Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฆราวาสจำเป็นต้องสมาทานศีลทุกวันหรือไม่ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อ่อนปริยัต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ค.2005, 12:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีลห้า ศีลแปด อุโบสถศีล ศีลสองร้อยยี่สิบเจ็ดข้อ ศีลสามร้อยสิบเอ็ดข้อ เป็นข้อปฏิบัติเพื่องดเว้นจากการทำบาป มีความเกี่ยวพันกับ การงดเว้นสมุจเฉทวิรัติอย่างไร จำเป็นต้องสมาทานสมุจเฉทวิรัติหรือไม่
 
ลุงสุชาติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2005, 1:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมควรเป็นอย่างยิ่ง ขอให้สมาทานศีล รักษาศีล ๕ และเข้าถึงไตรสรณคมน์ ขอให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและ จริงจัง (วันละ ๑ ครั้ง)
 
ทัสนัย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2005, 3:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คห.ที่1 กล่าวไว้ได้สาระสำคัญ ดี ขอเสริมอีกนิด การวิรัติ ของ ศีลสิขา มี 3 ประเภท 1 สัมปัตติวิรัติ เป็นการเว้น ในเหตุเฉพาะหน้า ไม่ได้กำหนดล่วงหน้าไว้ก่อนว่า จะรักษาศีล แต่เมื่อบังเอิญไปประสบเหตุการณ์ ที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดศีลได้ ก็งดเว้น ไม่ละเมิดศีล เช่น แมลงสาบเดินผ่านหน้าเตียงไป เห็นอยู่แต่ปล่อยให้เค้าผ่านไป ไม่กระทีบทำร้ายแมงสาบนั้น หรือเห็นคนข้างหน้าเดินผ่านไปทำกระเป๋าสตางค์ตก โดยไม่รู้ตัว เราอยู่ข้างหลังเค้า จะเก็บกระเป๋าสตางค์นั้นไว้เองก็ย่อมทำได้ แต่กลับไม่ทำ [สะกิดบอกให้เจ้าของกระเป๋านั้นรู้ตัว แล้วเก็บเอายื่นส่งคืนให้เจ้าของกระเป๋านั้นไป ซะงั้น! หรือ พวกไม่ดื่มสุรายาเมา เพราะหมอสั่งห้าม ถ้าไม่เชื่ออาจต้องไปจองวัด กลัวตายจึงงดสุรา หรือ พวกนักอนุรักษ์สัตว์ พวกที่ไม่มีศาสนาก็ได้ พวกนี้เป็นชาวโลกาพารา ส่วนใหญ่....พวกนี้ ไม่ได้กำไร และไม่ขาดทุน(แต่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการตกไปที่ต่ำ เพราะอาจพลาดได้ เพราะไม่มีศีลกำลัง เป็น ตัวbackup) อย่างดีก้อ มาเท่าไรกลับไปเท่านั้น เป็น พวก ไร้ศีลศรัทธา ผลจึง ไร้ศีลบารมี พวกนี้เปรียบได้กับ ขนโค 2 สมาทานวิรัติ ....งดเว้นตั้งใจไว้ก่อนว่า จะรักษาศีล มีโอกาสทำผิดก็ไม่ทำเพราะสมาทานศีลไว้ก่อนแล้ว พวกนี้ฉลาดและใจถึงกว่าประเภทที่1 พวกนี้สร้างเหตุคือ ศีลศรัทธา ผลจึง ได้ ศีลบารมี (บางคนฉลาดขึ้นไปอีก อาจจะพาสชั้นไม่ต้องผ่านการปฏิบัติสมาทานวิรัติ โดยไปปฏิบัติประเภท3 เลยก็ได้) ข้อควรระวัง คือ หลวงปู่ดูลย์ เคยเตือนไว้ ว่า พระบางรูปมัวแต่ ตั้งใจรักษาศีล227 ข้อ จนลืมรักษาศีลห้า....ถ้าไปสมาทานศีลกับสมมติสงฆ์ที่ชอบแจกควาย ตกสะระอา แก่ชาวบ้าน สู้สมาทานกับตนเองยังดีกว่า(อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ) พวกที่รักษาศีลประที่2 นี้ ถ้าหมั่นทำต่อเนื่อง ศีลนี้ก็จะกลายเป็น ศีลประเภทที่สามได้ ผู้รักษาสมาทานวิรัติ ส่วนมากจึงเป็นพวก ทันธาภิญญา เปรียบได้แก่ พวก เล็บโค 3 สมุทเฉทวิรัติ เป็นการเว้น เด็ดขาด เป็นปกติศีล เป็นศีลของ พระอริยเจ้า ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป พระอริยสาวกรุ่นแรก1250 องค์ ช่วงเก้าเดือนหลังทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรด ท่านเหล่านั้น กำหนดคิดตามธรรมที่ทรงแสดงนั้น รู้ตาม และบรรลุตาม ในขณะฟังธรรมอยู่นั้น ท่านเหล่านั้น เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ธาตุรู้ในจิต กับธรรมธาตุ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านไม่ทำบาป ศีลท่านจึงเป็นผลเนื่องแต่ธรรม เป็นศีลมั่นคง เป็นสมุทเฉทวิรัติ ท่านเหล่านั้น เป็นนักเรียนเกียรตินิยมอันดับหนึ่งแห่งองค์พระบรมครูผู้ยิ่งใหญ่ในสามโลก ทรงจัดไว้เป็นพวก ขิปปาภิญญา เปรียบได้แก่ พวก ขนโค ไม่ต้องสมาทานศีลอีกต่อไป แต่ปัจจุบัน ถ้าพระอริยโสดา (แน่นอน ท่านย่อมไม่โฆษณาประกาศตน)ไป ทอดผ้าป่า เมื่อ สมมติสงฆ์ กล่าวให้ขอศีลและรับศึล ท่านก็จะสักแต่ว่าทำไปตามประเพณีนิยม และตามมารยาทสังคม เท่านั้น แต่ภายในใจ ท่านจะทราบดีว่า ท่านไม่จำเป็นต้องรับศีลจากผู้ใดอีก (หลวงปู่ชา เมื่อท่านไปเจอพระปุถุชน แม้พรรษา แก่กว่า ท่านก็กราบได้ ตามธรรมเนียม ทั้งๆที่ ภูมิจิตภูมิธรรมท่านสูงกว่า) พระอริยเจ้าในสมัยพุทธกาล บางท่านไม่เคยสมาทานศีลหรือรักษาศีลมาก่อน แต่เมื่อท่านได้ฟังธรรมแล้ว ท่านบรรลุธรรม ท่านก็เลิกทำบาปเด็ดขาดไปเลย เป็น ศีลสมุทเฉทวิรัติ โดยปริยาย ตัวอย่างคือ นางค่อมแห่งสำนักพระราชวังพระนางสามาวดี พระมเหสี พระเจ้าอุเทน คอรับชั่น เงินซื้อดอกไม้ทุกวัน แต่หลังจากฟังธรรมและบรรลุโสดาบันแล้ว ท่านก็เลิกคอรัปชั่นในบัดดลโดยเด็ดขาด.....มีอีกหลายท่าน ไปหาอ่านได้ในพระสูตร.....ตัวอย่างสุดท้าย คือ พระอริยโสดา สิริมา ท่านเป็นหญิงโสเภณี งามเมือง เมื่อได้ฟังพระพุทธธรรมแล้ว ท่านก็ รีไทร์ เลิกอาชีพ เป็นหญิงงามเมืองไปเลย ในบัดดล....(เรื่องศีลนี้ เกี่ยวโยงไปถึงเรื่อง วิจิกิจฉา สีลพตปารามาส ด้วย แปลกันไว้เป็นร้อยความหมายในปัจจุบันนี้).....สมุทเฉทวิรัติ นี้จึงเป็นศีล ที่เกิดจากธรรม โดยแท้ จริง ในปัจจุบันนี้ นักเรียนเกียตินิยม อันดับหนึ่ง แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังมีอยู่ แต่น้อยมาก เสียงส่วนน้อย ท่านจึงต้องเก็บเนื้อเก็บตัว....โชคดีที่ ได้ฟังเรื่องนี้ จาก ดุษฏีบัณฑิต แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง ท่านบวชมา ร่วมห้าสิบกว่าพรรษา(ผ่านสินามิ ชีวิตการบวชมาแทบเอาชีวิตไม่รอด) ท่านชี้ให้ดู เรื่องศีลทั้งสามประเภทนี้ ....... ของฝาก ท้ายความเห็น..... เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเจตนาตั้งใจ ไม่ทำบาป นั่นแหละ เป็นศีล
 
ทัสนัย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2005, 3:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแก้ คำเปรียบเทียบ ในศีลประเภทที่3 สมุทเฉทวิรัติ ขิปปาภิญญา เปรียบได้ กับ พวก เขาโค
 
ทิดเอก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2005, 2:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระท่านว่า



ศีล 5 ไม่ต้องแล้ว สมาทานครั้งเดียวได้ตลอดอายุเลย แต่ที่ต้องสมาทานบ่อยๆ เพระเอาไว้ย้ำเตือนให้ระลึงถึงศีล 5 ตลอด



ส่วนอุโบสถนั้น ต้องสมาทานทุกครั้งครับ
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2005, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยกเว้นตอนศีล 5 ขาดด้วยครับ ต้องเริ่มตั้งใจรักษาใหม่
 
ดั่งวารี
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2005, 8:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การสมาทานศีลคือการย้ำให้ตนเองมีความมั่นคงไม่คลอนแคลนในการรักษาศีล เราทุกคนควรมีศีล ไม่ใช่แค่ลูบๆคลำๆศีล แต่ควรมีศีลอยู่ในจิตใจ

การสมาทานศีล วันละ 100 ครั้ง ก็ยังมีอานิสงส์ไม่เท่ากับ รักษาศีลได้สะอาดบริสุทธิ์ทั้งวัน
 
ดียังไม่พอ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2005, 11:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ศีเลนะ สุขะติงยันติ ศีเลนะโภคะสัมปะทา" หมั่นรักษาศีลเอาไว้ ถ้าอยากหล่อ สวย รวย สบาย กายแข็งแรง วนเวียนอยู่ใน มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก กล่าวคือ ท่านแนะให้หมั่น ปฏิบัติ กามาวจรกุศล..........."ศีเลนะ นิพุติง ยันติ" ศีลเป็นเส้นทางผ่านไปให้ถึง มรรคผล นิพพาน มุ่งปฏิบัติ เพื่อการหลุดพ้น ให้ได้ในชาตินี้ (ทุกคนมีสิทธิ์จะหวัง ทำได้หรือไม่ได้ นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ท่านจึงแนะให้ปฏิบัติ โยคาวจรกุศล(กุศลมุ่งความหลุดพ้นโดยตรง)....สำหรับผู้ปฏิบัติ โยคาวจรกุศล ระวังกิเลสจะเอาศีลมาเป็นอาวุธ โจมตีใจเจ้าของ.....สำหรับผู้ปฏิบัติศีลใน กามาวจรกุศล ให้ผ่านตรงนี้ไปเลย....อย่ามาอ่านให้เสียเวลา....กิเลสในใจ จะหลอกให้หลงตัว หลงตน ว่า ตนดีกว่าคนอื่น มีศีลมากกว่าคนอื่น เจ้าของจะหลงยีดมั่นถือมั่น ในอัตตาตัวตน หนักกว่าก่อนรักษาศีล จะมีทิฐิมานะ อวดดื้อ ถือดี....สุดแสนเสียดาย เฝ้าอุตส่าห์ตกแต่ง บำรุงใจ ให้สมบูรณ์งดงาม ด้วยศีล แต่ไปเสียที ถูกกิเลส ลอบเอาศีลมาโจมตี....เหมือนปลูกผักงามๆไว้สักแปลง แต่ขาดความรอบรู้ ในการบำรุงรักษา ผักทั้งแปลง จึงถูกหนอนมาชอนไช จนใบแหว่ง ใบกร่อนเป็นรูๆ หรือเปรียบได้กับการกินยาปฏิชีวนะ ถ้าขาดความรอบรู้ในการใช้ยา กินยาไม่ถูกต้อง เชื่อโรคในกายเจ้าของจะเอายาปฏิชีวนะ ที่กินเข้าไปนั้น เป็นกำลังให้เชื้อโรคมีความทนทานดื้อด้าน ยิ่งขึ้น จนเกิดอาการดื้อยา.....กินยาถูกวิธี ยานั้นก็รักษา การเจ็บป่วยได้...เหมือนผู้ฉลาดรอบรู้ในการรักษาศีล จะพาตนเองฝ่าฟัน เข้าไปถึงแก่นแห่งพุทธศาสนา คือ วิมุติธรรม ได้ ดังนั้น รู้เพื่อระวังป้องกันกิเลส มิใช่มีความรอบรู้ไว้ อวด ไว้ข่ม ผู้อื่น..... ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเสมือนกิ่งไม้ ใบไม้....ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเสมือน สะเก็ดไม้....ความสมบูณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเสมือน เปลือกไม้....ญาณทัสสนะ หรือ ปัญญา เปรียบเสมือน กะพี้ไม้....ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ "อะกุปปา เจโตวิมุติ" เปรียบเสมือน แก่นไม้ "ด้วยประการฉะนี้แหละพราหมณ์! พรหมจรรย์นี้มิใช่มีลาภ สักการะ ชื่อเสียง เป็นอานิสงฆ์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอานิสงห์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นอานิสงฆ์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงฆ์ แต่ความหลุดพ้นแห่งใจ อันไม่กลับกำเริบอันใด พรหมจรรย์นี้มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบนั้นแหละ เป็นที่ต้องการ นั่นเป็นแก่นสาร นั้นเป็นที่สุดโดยรอบ" จูฬสาโรปมสูตร 12/374
 
แทนไทย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 4:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบศีลของพระภิกษุ 227 ข้อ คร้าบ...........
 
เอย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า ศีล หรือ สีล แปลกันว่า ปกติ คือ การควบคุมหรือ รักษากายวาจาให้เป็นปกติ ตามศีลที่ตนสมาทานไว้

โดยนัยก็คือ การฝึกกายวาจานั่นเอง ดูศีล 5 จากข้อ 1-5 ว่ามีอะไรบ้าง ฝึกอย่างไรบ้าง ฯลฯ

เมื่อเราฝึกจนอยู่ตัวแล้ว จนชำนาญแล้วไม่กระวนกระวายแล้ว ก็ไม่สันโดษอยู่แค่นั้น ฝึกให้สูงขึ้นไปอีก นั่นก็คือ ศีล 8 เพิ่มเข้ามาอีก 3 ข้อ



 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 9:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีล 227 ข้อดูที่นี่ครับ
http://www.salatham.com/ordane/donts.htm



ถ้าต้องการฟัง แต่เป็นภาษาบาลี ที่เรียกว่าสวดปาฏิโมกข์ ที่นี่
http://www.dhammajak.net/audio/prayer/index.php





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง