันใดคนเราจึงได้มีพระประจำวันเกิดพร้อมบทสวดเฉพาะในแต่ละวันเกิดด้วย??? แล้วเรื่องนี้ได้มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไรก้นหนอ??? |
|
|
|
  |
 |
chanin
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 27 เม.ย. 2006
ตอบ: 36
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ย. 2008, 8:29 pm |
  |
เป็นบทขัด ขันธะปริตรตะคาถา นะครับ
เขาเอามาสวดพระประจำวันพุธกลางวัน
................................................
วันพุธ ปางอุ้มบาตร
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดติดกัน พระหัตถ์ทั้งสองข้างชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรอยู่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง
ประวัติและความสำคัญ
ประวัติที่เป็นเรื่องราวนั้นสืบเนื่องต่อมาจากพระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ กล่าวคือ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งแรกทรงทำอิทธิปาฎิหาริย์ เหาะขึ้นไปบนอากาศ ทรมานให้พระประยุรญาติได้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับนั่ง บนพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขรพรรษ์ให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศมหาเวสสันดรชาดก ยกขึ้นเป็นเทศนา ครั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้ว บรรดาพระญาติทั้งหลาย มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธาน ก็ได้เบิกบานปีติปาโมทย์ เปิดพระโอษฐ์แซ่ซ้องสาธุการแล้ว พระญาติทั้งหลายก็กราบทูลลาคืนยังพระราชสถานแห่งตน มิได้มีพระญาติสักองค์หนึ่ง ได้กราบทูลอาราธนาให้ทรงรับอาหารบิณฑบาตรในยามเช้าพรุ่งนี้ แม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะ ก็เพียงแต่ทูลลามิได้ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารเช้า เช่นกัน ด้วยทรงนึกไม่ถึงว่า ธรรมดาพระจะต้องอาราธนา จึงจะได้มารับบิณฑบาตรในบ้านซึ่งเป็นปกติของสามัญชนธรรมดาทั่วไป พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ทรงรู้สึกอย่างเป็นพระญาติที่สนิทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโอรส พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็เป็นศิษย์ของพระโอรสแล้วพระโอรสจะเสด็จไปไหนเสีย เมื่อไม่มายังพระราชนิเวศน์ของพระองค์ จึงไม่จำเป็นต้องทูลอาราธนา พระเจ้าสุทโธทนะทรงแน่พระทัยเป็นอย่างยิ่งว่า พระบรมศาสดาจะต้องพาพระสาวก ทั้งหลายมาเสวยพระกระยาหารในพระราชนิเวศน์ของพระองค์แน่นอน จึงไม่ทรงทูล อาราธนา ยิ่งไปกว่านั้นยังกลับเห็นว่า หากออกพระกระแสรับสั่งอาราธนา ก็จะกลายเป็นว่า พระบรมศาสดาเป็นคนอื่นมิใช่พระโอรส ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จถึงพระราชนิเวศน์ จึงโปรดให้พนักงานจัดแจงตกแต่งอาหารอันประณีตเป็นพิเศษไว้พร้อมมูล เพื่อถวายพระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งมวลในวันพรุ่งนี้ ตลอดเวลาเย็นถึงเวลารุ่งเช้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีใครมาอาราธนาพระบรมศาสดาไปเสวยที่ใดแล้ว พระองค์ก็ทรงพิจารณาว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อน เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระนครของพระพุทธบิดาแล้ว ทรงปฎิบัติอย่างไร ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนได้เสด็จไปบิณฑบาตรตามลำดับตรอก ครั้นพระพุทธองค์ทรงทราบอย่างนี้แล้ว จึงทรงถือเอาบาตรและจีวรพาภิกษุสงฆ์ เสด็จพระดำเนินไปตามท้องถนนหลวง ปรากฏแก่ประชาราษฏร์ ต่างได้มีโอกาสชมพระบารมี และมีความปีตียินดีประณมหัตถ์นมัสการ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็น พระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาโปรดประชาสัตว์ เป็นการเพิ่มพูนความปีติ โสมนัส พระพุทธจริยาตอนนี้เป็นเหตุให้พุทธบริษัทสร้างพระพุทธรูป เรียกว่า ปางอุ้มบาตร
ชาย ใดเกิดวันพุธ ใจดีที่สุด แต่ไร้วงศาญาติกาทั้งหลาย ใจพลันมักง่าย ไม่คิดหน้าคิดหลัง มักเอาผู้อื่น เป็นที่พึ่งพา ทรัพย์สินนานา ทำใส่ตนเอง ถ้าเป็นสมณะ คนจะยำเกรง ใจชอบนักเลง มักรัก คบเพื่อนต่ำศักดิ์มักจะได้ร้อนรย ตกยากหลายครั้ง ได้ดีหลายหน พ่อแม่แห่งตนมิได้ปฎิบัติ
เกิดกลางวัน ถึงจะมีกินก็ยังทุกข์
เกิดกลางคืน ลำบากก่อนจึงจะสบายภายหลัง
หญิง ที่เกิดวันพุธ จิตใจเด็ดเดี่ยว ไม่กลัวความจน สามารถยืดหดได้ วัยแรกชะตาเหมือนได้ทองแต่เสียหยก มีใจต่อสู้มานะ ชะตาก็เจริญรุ่งเรือง ต้องอดกลั้นและอดทนทำงาน เป็นคนใจร้อนพูดมาก ทำให้มีเรื่องเดือดร้อนมาถึงตัว มีวิชาความรู้แต่ไม่มีโชค จิตใจคล้ายผู้ชาย ตัวเล็กแต่ใจโต เครือฐาติดูถูก มีจิตใจเมตตาอารีย์ มีลูกหลานมาก
เกิดกลางวัน มีมารยาทใจบุญ
เกิดกลางคืน เก่งในการเรียน
วันพุธ มีกำลัง ๑๗ ให้สวดคาถาบทนี้ ๑๗ จบ ก่อนเข้านอน
สัพพาสี วิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัมพัตถะ สัพพะทา สัมพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัม ภะณาาะ เห.
หมายเหตุ. คาถานี้ เป็นคาถามหานิยม ภาวนาเดินทางค้าขาย แสวงโชคลาภ ดีนังแล
วันพุธท่านว่า จุติมาจากลังกาทีปมักได้ดี มีทรัพย์มาก ได้คู่ครองดี มีวาสนาสูง ตำนานว่า คนเกิดวันพุธ มีบุตรชายหญิง ใจดีมักง่าย ไร้ญาติกา พี่น้องเผ่าพันธุ์พึ่งกันมิได้ เงินทองหาได้เก็บไว้ไม่คง ถ้าเป็นพระสงฆ์ ลือชาปรากฎอุตส่าห์กำหนด ช่างมดช่างหมอ เป็นคฤหัสถ์ลำบาก เจ้าชู้หลายเมีย เงินทองบ่อมี ตกยากสี่ที ได้ดีสามครา นามธาตุช้างเฒ่า อาจารย์บอกกล่าว ว่าไว้แท้จริง
ฟังเสียงสวดได้ที่
http://www.geocities.com/buddhistmantra/page004.htm |
|
_________________ ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน |
|
  |
 |
|