Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วิธีทำบุญให้ได้ผลอันประเสริฐ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Ae
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 26 เม.ย. 2005
ตอบ: 38

ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2005, 11:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีทำบุญให้ได้ผลอันประเสริฐ



คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงคำว่า “ บุญ ” มักคิดถึงคำว่า กุศล ควบคู่กันไป ดังนั้นคนส่วนใหญ่มักเรียกการทำบุญ ว่าสร้างบุญสร้างกุศล หากน้อยคนนักที่จักเข้าใจว่าบุญกุศลที่แท้มีความหมายว่าอย่างไร

หากเราแปลความหมายคำว่า “ บาป ”คือความชั่ว ความเลว ความต่ำช้า เช่นนี้คำว่า บุญ ก็ย่อมมีความหมายในทางตรงกันข้าม นั่นหมายถึง บุญ ก็คือคามดีงาม ความประเสริฐเลิศล้ำ

เมื่อเราตีความคำว่า บุญ ไปโดยนัยนี้ การทำบุญจึงหมายถึง การทำความดี การทำกุศลจึงเป็นสิ่งประเสริฐเลิศล้ำ โดยความหมายดังกล่าวมนุษย์จึงมีศรัทธา พากันทำบุญโยหวังลดละความชั่ว อีกนัยหนึ่งคือการทำบุญโดยหวังละบาป

การทำบุญโดยหวังผลประโยชน์ เฉพาะส่วนตัว ส่วนตนเช่นนี้ เป็นการทำบุญโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อน แม้สัจธรรมจะมีอยู่ว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว แต่กระนั้นก็ตามผู้ที่ทำบุญไม่ควรหมกมุ่นอยู่แต่ผลที่จะได้รับ หรือเฝ้ารอแต่จะได้ผลบุญที่ตนกระทำลงไป การทำบุญนั้นย่อมไม่มีผล หากการทำบุญที่จะได้บุญคือ การทำบุญจากใจ เป็นการทำบุญด้วยความจริงใจ ไม่เสแสร้งแกล้งกระทำด้วยหวังได้รับผลบุญ

หากต้องนำหนุนผลบุญให้บังเกิดเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม อำนวยผลเพื่อเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ สรรพชีวิต ให้ผลบุญสัมฤทธิ์เป็น คุณานุประโยชน์แก่สังคมหมู่เหล่า มิใช่หมายบุญเพื่อผลแห่งตัวเราเอง แม้นว่าทำบุญด้วยเจตนาเช่นนี้ เชื่อแน่ว่ายอมได้ผลบุญสนองรับโดยแท้ทีเดียว



จากหนังสือ ลาภอันประเสริฐ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2005, 12:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะทราบได้อย่างไรครับว่า ทำอะไร สิ่งใด จึงเรียกว่าทำบุญ และ ทำอะไร สิ่งใด จึงเรียกว่าทำบาป
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2005, 4:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าจะตอบแบบละเอียดจริงๆ ก็ยาวพอสมควร เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ครบถ้วน ซึ่งผมเองคงไม่สามารถแนะนำได้ดีไปกว่า การหาหนังสือธรรมะมาลองอ่านดูแล้วล่ะครับ หนังสือที่ผมอยากจะแนะนำให้คุณลองหาอ่านดู ชื่อเรื่อง ทางนฤพาน ของคุณดังตฤน เขียนเชิงนวนิยาย ให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาได้อย่างเข้าใจดีมากๆ เลยครับ อีกเล่มหนึ่งชื่อเรื่องว่า ธรรมธารา เขียนโดย ธรรมโฆษก์ เล่าชีวิตของผู้เขียนสมัยบวชเป็นพระ ท่านเขียนได้ดีมากจริงๆ เล่มนี้ ผมอ่านถึง 3-4 รอบ เป็นเล่มที่จุดประกายความซาบซึ้งในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งศึกษาอย่างจริงจัง มาจนบัดนี้



แต่อย่างไรก็จะตอบแบบย่อๆ ก่อนละกันนะครับ กับคำถามว่า ทำสิ่งใด เรียกว่า บุญ ทำสิ่งใดเรียกว่า บาป ผมขอตอบง่ายๆ ครับว่า

สิ่งใดก็ตามที่ทำแล้ว ทำให้กิเลส (ที่มีอยู่แล้วในใจเรา) ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เจริญงอกงามมากยิ่งๆ ขึ้น จนเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น สิ่งนั้นเรียกว่า "บาป" ครับ

สิ่งใดก็ตามที่ทำแล้ว ทำให้กิเลส ได้แก่ โลภ โกรธ หลง บันเทาเบาบางลงจนหมดไป สิ่งนั้น เรียกว่า "บุญ" ครับ

ท่านแบ่งกว้างๆ ว่า สิ่งที่ทำแล้วทำให้กิเลสเพิ่มขึ้น จนถึงระดับเบียดเบียนตนและผู้อื่นนั้นได้แก่ อกุศกรรมบถ 10 คือ

1. ฆ่าสัตว์

2. ลักทรัพย์

3. ประพฤติผิดในกาม

4. พูดเท็จ

5. พูดคำหยาบด่าว่ากัน

6. พูดส่อเสียด ยุให้เขาแตกคอกัน

7. พูดเพ้อเจ้อ

8. คิดโลภ อยากได้ของของผู้อื่น

9. คิดพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น

10. คิดเห็นผิดเป็นชอบ

ส่วน บุญ ก็เป็นสิ่งตรงกันข้าม เรียกว่า กุศลกรรมบถ 10 ประการ เหมือนกัน คือ

1. ไม่ฆ่าสัตว์ นอกจากไม่ฆ่า และยังช่วยเหลือสัตว์

2. ไม่ลักทรัพย์ นอกจากไม่ลัก ยังแบ่งปันทรัพย์ให้ผู้เดือดร้อน

3. สำรวมในกาม หรือ ไปถึงขั้น ประพฤติพรหมจรรย์ บวชเป็นพระ

4. พูดจริง

5. พูดไพเราะ

6. พูดให้เขาสามัคคีกัน

7. พูดมีประโยชน์

8. คิดไม่โลภ

9. คิดไม่โกรธ พยาบาท

10. คิดถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

หรือถ้าจะย่อๆ เรื่อง บุญก็ได้ 3 อย่าง คือ

ทาน ไว้ประลองยุทธกับ โลภ

ศีล ไว้เป็นคู่ปรับกับ โกรธ

ภาวนา ไว้ต่อกรกับ หลง

นั่นแหละครับ
 
บุหลัน คำจันทร์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2005, 11:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การแต่งกายของพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่เหมาะสมเลย

 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2005, 11:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอ คุณบุหลัน คงต้องให้รายละเอียดมากกว่านี้แล้วล่ะครับ เหมือนกับที่ผมทำงานอยู่โรงงาน ว่าลูกค้า จะเคลมว่า "สินค้าโรงงานคุณ ไม่มีคุณภาพ" ลูกค้าจะให้รายละเอียดมาครับว่า

1. สินค้า จำนวนเท่าไหร่

2. Lot การผลิตวันไหน

3. พบเจอที่ไหน

4. ลักษณะอาการที่มีปัญหาเป็นอย่างไร



เพื่อให้ผู้ผลิต สามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้องไงล่ะครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง