Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่องของตัณหา (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2007, 5:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เรื่องของตัณหา
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


ชาวพุทธศึกษาพระพุทธศาสนา ส่วนมากมักได้ยินแต่กิเลสสามตระกูล อันเรียกว่า อกุศลมูล (รากเหง้าแห่งอกุศลหรือความชั่ว) คือ โลภะ โทสะ โมหะ แต่น้อยรายจะได้ยินอีกพรรค เอ๊ยตระกูลหนึ่งที่ร้ายกาจพอกัน ที่ไม่ค่อยได้ยิน เพราะพระท่านไม่นิยมสอนหรืออย่างไร กิเลสทั้งสามนี้คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ พระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกว่า “ปปัญจธรรม” (สิ่งที่ทำให้เนิ่นช้า หรือสิ่งที่ทำให้ถ่วงเวลา)

เวลาไปไหน ? ก็เวลาก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งการฝึกฝนจิตนั้นแหละ เมื่อมีเจ้าตัณหา มานะ ทิฐิ นี้อยู่ ก็จะทำให้ล่าช้าในการก้าวเข้าสู่เป้าหมายที่ต้องการ

ในที่นี้พูดถึงเฉพาะตัณหาอย่างเดียว ก็คงเต็มสัมปทานแล้วครับ

ตัณหา แปลว่าความอยาก แปลแค่นี้อาจทำให้เข้าใจผิดใหญ่โต เพราะความอยากของมนุษย์มิได้เป็นตัณหาไปทั้งหมด ความอยากที่ควรพัฒนาให้เกิดในตัวเราก็มี ความอยากที่ควรลดละก็มี ในกรณีนี้หมายเอาเฉพาะความอยากที่ควรละเว้น ภาษาธรรมท่านจะไม่ใช้ปนกัน ถ้าอยากในทางดี อยากสร้างสรรค์ความดีงาม ท่านจะเรียกว่า ฉันทะ (คำเต็มคือ ธรรมฉันทะ)

อยากอย่างนี้มีมากเท่าไรยิ่งดี อยากได้ใคร่ดีด้วยความเห็นแก่ตัวจัด อยากจะกอบโกยเอามาเพื่อตัวเองและพวกพ้องครอบครัว โดยวิธีใดก็ได้ไม่ว่าจะชอบธรรมหรือไม่ก็ตาม ความอยากอย่างนี้ท่านจะเรียกว่า ตัณหา เป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งควรขจัด

ในพระพุทธศาสนาที่สอนว่า ตัณหาความอยาก (ดูเหมือนท่านใช้คำว่า “ทะยานอยาก” เสียด้วย ทำให้เห็นภาพชัดเจน) เป็นสาเหตุแห่งทุกข์นั้น ท่านหมายเอาสิ่งนี้แหละ

แต่ถ้าเป็นความอยากในทางดี ทางสร้างสรรค์ พระท่านไม่ใช้คำว่า ตัณหา ท่านใช้ว่าฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ เมื่อท่านใช้คำต่างกันเช่นนี้ ก็ไม่เกิดปัญหา ที่มันเป็นปัญหาก็เพราะไทยเรารวมเป็นคำเดียวกันหมด อยากในแง่ดีก็เป็นตัณหา อยากในแง่ไม่ดีก็เป็นตัณหา ที่เป็นปัญหามากๆ ก็คือครูอาจารย์ที่สอนวิชาพระพุทธศาสนา เวลาอธิบายอริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่า ทุกข์คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ หรือปัญหาของชีวิตทุกรูปแบบ

สมุทัยคือสาเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ตัณหา 3 ประการ....ตัณหานี้ควรละ เพราะเป็นสิ่งไม่ดี

นักเรียนก็จะถามว่า ครูครับ อยากทำบุญใส่บาตร เป็นตัณหาหรือเปล่า

“เป็นสิ” ครูตอบด้วยความมั่นใจ

“อยากเรียนหนังสือ อยากสอบให้ได้เกรดเอเป็นตัณหาหรือเปล่า” ถามอีก

“เป็นสิจ๊ะ” ตอนนี้ชักไม่แน่ใจแล้วสิ เสียงเบาลง

“ถ้าเช่นนั้น ผมก็ไม่ต้องเรียนสิ” นักเรียนแย็บ

“ต้องเรียน ไม่เรียนไม่ได้”

“ก็ครูว่าตัณหามันเป็นสิ่งไม่ดีนี่ครับ”

“เออน่า ครูว่าเรียนก็ต้องเรียน อย่าถามมาก” ตัดบทไปเลย

น่าสงสารนะครับ นี่แหละการไม่รู้จักแยก

พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในที่แห่งหนึ่งว่า ความอยากของคนเปรียบเสมือนฝั่งทะเล ฝั่งทะเลไม่เคยถูกน้ำท่วม น้ำมันท่วมไปถึงไหน ฝั่งก็ไปถึงนั่น เหมือนกับตัณหาของคน ไม่เคยพอ ไม่เคยอิ่ม มีร้อยบาทก็อยากได้พัน มีพันก็อยากได้หมื่นแสนล้าน ร้อยล้าน พันล้านเพิ่มไปเรื่อยๆ จิตใจคนโลภนี่มันเหมือนหลุมที่ถมไม่รู้จักเต็ม

พระพุทธเจ้าตรัสเตือนใจไว้ว่า “แม้ฝนจะตกลงมาเป็นกหาปณะ กองท่วมภูเขาเลากา ก็หายังใจคนโลภให้เต็มไม่” อะไรประมาณนี้ ผมจำไม่แม่น จำแม่นแต่นิทานเรื่อง พระเจ้ามันธาตุ คนอยากไม่รู้จบ ขอนำมาเล่าให้ฟัง (ใส่ไข่นิดหน่อยพอมันๆ)

พระเจ้ามันธาตุ แกอยากได้อยากโน่นอยากได้นี่ เปรอะไปหมด ไม่รู้อิ่ม ครอบครองโลกแทบทั้งโลกก็ยังไม่พอ กระหายอยากได้มาครอบครองให้หมด ตำนานว่า ตะแกมี “จักรแก้ว” ทำนองเครื่องบินส่วนตัวประเภทนั้น พาเหาะไปไหนต่อไหนได้

วันหนึ่งก็สั่งจักรแก้วพาเหาะไปสวรรค์ เพื่อเยี่ยมชมว่าบนสรวงสวรรค์มันน่าอภิรมย์เพียงใด

เครื่องบินส่วนตัวก็พามันธาตุเหาะลิ่วๆ ขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราช ท้าวโลกบาลทั้งสี่เห็นก็พากันมาต้อนรับ เชื้อเชิญให้มันธาตุแกพักอยู่ชั่วคราว บำรุงบำเรอด้วยทิพยสมบัติมากมาย

มันธาตุชอบอกชอบใจใหญ่ ที่ได้เสวยสุขบนสรวงสวรรค์ พออยู่ไปๆ ชักเบื่อ สมบัติบนสวรรค์ชั้นจาตุมฯ มันก็กระจอกมาก จึงอำลาท้าวจาตุมมหาราชทั้งสี่ ขึ้นเครื่องบินส่วนตัวเหาะขึ้นสูงไปเรื่อยๆ ถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เห็นสวรรค์ชั้นนี้สวยงาม น่ารื่นรมย์กว่าชั้นจาตุมฯ หลายร้อยหลายพันเท่า ก็เกิดชอบใจ ได้พบกับท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ คุยกันถูกอัธยาศัยใจคอ

พระอินทร์จึงอัญเชิญให้อยู่ที่ดาวดึงส์นานๆ โดยแบ่งสมบัติให้ครอบครองครึ่งหนึ่ง ปรนเปรอด้วยทิพยสุขบนสรวงสวรรค์อย่างเต็มที่ เมื่ออยู่บนสรวงสวรรค์นานๆ ก็เกิดความคิดว่า เพียงได้แบ่งครอบครองสวรรค์ครึ่งเดียวมันไม่ปลอดภัย เหมือนอาศัยบ้านคนอื่นอยู่ เจ้าของเขาอาจเอาคืนเมื่อไรก็ได้ อย่ากระนั้นเลย เรายึดมันเสียเลย

แล้วก็คิดวางแผนเงียบๆ ว่า จะยึดสวรรค์ได้อย่างไร

มันธาตุแก หารู้ไม่ว่าเทพเช่นพระอินทร์มิใช่เทพธรรมดา ท้าวเธอมีบารมี มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ไม่งั้นวรรณคดีจะเรียกว่า “หัสสนัยน์” (มีตามตั้งพันตา) หรือ

พระอินทร์รู้ความคิดลามกของมันธาตุผู้อยากไม่รู้จบ วันหนึ่งขณะประชุมนานาชาติเอ๊ย ขณะจัดเลี้ยงกันอย่างสนุกสนาน พระอินทร์จึงขยิบตาให้ทหารเทพบริวารถีบตกสวรรค์ ร่างของมันธาตุ ก็ลอยลิ่วๆ ลงมา ตกลงยังอุทยานของพระองค์เอง ในพระนครอะไรก็จำชื่อไม่ได้ ว่ากันว่ามันธาตุตอนอยู่บนสวรรค์ร่างกายก็ไม่แก่ไปตามวัย แต่พอร่วงลงมา ร่างกายก็แก่ชราภาพมาก ศีรษะหงอก ผิวเหี่ยวย่น นัยน์ตาฝ้าฟาง ตกลงมานอนแอ้งแม้งหายใจระรวย จะตายมิตายแหล่

มหาดเล็กเห็นอีตาแก่ไม่รู้มาจากไหนมานอนอยู่ จึงเข้าไปพยุง ซักถามว่าเป็นใครมาจากไหน

มันธาตุกล่าวว่า “ข้าคือพระเจ้ามันธาตุราช ผู้มีฤทธิ์ ที่ครองเมืองนี้”

เหล่าทหารหาญต่างก็หัวร่อขึ้นพร้อมกัน พระเจ้ามันธาตุผู้ทรงฤทธิ์ เคยเป็นพระราชาเมืองนี้จริง แต่สิ้นพระชนม์ไปตั้งร้อยกว่าปีแล้ว จะเป็นเจ้าได้อย่างไร ขณะนี้เป็นพระเจ้าหลานของมันธาตุราชครองราชสมบัติอยู่

มันธาตุยังคงยืนกรานว่าตนเป็นผู้ครองนครอยู่ จนเหล่ามหาดเล็กย้ำแล้วย้ำอีกว่าขณะนี้เขายึดอำนาจ เอ๊ย พระเจ้าหลานของพระเจ้ามันธาตุกำลังครองราชย์อยู่

ท่านมีอะไรจะสั่งเสีย ก็รีบสั่งซะ ก่อนที่ท่านจะตาย

อดีตผู้เรืองอำนาจผู้ชรา จึงเอ่ยขึ้นว่า “ข้าขอบอกแก่ชาวเมืองทั้งหลายว่า ความอยากของคนไม่มีทางเต็มเปี่ยมได้ ดูอย่างข้าเป็นเจ้าผู้ครอบครองเกือบทั้งโลก มีฤทธิ์เหาะเหินได้ ขึ้นไปเสวยสุขในสวรรค์ยังไม่อิ่ม เพราะโลภอยากได้มากกว่านั้น จึงถูกถีบตกสวรรค์ลงมา กำลังจะตายอยู่ในขณะนี้ พวกเธอทั้งหลายอย่าเอาอย่างข้าเลย”

และแล้วเหล่าทหารมหาดเล็กที่มุงดูก็ได้ยินเสียง “ครอก” แล้วเงียบไปครับ แกไปดีแล้ว


หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10424
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --

แก้ไขล่าสุดโดย admin เมื่อ 20 ม.ค. 2008, 2:41 pm, ทั้งหมด 7 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2007, 11:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง