Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฟรี..โครงการฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2005, 11:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาต ท่าน web master บอกข่าวประชาสัมพันธ์ แก่พุทธศาสนิกชน

โดยทั่วกัน ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ



โครงการฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน



การศึกษาและปฏิบัติธรรม ตามความเข้าใจของคนทั่วๆไปนั้น ก็คือ จะต้องไปฟังธรรม รักษาศีล และเจริญภาวนากันที่วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจริญภาวนานั้น พุทธศาสนิกชนเกือบทั้งหมด ก็จะเข้าใจว่าการเจริญภาวนา ก็คือ การนั่งสมาธิ หรือวิปัสสนา ในรูปแบบของการนั่งอย่างเดียว ซึ่งจะต้องปลีกวิเวกจากผู้คนหรือสังคมไปหาที่สงบเพื่อที่จะนั่งสมาธิหรือวิปัสสนา อันนี้เป็นจุดอ่อนของการเผยแผ่และศึกษาปฏิบัติธรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปหรือสังคมรอบข้าง มองว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวัน คือจะต้องหลบลี้ผู้คนหรือปลีกตัวออกจากสังคมเพื่อไปหาสถานที่นั่งภาวนา ทำให้หลายๆคนมักจะพูดอยู่เสมอว่าไม่มีเวลา ไม่ว่างที่จะไปปฏิบัติธรรมบ้าง จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทั้งหลายเหินห่างจากพระพุทธศาสนา เพราะเหตุมองว่าคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องไกลตัว และแบ่งแยกต่างหากโดยต้องไปนั่งสมาธิวิปัสสนากันที่วัด หากเราสามารถนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาปฏิบัติให้กลมกลืนกับชีวิตประจำวัน คือให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานเสมอ ในการทำงานหรือการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน โดยการฝึกปฏิบัติและเจริญสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้เบิกบานควบคู่กับการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน และเราช่วยกันเผยแผ่เพื่อเปลี่ยนความคิดหรือ concept ของประชาชนส่วนใหญ่ให้เห็นว่าการปฏิบัติธรรมก็คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เป้นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ หากประชาชนที่ยังห่างไกลจากหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศานาได้ยินคำสอนในลักษณะนี้ ก็จะรู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องที่ไม่ยากและไม่เสียเวลา เพราะทำได้ทุกขณะเวลาและเป็นการปฏิบัติแบบธรรมชาติสบายๆ กลมกลืนกับชีวิตประจำวันจริงๆ คือให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระพุทธศาสนาก็จะเกิดความมั่นคงและรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เพราะประชาชนส่วนใหญ่หันมาประพฤติปฏิบัติธรรมกัน คนไทยส่วนมากมักจะทำอะไรตามๆกัน เมื่อนักปฏบัติทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมโดยการนั่งสมาธิวิปัสสนากันในรูปแบบของการนั่งอยู่แล้ว ได้ศึกษาเพิ่มเติมให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญและพัฒนาสติในการภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ไม่มีรูปแบบ และสามารถปฏิบัติกลมกลืนได้กับการทำงานและการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน อีกทั้งการปฏิบัติด้วยการเจริญสติในชีวิตประจำวันนั้นจะช่วยเสริมการปฏิบัติในรูปแบบของการนั่งให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น และเมื่อฝึกเจริญสติต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน ผลการปฏิบัติก็จะปรากฏให้เห็นเร็วกว่าการนั่งปฏิบัติอย่างเดียว การปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติในฃีวิตประจำวันจึงเหมาะกับประชาชนทั่วไปที่มีมีชีวิตที่เร่งรีบและแข่งขันกันโดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัตน์ หรือยุคข้อมูลข่าวสารนี้ จากหยดน้ำหยดหนึ่งบนใบบัวช่วยกันปลุกระดมธรรม สร้างแนวความคิดหรือ Concept นี้ ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ อาตมาเชื่อว่าเมื่อประชาชนที่ยังห่างเหินจากหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติธรรมที่กลมกลืนกับชีวิตประจำวันเช่นนี้ ก็จะเริ่มหันเข้ามาสนใจศึกษาหลักธรรมและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งและกว้างขวางอย่างจริงจังต่อไปเอง แม้แต่ชาวต่างประเทศซึ่งได้หันมาสนใจพระพุทธศาสนากันมากในแง่ของการฝึกจิตให้มีสมาธิหรือพลังจิต หากได้รับทราบถึงแนวการปฏิบัติเจริญสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอในชีวิตประจำวันอันจะยังให้เกิดความสำเร็จในหน้าที่การงาน ความสุขในครอบครัว ความมีเมตตาเกื้อกูลกันในสังคม ตลอดจนถึงความรักสมานฉันท์อันเป็นพื้นฐานต่อความเจริญและมั่นคงของประเทศชาติส่วนรวมเช่นนี้แล้ว ก็จะหันมาสนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนในพระพุทธศานาเถรวาท ที่ได้รักษาพระธรรมวินัยไว้ตรงตามพุทธวจนะที่มีมาในพระไตรปิฎกดั้งเดิม เพราะประจักษ์ถึงสาระประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงในแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทโดยที่ไม่ต้องไปปรุงแต่งหรือแต่งเติมหลักคำสอนให้เป็นสัทธรรมปฏิรูปแต่อย่างใด



ด้วยแรงบันดาลใจดังที่ได้กล่าวมา อาตมาจึงมีความคิดริเริ่มจัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติเพื่อให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป เนื้อหาของการฝึกอบรมจะเน้นให้รู้จักธรรมชาติของสติและการพัฒนาสติให้เป็นผู้ร้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน โดยจะให้อุบายพร้อมทั้งนำเข้าสู่สมาธิด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นกำลังแก่สติ เพื่อปรับการทำสมาธิของนักปฏิบัติหลายท่านที่ไปติดค้างอยู่ในความนิ่ง และไม่สามารถเดินต่อไปได้ อันเนื่องด้วยสมาธิและสติไม่สมดุลกัน ให้สามรถดำเนินเข้าสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นสัมมาสติและสัมมาสมาธิตามมรรคมีองค์ ๘ พร้อมทั้งบรรยายธรรมและตอบข้อธรรมตามนัยที่อาตมาได้แสดงไว้ในหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนานี้ (หนังสือการพัฒนาสติในการภาวนา ดูได้จาก www.larndham.net หมวดสติปัฏฐาน 4) เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกท่านได้มีความรู้ความเข้าใจในการเจริญสติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ได้ทุกขณะอย่างเป็นธรรมชาติกลมกลืนกับชีวิตประจำวัน การฝึกอบรมนี้จะจัดให้มีขึ้นทุกวันอาทิตย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ๆ โครงการฝึกอบรมจะจัดให้มีขึ้นทุกวันอาทิตย์ และกำหนดเปิดโครงการฝึกอบรมฯ ครั้งแรก ในวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย (เชิงสะพานพระราม 7 ถ.ประชาราษฎร์ จ.นนทบุรี) เวลา 13.00-15.00 น. โดยมีหมายกำหนดการ ดังนี้



13.00-14.00น. สวดมนต์และฝึกสมาธิ—แนะนำการทำสมาธิด้วย ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นกำลังแก่สติ

14.00-15.00น.บรรยายเบื้องต้นให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของการพัฒนาสติในการภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน



สอบถามรายละเอียดและสมัครเข้ารับการฝึกอบรมได้ที่… wimoak@yahoo.com

หรือติดต่อคุณหมอปิยะ โทรศัพท์ 05-8326441

แผนที่ไป บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย กรุณา คลิ๊กไปที่..........
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4257482&a=31502996&p=71904048



ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

วิโมกข์

 
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 มิ.ย.2005, 8:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

lส่ง ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ ขอบคุณค่ะ



http://larndham.net/index.php?showtopic=15296&st=0

 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 07 มิ.ย.2005, 8:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





อนุโมทนาสาธุด้วยครับ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 มิ.ย.2005, 10:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณบัวใต้น้ำอยู่ที่นี่เหรอค่ะ จะได้แวะมาบ่อยๆ พลังจิตช่วงนี้

บางวันเข้าได้ บางวันเข้าไม่ได้ เลยหากิจกรรม ช่วยหลวงพ่อ

นี่เป็นการเปิดอบรมครั้งแรกค่ะ เรียนเชิญทั้งคุณบัว และทุกท่านค่ะ

 
webby
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 มิ.ย.2005, 11:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณดาวประกายใช้พลังจิตได้ด้วยหรอค่ะ ใช้ได้ในลักษณะไหนค่ะ มีเรื่องจะรบกวนถามต่อน่ะค่ะ
 
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 มิ.ย.2005, 12:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต้องขอโทษคุณ webby ด้วยค่ะ ที่เขียนคำสั้นไป นิด คือจะพูดถึงเวปพลังจิตค่ะ

แต่ตอนนี้ก็ อยู่ในช่วงการฝึกสติให้แข็งแรง อย่างที่โครงการหลวงพ่อท่านตั้งใจ

จะเปิดสอนค่ะ



สมาธินิ่ง สงบ และมีสติ รุ้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา เดี๋ยวพลังจิตก้อคงอยู่แค่เอื้อมค่ะ

ตอนนี้เริ่มฝึกหลายอย่างแต่ไม่รีบ และไม่สร้างความอยากรู้อยากเห็น...

และไม่คาดหวังไว้ล่วงหน้าค่ะ วางใจกลางๆให้จิตเราเดินไปเอง

อย่างมีสติและสัมปัญชัญญะค่ะ





ขอบคุณค่ะ...
 
กระต่าย1
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2005, 3:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



อนุโมทนาด้วยคะ
 
สุทธิ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2005, 6:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีมากเลยครับถ้ามีโอกาสจะไปร่วมฝึกอบรมด้วย ตอนนี้ผมก้ฝึกใช้สติในการดำเนินชีวิตประจำวันอยู่ ทำให้แก้ปัญหาโรคขี้หลงขี้ลืมได้มากเลยครับ
 
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2005, 7:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2005, 10:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญพร

เท่าที่เช็ครายชื่อกับโยมตันหยง ขณะนี้มีผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม ประมาณ 40 กว่า คน รบกวนโยมสมบูรณ์ช่วยแจ้งทางบริษัทให้เพิ่มเก้าอี้เป็น 50 ที่นั่งด้วย และคิดว่าเมื่อผู้สมัครครบสัก 50 คน น่าจะปิดรับสมัครได้ ........อนึ่งมีบางท่านที่ได้ให้แต่ชื่อเล่น หรือชื่อจริง แต่ไม่ทราบนามสกุล อาตมาจึงอยากรบกวนช่วยส่งชื่อพร้อมนามสกุลมาให้อาตมาอีกครั้งหนึ่งด้วย ที่ wimoak@yahoo.comเพื่อจะได้เตรียมทำทะเบียนเข้ารับการอบรมในวันงานด้วย ท้ายที่สุดนี้ ก็ขออนุโมทนากับผู้สมัครทุกๆท่าน อาตมาก็ตั้งใจว่าจะเป็นกัลยาณมิตรให้กับทุกท่าน ที่ยังติดขัดหรือมีข้อกังขาในการปฏฺบัติ โดยจะให้อุบายกับทุกท่านอย่างเต็มที่ อย่างน้อย ก็จะช่วยร่นระยะเวลาการปฏิบัติของแต่ละท่านสัก 5ปี หรือ10 ปี เพราะอาตมาเองก็เคยเสียเวลากับการปฏิบัติแบบไม่รู้ทิศทาง อันเหมือนเส้นผมบังภูเขาจริงๆ ก็ขอให้แต่ละท่านลองพิจารณาข้อแนะนำในการปฏิบัติของพระพุทธองค์ 4 ประเภท (ปฏิปทา 4) คือ

1. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา การปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้ช้าและบรรลุยาก

2.ื ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา การปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็วและบรรลุง่าย

3. สุขาปฏิปทา ทันธากิญญา การปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้าและบรรลุยาก

4. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา การปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้เร็วและบรรลุง่าย

การปฏิบัติที่ไม่รู้ทิศทาง ยิ่งรีบก็ยิ่งช้า ยิ่งเร่งก็ยิ่งเหนื่อย เพราะตัวตนของตนขวางการปฏิบัติอยู่ ตัวตนนี้เองที่ทำให้สติไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ แทนที่จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.........ก็กลายเป็น ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งเครียด ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งขี้โมโห ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งเซื่องซึม เชื่องช้า ไม่คล่องแคล่ว ไม่สดใส กลายเป็นการปฏิบัติแบบแบกโลกไว้ทั้งโลก



********************************************************************************

กำหนดการโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็นผู้รู้ ผุ้ตื่น ผุ้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน จะเปิดการอบรมครั้งแรกในวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย (เชิงสะพานพระราม 7 ถ.ประชาราษฎร์ จ.นนทบุรี) เวลา 13.00-16.00 น. โดยมีหมายกำหนดการ ดังนี้ ..............

13.00 -14.00 น. สวดมนต์และฝึกสมาธิ--แนะนำการทำสมาธิด้วยความรู้สึก

ตัวทั่วพร้อมอันเป็นกำลังแก่สติ

14.00 -15.00 น. บรรยายเบื้องต้นให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของการพัฒนาสติใน

การภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในชีวิตประจำวัน

15.00 -16.00 น. ปรึกษาหารือ งานเผยแผ่ธรรมร่วมกับสมาชิกที่สนใจทุกท่าน

ท่านผูสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถแสดงความจำนงค์แจ้งชื่อได้ในกระทู้นี้

หรือ สมัครเข้ารับการฝึกอบรม โดยอีเมล์ไปที่……. wimoak@yahoo.com

แผนที่ไป บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย กรุณา คลิ๊กไปที่..........
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4257482&a=31502996&p=71904048

 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2005, 7:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณดาวประกาย ทักใครหรอ...ชื่อคุณบัวใต้น้ำ !!?



ถ้าทักผม คงทักคนผิดแล้วล่ะ เพราะไม่เคยไปแสดงความคิดที่เว็บพลังจิต นะครับ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2005, 10:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



20992099.jpg


ขอโทษค่ะ



เห็นคำว่า..บัวใต้น้ำ แล้วก็จุดเขียวๆ เลยคิดว่าเป็นนามแฝง

ซึ่งที่โน่นก็มีชื่อนี้ค่ะ คิดว่าออกมาเปิดเวปเอง

เขิลล์ล์..เยย



งั้นขอโพสรุปอีกนิดนะค่ะ เพื่อให้เห็นว่า งานนี้ มีตัวตนจริงค่ะ

ขอบคุณมากนะค่ะ ที่นี่ น้ำใจงามมากๆ เลยค่ะ ขอให้เวป เจริญ

รุ่งเรือง สมความปรารถนาที่จะถ่ายทอด พุทธธรรม นะค่ะ


http://www.vimokkhadhamma.com/









 
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2005, 11:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



42324232.jpg






 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2005, 10:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เขินเหมือนกัน โดนชม



มีตัวตนด้วย แต่ไม่เห็นหน้าตาเลย



- บัวใต้น้ำ เป็นชื่อจัดอันดับสมาชิก ตามจำนวนที่ได้ความคิดเห็น หรือโพสกระทู้ นะครับ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มิ.ย.2005, 11:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



71487148.jpg


นึกแล้ว ว่าเราต้องเข้าใจผิด



แหะๆ..ผิดไปแย้ว..แต่



งั้น.มาดูหน้าตา ส่วนหนึ่งของผู้เข้าอบรม

* ต้องขอโทษผู้ที่เป็นดาราหน้ากล้องด้วยนะค่ะ*



 
ป้าแก้ว
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2005
ตอบ: 7

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2005, 1:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





อนุโมทนาด้วยนะค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2005, 5:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบ้านสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน

เจริญพร

อาตมาขอให้การบ้านแก่นักเรียนทุกคน ได้ไปทบทวนทำการบ้าน ดังที่ได้แนะนำและให้อุบายในการเจริญสมาธิภาวนาด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นกำลังแก่การพัฒนาสติ ดังต่อไปนี้...............

1.เริ่มต้นด้วยการนั่งในท่านั่งที่ผ่อนคลาย สบายๆ ทำความรู้สึก เหมือนว่าเรากำลังนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อนรับลมโชยเย็นๆอยู่ชายทะเล พร้อมกับนั่งมองดูวิวทิวทัศน์ท้องทะเล ด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่ตื่นรู้ สดชื่น ิเบิกบาน (เพื่อปลุกตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ให้ตื่นขึ้น) ต่อไปให้ย้อนความรู้สึกเข้าไปสำรวจร่างกาย รู้สึกถึงร่างกายทุกส่วนให้มีการผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีสวนใดเกร็ง ไล่ไปตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า ถ้าตึงเกร็งก็ให้ผ่อนคลาย ไหล่ แขน ลำตัว ถ้าตึงเกร็ง ก็ให้ผ่อนคลาย ก้น ขา จนจรดปลายเท้าให้รู้สึกผ่อนคลาย สบายๆ ส่วนใดตึงเกร็ง ก็ให้ผ่อนคลาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน และรู้สึกถึงร่างกายทั้งหมดเป็นองค์รวมแบบเคร่าๆ รู้สึกถึงรูปกายที่นั่งอยู่ หรืออาจรู้สึกจนเหมือนเห็นรูปกายที่กำลังนั่งอยู่ และผ่อนคลายไปเรื่อยๆ จะรู้สึกถึงความสงบรำงับของร่างกาย เมื่อกายรำงับ จิตก็จะรำงับ สงบเอง เป็นไปอย่างธรรมชาติ

2. เมื่อผ่อนคลายร่างกายไปสักระยะ จะรู้สึกถึงลมหายใจเบาๆ ระเรื่อ ผ่านเข้า ผ่านออก สบายๆ และรู้สึกได้โดยไม่ต้องกำหนด

3.ให้รู้สึกถึงลมหายใจอย่างแผ่วเบา ละเอียด ประณีต ผ่านเข้า ผ่านอก เบา ละเอียด นุ่มนวล ประณีต .......เบา ละเอียด นุ่มนวล และประณีตมากขึ้นๆๆๆๆ...และ รู้สึกลมหายใจที่เบา ละเอียด ประณีตนี้ได้โดยไม่ต้องเพ่งหรือกำหนดแต่อย่างใด คือรู้สึกเองแบบสบายๆ อย่างเป็นธรรมชาติ

4. เมื่อรู้สึกถึงลมหายใจผ่านเข้า ผ่านออก อย่างแผ่วเบานี้ได้โดยไม่ต้องกำหนด ก็ให้หลับตาเบาๆ เพียงแค่ผนังตาปิดเบาๆ แล้วประคองให้ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ลอยอยู่ช่วงบนประมาณเหนือไหล่ขึ้นไป ระวังอย่าให้ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้นี้ไหลลงต่ำตกสู่ภวังค์ คือ เสมือนหนึ่งตาภายนอกหลับ แต่ความรู้สึกภายในยังตื่นอยู่เหมือนยังลืมตาอยู่ (หลับตานอก แต่ความรู้สึกภายในยังคงตื่นรู้ สดชื่นเบิกบาน เสหมือนหนึ่งความรู้สึกตื่นรู้ สดชื่น เบิกบาน ขณะรับลมโชยทะเลเย็นสบายและมองดูวิวทิวทัศน์ของทะเลอย่างเบิกบาน สดชื่น เบาสบาย)

5.ให้มีความรูสึกตัวทั่วพร้อมทั่วสราพางค์กายด้วยอาการตื่นรู้ ด้วยสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกที่เรากำลังประคองอยู่ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไป อาจจะอยู่บริเวณใบหน้า หรือบริเวณศีรษะ หรือรอบๆศีรษะ และประคองความรู้สึกนี้ไปเรื่อยๆ คือมีสติเฉพาะหน้า ด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจริงๆ โดยให้สมาธิ สติ และสัมปชัญญะขนานกันไป อย่างต่อเนื่อง ระวังไม่ให้เผลอสติ เพราะถ้าเผลอสตินิดเดียว สำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้จะไหลลงต่ำตกสู่ภวังค์ได้ในที่สุด

6. ให้ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม พร้อมกับรู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกแผ่วเบา ทุกระยะ จนเกิดความรู้สึกตัวทั่วถึงที่เป็นไปในภายใน คือ รู้สึกถึงอาการของใจ อาจจะเป็นปีติ อิ่มเอิบ หรือรู้สึกถึงไออุ่น ไอเย็นที่แผ่ซ่านอยู่ภายใน หรือรู้สึกถึงแรงดึงอันเนื่องจากความผูกพันด้วยตัณหาอุปาทาน และอาจจะรู้สึกถึงอาการคลายออกของแรงดึงดังกล่าว และค่อยๆ รู้สึกถึงความจางคลาย ความคลายออก โล่งโปร่งเบาสบาย ด้วยการละวางอาการทางใจไปทีละน้อยๆๆ

7.เมื่อรู้สึกถึงอาการทางใจที่เป็นไปในภายในอย่างทั่วถึงและชัดขึ้นๆๆ จะเกิดการปล่อยวาง และละวางความรู้สึกของร่างกายหรือความรู้สึกทั่วสรรพางค์กายอันเป็นไปภายนอกเองโดยอัตโนมัติ เหลือแต่ความรู้สึกถึงอาการทางใจที่เป็นไปในภายในล้วนๆ ขณะเดียวกัน ให้รู้สึกถึงอาการของลมหายใจที่ละเอียดแผ่วเบาๆๆไปตามลำดับพร้อมกันไปด้วย อันจะช่วยให้อาการทางใจค่อยๆคลายออก จางคลายไป จนเกิดสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกล้วนๆ ลอยอยู่ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไปหรืออยู่เหนือกายนี้

8. เมื่อรู้สึกถึงตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ที่ค่อยๆรวมตัวกันและลอยอยู่เหนือไหล่ อยู่เฉพาะหน้า ชัดขึ้นๆๆ ให้ค่อยๆปล่อยวางอาการทางใจที่เป็นความรู้สึกอยู่ภายใน ค่อยๆปล่อยวางไปทีละน้อยๆ ไปตามลำดับ จะรู้สึกถึงสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้ชัดขึ้นๆ เหมือนกับลอยอยู่โดยไม่มีกาย ไม่มีศีรษะ ไม่มีใบหน้า เสมือนหนึ่งใจผู้รู้ล้วนๆ ลอยอยู่เหนือร่างกาย เหนือขันธ์ 5 และให้รู้สึกถึงลมหายใจที่แผ่วเบาละเอียดมากขึ้นๆๆ โดยรู้สึกอยู่ในสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้ จนสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้จะค่อยๆชัดขึ้นๆๆ ผ่องใส ขึ้น แจ่มใสขึ้น และพัฒนาไปเป็นใจผู้รู้ที่เป็นใจผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นอิสระ ลอยอยู่เหนือร่างกายหรือเหนือขันธ์ 5 จนเสมือนหนึ่งไม่มีกาย (กายหาย เหลือแต่จิตล้วนๆ ที่ค่อยๆ ผ่องใส แจ่มใส และค่อยๆ ฉายแสงจิตออกมาตามลำดับ)

9.มีสติระลึกรู้อยู่ในสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับค่อยๆปล่อยวางร่างกาย ละวางตัวตน เช่น ให้รูสึกในใจว่าตัวเราไม่ใช่ของเรา และ ไม่เสียดายชีวิต แม้ว่าจะตกอยู่ท่ามกลางสิงสาราสัตว์ที่ดุร้าย คอยจ้องเอาชีวิตอยู่เบื้องหน้า ตายเป็นตาย ทิ้งกายเนื้อ เหลือแต่จิตหรือใจผู้รู้ล้วนๆ จนจิตเป็นอิสระ เหลือแต่จิตหรือใจผู้รู้ล้วนๆเป็นอิสระจากร่างกายไปโดยลำดับ ต่อจากนั้นให้สลับด้วยการแผ่เมตตา เพื่อเป็นการลดละความมีตัวตน อันเป็นกำลังแก่สติ เพื่อให้สามารถคงสภาวะการรับรู้อย่างเป็นกลางๆ หรืออุเบกขา ไม่ให้จิตไหลไปกับสิ่งที่ถูกรู้ และตระหนักได้ว่า ใจผู้รู้ก็ส่วนหนึ่ง สิ่งที่ถูกรู้ก็ส่วนหนึ่ง ลมหายใจละเอียดก็ส่วนหนึ่ง กายก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง เห็นสภาวะแยกรูปแยกนามในลักษณะที่ซ้อนๆกันอยู่ และให้ใจผู้รู้นี้ไปพิจารณากายให้เห็นเป็นอสุภะ เน่าเปื่อยผุพัง เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟไปตามลำดับ เห็นสภาวธรรมทุกอย่างไปตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตน จนเกิดความคลายออก ความจางคลายของความผูกพัน เยื่อใย อาลัย อาวรณ์ อันเกิดจากแรงตัณหาอุปาทาน จนเกิดใจผู้รู้ที่อยู่เหนือขันธ์ 5 อยู่เหนือสมมติบัญญัติทั้งหลาย

10.ก่อนออกจากสมาธิ ให้ค่อยๆถอยสมาธิออกมาจากจิตมาสู่ความรู้สึก และถอยออกจากความรู้สึกมาสู่กายด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมตามลำดับ และจดจำสภาวะ อาการ ความสงบ ความรู้สึก และความเป็นไปของใจในขณะที่เจริญภาวนาดังกล่าว เพื่อว่าครั้งต่อไปที่เราเจริญภาวนา จะได้ไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติจะได้น้อมใจเข้าสู่ความสงบได้ภายในเพียงชั่วไม่กี่นาที หรือไม่กี่วินาที จนถึงเพียงชั่วลัดนิ้มมือ

11.ต่อไปค่อยๆเรียกความรู้สึกตามเนื้อตามตัวทุกส่วนทั่วสรรพางค์กายคืนมาปกติ วางมือไว้บนหัวเข่าทั้งสองโดยหงายฝ่ามือออก แล้วแผ่เมตตา

12. จากนั้น ค่อยๆ ลืมตา เบาๆ และออกจากสมาธิได้

ขอให้นักเรียนทุกคน หมั่นทบทวน ก่อนจะเข้าชั้นเรียนครั้งต่อไปนะ

ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

วิโมกข์

***********************************************************************************************

กำหนดการโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็นผู้รู้ ผุ้ตื่น ผุ้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน จะเปิดการอบรมครั้งต่อไปในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย (เชิงสะพานพระราม 7 ถ.ประชาราษฎร์ จ.นนทบุรี) เริ่มเวลา 11.30 น.(หลังเพล) เป็นต้นไป เผื่อว่าท่านใดที่ต้องการไปร่วมงานบ้านคนชราของคุณโชติปาละในกระทู้http://larndham.net/index.php?showtopic=15249&st=0หลังจากอบรมครึ่งแรกแล้ว จะลาไปร่วมกิจกรรมที่บ้านบางแคได้



ท่านผูสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถแสดงความจำนงค์แจ้งชื่อได้ในกระทู้นี้

หรือ สมัครเข้ารับการฝึกอบรม โดยอีเมล์ไปที่……. wimoak@yahoo.comหรือโทรศัพท์ 05-8326441

แผนที่ไป บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย กรุณา คลิ๊กไปที่..........
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4257482&a=31502996&p=71904048



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2005, 12:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



69036903.jpg


ปุจฉา-วิสัชชนา การพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน



ปุจฉา : ได้รับเมลการบ้านแล้ว ขอบคุณมากค่ะ จะนำไปฝึกค่ะ หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสลองฝึกตามที่หลวงพ่อสอนบ้างค่ะ แต่ปรากฎว่า ไม่สงบนื่งเหมือนตอนฝึกกับหลวงพ่อค่ะ ... เหมือนจิตผู้รุ้ไม่ค่อยตื่น ไม่ค่อยเบิกบานค่ะ มันฝืดๆ อึดอัดค่ะ เหมือนตามรุ้ลมหายใจได้อย่างเดียว



วิสัชชนา : ให้ลองรู้สึกถึงลมหายในสำนึกรู้ หรือในตัวรู้สึกที่หลวงพ่อได้แนะนำให้ประคองอยู่ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไป แล้วจะเป็นธรรมชาติมากขึ่น ไม่อึดอัด และจิตรู้จะตื่นขึ้นมาเอง





ปุจฉา : ดิฉันได้เข้ารับการอบรมครั้งแรก รู้สึกว่าได้รับคำแนะนำที่ประทับใจ เหมาะกับจริตของตัวเองจะขอตั้งใจฝึกปฏิบัติไปจนสุดความสามารถ ตามเวลาและโอกาสขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อที่กรุณาสั่งสอนประสบการณ์ และยังห่วงใยให้การบ้าน ดิฉันตั้งใจจะไปอีกในการอบรมครั้งที่ 2 แต่ยังกังวลเรื่องเวลา หากจัดเวลาได้ทันคงจะเป็นบุญตัวเองที่ได้ฝึกอบรมต่อเนื่อง ตามที่ดิฉันได้ลองนั่งตั้งสติตามที่หลวงพ่อนำแล้วรู้สึกดีมาก สติตั้งมั่นดี เกิดตัณหาไปว่าหากได้เทปนำปฏิบัติของหลวงพ่อมาฝึกที่บ้าน เวลาที่ตนสะดวก เช่นเช้า ๆ หรือกลางคืนหลังจบภาระกิจทางโลกแล้ว คงจะดีไม่ใช่น้อยเลย... ไม่ทราบว่าจะเป็นไปได้หรือไม่เจ้าคะ



วิสัชชนา : ขออนุโมทนาด้วย แต่ถ้าช่วงนี้มีเวลา ก็ควรจะมาต่อเนื่อง เพราtหลวงพ่อตั้งใจว่าจะพยายามแนะนำให้สามารถรู้ถึงสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกของตัวเอง เพื่อจะได้พัฒนาต่อไปเป็นใจผู้รู้ อันถึงพร้อมด้วยญาณทัสนะและปัญญาความแจ่มแจ้งไปโดยลำดับ ส่วนเรื่องเทปนั้น ก็ลองสอบถามที่โยมนิวสมบูรณ์ดู เพื่อจะได้ให้โยมนิวสมบูรณ์ประสานงานต่อให้ เพราะเห็นทางบริษัทสัมพันธ์ประกันภัยอัดไว้ทั้งเทปและวีดีโอ





ปุจฉา : ขออนุโมทนาบุญกับท่านด้วย ได้ไปเข้าร่วมอบรมกับท่านแล้วเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ได้เพิ่มความเข้าใจยิ่งขึ้นและนำมาปฏิบัติต่อที่บ้าน สังเกตุได้ว่าจิตตื่นอยู่ตลอดเวลาที่นั่ง คอไม่ก้มลงเหมือนเมื่อก่อน สามารถนั่งได้นาน75~90 นาที ช่วงระยะเวลา 1 ชั่วโมงแรกจะไม่มีเวทนาเข้ามาแทรกเลย เฉยนิ่ง จับลมหายใจเข้าออกได้ แต่ลมจะหายไปจนแทบไม่รู้สึกหลังครึ่งชั่วโมงไปแล้ว คือมันจะเบามากแทบไม่รู้กระทบที่ปลายจมูก พอเลยชั่วโมงไปความเจ็บปวดค่อย ๆ มาและรุนแรงชัดขึ้ แต่ก็พอทนได้ และพยายามเพ่งอยู่กับลมต่อไป ในขณะเดียวกันก็ชำเลืองมองดูเวทนา ก็เห็นว่าบางครั้งเวทนาก็ค่อย ๆ เลือนไป บางครั้งก็เก็บจี้ด ๆ มองสลับไปสลับมาระหว่างลมกับความปวด ทำอย่างนี้จนหมดเวลา ไม่ทราบว่าปฏิบัติถูกต้องหรือไม่



วิสัชชนา : โยมทำถูกแล้ว ก็แค่ค่อยชำเลืองถึงเวทนา หรืออาการทางใจอื่นๆ ตามแต่ที่มันจะเกิดขึ้น แล้วก็ค่อยๆ วางเวทนาและอาการทางใจไปทีละน้อยๆ แต่ข้อสำคัญให้ประคองตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ไว้ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไปอยู่เสมอ เพราะความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจะเริ่มมารวมเป็นหนึ่งที่ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้นี้ และเราก็จะวางร่างกาย วางเวทนาและอาการทางใจต่างๆไปเอง แต่ข้อสำคัญอย่าไปเพ่งลม อย่าเพ่งตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ ให้เค้าค่อยๆรวมตัวและรู้สึกว่าตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ชัดขึ้นและเค้าจะพัฒนาไปเป็นใจผู้รู้เอง สำหรับลมหายใจ ไม่ต้องไปกำหนดจุดกระทบแล้ว แค่รู้สึกถึงความรู้สึกที่ลมผ่านเข้าออกในโพรงจมูก คือ รู้อยู่ที่ความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของลมเข้าออกแบบเบาๆ สบายๆ และต่อเนื่อง รู้เองในอาการที่ผ่อนคลาย อย่าเผลอไปจ้องหรือเพ่ง และหมั่นสังเกตุตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้จะค่อยๆชัดขึ้น และอย่ารีบร้อนทิ้งลม ให้รู้ลมอยู่ในตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้นี้ จะได้รู้สึกถึงลมแม้จะละเอียดมากๆ ก็ยังรู้สึกได้





ปุจฉา : ดิฉันเป็นนักปฏิบัติธรรมหน้าใหม่ เคยฝึกแบบ “พองหนอ-ยุบหนอ”

และการกำหนดปัจจุบันธรรม ตรงตามทวารทั้ง 5 เคยเข้าหลักสูตรปฏิบัติแบบ 7 คืน 8 วัน มาแล้ว ผลคือปลูกศรัทธาในพระพุทธศาสนา จากเดิมที่ไม่เคยสนใจเรื่องพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติเลย ระหว่างปฏิบัติดิฉันจะนอนไม่หลับเลย ทุกครั้งที่จบหลักสูตรการปฏิบัติดิฉันจะมีอาการเป็นไข้ และจิตแข็งๆๆ ทื่อๆๆ ไม่ผ่องใสเลย

ต่อมาดิฉันได้มาอ่านเจอในเว็บไซด์ลานธรรม เรื่องหลักสูตรการพัฒนาจิตที่ท่านอาจารย์ได้จัด และได้เข้าร่วมการฝึกปฏิบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา แต่ดิฉันยอมรับว่ายังไม่ใคร่เข้าใจในการปฏิบัติที่ท่านอาจารย์สอน จึงมีปัญหาที่จะสอบถามท่านอาจารย์ทาง e-mail ฉบับนี้ เนื่องจากอายในความเขลาของตนเอง ถ้าจะถามในเว็บลานธรรมและเกรงจะเป็นการเสียเวลาของ สมาชิก ท่านอื่นๆ ดังนี้

1. ในชีวิตประจำวัน เคยแต่กำหนดปัจจุบันธรรม ตามสิ่งที่มากระทบ แล้วแต่ว่าสิ่งใดปรากฏชัดเจน ถ้าปฏิบัติตามท่านอาจารย์แนะนำ ไม่ต้องกำหนดใช่หรือไม่ ตัวอย่างเช่น เวลาเคี้ยวอาหาร กำหนดเคี้ยวหนอ รสหนอ กลืนหนอ หรือ ขวาหนอ ซ้ายหนอ ยกหนอ ย่างหนอ อย่างนี้เป็นต้นและถ้าปฏิบัติตามที่ท่านอาจารย์สอน ดิฉันก็ไม่ต้องกำหนด ใช่หรือไม่ และต้องปฏิบัติอย่างไร

2. ไม่ต้องเดินจงกรมใช่หรือไม่ แต่ให้นั่งสมาธิ โดยสติระลึกรู้ตลอดทั้งกาย

3. ตอนที่ท่านอาจารย์นำปฏิบัติ ให้ยกจิตขึ้นสูง และรู้การหายใจเข้า-ออก และตั้งจิตให้สูงไม่ให้ตกภวังค์ และ ต่อมาพิจารณา กาย มองเห็นแยกเป็นส่วนๆ ดิฉันไม่เห็นตัวผู้รู้หรอกค่ะ การฝึกหัดรอบแรกดิฉันก็ง่วงตั้งแต่ยังไม่ได้ฝึกจนรอบที่ 2 รู้สึกจิตมันจะนิ่งๆ แต่ไม่ตกภวังค์ จนเกือบปลายๆ จิตจึงเริ่มไหลลง แต่ไม่สามารถพิจารณาอนิจจังอย่างที่ท่านอาจารย์แนะนำ ไม่ทราบว่าปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ และคำถาม ถ้าเราฟุ้งซ่านจะทำอย่างไร หรือแค่ตามดูไปเรื่อยๆ จนกว่าเขาจะดับไปเอง แต่ดิฉันจะติดการกำหนด ขออนุญาตเรียนถามท่านเพียง 3 ข้อ ในเบื้องต้นก่อน



วิสัชชนา : การปฏิบัติธรรมแล้วจิตแข็งๆ ทื่อๆ และไม่ผ่องใส เกิดจากการกำหนดแบบตั้งใจเกินไป ทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนกับการไปจิกกำหนด จนเกิดอาการทื่อๆ ซึ่งควรจะต้องปรับเสียใหม่ โดยการไม่ต้องกำหนดเลย คือเพียงแค่ระลึกรู้อยู่ในความรู้สึกหรือรู้สึกเบาๆที่สุดถึงอาการพองยุบด้วยการประคองตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ให้ลอยอยู่ช่วงบนบริเวณเหนือไหล่ขึ้นไป ไม่ให้ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ไหลลงต่ำ เพราะจะทำให้เผลอตกสู่ภวังค์ได้ง่าย คำว่ากำหนดนั้น หลายคนไปกำหนดด้วยอาการที่ตั้งใจเกินไป อาตมาจึงใช้เพียงรู้สึกเบาๆที่นิ่มนวลเป็นธรรมชาติมากที่สุด หรือจะเรียกว่าการกำหนดของอาตมาคือรู้สึกเบาๆ หรือ จะเรียกว่าไม่กำหนดก็ได้ คือ แค่รู้สึกก็พอ ผู้ที่ปฏิบัติพองยุบหลายคน จะเหมือนหุ่นยนต์ ทื่อๆ ไม่เป็นธรรมชาติ จึงไม่ผ่องใส และ การกำหนดโดยตั้งจิตไว้ที่ท้องพองยุบ อันนี้ ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้จะไหลลงต่ำหรือตกสู่ภวังค์ได้ง่าย ตัวรู้สึกนี้เป็นตัวภาวนา ไม่ใช่พองยุบ ไม่ใช่พุทโธ ไม่ใช่ลมหายใจ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงอุปกรณ์เพื่อให้เข้าถึงตัวรู้สึกหรือใจผู้รู้เท่านั้น หากตัวรู้สึกไหลลงต่ำก็จะถูกนิวรณ์ 5 โดยเฉพาะความง่วงครอบงำได้ง่าย แต่หากตัวรู้สึกลอยอยู่อันเป็นผลจากการละวางร่างกาย เหลือแต่ตัวรู้สึกลอยอยู่ช่วงบน และประคองตัวรู้สึกนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องรีบ ในที่สุด ตัวรู้สึกนี้ จะพัฒนาต่อไปเป็นใจผู้รู้ ที่ถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะ วิปัสสนาญาณ 9 โสฬสญาณ หรือญาณ 16 ได้เองโดยลำดับ

ส่วนการเดินจงกรมนั้นเป็นสี่งที่สำคัญยิ่งไม่น้อยกว่าการนั่ง เพียงแต่เดินด้วยอาการรู้สึกตัวทั่วพร้อม จะกำหนดก็ได้ แต่กำหนดเพียงรู้สึกเบาที่สุด โดยเดินแบบผ่อนคลาย relax ที่สุด พึงให้เข้าใจด้วยว่า การกำหนดเป็นเหมือนบทเรียนชั้นประถม แต่พอขึ้นชั้นมัธยม ให้วางการกำหนดเฉพาะที่ มาเป็นการรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กาย คือ รู้สึกถึงการก้าวย่างและรู้สึกถึงรูปกายเคร่าๆ ที่กำลังเดินด้วย เพราะความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนี้จะพัฒนาต่อไปเป็นใจผุ้รู้ที่ถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะ แต่การกำหนดเฉพาะที่นั้น เหมือนเรียนชั้นประถม ซึ่งเหมือนการไปกำหนด จัดแจง หรือ ควบคุม ซึ่งยังเป็นเรื่องของสมถะ ฉะนั้น ในสายพองยุบสายพม่าโดยตรงนั้น จะสอนการกำหนดในเบื้องต้น และต่อจากนั้นก็ละวางการกำหนด เหลือรู้อย่างเดียว

การแก้ใขการยึดติดกับการกำหนด ขอให้ลองมาเดินจงกรมแบบพุทโธ คือ เดินปกติธรรมดา ไม่เร็วไป ไม่ช้าไป แล้วพุทโธอยู่ในใจ ไม่ต้องสนใจว่า ก้าวซ้าย พุธ หรือ ก้าวขวา โท คือจิตภาวนาพุทโธ (เร็วๆก็ได้ แต่ภาวนาให้อยู่ในใจในความรู้สึกจริงๆ) และขณะเดินก็ให้รู้สึกถึงอาการก้าวย่างและรูปกายเป็นองค์รวมแบบรู้สึกเคร่าๆทั่วสรรพางค์กาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการฝึกแยกจิต แยกความรู้สึก คือ จิตผูกอยู่กับคำบริกรรมพุทโธ ความรู้สึกอยู่กับความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอกคืออิริยาบถเดินขณะเดินจงกรม และความรู้สึกอันเป็นไปในภายในคืออาการทางใจ ซึ่งกำลังผุดๆ โผล่ๆ และค่อยๆสงบระงับไปโดยลำดับเพราะจิตผูกติดกับพุทโธ จึงไม่อาจไหลเข้าไปในความคิดนึกปรุงแต่งได้ สติก็ระลึกรู้ความรู้สึกอันเป็นไปทั้งภายนอกทั่วสรรพางค์กายและความเป็นไปในภายในคืออาการความรู้สึกทางอีกชั้นหนึ่ง เป็นอันสมบูรณ์ด้วยองค์ 3 คือ อาตาปี สัมปชาโน สติมา คือ มีสติระลึกรู้ความรู้สึก ด้วยความเพียร หรือ ทำต่อเนื่อง หลวงพ่อขอทบทวนอีกครั้ง ให้ใช้ตัวรู้สึก รู้สึกถึงกาย รู้สึกถึงเวทนา รู้สึกถึงจิต รู้สึกถึงธรรม แล้วใช้สติระลึกรู้ความรู้สึกที่เป็นไปในกาย ที่เป็นไปในเวทนา ที่เป็นไปในจิต ที่เป็นไปในธรรม อีกชั้นหนึ่ง สติและสัมปฃัญญะจึงเดินคู่กันเสมอ และสัมปฃัญญะคือตัวปัญญาตามที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้อธิบายไว้ ก็เป็นไปตามนัยดังกล่าว คือ สติระลึกรู้ความรู้สึก หรือ ระลึกรู้ในความรู้สึก ทำให้เกิดปัญญา = สติ+สัมปชัญญะ >>>> เกิดปัญญา .......สติ + สัมปชัญญะ + ความเพียร จึงเป็นอุบายอันแยกคายที่พระพุทธองค์ทรงให้ไว้ในการเจริญสติปัฎฐาน 4 ฉะนั้น การกำหนดที่ถูกต้อง คือ การระลึกรู้ความรู้สึกอันเป็นไปในกาย เวทนา จิต ธรรม ดังที่ได้อธิบายมาพอเป็นสังเขป

ตอบคำถามสุดท้าย การที่โยมยังไม่สามารถพิจารณากายตามที่อาตมานำได้ เพราะตัวรู้สึกของโยมยังเคยชินกับการไหลลงต่ำตกสู่ภวังค์ เห็นได้จากเกิดความง่วงในช่วงแรก และช่วงหลังอาจจะดีขึ้น แต่ก็ดีขึ้นได้ชั่วขณะ และไหลลงสู่ภวังค์อีก ทำให้ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ไม่สามารถพัฒนาต่อไปเป็นใจผู้รู้ได้ ถ้าเป็นไปได้ อยากแนะนำโยมให้เจริญอานาปานสติแทน (รู้สึกลมหายใจเข้า-ออกในโพรงจมูก แบบเบาๆ นุ่มนวล สบายๆ โดยไม่ต้องบริกรรมพุทโธ) เพราะเมื่อเราเปลี่ยนฐานของจิตมาที่ลมหายใจในโพรงจมูกซึ่งอยู่ช่วงบน จะเป็นการแก้ปัญหาของโยมที่ยังไม่สามารถประคองตัวรู้สึกได้ ตอนนี้ควรจะแก้ไขเช่นนี้ก่อน จนกว่าตัวรู้สึกของโยมจะมีกำลังไม่ไหลลงต่ำ เมื่อถึงเวลานั้น โยมจะหันกลับมาใช้พองยุบภายหลังก็ได้



*************************************************************************************************************

กำหนดการโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็นผู้รู้ ผุ้ตื่น ผุ้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน จะเปิดการอบรมครั้งต่อไปในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย (เชิงสะพานพระราม 7 ถ.ประชาราษฎร์ จ.นนทบุรี) เริ่มเวลา 11.30 น.(หลังเพล) เป็นต้นไป เผื่อว่าท่านใดที่ต้องการไปร่วมงานบ้านคนชราของคุณโชติปาละในกระทู้http://larndham.net/index.php?showtopic=15249&st=0หลังจากอบรมครึ่งแรกแล้ว จะลาไปร่วมกิจกรรมที่บ้านบางแคได้



ท่านผูสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถแสดงความจำนงค์แจ้งชื่อได้ในกระทู้นี้

หรือ สมัครเข้ารับการฝึกอบรม โดยอีเมล์ไปที่……. wimoak@yahoo.com

หรือโทรศัพท์ 05-8326441 แผนที่ไป บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย กรุณา คลิ๊กไปที่..........
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4257482&a=31502996&p=71904048

*****************************************************************************************************************
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2005, 5:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิง (วิโมกข์ @ 18 มิ.ย. 48 - 09:35)

เจริญพร



อาตมาขออนุโมทนาต่อทุกท่านที่ได้สมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์ที่ 19 มิ.ย. นี้ ซึ่งได้สมัครโดย email มาที่อาตมาประมาณ 50 คน และจากประสบการณ์ครั้งก่อน ในวันสุดท้ายคือวันนี้ ก็จะมีผู้ตัดสินใจเอาวันสุดท้าย และมาสมัครเพิ่มเติมอีกหลายท่าน และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้สมัครแต่ก็มาสมทบซึ่งอาจจะเป็นเพราะเพื่อนชวนมาและอยากมาสังเกตุการณ์ดู ทำให้ครั้งก่อนที่มีผู้สมัครประาณ 40 กว่าท่าน แต่มากันจริงๆ ประมาณ 70 ท่าน ซึ่งอาตมาก็ยินดีต้อนรับและขออนุโมทนาต่อทุกๆท่าน แต่ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้ที่เพิ่งทราบข่าวและมาตัดสินใจในวันสุดท้าย ได้กรุณาสมัครโดยโทรศัพท์ หรือ email ตามรายละเอียดท้ายนี้





(วิโมกข์ @ 18 มิ.ย. 48 - 09:35)



กราบนมัสการพระอาจารย์วิโมกข์ครับ ยอดสมัครที่ส่งรายชื่อไปทางพระอาจารย์มีประมาณ 50 ท่านขณะนี้ ยอดที่มาจริงน่าจะเป็นประมาณ 70 ท่าน อีกทั้งมีเจ้าหน้าที่ของมิตซูโตโมขอเข้าร่วมเรียนครั้งนี้อีกประมาณ 10 ท่าน จึงรวมแล้วน่าจะเป็นประมาณ 70 - 80 ท่าน



ขอให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการอบรมครั้งวันที่ 19 มิ.ย. 48 นี้ กรุณารับประทานอาหารก่อนเข้ารับการอบรมให้เป็นที่เรียบร้อย เพราะการอบรมของท่านพระอาจารย์วิโมกข์มักจะเป็นการอบรมแบบยาว และไม่มีช่วงพัก อีกทั้งบริเวณสะพานพระราม ๗ ที่เป็นที่ตั้งของบริษัทสัมพันธ์ประกันภัยนั้นหาอาหารทานได้ยากมาก จึงควรรับประทานมาจากบ้านจะเป็นการดีที่สุดครับ

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
บุญรักษา
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 22 มิ.ย. 2005
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2005, 12:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีจังค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง