Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ช้างเพื่อนแก้ว (ธรรมสภา) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2005, 5:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ช้างเพื่อนแก้ว.jpg


ช้างเพื่อนแก้ว

นิทานธรรม ฉบับพิเศษ
จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา



ที่เมืองพาราณสี แคว้นกาสี มีหมู่บ้านช่างไม้อยู่หมู่บ้านหนึ่ง มีครอบครัวช่างไม้อยู่ ๕๐๐ ครอบครัว ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้าพรหมทัตและมีพระนามว่า “อลีนจิต”

ตามปรกติ ช่างไม้ในหมู่บ้านนั้นจะขึ้นเรือทวนไปทางต้นน้ำเพื่อหาไม้มาทำเป็นเครื่องเรือนต่างๆ เมื่อได้ตามความต้องการแล้วก็จะพากันล่องเรือลงมาตามกระแสน้ำแล้วนำไม้ไปขายในตัวเมือง นำรายได้จากการขายไม้นั้นมาเลี้ยงครอบครัว

คราวหนึ่ง ขณะที่ช่างไม้เหล่านั้นกำลังตั้งค่ายพักอยู่ในป่าและกำลังถากแต่งไม้อยู่นั้นก็เห็นช้างป่าเชือกหนึ่งเดินสามขาแล้วมาล้มตัวลงนอนใกล้ๆ พวกตน

หัวหน้าช่างไม้เห็นเท้าข้างหนึ่งบวมเป่งช้ำเลือดช้ำหนอง จึงเข้าไปดูใกล้ๆ อีกก็เห็นมีตอไม้ตำคาเท้าอยู่ จากนั้นจึงบากตอไม้เบาๆ ให้เป็นหยักแล้วเอาเชือกผูกดึงตอไม้ออกทันทีที่ตอไม้หลุดจากเท้า น้ำหนองก็ไหลออกมามาก ช่างไม้สั่งให้ลูกน้องช่วยกันเอาน้ำอุ่นมาทำความสะอาดแผลแล้วใส่ยาให้

นับตั้งแต่นั้นมา ช้างแม้จะหายบาดเจ็บแล้วก็ไม่ยอมไปแต่ยังคงอยู่กับพวกช่างไม้ในที่นั้นและช่วยเหลืองานต่างๆ อยู่อย่างใกล้ชิด

ช้างมีลูกอยู่ ๑ เชือก เป็นช้างเผือกชาติอาชาไนย ฉลาดและรู้ภาษามนุษย์

วันหนึ่ง ช้างพาช้างหนุ่มเข้าไปหาช่างไม้แล้วพูดว่า

“ข้าแต่นาย ช้างหนุ่มตัวนี้เป็นลูกของข้าพเจ้าเอง ท่านทั้งหลายให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้า ก็จะขอยกลูกชายนี้ให้แก่ท่านดังนั้นตั้งแต่นี้ไปลูกชายของข้าพเจ้า ตัวนี้จักช่วยท่านทั้งหลายทำงาน”

จากนั้น ก็อำลาพวกช่างไม้และช้างหนุ่มเข้าป่าไป

ช้างหนุ่มเป็นช้างชาติอาชาไนย คือ ฉลาด กล้าหาญ อดทนและรู้ภาษามนุษย์ เวลาจะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็จะถ่ายบนบกริมฝั่งน้ำเป็นประจำ แต่จะไม่ยอมถ่ายลงน้ำ

อยู่มาวันหนึ่ง เกิดฝนตกหนักน้ำหลากพัดพาเอาอุจจาระแห้งของช้างลงลอยอยู่ในน้ำและลอยลงมาติดอยู่บริเวณท่าน้ำในเมืองพาราณสี ที่ท่าน้ำนั้นพวกควาญช้างของพระเจ้าพรหมทัตจะต้อนช้างหลวงลงอาบน้ำเป็นประจำ

ขณะจะลงอาบน้ำนั่นเอง ช้างหลวงเหล่านั้นก็ได้กลิ่นอุจจาระของช้างอาชาไนยไม่มีช้างตัวใดกล้าลงไปอาบน้ำเลยพวกครูฝึกช้างได้รับแจ้งเหตุ จากนั้นนายควาญช้างพากันไปตรวจดูสถานที่บริเวณนั้นจนพบอุจจาระของช้างอาชาไนย แล้วนำมาขยำในตุ่มนำมาราดลงไปตามตัวของช้างหลวงเหล่านั้น ทำให้เนื้อตัวหอมและเกิดความกล้าลงอาบน้ำในแม่น้ำดุจเดิม

ครั้นกลับมาถึงพระราชวังแล้ว พวกครูฝึกช้างได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตพร้อมทั้งกราบทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น

“ขอเดชะ ช้างอาชาไนยเชือกนั้นน่าจะเป็นช้างมงคลพระองค์ควรให้หาตัวมาเป็นช้างหลวง” พวกครูฝึกช้างกราบทูล

พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นชอบด้วยจึงทรงรับสั่งให้ต่อเรือขนานแล้วพายทวนกระแสน้ำขึ้นไปจนถึงค่ายพักของพวกช่างไม้แล้วรับสั่งให้ตีกลองสนั่นป่า

การตีกลองสนั่นป่าเช่นนั้นเป็นการบอกให้รู้ว่าพระราชาเสด็จมา จึงพากันไปทางเสียงกลองเพื่อถวายการต้อนรับ

“ขอเดชะ หากพระองค์ทรงต้องการไม้ ทำไมไม่ใช้เจ้าหน้าที่ให้นำไปถวาย ไฉนจะต้องเสด็จมาเอง พระเจ้าข้า” หัวหน้าช่างไม้กราบทูลถามตามความเข้าใจของตนเอง

“ท่านเข้าใจผิด” พระเจ้าพรหมทัตทรงพระสรวล “เราไม่ได้มาหาไม้ แต่มาหาช้าง”

“ช้างเชือกไหนพระเจ้าข้า” หัวหน้าช่างไม้สงสัย

“ช้างเชือกนี่แหละ” พระเจ้าพรหมทัตทรงชี้ไปที่ช้างหนุ่ม

“ถ้าอย่างนั้น ขอได้โปรดให้นายควาญช้างคล้องเอาเถิดพระเจ้าข้า” หัวหน้าช่างไม้กราบทูลอนุญาต

พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงรับสั่งให้ นายควาญช้างเข้าไปคล้อง ช้างหนุ่มไม่ขัดขืนแต่ก็ไม่ยอมเดิน แม้นายควาญช้างจะให้สัญญาณเตือนให้เดินสักเท่าไรก็ตาม



มีต่อ >>>>>
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 05 ม.ค. 2005, 5:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“พวกท่านทราบไหม ช้างทำอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร” พระเจ้าพรหมทัตตรัสถาม

“ขอเดชะ ช้างนี้เป็นช้างชาติอาชาไนยมีความกตัญญูเป็นเลิศ ที่เขาทำอย่างนี้ก็เพื่อให้พระองค์จ่ายค่าเลี้ยงดูตัวเขาให้แก่ข้าพระองค์ซึ่งเลี้ยงดูเขามา”

“อย่างนั้นหรือ” พระเจ้าพรหมทัตทรงพระสรวล จากนั้นทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่นำเงินไปวางไว้ที่เท้าทั้ง ๔ ข้าง ที่งวง และที่ใกล้หาง ที่ละ ๑๐๐,๐๐๐ (หนึ่งแสน) กหาปณะ แต่กระนั้นช้างก็ยังไม่ยอมเดิน

“ช้างยังต้องการอะไรอีกหรือ” พระเจ้าพรหมทัตตรัสถามอย่างสงสัย

“ขอเดชะ ช้างคุ้นเคยกับคนเหล่านั้นมาก เขาอยากจะให้คนเหล่านั้นได้ประโยชน์อะไรจากการจากไปของเขาบ้าง”

“ได้ซิ” แล้วมอบสิ่งของแก่คนเหล่านั้นตามความเหมาะสม

เมื่อมาอยู่กับพระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าแผ่นดินต่างแคว้นทั่วชมพูทวีปได้พากันมาสวามิภักดิ์ พระเจ้าพรหมทัตยังได้สิ่งมงคลที่พระองค์มุ่งหวังมานานอีกสิ่งหนึ่ง คือพระโอรส นั่นคือพระอัครมเหสีของพระองค์ตั้งครรภ์ แต่ขณะที่ใกล้จะถึงวันคลอดนั้น พระเจ้าพรหมทัตก็ด่วนมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน

ความนั้นล่วงรู้ไปถึงพระเจ้าโกศลแห่งแคว้นโกศลซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดติดกัน พระเจ้าโกศลทรงหมายจะยึดแคว้นกาสีเป็นเมืองขึ้นจึงทรงยกทัพมาล้อมเมืองพาราณสีไว้

พวกชาวเมืองต่างสมัครใจอาสาออกมาสู้ศึกสงครามช่วยกันปิดประตูเมือง แล้วยื่นเสนอข้อต่อรองแก่พระเจ้าโกศล

“ขณะนี้พระอัครมเหสีทรงพระครรภ์แก่ใกล้คลอดแล้ว จึงอยากให้รอเวลาก่อนสักเจ็ดวัน หากพระนางประสูติพระธิดาพวกเรายินดียอมสวามิภักดิ์ แต่ถ้าพระนางประสูติพระโอรสพวกเราจะขอรบเพื่อรักษาราชบัลลังก์ไว้”

พระเจ้าโกศลทรงรับเงื่อนไข และในวันที่เจ็ด พระอัครมเหสีก็ประสูติพระโอรส ทรงพระนามว่า “เจ้าชายอลีนจิต”

ทุกอย่างเป็นไปตามข้อตกลง พระเจ้าโกศลรับสั่งให้กองทัพของพระองค์บุกเข้าพังประตูเมืองให้ได้ พวกอำมาตย์เห็นกำลังพลล้มตายมาก จึงชวนกันไปปรึกษากับพระอัครมเหสี

“ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้ารบกันไปอย่างนี้เราแพ้แน่ๆ เพราะกำลังพลเราขาดจอมทัพ แต่เรายังมีช้างมงคลซึ่งทรงตั้งไว้ในฐานะเป็นพระสหาย จึงเท่ากับว่าเรายังมีจอมทัพอยู่ด้วย เสียแต่ว่าตอนนี้ ช้างมงคลยังไม่รู้ความจริง เราควรจะแจ้งให้ทราบ ”

พระอัครมเหสีทรงเห็นด้วย จึงทรงรับสั่งให้ทูลเชิญพระโอรสไปยังโรงช้างแล้วให้วางใกล้แทบเท้าช้าง แล้วตรัสบอกด้วยพระองค์เองว่า

“พระเจ้าพรหมทัตสหายของท่านสวรรคตหลายวันแล้วพวกเรากลัวว่าท่านจะเสียใจจึงไม่ได้บอกให้ทราบ เด็กที่นอนอยู่แทบเท้าท่านคือโอรสของสหายท่าน บัดนี้พระเจ้าโกศลยกทัพมาแย่งราชบัลลังก์ ขอให้ท่านช่วยคุ้มครองเขาด้วยเถิด”

ช้างได้ฟังดังนั้นแล้วรู้สึกเสียใจมองดูที่เจ้าชายน้อยแล้วค่อยๆ เอางวงโอบรัดชูขึ้นวางไว้บนกระพอง ต่อจากนั้นจึงค่อยๆ วางลงบนพระหัตถ์ของพระอัครเมเหสี

แล้วเยื้องกรายออกจากโรงช้างไปอย่างองอาจ พร้อมทั้งอำมาตย์และไพร่พลสวมหนังเกราะแต่งตัวเต็มยศเปิดประตูเมืองออกไปเผชิญหน้าข้าศึกพร้อมกับช้าง

ครั้นออกมาอยู่นอกเมืองแล้ว ช้างชูงวงร้องแปร๋แปร๋นทำให้ข้าศึกตกใจ แล้วทะยานเข้าใส่ทำลายค่ายพักและรี้พลของศัตรูจนหนีกระเจิดกระเจิง

นับตั้งแต่นั้นมา ช้างรักษาราชสมบัติไว้ให้จนกระทั่งเจ้าชาย อลีนจิตทรงเจริญพระชนมายุได้ ๗ พรรษา พวกชาวเมืองจึงถวายการอภิเษกให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า “พระเจ้าอลีนจิต” โดยมีช้างมงคลเป็นช้างคู่บารมี

นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ความสำเร็จของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง กัลยาณมิตรเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง เหมือนพระเจ้าพรหมทัตได้ช้างมงคลเป็นกัลยาณมิตรแล้วได้ครองราชสมบัติทั่วชมพูทวีปฉะนั้น



-------จบ-------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
รณชัย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ม.ค. 2005, 1:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุๆๆ ขออนุโมทนาด้วยนะครับ
 
ช้างเพื่อนแก้ว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.พ.2007, 9:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2008, 3:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขออนุโมทนาครับ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง