Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สามัคคี (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.พ.2007, 11:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



2.JPG


ความสามัคคี ย่อมเกิดจาก

(๑) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน

(๒) พูดจาอ่อนน้อมอ่อนหวานต่อกัน

(๓) ช่วยเหลือกันในยามยาก

(๔) วางตนเสมอกันในความเป็นอยู่

(๕) ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน

(๖) ไม่ถือความขัดแย้งกันทางความคิด เป็นเรื่องสำคัญ

(๗) ไม่เอาแพ้เอาชนะกัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
เพราะชนะเขาก็ต้องได้รับการจองเวร แพ้เขาก็ช้ำใจ
ไม่แพ้ไม่ชนะใคร สงบ สบาย ไม่วุ่นวายประการใด
ความชนะที่มีคุณค่า คือ ความชนะใจของตัวเองเป็นคุณค่ามหาศาล


การที่คนเรา มีความคิดเห็นไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกัน เป็นเรื่องธรรมดา
เพราะคนเราย่อมมีความคิดเห็นต่างกันได้
ตามสภาพของจิตใจของใครของมัน
ถ้ามีความปรารถนาดีต่อการงานของหมู่คณะ
มีความรักหมู่คณะ ก็สามารถทำงานด้วยกันได้ ไม่มีปัญหา
เหมือนชอบรสอาหารไม่เหมือนกัน เป็นเรื่องธรรมดา
มีความรักกันก็สามารถรับประทานร่วมกันได้ด้วยดี
เพลิดเพลินสนุกสนาน โปรดเข้าใจว่า คนที่มีความคิดเห็นไม่เหมือนเรา
ไม่ใช่คนเลวทรามเสียหาย เป็นคนดีเหมือนเรานั่นเอง
การทำให้คนที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ทำงานด้วยกันได้
มีความสามัคคีปรองดองกัน เป็นความสามารถของการปกครอง
และการบังคับบัญชาบุคคลของนักบริหาร


เครื่องวัดความคิดเห็นว่าจะตรงจุดหมายหรือไม่นั้น ได้แก่

(๑) ระเบียบแบบแผน

(๒) ขนบธรรมเนียมประเพณี

(๓) เหตุผล

(๔) ข้อเท็จจริง

(๕) กฎธรรมดา

(๖) ความยอมรับของมหาชน

ความสงบชั้นสุดยอด หมายถึง ความสงบของจิตใจจากการเจริญกรรมฐาน
คือ ใจอยู่ในปรกติภาพตลอดเวลา และอิสรภาพตามธรรมชาติของมัน
เวลามีอารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหว ไม่กระเทือนประการใด
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มาถึงก็ไม่ดีใจ
ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ มาถึงก็ไม่เสียใจ
มีอุเบกขา คือ ความวางเฉย หรือความรู้สึกเฉย ๆ
เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาถึง เมื่อไม่มีอารมณ์เป็นอย่างไร
มีอารมณ์มาถึง ก็เป็นอย่างนั้น เป็นเครื่องบังคับ คือ สติสัมปชัญญะ


ท่านสาธุชนทั้งหลาย การเจริญกรรมฐานจึงมีประโยชน์ในชีวิตของเรา
ทำให้อายุยืนยาวต่อไปได้ และสามารถใช้ชีวิตต่อการงานและหน้าที่ที่ถูกต้อง
ไม่เอาถูกใจเหมือนแต่ก่อนมา และสภาพความเป็นอยู่ในชีวิตนี้ของท่าน
จะเจริญรุ่งเรืองวัฒนาสถาพรต่อไปได้อย่างสมปรารถนาทุกประการ


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้

คัดลอกจาก...
http://www.jarun.org

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2007, 8:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มาถึงก็ไม่ดีใจ
ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ มาถึงก็ไม่เสียใจ
มีอุเบกขา คือ ความวางเฉย หรือความรู้สึกเฉย ๆ"

โมทนาคร้าบ คุณลูกโป่ง
สาธุ
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง