Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ประวัติพระเขมาเถรี อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Boom
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2005, 8:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอประวัติพระเหมมาเฐรี และพระเจ้าประสิฐธิโกศล
หน่อยได้ไหมค่ะ
 
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2005, 8:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. ประวัติพระเขมาเถรี



ประวัติพระเขมาภิกษุณี

เอตทัคคมหาเถรีเลิศทางปัญญา


คัดลอกจากสารานุกรม พระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน



พระเขมาภิกษุณีบังเกิดในราชสกุล ตระxxxลกษัตริย์ พระบิดา พระนามว่า พระเจ้ามัททราช กรุงสาคละ แคว้นมัททะ มีพระนาม ว่า พระนางเขมา ทรงมีพรรณะดั่งทอง มีพระฉวีเสมือนทอง



พระนางเจริญวัยเป็นราชกุมารีแล้ว ก็ไปเป็นพระเทวีของพระเจ้าพิมพิสาร ครั้งเมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันก็ยังเป็นผู้มัวเมาในพระรูปพระโฉม ทรงเกรงว่าพระศาสดาจะทรงแสดงโทษในรูป จึงไม่เสด็จไปเฝ้าพระศาสดา.



พระราชาโปรดสั่งให้ผู้คนทั้งหลายเที่ยวประกาศพรรณนาพระเวฬุวัน ทำให้พระเทวีทรงเกิดความคิดที่จะไปชมพระวิหาร เมื่อพระเทวีทรงดำริว่า จำเราจักชมพระวิหาร ก็ทรงสอบถามพระราชา



พระราชาตรัสว่า เธอไปพระวิหารไม่พบพระศาสดาก็อย่าได้กลับมา



แล้วทรงให้สัญญาแก่พวกราชบุรุษว่า พวกท่านจงให้พระเทวีเฝ้าพระทศพล โดยพลการให้จงได้



พระเทวี เสด็จไปวิหาร เวลาล่วงไปครึ่งวัน ไม่ทรงพบพระศาสดาเริ่มเสด็จกลับ



ลำดับนั้น ราชบุรุษทั้งหลาย นำพระเทวีแม้ไม่ทรงปรารถนา เข้าไปเฝ้าพระศาสดาจนได้ พระศาสดาทรงเห็นพระเทวีนั้นกำลังเสด็จมา ทรงเนรมิตหญิงคล้ายนางเทพอัปสรด้วยฤทธิ์ ทำให้ถือพัดใบตาลถวายงานพัดอยู่ พระนางเขมาเทวีทรงเห็นหญิงนั้น ทรงดำริว่า



หญิงนี้มีส่วนเปรียบด้วยนางเทพอัปสร ยืนอยู่ไม่ห่างพระผู้มีพระภาคเจ้า เราไม่พอที่แม้แต่จะเป็นหญิงรับใช้ของหญิงเหล่านั้นได้เลย เราต้องเสียหายด้วยอำนาจจิตชั่ว เพราะเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ทรงถือเอานิมิตประทับยืนมองดูหญิงนั้นคนเดียว เมื่อพระนางกำลังทอดพระเนตรดูอยู่ หญิงนั่นก็ล่วงปฐมวัย มัชฌิมวัย ถึงปัจฉิมวัยแล้ว ฟันหัก ผมหงอก หนังเxxx่ยว ล้มกลิ้งลงพร้อมกับพัดใบตาล ด้วยพระกำลังอธิษฐานของพระศาสดา



จากนั้น เพราะเหตุที่ทรงบำเพ็ญบารมีไว้ พระนางเขมาทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้นแล้วทรงพระดำริว่า



สรีระแม้อย่างนี้ ยังถึงความวิบัติเช่นนี้ สรีระของเราก็จักมีคติอย่างนี้เหมือนกัน ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของพระนางแล้ว ก็ตรัสพระคาถาว่า



ชนเหล่าใด กำหนัดอยู่ด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่

กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุมตกไปยังใยที่ตัวเองทำ

ไว้ฉะนั้น ชนเหล่านั้นตัดกระแสตัณหานั้นเสียได้แล้ว

เป็นผู้หมดอาลัยละกามสุขได้ ย่อมงดเว้นกิจคฤหัสถ์

[บวช] อยู่



ในอรรถกถาว่า จบคาถาพระนางเขมานั้น บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา



ส่วนในอปทานว่า ฟังคาถานี้แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงขอให้พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุญาตแล้ว ทรงผนวชได้ ๗ เดือนแล้วบรรลุพระอรหัต เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ในทิพโสตธาตุและเจโตปริยญาณ รู้ชัดปุพเพนิวาสญาณชำระทิพจักษุให้บริสุทธิ์ มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก ญาณอันบริสุทธิ์ของดิฉัน ในอรรถะธรรมะ นิรุติและปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้วในพระพุทธศาสนา ดิฉันเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลาย คล่องแคล่วในกถาวัตถุ รู้จักนัยแห่งอภิธรรม ถึงความชำนาญในศาสนา



ภายหลัง พระราชสวามีผู้ฉลาดตรัสถามปัญหาละเอียดในโตรณวัตถุ ดิฉันได้วิสัชนาโดยควรแก่กถา



ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเข้าเฝ้าพระสุคตเจ้าแล้ว ทูลสอบถามปัญหาเหล่านั้น (ในเขมาเถรีสูตร ในสังยุตตนิกาย)พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์เป็นอย่างเดียวกันกับที่ดิฉันวิสัชนาแล้ว พระพิชิตมารผู้อุดมกว่านรชน อยู่ด้วยผลสุข นิพพานสุข ก็ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญามาก เพราะเมื่อพระขีณาสวเถรีรูปอื่นๆเกิดปัญญาไพบูลย์ แต่ท่านก็บำเพ็ญบารมีมาแล้วในข้อนั้นจริงอย่างนั้น ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น



พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กำลังทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งตามลำดับ ก็ทรงสถาปนาพระเถรีนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเพราะเป็นผู้มีปัญญามากกว่า และเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ดังความในพระสูตรว่า



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขมาเป็นเลิศของภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีปัญญามาก.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม่ออกบวชก็ขอจงเป็นเช่นพระเขมาภิกษุณี และอุบลวรรณาภิกษุณีเถิด



ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณี เป็นดุลเป็นประมาณเช่นนี้



วันหนึ่ง พระเถรีนั้นนั่งพักกลางวันอยู่โคนไม้ต้นหนึ่ง มารผู้มีบาปแปลงกายเป็นชายหนุ่มเข้าไปหา เมื่อประเล้าประโลมด้วยกามทั้งหลาย ก็กล่าวคาถาว่า



แม่นางเขมาเอย เจ้าก็สาวสคราญ เราก็หนุ่มแน่น

มาสิ เรามาร่วมอภิรมย์กัน ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ นะแม่นาง.



นางเขมาเถรีนั้น ฟังคำนั้นแล้ว เมื่อประกาศความที่ตนหมด ความกำหนัด ในกามทั้งปวง ๑ ความที่ผู้นั้นเป็นมาร ๑ ความไม่เลื่อมใสที่มีกำลังของตนในเหล่าสัตว์ผู้ยึดมั่นในอัตตา ๑ และความที่ตนทำกิจเสร็จแล้ว ๑ จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า



เราอึดอัดเอือมระอาด้ายกายอ้นเปื่อยเน่า กระสับกระส่าย มีอันจะแตกพังไปนี้อยู่ เราถอนกามตัณหาได้แล้ว กามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยหอกและหลาว มีขันธ์ทั้งหลายเป็นเขียงรองสับ บัดนี้ ความยินดีในกามที่ท่านพูดถึงไม่มีแก่เราแล้ว เรากำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงแล้ว ทำลายกองแห่ง ความมืด [อวิชชา] เสียแล้ว



ดูก่อนมารใจบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ตัวท่านถูกเรากำจัดแล้ว พวกคนเขลา ไม่รู้ตามความเป็นจริง พากันนอบน้อมดวงดาวทั้งหลาย บำเรอไฟอยู่ในป่าคือลัทธิ สำคัญว่าเป็นความบริสุทธิ์ ส่วนเราแลนอบน้อมเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษจึงพ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวง ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา.



พระเขมาเถรีปรินิพพาน



มีเรื่องที่น่าแปลกว่า ทำไมในประวัติของพระเขมาเถรีเอง ไม่มีการกล่าวถึงการนิพพานของท่านเลย และก็ไม่มีปรากฏในอรรถกถาส่วนอื่นๆ ด้วย มีแต่ความตอนหนึ่งมาจากขุททกนิกาย อปทาน อยู่ในประวัติของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ขุ.อป ๓๓/๑๕๗)



สมัยสุดท้าย พระเขมาเถรี เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ xxxฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี พระองค์เองก็ประทับอยู่ ณ สำนักภิกษุณีกรุงเวสาลี



เมื่อพระเขมาเถรี ผู้เป็นบริวารของพระนางก็ได้มีความปริวิตกว่า พระมหาปชาบดีจะปรินิพพาน จึงได้เข้าไปหาพระมหาเถรี แล้วทูลว่า



ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจ การนิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักนิพพานกันหมด ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระอนุญาต พวกข้าพเจ้าได้ออกจากเรือนจากภพพร้อมด้วยพระแม่เจ้า ก็จักไปสู่นิพพานบุรี อันยอดเยี่ยมพร้อมๆ กันกับพระแม่เจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมีได้ตรัสว่า



เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน เราจักว่าอะไรเล่า



หลังจากนั้น พระเขมาเถรีและภิกษุณีรวมได้ ๕๐๐ รูปได้ตามพระมหาปชาบดีโคตมีไปพระวิหาร ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต แล้วอำลาพระเถระทั้งหลาย และเพื่อนสพรหมจารีทุกรูป ซึ่งเป็นที่เจริญใจของตน พึงมาปรินิพพานเสียใน ณ xxxฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี



บุพกรรมของพระเขมาเถรี



ดังได้สดับมา ในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ นางเขมานี้ก็บังเกิดนับเนื่องกับคนอื่น ในกรุงหังสวดี



ต่อมา วันหนึ่งนางพบพระสุชาตเถรี อัครสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น กำลังเที่ยวบิณฑบาต จึงถวายขนมต้ม ๓ ก้อน ในวันนั้นนั่นแล ก็จัดในเรือนของตนแล้วถวายทาน แต่พระเถรีทำความปรารถนาว่า ดิฉันพึงมีปัญญามากเหมือนท่าน ในพุทธุปบาทกาลในอนาคต เป็นผู้ไม่ประมาทในกุศลกรรมทั้งหลายจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์แสนกัป



ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็นพระราชธิดาองค์หนึ่ง ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ คือ นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกขุนี(ภิกขุณี) นางภิกขุทาสิกา นางธัมมา(ธรรมา) นางสุธัมมา(สุธรรมา) และนางสังฆทาสี ครบ ๗



พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาลชาติปัจจุบัน] คือพระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และนางวิสาขา ครบ ๗



ทรงประพฤติกุมารีพรหมจรรย์ ในพระราชนิเวศน์ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ร่วมกับพระพี่น้องนางเหล่านั้น สร้างบริเวณที่ประทับอยู่ของพระทศพล เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติเฉลิมพระนามของพระนางว่า เขมา ดังความข้างต้น.



องฺ.อ ๑/๒/๘-๑๑; เถรี.อ ๒/๔/๒๑๖-๒๓๐;อป.อ ๙/๑๕๘; ธ.อ ๑/๒/๔/๔๗๒; สํ.สฬ ๑๘/๗๕๑-๗๕



ที่มา : http://www.dharma-gateway.com



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2005, 8:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2. ประวัติพระเขมาเถรี

เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญา




พระเขมาเถรี เกิดในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติ ได้ให้พระนามว่า “เขมา” เพราะพระนางมีผิวพรรณเลื่อมเรื่อดังสีน้ำทอง เมื่อเจริญพระชันษาแล้วได้อภิเษกสมรสเป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งนครราชคฤห์



เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์นั้นพระนางได้สดับข่าวว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษในรูปสมบัติและเพราะความที่พระนางเป็นผู้หลงมัวเมาในรูปโฉมของตนเอง จึงไม่กล้าไปเข้าเฝ้าพระทศพล ด้วยเกรงว่าพระพุทธองค์จะแสดงโทษในรูปโฉมของพระนาง



--- หลงอุบายถูกหลอกให้ไปวัด

ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร ก็ทรงดำริว่า “เราเป็นอัครอุปัฏฐากของพระศาสดา แต่อัครมเหสี ของอริยสาวกเช่นเรานี้กลับไม่ไปเฝ้าพระทศพล ข้อนี้เราไม่ชอบใจเลย” ดังนั้น พระองค์จึงคิดหาอุบายด้วยการให้พวกนักกวีผู้ฉลาด แต่บทกวีประพันธ์ถึงคุณสมบัติความงดงามของพระวิหารเวฬุวันราชอุทยานแล้ว รับสั่งให้นำไปขับร้องใกล้ๆ ที่พระนางเขมาเทวีประทับ เพื่อให้ทราบสดับบทประพันธ์นั้น



พระนางได้สดับคำพรรณนาความงดงามของพระราชอุทยานแล้ว ก็มีพระประสงค์จะเสด็จไปชม จึงเข้าไปกราบทูลพระราชาผู้สามี ซึ่งท้าวเธอก็ทรงยินดีให้เสด็จไปตามพระประสงค์ เมื่อพระนางได้เสด็จชมพระราชอุทยานจนสิ้นวันแล้วใคร่จะเสด็จกลับ พวกราชบุรุษทั้งหลายได้นำพระนางไปยังสำนักของพระบรมศาสดาทั้งๆ ที่พระนางไม่พอพระทัยเลย



พระบรมศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางกำลังเสด็จมา จึงทรงเนรมิตนางเทพอัปสรนางหนึ่ง ซึ่งกำลังถือพัดก้านใบตาลถวายงานพัดให้พระองค์อยู่เบื้องหลัง พระนางเขมาเทวี เห็นนางเทพอัปสรนั้นแล้วถึงกับตกพระทัยดำริว่า “แย่แล้วสิเรา สตรีที่งามปานเทพอัปสรเห็นปานนี้ ยืนอยู่ใกล้ๆ พระทศพล แม้เราจะเป็นปริจาริกา หญิงรับใช้ของนาง ก็ยังไม่คู่ควรเลย เพราะเหตุไร เราจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตคิดชั่วหลงมัวเมาอยู่ในรูปเช่นนี้หนอ”



พระนางยืนทอดพระเนตรเพ่งดูสตรีนั้นอยู่ ในขณะนั้นเอง พระบรมศาสดา ได้ทรงอธิษฐานให้สตรีนั้นมีสรีระเปลี่ยนแปลงล่วงเลยปฐมวัยแล้วย่างเข้าสู่มัชฌิมวัย ล่วงจากมัชฌิมวัย แล้วย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย เป็นผู้มีหนังเxxx่ยวย่น ผมหงอก ฟันหัก แก่หง่อม แล้วล้มลงกลิ้งพร้อมกับพัดใบตาลนั้น พระนางเขมาเทวี ได้ทอดพระเนตรเห็นรูปสตรีนั้นโดยตลอดแล้ว จึงดำริว่า “สรีระที่

สวยงามเห็นปานนี้ยังถึงงามวิบัติอย่างนี้ได แม้สรีระของเราก็จักมีคติเป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน”



ขณะที่พระนางกำลังมีพระดำริอย่างนี้อยู่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า :-



“ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปในกระแสราคา

เหมือนแมลงมุมตกไปในข่ายใยที่ตนทำเอง

เมื่อชนเหล่านั้นตัดกระแสนั้นได้ โดยไม่มีเยื่อใยแล้ว

ละกามสุขเสียได้ ย่อมออกบวช”



เมื่อจบพระพุทธดำรัสคาถาภาษิตแล้ว พระนางเขมาเทวี ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในอิริยาบถที่ประทับยืนอยู่นั่นเอง



-- พระอรหันต์ฆราวาสเป็นได้ไม่นาน

ธรรมดาผู้อยู่ครองเรือน เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้วจำต้องปรินิพพานหรือไม่ก็บวชเสียในวันนั้น เพราะเพศฆราวาสไม่สามารถจะรองรับความเป็นพระอรหัตถ์ได้ แต่พระนางรู้ว่าอายุสังขารของตนยังเป็นไปได้ จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ให้พระเจ้าพิมพิสารพระสวามีทรงอนุญาตการบวชก่อน แม้พระราชาก็ทรงทราบโดยสัญญาณคืออาการที่พระนางแสดงว่าบรรลุอริยธรรมแล้ว ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ให้พระนางประทับบนวอทองแล้วนำไปอุปสมบทใน

สำนักของภิกษุณีสงฆ์



เมื่อพระนางบวชแล้วได้นามว่า “พระเขมาเถรี” เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก บรรลุพระอรหัตผลทั้งๆ ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่ายขวา



-- วิชชา ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ มี ๘ คือ

๑. วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา

๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ

๓. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้

๔. ทิพพโสต หูทิพย์

๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้

๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

๗. พิทพจักขุ ตาทิพย์ (จุตูปปาตญาณ)

๘. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น



ที่มา : http://www.84000.org/one/2/02.html



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2005, 8:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประวัติพระเจ้าปเสนทิโกศล



๑. ชาติภูมิ

พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระโอรสของพระเจ้ามหาโกศล ผู้ครองนครสาวัตถี แคว้นโกศล ทรงศึกษาศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ตั้งแต่เยาว์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้เสด็จกลับไปครองราชสมบัติในกรุงสาวัตถี



๒. การนับถือพระพุทธศาสนา



(๑) ทรงพบหมู่พระสงฆ์

ในวันหนึ่ง ขณะที่ประทับยืนบนปราสาท พระเจ้าปเสนทิโกศล ทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุสงฆ์หลายพันรูปไปฉันภัตตาหารในคฤหาสน์ของคหบดีผู้มั่งคั่ง มีท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นต้น มีพระราชประสงค์จะถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์จึงได้ทรงให้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุเพื่อฉันภัตตาหารในพระราชวังตลอด ๗ วัน หลังจากนั้น ทรงกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าฉันในพระราชวังเป็นประจำแต่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธเพราะทุกคนต่างรอคอยพระองค์ ซึ่งต้องสงเคระห์ประชาชนให้ทั่วหน้ากันประการสำคัญพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ จะไม่เสวยภัตตาหารในที่เดียวตลอดไป พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้า ส่งพระภิกษุไปฉันในพระราชวังเป็นจำ พระพุทธเจ้าทรงมอบภาระนี้แก่พระอานนท์



(๒) ทรงลืมจัดของถวายพระสงฆ์

ครั้งหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงลืมจัดของถวายแด่พระสงฆ์ ที่เข้าไปฉันภัตตาหารในพระราชวังติดต่อกันถึง ๓ วัน ในวันหลัง ๆ จึงไม่มีภิกษุเข้าไปในพระราชวัง มีแต่พระอานนท์รูปเดียวเท่านั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ไม่พอพระทัยจึงเสด็จไปทรงตำหนิพระสงฆ์ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ทรงตำหนิภิกษุ แต่ทรงชี้ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบว่า การที่สาวกของพระองค์ไม่เข้าไปฉันในราชสำนักเพราะยังไม่มีความคุ้นเคย



(๓) ทรงทำความคุ้นเคย

พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงประสงค์จะทำความคุ้นเคยกับพระภิกษุ จึงทรงขอธิดาของเจ้าศากยะมาเป็นมเหสี เพื่อจะได้เป็นพระญาติกับพระผู้มีพระภาคเจ้า เจ้าศากยะทรงส่งพระนางวาสภขัตติยาธิดาของพระเจ้ามหานามไปถวาย พระนางวาสภขัตติยานั้นมีมารดาเป็นนางทาสีจึงเป็นที่รังเกียจของเจ้าศากยะ พระนางให้กำเนิดโอรสองค์หนึ่ง คือ วิฑูฑภะ ภายหลังพระเจ้าปสนทิโกศลทรงทราบว่า พระนางเป็นธิดาของนางทาสีจึงพิโรธมาก ทรงสั่งให้ริบเครื่องบำรุงแบบราชสำนักที่เคยประทานแก่พระนางและวิฑูฑภะผู้เป็นพระโอรส และได้เสด็จไปกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระนางวาสภขัตติยาเป็นศากยะเพราะมีบิดาเป็นศากยะ วิฑูฑภะก็มีบิดาเป็นกษัตริย์ โคตรของบิดาย่อมสำคัญกว่าของมารดา พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระทัยจึงสั่งให้คืนเครื่องบำรุงแก่พระนาง วาสภขัตติยาและวิฑูฑภะดังเดิม



๓. บทบาทที่สำคัญ



(๑) อำนาจ

เย็นวันหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงช้างชื่อปุณฑรีกะ เลียบพระนคร ทอดพระเนตรเห็นภรรยาของคนยากจนคนจนคนหนึ่ง ทรงเกิดความรักมากจนหักห้ามพระทัยไม่ได้ เมื่อกลับถึงพระราชวัง จึงวางแผนที่จะยึดครองภรรยาของคนยากจนนั้น พระองค์ได้ทรงกลั่นแกล้งคนจนนั้นต่าง ๆ นานา แต่ไม่สำเร็จ ดังนั้น พระองค์จึงทรงส่งเขาไปหาของป่าในป่าลึกและทรงสั่งให้กลับมาก่อนประตูเมืองปิด ชายคนหนึ่งนั้นเทียวหาของได้ตามประสงค์ และกลับสู่เมืองทันเวลา แต่ไม่อาจเข้าเมืองได้ เพราะประตูถูกปิดก่อนเวลาปรกติ เขาจึงเข้าอาศัยศาลาวัดนอนตลอดคืน



ในตอนดึกคืนนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงกระสับกระส่าย เพราะทรงคิดถึงแต่ภรรยาคนยากจนนั้น บรรทมไม่หลับตลอดคืน พระองค์ทรงได้ยินเสียงประหลาด และตกพระทัยมาก รุ่งเช้า ตรัสเรียกโหรมาทำนาย โหรทนายว่าจะมีเคราะห์กรรมขนาดใหญ่ จะต้องบูชาด้วยการฆ่าสัตว์อย่างละ ๑๐๐ ตัว จึงจะเสดาะเคราะห์ได้ พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงสั่งให้จับสัตว์ประเภทละ ๑๐๐ ตัว ขังไว้เพื่อบูชายัญ ในจำนวนนั้นมีมนุษย์ ๑๐๐ คน รวมอยู่ด้วย สัตว์และมนุษย์เหล่านั้น ร้องโหยหวนด้วยความกลัวตาย



พระนางมัลลิกาเทวี มเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าปเสนทิโกศล ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเสียก่อนพระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ประจักษ์ว่า เสียงร้องนั้นไม่ใช่เสียงที่ก่อเคราะห์กรรมแก่ผู้ใดทั้งสิ้น หากแต่เป็นเสียงของสัตว์นรกที่กำลังเสวยผลกรรมของตน เนื่องจากประพฤติในภรรยาของคนอื่น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสำนึกผิด หมดความใยดีในภรรยาของคนยากจน เสด็จกลับพระราชวังแล้วสั่งให้ปล่อยสัตว์และมนุษย์ที่ถูกขังไว้จนหมด



(๒) ทรงแข่งกันทำบุญ

ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหารพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงประกาศให้ประชาชนทำทานแข่งกับพระองค์ เพราะมั่นพระทัยว่า จะไม่มีใครทำทานได้อย่างพระองค์เป็นแน่ แต่เมื่อถวายทาน กลับปรากฏกว่าพระอง๕ทรงพ่ายแพ้ต่อประชาชน เพราะประชาชนร่วมกันถวายจึงสามารถจัดทานได้อย่างมโหฬาร



พระนางมัลลิกาเทวีทรงหาวิธีที่จะให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ชนะ จึงจัดทำทานที่เรียกว่า อสทิสทาน (ทานที่ไม่มีใครเหมือน) เลือกเอาแต่ประณีตที่ประชาชนไม่มี ผู้เป็นกำลังในการจัดไทยทานล้วนเป็นชาววัง พระองค์ทรงชนะประชาชนด้วยอสทิสทานนี้



(๓) ทรงประสงค์จะได้ผู้มีบุญ

พระเจ้าพิมพิสาร และ พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นภัสดาของกันและกัน แต่คนมีบุญมากในแคว้นมคธมีถึง ๕ คน ในขณะที่แคว้นโกศลมีเพียงคนเดียว พระเจ้าปเสนทิโกศ, ทรงขอให้พระเจ้าพิมพิสารทรงส่งคนมบุญไปอยู่แคว้นโกศลอีกหนึ่งคน พระเจ้าพิมพิสารจึงส่งธนัญชัยเศรษฐีไป ธนัญชัยเศรษฐีรอนแรมไปตลอดจนเข้าเขตแคว้นโกศลเมือไปถึงที่ที่ภูมิฐานดีแห่งหนึ่ง จึงกราบทูลให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ทราบว่า บริวารของตนมีมาก หากเข้าไปอยู่ในเมืองจะเป็นการแออัด จึงขอสร้างเมืองใหม่ในบริเวณนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงอนุญาตและประทานนามเมืองนั้นว่า “สาเกต” (หมายถึงเมืองที่จับจองในเวลาเย็น)



(๔) กลวิธีแก้การเสวยพระกระยาหารเกินส่วน

ตาสปรกติ พระเจ้าปเสนทิโกศล เสวยพระกระยาการจุมาก วันหนึ่งเสวยพระกระยาหารแล้วยังไม่ทัยพักผ่อน เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงรู้สึกง่วงถึงกับบรรทมหลับในที่ประทับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงโอวาทว่า การบริโภคมากเป็นของไม่ดี เพราะจะทำให้เกิดการโงดง่วงเซื่องซึม คนที่บริโภคมากมักจะนอนเหมือนสุกรที่ถูกเลี้ยงจนอิ่ม การบริโคพอประมาณจึงจะมีความสุข

พระเจ้าปเสนทิโกศล ไม่อาจทรงจำพระโอวาทได้ เพราะทรงง่วงมาก ทรงให้พระภาคิไนย (หลาน) ชื่อ สุทัสสนะ จดจำเพื่อท่องให้สดับในเวลาเสวยพระกระยาหาร ภายหลังพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงประสุข เพราะปฏิบัติตามพระโอวาทของพระพุทธเจ้าพระองค์เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อกราบทูลความจริงให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่มีทรัพย์ใดยิ่งกว่าความสันโดษ ไม่มีญาติประเภทใดจะเสมอเหมือนความคุ้นเคยกัน และสุขอื่นใดจะเหมือนสุขคือนิพพานหามีไม่”



ที่มา : http://www.mcu.ac.th/buddhism_curriculum/webboard/read.php?w_ID=00161



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2005, 11:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ใช่พระเจ้าปเสนทิโกศล?
 
โชโฮ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ม.ค. 2005, 12:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สงสัยน้องเขาคงพิมพ์ชื่อผิดอะแหละครับ... ไปเอามาจากไหนหว่า สงสัยฟังจากคำสั่งของครู แล้วก็จดผิด.. คงจะเป็น พระนางเขมาเถรี กับพระเจ้าปเสนทิโกศล
 
mink
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.พ.2005, 9:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอคุณธรรม ของพระเจ้าปเสนทิโกศลด้วยได้ป่าวขอรับ

ช่วยส่งมาทางเมลล์ได้ยิ่งดีขอรับ...ขอบคุณ
 
1111
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.พ.2005, 8:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2005, 10:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประวัติพระเจ้าปเสนทิโกศล



ที่มา : http://clubchay.tripod.com/buddha/buddha11.html



พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามหาโกศล เมื่อยังเป็นพระกุมารได้เสด็จไปศึกษาศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ กรุงตักศิลา เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับกรุงสาวัตถีได้แสดงศิลปวิทยาที่ได้ศึกษามาให้หมู่ญาติมีพระชนก พระชนนีเป็นประธานได้ทอดพระเนตร ปเสนทิกุมารได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้ามหาโกศลเป็นอย่างยิ่งโปรดให้อภิเษกในราชสมบัติ เป็นพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งแคว้นโกศล



พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภก (ผู้อุปถัมภ์ศาสนา) ที่สำคัญในสมัยพุทธกาล ทรงมีความรักและความเคารพพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เป็นประจำ ทรงปราศรัยกับพระพุทธเจ้าในเรื่องต่างๆ ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ดังนี้



1) พบพระพุทธเจ้าครั้งแรก



พระเจ้าปเสนทโกศลทรงสนพระทัยในเรื่องศาสนามาก ในสมัยนั้นมีเจ้าลัทธิศาสนา ตั้งตนเป็นศาสดาสั่งสอนธรรมอยู่หลายท่าน ที่มีชื่อเสียงได้รับยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์ ๖ ท่าน คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคศาล นิครนถนาฏบุตร สัญชัยเวลัฏฐบุตร ปกุธกัจจายนะ และอชิตเกสกัมพล ซึ่งมักจะรวมเรียกว่าศาสดาทั้ง ๖



พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบกิตติศัพท์ (เสียงเล่าลือ) ดังกล่าวมีพระประสงค์จะพบพระอรหันต์ผู้ประกาศตนว่าเป็นพุทธะเป็นสัพพัญญู (ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง) จึงโปรดให้นิมนต์ศาสดาทั้ง ๖ ไปรับพระราชทานอาหารในพระราชวัง แล้วทรงตรัสถามตรงๆ ว่าท่านทั้งหลายสามารถปฏิญาณ (ยืนยัน) ได้หรือไม่ว่าเป็นพุทธะ ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธญาณ ศาสดาทั้ง ๖ เกรงพระบรมเดชานุภาพของพระราชา คิดว่าถ้าหากทูลว่าตนเป็นพุทธะ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสถามธรรมที่ลึกซึ้งอันเป็นพุทธวิสัย จะไม่อาจทูลตอบได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะถูกลงโทษฐานหลอกลวงมหาชนว่าเป็นพุทธะจึงได้นิ่งเสีย ไม่มีผู้ใดกล้าปฏิญาณว่าตนเองเป็นพุทธะ เมื่อถูกถามซ้ำอีกไม่มีทางตอบบ่ายเบี่ยงเป็นอย่างอื่น จึงต้องยอมรับว่าพวกตนมิได้เป็นพุทธะ เป็นแต่คณาจารย์ธรรมดา คำที่เล่าลือกันว่าเป็นพุทธะนั้นเป็นเรื่องของสาวกบริวารที่ยกย่องกันเอง



เมื่อพระพุทธศาสนาตั้งมั่นในแคว้นมคธแล้วอีก ๒ ปีต่อมาก็ได้แผ่ไปถึงแคว้นโกศล มีผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาบริจาคทรัพย์สร้างวัดในกรุงสาวัตถีเมืองหลวงของแคว้นโกศลหลายแห่ง เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหารและนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างวัดบุพพาราม



คราวหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวัน แล้วทูลถามว่าท่านพระโคดมทรงปฏิญาณได้หรือไม่ว่าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า พระองค์ทรงปฏิญาณว่าพระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยมแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่าบรรพชิตเหล่าอื่น เช่น ศาสดาทั้ง ๖ เมื่อพระองค์ตรัสถามว่าท่านเหล่านั้นปฏิญาณได้หรือไม่ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ก็ไม่มีผู้ใดปฏิญาณสักคน ทั้งๆ ที่ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีอายุมากแล้ว เป็นเจ้าลัทธิที่มหาชนยกย่อง ส่วนพระพุทธเจ้ายังทรงหนุ่มอยู่ ผนวชมาก็ไม่สู้นาน ไฉนพระองค์จึงกล้าปฏิญาณเล่า พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า "ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นของ ๔ อย่างว่าเป็นของเล็กน้อย" คือ



(1) อย่าดูถูก ดูหมิ่นกษัตริย์ว่ายังทรงพระเยาว์

(2) อย่าดูถูก ดูหมิ่นงูว่าตัวเล็ก

(3) อย่าดูถูก ดูหมิ่นไฟว่าเล็กน้อย

(4) อย่าดูถูก ดูหมิ่นภิกษุว่ายังหนุ่มอยู่



ของ ๔ อย่างนี้ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อยไม่สำคัญ เพราะพระมหากษัตริย์แม้ยังทรงพระเยาว์ แต่ก็มีพระราชอำนาจมาก หากทรงพิโรธขึ้นอาจลงพระราชอาญาอย่างหนักได้ งูพิษแม้ตัวเล็กก็กัดคนให้ตายได้ ไฟเพียงเล็กน้อยก็อาจเผาบ้านเรือนผลาญชีวิตคนได้ พระภิกษุแม้ยังหนุ่ม แต่ก็เป็นผู้มีศีล ผู้ใดประทุษร้ายต่อภิกษุผู้มีศีล ผลแห่งกรรมชั่วย่อมแผดเผาผู้นั้น บุตรภรรยาและทรัพย์สมบัติของผู้นั้นย่อมพินาศ



เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสจบแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลว่าพระธรรมของพระพุทธเจ้าแจ่มแจ้งนัก และปฏิญาณตนเป็นอุบาสกของถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป



2) ทรงถวายภัตตาหารพระสงฆ์เป็นประจำ



เช้าวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับยืนอยู่ในปราสาทชั้นบนทอดพระเนตรเห็นพระสงฆ์จำนวนมากเดินไปตามถนน ทรงตรัสถามราชบุรุษว่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไปไหนกัน เมื่อราชบุรุษทูลว่าพระภิกษุเหล่านี้ไปรับบิณฑบาตที่บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐีบ้าง ที่บ้านของนางวิสาขาบ้างเป็นประจำทุกวัน พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงประราชศรัทธานิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์เข้าไปรับภัตตาหารในพระราชวังติดต่อกัน ๗ วัน ในวันสุดท้ายขอนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป มารับบิณฑบาตเป็นประจำ แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่าตามธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับภัตตาหารในที่แห่งเดียวเป็นประจำ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลขอให้พระพุทธเจ้ามอบหมายให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้แทนพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าจึงทรงมอบหมายให้เป็นภาระของพระอานนท์



พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเตรียมอาหารไว้ถวายพระภิกษุที่มารับบิณฑบาตวันละ ๕๐๐ รูป แต่ไม่ได้มอบหมายหน้าที่ให้ราชบุรุษผู้ใดเป็นผู้ตักบาตร ตามธรรมดาพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีพระราชภาระมาก บางวันเสด็จมาทรงบาตรช้าไป บางวันก็ไม่สามารถมาได้ ครั้งหนึ่งทรงลืมติดต่อกันถึง ๓ วัน พระภิกษุที่มารับบิณฑบาตก็เริ่มระอา มาสู่ที่นิมนต์ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนเหลือแต่พระอานนท์รูปเดียวเท่านั้น



ครั้นวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระลึกขึ้นได้ เสด็จมาจะทรงบาตร ก็เห็นพระอานนท์อยู่รูปเดียว อาหารที่จัดไว้เหลืออยู่มากมาย จึงตรัสถามราชบุรุษว่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมิได้มาหรือ ทรงสดับว่าพระอานท์มารูปเดียวเท่านั้น ทรงพิโรธพระภิกษุว่ารับนิมนต์แล้วไม่มา จึงเสด็จไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ทรงติเตียนภิกษุ แต่ทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบว่า การที่สาวกของพระองค์ไม่เข้าไปรับบิณฑบาตในราชสำนักเพราะยังไม่มีความคุ้นเคย



3) ทรงเป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้า



ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลเมื่อเสด็จกลับไปแล้ว ทรงดำริว่าเราควรทำความคุ้นเคยกับภิกษุสงฆ์จะทำอย่างไรดีหนอ ภิกษุสงฆ์จึงจะคุ้นเคยกับเรา ทรงดำริว่าถ้าเราอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงในตระกูลศากยะ ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับพระพุทธเจ้า ภิกษุสงฆ์ก็จะเกิดความคุนเคยกับเรา เพราะคิดว่าเราเป็นญาติของพระพุทธเจ้าจึงได้ทรงส่งพระราชสาส์นไปขอธิดาของวงศ์ศากยะมาเพื่ออภิเษกเป็นพระมเหสี ปรากฏว่าทางศากยวงศ์ประชุมกันแล้วไม่เต็มใจที่จะถวาย แต่เนื่องด้วยเกรงพระราชอำนาจของพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงจำใจส่งเจ้าหญิงวาสภขัตติยา ธิดาของพระเจ้ามหานามะ ผู้เกิดจากนางทาสี (หญิงรับใช้ของพระเจ้ามหานามะ) ไปถวาย พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระทัย อภิเษกไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี



ต่อมาพระนางวาสภขัตติยาประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง คือ วิฑูฑภะ ภายหลังพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่าพระนางเป็นธิดาของนางทาสี ทรงกริ้วมาก รับสั่งให้ปลดพระนางวาสภขัตติยาจากตำแหน่งอัครมเหสีและวิฑูฑภจากตำแหน่งรัชทายาท และให้ริบเครื่องอิสริยยศที่เคยพระราชทานแก่พระนางวาสภขัตติยา และพระโอรส



ต่อมาอีก ๒-๓ วัน พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงทูลเรื่องนี้ ด้วยความน้อยพระทัยว่าพระญาติของพระพุทธเจ้าประทานลูกทาสีมาให้เป็นอัครมเหสี พระพุทธเจ้าตรัสว่า "มหาบพิตร พวกเจ้าศากยะไม่สมควรทำอย่างนี้ ธรรมดาเมื่อจะให้พระธิดาก็ควรให้พระธิดาที่มีพระชาติเสมอกัน" เป็นการแสดงความเห็นใจ ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงคลายความขุ่นพระทัยลงที่ทรงเห็นว่าพระทพุธเจ้าเป็นฝ่ายเดียวกับพระองค์ไม่เข้าข้างฝ่ายพระญาติ



เมื่อพระเจ้าปเสนิโกศลได้ระบายความน้อยพระทัย และได้รับความเห็นใจจากพระพุทธเจ้าที่ทรงยอมรับว่าพวกเจ้าศากยะทำไม่ถูก เป็นการแสดงอารมณ์ร่วมแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงชี้แจงต่อไปว่าพระนางวาสภขัตติยาเป็นราชธดาของกษัตริย์ ได้รับการอภิเษกในตระกูลของกษัตริย์ แม้วิฑูฑภะกุมารก็ถือกำเนิดจากกษัตริย์วงศ์ตระกูลฝ่ายมารดาไม่สำคัญ วงศ์ตระกูลฝ่ายบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งในสมัยโบราณก็เคยพระราชทานตำแหน่งอัครมเหสีแก่หญิงผู้ยากจนมีอาชีพหาบฝืน และโอรสที่เกิดจากอัครมเหสีนั้นต่อมาก็ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสดับพระโอวาทแล้วทรงเห็นจริงว่าวงศ์ตระกูลของบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ จึงโปรดให้คืนยศและตำแหน่งแก่พระนางวาสภขัตติยาและวิฑูฑภะพระโอรสดังเดิม



4) ทรงถวายอสทิสทาน



ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จพระราชดำเนินไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลปราศรัยถึงเรื่องต่าง ก่อนจะเสด็จกลับได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปรับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น ในพระราชฐานและตรัสชวนประชาชนที่มาฟังธรรมในพระเชตวันมหาวิหารให้ไปร่วมอนุโมทนาทานนั้นด้วย เมื่อถึงเวลาพระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ทรงทำภัตกิจที่ในวัง ชาวเมืองก็ไปร่วมอนุโมทนาด้วยมากมาย เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วชาวเมืองจึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้ากับภิกษุ ๕๐๐ รูป เสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น และทูลเชิญเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล พร้อมทั้งอำมาตย์-ราชบริพารมาอนุโมทนาด้วย



พระเจ้าปเสนทิโกศลกับชาวเมืองผลัดกันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระ และเชิญอีกฝ่ายหนึ่งมาร่วมอนุโมทนาอย่างนี้ถึงฝ่ายละ ๖ ครั้ง ในครั้งแรกๆ ก็เกิดด้วยศรัทธาปสาทะ แต่ครั้งหลังๆ กลายเป็นแข่งขันกันไปโดยไม่รู้ตัว ชาวเมืองพยายามหาของดีๆ ของแปลกๆ เช่น พืช ผัก และผลไม้ที่หายากมาถวาย พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงพยายามจัดหาของที่ดีและประณีตให้มีแปลกมีใหม่ แต่ก็สู้ชาวเมืองไม่ได้สักครั้ง เพราะชาวเมืองมีจำนวนมากร่วมกันถวายทีหลัง จึงสามารถจัดของถวายให้แปลกให้ดีกว่า



พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปริวิตกถึงเรื่องนี้จึงตรัสเล่าให้พระนางมัลลิกาเทวีทราบ พระนางมัลลิกาเทวีทรงหาวิธีที่จะให้พระเจ้าปเสนทิโกศลชนะชาวเมืองจึงจัดทานที่เรียกว่า "อสทิสทาน" แปลว่าทานที่หาผู้ทำเสมอมิได้ คือทานที่ไม่มีใครเหมือน



พระนางมัลลิกาเทวีเป็นผู้ฉลาด แทนที่จะเอาชนะด้วยภัตตาหารที่แปลกที่ประณีตที่หายาก พระนางกลับเอาชนะด้วยพิธีการที่ยิ่งใหญ่จนชาวเมืองทำตามไม่ได้ คือ ให้ปลูกพระมณฑปใหญ่สำหรับเป็นที่ฉันภัตตาหารสำหรับพระ ๕๐๐ รูปที่กลางสนามหลวง ที่อาสนะสำหรับพระแต่ละรูป มีช้างยืนถือเศวตรฉัตรบูชาพระอยู่เบื้องบน และให้เจ้าหญิงแห่งราชตระกูลเป็นผู้ถวายภัตตาหาร ชาวเมืองไม่มีช้าง ไม่มีเศวตรฉัตร ไม่มีเจ้าหญิง จึงไม่อาจแข่งขันกับพระเจ้าปเสนทิโกศลได้



5) พบพระพุทธเจ้าครั้งสุดท้าย



ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เมทฬุปนิคม ในแคว้นสักกะของพวกศากยะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านมาทางนั้น โปรดให้พักกองทัพไว้ไม่ไกลวัดนัก ตั้งพระราชหฤทัยจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ชื่อว่าทีฑการายนะรักษาไว้ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีกราบทูลถึงความที่พระองค์มีความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก ในตอนสุดท้ายกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นชาวโกศล หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๘๐ ปี หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปีเหมือนกัน..."



ในระหว่างที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด้จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีแต่เฉพาะพระองค์ ทีฆการายนะอำมาตย์เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงนำเครื่องราชกกุธภัณฑ์กลับไปกรุงสาวัตถี สถาปนาวิฑูฑภะซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี (แม่ทัพ) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน เหลือไว้แต่ม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง



เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลลาเสด็จกลับออกมาจากพระคันธกุฎีไม่พบทีฆการายนะอำมาตย์ ซึ่งพระองค์มอบให้รักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล พบเพียงม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง สอบถามได้ความว่าทีฆการายนะอำมาตย์กับวิฑูฑภะเสนาบดียกกองทัพกลับกรุงสาวัตถีแล้วพร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ก็ทรงแน่พระทัยว่าเจ้าชายวิฑูฑภะเป็นขบถแน่ จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อขอกำลังทหารจากพระเจ้าอชาตศัตรูราชาแห่งแคว้นมคธผู้เป็นพระราชนัดดาไปกู้ราชบัลลังก์คืน แต่เนื่องด้วยทรงพระชราและทรงเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง จึงสิ้นพระชนม์อยู่นอกประตูเมืองราชคฤห์ในราตรีที่เสด็จไปถึงนั่นเอง นางสนมที่โดยเสด็จก็ร้องไห้คร่ำครวญความทราบถึงพระเจ้าอชาตศัตรู จึงโปรดให้จัดการพระบรมศพให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
โดเรมอน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ย.2005, 8:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผลงานของพระเจ้าปเสนทิโกศล
 
จัง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ย.2005, 7:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
พิน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ม.ค. 2006, 12:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากรู้ความเป็นมาของพระเขมาเถรี ด่วน ส่งอาจารย์
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง