ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
20 ม.ค. 2005, 10:00 am |
  |
ภัยของกา
นิทานธรรมฉบับพิเศษ
จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา
ที่เมืองพาราณสี แคว้นกาสี มีฝูงกาอยู่เป็นจำนวนมาก พระเจ้าพรหมทัตทรงรับสั่งให้จับฝูงกาฆ่าเอามันเหลว ทำให้ฝูงกาเดือดร้อนหนัก ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นพญากา บำเพ็ญเมตตาบารมีช่วยเหลือฝูงกามิให้ถูกฆ่า ส่วนพระอานนท์เกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต
วันหนึ่ง ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต ออกมาอาบน้ำในแม่น้ำนอกเมือง หลังจากอาบน้ำแล้วก็แต่งตัวทาน้ำหอมทัดดอกไม้นุ่งผ้าใหม่ เดินทางกลับเข้าไปในเมือง
ขณะนั้นมีกาสองตัวจับอยู่บนซุ้มประตูทางเข้าไปในเมือง กาตัวหนึ่งเห็นปุโรหิตกำลังเดินทางมาจะถึงซุ้มประตู นึกสนุก จึงบอกกาอีกตัวหนึ่งว่า
“เพื่อนเอ๋ย เพื่อนคอยดูนะ เดี๋ยวกันจะขี้รดหัวตาพราหมณ์คนนี้”
“อย่านะเพื่อน อย่าทำอย่างนั้นเด็ดขาด ” กาตัวที่สองร้องห้าม “พราหมณ์คนนี้ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ แต่เป็นคนมีอำนาจเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิดของพระเจ้าพรหมทัต การทำให้คนมีอำนาจอย่างนี้โกรธไม่ดีเลย เพราะมีแต่จะทำให้พวกเราต้องเดือดร้อน”
“เขาคงไม่โกรธมากหรอก เราล้อเล่นสนุกๆ ไปอย่างนั้นเอง” กาตัวที่หนึ่งยังดื้อรั้น
“ถ้าอย่างนั้น เชิญเพื่อนสนุกไปคนเดียวเถอะ” กาตัวที่สองพูดจบ ก็บินเลี่ยงไปทางอื่น
ทันใดนั้นเอง ปุโรหิตก็เดินทางมาถึงที่ใต้ซุ้มประตู กาตัวที่หนึ่งก็ถ่ายอุจจาระรดศีรษะเขาอย่างตั้งใจ ไว้แล้วส่งเสียงร้องแสดงความดีใจและบินหนีไป
ปุโรหิตโกรธมาก ถึงขั้นผูกอาฆาตจะฆ่าพวกกาให้ได้ในวันหนึ่ง
ครั้งนั้น ที่เมืองพาราณสี นอกจากมีฝูงกามากแล้ว ยังมีฝูงแกะมากอีกด้วย ฝูงแกะนั้นชอบเข้ามากินข้าวเปลือกที่ชาวบ้านตากไว้กลางแจ้งในหมู่บ้าน คราวหนึ่ง แกะตัวหนึ่งไปกินข้าวเปลือกของผู้หญิงคนหนึ่งเข้าขณะที่นางกำลังนอนหลับ
พอตื่นขึ้นมาเห็นแกะเข้าเท่านั้น นางก็รีบตวาดเสียงลั่นจนแกะหนีไป “แกะตัวนี้มากินข้าเปลือกหมดเกือบครึ่งแล้ว เราเสียหายหนัก ต่อนี้ไปจักต้องหาวิธีไล่ไม่ให้มันมา”
ดังนั้นวันรุ่งขึ้นนางจึงคอยเวลาให้แกะตัวนั้นมากิน ครั้นใกล้ถึงเวลาที่แกะตัวนั้นมา นางจึงถือฟืนนั่งคอยทำทีเหมือนหลับ ครู่ต่อมาแกะก็มา เห็นนางนั่งหลับจึงเดินตรงเข้าไปกินข้าวเปลือกที่นางตากไว้ นางค่อยๆ หรี่ตาขึ้นมอง
ขณะที่แกะกำลังกินเพลินอยู่นั้น นางก็ถือดุ้นฟืนที่กำลังติดไฟ เดินไปหวดเข้าที่กลางหลังแกะ แกะมีขนยาวมาก ไฟที่ดุ้นฟืนลุกไหม้ขนแกะอย่างรวดเร็ว
“โอย..... ร้อนจัง” แกะร้องพลางวิ่งหาที่ดับไฟพลาง จนกระทั่งมาถึงกระท่อมมุงด้วยหญ้าหลังหนึ่งซึ่งปลูกอยู่ใกล้โรงช้างจึงเอาร่างกายเข้าถู
(มีต่อ 1) |
|
|
|
    |
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
20 ม.ค. 2005, 10:07 am |
  |
ทันใดนั้นเอง เปลวไฟก็ลุกไหม้กระท่อมหญ้าแล้วลามไปไหม้โรงช้าง เปลวไฟลุกโชติช่วงแล้วตกลงมาไหม้หลังช้าง ส่งผลให้ช้างหลายเชือกมีแผลพุพองไปทั้งตัวและทุกข์ทรมานมาก หมอหลวงพยายามรักษาอย่างเต็มที่ แต่แผลไม่หาย จึงพากันไปกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตให้ทรงทราบ
พระเจ้าพรหมทัตทรงวิตกกังวลมาก จึงตรัสเรียกปุโรหิตมาปรึกษา
“ท่านอาจารย์ ช้างหลวงหลายเชือกถูกไฟไหม้ตัวเป็นแผลพุพอง หมอหลวงพยายามรักษากันอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ท่านอาจารย์มียาดีบ้างไหม”
“ขอเดชะ ข้าพระองค์ไม่มียาดีหรอก แต่ว่าพอรู้จัก” ปุโรหิตกราบทูล พลันหวนคิดถึงโอกาสที่จะได้แก้แค้นพวกกาที่เคยถ่ายรดศีรษะตนเอง
“ยาอะไรหรือ ท่านอาจารย์” พระเจ้าพรหมทัตตรัสถามอย่างกระตือรือร้น
“มันเหลวของกา พระเจ้าข้า”
เมื่อทรงทราบเช่นนั้นก็รับสั่งแก่พวกอำมาตย์ทันที นับแต่นั้นมาพวกอำมาตย์ก็สั่งพวกคนใกล้ชิด ให้ช่วยกันฆ่ากาแล้วนำมันเหลวมาถวายพระเจ้าพรหมทัต ผลปรากฏว่าฝูงกาถูกฆ่าตายวันละหลายสิบตัว ฝ่ายกาที่ยังไม่ถูกฆ่าก็เริ่มอกสั่นขวัญแขวน เพราะไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงตนเมื่อไร
ครั้งนั้น ในบริเวณป่าช้าใหญ่นอกเมือง มีกาฝูงใหญ่อาศัยอยู่มีจำนวนถึง ๘๐,๐๐๐ ตัว โดยมีพญากาเป็นหัวหน้า กาฝูงนี้มีความเป็นอยู่อย่างสุขสงบ ต่อมา มีกาตัวหนึ่งเห็นว่าฝูงกาในเมืองกำลังเดือดร้อนหนัก เพราะถูกพวกมนุษย์ไล่ล่าเพื่อเอามันเหลว จึงบินมาหาพญากาให้ช่วยเหลือ
ฝ่ายพญากาหลังจากฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ก็เกิดเมตตาจิตคิดจะช่วยเหลือ เนื่องจากพิจารณาเห็นแล้วว่าพวกกาเดือดร้อน จึงบินตรงเข้าไปในพระราชวัง ขณะนั้นพระเจ้าพรหมทัตประทับนั่งบนบัลลังก์ในท้องพระโรง พญากาเข้าไปในพระราชวัง แล้วก็วิ่งเข้าไปจับอยู่ใต้พระแท่นที่ประทับนั่ง
(มีต่อ 2) |
|
|
|
    |
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
20 ม.ค. 2005, 10:19 am |
  |
เจ้าหน้าที่คนหนึ่งเตรียมจะลุกขึ้นไปลากพญากาออกมา แต่พระเจ้าพรหมทัตตรัสห้ามพร้อมทั้งทรงรับสั่งว่า “กามันเข้าไปหลบอาศัย อย่าจับมัน”
พญากาพักเหนื่อยอยู่ครู่หนึ่ง พลางตั้งจิตแผ่เมตตาไปยังพระเจ้าพรหมทัต จากนั้นจึงมุดออกมาจากใต้พระแท่นที่ประทับ แล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่าพระราชาแล้วควรจะครองราชสมบัติแบบไม่มีอคติ ก่อนที่จะรับสั่งให้ใครทำอะไร ควรที่จะทรงใคร่ครวญให้รอบคอบก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้ เพราะถ้าพระราชาทำผิดพลาดขึ้นมา คนจำนวนมากก็จะพลอยเดือดร้อน เหมือนที่พวกกาญาติของข้าพระองค์กำลังเดือดร้อนอยู่ขณะนี้”
“เจ้าหมายถึงพวกคนของข้าเที่ยวฆ่ากาอยู่เวลานี้ใช่ไหม” พระเจ้าพรหมทัตตรัสถาม
“ใช่แล้ว พระเจ้าข้า” พญากากราบทูล
“ข้าเองสั่งให้เขาทำเพราะต้องการได้มันเหลวของกา มาทำเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ให้พวกช้างหลวง” พระเจ้าพรหมทัตทรงยอมรับ
“พระองค์ทรงรู้จักยาขนานนี้หรือพระเจ้าข้า”
“ไม่หรอก.....ข้าไม่รู้หรอก แต่ปุโรหิตของข้าเขารู้ ข้าสั่งตามที่เขาแนะนำ”
“ขอเดชะ ปุโรหิตของพระองค์อาฆาตพวกกา และคิดหาทางแก้แค้น จึงทำให้เขาต้องกราบทูลเท็จแก่พระองค์ พวกกาไม่มีมันเหลวหรอก พระเจ้าข้า”
พญากาได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้พระเจ้าพรหมทัตทรงทราบ นับตั้งแต่มีกาตัวหนึ่งถ่ายรดศีรษะซึ่งทำให้ปุโรหิตโกรธแค้น จนถึงเรื่องที่พวกกาถูกฆ่านอนตายเกลื่อน พระเจ้าพรหมทัตทรงฟังกาเล่าแล้วสะเทือนพระทัยมาก จึงอุ้มกาขึ้นจับบนแท่นที่ประทับนั่ง แล้วรับสั่งให้เจ้าหน้าที่เอาน้ำมันมาทาปีกกา
จากนั้นจึงรับสั่งให้พระราชทานอาหารชนิดเลิศให้พญากากิน แล้วตรัสสนทนาด้วย พระองค์ได้ตรัสถามถึงเหตุผลที่ฝูงกาไม่มีมันเหลว พญากากราบทูลว่า “กาทั้งหลายเบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง แล้วมีใจหวาดหวั่นอยู่เป็นนิตย์ ดังนั้นจึงไม่มีมันเหลว”
ครั้นกราบทูลถึงเหตุผลที่กาไม่มีมันเหลวแล้ว พญากาก็ได้กราบทูลขอให้ พระเจ้าพรหมทัตทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมและรักษาศีล ๕ พร้อมทั้ง ทูลขอพระราชทานอภัยให้แก่ฝูงกาและสัตว์ทุกประเภท
พระเจ้าพรหมทัตทรงทำตามที่พญากาทูลขอ คือ ทรงปกครองแว่นแคว้นโดยทศพิธราชธรรม พระราชทาอภัยแก่สัตว์ทุกประเภท และพระราชทานอาหารแก่ฝูงกาทุกวันตลอดพระชนมายุ
นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การล่วงเกินผู้มีอำนาจอย่างไม่เหมาะสมนั้น มักก่อให้เกิดภัยตกมาถึงตัวได้เสมอ เหมือนกาล่วงเกินปุโรหิตแล้ว ทำให้ฝูงกาด้วยกันได้รับภัยฉะนั้น
...................... เอวัง ...................... |
|
|
|
    |
 |
suvitjak
บัวบาน

เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2008, 3:52 pm |
  |
อนุโมทนาครับ  |
|
_________________ ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน |
|
  |
 |
|