Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นโม ตัสสะ ภxxxต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสส อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2005, 10:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...การปฏิบัติกัมมัฏฐาน, การฝึกจิต, การเจริญสติ, การทำวิปัสสนา, ฯลฯ เรียก



ชื่อไหนก็ถูก...



..อีกอย่าง การบริกรรม, การกำหนด, การภาวนา, เรียกอย่างไหนก็ถูก หรือ



เรียกรวมบ้างว่า บริกรรมภาวนา (ท่องในใจ) เหมือนกันโดยใจความ...



การฝึกจิตนั้น ต้องมีการบริกรรม แบบอานาปาณสติ มีลมหายใจเข้าออก



เป็นอารมณ์



การฝึกจิตขั้นแรก ก็เพื่อให้เขาหยุดนิ่ง เพื่อดูตัวเอง (จิต) เพื่อให้รู้จักตัวเขา



เอง ว่าเขาน่ะมีสภาวะเดิมเป็นอย่างไร เป็นใครมาจากไหน....



หรือเพื่อให้รู้จัก เข้าใจ เข้าถึงตนเอง แล้วก็เข้าถึงพุทธธรรม เข้าถึงพุทธะ...



...ผู้มีปัญญา เมื่อศึกษาแล้วรู้ว่า คนเราทุกคนทุกชาติทุกภาษามีร่างกายกับจิต



(ใจ) เรียกย่อ ๆ ...มีแค่นี้เองที่เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เป็นทางดับทุกข์ เป็น



หนทางให้ถึงความดับทุกข์ รวมอยุ่ในนี้ทั้งหมดไม่ต้องไปหาที่ไหนๆ......



บ้างก็ว่า ทำเพื่อสันติสุข อย่างยอดเยี่ยม คือ นิพพาน



การเข้าถึงสุขที่ว่า นัตถิ สันติ ปรมัง สุขัง. นิพพาน เป็นบรมสุข (สุขอย่าง



ยิ่ง) ต้องกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐานติดต่อต่อเนื่อง จะเข้าถึงได้ในชาติ



นี้แน่นอน โดยไม่ต้องรอถึงชาติหน้าชาติไหน ๆ ...



ถ้าไม่ลงมือทำเสียแต่เดี๋ยวนี้ ก็ไม่ถึง ไม่ว่าชาตินี้ หรือชาติไหน ๆ



....เท่าที่อ่าน ๆ ดู..นิพพาน (ในเวบ) น่าจะมี 2 ประเภท



คือ นิพพานตามความเข้าใจของตนเองประเภท 1 หรือ นิพพาน



ในจินตนาการ (ดูในเวบ 2-3 เวบ)



...นิพพาน ของจริงอย่างหนึ่ง



การปฏิบัติให้ถึงนิพพานของจริงนั้น ต้องดำเนินตามแนวสติปัฏฐาน ทำใน



คราวเดียวกันทุกข้อ ไม่ใช่แยกทำทีข้อ ๆ หรือ เดินตามองค์มรรคที่ละข้อ ๆ



(มรรคมีองค์ 8 ท่านย่อลง ใน ศีล สมาธิ ปัญญา)



..................................................................
 
อายุ 22
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2005, 11:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นด้วยครับ ได้อ่านแล้วเตือนสติอยู่ทุกเมื่อจังครับ
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2005, 12:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฝึกแบบย่อ....



...การฝึกจิต มีดวงเดียว (ความคิด) คือ เดิน ตรงดิ่งมุ่งเข้าหาตัวจิตเองเลย

นี่แบบย่อ ๆ และผู้ฝึกมีเวลาน้อย แต่ปรารถนาเสพนิรามิสสุขบ้าง

อย่างนี้ไม่ยากเท่าไหร่ ถ้าทำให้มันหยุดลงบ้างได้ ก็พบกับความสุขแล้ว...



เอาสิ่งหยาบ ๆ ให้จิตมันเกาะก่อน ด้วยการนับตัวเลข (นับในใจ) จาก 0-100 แล้วย้อนกลับ จาก 100-0...



..นับตามลำดับได้ดีแล้ว นับย้อนกลับหลาย ๆ รอบหน่อย (ไม่อยากให้นับลูกประคำ)

>ตั้งใจนับ (ไม่ใช่เร่งนับเพื่อให้มันจบ ๆ)

คุมให้จิตมันแนบสนิท กับอาการนับไม่ให้หลง



ถ้าหลงลืม เริ่มต้นใหม่ ทำอย่างนี้ด้วยความตั้งใจ....ตอนนอนกลางคืนก็ได้ นับให้มันหลับไปเลย............



นับอย่างนี้จนติดเป็นนิสัย หรือทำจนตาย..

แค่นี้ก็ไปสู่สุขคติภพแล้ว



ขั้นต่อไป...



เมื่อนับตัวเลขได้ดี คือไม่หลง หรือหลงน้อยลง แล้ว ให้มาดูความคิด...

..เช่นเวลาเรา หงุ่นง่าน หงุดหงิด...เร่าร้อนทุรนทุราย ไม่อยู่กับงานที่กำลังทำ ...อย่างนี้ต้องฟาด...

>ด้วยบริกรรมว่า คิดหนอ ๆ ท่อง ย้ำ ๆ คิดหนอ ๆ แค่นี้

เอาความรู้สึกตัวไว้ที่ความคิดนั้น มันก็หายไปดับไป ตามธรรมดาของมัน....



>แต่เดี๋ยวอาจมาอีกน่ะ หากทุกข์โขอยู่ เอาแบบเดิมอีก...คิดหนอๆๆ อีก



>มีอย่างเดียวเท่านี้ ที่พระพุทธเจ้าบอกให้อุกกัณฐิตภิกษุรักษาคือ รักษาจิต...ฝึกจิต (จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง จิตที่..ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้)



.....ทำได้ทุกที่..

กายบริหาร, รำมวยจีน, จ๊อกกิ้ง, เล่นกีฬา, โยคะ ฯลฯ

>คือผูกจิต ผูกความคิด ผูกความรู้สึกตัวไว้ กับสิ่งที่เรากำลังทำนั้น ๆ



>กำลังจ๊อกกิ้ง ก็ผูกความรู้สึกไว้ กับร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ผูกไว้กับเท้า (ขา) ที่ก้าววิ่งไป เป็นต้น.....อย่างนี้ไม่ต้องบริกรรมอะไรก็ได้ เพียงติดตามความเคลื่อนไหวกายไป

...ความคิดมันแว๊บออกไป ฟาดสะว่า คิดหนอ ๆ ก็อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมพอควรแล้ว



........................................



 
สับสน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2005, 12:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2005, 3:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ก่อนเข้าแบบพิศดาร)



ผู้...ปฏิบัติกัมมัฏฐานหรือการฝึกจิตนี้ แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ

1. ทำจริง ๆ ปฏิบัติด้วยศรัทธา

2. ลอง ๆ ทำ ลอง ๆ ศึกษา ดู



พวกแรกน่าอนุโมทนา ในกุศลเจตนา

..แต่ก็น่าห่วง เพราะตนเองทำจริงจัง ทำทุ่มเท อย่างนี้ถ้าได้อาจารย์ดี คือ มีภูมิธรรมทางปริยัติบ้างพอสมควร (ไม่ต้องเกินเหตุ)



>สิ่งสำคัญที่สุดคือ ภูมิปฏิบัตินี่สิเรืองใหญ่เรื่องสำคัญ ต้องเป็นนักปฏิบัติที่เคยปฏิบัติผ่าน..วิปัสสนาญานมาก่อน ถึงจะแก้อารมณ์ได้และแนะนำทางถูกได้ ....



...แค่บอกวิธีลูกศิษย์ให้เขาปฏิบัติได้ตามแบบ หรือวิธียังไม่พอ...เกิดปัญหาตามมาแน่ๆ

เกิดปัญหาตอนที่ลูกศิษย์ประเภทที่ 1 ทำจริจ ๆ นี่สิ เกิดปัญหาที่ต้องแก้



..ลูกศิษย์มีปัญหาทางอารมณ์กัมมัฏฐาน แก้ให้เขาไม่ได้ เพียงแต่บอกว่า อย่าไปยึดมั่นถือมั่น มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แค่นี้ เสียผู้เสียคนมาเยอะแล้ว คือ เพี้ยนๆไป



..การทำกัมมัฏฐานหรือ การฝึกจิตนี่ ไม่ใช่ของเล่น ดีก็ดีไปเลยเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนดีเป็นอริยะชนไปเลย ถ้าเสียหายก็เสียคนไปเลยเช่นกัน

.

.ให้ข้อคิดต่อผู้มีศรัทธาว่า อารมณ์บริกรรมวิธีใด ๆ หรือ สำนักของใคร ใครเป็นผู้สอน...ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาส ....

...หากตนทำแล้ว ปฏิบัติแล้ว ทุกขเวทนาใหม่ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ทุกขเวทนาเก่าที่เกิดแล้วก็หมดไป วิธีนั้น อาจารย์ผู้นั้นใช้ได้ เหมาะแก่เรา...ทำต่อไป...



..หากทำแล้ว ปฏิบัติตามแล้ว ทุกขเวทนาเก่า ก็ไม่หมดไป ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย จากการปฏิบัตินั้น จากคำสอนของอาจารย์นั้น วิธีนี้ไม่เหมาะแก่เราแล้ว เลิกทำโดยเด็ดขาด..อย่าทำต่อไป

..หากจะทำต่อไปต้องเปลี่ยนวิธี



ส่วน..บุคคลประเภทที่ 2 นี่ไม่เป็นไร ไม่เอาจริงเอาจังอยู่แล้ว



...............................
 
มาเพื่อเตือนสติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2005, 8:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อริยสัจจ์สี่ ... ผู้รู้จักอริยสัจจ์สี่ ไม่อาจะเป็นอริยบุคคลได้..



เตือนสติผู้อ่านทุกท่านไว้ ...



ไม่ว่าทำอะไรย่อมต้องมีสติ... สติ คือ แก่นธรรม



.....





ผู้แสวงหาสาวก หากใครไม่นับถือผู้นั้นเป็นอาจารย์ คนผู้นั้น จักไม่สอนวิชาให้ ..



เนื่องด้วยเหตุไร

1. มานะว่า ใครก็ไม่รู้เท่าตน ดังนั้น ถ้าไม่นับถือตนก็ไม่สอน

2. ความหวงแหนในวิชา .. ตระหนี่ในวิชชา

3. ตัณหา มักมากในสาวก .. ต้องการการเคารพบูชา



คนเหล่านี้ ไม่อาจ เป็นอริยสาวกได้ ไม่อาจสอนพระนิพพานให้ใครได้...



เนื่องด้วยเหตุไร

1.ผู้สอนยังลุ่มหลงมัวเมา ในโลกธรรมฝ่ายดี คือ หวังในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสุข

ผู้ยังหลงยังมัวเมาอยู่ ยังติดอยู่ในโลก จักทราบทางออกจากโลกที่แท้จริงได้?



ถ้าทราบได้ ทำได้จะติดอยู่ได้อย่างไร?



2.พระพุทธองค์ กล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐสี่ประการนี้ เอง ที่ท่านได้พบใต้ต้นโพธิ์ใหญ่

เพราะอริยสัจจ์สี่นี้ เป็นเหตุ อริยบุคคลเป็นผล



ผู้ใดสอนตรง ต้องสอนนิโรธคามีนิปฏิปทา คือ สอน อริยมรรค มีองค์ 8 ... จะสอนโดยย่อ เป็นศีล สมาธิ ปัญญา โดยไม่สอน แบบเต็ม ไม่ได้ ... เพราะเหตุไร?



เพราะผู้ที่จะเข้าถึงธรรม ขั้นละเอียด ก็ต้องเข้าใจ ในรายละเอียด ... ผู้สอนธรรมแบบหยาบๆ ... ก็ยังไม่พ้นวิสัยโลกอยู่ดี



...............................



พึงเคารพบุคคล ที่ควรบูชา ... ผู้แอบอ้าง ในพระธรรม .... ไม่พึงเคารพเลย
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2005, 9:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

น่าสงสารต่อผู้มีสัทธาเป็นยิ่งนัก



มี...สัทธา ... แต่ขาดปัญญาเลือกเฟ้นธรรม ใครให้วิธีการอย่างไรมารับเอาเข้ามาปฏิบัติทุกอย่าง



แต่ละอย่างทีรับมา ล้วนแต่ผิดหลักการปฏิบัติทางจิตทั้งสื้น ทำไปทำมาจะกลับเป็นโรคจิตสะเอง เพราะการปฏิบัติ เพราะมากอารมณ์มากอย่างเกินไป....



...เปรียบเหมือนคนไข้ ซึ่งกินยาหลายขนาน หลายอย่าง ใครว่ายาอะไรดีเอามากินหมด แทนที่จะหายจากโรค กลับเป็นโรคเพราะยา



ครั้น..วินิจฉัยโรค ว่าต้องตัดยาขนานนั้นๆ ออกไป เอาขนานเดียวก็พอซึ่งตนกินแล้ว รู้สึกดี คนไข้ไม่ยอม เพราะถือตนว่า กินมามานแล้วเสียดาย ...หมอก็วางอุเบกขาธรรม...



ข้อนี้..เป็นอุทาหรณ์เป็นอย่างดีต่อผู้เลื่อมใสทั้งหลาย จะรับข้อปฏิบัติจากใคร ขอให้ดูก่อนว่า ถูกจริตเราไหม ทำแล้ว กิเลสตัวเก่าหมดไหม กิเลสตัวใหม่เกิดไหม โดยเฉพาะผู้สอน คือผู้ตั้งตนว่าเป็นอาจารย์ แก้ความสงสัยในการฝึกจิตให้เราได้ไหม ฯลฯ



.....หากกิเลสเก่า ก็ไม่หาย กิเลสตัวใหม่เพิ่มมาเพียบ หยุดสะเถอะอย่าฝืนทำต่อไปเลย...



สงสาร



....ถึงอาจารย์ผู้บอกธรรมโดยเฉพาะผู้ให้ข้อกัมมัฏฐาน ถ้าไม่รู้จริง แก้ปัญหาให้เขาไม่ได้



จริง คือ เมือเกิดปัญหาทางใจซึ่งเกิดจากการที่เขาทำตามเรา หยุดสะเถอะ อย่าทำบาป



ด้วยการทำอย่างนี้เลย มันไม่คุ้มต่อการไปเสวยวิปากในอเวจีหรอก บาปมาก ๆ



.......................









 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 มี.ค.2005, 11:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับ "สมาธิอันบุคคลกระทำให้มากเข้าไว้ ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อความอยู่ในสุขในอนาคต (ภพหน้า) และความอยู่เป็นสุขขึ้นสูงสุดคือนิพพาน"
 
สับสน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 มี.ค.2005, 12:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"มาเพื่อเตือนสติ"



คิดหนอ ฟุ้งซ่านหนอ



 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 มี.ค.2005, 3:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบคุณ "มาเพื่อเตือนสติ" บางทีคุณอาจมองข้ามอะไรหรือเปล่าครับ เพราะศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเหมือนแผนที่ชีวิตไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือ พระนิพพานอยู่แล้ว จะสอนโดยย่อ หรือ สอนเต็มแบบมรรคมีองค์แปด ก็ขึ้นกับจริตอธัยาสัยของผู้สอน และผู้ฟังครับ ผมจะลองยกตัวอย่างจริงในสมัยพุทธกาลมา 2 ตัวอย่างครับ คือ

1. สมัยตอนพระอัสสชิ (1 ใน 5 ปัญญวัคคีย์) ท่านออกบิณฑบาตร ตอนนั้นท่านพบกับพระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) ซึ่งตอนนั้นยังเป็นนักบวชนอกศาสนาอยู่ เข้ามาถามว่า "ท่านดูผ่องใส ศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร" พระอัสสชิตอบว่า ท่านเพิ่งบวชใหม่ แสดงธรรมโดยละเอียดไม่ได้ แสดงได้โดยย่อเท่านั้น โดยแสดงว่า "ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุและความดับของธรรมเหล่านั้น พระตถาคตมีปรกติตรัสเช่นนี้" พูดแค่นี้เท่านั้น พระสารีบุตรก็ได้เป็นพระโสดาบัน

2. อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็เป็นพระรูปหนึ่งที่ตอนแรกตั้งใจบวช แต่พอครูบาอาจารย์ถ่ายทอดความรู้เต็มที่ แค่ศีลก็ปาเข้าไปตั้ง 100-200 ข้อ แล้วสมาธิ ปัญญา อีกล่ะ ท่านเรียนไม่ไหว ท้อใจ กราบลาขอสึก พระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงถามท่านว่า ถ้าศีลเหลือแค่ 3 ข้อล่ะ เธอจะทำได้มั้ย ท่านดีใจมาก ถามว่า 3 ข้อไหน พระพุทธเจ้า บอกว่า "จงรักษากาย วาจา และใจของเธอไม่ให้ทำความชั่ว" พระรูปนั้น ได้บรรลุธรรม

แต่ละคนมีจริตอัธยาสัย ที่สั่งสมกันมา ไม่เหมือนกัน อีกทั้งความตั้งใจที่จะบรรลุก็ไม่เหมือนกัน บางคนอยากบรรลุโดยเร็ว บางคนอยากเป็นสาวกผู้เลิศด้านต่างๆ ของพระพุทธเจ้าองค์หน้า บางคนอยากเป็นพระพุทธเจ้าเอง จึงยากที่จะมีแบบแผน Pattern เดียวกันเหมือนกันหมด สำหรับทุกๆ คนครับ
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 มี.ค.2005, 7:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อไปจะพูดถึงการปฏิบัติ (ฝึกจิต) แบบเต็ม ๆ

...ถึงจะพิศดารอย่างไร ก็มีอันเดียวคือมุ่งไปสู่ความคิด เพียงแต่ว่า จะดำเนินไปตามแนว โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

(โพธิ+ปักขิย+ธรรม = ธรรมซึ่งเป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้ (นาม-รูป))



โพธิปักขิยธรรมมี 37 ก็จริง กระนั้น องค์ธรรม หลักๆ มีเพียง 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

ย่นเข้าใน ศีล สมาธิ ปัญญา

หรือย่อเข้าใน พุท-โธ หรือ พอง-หนอ ยุบ-หนอ

นั่ง..นั่งภาวนาอยู่หรือเดินจงกรมอยุ่ เราก็มีศีล แล้ว ไม่ได้ทำผิดศีลสักข้อเดียว



..ยังขาดแต่สมาธิกับปัญญา ที่ต้อง เจริญ หรือภาวนา หรือกำหนด (จำศัพท์เหล่านี้ไว้ด้วย)

สมาธิ (ขณิกสมาธิ)

ปัญญา (ภาวนามยปัญญา)

สมาธิและปัญญาดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ เกิดจากการภาวนาเท่านั้น ซึ่งจะกล่าวต่อไป

อันที่จริงอารมณ์กรรมฐานมีมากมาย แต่ที่ท่านจัดๆ ไว้มี 40 มีกสิณ 10 เป็นต้น

แต่ย่อเหลือ 2 คือ

1. สมถกัมมัฏฐาน

2. วิปัสสนากัมมัฏฐาน

...แค่ 2 ก็ยังถกกันไม่จบในหมู่นักศึกษาธรรมะ ว่า แค่เป็นสมถะ ตรงไหน เป็นวิปัสสนา

ในที่นี้จะไม่อธิบายให้ละเอียดนัก แต่บอกคลุม ๆ ว่า สมถะ คือการภาวนา อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ใน 40 อย่างนั้น โดยไม่ภาวนาอย่างอื่นเลย ฯลฯ

ส่วนการดำเนินไปสู่วิปัสสนา มีอานาปาณสติ เป็นอารมณ์ ต้องภาวนาสติปัฏฐาน 4 แต่ละฐานๆ ตามสมควร

**สติปัฏฐาน 4 คือ

1.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

2.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

3.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

4.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

งงล่ะซีว่าทำไมเรียงไม่ตรงกับในหนังสือ

ในหนังสือเรียง กายานุปัสสนา ได้แก่ รูปธรรมขึ้นก่อน นามธรรมต่อท้ายเป็น รูป-นาม

อาตมะเห็นผู้ที่ดำรงตนเป็นผู้สอนธรรมบอกกัมมัฏฐานทั้งพระและคฤหัสถ์ หลายๆ แห่ง ในเวบ และนอกเวบ

อ่านหนังสือท่านเรียงเอา กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขึ้นก่อน ก็สอนศิษย์บอกลูกศิษย์ไปตามนั้น คือ เจริญ

ข้อ 1 ก่อนแล้วค่อยเจริญ 2-4 ต่อไป

**มรรคมีองค์ 8 ก็เช่นกัน

ท่านเรียงสัมมาทิฏฐิขึ้นก่อน ก็สอนให้ลูกศิษย์เอาตามนั้นให้เจริญข้อ 1-8 ไปทีละข้อๆ

บางสำนักเห็นหนังสือเรียงอริยสัจ 4 มี ทุกข์เป็นต้น ขึ้นก่อน เอาอีกสอนศิษยานุศิษย์ ให้ตะแบงไปอีก

โดยให้ไปนั่งลำดับทุกข์ว่ามีอะไรๆบ้าง ตามที่ตนเข้าใจก็สอนกันไปตามประสา....

**อันที่จริงการบำเพ็ญเพียรทางจิตนี่ ไม่เป็นไปตามลำดับเหมือนในหนังสือหรอก ไม่ต้องสอนให้ทำที่ละข้อๆ

เพราะนั่นบงถึงการไม่เข้าใจการปฏิบัติกัมมัฏฐานที่ถูกต้อง..

ขณะนั่งบริกรรมหรือเดินจงกรมอยุ่นั้น ธรรมะข้อใดเกิดก่อนก็ได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยขณะนั้นๆ

อะไรเกิดขึ้น พระโยคี รู้สึกตัว บริกรรมตามอาการที่รู้สึกนั้น ๆ ต่างหากเล่า...

..กัมมัฏฐานที่ใช้สอน ๆ กันอยุ่ในปัจจุบันมี

แบบ ---

พุท-โธ

ท้อง-พอง ท้อง-ยุบ

ทั้งคู่เป็นอานาปาณสติกัมมัฏฐาน คือ มีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์เหมือนกัน

แต่ตั้งสติไว้ ต่างจุดต่างฐานกัน

พูทโธ

ตั้งสติกำหนดที่ปลายจมูกตรงลมกระทบ หายใจเข้า พุท- หายใจออก โธ พุทโธ ๆ

ท้องพอง-ท้องยุบ

ตั้งสติกำหนดที่ท้องพองขึ้น และท้องยุบลง หายใจเข้าท้องพอง....พอง-หนอ หายใจออกท้องยุบ....ยุบ-หนอ

..สุดยุบ จึงค่อย หนอ ...พอง-หนอ ยุบ-หนอ ๆ

หากโยคี กำหนดอารมณ์เพียงเท่านี้เรี่อยไป ไม่กำหนดอารมณ์อื่น ๆ ด้วย เป็นสมถะ ทั้งคู่

ถ้ากำหนดอารมณ์อื่นอีก 4 ฐานไปด้วยจะเป็นวิปัสสนาเมื่อถึงจุด จุดหนึ่ง

..พุท-โธ

การเดินจงกรม ใช้แบบเดียวกันกับพอง-ยุบ

ขณะนั่งบริกรรมพุท-โธๆ รู้สึกหดหู่ใจไม่กระปรี้กระเปร่า วางพุทโธไว้ก่อน

ไปฉวยเอาอาการหดหู่เป็นอารมณ์ ด้วยบริกรรมว่า หดหู่หนอๆ (เป็นธัมมานุปัสสนา) 3-4 หน แล้วปล่อย

กลับไปฐานเดิม คือพุทโธ ภาวนาต่อ พุท-โธ ๆ...

..พุท-โธ ๆ ปวดเมื่อย รู้ บริกรรมว่า ปวดหนอ ๆ (เป็นเวทนานุปัสสนา) 3-4 ปล่อย กลับไปฐานเดิม พุท-โธ ๆ

..พุท-โธ ๆ คิดออกไปนอก รู้ตัว คิดหนอๆ (เป็นจิตตานุปัสสนา) 3-4 ปล่อย กลับไปฐานเดิม พุท-โธ ๆ

..พุท-โธ ๆ หายใจเข้า พุท- หายใจออก -โธ พุท-โธ ๆ (เป็นกายานุปัสสนา)

นั่งเพียงไม่ 5-10 นาที บริกรรมภาวนาอย่างนี้ สติปัฏฐานครบ 4 ฐาน แล้ว ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดเวลา

ที่กล่าวมาเป็นการละอกุศลที่เกิดแล้วให้หมดไป..

เห็นแสง-สี ต่างๆ บริกรรมว่า เห็นหนอๆ

ได้ยินเสียงต่างๆ กระทบแรง จนจิตเงะรับ บริกรรมว่า เสียงหนอ ๆ ฯลฯ

นี้เป็นการกันอกุศลใหม่ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น....



..............................











 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 เม.ย.2005, 7:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แบบท้องพอง ท้องยุบบ้าง



พอง-หนอ ยุบ-หนอ

...ต่างกันกับพุทโธ แค่ฐานกำหนดเท่านั้น

ท่านให้เอาสติสัมปชัญญะแนบไว้กับอาการท้องพอง ท้องยุบ ตามอาการนั้นไป

ท้องพอง บริกรรมว่า พอง-หนอ

ท้อง-ยุบ บริกรรมว่า ยุบ-หนอ

บริกรรมอารมณ์หลัก อย่างนี้เรื่อยๆ ไป

ขณะ บริกรรม พองหนอ ยุบหนอ อยู่นั้น

เมื่ออารมณ์อื่น ๆ มากระทบ ให้ละพอง-ยุบ ไปบริกรรมอารมณ์นั้นๆ แทน เหมือนแบบ พุท-โธ

เมื่อบริกรรมอาการนั้นจนหายไป (เมื่อมีสติ สมาธิพอควร) หรือ 3-4 หนแล้ว ปล่อย

ดึงความคิดกลับมาที่ฐานหลัก คือ

พอง-ยุบต่อไป พอง-หนอ ยุบ-หนอ ทำอย่างนี้จนหมดเวลาที่กำหนดไว้

เห็น / ได้ยินอะไร ฯลฯ ให้บริกรรมตามอารมณ์นั้นๆ



**เมื่อโยคีทำอย่างนี้ จนสติสัมปชัญญะดี คือ ไม่หลง หรือ หลงน้อยแล้ว ท่านให้เพิ่มจุดกำหนดอีกฐานหนึ่ง

คือรูปนั่งเช่น พอง-หนอ ยุบ-หนอ นั่ง-หนอ

ดูรูปนั่งเราเองทั้งหมด แว๊-บ หนึ่ง พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ทำอย่างนี้เรื่อยไป

จนหมดเวลา แล้วเดินจงกรมต่อ



...เดินจงกรม/นั่ง เช่นนี้ สลับกันไป จนกระทั่งสติสัมปชัญญะดีคือไม่หลงหรือหลงน้อยแล้ว

ท่านให้เพิ่มจุดกำหนดอีกจุดหนึ่ง

เลือกเอาจุดที่กดกับพื้นชัด ๆ

ตรงก้นกบที่กดทับกับพื้นก็ได้ หรือตาตุ่มที่กดทับกับพื้นก็ได้

**พอง-หนอ ยุบ-หนอ นั่ง-หนอ ถูก-หนอ ทำอย่างนี้เรื่อย

เมื่อมีอารมณ์อื่นเด่นชัด จิตซ่ายไปรับรู้อารมณ์นั้น ปล่อยฐานเดิมก่อน

ไปบริกรรมอารมณ์นั้นแทน ดังกล่าวแล้ว

วิธีการนั่งกำหนดอารมณ์มีเพียงเท่านี้ ทั้งแบบ ยุบหนอ พองหนอ และแบบพุท-โธ

.......................

เดินจงกรม....



ต่อไปจะกล่าวถึงการเดินจงกรมบ้าง

..ซึ่งต้องทำคู่กับการนั่งกำหนดอารมณ์ ซึ่งจะขาดเสียมิได้

เดินจงกรมท่านแบ่งเป็น 6 ระยะ เลียนแบบเดินปกตินั่นเอง

ขอเน้นว่า เดินอย่างเดินปกติ เอาสติสัมปชัญญะ อยู่กับการเคลื่อนไหวนั้น

มิใช่เดินแบบพิเรน ๆ โดยเอาเท้าต่อๆ กัน

..(ถ้าทำจนชำนาญแล้ว วิ่งจงครมก็ยังได้)



เก็บมือสะหน่อยเพื่อให้การทรงตัวดีขึ้นในขณะเดิน

เอามือประสานกันไว้ข้างหน้า หรือ เอาไขว่ข้างหลังก็ย่อมได้

เมื่อมีที่เดินแล้ว

ยืนบริกรรมรูปยืนทั้งหมดว่า ยืนหนอๆ (ไม่หลับตานะ)

เกิดความคิดอยากจะเดิน รู้สึก ...

บริกรรมว่า รู้หนอๆ แว๊บหนึ่ง แล้วค่อยก้าวขาออกเดิน ขาไหนก้าวก่อนก็ได้....

...............

เดินระยะที่ 1

..............

ภาวนาในใจว่า..

ซ้าย-- (ทำความรู้สึกตัวที่ขาซ้าย)

ย่าง-- (ก้าวออกไป)

หนอ -- (เท้าถึงพื้น)

ขวา...ย่าง...หนอ (แบบเดียวกัน)

เดินช้า-เร็วตามความเหมาะสม ทำอย่างนี้เรื่อยไป จนสุดพื้นที่..หยุดเดิน...

คิดจะหยุดรู้สึกตัว

ยืนบริกรรมรูปยืนพอควร แล้วค่อยๆ หมุนตัวกลับ

ความคิดแว๊บจะกลับตัว รู้หนอ ๆ ก่อน แล้วค่อยหมุนตัวกลับ หมุนทางซ้าย-หรือขวาก็ได้

บริกรรม กลับหนอๆ

ตรงทางแล้ว ก้าวเดินต่อไป

บริกรรมว่า...

ขวา-- (เอาสติสัมปชัญญะไว้ที่ขาขวา)

ย่าง-- (ก้าวออกไป)

หนอ-- (ถึงพื้น)

ซ้าย..ย่าง..หนอ (บริกรรม ทำความรู้สึกเหมือนที่กล่าว)

...บริกรรมเดินกลับไปกลับมาจนหมดเวลา

นั่งบริกรรมต่อ..

ดูการเคลื่อนไหว มาสู่ที่ ที่นั่ง..

นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย หรือ ขาซ้ายทับขาขวาก็ได้ วางมือประสานกันไว้บนตัก นั่งหลังตรง ๆ ในถูกสุชลักษณะ

แล้วบริกรรมอารมณ์ตามที่ตนถนัด ว่า...

พอง-หนอ (เริ่ม พอง สุดพอง หนอ)

ยุบ-หนอ (เริ่มยุบ สุดยุบ หนอ)

หรือ

พุท- (หายใจเข้า)

-โธ (หายใจออก)

หลับตาลงเบาๆ เหมือนหลับตานอน ผ่อนคลาย

นั่งกำหนดอารมณ์ ให้ครบ 4 ฐานดังกล่าาว จนหมดเวลา

ลุกเดินจงกรมต่อ..

..............

**ระยะที่ 2

.............

1.ยกหนอ (ยกเท้าพ้นพื้น)

2.เหยียบหนอ (บริกรรมว่า เหยียบ...พร้อมกับก้าวออกไป หนอ... ถึงพื้น)

.............

**ระยะที่ 3

............

1.ยกหนอ (ยกเท้าพ้นพื้นเว้นระยะนิดหนึ่ง)

2.ย่างหนอ (ก้าวเดิน)

3.เหยียบหนอ (ถึงพื้น)

.............

**ระยะที่ 4

............

1.ยกซ่นหนอ (ยกซ่นเท้าขึ้น)

2.ยกหนอ (ยกขานั้นพ้นพื้น)

3.ย่างหนอ (ก้าวเดิน)

4.เหยียบหนอ (ลงถึงพื้น)

.............

**ระยะที่ 5 (กล่าวเฉพาะที่แปลก)

.............

1.ยกซ่นหนอ

2.ยกหนอ

3.ย่างหนอ

4.ลงหนอ (หย่อนเท้าลงหน่อย ยังไม่ถึงพื้นค้างไว้)

5.เหยียบหนอ (ลงถึงพื้น)

.............

**ระยะที่ 6 (กล่าวแต่ที่แปลก)

.............

1.ยกซ่นหนอ

2.ยกหนอ

3.ย่างหนอ

4.ลงหนอ

5.ถูกหนอ (ปลายเท้ายันพื้น ซ่นเท้ายังไม่ถึงพื้น)

6.กดหนอ (กดซ่นเท้ากับพื้น)

.............

การเดินจงกรม 6 ระยะจบ

(จงกรม=เดินกลับไปกลับมา)

**เดินระยะต่ำๆ 1-3 ให้คล่องก่อน

ไม่ต้องรีบเดินระยะสูง ๆ

การเดินจงกรมมีผลต่อการนั่ง แม้จะเดินระยะต่ำๆ ให้ตั้งใจเดิน

ไม่ควรเดินสักแต่ว่าเดิน ๆ ให้จบๆ ไป จะรีบไปนั่ง ไม่เป็นผลดีต่อการนั่ง

ให้สังเกตความรู้สึกตัวเอง ว่าก่อนปฏิบัติ หลังปฏิบัติ เป็นอย่างไร

เพราะการปฏิบัติกัมมัฏฐาน เป็นการพิสูจน์พุทธธรรม วัดศรัทธาตนเอง ฯลฯ

...........













 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 เม.ย.2005, 10:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอกัน

โยคีต้องรู้สึกสังเกตตนเองว่า ขณะนี้อินทรีย์ไหนอ่อน แล้วทำการปรับเสีย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ให้แก่การปฏิบัติ

ให้สังเกตดังนี้

สมาธิ+วิริยะ

ต้องเสมอๆ กัน

ปัญญา+สัทธา

ต้องเสมอๆ กัน

สติสัมปชัญญะยิ่งมากยิ่งดี เพิ่มด้วยการบริกรรมภาวนาอารมณ์

.............

...เดินจงกรมจังหวะ ต่ำ ๆ 1-3 เพิ่มวิริยินทรีย์

>>วิริยะมาก กว่า สมาธิ จะรู้สึกว่า ตัวเบาๆ ความคิดคล่องแคล่ว คุมยาก

>>สมาธิ มากกว่า วิริยะ รู้สึกว่า ตัวหนัก ๆ ซึม ๆ (ง่วงเก่ง)

>>นั่งบริกรรมให้มากกว่าเดิน เพิ่มสมาธินทรีย์

>>เดินจงกรมให้มากกว่านั่ง เพิ่มวิริยินทรีย์

สัทธามากกว่า ปัญญา

..ระยะนี้ โยคีมีสัทธามากต่อพระรัตนตรัย ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติกัมมัฏฐาน

นั่งคิดถึงผู้นั้นผู้นี้ว่า อยากให้รู้ในสิ่งที่ตนรู้ ฯลฯ จนลืมบริกรรม (แก้ด้วยการบริกรรมอารมณ์)

ปัญญามากสัทธา นี่ก็นั่งคิดว่า จะสอนผู้อื่นด้วยวิธีอย่างนี้ๆ เอาธรรมะข้อนั้นข้อนี้สอนเค้า ฯลฯ

นั่งคิดถึงแต่สิ่งที่ตนรู้ ตนเห็นภาวนาปัญญา

จนทิ้งการกำหนดนาม-รูป (แก้ด้วยการบริกรรมอารมณ์นั้น)



..........................





















 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 เม.ย.2005, 5:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่แสดงมาทั้งหมดนี้เป็นวิธีหรือรูปแบบในทางปฏิบัติเท่านี้น เปรียบเหมือนกับเครืองมือให้เข้าถึงสัจจะธรรมเท่านั้น ไม่ใช่ตัวสัจจะ

>เมือมีเครื่องแล้วก็ใช่ว่า จะเข้าถึงได้โดยเร็ววัน ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ทีเดียว ทั้ง ต้องใช้วิริยะอุตสาหะ ความมุ่งมั่น อย่างแรงกล้า ต้องกำหนดอารมณ์ให้ต่อเนี่อง

อนึ่งอาจารย์ ผู้ที่กัมมัฏฐาน ต้องชำนาญเรื่องการปฏิบัติโดยเฉพาะ และมีความรู้เรื่องปริยัติบ้าง..

>เมื่อผู้มีสัทธาได้นำวิธีไปปฏิบัติตามแล้ว เกิดข้อสงสัยในข้อปฏิบัติ ขัดข้องไม่มั่นใจ ส่งอิเมลไปไปที่ good_luck914@hotmail.com หรือมีข้อสงสัยเร่งด่วน add สนทนาธรรม msn ได้...

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 เม.ย.2005, 8:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

>

สติปัฏฐาน 4 คือ



1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติที่ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งกาย

คือ รูปขันธ์ มี ลมหายใจเข้าออก อิริยาบถใหญ่

อิริยาบถน้อย เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่

สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากริยาจิต 8

อัปปนาชวนะ 26

2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติที่ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง เวทนา

คือ สุข ทุกข์ เฉย ๆ องค์ธรรมได้แก่

สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากริยาจิต 8

อัปปนาชวนะ 26

3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติที่ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาเนือง ๆ ซึ่งจิตมี โลภจิต อโลภจิต

โทสจิต อโทสจิต โทหจิต

อโมหจิต เป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่

ใน มหากุศลจิต 8 มหากริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ

26

4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติที่ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง สภาพธรรมที่เป็นอยู่

โดยอาการที่ปราศจากตัวตน

มีสภาพของ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8

มหากริยาจิต 8 อัปปนาชนะ 26

>

สัมมัปปธาน 4 คือ



1. อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ปหานาย วายาโม





ความพยายามเพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว องค์ธรรมได้แก่ วีริยเจตสิก ที่ใน

กุศลจิต 21



2. อนปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อนปฺปาทาย วายาโม



ความพยายามเพื่อให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดนั้น ไม่ให้เกิดขึ้น องค์ธรรมได้แก่ วีริ

ยเจตสิก ที่ใน กุศลจิต 21



3. อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ อุปปาทาย วายาโม



ความพยายามเพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น องค์ธรรมได้แก่

วีริยเจตสิก ที่ใน กุศลจิต 21



4. อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ภิยฺโยภาวาย วายาโม



ความพยายามเพื่อให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป องค์ธรรมได้แก่

วีริยเจตสิก ที่ใน กุศลจิต 21

>

อิทธิบาท มี 4 คือ



1. ฉันทิทธิบาท ความพอใจอย่างแรงกล้า เป็นบาทเบื้องต้นแห่งความสำเร็จฌาน มรรค

ผล องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ในกุศลจิต 21



2. วีริยิทธิบาท ความพยายามอย่างแรงกล้า เป็นบาทเบื้องต้นแห่งความสำเร็จฌาน

มรรค ผล องค์ธรรมได้แก่ วีริยเจตสิก ที่ในกุศลจิต 21



3. จิตติทธิบาท ความตั้งใจอย่างแรงกล้า เป็นบาทเบื้องต้นแห่งความสำเร็จฌาน มรรค

ผล องค์ธรรมได้แก่ กุศลจิต 21



4. วีมังสิทธิบาท ปัญญาอย่างแรงกล้า เป็นบาทเบื้องต้นแห่งความสำเร็จฌาน มรรค ผล

องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน กุศลญาณสัมปยุตตจิต 17

>

อินทรีย์ 5 คือ



1. สัทธินทรีย์ ศรัทธา เป็นผู้ปกครองในความเลื่อมใสต่อสิ่งที่ควร องค์ธรรมได้แก่ สัทธา

เจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากิริยาจิต อัปปนาชวนะ 26



2. วีริยินทรีย์ วีริยะ เป็นผู้ปกครองในความพยายามต่อสิ่งที่ควร องค์ธรรมได้แก่ วีริ

ยเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26



3. สตินทรีย์ สติ เป็นผู้ปกครองในการระลึกถึงต่อสิ่งที่ควร องค์ธรรมได้แก่ สตีเจตสิก ที่

ใน มหากุศลจิต 8 มหากิริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26



4.สมาธินทรีย์ สมาธิ เป็นผู้ปกครองในการตั้งมั่นในอารมณ์ที่ควร องค์ธรรมได้แก่ เอกัค

คตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากิริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26



5. ปัญญินทรีย์ ปัญญา เป็นผู้ปกครองในการรู้ตามความเป็นจริง องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญา

เจตสิก ที่ใน มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต 4

ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต 4 มหากริยาญาณ

สัมปยุตตจิต 4 อัปปนาชวนะ 26

>

พละ มี 5 คือ



1.สัทธาพละ ..ศรัทธา เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความเลื่อมใสต่อสิ่งที่ควร องค์ธรรมได้แก่

สัทธาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8

มหากริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26

2.วีริยพละ ..วีริยะ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความพยายามต่อสิ่งที่ควร องค์ธรรมได้แก่

วีริยเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8

มหากริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26

3.สติพละ ..สติ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการระลึกถึงสิ่งที่ควร องค์ธรรมได้แก่ สติ

เจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8

มหากริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26

4.สมาธิพละ ..สมาธิ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการตั้งมั่นในอารมณ์ที่ควร องค์ธรรมได้แก่

เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8

มหากริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26

5. ปัญญาพละ ..ปัญญา เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการรู้ตามความเป็นจริง องค์ธรรมได้แก่

ปัญญาเจตสิก ที่ใน

มหากุศลญาณสัมปยุตตาจิต 4 มหากริยาญาณสัมปยุตตจิต 4 อัปปนา

ชวนะ 26



>

โพชฌงค์ มี 7 คือ



1. สติสัมโพชฌงค์ ความระลึกได้ เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจ 4 องค์ธรรมได้แก่ สติ

เจตสิกที่ในมหากุศลจิต 8

มหากิริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26

2. ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ การพิจารณาค้นคว้าในธรรมทั้งภายในและภายนอก เป็นองค์แห่ง

การรู้อริยสัจ 4 องค์ธรรมได้แก่

ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต 4 มหากิริยา

ญาณสัมปยุตตจิต 4 อัปปนาชวนะ 26

3. วิริยสัมโพชฌงค์ ความเพียร เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจ 4 องค์ธรรมได้แก่ วิริ

ยเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากิริยาจิต 8

อัปปนาชวนะ 26

4. ปิติสัมโพชฌงค์ ความอิ่มใจ เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจ 4 องค์ธรรมได้แก่ ปิติ

เจตสิก ที่ในมหากุศลโสมนัส 4

มหากริยาโสมนัส 4 สัปปีติกอัปปนาชวนะ 30 หรือ รูปกุศล 3 รูป

กิริยา 3 โลกุตรจิต

5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความสงบกาย สงบใจ เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจ 4 องค์ธรรมได้แก่

กายปัสสัทธิเจตสิก จิตตปัสสัทธิเจตสิก

ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากิริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26

6. สมาธิสัมโพชฌงค์ ความตั้งมั่นในอารมณ์ เป็นองค์แห่งการรู้อริยสัจ 4 องค์ธรรม

ได้แก่ เอกัคคคตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8

มหากิริยาจิต 8 อัปปนาชวนะ 26

7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ การทำให้สัมปยุตตธรรม มีความสม่ำเสมอในหน้าที่ของตน ๆ เป็น

องค์แห่งการรู้อริยสัจ 4 องค์ธรรม ได้แก่

ตัตตรมัชณัตตตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากิริยาจิต 8 อัป

ปนาชวนะ 26

>

>

มัคคังคะ มี 8 คือ



1. สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน

องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต 4 มหา

กริยาญาณสัมปยุตตจิต 4 อัปปนาชวนะ 26

2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน

องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากริยาจิต 8 ปฐม

ฌานชวนะ 10 หรือ รูปกุศล 1

รูปกริยา 1 โลกุตตรจิต 8

3. สัมมาวาจา การกล่าววาจาชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน

องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 โลกุตตรจิต 8

4. สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน

องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 โลกุตตรจิต 8

5. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน

องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 โลกุตตรจิต 8

6. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน

องค์ธรรมได้แก่ วีริยเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากริยาจิต 8 อัป

ปนาชวนะ 26

7. สัมมาสติ ความระลึกชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน

องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากริยาจิต 8 อัปปนา

ชวนะ 26

8. สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่นชอบ เป็นหนทางให้ถึง มรรค ผล นิพพาน

องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน มหากุศลจิต 8 มหากริยาจิต 8

อัปปนาชวนะ 26

>

>



มรรคมีองค์ 8 ท่าน ย่น เข้าใน

>ศีล สมาธิ ปัญญา

1. สัมมาทิฏฐิ = เห็นชอบ

2. ดำริชอบ = สัมมาสังกัปปะ

>สงเคราะห์ ปัญญาสิกขา (ปัญญา)

>

3. สัมมาวาจา = วาจาชอบ

4. สัมมากัมมันตะ = การงานชอบ

5. สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ

>สงเคาระห์เข้าใน ศีลสิกขา (ศีล)

>

6. สัมมาวายามะ = เพียรชอบ

7. สัมมาสติ = ระลึกชอบ

8. สัมมาสติ = ตั้งใจไว้ชอบ

>สงเคราะห์เข้าใน จิตตสิกขา (สมาธิ)

>

>

โยคีผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน

บริกรรมภาวนาให้โพธิปักขิยธรรมนี้ รวมเป็นหนึ่งในขณะจิตเดียว

จึงจะบรรลุมรรคผลพระนิพพาน

>

การแทงตลอดอริยสัจจ์ 4 ในขณะจิตเดียว

1.ทุกข์

2.สมุทัย

3.นิโรธ

4.มรรค

>

กล่าวคือพระโยคี บริกรรมภาวนานาม-รูปอยู่นั้น โพธิปักขิยธรรมรวมตัวแล้ว จึงแทงตลอดอริสัจจ์

ด้วยญานดวงเดียว ขณะจิตเดียว คล่าวคือ

>เมื่อเห็นทุกข์ ก็ย่อมเห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค ในขณะจิตดวงเดียวกัน

สรุปว่า เห็นข้อใดข้อหนึ่งก็เห็นอีก 3 ที่เหลือ ไปด้วยกัน

>

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นทั้งเหตุให้ทุกข์เกิด ทั้งความดับทุกข์ ทั้งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์,

ผู้ใดเห็นเหตุให้ทุกข์เกิด ผู้นั้นย่อมเห็นทั้งทุกข์ ทั้งความดับทุกข์ ทั้งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์,

ผู้ใดย่อมความดับทุกข์ ผู้นั้นย่อมได้เห็นทุกข์ ทั้งเหตุให้ทุกข์เกิด ทั้งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์,

ผู้ใดย่อมเห็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ผู้นั้นก็เห็นทั้งทุกข์ ทั้งเหตุให้ทุกข์เกิด ทั้งความดับทุกข์,"

>

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,

ขอน้อมน้อมแด่พระผู้มีพระเจ้าพระองค์นั้น

อะระหะโต

ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทธัสสะ

ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง

>

>พุทธคุณพร้อมคำแปล

>

อะระหัง

เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ

เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ

สุคะโต

เป็นผ้ไปแล้วด้วยดี

โลกวิทู

เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ

เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมนุสสานัง

เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ

เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

ภะคะวา

เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

>

ธรรมคุณพร้อมคำแปล

>

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก

เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก

เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล (เวลา)

เอหิปัสสิโก

เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

โอปะนะยิโก

เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

เป็นสิ่งที่ผู้รู้ (วิญญูชน) ก็รู้ได้เฉพาะตน

>

พระสังฆคุณพร้อมคำแปล

>

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปะฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปะฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปะฏิบัติสมควรแล้ว

อาหุเนยโย

เปํนสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยโย

เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย

เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

อัญชลีกะระณีโย

เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี (ยกมือไหว้)

อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ

เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

>





 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง