ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 ต.ค.2008, 10:39 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณ mes ครับ คุณปกป้อง พระพุทธศาสนาเถรวาท หรือ นิกายพุทธทาสกันแน่ครับ
ตอนนี้ผมกำลังชี้แจงว่า สิ่งที่ท่านพุทธทาส ได้กล่าวติเตียน พระไตรปิฏกเถรวาท (พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์) พระอรรถกถาจารย์
อนึ่ง คุณด่าผมมาก ๆ ผมก็อาจโกรธคืนได้นะ
ผมไม่อาจทำตามที่พระพุทธองค์สอนได้ทั้งหมด
พระพุทธองค์ก็สอนไม่ให้โกรธครับ แม้พวกโจรจะเอาเลื่อยมาตัดแขนขา แต่ผมก็จะขอด่าทีหนึ่ง ก่อนตาย
คงแผ่เมตตาให้พวกโจรไม่ได้แน่ |
เห็นไหมสันดานมันโจมตีคนอื่นได้ แต่พอตัวเองโดนเข้าบ้าง
จะเอาคืน
ผมห้ามคุณไม่ได้
แต่ตราบใดยังไม่เลิก
ผมก็ไม่เลิกแน่
ตอกย้ำด่าพระมานาน
พอถูกคัดค้านทำเป็นรับไม่ได้
แล้วที่คุณด่าคนอื่นคุณคิดบ้างไหม
ผมถามว่าผมจะเชื่อใครมันหนักอวัยวะอะไรของคุณ |
|
แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 07 ต.ค.2008, 10:49 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 ต.ค.2008, 10:44 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ตอนนี้เริ่มด่าผมแล้ว ( อาจจะไม่ได้อ่านที่คุณ mes พิมพ์ทั้งหมด) ถ้าเป็นการพูดคุยกันที่เจอหน้ากัน คุณ mes อาจจะลงมือประทุษร้ายผมก็ได้
ส่วนผมก็อาจระงับความโกรธไว้ไม่อยู่ตอบโต้คืน
แต่นี้เป็นการสนทนาผ่านคอมพิวเตอร์จึงมีโอกาสพิจารณาก่อนที่จะตอบ
ว่าแต่คุณ mes ด่าผมแล้ว รู้สึกดีขึ้นไหมครับ ถ้าสบายใจก็ด่าต่อนะครับ
เพราะความโกรธ หรือ โทสะมูลจิต นี้ มีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
|
อย่ามาขู่ผม
คุณจะตอบโต้เอาคืนหรือจะใช้กำลังทำร้าย
ผมห้ามคุณไม่ได้
คุณด่าคนที่คนเขาเคารพคุณคิดบ้างหรือเปล่า
เหมือนด่าพ่อ ด่าแม่เขา
ผมไม่ท้านะ
ยินดี
ผมไม่ไช่ไอ้ขี้ขลาดด่าคนลับหลัง |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 ต.ค.2008, 10:46 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณ mes ครับ พระองค์สอนว่า ถ้าใครมาติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ให้โกรธครับ พระองค์ให้ชี้แจงสิ่งที่พระพุทธองค์สอนไว้
|
แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สั่งสอนให้ใครด่าพระเล่น |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 ต.ค.2008, 10:51 am |
  |
เพื่อให้ยุติ
ผมประกาศจะหยุด
ตั้งแต่บัดนี้
นอกจากมีเหตุอันควร ผมจะออกมาอีก
ต่อไปนี้จะปล่อยให้วิบากกรรมทำหน้าที่ |
|
|
|
   |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
07 ต.ค.2008, 4:52 pm |
  |
ผมตามพระไตรปิฏกครับ บางฉบับเชื่อได้ ต้องใช้วิจารณญาณ |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
07 ต.ค.2008, 4:55 pm |
  |
จิรงๆท่านแมส ควรทำอย่างนี้ครับ เยี่ยมๆๆๆๆๆ |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
07 ต.ค.2008, 4:57 pm |
  |
 |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 4:28 am |
  |
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
แม่เรือนชื่อเวเทหิกา
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4281&Z=4442&pagebreak=0
เปรียบเหมือนบุรุษเผาแม่น้ำคงคา
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาคบหญ้าที่จุดไฟมาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วนี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัดให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วได้หรือไม่? ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึก สุดที่จะประมาณ เขาจะทำแม่น้ำคงคานั้นให้ร้อนจัดให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม เขาจะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิต ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยแม่น้ำคงคา ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.
---------------------------------------------------------------------------
บุญชัย พิมพ์ว่า: |
ความโกรธ ผมเองก็ยังมี เวลาใคร มาว่าแรงๆ
จะต้องพูดสวนไป ผมคงจะไป ไม่ไกลแน่
โดน คนในลานแชตว่า โง่จิตก็ขุ่นขึ้นมาทันทีเลย
ต้องใช้สมาธิแน่นๆระงับลง ...ท่านเฉลิมใช้พุทธพจน
แสดงเจ๋งๆ ขอโมทนาในธรรมกถา  |
สาธุครับคุณบุญชัย ที่ได้ข้อคิดจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
เวลามีใครมาด่า ก็ระลึกถึงพระพุทธพจน์นี้นะครับ แม้บางครั้งจิตจะแปรปรวนไปบ้าง ก็ใช้หลักเมตตา นึกถึงโทษภัยของความโกรธเอาไว้
แม้เราจะทำตัวเป็นแม่น้ำคงคาตามพระพุทธพจน์ไม่ได้ ทำใจให้กว้างหน่อย เท่าตุ่มมั่ง แม้ใครจะเอาคบไฟมาจี้ ก็เดือดยากหน่อย
แต่ถ้าอาศัยคำสอนของท่านพุทธํทาส อย่างคุณ mes ที่บอกว่า ไม่มีตัวกู ของกู โดนผมจี้นิดเดียวเดือดขึ้นมาเห็น ๆ เลย
ถ้าเปรียบผมเป็นคนใช้ และคุณ mes เป็นแม่เรือน ที่ดูสงบเรียบร้อยแต่ภายนอก ผมคงโดนแม่เรือน mes กระทืบติดดินแน่เลย  |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 4:39 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณบุญชัย พิมพ์ว่า:
ความโกรธ ผมเองก็ยังมี เวลาใคร มาว่าแรงๆ
จะต้องพูดสวนไป ผมคงจะไป ไม่ไกลแน่
โดน คนในลานแชตว่า โง่จิตก็ขุ่นขึ้นมาทันทีเลย
ต้องใช้สมาธิแน่นๆระงับลง ...ท่านเฉลิมใช้พุทธพจน
แสดงเจ๋งๆ ขอโมทนาในธรรมกถา |
คุณบุญชัยครับ บางทีการใช้หลักสมาธิหนีอารมณ์ไปอยู่กับคำภาวนา อาจจะทำได้ยากครับ ในความเป็นจริงของชีวิต
หลวงพ่อ สอนเสมอว่า สมาธิเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการเผชิญภัย
ซึ่งเมื่อก่อนผมเข้าใจ สมาธิกับวิปัสสนา คือสิ่งเดียวกัน
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/article.htm
ไขข้อข้องใจในวิปัสสนา
ความแตกต่างระหว่างสมาธิกับวิปัสสนา
การจะทำความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างระว่างสมาธิกับวิปัสสนานั้นไม่ยาก
พุทธศาสนามีกิจให้เราทำอย่างไรบ้าง มีอยู่ ๒ อย่าง ได้แก่ คันถธุระ
กับวิปัสสนาธุระ
คันถธุระ หมายถึง ธุระที่เราจะต้องศึกษาเล่าเรียนความเป็นจริง
ศึกษาเล่าเรียนถึงหลักที่จะทำให้ชีวิตของเรานั้นเป็นไปในทางดี
ศึกษาเล่าเรียนถึงเหตุถึงผลนั่นเอง ว่าเมื่อสร้างเหตุอย่างไหน
จะได้รับผลอย่างไร ผลที่ปรากฏขึ้นมานี้มีเหตุมาจากไหน
วิปัสสนาธุระ หมายถึง ธุระที่จะต้องทำตัวเองให้มีปัญญา
และหลักในการปฏิบัติในพุทธศาสนามี ๒ วิธี คือ สมถกรรมฐาน กับ
วิปัสสนากรรมฐาน ทั้ง ๒ อย่างนี้ไม่ใช่การกระทำอย่างเดียวกัน
สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า
กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น
ให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น จิตก็จะมีสมาธิในอารมณ์ที่ต้องการ
ฉะนั้น สมาธิคือการที่จิตกำหนดอยู่ในอารมณ์ๆ เดียว
จะหาอะไรมากำหนดก็ได้เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์นั้น เช่น ภาวนาว่า
"พุทโธ" "สัมมาอรหัง" หรือกสิณมีถึง ๔๐ อย่างที่เราจะสามารถนำมาใช้ได้
จิตจะได้กำหนดอยู่กับสิ่งนั้น
-------------------------------------------------------------------
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18167&postdays=0&postorder=asc&start=0
อ้างอิงจาก: |
คุณบุญชัย พิมพ์ว่า:
มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่าง
ครับผมคนหนึ่งละครับที่ปฏิบัติ สมาธิทุกวัน ไม่ได้ขาด
ผมใช้ พระมหาชนกเป็น สติเตือน ให้มี วิริยะอย่างแรงกล้า ที่
จะปฏิบัติให้ได้ขั้นฌาน จะได้ไม่ขายหน้า เพื่อนๆ |
|
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 4:48 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณบุญชัย พิมพ์ว่า:
ความโกรธ ผมเองก็ยังมี เวลาใคร มาว่าแรงๆ
จะต้องพูดสวนไป ผมคงจะไป ไม่ไกลแน่
โดน คนในลานแชตว่า โง่จิตก็ขุ่นขึ้นมาทันทีเลย
ต้องใช้สมาธิแน่นๆระงับลง ...ท่านเฉลิมใช้พุทธพจน
แสดงเจ๋งๆ ขอโมทนาในธรรมกถา |
แต่คำสอนของท่านพุทธทาส ไม่สามารถระงับความโกรธในจิตใจ ของคุณ mes ได้เลย จึงได้กล่าวแต่คำหยาบคายออกมา
ปากก็ประกาศว่าจะปกป้องพุทธศาสนา
แต่ไม่เคยนำหลักธรรมจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาทมาชี้แจงเลย
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18167&postdays=0&postorder=asc&start=60
คงเหมือนกับอาจารย์พุทธทาสของคุณ mes ที่สอนแต่ไม่มี ตัวกู ของกู พระธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น โดยเฉพาะพระธรรมที่ขัดกับหลักการ (กู) คือ พระอภิธรรมปิฏก พระสูตรที่ว่าด้วยหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ก็กล่าวหาว่า เป็นหนอนบ่อนไส้ ทำลายพระพุทธศาสนา สอนกันมาผิด ๆ |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 5:14 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
อ่านหนังสือแบบไม่มีวิจารณญาณ
อรรถกถาเขียนโดยใครก็ได้ ไม่รู้ว่าท่านเป็นพระอรหันต์หรือเปล่า
คุณไปฝึกวิธีถอดร่างถอดวิญาณฝากตัวเป็นศิษย์ท่านพลศักดิ์ วังวิวัฒน์ดี
กว่า |
คุณ mes ครับ สมัยเรียน มหาลัย ชมรมพุทธพาผมไปฝึกวิชาธรรมกาย และ มโนมยิทธิ ดีที่ยังไม่ถึงขั้นถอดจิตไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ แบบคุณพลศักดิ์
ตอนหลังเปลี่ยนแนวมาสายท่านพุทธทาส เกือบเชื่อว่าตายแล้วสูญ เห็นใครสอนเรื่องผีสางเทวดา หลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด จะถือว่าผิดหมด ไม่เข้าใจธรรมะอย่างแท้จริง แล้วก็เรียนทางโลกสูงด้วย ไม่เคยเห็นผี สางเทวดา สักที
ภายหลังจึงมาเจอท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก จึงได้เข้าใจว่า
ทั้งสายธรรมกาย และสายพุทธทาส ทางสุดโต่งไปคนละทาง
18308. สายมโนมยิทธิและสายธรรมกาย คือ วิภวตัณหา แบบหนึ่ง ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=83080#83080
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุปกรณ์
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=37&A=2161&w=ดูกรเสนิยะ_
--------------------------------------------
จากหนังสือ กรณีธรรมกาย
http://dhammakaya.exteen.com/20050418/entry-48
ดูกรเสนิยะ ศาสดา ๓ ประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในโลก . . . ในศาสดา 3 ประเภทนั้น
1. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นสัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าเที่ยง)
2. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ เฉพาะในปัจจุบัน ไม่บัญญัติเช่นนั้นในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นอุจเฉทวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าขาดสูญ )
3. ศาสดาที่ไม่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาผู้สัมมาสัมพุทธะ "
------------------------------------------------------------------
บางอาจารย์ก็สอนนิพพานแบบง่าย ที่ทุกคนสัมผัสได้อยู่แล้ว เป็นนิพพานชั่วคราว ขณะใดไม่มีตัวกู ของกู ก็นิพพานชั่วคราวแล้ว ( แนวการสอนท่านพุทธทาส )
คำสอนของอาจารย์บางท่านก็กล่าวตู่ พระพุทธองค์ ให้เป็นศาสดา สัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าเที่ยง มีดินแดนพระนิพพาน เป็นต้น )
คำสอนของอาจารย์บางท่านก็กล่าวตู่ พระพุทธองค์ ให้เป็นศาสดา อุจเฉทวาท สอนแต่เรื่องการปฏิเสธตัวตน จนคนเข้าใจว่าตายแล้วสูญ เช่น ท่านพุทธทาส เป็นต้น
นิพพานที่นี้และเดี๋ยวนี้ โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/nippan_now93.html |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 5:26 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
เพราะคุณมันไอ้โรคจิต |
พึ่งเห็นว่าด่าผมว่า ไอ้โรคจิต นะเนี่ย
แต่ไม่โกรธหรอกครับ เพราะเรียนเรื่องจิตเบื้องต้น จากพระอภิธรรม อาจารย์สอนว่า ปุถุชน ล้วนมีจิตวิปลาส คือความบ้าของจิต อยู่
คือ สุภวิปลาส เห็นว่าตัวเองสวยงาม หล่อล่ำบึก โครตแมนเลย เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของตน ( อัตตวิปลาส )
นี้ถ้าไม่เรียนพระอภิธรรมเบื้องต้นมา ไม่รู้นะว่า ตัวเองเป็นโรคจิต และ โง่ อยู่
พูดถูก เปล่าเนี่ย ขอคัดลอกมาแล้วกัน เดี๋ยวจำผิด
http://www.geocities.com/toursong1/kam/ch.htm
องค์ธรรมของวิปลาสมี ๓ คือ ทิฏฐิ (ทำให้เห็นผิด) จิต (ทำให้เข้าใจผิด) สัญญา (ทำให้จำผิด) ประกอบกับวิปลาสธรรมมี ๔ คือ หลงผิดคิดว่าชีวิตนี้ดี มีสุข เที่ยง และเป็นตัวตน จึงรวมเป็นวิปลาสธรรม ๑๒ ประการ ซึ่งวิปลาสเหล่านี้เอง ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้ชีวิตคนเราต้องมีความดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) เมื่อสมหวังก็เกิดความพอใจ เรียกว่า อภิชฌา แต่ถ้าได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี (อนิฏฐารมณ์) ก็จะผิดหวัง ไม่พอใจ เรียกว่า โทมนัส ไม่ว่าจะพอใจ หรือไม่พอใจล้วนเป็นกิเลสทั้งสิ้น บางท่านเรียกความต้องการในอารมณ์ที่น่ายินดี และปัดป้องอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีนี้ว่า ตัณหา แต่ถ้าผู้ใดสามารถวางใจไว้ได้อย่างแยบคาย หรือที่เรียกว่ามี โยนิโสมนสิการ ในสติปัฏฐาน ๔ นั่นคือสามารถกำหนดสติได้เท่าทันในปัจจุบันอารมณ์ ว่ามีรูปอะไร หรือนามอะไรเกิดขึ้น สติและสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะนั้นย่อมป้องกันกิเลส-ตัณหา ทำให้อภิชฌา และโทมนัสเกิดขึ้นไม่ได้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าอารมณ์ขณะนั้นย่อมปราศจากกิเลส เมื่อกิเลสไม่มี กรรมย่อมไม่เกิด ขณะนั้นจึงเป็นวิวัฏฏกรรม ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดผลคือวิบาก อันได้แก่รูปนามขันธ์ห้า (ชีวิต) ที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างแน่นอน |
|
|
|
  |
 |
บุญชัย
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา
|
ตอบเมื่อ:
08 ต.ค.2008, 8:50 am |
  |
คุณเฉลิมครับ ผมขอเรื่องอารมณ์นิพพานหน่อย ว่ามียังไง
ผู้ปฏิบัติมีอารมณ นิพพานยังไง ไม่สูญ ไม่ตั้งอยู่
ไม่มีแสดงออกมา ว่าลักษณะ ยังไงช่วยอธิบายตามคุณเข้าใจ |
|
_________________ ทำดีทุกทุกวัน |
|
   |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
09 ต.ค.2008, 5:22 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
คุณเฉลิมครับ ผมขอเรื่องอารมณ์นิพพานหน่อย ว่ามียังไง
ผู้ปฏิบัติมีอารมณ นิพพานยังไง ไม่สูญ ไม่ตั้งอยู่
ไม่มีแสดงออกมา ว่าลักษณะ ยังไงช่วยอธิบายตามคุณเข้าใจ |
คุณบุญชัยถามซะลึกเชียวครับ
ขอนำความเข้าใจ จากตำรา แล้วกันครับ เพราะผมเพิ่งเริ่มฝึกหัดปฏบัติวิปัสสนา ยกรูปนามเป็นอารมณ์ ยังไม่เกิดวิปัสสนาญาณจากการปฏิบัติ เห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์
จนมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
---------------------------------------------------------
ลำดับขั้นของปัญญา มีดังนี้ครับ
วิสุทธิ ๗
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/067.htm
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm
โลกุตตรจิต
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/082.htm
โลกุตตรจิต มาจากคำว่า โลก + อุตตร + จิต
โลก หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก(กามภูมิ) รูปโลก(รูปภูมิ) และอรูป-โลก(อรูปภูมิ) ก็ได้ อีกนัยหนึ่งคำว่า โลก หมายถึงการเกิดดับก็ได้
อุตตร มีความหมายว่า เหนือ หรือ พ้น
ดังนั้นโลกุตตรจิตจึงเป็นจิตที่เหนือโลกทั้ง ๓ เป็นจิตที่พ้นจากโลกทั้ง ๓ ซึ่งมิได้หมายความว่า จิตนี้อยู่เหนือโลกหรือจิตนี้พ้นไปจากโลก แต่หมายความว่า จิตนี้มีอารมณ์ที่เหนือโลก มีอารมณ์ที่พ้นจากโลก คือโลกุตตร จิตนี้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก
โลกุตตรจิตเป็นจิตที่พ้นจากการเกิดดับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จิตนี้ไม่ได้เกิดดับ จิตนี้คงเกิดดับตามสภาพของจิต แต่เป็นจิตที่มีอารมณ์อันพ้นจากการเกิดดับ อารมณ์นั้นคือ นิพพาน ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีการเกิดดับ ธรรมทั้งหลายในโลกทั้ง ๓ ย่อมเกิดดับทั้งสิ้น แต่นิพพานเป็นธรรมที่ไม่เกิดดับเป็นธรรมที่พ้นจากการเกิดดับ นิพพานจึงเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก
อีกนัยหนึ่ง โลกุตตรจิตมีความหมายว่า เป็นจิตที่กำลังประหารและประหารแล้วซึ่งกิเลส หมายความว่าโลกุตตรกุสลจิตหรือมัคคจิตนั้นกำลังทำการประหารกิเลสอยู่ โลกุตตรวิบากจิตหรือผลจิต เป็นจิตที่เสวยผลซึ่งมัคคจิตได้ประหารกิเลสนั้นแล้ว เป็นการประหารได้อย่างเด็ดขาด อันทำให้กิเลสนั้น ๆ หมดสิ้นสูญเชื้อไปโดยสิ้นเชิง จนไม่สามารถที่จะเกิดมาก่อความเศร้าหมองเร่าร้อนอีกต่อไปได้เลย การประหารเช่นนี้แหละที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
โลกุตตรจิต มี ๘ ดวง คือ โลกุตตรกุสลจิต ซึ่งเป็นประเภท อริยมัคค ๔ และโลกุตตรวิบาก ซึ่งเป็นผลของโลกุตตรกุสลจิตอีก ๔
จำง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า มัคคคือกุสล ผลคือวิบาก ซึ่งหมายความว่า มัคคจิตนั้นเป็นชาติกุสล ผลจิตนั้นเป็นชาติวิบาก
มีข้อสังเกตว่าโลกุตตรจิตมีแต่โลกุตตรกุสลและโลกุตตรวิบาก ไม่มีโลกุตตรกิริยาด้วยเลย ที่โลกุตตรจิตไม่มีโลกุตตรกิริยานั้นเพราะโลกุตตรกิริยาถ้ามีก็คือ มีโลกุตตรกุสลอันเกิดในสันดานพระอรหันต์
อันว่ามหากุสลหรือมหัคคตกุสลนั้น สามารถเกิดได้บ่อยๆ เกิดได้เนือง ๆ ดังนั้นจึงเกิดในสันดานพระอรหันต์ได้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นมหากิริยา หรือมหัคคตกิริยาไป ไม่เหมือนกับ มัคคจิต ซึ่งเกิดได้เพียงมัคคละครั้งเดียวคือ โสดาปัตติมัคคก็เกิดได้ครั้งเดียว สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค ตลอดจนอรหัตตมัคค ก็เกิดได้มัคคละครั้งเดียวเท่านั้น เพราะมัคคจิตนั้นเกิดขึ้นมาเพื่อประหารกิเลสและประหารเป็นสมุจเฉทเสียด้วย เมื่อได้เป็นถึงพระอรหันต์ซึ่งได้ประหารกิเลสจนหมดจดโดยสิ้นเชิง ไม่มีกิเลสเหลือเลยแม้แต่น้อย ก็ไม่ต้องมีมัคคจิตเกิดขึ้นมาประหารอะไรอีก ดังนั้นจึงไม่มีโลกุตตรกิริยาจิต
----------------------------------------------
อ้างอิงจาก: |
คุณเฉลิมครับ ผมขอเรื่องอารมณ์นิพพานหน่อย ว่ามียังไง
ผู้ปฏิบัติมีอารมณ นิพพานยังไง ไม่สูญ ไม่ตั้งอยู่
ไม่มีแสดงออกมา ว่าลักษณะ ยังไงช่วยอธิบายตามคุณเข้าใจ |
คุณบุญชัย ครับ สมัยเรียนหนังสือ ผมได้รับการสั่งสอน จากสายมโนมยิทธิ และธรรมกาย ว่า นิพพานเป็นดินแดนที่จะได้พบพระพุทธเจ้า ใครทำได้ก็ได้ไปเกิดในพระนิพพาน เสวยแต่ความสุข เป็นอมตะ
18308. สายมโนมยิทธิและสายธรรมกาย คือ วิภวตัณหา แบบหนึ่ง ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18308
เป็นบุญของผมนะครับ ที่ไม่ได้เกิดมิจฉาทิฏฐิถึงขั้นนั้น
คุณบุญชัย ต้องแยกในหลักการปฏิบัติให้ออกก่อนนะครับ ว่า ปัญญาที่จะนำพาสู่พระนิพพานนั้น แตกต่างจากการทำสมาธิทั่วไปอย่างไร
ถ้าขาดความรู้ปริยัติ (คันถะธุระ) ก็ทำให้ปฏิบัติแบบผิด ๆ ได้
สมถะ-วิปัสสนา
http://larndham.net/index.php?showtopic=26325&per=1&st=2&#entry369546 |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
09 ต.ค.2008, 5:26 am |
  |
คุณบุญชัยครับ อย่างคำสอนของท่านพุทธทาส อาจารย์ของคุณ mes ก็แสดงนิพพานอีกแบบหนึ่ง ดูเหมือนจะมีแบบชั่วคราวถาวร
เมื่อไหรที่จิตสงบ ก็เป็นนิพพานแบบชั่วคราว ซึ่งทุกคนสัมผัสได้อยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่หากปฏเสธการมีตัวตน ไม่มีตัวกูของกู ก็จะนิพพานถาวร ไม่เกี่ยวกับการตายเข้าโลง (ดับขันธ์ปรินิพพาน)
ท่านได้กล่าวตู่ พระพุทธองค์ ให้เป็นศาสดา อุจเฉทวาท สอนแต่เรื่องการปฏิเสธตัวตน จนคนเข้าใจว่าตายแล้วสูญ
นิพพานที่นี้และเดี๋ยวนี้ โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/nippan_now93.html |
|
|
|
  |
 |
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน

เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
09 ต.ค.2008, 5:35 am |
  |
บุญชัย พิมพ์ว่า: |
ผมตามพระไตรปิฏกครับ บางฉบับเชื่อได้ ต้องใช้วิจารณญาณ |
คุณบุญชัยครับ หากไม่เชื่อถือ พระพุทธพจน์ พระสูตรใด หรือ พระอภิธรรม เล่มไหน ขอให้ใช้วิจารณญาณดังนี้
ถ้าหลักคำสอนยังมีมาตรฐานรักษา
พระพุทธศาสนาก็อยู่ไปได้ถึงลูกหลาน
http://members.tripod.com/~b2b2/tmk/tmk14.txt
เมื่อสงสัยคำหรือความใดแม้แต่ในพระไตรปิฎก ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อทันทีอย่างผูกขาด แต่สามารถตรวจสอบก่อน ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักทั่วไปไว้แล้ว ซึ่งสำหรับพวกเราบัดนี้ก็คือการใช้คำสั่งสอนในพระไตรปิฎก ตรวจสอบแม้แต่คำสั่งสอนในพระไตรปิฎกด้วยกันเอง กล่าวคือ หลักมหาปเทส 4 ได้แก่ ที่อ้างอิงใหญ่ หรือหลักใหญ่สำหรับใช้อ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียง เริ่มแต่หมวดแรก ที่เป็นชุดใหญ่ ซึ่งแยกเป็น
1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาสงฆ์ทั้งหมู่ขึ้นอ้าง)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)1
(ที.ม. 10/113/104; องฺ.จตุกฺก. 21/180/227)
นอกจากนั้น ถ้าเป็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่จำกัดลงมาในส่วนพระวินัย ก็สามารถใช้หลักมหาปเทส 4 ชุดที่ 2 ตรวจสอบ ซึ่งจะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้ เพราะนักวินัยทราบกันดี (ดู วินย. 5/92/131)
เมื่อพิจารณากว้างออกไป โดยครอบคลุมถึงคำสอนรุ่นหลังๆ หรือลำดับรองลงมา ท่านก็มีหลักเกณฑ์ที่จะให้ความสำคัญในการวินิจฉัยลดหลั่นกันลงมา โดยวางเกณฑ์วินิจฉัยคำสอนความเชื่อและการปฏิบัติ เป็น 4 ขั้น คือ (ดู ที.อ.2/172/; วินย.อ.1/271; วินย.ฎีกา 3/352)
1. สุตตะ ได้แก่ พระไตรปิฎก
2. สุตตานุโลม ได้แก่ มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาด้วย)
3. อาจริยวาท ได้แก่ อรรถกถา (พ่วงฎีกา อนุฎีกาด้วย)
4. อัตตโนมติ ได้แก่ มติของบุคคลที่นอกจากสามข้อต้น
"สุตตะ" คือพุทธพจน์ที่มาในพระไตรปิฎกนั้น ท่านถือเป็นมาตรฐานใหญ่ หรือเกณฑ์สูงสุด ดังคำที่ว่า
" แท้จริง สุตตะ เป็นของคืนกลับไม่ได้ มีค่าเท่ากับการกสงฆ์ (ที่ประชุมพระอรหันตสาวก 500 รูป ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 1) เป็นเหมือนครั้งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังสถิตอยู่" (วินย.อ. 1/272)
" เพราะว่า เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า" (วินย.ฎีกา.2/71)
พาหิรกสูตร (สูตรภายนอก คือสูตรที่ไม่ได้ขึ้นสู่สังคายนาทั้ง 3 ครั้งใหญ่) ตลอดถึงพระสูตรของนิกายมหาสังฆิกะ (นิกายใหญ่ที่จัดเป็นหินยานที่สืบต่อจากภิกษุวัชชีบุตร และต่อมาพัฒนาเป็นมหายาน) ท่านก็จัดเข้าเกณฑ์ไว้แล้วว่า
"...ไม่พึงยึดถือ ควรตั้งอยู่ในอัตตโนมตินั่นแหละ หมาย ความว่า อัตตโนมติ ในนิกายของตน (เถรวาท) ยังสำคัญกว่าสูตรที่นำมาจากนิกายอื่น " (วินย.ฎีกา 2/72)
-----------------------------------
บุญชัย พิมพ์ว่า: |
ผมตามพระไตรปิฏกครับ บางฉบับเชื่อได้ ต้องใช้วิจารณญาณ |
ขออย่าได้ทำอย่าง สายมโนมยิทธิ และธรรมกาย ที่จะกล่าวตู่พระพุทธเจ้าให้เป็น ศาสดาประเภทสัสสตวาท (โดยนำลัทธิมหายาน มาปลอมปน)
ที่คุณพลศักดิ์ กำลังเผยแพร่อยู่
หรือ สายท่านพุทธทาส ที่จะกล่าวตู่พระพุทธเจ้าให้เป็น ศาสดาประเภทอุจเฉทวาท ( โดยนำสูตรเวยหลาง นิกานเซ็น เสริมเข้ามา )
ที่คุณ mes ออกมาปกป้อง |
|
|
|
  |
 |
|