Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
มังสวิรัติในทัศนะเสฐียรพงษ์ วรรณปก
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
admin
บัวทอง
เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
ตอบเมื่อ: 29 มี.ค.2007, 5:26 pm
มังสวิรัติ
ในทัศนะเสฐียรพงษ์ วรรณปก
ระยะนี้ผมมักถูกคนถามอยู่สองเรื่องคือ เมืองไทยมีพระอรหันต์หรือเปล่า ที่มีคนพูดว่าหลวงพ่อองค์นั้นองค์นี้เป็นอรหันต์เป็นความจริงเพียงใด นี่เรื่องหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่งคือ พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่ ที่พูดกันว่าคนกินเนื้อสัตว์เป็นคนไร้เมตตาธรรมเท่ากับสนับสนุนให้มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คนที่มีเมตตาแท้จริงต้องไม่กินเนื้อสัตว์ หรือที่เรียกกันโก้เก๋ว่า "มังสวิรัติ" จริงหรือไม่
ทั้งสองเรื่องนี้ มันมาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันผมค่อนข้างบ่อย บ่อยซะจนต้องเขียนเรื่อง "ขบวนการอรหันต์ดิบ" ลงในหนังสือรายเดือนฉบับหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ยังเหลือแต่เรื่องมังสวิรัติ ซึ่งก็ถึงเวลาอันเหมาะจะเขียนถึงพอดี
พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือเปล่า ถ้าพุทธศาสนิก (ในทะเบียนสำมะโนครัว) จะสนใจอ่านพุทธประวัติ อ่านหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาเพียงเล่มสองเล่ม (ไม่ต้องถึงพระไตรปิฎก) ก็จะรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องตั้งคำถามเช่นนี้
พระพุทธเจ้าทรงเป็น "บรรพชิต" ตามรูปศัพท์แปลว่า "เว้นโดยสิ้นเชิง" หมายถึงเว้นจากพฤติกรรมทุกอย่างที่เคยทำสมัยยังครองเรือน หันมาถือเพศผู้ไม่มีเรือน (อนาคาริยะ) ก็ได้แปลว่า "เดินไปข้างหน้า" หมายถึงใช้ชีวิตเร่ร่อนไม่อยู่ที่ไหนเป็นการถาวร หรือหมายถึงปฏิบัติมุ่งไปสู่ความดับทุกข์โดยสิ้นเชิงก็ได้ พระองค์ทรงดำรงชีวิตด้วยการขออาหารจากชาวบ้าน (ภิกษุ) บำเพ็ญตนเป็นคนอยู่ง่ายกินง่าย (สุภระ) เขาให้อะไรก็กินสิ่งนั้นเพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่ทำประโยชน์แก่สังคม (กายัสสะ ฐิติยา ยาปนายะ)
เมื่อรู้วิถีการดำรงชีวิตของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกเช่นนี้แล้ว ก็ตอบได้ทันทีว่า พระพุทธเจ้าเสวยทั้งอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ พูดง่ายๆ ก็ว่าทรงเป็นทั้งมังสวิรัติและไม่มังสวิรัติ ขึ้นอยู่กับผู้ถวาย ถ้าคนถวายเขากินเนื้อสัตว์เขาคงเอาเนื้อมาถวาย ถ้าเขากินเจเขาก็คงเอาอาหารเจมาถวาย
เขาถวายอะไร พระองค์ก็รับมาเสวยทั้งนั้น ขณะรับก็มิได้จำแนกว่า เนื้อสัตว์หรือไม่เนื้อสัตว์ เจหรือไม่เจ ทรงคิดแต่เพียงว่า "รับอาหาร"
ผมยังไม่อ่านเจอที่ไหนว่า พระองค์จะปฏิเสธอาหารที่เขานำมาถวาย ด้วยเหตุผลว่าปรุงด้วยเนื้อสัตว์
จะมีก็แต่พระภิกษุบางกลุ่มในปัจจุบันนี้แหละ ปฏิเสธชาวบ้านที่นำแกงเนื้อมาใส่บาตรด้วยเสียงดังฟังชัดว่า "พวกอาตมาไม่ฉันเนื้อสัตว์ อยากทำบุญด้วยเนื้อสัตว์ ไปถวายองค์อื่น" ว่าแล้วก็เดินเชิดหน้าหนีไปด้วยมาดสำรวม
ตั้งแต่เกิดมาก็เพิ่งประสบเห็นเหตุการณ์เช่นนี้เป็นครั้งแรก โยมคนนั้นจึงถือขันข้าวค้างด้วยความตกใจเป็นธรรมดา
ต้นเหตุของมังสวิรัติก็คือพระเทวทัต พระเทวทัตเป็นใครเชื่อว่าชาวพุทธ (ในทะเบียนบ้าน) ก็คงรู้จัก เพราะท่านก็ "ดัง" ไม่แพ้หลวงปู่ หลวงพ่อขลังทั้งหลายในปัจจุบันนี้ หลังจากบวชแล้วไม่นาน พระเทวทัตก็คิดการใหญ่ หวังจักปกครองพระสงฆ์แทนพระพุทธเจ้า
เรียกอย่างสมัยนี้ก็ว่า คิดทำปฏิวัติ รัฐประหาร อะไรทำนองนั้น
เทวทัตมีสหายคู่ในสี่รูปคือ โกกาลิกะ, กตโมรกติสสกะ, ขัณฑเทวีบุตร และสมุทททัตตะ วันดีคืนดีเข้าไปยื่น "โนติส" หรือเงื่อนไข 5 ข้อ ต่อพระพุทธเจ้า ขณะประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์
เงื่อนไข 5 ข้อ คือ
(1) พระต้องอยู่ป่าเป็นวัตร (หมายถึงอยู่ประจำ) ตลอดชีวิต รูปใดอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน มีความผิด
(2) พระต้องเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดรับกิจนิมนต์ มีความผิด
(3) พระต้องใช้ผ้าบังสกุลเป็นวัตร (หมายถึงหาเศษผ้ามาทำจีวรเอง) ตลอดชีวิต รูปใดใช้ผ้าที่ทายกถวาย มีความผิด
(4) พระต้องอยู่ตามโคนต้นไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยอยู่ในที่มุงที่บัง มีความผิด
(5) พระต้องไม่ฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉัน มีความผิด
ข้อเสนอ 5 ประการนี้ส่อความจริงสองประการคือ ประการที่หนึ่ง พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์แน่นอน หาไม่เทวทัตจะยกเอามาเป็นเงื่อนไขเพื่อให้พระองค์ห้ามพระฉันทำไม ถ้าพระองค์และพระสาวกไม่ฉันอยู่ก่อนแล้ว อีกประการหนึ่ง เทวทัตผู้ยื่นเงื่อนไขเองก็คงปฏิบัติตามไม่ได้ แต่ที่เสนอขึ้นมาเป็นเพียง "แผน" หาคะแนนนิยม หาสมัครพรรคพวกเท่านั้นเอง (เพราะขณะนั้นมีสมุนคู่ใจเพียงสี่รูปเท่านั้น) และรู้อยู่แก่ใจแล้วว่า พระพุทธเจ้าทรงนิยม "การปฏิบัติสายกลาง" อะไรที่มัน "ตึงเกินไป" ย่อมขัดต่อพุทธประสงค์
การณ์ก็เป็นไปตามที่เทวทัตคาด พระพุทธเจ้าตรัสปฏิเสธเงื่อนไขของพระเทวทัตด้วยเหตุผลว่า "อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจงอยู่ในบ้าน รูปใดปรารถนาจงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนาจงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาตโคนไม้เป็นเสนาสนะ 8 เดือน เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยสามส่วน คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ (สงสัยว่าเขาฆ่าเจาะจงตน)" (เพราะไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 384 หน้า 185)
เทวทัตได้ทีจึงขี่แพะไล่ทันที ประกาศก้องว่า เห็นไหมท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พระสันโดษมักน้อย ไม่สะสมมีความเพียร ปฏิบัติเคร่งครัดแต่ปาก ครั้นเราเสนอข้อปฏิบัติที่เคร่งครัดกลับไม่อนุญาตให้พระปฏิบัติ แสดงว่าไม่เคร่งจริง ใครชอบปฏิปทาที่เคร่งครัดให้ตามเรามา
กล่าวเสร็จก็ "วอล์กเอาต์" จากที่ประชุม
พระบวชใหม่ประมาณ 500 รูป ที่ยังไม่รู้พระธรรมวินัยดีเห็นเทวทัตเธอพูดเข้าท่า จึงตามไปสมัครเป็นลูกน้องด้วย นับว่าแผนการยึดอำนาจของพระเทวทัตได้บรรลุผลไปขั้นหนึ่ง
มีต่อ >>>>>
_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
admin
บัวทอง
เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
ตอบเมื่อ: 29 มี.ค.2007, 5:30 pm
เรื่องเกี่ยวกับเสวยหรือไม่เสวยเนื้อสัตว์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ชัดเจน ในสูตรอีกสูตรหนึ่งชื่อ ชีวกสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ 13 ข้อ 56-61 หน้า 47-51)
มีข้อความโดยย่อว่า หมอชีวกโกมารภัจ ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ได้ยินคนเขาพูดว่า คนทั้งหลายฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระองค์ทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่ทำเฉพาะตนมีความจริงเพียงใด คนที่พูดนั้นพูดตรงกับความจริง หรือว่ากล่าวตู่ (กล่าวหา) พระองค์ด้วยเรื่องไม่จริง
พระองค์ตรัสว่า หากเขาพูดเช่นนั้น แสดงว่าเขาพูดไม่จริง กล่าวหาด้วยเรื่องไม่มีมูล และตรัสต่อไปว่า
เนื้อที่ไม่ควรบริโภคคือ เนื้อที่ตนได้เห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ส่วนเนื้อที่ควรบริโภค คือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่รังเกียจ หมายความว่า ถ้าพระภิกษุได้เห็นกับตา หรือได้ยินกับหู ว่าอาหารที่เขานำมาถวาย เขาฆ่าแกงให้ท่านโดยเฉพาะหรือสงสัยว่าเขาจะฆ่าแกงให้ท่านโดยเฉพาะ ก็ไม่ควรฉัน ถ้าไม่อยู่ในเงื่อนไขนี้ก็ฉันได้
ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงอธิบายถึงปฏิปทาของพระองค์และพระสาวกในเรื่องนี้ว่า ภิกษุจะไปอยู่ที่ใด ไม่ว่าบ้านหรือนิคม ย่อมมีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นปกติอยู่แล้ว แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์หาที่สุดหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนใคร เมื่อชาวบ้านเขานิมนต์ไปรับ ภัต (อาหาร) ก็รับนิมนต์ วันรุ่งขึ้นก็ไปรับบิณฑบาตโดยมิได้ขอร้องให้เขาถวาย แผ่เมตตาไปยังผู้ใส่บาตร ไม่ติดในรสอาหาร ฉันอาหารด้วยอาการสำรวม ปลงและพิจารณาก่อนฉัน ฉันพอประมาณพอยังชีพอยู่เพื่อทำประโยชน์แก่สังคม
สุดท้ายทรงสรุปว่า ใครก็ตามที่ฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกของตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก (หมายถึงบาปมาก) ด้วยเหตุ 5 สถาน คือ
(1) สั่งให้นำสัตว์ตัวนี้มา (เท่ากับชักนำให้คนอื่นร่วมทำบาปด้วย) นี่บาปสถานหนึ่ง
(2) สัตว์ที่ถูกนำมาฆ่า ถูกลากถูลู่ถูกังมา ได้รับความเจ็บปวดเป็นอันมาก นี่บาปสถานสอง
(3) ออกคำสั่งให้เขาฆ่า (ตัวเองก็บาป คนฆ่าก็บาป) นี่บาปสถานสาม
(4) สัตว์ที่กำลังถูกฆ่าได้รับทุกขเวทนาสาหัสจนสิ้นชีพ นี่บาปสถานสี่
(5) ทำให้คนอื่นเขาหาช่องว่าพระตถาคตและสาวกด้วยเรื่องเนื้อสัตว์ที่ไม่ควร นี่บาปสถานห้า
(จริงอยู่ ถ้าพระไม่รู้ไม่เห็นไม่สงสัย ว่าเขาจะฆ่าเจาะจงตนไม่ต้องอาบัติ แต่คนภายนอกอาจหาว่าพระรู้แต่แกล้งไม่รู้ หรือปากว่าตาขยิบก็ได้)
ผมได้กล่าวไว้แล้วว่า พระพุทธเจ้าเสวยทั้งเนื้อสัตว์และมิใช่เนื้อสัตว์ คือบางครั้งเสวยอาหารที่ปรุงด้วยปลาและเนื้อ บางครั้งเสวยอาหารเจ ขึ้นอยู่กับบิณฑบาตได้อาหารอย่างใดมา เขาถวายอะไรก็เสวยอย่างนั้น
พูดให้ถูกก็ว่า พระองค์เสวยอาหารเพียงเพื่อยังชีพให้ยืนยาวต่อไป เพื่อมีกำลังบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก มิได้มานั่งจำแนกว่านี่เนื้อสัตว์ นี่มิใช่เนื้อสัตว์
ไม่ว่าพระองค์จะเสวยอะไร ทรงเสวยด้วยอาการไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่คือประเด็นที่ควรใส่ใจ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กินอะไร แต่อยู่ที่กินด้วยอาการอย่างไร
ที่น่าสังเกตก็คือ บุคคลที่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ขณะเดียวกันมีการจำแนกหรือให้ความหมายแก่อาหารที่กิน และคนกินอาหารไม่เหมือนกัน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ดี ผักหญ้าเท่านั้นดี คนกินเนื้อสัตว์เป็นคนเลว คนไม่มีเมตตากรุณา คนไม่กินเนื้อสัตว์อย่างฉันเท่านั้นคือคนดี
นักมังสวิรัติพวกนี้กินอาหารด้วยอุปาทาน คือยึดติดอยู่สิ่งที่กินและไม่กิน คนพวกนี้ไม่กินเนื้อสัตว์จริง แต่กิน "อุปาทาน" เข้าไปเต็มกระเพาะ
นักมังสวิรัติบางพวกเอาแป้งมาทำเป็นอาหารทุกชนิด เช่น ลูกชิ้น เนื้อ ปลา หมู แม้กระทั่งกระเพาะปลา ไส้หมู แล้วนำมาต้มแกงใส่เครื่องปรุงตามกรรมวิธีของเขา ดูแล้วทั้งสีและกลิ่นไม่มีอะไรผิดเพี้ยนไปจากของจริง
แถมรสชาติยังเอร็ดอร่อยยิ่งกว่าของจริงเสียอีก
นักมังสวิรัติพวกนี้ นอกจากจะพอกอุปาทานให้เหนียวแน่นจนยากจะแกะออกได้แล้ว ยังหลอกตัวเองและหลอกคนอื่นอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย
พวกนี้กำลังกินแป้งก็จริง แต่ขณะเคี้ยวอยู่ก็นึกวาดภาพว่าตนกำลังกินลูกชิ้นปลา ไส้หมู กระเพาะปลาอย่างเอร็ดอร่อยดูแล้วก็บ้าดีพิลึก
ใครเป็นนักมังสวิรัติประเภทนี้ ผมก็อยากจะฝากคำถามให้คิดว่า "การกินเนื้อสัตว์ แต่คิดว่าตนกำลังกินแป้ง กับกินแป้ง แต่คิดว่ากำลังกินเนื้อสัตว์ อย่างไหนจะให้ผลในทางปฏิบัติได้ดีกว่ากัน"
พูดถึงเรื่องกินเนื้อสัตว์ไม่กินเนื้อสัตว์นี้นึกถึงหลวงพ่อเทียนขึ้นมาได้ หลวงพ่อเทียนท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่มีลูกศิษย์ลูกหามากรูปหนึ่งในปัจจุบัน วันหนึ่งมีสาวกของนักมังสวิรัติไปต่อว่าท่ามกลางประชาชนที่กำลังนั่งฟังเทศน์อยู่ว่าหลวงพ่อคุยว่าเป็นผู้ปฏิบัติ แต่ยังกินเนื้อสัตว์อยู่ อย่างนี้ไม่มีทางบรรลุหรอก แค่เมตตาขั้นพื้นฐานยังทำไม่ได้
หลวงพ่อเทียนท่านตอบว่า "โยมเอ๋ย การจะบรรลุหรือไม่ไม่ขึ้นอยู่กับกินเนื้อสัตว์หรือไม่กินดอก คนลงจะไม่ถึงคราวบรรลุแล้วอย่าว่าแต่ไม่กินเนื้อสัตว์เลย ไม่กินข้าวมันก็ยังไม่บรรลุ ดูอย่างพระพุทธเจ้าสิ ก่อนตรัสรู้ อดข้าวแทบสิ้นพระชนม์ยังไม่บรรลุ ต้องหันมาเสวยข้าวให้มีเรี่ยวมีแรงจึงบรรลุ"
มังสวิรัติกถา ก็จบลงด้วยประการฉะนี้เอวัง
(คัดจาก พุทธศาสนา : ทัศนะและวิจารณ์ หน้า 118-121)
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 29
คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์ โดย ไต้ ตามทาง
รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ การกินเจ-มังสวิรัติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=39721
_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th