ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 8:40 am |
  |
ขอทิ้งท้ายอีกหน่อยครับอาจารย์....ด้วยพุทธดำรัส เรื่องยอดนักรบ
ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน อานนท์ จงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนให้อยู่ในอำนาจ
บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแก่การสรรเสริญนั้นคือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้
อ้างอิงจาก: |
พระศาสดาตรัสว่า ผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม |
เธอจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 9:12 am |
  |
ชวนคุณฌานคุยเพิ่มดาวนะครับ ทำอย่างไรเราจึงจะชนะตนได้
(แำ้ก้ไข เอาลิงค์ออก) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ต.ค.2008, 7:01 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 9:26 am |
  |
ขอบคุณครับท่านอาจารย์กรัชกาย  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 9:32 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ชวนคุณฌานคุยเพิ่มดาวนะครับ ทำอย่างไรเราจึงจะชนะตนได้ |
ประเด็นนี้คุยตรงนี้ได้ครับ กรัชกายถามคุณฌานว่าทำอย่างไรหรือมีวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะชนะตนให้สมกับพุทธพจน์นั้น
ส่วนเรื่องที่คุณ mes ติงๆ ก็หลบไปคุยกันได้ที่ลิงค์นั้น ไปสันทิฏฐิโกกันที่นั่น  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 9:41 am |
  |
ขออภัยนะครับท่าน admin แต่เป็นการแสดงความรู้สึกเล็กๆน้อยของกระผม หวังว่าท่านคงไม่แจกใบแดงกระผมนะครับ....
อีกอย่างใบเหลืองของกระผมกับสมาชิคบ้านเลขที่ 5 ก็เป็นเวลานานแล้วน่าจะล้างไปแล้วนะครับ  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 10:39 am |
  |
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 12:06 pm |
  |
เห็นเริ่มเครียดกัน เอาข่าวนี้มาให้ดู
คิดว่าประเทศคงไม่ผ่าซีกอย่างบ้านหลังนั้นสงสารสยาม
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=152873
สุดอึ้ง!ผัวเมียเขมรทำพิศดารผ่าบ้านคนละซีกอยู่คนละฝ่าย แก้ปัญหาแยกทางแทนใช้วิธีฟ้องร้องเรียกทรัพย์สิน เสียเงินแพงทั้งสองฝ่าย ด้านผู้ใหญ่บ้านบอกจนปัญญาห้ามไอเดียพิศดาร
"เดลี่ เทเลกราฟ"รายงานเมื่อวันที่ 9 ต.ค.ว่า สามีภรรยากัมพูชาคู่หนึ่ง ตัดสินใจผ่าบ้านออกเป็นสองซีก เพื่อแก้ปัญหาแยกทางกันอยู่ หลังจากแต่งงานมากว่า 40 ชีวิตและไม่สามารถทนใช้ชีวิตร่วมกันได้อีกต่อไป โดยทั้งสองเห็นว่า การทำเช่นนี้เป็นวิธีการดีที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการฟ้องร้องหย่าร้าง ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายราคาแพงจากการจ้างทนาย
รายงานระบุว่า ในการผ่าบ้านออกเป็นสองซีก เพื่อนบ้านของฝ่ายชายได้ช่วยขนออกของฝ่ายสามีออกจากบ้าน ก่อนจะทำการผ่าบ้าน โดยบ้านซีกขวาภรรยาจะอาศัยอยู่ ขณะที่ซีกซ้าย สามีได้ขนย้ายออกไปและรอสร้างใหม่ให้เสร็จเพื่ออยู่กับครอบครัวของเขา
ขณะที่ผู้ใหญ่บ้านบอกว่า เขาได้พยายามโน้มน้าวให้ทั้งสองเลิกล้มแนวคิดผ่าบ้านแยกกันอยู่ เพราะควรเห็นแก่ทั้งสองที่ควรอยู่กินกันมานาน แต่ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 12:58 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ชวนคุณฌานคุยเพิ่มดาวนะครับ ทำอย่างไรเราจึงจะชนะตนได้ |
โอ้สาธุครับอาจารย์กรัชกายที่เมตตา...ผมก็เพิ่งเริ่มเดินทางนี้คือมรรคมีองค์ 8
แต่ก็มีความสงสัยดังนี้ครับ...
ประเด็นที่ 1.คือผมอ่านๆดูหลายๆที่.....บ้างก็ว่าสติปัฏฐาน 4 ทางนี้ทางเดียว
บ้างว่ามรรคมีองค์ 8 ทางนี้ทางเอก....
อาจารย์ครับผมลังเลสงสัยอะครับว่าวิธีไหนครับ.....
ประเด็นที่ 2.สติปัฏฐาน 4 เราฝึกเรียงตาม 1-2-3-4 หรือเริ่มตามลำดับครับ แล้วเริ่มฐานใดฐานหนึ่งจะทะลุตลอดทุกฐานหรือเปล่า...
รบกวนอาจารย์แค่นี้ก่อนครับ  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 3:38 pm |
  |
ฌาณ พิมพ์ว่า: |
แต่ก็มีความสงสัยดังนี้ครับ...
ประเด็นที่ 1.คือผมอ่านๆดูหลายๆที่.....บ้างก็ว่าสติปัฏฐาน 4 ทางนี้ทางเดียว
บ้างว่ามรรคมีองค์ 8 ทางนี้ทางเอก....
อาจารย์ครับผมลังเลสงสัยอะครับว่าวิธีไหนครับ.....
ประเด็นที่ 2.สติปัฏฐาน 4 เราฝึกเรียงตาม 1-2-3-4 หรือเริ่มตามลำดับครับ แล้วเริ่มฐานใดฐานหนึ่งจะทะลุตลอดทุกฐานหรือเปล่า... |
กระผมขอตอบก่อนอาจารย์ละกันนะครับ
กระผมมีความเห็นอยู่อย่างนี้นะครับ
ประเด็นที่ 1 เปรียบเทียบนะครับ
มรรคมีองค์ 8 นั้นเปรียบเหมือนเส้นทางสู่เป้าหมายครับ
ส่วนสติปัฏฐาน 4 นั้นเปรียบเสมือนเสบียงครับ
เราจะเดินทางไกล ก็จำเป็นต้องมีเสบียงมากพอครับ แต่ว่าเสบียงนั้น เราเดินไปเก็บไปก็ย่อมได้ครับ
ประเด็นที่ 2 กระผมเห็นว่ามันจะได้ไปเองตามลำดับนะครับ เหมือนเราปลูกข้าวนั่นล่ะครับ เราก็ต้องได้ข้าวเปลือกก่อน เราคงไม่ได้ข้าวสวยพร้อมกินเลยหรอกครับ
ถ้าเห็นต่างอย่างไรก็ชี้แนะด้วยนะครับ  |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 4:10 pm |
  |
สาธุครับอาจารย์ท่านไหนตอบก็ได้ครับ
สรุป ประเด็นที่ 1 . คล้ายๆกับสติปัฏฐาน 4 เป็น subset ของมรรค 8
ประเด็นที่ 2. ต้องเจริญไปตามลำดับจากฐานที่กายก่อนไป
ตามลำดับ.....
อือมม... ลึกซึ้งครับ ขอบพระคุณมากๆครับ  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 6:26 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
โอ้สาธุครับอาจารย์กรัชกายที่เมตตา...ผมก็เพิ่งเริ่มเดินทางนี้คือมรรคมีองค์ 8 |
คุณฌานเข้าใจประโยคเหล่านี้ไม่ตรงกับเจตนากรัชกาย => (ชวนคุณฌานคุยเพิ่มดาวนะครับ ทำอย่างไรเราจึงจะชนะตน)
ที่ชวนคุณคุยหลังจากที่เห็น =>
อ้างอิงจาก: |
ขอทิ้งท้ายอีกหน่อยครับอาจารย์....ด้วยพุทธดำรัส เรื่องยอดนักรบ
ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน อานนท์ จงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนให้อยู่ในอำนาจ
บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแก่การสรรเสริญนั้นคือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้
อ้างอิงจาก:
พระศาสดาตรัสว่า ผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม
เธอจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย |
จึงได้ถามคุณว่า ทำอย่างไรเราจึงจะชนะตน
คุณฌานต่างหากควรตอบกรัชกายว่าทำอย่างไรจึงจะชนะตนได้ตามนั้น เจตนาเดิมกรัชกายต้องการอย่างนี้ครับ (อาจสื่อไม่ชัด)
แต่ไม่เป็นไรเพื่อไม่ให้เสียน้ำใจจะสนทนาด้วย แต่ก่อนจะสนทนากัน แต่ขออนุญาตบอกเจตนากรัชกายอย่างหนึ่ง และเป็นเจตนาที่ทำให้อยู่ในบอร์ดธรรมจนถึงทุกวันนี้
หากคุณสังเกตจะเห็นว่า กรัชกายจะไม่ชอบถกหรือสนทนาข้อธรรมแบบหยิบเอาศัพท์ธรรมะตัวใดหนึ่งขึ้นสนทนากับท่านใดบ่อยนัก
เพราะเหตุไร ?
เพราะมันคล้ายๆ กับถกแนวคิดเรื่องการบ้านการเมือง (แต่อาจจะเบากว่าหน่อย) อย่าง เช่น คนหนึ่งมีจิตโน้มเอียงอย่างนี้ก็คิดมุ่งไปอย่างนี้ตามแนวคิดของตน
แต่อีกคนหนึ่งฝ่ายหนึ่งมีความคิดเทไปลาดไปทางนั้นตามแนวของตน ก็เห็นไปตามนั้น ซึ่งตรงข้ามกัน ทั้งที่เป็นข้อธรรมเดียวกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น สติกับสัมปชัญญะ หากมีใครนำมาตั้งเป็นกระทู้สนทนา ก็คิดเห็นกันไปคนแนวสองแนว
กรัชกายจะมุ่งแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติกรรมฐานโดยตรงมากกว่า เพราะเข้าถึงใจกันและกันระหว่างคู่สนทนาเข้าใจกันได้เหมือนรู้ใจกัน นี่บอกเฉยๆเพื่อให้รู้แนวคิดของกรัชกายเท่านั้นนะครับ ไม่มีเจตนาอื่น
เรื่องมรรคมีองค์ 8 เห็นคุณฌานแสดงความคิดความเห็นที่กระทู้ 18329 ว่า ........อะไรมาก่อนมาหลัง กรัชกายก็ติดตามดู
หนังสือพุทธธรรมหน้า 600 ฯลฯ มีอธิบายไว้ ว่าที่จัดมรรคเข้าเป็น
ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะอะไรเพื่ออะไร จัดเข้าเป็นปัญญา ศีล สมาธิ เพราะอะไร ฯลฯ
ขอนำตัวอย่างเบาๆ ให้ดูท่อนหนึ่งดังว่า มรรค มีองค์ 8 บางครั้งเรียกกันสั้นๆว่า มรรค 8 ชวนให้บางท่านเข้าใจผิดว่า เป็นทาง 8 สาย แล้วเลยถือความหมายว่าเป็นทางหลายเส้นทางต่างหากกัน หรือทอดต่อกัน เดินจบสิ้นทางหนึ่งแล้ว จึงเดินต่ออีกทางหนึ่งเรื่อยไปจนครบทั้งหมด กลายเป็นว่า หัวข้อทั้ง 8 ของมรรคเป็นหลักการที่ต้องยกขึ้นมาปฏิบัติให้เสร็จสิ้นไปทีละข้อ ตามลำดับ แต่ความจริงมิใช่เช่นนั้น คำว่า มรรคมีองค์ 8 มีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า หมายถึงทางสายเดียวมีส่วนประกอบ 8 อย่าง
เปรียบเหมือนทางหลวงที่สมบูรณ์ต้องมีอะไรหลายอย่างประกอบกันเข้าจึงสำเร็จเป็นถนนได้ เช่น มีดิน กรวด ทราย หิน ลูกรัง ยาง หรือคอนกรีต เป็นชั้นลำดับขึ้นมาจนถึงผิวทาง รวมเป็นตัวถนนหรือพื้นถนน มีขอบคัน เส้นแนว ความเอียงเทของที่ลาดชันโค้งเลี้ยว มีสัญญาณ เครื่องหมาย ป้ายบอกทิศทาง ระยะทาง และสถานที่เป็นต้น ตลอดจนแผนที่ทางและโคมไฟในยามค่ำคืน ถนนประกอบด้วยส่วนประกอบเหล่านี้ทั้งหมด และผู้ขับรถเดินทางย่อมอาศัยส่วนประกอบเหล่านี้ทุกอย่างไปพร้อมๆกัน ฉันใด มรรคก็ประกอบขึ้นด้วยองค์ 8 ประการรวมกัน ผู้ปฏิบัติธรรมก็ต้องใช้องค์ทั้ง 8 ของมรรคเนื่องไปด้วยกันโดยตลอด ฉันนั้น |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ต.ค.2008, 6:51 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 6:46 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ประเด็นที่ 1.คือผมอ่านๆดูหลายๆที่.....บ้างก็ว่าสติปัฏฐาน 4 ทางนี้ทางเดียว
บ้างว่ามรรคมีองค์ 8 ทางนี้ทางเอก....
อาจารย์ครับผมลังเลสงสัยอะครับว่าวิธีไหนครับ.....
ประเด็นที่ 2.สติปัฏฐาน 4 เราฝึกเรียงตาม 1-2-3-4 หรือเริ่มตามลำดับครับ แล้วเริ่มฐานใดฐานหนึ่งจะทะลุตลอดทุกฐานหรือเปล่า... |
มรรคมีองค์ 8 ก็ดี สติปัฏฐาน 4 เป็นต้นก็ดี รวมอยู่ในหมวดโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ มรรคมีองค์ 8 ย่อลงในไตรสิกขา
วงจรย่อยของไตรลิกขา มองคร่าวๆจะเห็นเหมือนการฝึก 3 ส่วนที่ดำเนินควบเคียงกันไปด้วยกันตลอดเวลา ดังตัวอย่างในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวถึงการฝึกเจริญอานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก จับสาระได้ว่า ขณะที่ฝึกอยู่นั้น สังวรคือการควบคุมกิริยาอาการให้อยู่ในภาวะถนัดหรือเหมาะดีที่สุดแก่งาน เป็นอธิศีลสิกขา
การทำจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่อยู่กับงานคืออารมณ์ที่กำหนด
เป็นอธิจิตตสิกขา
การใช้ปัญญา หรือความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ในเวลานั้น เป็นอธิปัญญาสิกขา
(วิสุทธิ.2/61)
แต่ทั้งโพธิปักขิยธรรมทั้งหมด ซึ่งก็รวมมรรคและสติปัฏฐานเป็นต้นเข้าด้วย คือ
ขณะจิตวิบเดียวขณะบรรลุมรรคผลนิพพาน
แต่ที่ท่านแยกแยะอย่างนั้น ก็เพื่อให้เห็นมุมด้านของธรรมแต่ละข้อแต่ละด้าน
อ้างอิงจาก: |
ประเด็นที่ 2.สติปัฏฐาน 4 เราฝึกเรียงตาม 1-2-3-4 หรือเริ่มตามลำดับครับ แล้วเริ่มฐานใดฐานหนึ่งจะทะลุตลอดทุกฐานหรือเปล่า... |
ที่ท่านแยกอย่างนี้ก็เพื่อให้รู้จักกาย รู้จักเวทนา รู้จักจิต รู้จักธรรม ว่าอย่างนี้เรียกว่ากาย (รวมพฤติกรรมของกายด้วย) อารมณ์ความรู้สึกอย่างนี้เรียกว่าเวทนา อย่างนี้เรียกว่าจิต (ความคิด) อย่างนี้เรียกว่า ธรรมารมณ์ หรือนิวรณ์
แต่จะลดลงมาให้เหลือเพียงสอง คือกายกับความคิดก็ได้ ในภาคปฏิบัติ ขณะนั้นทางกายเป็นอย่างไร ผู้ปฏิบัติจะต้องรับรู้ทางกายว่าเป็นอย่างนั้น ๆ ตามนั้น ตามที่มันเป็น แต่ละขณะๆ
ในขณะนั้น รู้สึกอย่างไรคิดอย่างไร ผู้ปฏิบัติจะต้องรับรู้กำหนดรู้ต่อความรู้สึกนั้นๆ ในขณะนั้น ตามที่รู้สึก
เป็นดังนั้นจะเห็นว่าในขณะที่ยืน เดิน นั่ง ฯลฯ อยู่นั้น สภาวธรรมดังว่า มิได้เลือกปรากฏตามลำดับ หนึ่ง สอง สาม สี่ หรือหนึ่ง หรือสอง อาจจะสองก่อนหนึ่งก็ได้ หรือหนึ่งสองก็ได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยในขณะนั้น
สนใจสิ่งใดก็เห็นสิ่งนั้นวิจัยสิ่งนั้น ไม่ใช่สิ่งอื่นอะไรอื่น
หากจะมีคำถามว่า ปฏิบัติอย่างนั้นเพื่อประโยชน์อะไร
มีคำตอบดังนี้ เมื่อผู้มีปัญญาตามดูรู้ชัดกายใจนี้บ่อยๆเนืองๆ ก็จะหลงลืมน้อยลงๆ อยู่กับปัจจุบันธรรมบ่อยขึ้นนานขึ้น ๆ ญาณหรือปัญญาจะทำหน้าที่รู้เห็นธรรมชาติธรรมดา ของรูปนาม หรือ กายใจตามที่มันเป็นอยู่ของมันเอง (ธรรมชาติเห็นธรรมชาติ)
กระบวนการปฏิบัติจบลงที่นี่ทางนี้ ตามขั้นตอนของมัน
ดูผลของการปฏิบัติลิงค์นี้ครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16232 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 8:35 pm |
  |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 8:46 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
จึงได้ถามคุณว่า ทำอย่างไรเราจึงจะชนะตน
คุณฌานต่างหากควรตอบกรัชกายว่าทำอย่างไรจึงจะชนะตนได้ตามนั้น เจตนาเดิมกรัชกายต้องการอย่างนี้ครับ (อาจสื่อไม่ชัด)
|
ขอประทานโทษครับผมอ่านเร็วไปหน่อยครับอาจารย์ แต่ก็เป็นข้อดีโดยบังเอิญที่
อาจารย์มาทำ link ให้ผมเข้าไปอ่านกระทู้ของอาจารย์ที่ลงไว้ตั้งแต่ มิ.ย.
เลยขออนุญาตนำสิ่งนี้ที่อยู่ในกระทู้ของอาจารย์เองมาเป็นคำตอบซะเลย
น่าจะเป็นบทสรุปสุดท้าย.....เพราะถ้าตอบหลักธรรมข้ออื่นก็อาจไม่รวมลงที่ข้อนี้คือ.....
อัปปมาท หรือ ความไม่ประมาท(นี่แหละครับนักรบผู้ชนะสงครามได้เพราะสิ่งนี้)
อ้างอิงจาก: |
อัปปมาทนี้ เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง สำหรับความก้าวหน้าในระบบจริยธรรม
มักให้ความหมายว่า การเป็นอยู่โดยไม่ขาดสติ ซึ่งขยายความได้ว่า การระมัดระวังอยู่เสมอ
ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความเจริญก้าวหน้า
ตระหนักดีถึงสิ่งที่จะต้องทำ และต้องไม่ทำ ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย
กระทำการด้วยความจริงจัง และพยายามเดินรุดหน้าอยู่ตลอดเวลา |
อ้างอิงจาก: |
“ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลายชนิดใดๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้
ทั้งหมด รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความเป็นของใหญ่
ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล
ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรม
เหล่านั้น ฉันนั้น” |
ครับเอาสั้นๆตอบอาจารย์แค่นี้ก่อนไปประเด็นถัดไปครับ
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 8:58 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
แต่ไม่เป็นไรเพื่อไม่ให้เสียน้ำใจจะสนทนาด้วย แต่ก่อนจะสนทนากัน แต่ขออนุญาตบอกเจตนากรัชกายอย่างหนึ่ง และเป็นเจตนาที่ทำให้อยู่ในบอร์ดธรรมจนถึงทุกวันนี้
หากคุณสังเกตจะเห็นว่า กรัชกายจะไม่ชอบถกหรือสนทนาข้อธรรมแบบหยิบเอาศัพท์ธรรมะตัวใดหนึ่งขึ้นสนทนากับท่านใดบ่อยนัก |
ต้องขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับที่เมตตาตอบผม(อิอิ...เด็กเส้น)
อ้างอิงจาก: |
เปรียบเหมือนทางหลวงที่สมบูรณ์ต้องมีอะไรหลายอย่างประกอบกันเข้าจึงสำเร็จเป็นถนนได้ |
อาจารย์ครับแสดงว่ามรรคมีองค์ 8 นั้นต้องเกิดพร้อมกันหมดเลยใช่ไหมครับ....
ไม่ได้หมายความว่าข้อ สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำก่อนแล้วข้ออื่นตามมา...
อ้างอิงจาก: |
เป็นดังนั้นจะเห็นว่าในขณะที่ยืน เดิน นั่ง ฯลฯ อยู่นั้น สภาวธรรมดังว่า มิได้เลือกปรากฏตามลำดับ หนึ่ง สอง สาม สี่ หรือหนึ่ง หรือสอง อาจจะสองก่อนหนึ่งก็ได้ หรือหนึ่งสองก็ได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยในขณะนั้น |
อือม....เข้าใจแล้วครับอะไรกระทบฐานไหนก่อนให้พิจารณาฐานนั้น
ไม่เรียงลำดับ
ขอบพระคุณอาจารย์กรัชกายมากๆครับ
และท่านอาจารย์คามินธรรมด้วยครับ....เดี๊ยวผมจะตามไปศึกษาต่อครับ
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 9:13 pm |
  |
คุณฌานอย่าเรียกผมว่าอาจารย์เลย
ถ้าผมโดนยกย่องมาก เด๋วผมลุแก่โมหะขึ้นมา กลายเป้นทายาทอสูรแล้วจะเดือดร้อนนะ
อุๆๆ
 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 10:01 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ถ้าผมโดนยกย่องมาก เด๋วผมลุแก่โมหะขึ้นมา กลายเป้นทายาทอสูรแล้วจะเดือดร้อนนะ
|
อุ อุ .... อย่าเป็นเลยครับอาจารย์
ให้ผมเรียกอาจารย์ดีแล้วครับ
ผมคิดว่าผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรม ตอบสนทนาธรรมนั้นเป็นผู้ควรแก่การเคารพยกย่อง
เป็นผู้มีจิตใจเมตตา หาได้ยากครับในสมัยนี้ที่มีแต่การเห็นแก่ตัว ปากกัดตีนถีบกดให้คนอื่นแบนแต๊ดแต๋....เพื่อตัวเองจะได้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ....
เผอิญตอนนี้ช่วงปิดเทอมอะครับ ผมเลยเข้ามารบกวนอาจารย์ทุกท่านบ่อยๆ
อย่าเพิ่งโมโหเลยนะครับ
ผมตามไปอ่านตาม link ที่อาจารย์กรัชกายให้มาสงสัยหลายประการครับ
ก็เลยอดถามไม่ได้ รบกวนอาจารย์ชี้แจงอีกทีครับ...
ตรงที่ว่า....ยุบหนอพองหนอ...นั้นมีทั้งสมถะและวิปัสสนา ใครทำวิธีนี้ไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน หมายความว่าวิธีอื่นๆอาจมีสมถะอย่างเดียว หรือวิปัสสนาอย่างเดียว ......วอนอาจารย์อธิบายหน่อยครับ  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 10:46 pm |
  |
ฌาณ พิมพ์ว่า: |
ตรงที่ว่า....ยุบหนอพองหนอ...นั้นมีทั้งสมถะและวิปัสสนา ใครทำวิธีนี้ไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน หมายความว่าวิธีอื่นๆอาจมีสมถะอย่างเดียว หรือวิปัสสนาอย่างเดียว ......วอนอาจารย์อธิบายหน่อยครับ  |
งั้นผมเรียกคุณว่า อาจารย์ฌาน ละกันนะคับ
สมถะ ก็ตอนที่เอาใจไปสนใจที่ลมหายใจ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในร่างกาย
เลยเอาความระลึกรู้ หรือผู้รู้ ไปสังเกตุดู ตามดู ลมหายใจ ให้มันเกิดความสงบ
จะได้เอาจิตที่มีคุณภาพมีความสงบควรแก่การงานนั้นไปทำอย่างอื่นต่อ
พอใจสงบ... ได้แป๊บเดียว... สงบมันก็ไม่เที่ยง
สงบได้เดี๋ยวเดี่ยวเท่านั้น สงบจะดับลง
จิตมันจะเริ่มแสดงธรรมชาติพฤติกรรมของมันออกมา
เช่น ขบคิด จินตนาการ ปรุงแต่ง ต่างๆ นาๆ เดี๋ยวสงบ เดี๋ยวสุข เดี๊ยวทุกข์
วิปัสนาคือ
สุขก็รับทราบ ทุกข์ก็รับทราบ เฉยๆก้รับทราบ
อะไรเกิด อะไรตั้ง อะไรดับ รับทราบอย่างเดียว (สำนวนที่ใช้กันคือ ระลึกรู้/รู้ไปตามจริง) อันนี้แหละ วิปัสสนา
วิปัสนาไปตามกำลังของสติปัญญา
พอเรานั่งสมาธิ มีคนมาตะโกนด่า อำนาจกิเลสมันแรงกว่าสติปัญญาของเรา
เราชักจะเก้บอาหารไม่อยู่ อยากจะออกไปตีมวย
เราก้เลย "คิด" คิดให้มันสงบลง จะได้ทำสมาธิต่อ
คิดก็คือการพลิกกลับมาสมถะ ให้ใจมันสงบลง
ผลของสมถะ คือ จิตที่สงบ ควรแก่การงาน
การระลึกรู้/รับรู้รับทราบ/สังเกตุรู้/ตระหนักรู้/ ... ต่อจิตที่แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ คือ วิปัสนา
ผมฟังเพลงอยู่ ผมยังทำ"วิปัสนา"เลยนะคับ
ระลึกรู้จิตที่มันมีความสุขวุบๆ วาบๆ เคลิ้มๆ รักๆ หลงๆ ต่างๆนาๆ ไปตามเพลง
เราก้สังเกตุพฤติกรรมของจิต ที่มันใช้บริการของอายตนะ
แต่ ช้าก่อน
คำว่าวิปัสสนาน้อันตราย คนหวงกันมาก
ผมขอแก้เป็น
ฟังเพลงไปพลาง "ระลึกรู้"พฤติกรรมและอารมณ์ของจิตที่เกิดๆดับๆที่เกิดขึ้นทั้งปวงไปพลาง ดีกว่านะ |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 10:52 pm |
  |
การอธิบายหัวข้อธรรมไม่ติดต่อเชื่อมโยงกันทั้งบวน หวั่นใจว่าคุณฌาน
ได้รับตำแหน่งผู้น่ารักจะจำผิดพลาดคลาดเคลื่อน ทำให้ความจำ
(สัญญา) สูญเสียพื้นที่โดยเปล่าประโยชน์ กรัชกายจะพยายามพิมพ์
หลักธรรมที่ถามทั้งกระบวนให้ศึกษาที่
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18378 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
10 ต.ค.2008, 10:59 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
เผอิญตอนนี้ช่วงปิดเทอมอะครับ ผมเลยเข้ามารบกวนอาจารย์ทุกท่านบ่อยๆ
อย่าเพิ่งโมโหเลยนะครับ
ผมตามไปอ่านตาม link ที่อาจารย์กรัชกายให้มาสงสัยหลายประการครับ
ก็เลยอดถามไม่ได้ รบกวนอาจารย์ชี้แจงอีกทีครับ...
ตรงที่ว่า....ยุบหนอพองหนอ...นั้นมีทั้งสมถะและวิปัสสนา ใครทำวิธีนี้ไม่ต้องเปลี่ยนกรรมฐาน หมายความว่าวิธีอื่นๆอาจมีสมถะอย่างเดียว หรือวิปัสสนาอย่างเดียว ......วอนอาจารย์อธิบายหน่อยครับ |
ยินดีครับคุณฌานแยกออกตั้งเป็นกระทู้สนทนากันใหม่ที่
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=83512#83512
มีคำถามล่วงหน้าว่า คุณเข้าใจสมถะกับวิปัสสนาอย่างไร คือว่า คุณคิดว่า สมถะต้องอย่างไร วิปัสสนาต้องอย่างไร ไปตอบที่กระทู้นั้นนะครับ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|