Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ติดสมาธิ (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
poivang
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2007, 1:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ติดสมาธิ
โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน



สมาธิ ว่าโดยชื่อและอาการแห่งความสงบมี ๓ ขั้น คือ

- ขณิกสมาธิ คือตั้งมั่นหรือสงบชั่วคราวแล้วถอนขึ้นมา

- อุปจารสมาธิ ท่านว่ารวมเฉียดๆ นานกว่าขณิกสมาธิแล้วถอนขึ้นมา จากนี้ขอแทรกทัศนะของพระป่า “ธรรมป่า” เข้าบ้างเล็กน้อย คืออุปจารสมาธินั้นเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว ไม่อยู่กับที่ถอยออกมาเล็กน้อย แล้วตามรู้เรื่องต่างๆ ตามแต่จะมาสัมผัสใจ บางครั้งก็เป็นเรื่องเกิดจากตนเองปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมา เป็นต้น

พึงทราบว่าสมาธิประเภทมี นิมิตนี้ไม่ได้มีทุกรายไป รายที่ไม่มีก็คือเมื่อจิตสงบแล้วรวมอยู่กับที่ จะรวมนานเท่าไรก็ไม่ค่อยมีนิมิตปรากฏหรือจะเรียกง่ายๆ ก็คือ รายที่ปัญญาอบรมสมาธิ แม้สงบรวมลงแล้วจะอยู่นานหรือไม่นานก็ตามก็ไม่มีนิมิต เพราะเกี่ยวกับปัญญาแฝงอยู่ในองค์สมาธินั้น

ส่วนรายที่มีสมาธิอบรมปัญญามักจะปรากฏนิมิตแทบทุกรายไป เพราะจิตประเภทนี้รวมลงอย่างรวดเร็วที่สุด เหมือนคนตกบ่อตกเหวไม่ระวังตัว ลงรวดเดียวก็ถึงที่พักของจิตแล้วก็ถอนออกมารู้เหตุการณ์ต่างๆ จึงปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมาขณะนั้น และก็เป็นนิสัยจริตประเภทนี้แทบทุกรายไป

- อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่ละเอียดและแน่นหนามั่นคงทั้งรวมอยู่ได้นาน มีความแนบแน่นของใจมีความมั่นคงอยู่ตลอด

สมาธิทุกประเภทพึงทราบว่าเป็นเครื่องหนุนปัญญาได้ตามกำลังของตน คือสมาธิอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ก็หนุนปัญญาอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเป็นชั้นๆ ไป แล้วแต่ผู้มีปัญญาจะนำออกใช้

แต่โดยมากจะเป็นสมาธิประเภทใดก็ตามปรากฏขึ้น ผู้ภาวนามักจะติดเพราะเป็นความสงบสุข ในขณะที่จิตรวมลงและพักอยู่ การที่จะเรียกจิตติดสมาธิหรือติดความสงบได้นั้นไม่เป็นปัญหา
ในขณะที่จิตพักรวมอยู่ จะพักอยู่นานเท่าใดก็ได้ตามขั้นของสมาธิ

ที่สำคัญก็คือเมื่อจิตถอนขึ้นมาแล้วยังอาลัยในการพักของจิต ทั้งๆที่ตนมีความสงบพอที่จะใช้ปัญญาไตร่ตรอง และมีความสงบจนพอตัวซึ่งควรจะใช้ปัญญาอย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังพยามอยู่ในความสงบไม่สนใจในปัญญาเลย อย่างนี้เรียกว่าติดสมาธิถอนตัวไม่ขึ้น

เพราะสมาธินี้เป็นความสุขพอที่จะให้ติดได้ถึงได้ติด คนเรามีความสุขในสมาธิก็พอใจแล้วจิตไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ พอจิตหยั่งเข้าสู่ความรู้อันเดียวแน่วอยู่อย่างนั้น ไม่อยากออกยุ่งกับอะไรเลย ตาไม่อยากมอง หูไม่อยากฟัง มันเป็นการยุ่งรบกวนจิตใจของเราให้กระเพื่อมเปล่าๆ

เมื่อจิตได้แน่วแน่อยู่ในสมาธินั้น อยู่สักกี่ชั่วโมงก็อยู่ได้ นี่มันติดได้อย่างนี้เอง สุดท้ายก็นึกว่าความรู้ที่เด่นๆ อยู่นี้เองจะเป็นนิพพาน อันนี้จะเป็นนิพพานจ่อกันอยู่นั้นว่าจะเป็นนิพพาน สุดท้ายมันก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นล่ะจนกระทั่งวันตายก็จะต้องเป็นสมาธิ ติดสมาธิจนกระทั่งวันตาย ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์มาฉุดมาลาก

ผมเองก็มีหลวงปู่มั่นมาฉุดมาลากเถียงกันเสียจนตาดำตาแดง จนกระทั่งพระทั้งวัดแตกฮือกันมาอยู่เต็มใต้ถุน นี่เพราะฟังการโต้กับหลวงปู่มั่น ไม่ใช่โต้ด้วยทิฐิมานะอวดรู้อวดฉลาดนะ โต้ด้วยความที่เราก็เข้าใจว่าจริงอันดับหนึ่งของเรา ท่านก็จริงอันหนึ่งของท่าน สุดท้ายเราก็หัวแตกเพราะท่านรู้นี่ เราพูดทั้งที่กิเลสเต็มหัวใจ แต่เข้าใจว่าสมาธินี่มันจะเป็นนิพพาน แล้วสุดท้ายท่านก็มาไล่ออก

ทีแรกไปหาท่านเมื่อไร ท่านก็ถามว่า “สบายดีเหรอ สงบดีเหรอ”

“สงบดีอยู่” เราก็ว่าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ว่าอะไร พอนานๆ เข้าก็อย่างว่านั่นแหละ

หลวงปู่มั่น : “เป็นอย่างไรท่านมหาสบายดีเหรอใจ”

หลวงตาบัว : “สบายดีอยู่สงบดีอยู่”

หลวงปู่มั่น : “ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ” ฟังซิ ทีนี้ขึ้นละนะ พลิกเปลี่ยนไปหมดสีหน้าสีตาอะไร จะเอาเต็มที่ละจะเขกเต็มที่ละ “ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ” ท่านว่า “ท่านรู้ไหมสุขในสมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม สมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟันนั้นแหละมันสุขขนาดไหน เนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหมๆ”

นี้เราไม่ลืมนะ จากนั้นมาหลวงปู่มั่นท่านว่า “ท่านรู้ไหมว่าสมาธิทั้งแท่งนั้นล่ะคือตัวสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหมๆ” ตรงนี้มันก็ต่อยกับท่านอีก ดูซิ (ต่อยในที่นี้หมายถึงทางความคิดเห็นและทางวาจา ไม่ใช่การชกต่อย)

หลวงตาบัว : “ถ้าหากว่าสมาธิเป็นสมุทัยแล้ว สัมมาสมาธิจะให้เดินที่ไหน” นั่นเอาซิโต้ท่าน

หลวงปู่มั่น : “มันก็ไม่ใช่สมาธิตายนอนตายอยู่อย่างนี้ซิ สมาธิของพระพุทธเจ้าคือ สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่” นั่นเห็นไหมท่านใส่เข้าไป แล้วว่า “สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอเป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้า ! พูดออกมาซิ” มันก็ยอมล่ะซิ

พอออกทางด้านปัญญาเท่านั้นมันก็รู้เรื่องรู้ราว ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ตัดกิเลสตัวนี้ได้โดยลำดับๆ เกิดความตื่นเนื้อตื่นตัวขึ้นมา โธ่ ! เราอยู่ในสมาธิเรานอนตายอยู่เฉยๆ มากี่ปีกี่เดือนแล้วไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไร แต่ให้มีสมาธิพอดีๆ ไว้เป็นที่พักจิตตอนเจริญปัญญานะ

ทางที่ถูกและราบรื่นของผู้ปฏิบัติก็คือ เมื่อจิตได้รับความสงบพอเห็นทางแล้ว ต้องฝึกหัดจิตให้คิดค้นในอาการของกาย จะเป็นอาการเดียวหรือมากอาการก็ตาม ด้วยปัญญาคลี่คลายดูกายของตนเริ่มตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า ฯลฯ อาการ ๓๒ ของกาย สิ่งเหล่านี้ตามปกติเต็มไปด้วยของปฏิกูล ตายแล้วยิ่งเป็นมากขึ้นไม่ว่าสัตว์ บุคคล หญิง ชาย มีความเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ต้องเห็นอย่างนี้ เป็นอนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (คงทนอยู่ไม่ได้) อนัตตา (ไม่มีตัวตน)


:: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
:: วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง