ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2005, 4:34 am |
  |
|
    |
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2005, 4:38 am |
  |
ภาพที่แล้วมาทั้งหมด เป็นเรื่องของกาย กับ ใจ กายเป็นที่เกิดของปัญญา ปัญญาเป็นเครื่องมือสำหรับตัดกิเลส
ทีนี้ เริ่มเรื่องของ กิเลส ด้วยการเปรียบอารมณ์ของจิตเป็น สระน้ำใหญ่ 3 สระ เพราะบรรดาอารมณ์ทั้งหมดที่จิตของคนต้องการนั้น จะกี่ร้อยกี่พันอย่างก็ตาม ท่านแบ่งได้เป็น 3 พวก ดังนี้ |
|
|
|
    |
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2005, 4:40 am |
  |
อารมณ์ที่ กามตัณหา ต้องการ คือความสุขที่เกิดความหลงใหลในสิ่งที่ตนชอบ และในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสระหว่างเพศตรงข้าม |
|
|
|
    |
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2005, 4:42 am |
  |
อารมณ์ที่ ภวตัณนา ต้องการ คือความสุขที่เกิดจากรูปบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวกับกาม เช่น ความสุขที่เกิดจากรูปฌาน หรือกล่าวโดยทั่วไปเป็นรูปบริสุทธิ์ล้วน ๆ เช่น คนเล่นของเล่น มีบอน โกศล เครื่องลายคราม ก็เป็นที่หลงใหลได้มาก |
|
|
|
    |
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2005, 4:45 am |
  |
อารมณ์ที่ วิภวตัณหา ต้องการ คือความสุขที่เกิดจากอรูปบริสุทธิ์ เช่น อรูปฌาน สิ่งที่ไม่มีรูปก็เป็นที่ลุ่มหลงได้มาก หรือแม้หลงใหลในเกียรติยศ ต้องการชื่อเสียงจนแสดงความกล้าตาย อย่างนี้ก็ได้ |
|
|
|
    |
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2005, 4:49 am |
  |
ถ้าจะพูดให้สั้นในขั้นต้นก็พูดว่า หลงใหลความสุขในเรื่องกามคุณเป็น สระหนึ่ง
หลงใหลอยากในความเป็น มีชีวิตอยู่ด้วยความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ อีกสระหนึ่ง หรือความไม่อยากเป็นนั่น ไม่อยากเป็นนี่ จนกระทั้งไม่อยากเป็นอยู่หรืออยากตายเสียเลย ก็อีกสระหนึ่ง
ถ้าพูดให้สั้นสุดก็คือ
1 อยากเอา อยากได้ สิ่งที่ตนชอบ
2 อยากเป็น ตามที่ตนชอบ
3 อยากไม่ให้เป็น ตามที่ตนไม่ชอบ
ความอยากของคนเราในโลกนี้มีอยู่ 3 อยากนี้เท่านั้น เมื่อความอยากมี 3 อย่าง เหยื่อของความอยากก็ต้องมี 3 อย่าง |
|
|
|
    |
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2005, 4:53 am |
  |
ภาพช้างนั้น เล็งถึงสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง แสวงหาทางที่จะไปดื่มไปกินน้ำทั้ง 3 สระนี้เท่านั้น เช่นบางทีก็อยากไปในทางกามคุณ ประเดี๋ยวก็อยากไปในทางเฉย ๆ ประเดี๋ยวก็อยากไปในทางไม่ให้มี ไม่ให้เป็น หรืออยากตายไปเสียเลยก็มี วันหนึ่ง คืนหนึ่ง ชีวิตคนเราก็หลงอยู่ใน 3 อยากนี้ จึงว่าช้างตัวหนึ่ง กินน้ำ
3 สระ เป็นคำเปรียบของกิเลสที่ว่า กินจุ กินมาก เหมือนช้าง ส่วนอาการที่กิเลสจะปรุงแต่งกันต่อไปอย่างไรนั้น จะให้ดูภาพต่อไป พรุ่งนี้ |
|
|
|
    |
 |
รักแม่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2005, 8:16 pm |
  |
สาธุครับ ในจิตอันเป็นกุศลครับ
แต่ที่เรียนในวิชาพระพุทธศาสนาในชั้นมัธยม
เขาสอนต่างจากนี้น่ะครับ เขาบอกว่า
ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น เช่น อยากดัง อยากได้ใคร่ดี
วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เช่น ไม่อยากจน ไม่อยากเจ็บป่วย
อะไรทำนองนี้อ่ะครับ
สำหรับที่คุณอธิบายน่ะครับ อารมณ์ที่ภวตัณหาต้องการคือ ความสุขจากรูปบริสุทธิ์ตรงนี้ผมงงอ่ะครับตรงตัวอย่าง คือ คนเล่นของเล่น เลี้ยงบอน ปลูกโกศล หรือ สะสมเครื่องลายคราม ไม่จัดอยู่ในจำพวกของกามตัณหาหรือครับ บอน โกศล เครื่องลายครามหรือของเล่น ล้วนนำมาซึ่งความสุขทางตาและทางใจเพราะกามตัณหาไม่ได้เจาะจงเพียงเรื่องเพศ
ส่วนอารมณ์ของภวตัณหาคืออารมณ์ที่เกิดจากความสุขจากรูปบริสุทธิ์ และ อารมณ์ของวิภวตัณหาคืออารมณ์ของความสุขจากอรูปบริสุทธิ์ ตรงนี้เข้าใจยากจริงๆเลยครับ
ภาวะ กับ วิภาวะ ล้วนเป็นอรูปบริสุทธิ์เหมือนกันไม่ใช่หรือครับ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงเกียรติยศ ยากจนเข็ญใจ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของนามธรรมแต่สิ่งที่มาพร้อมกับชื่อเสียงเกียรติยศหรือความยากจน คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะพบในสภาวะที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ นั่นน่าจะเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งอารมณ์ของกามตัณหา
อย่าง ไม่มีเงิน เงิน คือ ที่มาของอารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดของกามตัณหา
สภาวะที่ ไม่มีเงินหรือจน คือ ตัวนามธรรมที่มาของอารมณ์แห่งวิภวตัณหาคือ ไม่อยากจน
(จน เป็นนามธรรมหรืออรูปบริสุทธิ์)
ในทางตรงข้าม ความอยากรวยก็เช่นเดียวกัน เงิน คือ ตัว รูปธรรมบ่อเกิดแห่งอารมณ์ของกามตัณหา แต่ รวย คือ นามธรรมซึ่งมาจากอารมณ์ของภวตัณหา คือ อยากรวย
รวย จน ล้วนเป็นนามธรรมที่บอกสภาพ น่าจะเป็นอรูปบริสุทธิ์เหมือนๆกัน แต่ สิ่งที่เป็นผลมาจากความรวยหรือจนที่เป็นรูปธรรมหรือรูปบริสุทธิ์ น่าจะเป็นที่มาแห่งอารมณ์ของกามตัณหา
ผมศึกษาแต่ทฤษฎีแต่ไม่เคยปฏิบัติน่ะครับ(จริงๆก็คือ ทำไม่ได้นั่นแหละ) แต่ยังมาเรียนอีกครั้งในวิชา ปรัชญาพุทธศาสนา ในระดับปริญญาตรี ถ้าเว้นเสียจากเรื่องฌาณแล้ว ผมเข้าใจคลาดเคลื่อนไปตรงไหน รบกวนคุณ thamma02 ช่วยแก้ให้ทีได้ไหมครับ
ส่วนเรื่องฌาณต้องขอผ่าน เพราะลึกซึ้งเกินไปสำหรับผมน่ะครับ
|
|
|
|
|
 |
รักแม่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2005, 8:25 pm |
  |
ผมงงตรงที่ สระน้ำ(คือวงกลม) ทั้งสามจะมีส่วนที่ซ้อนเหลื่อมกัน ไม่แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงน่ะครับ
วงกลมสีน้ำเงินจะแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง ตรงนั้นหมายถึง ภว และ วิภว ตัณหา ใช่ไหมครับ
เหมือนวงกลมสีแดงจะครอบอยู่แล้วมีส่วนที่ซ้อนเหลื่อม ตรงนั้นคือ อารมณ์ของกามตัณหาจะเป็นสิ่งชี้นำให้มนุษย์ปุถุชน อยากหรือไม่อยากตกอยู่ในภาวะนั้นๆใช่ไหมครับ
ส่วนอารมณ์ที่เกิดจากความสุขจากรูปและอรูปบริสุทธิ์ที่ไม่มีวัตถุเป็นเครื่องล่อก็คือ วงกลมสีน้ำเงินที่อยู่นอกเขตที่วงกลมสีแดงครอบอยู่ ตรงนี้จะเป็นอารมณ์ของรูปฌาณและอรูปฌาณ
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกรึเปล่าครับ(ถ้าผิดอย่าหาว่าโง่นะครับ ไม่ค่อยเข้าใจจริงๆ) |
|
|
|
|
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2005, 12:09 am |
  |
กลับจากทำงานมาก็เห็นข้อความตอบมาจากคุณรักแม่
เป็นคำถามที่ดีมากครับ และต้องขอประทานอภัยด้วยนะครับที่อธิบายให้เข้าใจยากสักหน่อยสำหรับผู้ไม่รู้ ตามที่คุณแนะนำมาน่ะ ถูกต้องเหมือนกันครับ และเข้าใจง่ายดี
ถ้าคุณดูความคิดเห็นที่ 5 ผมจะสรุปไว้สั้น ๆ ย่อ ๆ ก็กลัวจะไม่เข้าใจจะขอชี้แจงอีกรอบนะครับ |
|
|
|
    |
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2005, 12:34 am |
  |
ตัณหามี 3 ประการคือ
กามตัณหา คือ การที่คนเราอยากจะได้สิ่งที่ไม่มี ก็อยากจะให้มีขึ้น
ภวตัณหา คือ เมื่อมีขึ้นแล้ว หรือสิ่งที่มีอยู่แล้วก็อยากให้มันทรงตัวอยู่
วิภวตัณหา คือ สิ่งที่ไม่ทรงตัวอยู่ก็ไม่อยากให้เป็น
สรุปคือ อยากได้ อยากมี เป็นกามตัณหา เมื่อได้แล้วมีแล้ว ก็อยากให้อยู่ในสภาพเดิม สวยงามตลอดไป เรียกว่าภวตัณหา แต่ผลสุดท้ายสิ่งที่ได้มา มีมาก็เสื่อมสภาพ ก็ไม่อยากให้เสื่อม ไม่อยากให้เก่า เรียกว่า วิภวตัณหา
ขยับเข้ามาใกล้ ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ คือ เราอยากมีบ้าน อยากมีรถ อยากมีคู่ครองสวย ๆ อยากมีชื่อเสียง หรืออยากอะไรทุก ๆ อย่าง อันนี้เราก็เกิดทุกข์แล้ว ทุกเกิดจาก กามตัณหา
ทีนี้เมื่อมีบ้าน มีรถ มีแฟนสวย ๆ มีชื่อเสียง คนนับหน้าถือตามาก ก็อยากจะให้สิ่งเหล่านี้คงสภาพนี้อยู่ต่อไป ตราบนานเท่านานทั้ง ๆ ที่มันเป็นไปไม่ได้ ก็เกิดทุกข์ขึ้นมาอีก ทุกข์ที่เกิดจากภวตัณหา และในที่สุดสิ่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถฝีนกฏของธรรมชาติไปได้ บ้านเริ่มเก่า รถก็เริ่มจะพัง คู่ครองก็เริ่มแก่ ชื่อเสียงที่เคยโด่งดังเริ่มเสื่อมถอย ก็พยายามจะดึงกลับมาให้เป็นสภาพเดิม ต้องหาเงินซ่อมบ้าน ทาสี ใหม่ปรับปรุงใหม่ รถก็เอาไปซ่อมทำใหม่ คู่ครองก็ให้ไปทำศัลยกรรมดึงหน้า แต่งผิว ยอมทุ่มเทเงินเพื่อรักษาชื่อเสียง ถามว่าอย่างนี้เป็นทุกข์ใช่ใหม ทุกที่เกิดจาก วิภวตัณหา พอจะมองเห็นภาพหรือยังครับ
ที่ได้อธิบายในตอนต้นนั้นอาจจะเป็นการเข้าใจยาก เพราะว่าเป็นเรื่องของ ปฏิจจสมุปบาทล้วน ๆ ผมไม่ได้กรองข้อความให้ละเอียด ต้องขอประทานโทษด้วยนะครับ ทั้งนี้ก็ต้องขอขอบพระคุณด้วยนะครับ ที่ได้ทักท้วงมา ผิดพลาดประการใด ผมอนุญาตให้คุณชี้แจงต่อท้ายกระทู้นี้ได้เลยครับ นึกว่าช่วยกันจรรโลงพระธรรมของพระพุทธองค์ก็แล้วกันนะครับ
ขออนุโมทนาบุญครับ |
|
|
|
    |
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2005, 12:39 am |
  |
ส่วนเรื่องวงกลมที่ซ้อนกันนั้น ไม่มีอะไรมากครับ การวาดภาพที่ผนังนั้นมีเนื้อที่จำกัด ไม่สามารถที่จะวาดวงกลมให้เรียงต่อกันได้ ท่านจึงได้วาดในลักษณะซ้อนทับกันเช่นนั้น ส่วนเรื่องสีนั้นที่เป็นวงสีแดงก็คือ กามตัณหา คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะมี ภวตัณหา และวิภวตัณหา เจริญขี้นเป็นลำดับ เป็นความคิดของผมเองนะครับ ผิดถูก โปรดชี้แนะด้วยครับ
ขอขอบพระคุณอีกครั้งด้วยใจจริงครับ |
|
|
|
    |
 |
รักแม่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2005, 11:05 am |
  |
ขอบคุณคุณ thamma02 ที่กรุณาชี้แจงครับ คือว่าสิ่งที่เรียนในทางโลก แม้จะเรียนวิชาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ด้วยปัญญาและข้อจำกัดของบัญญัติในทางโลกจะทำให้ผมคิดได้แค่นั้น
พอมาอ่านข้อความที่ลึกซึ้งและยากที่จะเข้าใจ(ถ้าเข้าใจไม่ผิดคุณคือผู้ปฏิบัติคนหนึ่งใช่ไหมครับ) ที่ผิดแผกหรือละเอียดลงไปถึงระดับของจิต จะตีความไม่ออกน่ะครับ พอเห็นว่า
เอ๊ะ ไม่เห็นเหมือนที่เรียนเลย จึงเอ่ยถามน่ะครับ ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่คุณอธิบายขยายความมานะครับ ความจริงก็เหมือนที่เรียนนั่นแหละ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้นอีก ผมเลยไม่เข้าใจ
ขอให้เจริญในธรรมครับ
ปล.เรื่องวงกลมผมก็คิดเช่นเดียวกับคุณครับ(แต่ไม่ทราบว่าเป็นภาพจิตกรรมฝาผนังที่วาดในพื้นที่ที่จำกัดน่ะครับ |
|
|
|
|
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2005, 8:35 pm |
  |
คุณรักแม่ ครับ
ผมก็เป็นคนธรรมดาอย่างเช่นคุณนี่แหละ แต่ชอบศึกษาเรื่องของหลักธรรมะ
สิ่งใหนที่ผมยังไม่รู้จะต้องรู้ให้ได้ ที่เขาเรียกว่า อัชฌาสัยเตวิชโช นั่นแหละครับ คือว่าหากสงสัยก็จะต้องสืบเสาะหาความเป็นจริงหรือหาคำตอบให้จงได้
ระยะนี้ผมไม่ได้มาโพสต์ ภาพปริศนานะครับ เพราะว่า ต้องไปเดินสายทำบุญครับ ขณะนี้งานบุญเยอะมาก หากคุณต้องการรู้จักผมให้ไปดูได้ในเว็บ http://www.praruttanatri.comผมก็ใช้ชือ thamma02 เช่นเดียวกันครับ
หากคุณรักแม่จะร่วมทำกุศลกับผม ก็เชิญได้นะครับ ลองเข้าไปดู
หวังว่าเราคงได้รู้จักกันมากกว่านี้นะครับ
และหากว่างเมื่อไรจะมาโพสต์ ภาพปริศนาธรรมให้อีกนะครับ คราวนี้เป็นภาพที่ 7
|
|
|
|
    |
 |
รักแม่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2005, 8:53 pm |
  |
ผมไปที่เว็บรัตนตรัยมาแล้วครับ ส่วนใหญ่เป็นคำเทศนาของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำหรือครับ ถ้ามีโอกาสจะไปเยี่ยมนะครับและหากกำลังทรัพย์อำนวยคงได้ร่วมบุญกับคุณครับ
ผมก็มาที่ธรรมจักรนี่เพียงเพื่อสอบถามหาคุณเจียงน่ะครับ(แต่ไม่เจอ) ก็เลยตัดสินใจส่งพัสดุไปที่ที่อยู่ที่คุณเจียงเขียนไว้ตรง ชื่อผู้ส่ง ในวันที่คุณเจียงส่งหนังสือมาให้น่ะครับ ตัดสินใจส่งเลยเพราะวันอังคารว่าจะไปธนาณัติปัจจัยทำบุญ ผ้าป่าข้าวสารสู่พระสงฆ์ในสามจังหวัดภาคใต้ด้วยน่ะครับ มาแล้วก็ติดลม พองานเปิดผม(วันอังคาร)ก็ไม่ได้มาแล้วครับ
กำลังพยายามละความโกรธ(ตามที่อ่านในนี้) กับคนในที่ทำงานอยู่ ยากพอสมควรเลยครับ
เพราะพอตอนสวดมนตร์แผ่เมตตาเราจะอธิษฐานขออภัยให้ เป็น อภัยทาน แต่พอเจอหน้าอีกก็ รู้สึกไม่อยากเจอ ถ้าเจอกันทุกวันคงอภัยได้ยาก ผมเลยปลีกตัวออกไป ก็จะพยายามต่อไปเรื่อยๆน่ะครับ เลือกเดินทางธรรมแล้ว |
|
|
|
|
 |
thamma02
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 25 มี.ค. 2005
ตอบ: 77
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2005, 9:06 pm |
  |
เมื่อเปิดเข้าไปแล้วก็ให้คลิกที่ ประกาศข่าวบุญ หรือ สนธนาธรรม ครับ แต่ว่าส่วนใหญ่ ผมจะอยู่ในหมวดประกาศข่าวบุญ ตรงข้างล่างสุดนั่นน่ะครับ เลื่อนเม้าส์ลงมาให้ถึงล่างสุด แล้วก็คลิ๊กเข้าไป หมวดประกาศข่าวบุญก็ได้ครับ |
|
|
|
    |
 |
รักแม่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2005, 9:10 pm |
  |
|
|
 |
kt13
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 11 พ.ค. 2005
ตอบ: 18
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ค.2005, 8:08 pm |
  |
หากดูในภาพรวม คือช้างจะเองงวงไปที่ดอกบัว ( ซึ่งดอกบัว ไม่ได้ติดอยู่ในงวงแต่อย่างใด อาจเป็น จิตที่ลังเล สงสัย )
ทีนี้ พูดถึงเริ่องของวงกลม ถ้ามีวงกลมเดีวย หรือไม่มีเลย ก็จะมองได้แค่ ความหยาก หรือความสงสัย แต่พอมีวงกลม สาม วงกลม ก็จะแบ่งไป สามลักษณะ ส่วนตัวผมคิดว่า จะวงกลมไหน ก็มีแต่ดอกบัว จะสภาพภาวะอย่าไร ก็ดอกบัว
ทีนี้ พูดถึงดอกบัว เปรียบช้างเป้นสิ่งมีชีวิต ทุกชนิด ดอกบัวคือกิเลส จะด้วยความอยาก หรือความสงสัย ก็ต้องถูกกิเลสครอบงำอยู่แล้ว |
|
|
|
   |
 |
|