ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
sekak
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 21 พ.ย. 2004
ตอบ: 15
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2005, 10:44 am |
  |
1.อยากทราบว่าหากมีการปล้นคนรวยไปช่วยคนจน(โรบินฮูด)หรือนำไปทำบุญเขาผู้นั้นจะได้บุญหรือไม่อย่างไร
2.ผลกรรมที่เรากระทำ ทั้งดีและไม่ดี ที่จะส่งผลต่อเรานั้น มันจะเท่ากับที่เรากระทำ มากกว่าหรือน้อยกว่าอย่างไร |
|
_________________ เคยบวชเรียนและผ่านการอบรมธรรมจากหลายสถานที่ |
|
    |
 |
ดอกหญ้า
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2005, 1:14 pm |
  |
1. ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ ผิดแน่นอน
2. ปลูกต้นไม้ ให้ดอกให้ผลมากมาย หลายปี ผลและดอกจะหมดไปก็จน กว่าต้นไม้จตาย (ทำ ๑ ให้ผล ๑๐๐ เท่า) |
|
|
|
|
 |
มารศาสนา
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2005
ตอบ: 18
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2005, 2:00 pm |
  |
1. ตอบ ทำบุญความทำตามกำลังจึงได้บุญ (ตามเข้าว่ากัน)
2. ตอบ ทำดีไม่อยากให้หวังผล
มารศาสนา  |
|
|
|
   |
 |
มารศาสนา
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2005
ตอบ: 18
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2005, 2:09 pm |
  |
1. ตอบ นิทาน ลูกหิว พ่อฆ่าไก่ ใครบาป ไปตลาดซื่อไก่ที่เข้าฆ่ามาขายใครบาป
2. ตอบ ทำดี ได้ผลดี ก็ต่อเมื่อเรานึกออก ทำชั่ว ได้ผลชั่ว ก็ต่อเมื่อเรานึกออก คิดให้ดีคิดให้ออก ทำชั่วตอนเด็ก ตอนตายดันนึกถึง ผลของการทำชั่วนั้นชั่งยาวนาน ทำชั่วเมื่อกี่แล้วดันลืม ผลของการทำชั่วนั้นชั่งสั้นนัก ทำดีก็เช่นกัน
มารศาสนา  |
|
|
|
   |
 |
ลุงสุชาติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2005, 2:16 pm |
  |
การทำความดีจะตัองไม่ขัดต่อธรรมชาติ หรือ กฎหมายระเบียบข้อบังคับ จึงจะเรียกว่า "เป็นความดีที่ถูกต้องซึ่งเป็นสิ่งที่ควรยึดถือปฏิบัติ"
การทำความดีแต่ผิดกฎหมาย เรียกว่า "ความดีที่ไม่ถูกต้องซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรยึดถือปฏิบัติ" ดังเช่นการปล้นทรัพย์เพื่อช่วยเหลือคนจนเป็นต้น |
|
|
|
|
 |
Ae
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 26 เม.ย. 2005
ตอบ: 38
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2005, 4:43 pm |
  |
1.อยากทราบว่าหากมีการปล้นคนรวยไปช่วยคนจน(โรบินฮูด)หรือนำไปทำบุญเขาผู้นั้นจะได้บุญหรือไม่อย่างไร
คนผู้นั้นน่าจะได้บาปมากกว่าบุญนะครับ ทำไมไม่ลองคิดว่าคนที่รวยนั้นชาติที่แล้วเขาอาจจะประกอบกรรมดี ทำบุญทำทานมามาก ชาตินี้ผลบุญที่เขาทำมาแต่ชาติปางก่อนก็ทำให้เขามีทรัพย์มากเป็นคนรวย แล้วยังจะไปปล้นของ ๆ เขามาอีกหรือ.....เพราะฉะนั้นคนที่ปล้นผิดเต็มเปา ผิดศีลของลักทรัพย์
แต่ถ้าคนนั้นเขารวยเพราะโกงกิน...กรรมชั่วที่เขากระทำจะย้อนมาหาเขาเองไม่จำเป็นที่จะต้องไปปล้นเพื่อมาช่วยคนจน...เพราะฉะนั้นถ้าคุณปล้น...ผิดศีลข้อลักทรัพย์
ทำไมไม่คิดบ้างว่าคนที่จนในชาติปัจจุบัน ชาติที่แล้วเขาไม่ได้ทำบุญ ทำทาน เป็นกรรมมาจากชาติที่แล้วที่ส่งผลมาถึงเขา.....
กฏแห่งกรรมยิ่งใหญ่ที่สุดครับ
2.ผลกรรมที่เรากระทำ ทั้งดีและไม่ดี ที่จะส่งผลต่อเรานั้น มันจะเท่ากับที่เรากระทำ มากกว่าหรือน้อยกว่าอย่างไร
แล้วแต่เจตนาครับ กรรมคือการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา เพราะฉะนั้นผลกรรมที่ตอบแทนนั้นขึ้นกับเจตนา
เมื่อคุณทำบุญ และมีเจตนาดี คุณก็ได้บุญ
เมื่อคุณทำบุญ และเจตนาไม่ดี คุณได้บาป
|
|
|
|
    |
 |
toke
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2005, 5:10 pm |
  |
๑. มีหนทางอื่นที่สามารถช่วยเหลือได้อีกมากมายครับ ไม่น่าที่จะต้องทำผิดเพื่อไปช่วยหรอก แค่คิดก็ผิดแล้ว ( เมื่อเจตนาทำชั่ว กำลังทำชั่วอยู่ แต่ยังทำไม่เสร็จก็ถือว่าได้พยายามทำชั่วแล้ว ) ผมว่าเป็นข้ออ้างของโรบินฮูดที่ไม่มีอะไรจะกินมากกว่า ดำรงชีพอยู่ไม่ได้ เมื่อขโมยเขามาแล้วของเหลือมากเกินไป กลัวเสียของก็เลย นำไปแบ่งให้คนจน เพราะโรบินฮูดไม่มีหน้าที่นี้ ลำพังตนเองก็แย่แล้ว จะช่วยเหลือทางอื่นก็ทำไม่ได้ เพราะตนเองก็ยังหลบเจ้าหน้าที่อยู่ ถ้าไม่โขมยโรบินฮูดก็ไม่มีกิน ผิดทั้งนั้นครับ
๒. ความดี ความชั่ว ไม่มีตัวชี้วัดเชิงปริมาณหรอกครับ ชาวบ้านที่มีเงินน้อย ทำบุญพอเพียง อาจมีความสุขมากกว่าหรือเท่ากับผู้ที่ทำบุญมาก ๆ ก็ได้ เพราะความสุขที่ได้รับแต่ละคนก็มีความพอใจไม่เท่ากัน ความสุขจากการให้ทานมิได้วัดจากมูลค่าของทานนั้นครับ  |
|
|
|
|
 |
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ค.2005, 11:16 pm |
  |
ตอบข้อ 1 ก่อนอื่นขออธิบายนิยามของบุญกับบาปตามแนวของผมก่อน บุญคือสิ่งที่กระทำแล้วรู้สึกสบายใจ ตรงกันข้ามบาปคือ สิ่งที่ทำแล้วไม่สบายใจ
ทีนี้มาดูคำถามการปล้นไปช่วยคนจน การปล้นบาปแน่นอน บาปตั้งแต่ตอนวางแผนปล้น ต้องคิดจะทำอย่างไรไม่ให้ถูกจับได้ ความไม่สบายใจเริ่มเกิดตั้งแต่ตรงนี้ นั้นคือบาป บาปต่อไปตอนกระทำตามแผนก็ต้องระวังกลัวถูกจับได้ ก็มีความไม่สบายใจอีกคือบาปอีก กระทำเสร็จแล้วก็ต้องหนี ไม่สบายใจอีก บาปนั้นเอง
ตอนช่วยคนจนเอาสิ่งที่ปล้นมาได้แจกจ่ายให้คนจน ความรู้สึกสบายใจจะเกิดขึ้น ก็คือได้บุญนั้นเอง
ดังนั้น มีสองการกระทำ มีทั้งบุญทั้งบาปครับ บุญที่ได้ล้างบาปไม่ได้ครับ ความไม่สบายใจจากการปล้นยังมีอยู่ในใจทุกครั้งที่นึกถึง ผลบุญก็เช่นกันยังมีอยู่เมื่อนึกถึงก็สบายใจ
ตอบข้อ 2 ผลกรรมทั้งดีและไม่ดี ก็ใช้ความสบายใจเราวัดเอาครับ กลับไปอ่านข้อ 1 ครับ บุญและบาปแทนกันไม่ได้ ล้างกันไม่ได้ |
|
|
|
|
 |
suphot146
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
27 พ.ค.2005, 10:52 am |
  |
ตอบ "สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน"
1.อยากทราบว่าหากมีการปล้นคนรวยไปช่วยคนจน(โรบินฮูด)หรือนำไปทำบุญเขาผู้นั้นจะได้บุญหรือไม่อย่างไร
หากพิจารณา
1. เราปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข (เมตตา) จิตเป็นกุศล ----> เป็นบุญครับ
2. เราปล้นคนอื่น ผิดศีล ผิดธรรมนองคลองธรรม ยังผลให้คนรวยเกิดทุกข์ เดือดร้อน
เป็นอกุศล ------> เป็ฯบาปครับ
3. เรานำเงินที่ได้มอบให้เขา (คนจน) ทำให้เขาพ้นความเดือดร้อน (กรุณา) ก็จริง แต่มาจากการก่ออกุศลจากการขโมย ------> ถือเป็นบาปครับ
เพียงแค่เราเอื้อเฟื้อแก่ผู้อื่นตามกำลังที่มี ไม่เดือดร้อนตนเอง และคนอื่นๆ เราสุข เขาสุขนั้น คือมหากุศลที่ประเสริฐ ครับ
2.ผลกรรมที่เรากระทำ ทั้งดีและไม่ดี ที่จะส่งผลต่อเรานั้น มันจะเท่ากับที่เรากระทำ มากกว่าหรือน้อยกว่าอย่างไร
เทียบง่ายๆ ครับ เรามีเกลือ หรือน้ำตาล อย่างละ 1 ถ้วย (เสมือนประหนึ่งแทนกรรมดี/ไม่ดี) นำมาเติมลงในน้ำเดือด 5 ถ้วย แม้ว่าจะต้มจะเคี่ยวให้นาน ให้งวด เพียงไร สุดท้ายก็จะเหลือน้ำตาล และเกลืออย่างละ 1 ถ้วยเท่าเดิม
ทีนี้ระหว่างที่เคี่ยวอยู่นั้น จะมีรสหวาน / เค็มก็ขึ้นกับว่า เติมเกลือก่อน/น้ำตาลก่อน แต่ถ้าเติมพร้อมกันเท่ากัน ก็จะมีรสหวานปนเค็มอยู่ที่ลิ้นของแต่ละคน ว่าใครจะชอบหวานชอบเค็ม บุญกุศลก็เป็นเช่นเดียวกัน
ขอเจริญในธรรม ครับ
 |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
27 พ.ค.2005, 12:35 pm |
  |
ขอเสริมเฉพาะคำถามข้อสองหน่อยนะครับ ว่าผลดี และผลไม่ดี จะส่งผลเท่ากับหรือมากกว่าที่เราทำอย่างไร
คำตอบก็ เช่น ที่โบราณพูดว่า "ฆ่าแพะหนึ่งตัว ต้องไปเกิดเป็นแพะให้เขาฆ่า หลายร้อยชาติ" ผลที่เราทำจะทับทวีมากกว่าที่ทำเป็นอันมากเลยล่ะครับ อ้าวอย่างนี้ก็ไม่ยุติธรรมสิ บางท่านคงจะถามอย่างนั้น ทำครั้งเดียว ชดใช้ตั้งหลายครั้ง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นไปตาม "ขณะจิต" ครับ
คือ ในจิตใจของเราที่เราคิดว่า เรารับรู้และกระทำเหตุการณ์ต่างๆ ต่อเนื่องกันตลอดเวลา แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ครับ เป็น ขณะจิต ของเราเกิดดับเกิดดับแต่ส่งข้อมูลต่อๆ กันไปต่อเนื่องกันตลอดเวลาต่างหาก เหมือนเราไปดูภาพยนตร์ เห็นพระเอกนางเอกเคลื่อนไหว แต่จริงๆ แล้ว ฟิลม์ภาพแต่ละภาพ เป็นภาพนิ่ง แต่เมื่อมาฉายต่อกันเร็วๆ จะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว
ขณะจิตในเราก็เช่นเดียวกัน เขาว่ากันว่า ภายใน 1 วินาที ขณะจิตของเราเกิดดับไปแล้วแสนครั้งเลยทีเดียว อ้าวแล้ว เกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ เกี่ยวสิครับ ยกตัวอย่าง การฆ่าแพะ ถ้าเรานับว่าเรามีจิตเดียว ก็แค่ฆ่าแพะตัวเดียวเท่านั้นจบ แต่ถ้าเรานับเป็น ขณะจิต จะมี ขณะจิตตั้งใจฆ่า ขณะจิตเดินไป ขณะจิตหยิบอาวุธ ขณะจิตเดินกลับมา ขณะจิตฟันอาวุธ ขณะจิตเห็นคอขาด ขณะจิต ฯลฯ นี่แค่ย่อๆ นะครับ มีขณะจิตมากมายกว่านี้มากๆๆๆ ทีเดียว
ท่านกล่าวไว้ว่า หนึ่งขณะจิตที่เกิดดับหนึ่งครั้ง ตอนนั้นคิดทำอะไร จะมีผลไปกลายเป็น หนึ่งชาติในอนาคตที่เราจะต้องไปชดใช้ครับ
ทำดีก็เช่นกัน สมมุติ ใส่บาตร ก็จะมีขณะจิตอยากใส่ ขณะจิตเตรียมอาหาร ขณะจิตยกไปถวาย ขณะจิตถวาย ขณะจิตรับพรพระ ฯลฯ ก็จะได้ผลดีไปว่ากันเป็นหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นหลายแสนชาติทีเดียว ตามทฤษฎีเขาว่ากันอย่างนี้แหละครับ
แล้วดีชั่ว จะให้ผลอย่างไร จะผลัดกันมาให้ผลครับ เรียกง่ายๆ ว่า (ผลของ)บุญบาป จะชิงช่วงช่วงชิงให้ผลกับชีวิตเราตลอดเวลาเลยละครับ ขึ้นกับ บุญบาปในอดีตทำมาหนักแค่ไหน และใจของเราในปัจจุบันเศร้าหมองหรือผ่องใสครับ
|
|
|
|
|
 |
ทิดฉุย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ค.2005, 11:44 pm |
  |
โห!!! ถ้าเอา ค.ห ทั้งเก้า มาต่อกัน จะได้ภาพต่อจิ๊กซอที่น่าดูภาพหนึ่งทีเดียววววว ดี ดี อย่างงี้ คิดกันได้งัยยยย  |
|
|
|
|
 |
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 พ.ค.2005, 11:58 pm |
  |
อธิบายความคิดเห็นของคุณเกียรติ ออกมาง่ายๆตามความคิดของผมได้ว่า
การฆ่าแพะ 1 ตัว ต้องไปเกิดเป็นแพะให้เขาฆ่าหลายร้อยชาติ
ผมจะพูดถึงแต่ชาตินี้อย่างเดียว เพราะชาตหน้า หรือชาติไหน ๆเราคงพิสูจน์ให้เห็นได้ยากดังนั้นจึงใช้ประโยคใหม่ว่า
การฆ่าแพะ 1 ตัว บาปกรรมนั้นจะตามสนองเราหลายร้อยครั้งในชาตินี้
บาปของผมในที่นี้คือ ความไม่สบายใจ เมื่อเราฆ่าแพะเราจะเกิดความไม่สบายใจคือเกิดบาปขึ้นในใจ นั่นคือ บาปกรรมสนองเรา 1 ครั้งแล้ว จนเราลืม วันต่อมาในขณะจิตหนึ่งเรานึกขึ้นได้ถึงการฆ่าแพะเมื่อวานเกิดความไม่สบายใจนั่นคือ บาปกรรมตามสนองเรา เป็นครั้งที่สองแล้ว ก็เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ในทุกครั้งที่เรานึกถึง หลายร้อยครั้ง แต่ในครั้งหลัง ๆ บาปกรรมที่ตามสนองจะน้อยลงเรื่อยๆ สังเกตได้จาก ความไม่สบายใจในครั้งหลัง ๆ จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ ครับ |
|
|
|
|
 |
|