ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
11 ต.ค.2008, 1:18 am |
  |
• ถาม
ถ้าเช่นนั้นผู้ปฏิบัติทุกวันนี้
ที่รู้จักลักษณะแลอาการของนิวรณ์แลสังโยชน์จะมีบ้างไหม ?
• ตอบ
มีถมไปชนิดที่เป็นสาวกตั้งใจรับคำสอนแลประพฤติปฏิบัติจริงๆ
• ถาม
นิวรณ์ ๕ เวลาที่เกิดขึ้นในใจมีลักษณะอย่างไร
จึงจะทราบได้ว่าอย่างนี้ คือ กามฉันท์
อย่างนี้ คือ พยาบาท หรือถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกุจจะ วิจิกิจฉา
และมีชื่อเสียงเหมือนกับ สังโยชน์
จะต่างกันกับ สังโยชน์ หรือว่าเหมือนกัน
ขอท่านจงอธิบายลักษณะของนิวรณ์แลสังโยชน์
ให้ข้าพเจ้าเข้าใจจะได้สังเกตถูก ?
• ตอบ
กามฉันทนิวรณ์ คือ ความพอใจในกาม
ส่วนกามนั้นแยกเป็นสอง คือ กิเสลกามหนึ่ง วัตถุกามอย่างหนึ่ง
เช่น ความกำหนัดในเมถุนเป็นต้น ชื่อว่า กิเลสกาม
ความกำหนัดในทรัพย์สมบัติเงินทองที่บ้านนาสวน
และเครื่องใช้สอยหรือบุตรภรรยาพวกพ้อง
และสัตว์ของเลี้ยงที่เรียกว่าวิญญาณกทรัพย์
อวิญญาณกทรัพย์เหล่านี้ ชื่อว่า วัตถุกาม
ความคิดกำหนัดพอใจในส่วนทั้งหลายเหล่านี้
ชื่อว่า กามฉันทนิวรณ์
ส่วนพยาบาทนิวรณ์ คือ ความโกรธเคือง
หรือคิดแช่งสัตว์ให้พินาศชื่อว่า พยาบาทนิวรณ์
ความง่วงเหงาหาวนอน ชื่อว่า ถีนะมิทธนิวรณ์
ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ชื่อว่า อุธัจจกุกกุจจนิวรณ์
ความสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
แลสงสัยในกรรมที่สัตว์ทำเป็นเป็นบาป
หรือสงสัยในผลของกรรมเหล่านี้ เป็นต้น
ชื่อว่าวิจิกิจฉารวม ๕ อย่างนี้ ชื่อว่า นิวรณ์ เป็นต้น
ชื่อว่านิวรณ์ เป็นเครื่องกั้นกางหนทางดี.
• ถาม
กามฉันทนิวรณ์ อธิบายเกี่ยวไปตลอดกระทั้ง วิญญาณกทรัพย์
อวิญญาณกทรัพย์ ว่าเป็นวัตถุกาม
เช่นนั้นผู้ที่ยังอยู่ครองเรือน
ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สมบัติอัฐฬสเงินทอง
พวกพ้อง ญาติมิตร
ก็จำเป็นจะต้องนึกถึงสิ่งเหล่านั้น
เพราะเกี่ยวเนื่องกับตนก็มีเป็นกามฉันทนิวรณ์ไปหมดหรือ ?
• ตอบ
ถ้านึกตามธรรมดาโดยจำเป็นของผู้ที่ยังครองเรือนอยู่
โดยไม่ได้กำหนดยินดีก็เป็น อัญญสมนา
คือเป็นกลางๆ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป
ถ้าคิดถึงวัตถุกามเหล่านั้นเกิดความยินดีพอใจรักใคร่เป็นห่วง
ยึดถือหมกมุ่นพัวพันอยู่ในวัตถุกามเหล่านั้น
จึงจะเป็นกามฉันทนิวรณ์
สมด้วยพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า
น เต กามา ยานิ จิตฺรานิ โลเก
อารมณ์ที่วิจิตรงดงามเหล่าใดในโลกอารมณ์เหล่านั้นมิได้เป็นกาม
สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม
ความกำหนัดอันเกิดจากความดำริ นี้แหละเป็นกามของคน
ติฏฐนฺติ จิตฺรานิ ตเถว โลเก
อารมณ์ที่วิจิตรงดงามในโลก ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง
อเถตฺถธีรา วินยนฺติ ฉนฺทํ
เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้นักปราชญ์ทั้งหลายจึงทำลายเสียได้
ซึ่งความพอใจในกามนั้น
นี่ก็ทำให้เห็นชัดเจนได้ว่า
ถ้าฟังตามคาถาพระพุทธภาษิตนี้
ถ้าคิดนึกถึงวัตถุกามตามธรรมดาก็ไม่เป็นกามฉันทนิวรณ์
ถ้าคิดนึกอะไรๆ ก็เอาเป็นนิวรณ์เสียหมด
ก็คงจะหลีกไม่พ้นนรก เพราะนิวรณ์เป็นอกุศล.
(มีต่อ) |
|
|
|
    |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
|