|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2005, 2:07 pm |
  |
แต่ก่อนผมเคยสงสัยว่า เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ จะใช่ส่วนที่เป็นสมองหรือเส้นประสาทของมนุษย์หรือไม่ ยิ่งเป็นส่วนของความจำ(สัญญา)ด้วยแล้ว ทางวิทยาศาสตร์ได้ชี้ตำแหน่งของสมองว่าส่วนไหน ๆ ทำหน้าที่นี้ มาบัดนี้ผมมีความเข้าใจว่าร่างกายของมนุษย์ที่มีชีวติไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนก็ตามก็เป็นเพียงรูปที่ทำหน้าที่ของมันได้เท่านั้น เหมือนรถยนต์ที่มีน้ำมันเตรียมพร้อมอยู่ ส่วน เวทนา ,สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ก็เปรียบเหมือนคนขับ ความเข้าใจส่วนนี้มาจากการพิจารณาขันธ์ 5 ที่ประกอบขึ้นมาเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตคนหนึ่ง ขอกราบเรียนถามท่านผู้รู้ทั้งหลายว่าความเข้าใจของผมนี้ผิดหรือถูกอย่างไร ขอความสุข ความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่าน |
|
|
|
|
 |
ลุงสุชาติ
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 65
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2005, 4:19 pm |
  |
ลุงว่า เปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์จะชัดเจนดีกว่า กล่าวคือ ตัวเครื่องที่เรียกว่า Hardware เปรียบได้แก่รูป หน่วยเก็บรักษาข้อมูลของเครื่องที่มีอยู่ใน Hard Disk เปรียบได้กับสัญญา อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมขบวนการทำงาน หรือ Central Processing Unit (CPU) เปรียบได้กับสังขาร อุปรณ์ที่รับการติดต่อจากภายนอกได้แก่ แป้นพิมพ์ หรือ Key Board หน่วยอ่านข้อมูลจาก Hard Disk, CD ROM และ แผ่น Disk รวมทั้ง Application Programmes ต่างๆเปรียบได้กับวิญญาณ และการตอบสนองของเครื่องที่ปรากฏบนจอภาพ หรือ พิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์เปรียบได้กับเวทนา |
|
|
|
  |
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2005, 5:08 pm |
  |
อืออ แต่ ถ้าเป็น อมัย
คิดว่า จิต เจตสิก น่ะเปรียบเหมือนคนขับรถค่ะ
ส่วน รูปกาย น่ะ คือรถ
ลอง แยกรูป กะ นามออกซิค่ะ
บางคนเปรียบว่า ร่างกายคนเราเหมือนกะบ้าน
เวลาที่คนคนนั้นตายแล้ว เหมือนกะย้ายบ้าน
เปรียบกะรถ ก็ได้ค่ะ เพราะ ชีวิตประจำวันเราต้อง
ขับเคลื่อน ออกไปผจญกับเหตุต่างๆในชีวิตประจำวัน
ถ้าป่วยก็เหมือนกะรถเสีย ถ้าจิตที่เป็นคนขับไม่ได้เสียไปกับรถก็จะนำพารถไปซ่อมให้กลับมาวิ่งได้ปรกติ
เครื่องต่างๆ ก็เหมือนกับร่างกายคนเรา
มีบอดี้ มีท่อไอเสีย
น๊อตทุกตัว สำคัญทุกชิ้น
เพราะไม่งั้นมีหวัง ขับอยู่ดีๆ รถหลุดออกมาเป็นชิ้นๆแหงๆเลยค่ะ
อย่างว่าหล่ะค่ะ การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจง่าย
ก็คงเปรียบไปได้ หลายเลยหล่ะค่ะ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ
ของแต่ล่ะคน ก็ถูกทั้งนั้นหล่ะค่ะ เนอะ
|
|
|
|
    |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2005, 5:47 pm |
  |
กราบสวัสดีครูบาอาจารย์ทุกท่าน ด้วยความเคารพ
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น
ขันธ์ 5 หรือ รูปธรรม นามธรรม คือร่างกายจิตใจ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ไหลเรื่อยไปตามกฏของธรรมชาติ
รูปขันธ์ ว่าเป็นเนื้อหนัง ร่างกายxxx หรือตัวxxx
เวทนาขันธ์ ว่าเป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ของxxx มีตัวxxx ผู้รู้สึกต่อกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนหลงชอบ หลงชัง
สัญญาขันธ์ ว่าเป็นความรู้สึกตัว รู้สมปฤดีของตน มีตน ผู้รู้จำ รู้หมาย
สังขารขันธ์ ว่าเป็นความคิดนึกปรุงแต่งของตน มีตนเป็นผู้คิดนึก เป็นความคิดความเห็นของตน
วิญญาณขันธ์ ว่าเป็นความสามารถรับรู้โลก ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของตน มีตนเป็นผู้รับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ทั้งปวง
ร่างกายเป็นธาตุที่ไม่อาจรู้อะไรได้เลย เพราะสังขารปรุงแต่งขึ้นด้วย
ธาตุดิน คือ ของแข็ง
ธาตุน้ำ คือ ของเหลว
ธาตุลม คือ ก๊าช
ธาตุไฟ คือ อุณหภูมิ
ซึ่งมาประชุมกัน บรรจุอยู่ใน ธาตุว่าง คือ สุญญากาศ ได้แก่ ช่องปอด ช่องท้อง เป็นต้น ร่างกายสามารถจับต้องได้ มองเห็นได้ จึงเรียกว่า รูปธรรม
ตราบใดที่ร่างกายและจิตใจมิได้พรากจากกัน ชีวิตก็ยังคงดำรงอยู่ เรียกว่า รูปธรรม นามธรรม หากจิตพรากไปกายที่เหลือก็เหมือนดุ้นฟืน จิตจึงเปรียบเสมือนนาย กายเปรียบเสมือนบ่าว ที่กายพูดได้ เคลื่อนไหวได้เพราะจิตเป็นผู้บงการทั้งสิ้น
ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา |
|
|
|
   |
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2005, 6:02 pm |
  |
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 ม.ค. 2005, 8:50 pm |
  |
คนขับคือ สติๆๆๆๆๆๆๆๆอย่าลืม : |
|
|
|
|
 |
456
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ม.ค. 2005, 1:00 am |
  |
|
|
 |
457
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ม.ค. 2005, 1:02 am |
  |
การเปรียบเทียบที่แตกต่างกัน ทำให้รู้ว่า...เห็น..ต่างกัน |
|
|
|
|
 |
458
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ม.ค. 2005, 1:07 am |
  |
การเห็นหรือความเห็นที่บอกต่อ ๆ กันมา อาจผิดเพี้ยนได้ จะหาคำตอบจริงได้ที่ไหน ลองศึกษาพระไตร ฯ ดูสักครั้งแล้วสอบความเข้าใจดู น่าจะดีนะครับ จะได้แน่ใจ ว่าที่จริงแล้วพระพุทธเจ้านั้นแสดงไว้อย่างไร.หรือถ้ามีการอ้างอิงข้อมูลด้วยจะทำให้น่าเชื่อถือ
ขออนุโมทนา ท่านผู้ศึกษาธรรม |
|
|
|
|
 |
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ม.ค. 2005, 10:46 am |
  |
กระทู้ข้อนี้ จะต่อเนื่องไปถึงคำถามที่ว่าคนเมาสุราหรือสิ่งเสพติด ไปสร้างกรรมชนิดหนึ่ง สมมติว่าฆ่าคนตาย กับคนบ้าไปฆ่าคนตาย ในทางกฎหมายแล้วคนเมาไม่อาจปฏิเสธความรับผิดทางกฎหมายได้ ส่วนคนบ้าก็ไม่ต้องรับโทษจากการกระทำนั้น แต่ในทางธรรม แน่นอนว่าคนเมาก็คงต้องรับกกรมที่ทำขี้น ส่วนคนบ้า ผมคิดเอาเองเป็นความเห็นส่วนตัวว่าก็คงต้องรับกรรมในส่วนของเขาแต่จะรับผลในสภาพใดผมก็ยังไม่ทราบ เหตุผลของความคิดนี้ก็คือ รถยนต์ที่วิ่งไปชนคนตายโดยคนขับเมาไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้ แต่รถยนต์ที่วิ่งไปโดยคนขับเป็นบ้า ก็เหมือนขาดเจตนา แต่ก็ยังคงต้องรับผิดฐานกระทำการโดยประมาทเหมือนกัน แต่บางครั้งผมก็คิดว่าเรื่องเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ในการเจริญสติของเราแต่อย่างใด ไม่ควรไปคิดให้เสียเวลา เอาเวลาไปพิจารณา ขันธ์ทั้ง 5 ให้ละเอียดยิ่งขึ้นน่าจะเป็นการดีกว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านและแสดงความเห็นในกระทู้นี้เป็นอย่างยิ่ง ขอความสุข สวัสดี จงมีแด่ทุกท่าน |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ม.ค. 2005, 9:06 pm |
  |
การพิจารณาขันธ์ ๕ คือพิจารณาว่า นี่คือรูป นี่คือการเกิดขึ้นของรูป นี่คือการดับไปของรูป นี่คือเวทนา นี่คือการเกิดขึ้นของเวทนา นี่คือการดับไปของเวทนา นี่คือสัญญา นี่คือการเกิดขึ้นของสัญญา นี่คือการดับไปของสัญญา
นี่คือสังขาร นี่คือการเกิดขึ้นของสังขาร นี่คือการดับไปของสังขาร นี่คือวิญญาณ นี่คือการเกิดขึ้นของวิญญาณ นี่คือการดับไปของวิญญาณ
นี่แลเป็นการพิจารณาขันธ์ ๕ ในสติปัฏฐานสี่ |
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |