ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
แอน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2005, 3:54 pm |
  |
พยายามฝึกสมาธิมาหลายครั้งแล้ว ไม่เคยสำเร็จ มักหลุดมาก่อนเสมอเพราะจะรู้สึก จี๊ด จ๊าด ตามร่างกายตลอด จิตทนไม่ไหว จึงหลุดจากการทำสมาธิ
อยากทราบว่า ต้องปฏิบัติอย่างไรจังจัดการกับกิเลสเหล่านั้นให้ได้คะ? |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2005, 9:22 am |
  |
กราบเรียนคุณแอน
การแก้ทุกข์
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นในการทำวิปัสสนา ต่างจากความทุกข์ของคนสามัญทั่วไป คือ ความทุกข์ของการเจริญวิปัสสนานั้น เป็นความทุกข์ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติออกจากความทุกข์ได้ ส่วนความทุกข์ของคนทั่วไปนั้น เกิดเพราะมีกิเลสตัณหาทำให้เกิดจึงต่างกันมาก เมื่อเริ่มปฏิบัติด้วยการกำหนดจิตก็ดี กำหนดรูปกายหยาบก็ดี จะต้องประสบกับความทุกข์แน่นอน มีความร้อนเหมือนถูกไฟเผา ปวดเหมือนถูกทุบ เจ็บเหมือนของแหลมเสียบแทง เหล่านี้เป็นต้น
ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ผู้ปฏิบัติจะได้ประสบมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัญญาและการกระทำดีไม่ดีของผู้ปฏิบัติ ถ้าทำความชั่วมากก็ทุกข์มาก ถ้ามีปัญญาดีก็ปล่อยวางได้เร็ว ถ้าโง่ก็ปล่อยวางได้ช้า ดังนั้นเมื่อประสบกับความทุกข์ ก็ควรอดทนพยายามยกจิตขึ้นอยู่ให้สูงเสมอ ถ้าหากทุกข์มากๆจนเกือบทนไม่ได้แล้ว ให้กลั้นลมหายใจไว้ในอก ก็จะละความทุกข์ได้ชั่วคราว เพราะจิตถูกเก็บไว้ภายใน ไม่สนใจทุกข์
แต่เมื่อขาดสติก็จะยึดทุกข์อีก ดังเป็นวิธีแก้ทุกข์ที่ดีคือ ผู้ปฏิบัติควรหัดวิธีหายใจไว้ในอกให้มาก จะสามารถดับทุกข์กายได้เป็นอย่างดี อีกวิธีหนึ่งก็คือขณะที่มี่ความทุกข์ให้ผู้ปฏิบัติทำความรู้สึกให้เต็มหน้า ตั้งจิตไว้ระหว่างตาและทรวงอก ตั้งสติอุเบกขาทำความรู้สึกให้นิ่ง ก็จะเห็นการเกิดดับของจิตเกิดขึ้น เมื่อเห็นความเกิดดับเกิดขึ้น ให้ผู้ปฏิบัติปล่อยกระแสจิตให้ไหลไปตลอดกาย ความทุกข์ในกายก็จะค่อยดับไป คลายไปในที่สุด ข้อสำคัญให้มีสติกับอุเบกขาอยู่ตลอดเวลา
|
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2005, 9:25 am |
  |
หมายเหตุ
การปฏิบัตินั้น ถ้าปฏิบัติไปแล้วรู้สึกว่าเกิดความร้อน มีเหงื่อออกเต็มตัว จัดว่าการปฏิบัตินั้นอยู่ในขั้นดี เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นแสดงว่า จิตรวมตัว และเริ่มทำงานเผากิเลส แต่ถ้าเมื่อใดทำความเพียรแล้ว รู้สึกสงบเย็น แสดงว่าจิตนั้นได้พักผ่อนอยู่ในสมาธิ อารมณ์นี้ไม่สามารถทำลายกิเลสได้ แต่เป็นการให้จิตได้พักผ่อนอยู่ในวิหารธรรมเท่านั้น
ถ้าเมื่อใดปฏิบัติแล้ว ฟุ้งบ้าง ง่วงบ้าง ว่างไม่รู้สึกตัวบ้าง เหล่านี้เป็นอารมณ์ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องรีบแก้ไขและหากัลยาณมิตรที่ดีไว้สำหรับปรึกษาหาวิธีที่ดีและแยบคายในการปฏิบัติต่อไป ควรระวังความยินดียินร้ายในอารมณ์ให้มาก เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ถ้ายินดี สมาธิเคลื่อน ฟุ้งง่าย ถ้ายินร้ายในอารมณ์ที่ไม่ดี จะทำให้จิตไม่ปลอดโปร่ง แก้ปัญหาไม่ตก ดับทุกข์ไม่ได้
ที่มา...http://www.buildboard.com/viewforum.php?id=795&fx=2&forum=6324 |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2005, 9:26 am |
  |
|
   |
 |
ด้วยเจตนาดี
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2005, 11:14 am |
  |
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยประสบการณ์ จะดีไม่ดีหรือเหมือนการคุยอวดอย่างไรขอให้ใช้วิจารณาญาณเอาส่วนที่คิดว่าเป็นประโยชน์เท่านั้นไปใช้นะครับ เคยพยายามนั่งสมาธิหลายครั้งตั้งแต่เรียนชั้นประถม แต่ไม่เคยสำเร็จเลยเป็นเพราะทำด้วยความอยากได้อิทธิฤทธิ์เพราะอ่านหนังสือมากไปหน่อย แต่ก็แปลกตอนเด็กนั้นนั่งได้ไม่ปวดไม่เมื้อยเลยแต่ใจมุ่งหวังด้วยกิเลสแบบเด็กค่อนข้างมากจนไม่สนใจความสงบหรือสุขปิติเกิดหรือไม่ก็ไม่รู้จำไม่ได้คล้ายกับว่าในวัยเด็กชีวิตมันสุขอยู่แล้วจึงไม่สนใจว่าความสงบจะเป็นยังไงสุขเป็นอย่างไรแต่กลับจดจ่อรอสิ่งมหัศจรรย์ให้เกิดขึ้นจึงฟุ้งแบบเด็กเด็กสุดท้ายก็เลิกไปมาเริ่มอีกทีตอนมัธยมปลายคราวนี้ทำปีนึง ได้สัก30ครั้งกระมัง แต่มีเดือนหนึ่งทำแบบจริงจังมากเอาตำราแบบไม่มีสิ่งอัศจรรย์มาประกอบเน้นนับลมหายใจ ทำได้ติดกัน15วันกระมังสาเหตเพราะความเบื่อปัญหาวัยรุ่นที่ตัวเองรู้สึกมีมากอีกกับปัญหาความจนในครอบครัวตอนนั้นจึงอยากหาอะไรมาเป็นที่พึ่งในใจ พอหลังทำวันที่ เจ็ดกระมังเกิดสิ่งไม่คาดฝันขณะนับลมหายใจสลับกับใช้คำอุบายหลอกความฟุ้งซ่านของจิตเช่นตอนรู้ตัวว่าคิดฟุ้งซ่านก็หยุดนับลม ภาวนาว่า จะคิดอะไรก็คิดได้แต่ขอให้คิดอยู่เสมอว่ากำลังคิดถึงอะไรอยู่ตามตำราเป๊ะพอนิ่งก็กลับมานับใหม่โดยจับลมเข้าออกแต่ที่ปลายจมูกจนรู้สึกว่ามันชัดเห็นมโนภาพในใจพร้อมกับความรู้สึกของปลายจมูกที่ชัดเจนแรงมากอยู่แต่เรื่องเดียว ประมาณครึ่งชมกระมังก็เกิดสะดุ้งในใจแล้วปรากฏว่าจับความรู้สึกของร่างกายตัวเองไม่ได้หาร่างตัวเองไม่เจอมองไปทางไหนก็มีแต่ความมืดรู้สึกตัวเองกว้างใหญ่และเบาแบบไม่มีความรู้สึกถึงน้ำหนัก โล่งสบายใจมาก สักพักก็ค่อยค่อยจับลมหายใจได้จนรู้สึกว่าเป็นเวลานอนก็ออกมาดีใจมากตอนนั้นวันต่อจึงทำอีกหลายวันแต่ไม่เกิดขึ้นอีกเลยแล้วก็เลิกไปในที่สุด แต่ไม่เคยลืมเหตการณ์นั้นเลยพอเรียนมหาลัยก็กลับมาทำใหม่คราวนี้ไม่เอาถ่านเลย แค่เริ่มนั่งได้ห้านาทีปวดเมื้อยบอกไม่ถูกแค่สี่ห้าวันก็เลิกไปนานนานทำใหม่ก็ฟุ้งปวดขาบ้างก็เลิกในที่สุดจนจบทำงานได้สองปีกว่าเกิดกลุ้มใจขึ้นมาน้อยใจตัวเองทำงานไม่เก่งสู้น้องจบใหม่ที่หัวหน้าให้งานเยอะกว่าไม่ได้ ช่วงนั้นได้ใบสวดมนต์พระคาถาชินบัญชรมาจากแม่พับเก็บใส่กระเป๋าสตางค์ไว้ นั่งอยู่โต๊ะทำงานว่างมากไม่รู้ทำอะไรเลยหยิบเอามาท่องจำจนเจ็ดวันก็จำได้หxxx็เลยหันมาสวดมนต์ก่อนนอนทุกวัน ปรากฏว่าชีวิตทำงานดีขึ้นหลังสามถึงสี่เดือนนั้น หลังทำได้สามปีมั๊งก็อยากนั่งสมาธิขึ้นมาก็นั่งได้แบบรู้สึกสงบไม่ฟุ้งซ่านไม่ปวดเมื้อยและนานแบบไม่คาดคิดมาก่อน จึงสวดมนต์ก่อนนอนนั่งสมาธิหลังตื่นนอนทุกวันตั้งแต่นั้นมา เดี๋ยวนี้ตรงกันข้ามกับสมัยก่อนคือไม่สามารถหยุดทำสมาธิได้เนื่องจากกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว มันเหมือนส่วนหย่อมในจิตใจตัวเองที่จะต้องเข้าไปสูดอากาศให้โล่งใจก่อนออกไปใช้ชีวิตประจำวันให้ได้ทุกวัน หลายครั้งขณะทำจะรู้สึกว่าจะต้องออกไปทำงานแล้วจะสายแล้วก็ต้องฝืนความรุ้สึกอยากทำเพื่อออกจากสมาธิแต่ก็มีไม่น้อยจิตตกไม่ได้เสพความสงบมากดั่งที่คาดหวังแต่ก็ยังรู้สึกดีที่ได้ทำ
ความคิดปัจจุบัน คิดว่าตนเองไม่สามารถสร้างสมาธิไปได้สูงส่งมากมากแล้วครับ แต่คิดว่าจะสะสมมันไปทุกวันโดยหวังไว้ว่ามันจะเป็นเครื่องส่งเสริมเราไม่ต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ในชาติหน้า หรืออาจจะเกิดปัญญาบารมีมากพอถ้าหากในชาติหน้าเกิดตัวเองเริ่มทำต่อตั้งแต่เด็กต่อเนื่องจนโตอีกอาจจะตัดกิเลสได้เลยก็ได้ เพราะช่วงชีวิตนี้น่าจะมีอายุถึงหรือเกินเจ็ดสิบก็เท่ากับว่าชั่วโมงสมาธิสะสมในชาตินี้ไม่น่าจะน้อยกว่า 40x365 ชั่วโมง น่าจะส่งผลในชาติถัดไปได้เยอะ
สรุปความคือ ไม่คิดว่าการเริ่มทำสมาธิจะต้องให้ความสำคัญเรื่องปัญหาขณะนั่งแล้วเราจะต้องหาทางแก้ให้ได้ ปล่อยให้มันเกิดตามธรรมชาติของมันเถิดครับแต่ที่สำคัญมีความจริงใจในการปฏิบัติแค่ไหนที่จะรักษาการฝึกฝนให้คงอยู่อย่างถาวร จิตที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝนก็คงเหมือนม้าป่าที่อยู่อยู่จะเอามาใช้งานเลยคงไม่ได้ คงต้องใช้ความอดทนและเวลาทุ่มเทให้กับมันระยะหนึ่งจะวันละสิบหรือห้านาทีก็ได้แต่ขอให้อย่าหยุดและเพิ่มเวลาหากว่าทำได้ ในที่สุดมันก็จะเชื่องกับเรา อย่าไปสนใจคนอื่นทำไมทำได้ไวกว่าเพราะมันเป็นเรื่องของบารมีเก่าด้วยเหมือนกัน แต่ขอรับประกันว่าหากทำได้ต่อเนื่องทุกวันเป็นเวลานานจนรู้สึกว่าสมาธิดีในขั้นหนึ่งแล้วจะไม่มีปัญหาเก่ากลับมาอีกเลย แต่ไม่อยากให้คาดหวังว่าสมาธิจะช่วยให้มีความสุขตลอดไป เพราะออกจากสมาธิก็เหมือนจิตใจเสร็จจากการอาบน้ำพอไปเจอสิ่งสกปรกก็จะรู้สึกไม่ดีคือเกิดอารมณ์ เกิดกิเลสเป็นทุกข์ได้อีก แต่สภาพดังกล่าวจะเกิดน้อยลงกว่าปกติและบางครั้งจะมีสติยั้งคิดได้ดีกว่าเดิมแบบเห็นได้ชัดและคิดว่าสมาธิที่ดีเป็นเครื่องพิสูจน์ความเจริญก้าวหน้าของจิตตัวเองอีกอย่างหนึ่ง แล้วก็อย่าไปท้อว่าเราผิดศีลหรือจิตตกต่ำบางครั้งจนหยุดทำนะครับ แต่ให้มองว่าระหว่างเราได้สมาธิทุกวันกับกิเลสทำร้ายเราแค่อาทิตย์และสองสามครั้งอะไรจะส่งผลมากกว่ากันสุดท้ายเราก็จะได้มากกว่าเสียเพราะมันสะสมไม่หยุด
ช่วงนี้ผมสนใจการใช้สติพิจารณาธรรมกิจกรรมชีวิตประจำวันแบบต่อเนื่องเห็นมีหลายท่านพูดถึงโดยหวังว่าจะให้ทำได้สักครึ่งวันแบบไม่หยุดก็ยังดีแต่ก็ทำได้แค่ช่วงว่างเช่นตอนนั่งรถไฟหรืออยู่เฉยเฉยเท่านั้นพอตอนใช้สมองเช่นวิเคราะห็ปัญหา ตอบคำถาม ตั้งคำถาม ขับรถ สนทนา ก็หลุดทำให้ไม่ต่อเนื่องจึงหยุดทำก็หวังว่าสักวันจะพบเทคนิกใหม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องคงจะได้เห็นความก้าวหน้าตัวเอง เพราะเคยสังเกตช่วงวันไหนทำได้นานนานพอนั่งสมาธิจะนิ่งเร็วมากและค่อนข้างสงบลึก หากว่าเริ่มนั่งสมาธิเกิดปัญหาแบบทนที่จะทำต่อไปไม่ไหว การฝึกสติพิจารณาธรรมให้เกิดขึ้นมากที่สุดในแต่ละวันคิดว่าช่วยให้การนั่งดีขึ้นได้ หากมีปัญหาเรื่องปวดเมื้อยเช่นกันให้หาจังหวะที่ว่างในชีวิตประจำวันฝึกนั่งแบบใจไม่ต้องทำสมาธิดูเพื่อให้ประสาทกล้ามเนื้อเกิดความชิน คิดว่าจะช่วยให้การนั่งง่ายขึ้นมากครับ หากไม่ได้อะไรช่วยให้สมาธิตนดีขึ้นเลยจากตรงนี้ผมก็ขออภัยด้วยแล้วกันครับ ก็พิจารณาหลายหลายสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้มาดูแล้วกันครับแต่ขอให้ปฏิบัติอย่าให้เป็นแค่คิดอย่างเดียว  |
|
|
|
|
 |
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2005, 11:27 am |
  |
เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่4 ขอเสริมอีกนิด การจะทำจิตให้บริสุทธิ์ได้ ดียิ่งขึ้น ให้หมั่นทำทานและถือศีล จะทำมากทำน้อยก็อย่าให้ตัวเองเดือดร้อน หรือให้ผู้อื่นเดือดร้อน ให้ทำเท่าที่จะทำได้สะสมไปเรื่อย ๆ ตามหลักมรรคแปดนั่นแหละครับ โปรดพิจารณาแล้วลองปฏิบัติต่อไป แล้วตรวจสอบผลด้วยตัวเองได้ |
|
|
|
|
 |
แอน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2005, 3:09 pm |
  |
ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำ อ่านแล้วเข้าใจมาก อ่านแล้วรู้แล้วว่าจะจัดการอย่างไรกับกิเลสเหล่านั้น ขอบคุณมากคุณปุ๋ย คุณเจตนาดี คุณสุรพงษ์  |
|
|
|
|
 |
ด้วยเจตนาดี
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
06 มิ.ย.2005, 5:23 pm |
  |
ลืมบอกเรื่องนึงครับที่อาจจะมีประโยชน์บ้างคือการใช้EARPLUGฟองน้ำขณะปฏิบัติเป็นประจำเพราะเคยรู้สึกว่าการปฏิบัติที่บ้านไม่เหมือนที่วัดจะมีเสียงไม่คาดคิดมารบกวนบ่อยคิดว่ามีส่วนให้เกิดสมาธิได้ง่ายหรือเร็วขึ้นได้บ้างเพราะเงียบดีครับ ขออนุโทนากับความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมด้วยครับ  |
|
|
|
|
 |
แอน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
09 มิ.ย.2005, 1:22 pm |
  |
เมื่อคืนเป็นคืนที่ 3 ในการนั่งสมาธิอย่างจริงจัง ปรากฎว่า จิตยังฟุ้งบางช่วง บางช่วงเหมือนมีพลังงานก้อนหนึ่งไปตันที่ดั้งจมูก พอเอาจิตไปจับสักพักก็หยุดกลับไปที่จิตฟุ้งซ่าน พอรู้สึกเหน็บชาก็พยายามทำตามคำแนะนำเลยสามารถยกจิตตัวเองได้ เหตุการณ์สลับแบบนี้ตลอด แต่พอนั่งประมาณสัก 20-30 นาที ตอนรู้สึกว่าเริ่มมีสมาธิ หัวรู้สึกหมุนมาก หมุนมาก นิ้วโป้งที่ประสานกันร้อนมาก นั่งต่อสัก 5 นาที จึงบอกกับตัวเองว่า ออกจากสมาธิ แล้วก็ล้มตัวนอน
ไม่ทราบว่าเหตุการณ์แบบนี้แปลว่าอะไรคะ? ข้าพเจ้ารู้ตัวว่าคงต้องใช้ความเพียรอีกมาก แต่ว่า ความฟุ้งซ่านก็ไม่เคยลดละเลย ที่ท่านให้ข้อคิดเห็นมา อ่านเข้าใจ แต่ทำไมยากที่จะทำ ช่วยข้าพเจ้าด้วยเถอะท่านผู้เจริญ
ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
|
|
|
|
|
 |
เจตนาดี
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 มิ.ย.2005, 10:52 am |
  |
ก่อนอื่นต้องขอให้ทำความเข้าใจการแสดงความคิดเห็นของผมก่อนนะครับว่า ประสบการณ์ของทุกคนในการทำสมาธิโอกาสและผลที่เกิดขึ้นในแต่ละคนแตกต่างกัน หากเป็นประสบการณ์ของผู้เป็นอาจารย์สอนโดยตรงผมไม่แน่ใจว่ามีท่านใดแวะเวียนมาชมบางหรือไม่ คิดว่าท่านจะคุ้นเคยกับข้อสงสัยของผู้ทำสมาธิที่หลากหลายอยากให้ท่านได้ตอบปัญหามากกว่า เพราะท่านคงจะให้คำตอบได้ดีและตรงกว่า โดยเฉพาะผู้ที่ได้สมาธิสูงสูงแล้ว ผมเองยังห่างไกลตรงนั้นมากเพราะไม่เคยรู้สึกถึงว่ามีพลังอำนาจอะไร นอกจากรู้สึกสงบสบายใจกว่าเวลาปกติขณะที่ทำเท่านั้นเอง
ผมขออนุญาตวิเคราะห์เหตที่เล่ามาด้วยประสบการณ์ที่ยังน้อยแล้วกันครับ เพราะไม่เคยสอนใครเลย ผมขอตัดส่วนของฟุ้งซ่านออก เพราะเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับผู้นั่งสมาธิ แม้แต่ผู้ทำมานานก็ยังเป็นบางครั้ง เรื่องของการแก้เป็นเทคนิคเฉพาะแต่ละคน ต้องเสาะหาหรือคิดหาวิธีทดลองด้วยตนเองไปจนเจอที่ตัวเองรู้สึกว่าได้ผลที่สุด ซึ่งผมเองก็ยังมองหาเทคนิคพวกนี้อยู่เรื่อยเพราะลองทำเทคนิคใหม่ทีไรจะรู้สึกได้ผลแต่สักระยะนึงก็ใช้ไม่ได้อีกแล้วก็มี แต่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะมันไม่ฟุ้งเหมือนสมัยที่นั่งนานนานไม่ได้
เรื่องที่ผมรู้สึกสนใจมากคือ เรื่อง หัวหมุนมาก อาจจะคล้ายสมัยวัยรุ่นผมเคยเป็นครั้งเดียว จำได้ว่ามันเกิดหลังจากที่ใจหยุดจับจดลมหายใจซึ่งทำต่อเนื่องและชัดเจนนานมากความรู้สึกคงจะเปรียบเหมือนเราขี่บนยานเหอะกลางอากาศยิ่งนานเข้าก็ยิ่งรู้สึกว่าเพลิดเพลินไปกับยาน แต่ไม่รู้นึกอย่างไรอยู่อยู่ก็หันมาดูยานที่ตัวเองนั่งดันหายไปคิดว่าตัวเองตกยานทั้งที่ก็ยังล่องลอยอยู่ ก็เลยวูปวงเวียนไปมาจับต้นชนปลายไม่ถูก แต่ตอนนั้นความกลัวของผมน้อยกว่าความอยากรู้อยากเห็นทำให้ผมกล้าเผชิญหน้าความไม่มีตัวตนในตอนนั้น สติคงมีทำให้สังเกตเห็นความเบาโล่งความสุขที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนได้
หากผมมีโอกาสกลับไปพบสภาวะนั้นอีก ผมจะไม่เหลียวหลัง ระแวงระวังอะไร แต่จะมุ่งจิตให้อยู่ตรงกลางซึ่งคงบอกด้วยคำพูดไม่ถูกเหมือนกันว่า กลางอะไร เพราะจำได้ว่ามันไม่มีลมให้จับ ไม่มีภาพให้มอง ไม่มีความรู้สึก แต่ก็รู้สึกว่าเราสามารถรวมความรู้สึกในตอนนั้นทั้งหมดให้อยู่ตรงกลางได้ อาจจะเป็นสติ ระลึกจิตใจตนให้มีความรับรู้แบบไม่หวั่นไหวกระมัง ผมอยากได้ความรู้สึกที่เป็นอยู่นั้นกลับมาอีกจริงจริงเลยครับ เพราะมันเหมือนการนั่งรถไฟเหาะตีลังกาหรืออะไรที่เสียววูปสุดสุดแต่สุดท้ายพอผ่านไปก็นิ่งสงบมากเหมือนนาฬิกาหยุดเดินทุกอย่างนิ่ง
ผมไม่คิดว่าที่เล่ามาเป็นปัญหาหรอกครับ แต่เป็นเพราะความกลัวเพราะใหม่ หากอยากทราบว่าตนเองหลุดจากความกลัวมากน้อยแค่ไหนก็ลองนึกถึงพระธุดงค์ครับ ท่านเดินทางในป่าท่านเดียวคิดว่าตนเองหากไม่ใช่ด้วยเป็นผู้หญิงจะทำได้หรือไม่ อาการกลัวผี กลัวตาย กลัวสารพัดอย่างในทางโลกหากยังคิดว่าตนมี คงไม่แปลกที่จะเกิดขึ้นในระหว่างทำสมาธิ ผมไม่รู้เทคนิคกำจัดความกลัวครับ บางทีฝึกอยู่ในความมืดสนิทในบ้านคนเดียวหรือที่ปลอดภัยจากคนหรือสัตว์ร้ายบ่อยบ่อยนานนานอาจช่วยได้มั๊งครับ
สำหรับสาระที่ผมพยายามจะให้คือ ขอให้ทำรักษาการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเกิดความฟุ้งซ่านความกลัวหรืออะไรก็ตามอย่าหยุดหากว่าความสามารถทางร่างกายทำได้ ควบคู่กับการปฏิบัติธรรมอย่างอื่นเช่น สวดมนต์ ทำทาน พิจารณาธรรม ในเวลาอื่นไปด้วยหากทำได้ ผมเชื่อว่าเป็นบารมีของผู้ปฏิบัติอย่างหนึ่งในการที่สามารถรักษาการทำสมาธิได้อย่างต่อเนื่องถึงแม้นจะไม่ได้ผลขั้นสูงก็ตาม หากพบอุปสรรคลองฝึกทบทวนสิ่งที่พบด้วยตนเองดีดีแล้วทดลองใช้ดูตอนที่เจอกับมันอีก ไม่ได้ผลก็หาแนวทางใหม่ หรืออย่างง่ายที่สุดก็ตั้งสติแล้วลืมตาขึ้นมาเลยครับหากสู้กับมันไม่ได้ก็หยุดแค่นั้นในวันนั้นวันต่อมาก็ลุยกับมันใหม่และทุกทุกวัน แต่หากยังไม่มีความมั่นใจแนะนำไปปฏิบัติกับสถานฝึกสอนน่าจะดีกว่าครับเพราะความกลัวมากเกินไปก็เหมือนที่เขาห้ามผู้เป็นโลกหัวใจนั่งรถไฟเหาะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ พอมั่นใจแล้วจึงค่อยปฏิบัติคนเดียวตามลำพัง แต่ผมโชคร้ายไม่มีโอกาสเข้าสถานที่ฝึกได้เลยต้องทำที่บ้านแต่ก็ดีนึกจะทำก็ทำได้เลยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
ปกตินั่งสมาธิเป็นเวลาที่แน่นอนหรือเปล่าครับ พอจะบอกได้ไหมว่าเวลาเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่บ้างครับ
โปรดใช้วิจารณาญาณในการอ่านความคิดเห็นนี้ด้วยนะครับ จะเห็นว่าไม่มีชื่อนามจริงให้เรียก จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ยืนยันความถูกต้องของข้อความอาจจะเป็นการกล่าวเกินจริงก็ได้แต่อยากให้เลือกอ่านสิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับตัวเองร่วมกับความเห็นผู้อื่นแล้วไปประยุกต์ใช้ดูครับ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมครับ  |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
10 มิ.ย.2005, 3:05 pm |
  |
คุณแอน
จิตนั้นอุปมาเหมือนเด็ก เมื่อเด็กร้องให้ เราก็ปลอบใจ ถ้าเด็กไม่หยุดร้องเราก็ข่มขู่ หรือด้วยวิธีต่างๆที่จะทำให้เด็กหยุดร้อง แต่เด็กก็ยังไม่ยอมหยุดร้อง เราก็ต้องปล่อยให้เด็กร้อง เมื่อเด็กร้องจนถึงที่สุด มันก็จะหยุดร้องของมันเอง จิตของเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อมันฟุ้งซ่านไม่สงบระงับ จะแก้ไขอย่างไร ก็ไม่สามารถหยุดความนึกคิดปรุงแต่งได้
ก็ต้องปล่อยให้มันฟุ้งไปจนกว่าจะถึงที่สุดของมัน ให้หายใจเข้ามาไว้ในอกให้เต็มที่ แล้วพักไว้จนรู้สึกว่าอกอิ่ม และเกิดความรู้สึกอึดอัด ค่อยๆระบายลมหายใจออก พร้อมทั้งระบายความรู้สึกนึกคิดต่างๆออกไปพร้อมกับลมหายใจ ปล่อยจิตให้ออกไปกับอากาศ ให้มีความรู้สึกรื่นเริงกับอากาศ ให้จิตเกิดความสบาย ให้มันฟุ้งไปกับอากาศ
แต่ปล่อยให้ฟุ้งไปด้วยการตั้งสติอุเบกขาดูอยู่ ปล่อยให้ฟุ้งไปตามอำนาจของมัน เพราะไม่สามารถบังคับมันได้ ตั้งสติตามดูตามรู้จิตอยู่ มันก็จะหยุดฟุ้งเอง เรียกว่าจิตถูกปล่อยให้เป็นอิสระ ได้ระบายออกไป ตั้งสติไว้ที่กาย 3 จุด คือ หน้าผาก ทรวงอก และที่สะโพกสัมผัสพื้น เมื่อเราตั้งสติไว้ที่ 3 จุด กายก็จะทรงนิ่งอยู่ จิตก็จะเกิดพลังงานและสมาธิ ไหลเวียนอยู่ในกาย
ส่วนความรู้สึกที่เมื่อมีสมาธิแล้วหัวหมุนมาก และรู้สึกร้อนที่นิ้วโป้งที่ประสานกัน ก็ปล่อย มีสติตั้งกำหนดไว้ 3 จุด ไม่ต้องกลัว เข้มแข็งไว้ อ่านตามลิ้งค์ข้างล่างประกอบด้วย เคยตอบไว้ในกระทู้หนึ่งเรื่องอาการหมุน
ธรรมะคุ้มครอง
มณี ปัทมะ ตารา
http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=dhammajak&No=1246 |
|
|
|
   |
 |
แอน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
29 มิ.ย.2005, 12:55 pm |
  |
ขอขอบคุณ คุณเจตนาดี คุณปุ๋ย ค่ะ
ไม่ได้มาตอบมิใช่ไม่ได้อ่านนะคะ แต่ว่า ไปเพียรเจริญสติให้มากกว่าเดิมค่ะ
ประมาณวันที่ 6 ของการนั่ง ปรากฎแสงสีเหลืองบริเวณกลางหน้าผาก ข้าพเจ้าก็จับจ้องไปที่แสงสีนั้น สักพักก็หลุดไปเพราะฟุ้งอีกแล้ว
เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ที่โรงเรียนของข้าพเจ้าได้เชิญ คณะอาจารย์มาบรรยายเรื่องพลังออร่า ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้คุยกับอาจารย์ท่านหนึ่งในคณะของอาจารย์ ข้าพเจ้าได้คุยถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าได้นั่งแล้วเกิดปัญหา ท่านบอกว่า "หลวงปู่( จำชื่อไม่ได้) บอกว่า จิตที่สงบ คือ จิตที่ไม่มีอะไรอยู่เลยแม้กระทั่งความคิด" และท่านก็อธิบายเช่นเดียวกับทุกท่านที่บอกข้าพเจ้ามา ข้าพเจ้าพยายามทำตามคำบอก ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามีสตินานขึ้น ปกติข้าพเจ้าจะนั่งเวลา 4 ทุ่ม นั่งนานประมาณ 30 นาทีค่ะ ได้บ้างไม่ได้บ้างก็นั่งไป นั่งให้ชิน
เมื่อสองวันก่อนลูกศิษย์ข้าพเจ้าโทรมาบอก มาเล่า เรื่องวิธีการนั่งสมาธิให้โยมอาจารย์ฟัง "ถ้าโยมอาจารย์ยังฟุ้งอยู่ ง่าย ๆ ให้โยมอาจารย์ เปลี่ยนคำบริกรรม ลองใช้ พุทโธ โดยให้โยมอาจารย์จินตนาการว่า ลากเส้นเพื่อเขียน พ อุ ท โอ ธ และโยมอาจารย์กำหนดไปที่ท้องนะ เพราะสุดท้ายก็ต้องโน้มไปที่ท้องอยู่ดี"
ข้าพเจ้ารับคำ และลองทำดู ทำได้ แต่ว่า กำหนดที่ท้องเท่าไรก็ไม่ได้ พยายามมาสองคืนแล้ว วันนี้จะพยายามอีก ----- ล้มเหลว แต่จะไม่ล้มเลิก เพราะข้าพเจ้ารู้แล้วว่าข้าพเจ้าทำสิ่งนี้เพื่ออะไร ข้าพเจ้าต้องการจะแผ่เมตตาให้คุณพ่อที่ล่วงลับไปแล้วของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องทำได้ ชีวิตอีกยาวไกลนักต้องสำเร็จสักวัน
ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจ และคำแนะนำมา ขอให้ผลบุญนี้คืนสู่ท่านร้อยเท่าทวีคูณเทอญ
สาธุ |
|
|
|
|
 |
เจตนาดีเช่นเดิม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 ก.ค.2005, 11:16 am |
  |
ขอแสดงความคิดเห็นเช่นเดิมครับ การตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติธรรมไม่อยากให้ตั้งใจว่าจะให้เข้าถึงหรือสำเร็จจนได้รับผลใดใด หากใจอยากก็อาจตั้งแบบคร่าวคร่าวได้แต่ไม่อยากให้ถึงกับหวังผลเวลานั้นเวลานี้ครับ แต่สิ่งที่ปราถนาอยากให้ผู้ปฏิบัติทุกคนตั้งเป้าหรืออธิษฐานให้กับการปฏิบัติของตัวเองทุกครั้งก็คือ การขอให้ตนปฏิบัติธรรมได้อย่างต่อเนื่องเป็นที่สุดไม่มีการหยุดด้วยเหตุกรรมใดของตนก็ตาม ยิ่งถ้าสร้างอุดมการณ์ที่แน่วแน่ในการปฏิบัติแบบตั้งเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจนไว้ก่อนเลยยิ่งดีว่าชาตินี้จะขอปฏิบัติมากน้อยอย่างไรว่าให้ตัวเองรับสัตย์แบบจริงจริงจังจังเลย ส่วนวิธีการนั้นหากมีการวางแผนการดำเนินชีวิตอย่างละเอียดจะพบว่าเราสามารถสอดแทรกการปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ วิปัสนาหรืออะไรก็ตามได้ตลอดเวลาแม้นจะเจ็บป่วย มีเหตฉุกเฉินก็ยังสามารถเลี่ยงทำเพื่อให้ตนเองรักษาความต่อเนื่องในการปฏิบัติแม้น้อยนิดในบางวันก็ยังได้ ยิ่งต่อเนื่องบ่อยบ่อยในแต่ละวันได้อย่างผู้ฝึกวิปัสสนายิ่งดีและไวมากครับ
เรื่องอุปสรรคปัญหา ฟุ้งซ่าน จิตตก ศีลขาด หรือแม้กระทั่งทำแล้วเป็นทุกข์บางครั้งล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับผู้ปฏิบัติตลอดเวลาเหมือนธรรมชาติต้องการทดสอบใจว่าจะเลิกทำไหมจะแน่วแน่รักษาการปฏิบัติต่อไปได้อีกนานสักเท่าไหร่ ธรรมชาติก็มีการเลือกสรรผู้จะเข้าถึงมันเหมือนกันผู้ปฏิบัติแท้จริงเท่านั้นถึงจะเข้าถึงจิตอันเป็นแก่นแท้ความจริงของชีวิตได้
ใช้ความมั่นคงในการปฏิบัติควบคู่กับความฉลาดยามสติปัญญามีกำลังค้นหาศึกษาสอบถามฝึกฝนการปฏิบัติจากทุกแหล่งเท่าที่เราทำได้ครับ ไม่แนะนำให้ยึดติดกับผู้สอนหรือผู้สำเร็จแล้วคนใดคนหนึ่งแต่ให้มุ่งไปในสิ่งที่ตนเองคิดว่าทำได้โดยเปิดรับความรู้ที่หลากหลายควบคู่กับการไตร่ตรองแล้วลองกระทำอยู่ทุกครั้งที่มีโอกาส
อยากให้เปรียบการปฏิบัติธรรมเหมือนกับการไขกุญแจเพื่อปลดปล่อยดวงจิตอันบริสุทธิ แต่ละคนจิตก็ถูกล็อคด้วยแม่กุญแจหลายตัวก็คือปัญหาธรรมที่หลากหลายแตกต่างกันไปอยู่ที่ว่าใครจะเสาะหาลูกกุญแจคือธรรมมะได้ตรงกับปัญหาที่ล็อคตัวเองอยู่ทีละตัวได้จนครบเท่านั้น ลูกกุญแจที่ผู้สำเร็จแล้วถืออยู่ หรือผู้ยังไม่สำเร็จถืออยู่ก็มีล้วนแล้วคือธรรมมะสำหรับไขข้องปัญหาทั้งนั้นเพียงแต่เราควรตระหนักด้วยว่าเป็นกุญแจที่เราต้องการหรือไม่ด้วยการไตร่ตรองและปฏิบัติเหมือนการพิจารณาลูกกุญแจแล้วนำมาลองไขทีละลูก บางครั้งเจอกุญแจที่ตรงปัญหาแล้วไขไม่ออกก็มี ก็เพราะธรรมมะในปัจจุบันเสมือนลูกกุญแจปั๊มมีการบิ่นผิดไปไม่ตรงบ้างเราก็ต้องสังเกตดัดแปลงให้มันไขจนออกให้ได้ ส่วนลูกกุญแจแม่ ชาตินี้คงไม่มีใครหาได้พบเพราะพระพุทธเจ้าเท่านั้นท่านถือไว้ครบทุกดอกและหยิบแจกให้กับผู้ที่พระองค์รู้ว่าจะไขมันออกได้ทุกคนในชาติของพระองค์เท่านั้น แต่กระนั้นก็ยังมีผู้ก๊อปxxxกุญแจที่พระองค์แจกไว้เกือบทุกดอกมาให้พวกเราไว้ก็คือพระไตรปิฏกที่เราใช้อ้างอิงกันอยู่ทุกวันนี้ไงครับ
สำหรับเรื่องของจิตนั้นมีจริงหรือไม่ คนที่ผมรู้จักดีที่สุดไว้วางใจที่สุดยืนยันมาว่ามีจริง กว่าเขาจะเริ่มเห็นได้ต้องทำทุกวันมากกว่าห้าปีปัญหาที่คุณพูดทุกอย่างเขาผ่านมาแล้วทั้งหมดเขาแก้มันไม่ได้แต่สุดท้ายก็ได้เห็นผลบ้างแล้วแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเขาหลับหูหลับตาทำไม่ฉลาดจึงไม่ได้ไวเหมือนท่านอื่นที่หมั่นศึกษาหาความรู้มาใช้ปฏิบัติอยู่ตลอดเวลาจนไม่ถึงปีก็เข้าถึงได้ไม่ต่างกันหรือดีกว่า สภาพการเข้าถึงจิตกับสภาพความเข้าใจอย่างการอ่านหนังสือไม่เหมือนกันจริงจริงครับยิ่งกว่าเราหลับสนิทแล้วมีสติรู้ตัวอีกครับ ก็ขอให้คุณแอนรักษาการปฏิบัติจนเข้าถึงความสำเร็จในที่สุดครับ
ขออภัยที่เขียนให้อ่านนานเพราะติดกับความสุขในการบรรยายแม้นความรู้ธรรมมะมีน้อยก็ยังอยากหวังและปราถนาดีให้ผู้อื่นเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติโดยตัวเองก็ติดปล่อยวางไม่ได้สักที หากมีประสบการณ์เพิ่มเติมมาถ่ายทอดเป็นระยะแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นบ้างแล้วกันนะครับ ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติทุกท่านเลยครับ
 |
|
|
|
|
 |
|